หลักการช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 13 มีนาคม 2010.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    [​IMG]

    ๑. การให้ความรักและความเห็นอกเห็นใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงถูกความเจ็บปวดทางกายรุมเร้าเท่านั้น หากยังถูกรบกวนด้วยความกลัว เช่น กลัวความเจ็บปวด กลัวถูกทอดทิ้ง เป็นภาระ กลัวตายโดยไม่มีใครอยู่ด้วย ความรักและกำลังใจจะช่วยเยียวยาความกลัว และต้องรักแบบสุดหัวใจ หรือรักแบบไม่มีเงื่อนไข บางครั้งผู้ป่วยอาจต้องการทดสอบด้วยการแสดงออกหลายอย่าง ผู้ดูแลจึงต้องอดทนอดกลั้นต่อการกระทำ หรือวาจาของผู้ป่วย ช่วยดูแลเรียกสติให้กลับคืนมา หรือการใช้ภาษากายสัมผัสอย่างนุ่มนวล น้อมนำให้ผ่อนคลายตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา จะมีส่วนช่วยให้หายกระสับกระส่ายได้ เรียกว่า “มีเมตตาจิต”
    พร้อมที่จะให้ความใส่ใจ ยอมรับสิ่งที่ผู้ป่วยทำและเป็น ตามความเป็นจริง ให้ความมั่นใจว่าจะดูแลช่วยเหลือ และตัวเขาจะไม่เป็นภาระแก่เรา นิ่ง รับฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่คาดหวังผู้ป่วยว่าจะต้องดีขึ้น ช่วยปลดวางความหนักของจิตใจ ทำใจ และไม่คาดหวังทุกข์ร้อนกับการป่วยจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผิดติดค้าง ตายจากไปไม่ได้
    กรณีตัวอย่าง พ.ญ.อมรา มะลิลา เล่าถึงผู้ป่วยคนหนึ่งซึ่งประสบอุบัติเหตุอย่างหนักระหว่างที่นอนหมดสติอยู่ในห้องไอซียูนานเป็นอาทิตย์ เขารู้สึกเหมือนลอยเคว้งคว้าง แต่บางช่วงจะรู้สึกว่ามีพลังบางอย่างส่งเข้ามาดึงจิตเขาไว้ ทำให้ใจที่เคว้งคว้างเหมือนจะขาดหลุดไปนั้น กลับมารวมตัวกัน เกิดความรู้ตัวขึ้นมา สักพักความรู้ตัวนั้นก็เลือนไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกวัน เขามารู้ภายหลังว่ามีพยาบาลผู้หนึ่งทุกเช้าที่ขึ้นเวรจะมาจับมือเขาแล้วแผ่เมตตาให้กำลังใจ ขอให้มีกำลังและรู้สึกตัว ในที่สุดเขาก็ฟื้นตัวกลับเป็นปกติทั้ง ๆ ที่แต่แรก หมอประเมินว่ามีโอกาสน้อยมาก กรณีนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ว่าแม้จะหมดสติแต่จิตก็สามารถสัมผัสรับรู้กระแสแห่งเมตตาจิตของผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้
    ๒. ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง ทำให้เขาปล่อยวาง เตรียมตัวทำสิ่งที่สำคัญในชีวิต โดยต้องอาศัยศิลปะในการโน้มนำ เช่น การบอกข่าวร้ายต้องหา Key person ที่มีอิทธิพลต่อตัวผู้ป่วย ที่สำคัญคือต้องบอกความจริงกับผู้ป่วย พร้อมประเมินทั้งผู้ป่วยและญาติเป็นระยะ
    ๓. การปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสขอโทษ หรือขอขมา เพื่อให้คลี่คลายความรู้สึกผิด ความโกรธ หรือช่วยให้เขาสะสางงานที่คั่งค้างอยู่ เพราะบ่อยครั้งเรารู้สึกติดค้างกับคนใกล้ชิด เช่น ลูก สามี
    ๔. ช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ เพราะสัญชาติญาณขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือการยึดติดกับตัวตน ขัดขืนดิ้นรนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
    อาจพูดให้คิดเรื่องที่ห่วงใยและช่วยคลายความกังวล (งาน ทรัพย์ ความรู้สึก) หรือแม้กระทั่งคลายความโกรธ และช่วยอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อขออโหสิกรรม
    ๕. ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม เมื่อป่วยจิตมักจะจมอยู่กับความทุกข์ ช่วยน้อมให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งที่ดีงาม ความประทับใจ จะช่วยคลายจากความทุกข์ เช่น สวดมนต์ ภาวนา จิตจะจดจ่ออยู่กับสิ่งดีงามจนอาจไม่สนใจความปวดที่เกิดขึ้น หรือพูดถึงความดีที่ทำให้ผู้ป่วยภูมิใจ หรือแม้แต่พ่อแม่ที่เจ็บป่วย ลูกก็สามารถพูดให้พ่อแม่รู้สึกปลาบปลื้มปิติ เกิดจิตเป็นกุศลได้ คนทั่วไปอาจไม่รู้สึกปลาบปลื้มเท่าคนป่วยหรือคนใกล้ตาย สิ่งนี้ทำให้จิตไม่หวนกลับไปจมอยู่ในสิ่งที่ไม่ดี

