เรื่องเด่น สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า36<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อาการของคนที่ป่วยเพราะกายทิพย์สะเทือน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1 ) คนที่ป่วยชนิดเบาๆ คือหลังตกใจแล้ว ไม่ได้สมานกายทิพย์ จะมีอาการเบื่อหน่ายชีวิต เมื่อยๆ ชาๆ ไม่ค่อยมีจิตใจจะทำงาน และพอตกบ่ายก็จะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน มึนศีรษะ ปวดหัวเล็กน้อยจนปวดหัวมาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีรักษา <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พยายามหาเวลานั่งสมาธิให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนบ่ายที่ง่วงนอนไม่ควรไปนอน แต่ไปนั่งฝึกสมาธิปฏิบัติเช่นนี้ 7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2) คนที่ป่วยอาการหนัก อาการของคนที่ป่วยหนักนี้ คือ หลังตกใจแล้ว กายทิพย์ที่ถูกสะเทือนจนแตกกระจาย จะมีอาการควบคุมสติไม่อยู่ เช่น จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเหม่อลอย หรือพูดจาไม่สมประกอบ บางขณะไร้สติอย่างที่เรียกว่า คนบ้านั้นเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า37<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีรักษาขั้นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การพอกกายทิพย์เพื่อรักษากายทิพย์ที่ถูกสะเทือน ถึงขั้นแตกกระจาย เป็นวิธีรวมจิตที่แตกแยกกระจายให้สมานคืนรูปเดิม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หาพี่เลี้ยงใจเย็นๆ มีมหาเมตตา พูดจาดีๆ มาช่วยควบคุมให้เขาปฏิบัติสมาธิจิตเริ่มต้นใหม่ด้วย การเพ่งพระพุทธรูปเป็นนิมิตดังนี้คือ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หาห้องสะอาดปราศจากความรุงรัง ที่ฝาห้องติดผ้าขาวหรือกระดาษขาว และตั้งพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นัก ประมาณหน้าตัก 5 นิ้วก็พอ ตั้งสูงประมาณพอดี กับระดับสายตาของผู้ที่จะปฏิบัติฝึกสมาธิจิต แล้วแนะนำคนไข้นั่งในท่าสมาธิ ( ตามบทในการนั่งสมาธิ ) ห่างจากองค์พระพุทธรูปพอสมควร แล้วให้คนไข้เพ่งไปที่พระพุทธรูปนั้นจนจำภาพได้ และให้ปิดหนังตาลง พยายามให้นึกเห็นภาพ พระพุทธรูป นั้นอีกจนกว่าภาพพระจะชัดเป็นรูปสมบูรณ์แต่พอภาพหายไปให้ลืมตาใหม่<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า38<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพ่งแล้วหลับตาอีก ปฏิบัติหมุนเวียนเช่นนี้จนกว่าหลับตาเห็นพระพุทธรูป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สำหรับคนไข้ที่ไม่มีสติของตัวเองเลยนั้น ขอให้เขานั่งอยู่กับที่เพ่งองค์พระพุทธรูปไปเรื่อยๆ เมื่อยก็พักสายตาแล้วก็เพ่งไปอีก จนกว่าจะจำภาพได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากการที่หลับ ตาแล้วจำภาพพระพุทธรูปได้นั้น เรียกว่า “เริ่มมีสติรู้สึกตัว ควบคุมตัวเองได้แล้ว ”เป็นการรักษาขั้นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากนั้นให้ฝึกด้วยวิธีพอกกายทิพย์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า39<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีรักษาขั้นสูง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การพอกกายทิพย์ให้สมบูรณ์ เมื่อการรักษาขั้นต้นนั้นจะมีความรู้สึกว่า " หลับตาจำพระพุทธรูปได้ " แต่พระพุทธรูปนั้นจะยังเลือนลางลอยอยู่เบื้องหน้าแล้วเราก็ค่อยๆ ส่งความรู้สึกนึกคิดเพ่งส่งเข้าไปที่พระพุทธรูปเหมือนเก็บรวบรวมเอาสรรพความคิด สรรพกำลังในร่างกายรวมตัวเป็นธนูพลัง ยิงออกจากคันธนูคือ ร่างกายเราไปที่เป้า คือพระพุทธรูป ฝึกเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าภาพพระพุทธรูปจะค่อยๆชัดขึ้นจนเห็นทุกสัดส่วนชัดเหมือนเห็นด้วยการลืมตา เพ่งต่อไปอีก<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า40<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระพุทธรูปจะค่อยๆเปล่งแสงสว่างจนเป็นวงกลมล้อมรอบพระพุทธรูปที่เราเรียกกันว่าดวงจิตหรือดวงแก้ว แรกๆตรงกลางดวงแก้วยังมีพระพุทธรูปอยู่ เมื่อฝึกขึ้นไปอีกชั้น พระพุทธรูปจะหายไป คงเหลือแต่ดวงแก้วหรือดวงจิตอย่างเดียว และเมื่อเพ่งไปอีก ดวงแก้วนั้นก็จะกลมและสว่างจนเรารู้สึกเกิดความปีติสงบสุข<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นั่นละ “ ท่านหายเป็นปกติแล้ว ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างฝึกนั้นให้หลับตาตลอด แต่ถ้าภาพพระพุทธรูปจับไม่อยู่หายไป ก็ลืมตาขึ้นมาเพ่งจับภาพพระพุทธรูปใหม่อีกครั้งแล้วดำเนินตามวิธีข้างต้นอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ( หมายเหตุ การฝึกนี้จะต้องไม่เกร็งบีบประสาท ถ้ามีอาการมึนชาหรือปวดขมับให้ดูวิธีการคลายความตรึงเครียดในบทที่3 )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีการพอกกายทิพย์ให้สมบูรณ์นี้ ก็คือการดึงเก็บรวบรวมเอามวลสาร ของอะตอมในโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนละอียดที่สุดของส่วนประกอบดวงจิตที่เหมือนดวงแก้วที่แตกกระจายออกไปนั้นมารวมตัวสมานกันอีก ครั้งพระพุทธรูปที่เราเพ่งนั้นเป็นนิมิตหรือศูนย์กลางของ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า41<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเพ่ง เมื่อการเพ่งจับนิมิตจน จิตรวมเป็นหนึ่งก็จะเกิดอำนาจดึงดูด เหมือนแม่เหล็ก ยิ่งส่งความนึกคิดเข้าไปในองค์พระพุทธรูปมากเท่าใดแล้วเหมือนเสริมพลังให้กับแม่เหล็ก อำนาจแม่เหล็กที่ศูนย์กลาง คือ พระพุทธรูปจะยิ่งเพิ่มพลังดึงดูดมากขึ้น จึงเกิดกำลังทวีคูณ ดึงดูด เก็บรวบรวมชิ้นส่วนอันละเอียดของดวงจิต ( ดวงแก้ว)ที่แตกซ่านกระจายนั้นรวมตัวเข้าเป็นวงกลม (ดวงแก้ว) ที่สมบูรณ์ (ใหม่ๆดวงแก้วอาจจะไม่ค่อยสว่างและไม่ค่อยกลมด้วย)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สุดท้าย อำนาจดึงดูดสูงยิ่งขึ้นๆ เศษส่วนต่างๆของดวงแก้วก็จะติดแน่นสมานจนไม่มีรอยตำหนิ<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า42<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีพอกกายทิพย์นี้ ไม่ใช่มีไว้สำหรับรักษาคนเสียสติเท่านั้น แต่ยังมีไว้สำหรับช่วยเหลือรักษาคนที่กายทิพย์แตก เพราะป่วยเป็นโรคประสาทขนาดหนักถึงขั้นเสียสติ และพวกเกจิอาจารย์ที่ถูกฝ่ายตรงข้ามทำลายฝังรูปฝังรอย หรือว่าปล่อยไสยคุณมาทำลายด้วยมีอาการคือเหมือนคนป่วยหนักใกล้จะตาย อ่อนเพลียและหายใจติดขัด ขอให้เขาระลึกถึงครูบาอาจารย์ทันที และขอน้ำพระพุทธมนต์หน้าหิ้งพระนำมาอาบและดื่มจากนั้นอาการจะค่อยยังชั่ว แล้วให้รีบปฏิบัติตามวิธีพอกกายทิพย์นี้ เขาก็จะพ้นจากการเสียสติ หรือวายชนม์ก่อนอายุขัยได้อย่างดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า43<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เวลาที่เหมาะสมกับการฝึกสมาธิ<o:p></o:p>
    สำหรับท่านที่เริ่มฝึกใหม่ๆควรที่จะเริ่มกำหนดเวลาตั้งแต่ 5 นาที เป็นจุดเริ่มต้นและค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น10 , 20 และ 30 นาที เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ไม่ควรฝึกให้มากกว่านี้ เพราะจิตยังไม่คุ้นเคย จะทำให้เกิดความอึดอัดและปวดเมื่อยได้ง่ายต้องค่อยเป็นค่อยไปเหมือนดัดไม้ ให้ค่อยๆดัด จะได้ผลในไม่ช้า ถ้ารีบด่วนหักโหมจะดัดไม่ได้ พาลจะพาให้เสีย คือทำให้ไม้หัก เหมือนจิตที่ถูกดัดเช่นกัน<o:p></o:p>
    สำหรับผู้ฝึกจนเกิดความชำนาญแล้วจะนั่งเข้าฌานเป็นเวลาหลายๆชั่วโมงก็ได้ตามแต่กำลังจะศรัทธาและเวลาจะอำนวยให้<o:p></o:p>
    เวลาที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติจิตในวันหนึ่งคือ<o:p></o:p>
    ตอนเช้า<o:p></o:p>
    หลังจากตื่นนอนชำระร่างกายแล้ว ส่วนสมณเพศควรจะปฏิบัติหลังจากทำวัตรเช้า(ตี 4 )แล้วสำหรับ<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า44<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ต้องออกทำงานนั้น ควรกำหนดเวลาแต่น้อยหรือเป็นเวลาที่ไม่ขัดกับเวลาที่จะต้องออกงาน จะได้ไม่เกิดความกังวล<o:p></o:p>
    เหตุที่ว่าตอนเช้าดีนั้น เพราะว่า เวลากลางคืนนอนเต็มที่แล้ว เช้าตื่นขึ้นมาย่อมมีจิตใจสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย จึงเสริมให้การนั่งสมาธิสงบและเข้าที่ได้เร็วก็จะส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์<o:p></o:p>
    สำหรับท่านที่มีเวลาและสถานที่เหมาะเช่น รุ่งอรุณที่ริมฝั่งทะเล หรือ บนเขาที่มองไปเห็นขอบฟ้ากว้างเขาเขียว ยิ่งถ้ามีพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าๆที่มีแสงอ่อนๆหรือเป็นดวงยิ่งดี จะได้เป็นนิมิตแห่งการฝึกสมาธิบรรยากาศที่มีลมโชย พัดผ่าน ปะทะกับร่างกาย จะทำให้เย็นสบาย จิตใจสดชื่น ร่าเริงใจ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งสนับสนุนให้จิตสงบ และเป็นการได้สมาธิเร็วยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    แต่ถ้าคนที่ฝึกใหม่ๆ ควรจะหาเสื้อผ้าหนาคุมกันความหนาวเย็นตอนเช้ามืด และถ้าน้าค้างลงควรจะหาหมวกใส่ เป็นการป้องกันเป็นไข้หวัด <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า45<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ตอนเย็น <o:p></o:p>
    ควรจะเป็นเวลาก่อนนอน หลังจากสวดมนต์ไหว้พระแล้ว หลังจากปฏิบัติจิตแล้วจะช่วยให้นอนได้อย่างสบาย มีสติ ไม่กระสับกระส่าย และตื่นได้ตามกำหนดเวลาที่เราตั้งเป้าหมายไว้ในใจ<o:p></o:p>
