หลวงพ่อสมคังคสุวัณโณ อดีตเกจิดัง-เมืองสุพรรณ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 20 มีนาคม 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    หลวงพ่อสมคังคสุวัณโณ อดีตเกจิดัง-เมืองสุพรรณ

    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "พระครูศรีคณานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อสม คังคสุวัณโณ" อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ และอดีตเจ้าอาวาส วัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปที่ชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก

    ชาติภูมิ หลวงพ่อสม เกิดในสกุล ยาอุไร เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2441 ณ บ้านเลขที่ 130 หมู่บ้านทองลุ่ม หมู่ที่ 2 ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

    โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายถมยา และนางบุญมา มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน หลวงพ่อสมเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้ง 4 คน

    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2461 ณ พัทธสีมาวัดตะค่า (วัดดอนบุบผาราม ในปัจจุบัน) ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มีพระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการผ่อง วัดยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการโฉม วัดพังม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายา คังคสุวัณโณ

    ในช่วงพรรษาแรก ท่านได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่อ้น ที่วัดดอนบุบผาราม ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่อ้น ซึ่งหลวงปู่อ้นได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาให้มากมาย

    กล่าวกันว่าในยุคนั้น วัดดอนบุบผาราม เปรียบเสมือนตักสิลาแห่งการเรียนรู้อีกแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี อีกทั้งหลวงปู่อ้น เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มี ชื่อเสียงโด่งดังของเมืองสุพรรณบุรีในสมัยนั้น มีชื่อด้านวิทยาคมและแพทย์แผนโบราณ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

    พ.ศ.2462 หลวงพ่อสมได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(เข้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ โดยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ที่คณะ 9 ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี สอบได้นักธรรมชั้นตรี

    หลวงพ่อสม เดินทางกลับวัดดอนบุบผาราม เมื่อปี พ.ศ.2467 เพื่อปฏิบัติรับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่อ้น ซึ่งขณะนั้นอาพาธ และในปี พ.ศ.2469 หลวงปู่อ้นมรณภาพด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 88 ปี

    ต่อมา หลวงพ่อสม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม ในปี พ.ศ.2471

    หลวงพ่อสม ท่านเป็นที่มีเมตตาจิตต่อประชาชนเสมอเหมือนกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นพระนักพัฒนา ทั้งอาคารสถานที่ การศึกษา จนกระทั่งพัฒนาคน ส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียน อบรมศีลธรรม จริยธรรม แก่พุทธศาสนิกชนให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามหลักของพระพุทธศาสนา และประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและบ้านเมือง

    อีกทั้ง หลวงพ่อสม ไม่เคยใช้วาจาที่เปล่งออกไปซึ่งทำให้บุคคลใดเจ็บใจเลย หรือพูดง่ายๆ ว่า "หลวงพ่อด่าไม่เป็น"

    คำสอนที่หลวงพ่อสม มักกล่าวอบรมลูกศิษย์ คือ "สะทา โสตถี ภวันตุ โว" อันมีความหมายว่า "จงทำดี พูดดี คิดดี จะเป็นศรีแก่ตน"

    ครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2492 หลวงพ่อสมได้เดินทางไปตัดไม้ในป่า เพื่อนำมาสร้างวัด โดยมีกรรมการวัดเดินทางไปด้วยมากมาย ท่านตั้งกองเกวียนอยู่ที่ด่านช้างดงเชือก หรือ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ในปัจจุบัน

    ตกกลางคืน หลวงพ่อสมได้จำวัด มีลูกศิษย์และคณะกรรมการวัดที่ เดินทางติดตามกันมานอนกันล้อมรอบหลวงพ่อสม ด้วยความอ่อนเพลีย คนส่วนมากจึงหลับกันหมด

    ปรากฏว่าได้มีงูเห่าหม้อดำสนิท ยาวประมาณ 1 เมตร เลื้อยขึ้นมานอนขดอยู่บนอกหลวงพ่อสม แต่หลวงพ่อไม่ตกใจ กลับเรียกให้ทุกคนที่นอนล้อมเป็นวงกลมรอบๆ ท่านดู พร้อมกับบอกบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายว่า "อย่าไปทำอะไรเขานะ เขามาร่วมอนุ โมทนาในการตัดไม้ไปสร้างวัดกับพวกเราด้วย เดี๋ยวเขาก็จะไปเอง"

    จากนั้นงูเห่านั้นก็ได้เลื้อยไปอย่างช้าๆ พอพ้นเขตกองเกวียนของวัด งูนั้นได้หายไปอย่างน่าอัศจรรย์

    ยามรุ่งอรุณของวันที่ 5 เมษายน 2532 ซึ่งเป็นวันพระทำบุญตามประเพณีไทย ชาวบ้านต่างมาทำบุญใส่บาตร พระภิกษุสามเณรลงสู่ศาลาการเปรียญ และทายกได้ดำเนินศาสนพิธี

    ขณะนั้น หลวงพ่อสมนอนพักอยู่ที่กุฏิ ได้ยินเสียงพระกำลังให้ศีลอยู่บนศาลาใหญ่ ท่านจึงถามลูกศิษย์ซึ่งอยู่ปฏิบัติรับใช้ ว่า "วันนี้เขาทำอะไรกัน" ลูกศิษย์ตอบว่า "วันนี้เป็นวันพระสิ้นเดือน 4 เขาทำ บุญกัน"

    หลวงพ่อสมก็ตอบมาทันควันว่า "ถ้าอย่างนั้นฉันตายวันนี้แหละ" ทุกคนที่นั่งตรงนั้นต่างตกตะลึง

    จากนั้นท่านได้ขอให้ลูกศิษย์ช่วยอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ก่อนให้หลวงพ่อสม นอนหลับตาทั้งสองอย่างสนิท

    ในที่สุด หลวงพ่อสมได้มรณภาพ อย่างสงบ สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71


    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...