    สิ่งดีงามที่ทำให้จิตเป็นกุศลมี ๒ ส่วน คือ
    ๑) ภายนอก : สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระรัตนตรัยฯ

    ๒) ภายใน : คุณความดีที่ตนเคยทำในอดีตจะช่วยทำให้อาการเจ็บปวดลดลง เกิดความดีใจอิ่มใจ เช่น ชวนให้ทำบุญ ถวายสังฆทาน และให้ระลึกถึงความดีในขณะปัจจุบันเชื่อมโยงไปสู่อดีต
    ๖. การสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากมีเสียงร้องไห้ จิตใจผู้ป่วยจะเป็นทุกข์ มีผู้ป่วยมะเร็งบางคนเผชิญกับความเจ็บปวดด้วยการทำสมาธิให้จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกหรือการพองยุบของท้อง ปรากฏว่าแทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดเลย อีกทั้งจิตยังแจ่มใส ตื่นตัวกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอีกด้วย การชักชวนผู้ป่วยทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน โดยมีการจัดห้องให้สงบและดูศักดิ์สิทธิ์ เช่น มีพระพุทธรูปอยู่ในห้อง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ และน้อมจิตของผู้ป่วยในทางที่เป็นกุศลได้ แม้แต่การเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ บทสวด ก็มีประโยชน์ในทางจิตใจต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน บรรยากาศของความสงบนี้ สำคัญมากแม้กระทั่งตอนที่เขาจากไปแล้ว หรือตอนโคม่า เพราะถือว่าแม้จะหยุดหายใจแล้ว แต่ถือว่าจิตยังอยู่

    ๗. การกล่าวคำอำลา เพื่อคลี่คลายความรู้สึกติดค้างใจ ยอมรับกับความตายที่จะมาถึง และจากไปอย่างสงบ แม้กระทั่งคนไข้โคม่าและไม่รู้สึกตัวแล้วก็ยังสามารถพูดได้
    กรณีตัวอย่าง มีหญิงชราผู้หนึ่งนั่งอยู่ข้างเตียงสามีด้วยความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจมาก เพราะไม่เคยบอกสามีว่าเธอรักเขาเพียงใด มาบัดนี้สามีของเธอเข้าขั้นโคม่าและใกล้ตาย เธอรู้สึกว่าสายเกินไปแล้วที่เธอจะทำอะไรได้ แต่พยาบาลให้กำลังใจเธอว่าเขายังอาจได้ยินเธอพูดแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใด ๆ เลยก็ตาม ดังนั้นเธอจึงขออยู่กับเขาอย่างเงียบ ๆ แล้วบอกสามีว่าเธอรักเขาอย่างสุดซึ้ง และมีความสุขที่ได้อยู่กับเขา หลังจากนั้นเธอก็กล่าวคำอำลาว่า “ยากมากที่ฉันจะอยู่โดยไม่มีเธอ แต่ฉันไม่อยากเห็นเธอทุกข์ทรมานอีกต่อไป ฉะนั้นหากเธอจะจากไป ก็จากไปเถิด” ทันทีที่เธอกล่าวจบ สามีของเธอก็ถอนหายใจยาวแล้วสิ้นชีวิตไปอย่างสงบ

    เรื่องแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้เพราะบางครั้งคนป่วยรอคอยคำอำลาหรือเรื่องค้างคาที่วานให้คนอื่นทำธุระให้

    จากหนังสือเรื่อง การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ
    พระไพศาล วิสาโล
     