    เวลาปฏิบัติจิตนั้น ถ้าสามารถทำได้วันละ 2 ครั้งก็จะควบคุมอารมณ์ต่อเนื่องได้ดีมาก<o:p></o:p>
    เช้า ก็สร้างอารมณ์ที่ดีก่อนที่จะออกไปต่อสู้ กับการงาน<o:p></o:p>
    เย็น ก็คลายความเมื่อยล้าและนอนได้สงบ หลับสนิท<o:p></o:p>
    สำหรับท่านที่มีเวลาว่าง ควรจะฝึกวันละหลายๆครั้ง เป็นการอบรมบ่มนิสัยจิตให้เกิดความเคยชินให้เกิดความสงบง่ายขึ้นกว่าทุกครั้งที่เข้าฝึกสมาธิ<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า46<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สำหรับท่านที่มุ่งหวังโลกุตระ ควรจะฝึกตลอดสมํ่าเสมอ มีการเปลี่ยนอิริยาบถบ้างเมื่อเกิดความจำเป็นเท่านั้น เพราะเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถครั้งหนึ่ง เหมือนต้องตั้งต้นครั้งหนึ่ง ในขณะต้องทำกิจวัตรประจำวันหรือทำงานนั้น ก็รักษาอารมณ์แห่งการมีสติสมาธิเสมอก็จะเป็นการดีมาก เพื่อให้อารมณ์สงบสืบทอดต่อเนื่องจนกระทั่งเข้านอนก็พยายามให้นอนอย่างมีสติด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า47 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฝึกสมาธิด้วยอิริยาบถที่เหมาะสมกับท่าน<o:p></o:p>
    วิธีฝึกสมาธิให้จิตสงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอานาปานสติที่มุ่งในการฝึก ด้วยลมหายใจนี้มีจุดเด่นและคุณวิเศษยอดเยี่ยมสืบทอดมานานแล้ว ด้วยวิธีนี้สามารถป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งกายและใจ เป็นการเสริมสร้างให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง โดยเน้นหนักในการฝึกลมหายใจเข้าออก<o:p></o:p>
    ในการฝึกหายใจเข้าออกให้จิตสงบนี้ มีอยู่หลายอิริยาบถต่างๆ กัน โดยปรกติการออกกำลังบริหารร่างกายและการฝึกหายใจเข้าออกให้เกิดสมาธิมีอิริยาบถหลักอยู่ 4 อย่าง<o:p></o:p>
    วิธีแรก “ เดิน ” ก็คือการบริหารท่อนล่างของร่างกายระหว่างเดินนั้น จิตใจย่อมเคลื่อนไหวสั่นคลอน ไปกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตจึงไม่นิ่งเท่าที่ควร<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า48<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    วิธีที่สอง “ หยุด ” ก็คือยืนอยู่กับที่ จิตใจต้องคอยพะวงควบคุมการทรงตัวของร่างกาย และรับรู้สิ่งแวดล้อมมากจนจิตไม่ค่อยสงบ<o:p></o:p>
    วิธีที่สาม “ นอน ” กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย ได้หย่อนยานคลายจากการเหนี่ยวรัดดึง เมือนอนแล้ว เลือดจะคั่งอยู่ที่สมอง เกิดความง่วงเหงาหาวนอน จิตเคลิ้มหลับง่าย หาสติได้ยาก<o:p></o:p>
    วิธีที่สี “ นั่ง ” เป็นท่าที่เหมาะสมกับการฝึกจิตคือ กล้ามเนื้อของร่างกายได้ยึดรั้งให้อยู่ในท่าที่มั่นคงโดยธรรมชาติ จิตใจไม่ต้องพะวงเป็นห่วงอยู่กับกายเนื้อมากนักจึงทำให้จิตสงบนิ่งได้เร็วกว่าท่าอื่น<o:p></o:p>
    ดังนั้น วิธีฝึกสมาธิส่วนมากจึงนิยมใช้ท่านั่ง เรียกกันทั่วไปว่า “ นั่งสมาธิ ”<o:p></o:p>
    แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติฝึกจิตก็สามารถที่จะเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อเกิดความจำเป็นจริงๆเข้า จะได้เป็นการฝึกจิตอย่างต่อเนื่อง หรือ ตามสภาพสังขารตนที่จะทนอยู่ได้ในอิริยาบถนั้นๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า49<o:p></o:p>
    การฝึกนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ท่าใดท่าหนึ่ง อย่างตายตัว เพื่อปฏิบัติจิต<o:p></o:p>
    ควรพิจารณา ท่าที่มั่นคงและสบายตามความเหมาะสมกับสังขารของตนและเลือกท่าที่จะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติจิตของเราสงบได้เร็วและดี<o:p></o:p>
    พยายามอย่าฝืนอารมณ์ ฝืนสังขารที่จะทนอยู่กับท่าฝึกสมาธิที่คิดว่าตนชอบแต่ด้วยความไม่เหมาะสมจากเหตุต่างๆ จึงทำให้ออกจากการปฏิบัติจิตแล้วแทนที่จะสงบกาย สบายใจ กลับทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดหัวเสีย พาลพาให้เสียสุขภาพกายและจิต<o:p></o:p>
    ผู้มีสมาธิดีแล้ว ย่อมสามารถควบคุมรักษาอารมณ์ให้ดีอยู่ในสมาธิ ได้ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะตื่นหรือนอน<o:p></o:p>
    โรคประสาทเสื่อม อ่อนเพลีย โรคหัวใจ ควรที่จะใช้ท่านั่งสับกับท่าเดินจงกรม และมีการออกกำลังกายเบาๆ อย่างพอเหมาะสมด้วย<o:p></o:p>
    โรคกระเพาะอาหารย้อยหย่อนยาน<o:p></o:p>
    โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคมดลูกหย่อนควรจะใช้ท่านอนตะแคงข้างขวา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า50 <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    โรคนอนไม่หลับ ใช้ท่านั่งและสลับกับท่านอนและควรจะมีการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพื่อให้ประสาทคลายความตึงเครียด สนับสนุนให้นอนหลับได้สนิท<o:p></o:p>
    โรคปอด โรควัณโรค ห้ามหายใจแรงและหายใจกระแทก ควรหายใจแบบช้าๆยาวๆ พักหายใจสักครู่หนึ่ง ให้อากาศที่หายใจเข้าไปนั้นหมุนเวียนอยู่ ภายในร่างกายสักพักหนึ่ง แล้วจึงค่อยๆปล่อยลมหายใจออกมา วิธีนี้ ปอดก็จะได้ทำงานน้อยลงอาการเจ็บปวดก็จะบรรเทา โรคก็จะหายเร็วขึ้นกว่าปรกติ<o:p></o:p>
    โรคนี้ควรจะใช้ท่านอนตะแคงข้าง และเมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น แล้วก็สลับกับท่านั่งขัดสมาธิแบบธรรมชาติบ้าง แล้วผสมด้วยการเดินจงกรมบ้าง จะได้ทำให้ร่างกายปลอดโปร่ง และข้อห้ามสำหรับโรคนี้ คือ ห้ามออกกำลังกายหักโหม<o:p></o:p>
    โรคความดันโลหิตสูง ควรที่จะใช้ท่านอนตะแคงข้างสลับกับการเดินจงกรมการฝึกปฏิบัติไม่ควรให้เหนื่อยเกินไป เพราะจะทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้นได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า51<o:p></o:p>
    โรคความดันโลหิตตํ่า ควรใช้ท่าเดินจงกรม เพื่อออกกำลังกายพอเหมาะกระตุ้นหัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น เมื่อเดินพอสมควรแล้ว สลับกับท่านอนราบขนานกับพื้นก็จะดี แต่ทั้งนี้ ต้องพิจารณาความเหมาะสมตามสถานการณ์ด้วย

    <o:p>[​IMG]</o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า53<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    1. ท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียว<o:p></o:p>
    คือนั่งอกผายไหล่ผึ่งศีรษะตรง คางหดและกดลงเล็กน้อย อยู่ในอิริยาบถที่ไม่เกร็ง จะได้ไม่เครียด เริ่มต้นด้วยนั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย(วางมือบนฝ่าเท้า) ให้หัวแม่มือจรดชนกันเบาๆเพื่อให้เลือดที่หมุนเวียนนำธาตุไฟ ถ่ายเท เดินได้สะดวก และเมื่อฝึกสมาธิปรับธาตุทั้ง 4 เสมอแล้ว หัวแม่มือที่จรดชนกันนั้นจะดูดเข้าหากันคล้ายมีกระแสแม่เหล็กดูดกันอยู่ ไม่ต้องตกใจ<o:p></o:p>
    ข้อดี เป็นอิริยาบถง่ายๆ และใช้ฝึกกันทั่วไป นั่งทนได้นาน ทั้งยังเป็นท่านั่งที่มั่นคงพอสมควรที่ไม่สั่นคลอนง่าย<o:p></o:p>
    ข้อเสีย หัวเข่านั่งแนบติดกับพื้นเพียงข้างเดียวหัวเข่าข้างขวาไม่ติดพื้น นั่งใหม่ๆจึงรู้สึกว่าร่างกายเอียงขวา ท่านก็ต้องค่อยๆพยุงร่างให้นั่งตรง ก็จะแก้อุปสรรคนี้ได้ และนั่งทรงตัวได้มั่นคงเทียบเท่าท่านั่งขัดสมาธิสองชั้น<o:p></o:p>
    ขาขวาที่พับทับบนขาซ้ายนั้นเหน็บชาง่าย<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า54<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    2 ท่านั่งขัดสมาธิสองชั้น (ขัดสมาธิเพชร)<o:p></o:p>
    คือนั่งและวางตัวทุกอย่างเหมือนท่าขัดสมาธิชั้นเดียว ต่างกันเพียงแต่เอาฝ่าเท้าซ้ายที่ถูกทับติดอยู่กับพื้นนั้นสอดขึ้นมาขัดในซอกพับของเข่าขวา มีลักษณะโคนขาทั้งสองข้างไขว้ประสานกันเป็นรูปหางนกนางแอ่น<o:p></o:p>
    ข้อดี หัวเข่าทั้งสองข้างแนบติดกับพื้น สามารถนั่งได้ตัวตรงไม่โยกโคลงเคลง เอนเอียง เสียการทรงตัว ระหว่างปฏิบัติ เป็นท่านั่งได้มั่นคงไม่สั่นคลอน<o:p></o:p>
    ข้อเสีย คือ ผู้ที่ไม่เคยฝึกนั่งขัดสมาธิท่านี้แล้ว เพียงเดี๋ยวเดียวที่เข้านั่งได้ที่ ก็เกิดอาการปวดขัดข้อเท้าทั้งสองข้าง และเท้าทั้งสองข้างเกิดอาการเหน็บชาได้ง่าย เป็นการทรมานสร้างความเจ็บปวดให้เกิดการกังวลกับจิตในขณะปฏิบัติสมาธิมาก จะต้องรีบคลายออกจากการนั่ง

    [​IMG]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า55<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3 ท่านั่งขัดสมาธิแบบธรรมชาติ<o:p></o:p>
    คือนั่งและวางตัวเหมือนท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียวต่างกันตรงที่ไม่ต้องยกขาขวาขึ้นไปพาดบนขาซ้าย แต่พับขาขัดชิดลำตัว วางไว้บนพื้นติดขาซ้าย<o:p></o:p>
    ข้อดี เป็นการนั่งแบบธรรมชาติธรรมดา สามัญขาไม่เมื่อยชาได้ง่าย<o:p></o:p>
    ข้อเสีย เมื่อขาทั้งสองข้างไม่ขัดกันเลย จึงทำให้ร่างกายไม่ดึงรัดอยู่ในท่าที่มั่นคง จิตใจก็ต้องพะวงที่จะใช้สติกำกับให้ร่างกายนั่งทรงตัวให้ตรง จึงทำให้เกิดสมาธิได้ยาก<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า56<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4 ท่านั่งพิงฝาเหยียดเท้า<o:p></o:p>
    เป็นท่านั่งที่นั่งสบาย คือเอาหลังพิงฝาบ้านหรือฝาห้องยึดตัวให้ตรง แล้วเหยียดขาออกไปนาบติดกับพื้น ขากับลำตัวนั่งแล้วเกิดเป็นมุมฉาก มือทั้งสองข้างซ้อนกันเหมือนท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียวแล้ววางไว้บนตัก<o:p></o:p>