  2. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เราใช้อะไรตัดสินหละว่า เขาไม่ได้ภาวนาเจริญอะไรมาเลย เราไม่มีทางรู้
    หลอกว่า หลายแสนอสงไขยมหากัปป คนๆนั้น เคยทำสมาธิเหาะเหินเดิน
    อากาศมาแล้วกี่ครั้ง เขาเคยพบพระพุทธเจ้ามาแล้วกี่พระองค์ เขาเคย
    พบพระปัจเจกพุทธเจ้ามาหรือไม่ เขาเคยได้สักการระคารวะพระเจ้าจักร
    พรรดิมาหรือเปล่า

    ป่วยการที่จะไปถามถึง หรือ เตือนเขาให้เร่งภาวนา

    แต่การพูดในสิ่งกุศล อันเป็นสิ่งที่ประกอบกุศล อาจจะทำให้เขาเกิดสติระลึก
    ได้ว่า เคยทำบุญในลักษณะนั้นมาก่อน แม้แต่การภาวนาเจริญสมาธิมาก่อน
    แม้แต่การเจริญสติปัฏฐานมาก่อน หรือ แม้กระทั่งเขาเคยมีวาสนาได้ประกอบ
    บุญใหญ่มาก่อน มันก็จะช่วยให้เขาระลึกได้ในผลบุญที่ใหญ่นั้น และส่งผลให้
    กรรมที่มีกำลังอ่อนกว่าแทรกไม่ได้ เมื่อนั้นก็พอมีโอกาสส่งให้เขาเข้าสู่สุคติ
    ได้ หรืออาจจะส่งเข้านิพพานเลยก็ได้

    เหตุที่เขาเคยประกอบไว้ดีกว่าเรา อาจจะมีอยู่ จึงไม่ควรประมาทกัน เพราะหาก
    เพียงเขาแค่รู้(ระลึกได้) บางที่เขาอาจจะมีคติที่ไปที่ประเสิรฐกว่าเรา แล้วคน
    ที่ประมาทเขาก็ตกฐานะสร้างกรรมใหญ่ทันที


    วิธีที่ จขกท นำเสนอ ก็ดีกว่า ไม่ประกอบกุศลเลย ปล่อยวางแบบเฉยเมยไม่สละ
    อะไรให้เขาบ้างเลยซึ่งไม่ใช่อาการอุเบกขา แต่เป็น ตุณฮี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2010
  3. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    การเตือนคนให้สร้างเหตุดีๆที่เป็นกุศลเพื่อจะได้ช่วยตัวเองได้หนะ เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วเพราะถึงคนๆนั้นจะเคยทำกุศลอะไรมาในอดีตชาติ มันก็เป็นอดีต ที่นอกจากจะไม่มีใครรู้ว่าคนๆนั้นเคยทำอะไรมาบ้างแล้ว แม้แต่ตัวเขาเองก็ยังไม่รู้ด้วยเหมือนกันเขาเคยทำกรรมดีอะไรมาบ้าง เมื่อไม่รู้ก็ระรึกไม่ได้ ระรึกถึงไม่ได้มันก็ไม่มีประโยชน์

    เพราะฉะนั้นการช่วยตนเองโดยการสร้างเหตุคือกุศลไว้ในชาตินี้เองดีที่สุด
    พุทธพจน์ที่ว่า ตนคือที่พึ่งแห่งตน แน่นอนที่สุด ไม่มีใครช่วยเราได้ถ้าเราไม่สร้างเหตุด้วยตัวเราเอง
    เผื่อว่าใครจะมองไม่ออกว่าการเตือนแบบนี้ก็เป็นกุศล ไม่ไช่การวางเฉยไม่สละ
    ไม่รู้อะไรบังตามัน ช่างมันช่างมัน
    หุหุหุ
     