    ข้อดี เป็นท่าที่เหมาะสมกับคนแก่ และท่านที่ทุพลภาพ ไม่สมประกอบ ก็สามารถที่จะใช้ท่านั่งนี้กำหนดจิตได้<o:p></o:p>
    ข้อเสีย การนั่งวิธีนี้ไม่มีหลักคํ้ายันให้ตัวตรงได้ดี ร่างกายจะคอยเลื่อนไหลลงมาเป็นท่านอน ทำให้จิตต้องคอยควบคุมให้ร่างนั่งตรง และเป็นท่าที่มีโอกาสง่วงนอนมากจึงเสียสมาธิได้ง่าย<o:p></o:p>


    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"> <v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 311.25pt; HEIGHT: 475.5pt" id=_x0000_i1025 type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.png" o:title=""></v:imagedata></v:shape>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า57<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5 ท่านั่งบนเก้าอี้ แล้วทอดขาลงเหยียบพื้น<o:p></o:p>
    เป็นท่าที่นั่งบนม้านั่งที่มีพนักพิงสูงพอ ประมาณที่จะพิงได้สบายหรืออาจจะมีที่เท้าแขน เมื่อนั่งแล้วให้ทอดขาลงมา เท้าจะต้องเหยียดลงมาตั้งฉากเหยียบถึงพื้นพอดี ถ้าเก้าอี้สูงเกินไป จะต้องหาม้านั่งเล็กๆมารองให้เท้าเหยียบ เท้าทั้งสองข้างกางออกเป็นการช่วยการทรงตัวของร่างกาย ส่วนฝ่ามือก็ยังคงวางมือขวาทับมือซ้าย หัวนิ้วแม่มือชนกันแล้ววางบนตัก หลับตาภาวนาบริกรรมกำกับตามแบบนั่งขัดสมาธิ<o:p></o:p>
    ข้อดี คือ เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดหัวเข่า และคนที่มีรูปร่างใหญ่ที่ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้<o:p></o:p>
    ข้อเสีย ท่านที่สุขภาพขาไม่ดี นั่งทรงตัวไม่ดีจำเป็นต้องนั่งพิงเก้าอี้ จึงทำให้ง่วงนอนได้ง่าย ทำให้สติคลายออกจากการมีสมาธิได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้ ควรจะพยายามนั่งแล้วไม่พิงพนักเก้าอี้ นอกเสียจากจำเป็นจริงๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 228pt; HEIGHT: 361.5pt" id=_x0000_i1025 type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.png" o:title=""></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า59<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6 ท่าเดินจงกรม<o:p></o:p>
    การเดินจงกรมเป็นวิธีฝึกสมาธิแบบหนึ่ง และเป็นวิธีออกกำลังบริหารร่างกายด้วย<o:p></o:p>
    ความดีของการเดินจงกรม<o:p></o:p>
    1. หลังจากการปฏิบัติจิตแล้ว เลือดลมจะขัดตามข้อตามเอ็นต่างๆ และเหน็บชาท่านควรจะเดินจงกรมเพื่อคลายเส้นเอ็นให้เลือดลมเดินได้สะดวก ซึ่งเป็นวิธีออกกำลังกายที่จะระบาย และขับโรคออกไปด้วย ช่วยไม่ให้เสียสุขภาพทั้งขาและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆจะได้ไม่เป็นอัมพาตและเป็นการเสริมให้สุขภาพสมบูรณ์มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยด้วย<o:p></o:p>
    2 .หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ไม่ควรเข้านั่งสมาธิ ควรที่จะเดินจงกรมอย่างน้อย 15-30 นาที เพื่อช่วยให้อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วนั้น ย่อยง่าย ไม่ให้เกิดอาการอืดเฟ้อ แน่น เรอเปรี้ยว<o:p></o:p>
    3 .เป็นผู้อดทนต่อการทำงาน และเดินทางไกล คือ เมื่อท่านฝึกเดินจงกรมบ่อยๆ สมํ่าเสมอ จะเกิดความเคยชินจนเป็นนิสัยเพื่อฝึกให้หัวใจได้ทำงาน สูบฉีด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า60<o:p></o:p>
    โลหิตอย่างสมํ่าเสมอไม่เป็นโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูงและตํ่า เป็นผลให้การเดินทาง หรือ ทำงานไม่เหนื่อยง่าย และช่วยลดไขมันในร่างกายไม่ให้อ้วนเกินควรด้วย<o:p></o:p>
    4. เกิดความเพียร สร้างความอดทนให้กับผู้ปฏิบัติจิต เพราะเมื่อนั่งสมาธิในอิริยาบถอื่นใดแล้ว อาจจะเกิดอาการเมื่อยขบที่ทนอยู่ไม่ได้นานก็ควรที่จะใช้การเดินจงกรมภาวนาสลับกับการนั่งบำเพ็ญจิต จะช่วยสงบได้ผลไวกว่าปรกติ และเมื่อได้สมาธิจากการเดินจงกรมภาวนาจะเป็นอารมณ์ที่อยู่ได้นาน ไม่เสื่อมง่าย<o:p></o:p>
    5.เมื่อฝึกเดินจงกรมภาวนาสมํ่าเสมอ เป็นการฝึกให้มีสมาธิแบบลืมตา จึงมีผลฝึกให้มีสมาธิในระหว่างเดินและระหว่างทำงานอีกทางหนึ่ง<o:p></o:p>
    สถานที่ที่เหมาะสมกับการเดินจงกรม<o:p></o:p>
    สถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเดินจงกรม คือสนามหญ้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยามเช้าที่นํ้าค้างประพรมบนใบหญ้า ยิ่งเป็นการดี เพราะนํ้าค้างตาม<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า61<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ใบหญ้านั้นเป็นธาตุนํ้าบริสุทธิ์ของธรรมชาติ เมื่อเท้าเราก้าวสัมผัสนํ้าค้างบนใบหญ้า ธาตุนํ้าค้างนั้นจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปรับธาตุทั้ง 4 คือ ดิน นํ้า ลม ไฟ ในร่างกายเราให้เสมอกันอันเป็นเหตุสำคัญที่จะลดการเจ็บป่วย<o:p></o:p>
    (ถ้าหาสถานที่อย่างนี้ไม่ได้ ที่ไหนๆก็ฝึกเดินได้)<o:p></o:p>
    วิธีปฏิบัติ<o:p></o:p>
    เป็นไปตามขั้นตอนดังนี้<o:p></o:p>
    1. ยืนในท่าสงบ อกผายไหล่ผึ่ง มือประสานกันโดยมือขวาทับมือซ้ายอยู่บริเวณเอวด้านหลัง นิ้วหัวแม่มือชนกัน เพื่อให้เลือดที่หมุนเวียนนำธาตุไฟในร่างกายถ่ายเทได้ดี<o:p></o:p>
    ระหว่างเดินจงกรมนั้น จะต้องใช้สติกำหนดรับรู้การก้าวเท้า ก้าวเท้าซ้ายก็รู้ ก้าวเท้าขวาก็รู้ ยืนหยุดอยู่กับที่ก็รู้ว่ายืนอยู่<o:p></o:p>
    2. เดินก้าวแบบธรรมดา โดยเท้าอยู่ในลักษณะตรงไม่งอ ปลายเกร็งลาดตํ่ากว่าส้นเท้า เหยียดให้เต็มที่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า62<o:p></o:p>
    เพื่อให้เส้นเอ็นคลาย แล้วใช้ปลายเท้าชี้ลงแตะพื้นก่อนส้นเท้า พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าปอด กำหนดจิตว่า " พุท " สายตารวมเพ่งไปที่หัวแม่เท้าซ้าย<o:p></o:p>
    ก้าวเท้าขวาออกไปข้างหน้าพอสมควร โดยเท้าอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกับการก้าวเท้าซ้ายพร้อมกับระบายลมหายใจออก กำหนดจิตว่า " โธ " สายตารวมเพ่งไปที่หัวแม่เท้าขวา<o:p></o:p>
    การเดินวิธีนี้เดินก้าวไปข้างหน้าแบบธรรมดา<o:p></o:p>
    3. เดินก้าวแบบจัดขาเดินในเส้นตรง วิธีนี้เหมาะกับคนที่ขาแข็งแรงเดินสะดวก วิธีการเดินและการวางมือนั้นเหมือน ข้อ 2 ต่างกันเพียงแต่ว่า เมื่อยกเท้าออกไปนั้นขณะที่เท้ากำลังจะเหยียบ ลงดินถึงพื้นนั้น ปกติเราจะใช้ฝ่าเท้าด้านนอกตัวสัมผัสพื้นก่อนแต่วิธีนี้จะพยายามใช้ฝ่าเท้าด้านในสัมผัสพื้น และเหยียบลงไปตามเส้นตรงกับเท้าที่ก้าวเหยียบไปก่อนแล้ว คือ เดินเป็นเส้นตรงตลอดทาง ถึงที่เลี้ยวก็ยืนหยุดแล้วเลี้ยวเดินต่อไป<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า63<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ข้อสังเกต ระยะเท้าก้าวออกไปนั้น ก้าวตามความถนัด เพราะวิธีนี้ ต้องเดินแบบใช้สมาธิ สติ สูงกว่าวิธีแรก เพื่อการทรงตัวและจัดขาเดินให้เป็นเส้นตรง<o:p></o:p>
    ข้อเสีย คนที่ขาไม่แข็งแรง หรือคนมีอายุไม่ควรใช้เดินวิธีนี้ ระวังจะพาให้หกล้มได้ง่าย<o:p></o:p>
    4 .ก้าวเท้าเช่นนี้สลับไปเรื่อยๆ ก้าวเท้าควรจะก้าวยาวพอดี อย่าให้ยาวเกินไป สั้นเกินไป อย่าให้ช้านัก อย่าให้เร็วนัก ควรใช้เวลาอย่างน้อย ประมาณ 15-30 นาที<o:p></o:p>
    5. การเดินจงกรมนี้ จะเดินในวงแคบหรือ วงกว้างก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้<o:p></o:p>
    เมื่อเดินไปถึงปลายสุดทางที่จะเลี้ยวนั้น ต้องยืนนิ่งก่อนกำหนดจิตรู้ว่า ยืน แล้วจึงหันตัวเดินต่อไป ระหว่างหันตัว ก็ให้กำหนดจิตรู้ว่า กำลังหันตัวอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 328.5pt; HEIGHT: 477pt" id=_x0000_i1025 type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.png" o:title=""></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า63<o:p></o:p>
    7 ท่ายืน<o:p></o:p>
    ยืนในท่าทางสงบ เท้าทั้งสองข้างยืนห่างกันประมาณ 1 คืบ ปลายเท้ากางออกเล็กน้อย ยืดตัวตรงหลังไม่ค้อมงอ คางหดและกดลงเล็กน้อย ยืนอยู่ในท่าสงบสบายไม่ตึงเครียด สายตามองทอดตํ่าลงที่พื้นห่างจากลำตัวไม่ควรเกิน 1 ก้าว ส่วนฝ่ามือนั้นให้ใช้นิ้วประสานกันวางไว้หน้าท้อง นิ้วหัวแม่มือชนกัน วิธีบริกรรมภาวนากำกับนั้น เหมือนวิธีภาวนาทั่วไป ต่างกันที่ลืมตาขึ้นเล็กน้อย<o:p></o:p>
    ข้อดี เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถอีกแบบหนึ่ง เพื่อฝึกสมาธิให้ต่อเนื่อง และเหมาะอย่างยิ่งในการยืนปลงสังขาร และสรรพธรรม เช่น ปลงสิ่งทั้งหลายจนเห็นความจริงแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ล้วนไม่เที่ยงแท้<o:p></o:p>
    ข้อเสีย ท่ายืนนี้ยืนอยู่ไม่ได้นาน เมื่อยล้าได้ง่าย จิตต้องคอยพะวงการทรงตัวให้ยืนอยู่ให้ได้ ทำให้ความเพียรเสื่อมถอยได้ง่ายกว่าการเดินจงกรม และไม่เหมาะสมกับท่านที่มีร่างกายไม่แข็งแรงเพราะในขณะยืนนั้น <o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า64<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เลือดจะคั่งค้างอยู่ในส่วนท่อนล่างของร่างกายมาก จึงทำให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปรกติ ยืนนานๆเข้าจะเกิดอาการเวียนหัว มึนศีรษะ เมื่อมีอาการเช่นนี้ควรรีบงดเว้นการปฏิบัติ แล้วลงนั่งพักผ่อนก่อนที่จะเป็นลม หกล้มหัวฟาดพื้นได้ จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับท่านที่สุขภาพไม่แข็งแรง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 333pt; HEIGHT: 490.5pt" id=_x0000_i1025 type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.png" o:title=""></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า65<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8 ท่านอนสีหไสยาสน์<o:p></o:p>
    นอนด้วยท่าทางสงบ นอนตะแคงขวาเพื่อไม่ให้บีบทับหัวใจมากเกินไป มือขวาวางหงายไว้บนหมอนข้างแก้มขวา มือซ้ายวางราบไปตามลำตัว ขาขวาวางเหยียดไปแบบธรรมชาติไม่ต้องเกร็งให้ตรงเกินไป โคนขาซ้ายทับขาขวาอย่างพอเหมาะ เข่าซ้ายพับงอเล็กน้อย ปลายเท้าซ้ายวางลาดตํ่าไว้หลังเท้าขวา เป็นการช่วยพยุงร่างให้ทรงตัวในท่านอนได้นาน<o:p></o:p>
    ส่วนการกำหนดบริกรรมลมหายใจนั้น กำหนดเหมือนบทเดิม จนกว่าจะหลับไป หรือว่าบริกรรมเพื่อพักชั่วคราว และเมื่อตื่นขึ้นมาก็ต้องมีสติกำหนดบริกรรมกำกับลมหายใจอีกจนกว่าจะลุกขึ้น เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถใหม่<o:p></o:p>
    ท่านที่เป็นโรคกระเพาะอาหารย้อยหย่อนยาน ควรนอนท่าตะแคงข้างขวา เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารย้อยถ่วงลงมามากกว่าเดิม และเมื่อฝึกสมาธิก็พยายามขับลมหายใจลงสู่เบื้องตํ่าเป็นการบีบรัดและเร่งให้กล้ามเนื้อนั้นมีกำลัง กระเพาะอาหารก็จะค่อยๆคืนสู่ตำแหน่งเดิม<o:p></o:p>
    ข้อดี เป็นท่าที่เหมาะสมกับคนแก่ หรือท่านที่เจ็บป่วย หรือมีร่างกายอ้วนมากจนไม่เหมาะกับการที่จะใช้ท่าอื่นเพื่อการฝึกปฏิบัติจิต<o:p></o:p>
    เป็นท่านอนที่มีสติอยู่ได้นานกว่าท่านอนหงาย<o:p></o:p>
    ข้อเสีย ท่านอนทุกท่า เมื่อวางตัวนอนแล้วศีรษะจะอยู่ในลักษณะระดับลาดใกล้เคียงกับลำตัวที่นอนขนานกับพื้นหรือเตียง เลือดจึงไหลขึ้นไปคั่งอยู่ที่สมองมากกว่าปรกติ เดี๋ยวเดียวที่เข้านอนได้ที่ ส่วนมากก็จะหลับ<o:p></o:p>
    บางครั้งจะหลับก่อนที่จะได้สมาธิที่สมบูรณ์<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า66<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    9 ท่านอนหงาย<o:p></o:p>
    ท่านี้เหมาะกับคนที่มีร่างกาย อ้วน หรือไม่สะดวกในการใช้ท่าฝึกสมาธิท่าอื่น<o:p></o:p>
    ในขณะเดียวกัน ท่านอนทุกท่าเป็นอิริยาบถของการเตรียมตัวหลับนอน ดังนั้น จึงเป็นการฝึกสมาธิก่อนนอนโดยปริยาย แม้ว่าจะฝึกจิตยังไม่ทันหลับ สติความระลึกรู้ก็จะดับไปพร้อมกับนอนหลับสนิท<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 321.75pt; HEIGHT: 501.75pt" id=_x0000_i1025 type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.png" o:title=""></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า67<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านอนหงายรักษาโรคปวดหลัง ท่านี้เหมาะกับคนที่ปวดหลัง คือนอนหงายเหยียดตรงไปบนพื้นหรือพื้นห้องที่ไม่มีฟูกหรือที่นอนอ่อนนิ่มรองรับอยู่ แล้วเอาผ้าบางๆพับให้เป็นเส้นหนาพอควร ความหนาของผ้านี้อาจจะใช้ความหนาไม่เท่ากันทุกคน ขอให้พิจารณารองแล้วนอนไม่อึดอัดเกินไปก็ใช้ได้ ผ้าที่พับนั้น เมื่อพับแล้วต้องยาวกว่าความกว้างของแผ่นหลังท่านเล็กน้อย พับแล้วจึงนำผ้านั้นสอดขวางกับลำตัววางไว้อยู่ใต้บั้นเอวพอดี<o:p></o:p>
    ส่วนฝ่ามือนั้นให้นิ้วประสานกัน นิ้วหัวแม่มือจรดชนกันวางอยู่ที่หน้าท้อง ไม่ควรวางไว้หน้าอก เพราะธาตุไฟที่ถ่ายเทผ่านฝ่ามือ จะเผาผลาญอวัยวะภายในอก เช่น ตับ ปอด หัวใจ ทำให้ตื่นขึ้นมาเหมือนคนมีไข้ และจะมีอาการหิวนํ้า<o:p></o:p>
    ส่วนลมหายใจนั้นก็กำหนดบริกรรมกำกับเหมือนทุกท่าของการปฏิบัติ<o:p></o:p>
    ถ้าอากาศเย็นควรหาผ้าคลุมร่างให้อบอุ่นไว้ด้วย<o:p></o:p>
    ข้อดี ท่านอนทุกท่าที่นอนแล้วภาวนาปฏิบัติจิตนั้นเป็นการฝึกแบบเก็บเล็กผสมน้อยก่อนนอนหลับ แม้จะเพียงวันละ 5 นาทีก็ยังดี และเป็นผลพลอยได้ คือ จะหลับได้สบายอย่างมีสติด้วย<o:p></o:p>
    ข้อเสีย มีเวลาน้อยมากที่จะภาวนาให้เกิดสมาธิเพราะหลับก่อน แต่ก็ยังเป็นประโยชน์แก่คนที่นอนหลับยากที่จะใช้เวลาก่อนนอนหลับนั้น ภาวนาจนกว่าจะหลับสนิทไปเป็นการแก้ไขการทรมานกระสับกระส่าย ไม่เกิดอาการกระวนกระวายก่อนหลับนอน<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า69<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สมาธิรักษาโรคนอนไม่หลับ
    <o:p></o:p>
    ข้อแนะนำสะกดตนเองให้นอนหลับ
    <o:p></o:p>
    คนที่คิดมากเกิดความกังวลใจ ห่วงนั้น ห่วงนี่ ห่วงลูก ห่วงหลาน ห่วงสมบัติ หรือห่วงว่าจะไม่มีกินคิดแล้วไม่หยุดยั้งชั่งใจให้สงบบ้าง จึงเกิดเป็นโรคประสาทอ่อน หรือโรคประสาทมากๆ นั้น ส่วนมากจะมีอาการอย่างหนึ่ง คือนอนไม่หลับ อันเป็นทุกข์อย่างยิ่งจึงควรปฏิบัติดังนี้
    <o:p></o:p>
    9.1 อย่านอนหลับกลางวัน กลางวันถ้าเกิดอาการง่วงนอน พยายามอย่าไปนอนหลับหรือนั่งพักผ่อน ควรจะหางานทำที่ต้องใช้กำลังกายบ้าง หรือว่า เดินให้หายง่วง อาจจะใช้ท่าเดินจงกรมเดินไปแผ่เมตตาไปตามทุกลมหายใจ จะช่วยให้จิตใจสบายปลอดโปร่งคลายความหงุดหงิดได้
    <o:p></o:p>
    9.2 กลางคืนอย่านอนหลับหัวคํ่าเกินไป ให้นอนหัวคํ่าที่สุดประมาณ 21.00 น. หรือว่าดึกกว่านี้หน่อยเวลานอนจะได้นอนหลับทีเดียวจนถึงเช้า
    <o:p></o:p>
    9.3 ทำจิตใจให้มีอารมณ์สบายๆ ก่อนนอน สวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตา ระลึกถึงกุศล ความดีที่เคยทำมา แล้วอุทิศผลบุญเหล่านั้นให้กับผู้มีพระคุณทุกท่าน และเจ้ากรรมนายเวร แล้ววางอารมณ์ทุกอย่างลืมเสียให้หมด เช่น ดีใจจนตื่นเต้น เสียใจจนเศร้าโศก ความอาฆาตมาดร้ายพยาบาท หรือว่า ความคิดที่ว่าทำอย่างไรจึงจะได้มีสมบัติมากๆ เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    9.4 สะกดใจให้สงบอยู่กับที่ นอนในท่าที่รู้สึกว่าสบายหลับตาแล้วภาวนาหายใจเข้าว่า “พุท ”หายใจออกว่า “โธ ”หรือสวดมนต์ในใจบทใดบทหนึ่งก็ได้ส่วนจิตใจนั้นต้องส่งความรู้สึกทั้งหมด ไปตามคำภาวนาหรือบทสวดมนต์นั้นๆ ไปเรื่อยๆ ภาวนาจนกว่าจิตใจ จะสงบและหลับไป
    <o:p></o:p>
    9.5 ปล่อยใจวางภาระทุกอย่าง นอนในท่าที่รู้สึกสบาย หลับตาแล้วระลึกถึงกุศลความดีที่ได้ทำมา แล้วอุทิศให้ผู้มีพระคุณทุกท่าน และเจ้ากรรมนายเวรแล้วภาวนาแผ่เมตตาไป จนจิตใจสงบหลับไปในที่สุดระหว่างภาวนาแผ่เมตตานั้น จิตใจจะต้องน้อมนำไปตามความหมายของบทแผ่เมตตา
    <o:p></o:p>
    ถ้ายังไม่หลับ ให้ระลึกว่า กายเรานี้สักแต่ว่ากายเป็นเพียงก้อนธาตุก้อนหนึ่งที่วิญญาณเราอาศัยอยู่ เพื่อใช้กรรม รอเวลาให้หมดวาระตามอายุขัยที่มีอยู่ หรือตามกรรมที่กระทำไว้ในอดีต ที่จะส่งผลมาปัจจุบันชาติให้เราอาจจะตายเมื่อใดก็ได้ บางทีเดี๋ยวก็อาจจะตาย<o:p></o:p>
    ร่างนี้พร้อมแล้วที่จะแตกดับไป กายนี้พร้อมแล้วที่จะแปรธาตุสลายไปสู่ธาตุเดิมคือ ดิน นํ้า ลม ไฟ ที่อยู่ตามธรรมชาติ ไม่เป็นแก่นสารสาระอะไรที่เราจะมายึดมั่นถือมั่นให้ทุกข์กาย ทุกข์ทั้งใจ เราไม่มีอะไรที่จะยึด เราไม่มีอะไรที่จะหลง เมื่อนั้นเราจึงไม่มีทุกข์ใดๆ ที่จะมาทำให้เราต้องกังวลจนนอนไม่หลับ คิดไปภาวนาไปเรื่อยๆ แล้วทำใจสบายๆ ไม่เครียดแบบเอาจริงเอาจัง ทำใจให้ได้ว่า การนอนหลับของเราก็คือ การตายแบบหนึ่งที่เราปล่อยใจ วางภาวะทุกอย่างเตรียมพร้อมแล้วที่จะตาย เพราะทุกอย่างของคนเรานั้น สิ้นสุดที่ “ ตาย ”<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า72<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    10 ท่าฝึกสมาธิแบบอิสระ
    <o:p></o:p>
    เป็นการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตที่ไม่จำกัดท่าฝึกสถานที่เพียงแต่มีเวลาชั่วขณะหนึ่ง หรือว่า ยามที่ไม่ต้องใช้ความคิดท่านก็หาโอกาสนั้นที่จะภาวนาได้แม้จะไม่หลับตาก็ภาวนาได้ เช่น ขณะนั่งรถ เดินทาง หรือว่า นั่งซักเสื้อผ้า เก็บกวาด ทำความสะอาด ท่านเพียงแต่ภาวนา “ พุท ” “ โธ ”ควบคุมอารมณ์ให้สงบ ก็เป็นการฝึกจิตให้สงบอย่างเบื้องต้นที่ดีแล้วแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น
    <o:p></o:p>
    ท่าอิสระอีกแบบหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    เป็นวิธีฝึกสมาธิปฏิบัติจิต ที่เหมาะสำหรับท่านที่ไม่มีเวลาว่างจริงๆ เพียงแต่ท่านใช้เวลาให้จิตสงบครั้งละ 5 นาที
    <o:p></o:p>
    เมื่อท่านเมื่อยล้าจากการงาน การใช้สายตา ประสาทเครียด มึนศีรษะ หรือกำลังโมโหอยู่ ขอให้ท่านนั่งหรือนอนในอิริยาบถที่สบาย หลับตานึกถึง พระพุทธเจ้า หายใจเข้าท่องว่า “ พุท ” หายใจออกท่องว่า “ โธ ” เมื่อครบกำหนดเพียงประมาณครู่หนึ่งหรือ 5 นาที แล้วออกจากสมาธิ ร่างกายก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้น พร้อมที่จะทำงานต่อไป ตาก็ได้พักสายตาคลายความเมื่อยล้าของประสาทตา ประสาทต่างๆ ก็คลายความเครียดลงสมองก็จะปลอดโปร่ง ความโมโหโทโสก็หยุดชะงักลงเกิดสติยั้งคิดทันก่อนที่จะทำอะไรผิดพลาดไปได้
    <o:p></o:p>
    นี่ละ “ อานิสงส์ของสมาธิเพื่อชีวิตประจำวัน ”
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า74<o:p></o:p>
    การฝึกสมาธิที่ดี
    <o:p></o:p>
    ต้องเน้นหนักทั้งการออกกำลังบริหารกายที่พอเหมาะและการพัฒนาจิตใจอย่างสมํ่าเสมอ
    <o:p></o:p>
    “ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของสังคม<o:p></o:p>
    ท่านสามารถอยู่อย่างสงบกาย สงบใจ <o:p></o:p>
    ท่านก็คือยอดคนที่มีสมาธิอันยอดเยี่ยม ”<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...