  4. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    แม้ พึ่งออกมาจากสวดมนต์มาเจอคำถามเด็ดซะแระ เราเลยจะเฉยได้ไงล่ะ หึ
    พี่เล่า เคยเจอประสบการณ์ผู้ป่วยหนักหรือยังล่ะ เคยป่วยหนักขนาดนอนโรงพยาบาลไหม
    ตอนนั้น หากใครเจริญสติไม่เป็น หรือไม่เคยภาวนา มาก่อน ก็จะเกิดอาการเครียดกับความตาย และเป็นห่วงคนข้างหลังมาก หลบภัยเคยประสบมาแล้ว เห็นคนร้องไห้รอบตัวเรา
    ใจเราหม่นหมอง แต่ด้วยว่ายังไม่สิ้นกรรมก็เลยเดนตาย มาโพสกระทู้นี้ล่ะ
    สิ่งที่ตัดสินได้คืออาการวาดระแรง สายตา กริยาท่าทาง หากผู้ป่วยยังมีสตินะ
    แต่หาก ผู้ป่วยหมดสติ หลับไหล หลง เราสามารถ สัมผัสทางกาย วาจา ใจ
    เขารับรู้ได้ แผ่เมตตาให้เขา คนที่มีเมตตาจิต คนอยู่ใกล้ย่อมเย็น
    แผ่เมตตาและ ให้ธรรมทาน เป็นนิสัย แม้สิ่งที่เลวร้ายตรงหน้าก็ยังมั้นคง

    โดยเอาสติของเรา และความมีศีลปกติของเรา แผ่เมตตาไป ไม่ว่าเขาจะ กล่าวอนุโมทนา
    หรือไม่ก็ตาม ให้แบบชาวพุทธ
     
  5. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    มีพระสูตรของพระพุทธเจ้าอยู่นะ สำหรับผู้หมดโอกาส หรือผู้ที่จะสิ้นชาติ
    เคยมีคนตั้งกระทู้ไว้ว่า "แค่คิดถึงพระพุทธเจ้าก็นิพพานได้" เหมาะกับกาลของผู้ที่ความตายรออยู่ไม่ไกลนัก

    แต่จะใช้คำนี้กับผู้ที่ยังมีโอกาสคงจะไม่เหมาะนัก หากบุคคลผู้นั้นหลงผิดคิดกลับใจจะบอกว่าแค่คิดถึงพระพุทธองค์ก็นิพพานได้เพียงเท่านั้นคงไม่เป็นสัมมาทิฐิ เพราะเขาผู้นั้นอาจจะหมดศรัทธาหรืออาจจะฮึกเหิมทำชั่วต่อไปได้ เพราะเหตุอย่างนี้จึงเป็นมิจฉาทิฐิไม่เหมาะกับกาล ข้าพเจ้าจึงต่อว่าเขาไป

    การที่มีความคิดเห็นไปว่า..
    หมดชาตินี้ไม่มีชาติหน้า = มิจฉาทิฐิ
    หมดชาตินี้ยังต้องมีชาติหน้า = มิจฉาทิฐิ
    ตายแล้วก็ตายไปเลย = มิจฉาทิฐิ
    ตายแล้วไปเกิดใหม่ = มิจฉาทิฐิ

    หมดชาตินี้แล้วยังมีชาติ บ้างก็มีบ้างก็ไม่มี
    หมดชาตินี้แล้วไม่มีชาติหน้า บ้างก็มีบ้างก็ไม่มี
    ตายแล้วตายเลยไม่เกิดอีก บ้างก็มีบ้างก็ไม่มี
    ตายแล้วยังต้องไปเกิดอีก บ้างก็มีบ้างก็ไม่มี

    การที่ผู้ป่วยใกล้ตายให้ตายไปอย่างสงบ อันที่จริงน่าจะเป็นผู้ให้กำลังใจสงบมากกว่า เพราะเมื่อพิจารณาเชิงลึกแล้ว จิต นี่ไวพอสมควรหรือจะกล่าวได้ว่า ไวมากเหมือนเขาว่ากันว่า จิตเร็วกว่าแสงเสียอีก มันอยู่ที่ว่าตัวผู้ป่วยนั้นทำกรรมอะไรมา ไม่ว่าจะมากจะน้อยก็ดีเมื่อจิตดับจะจดจำแต่สิ่งนั้นไปนานแสนนาน แต่การทำแต่กรรมดีก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างกำลังใจตัวเอง(บารมี)
    อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่า เมื่อเราทำดีมาทั้งวัน ทำดีแบบไม่หวังอะไรสิ่งใดตอบแทน ทำเพื่อให้คนอื่นหรือสิ่งอื่นให้ได้แต่สิ่งดีๆ โดยที่ไม่ยึดหวังว่าเขาจะได้ดีๆดังที่ใจหวัง เมื่อถึงเวลาเราจะนอนเราก็เอนตัวลง หัวถึงหมอนในขณะที่จิตใจมีแต่ความเอิบอิ่มใจเพราะได้กระทำแต่สิ่งดีๆไว้แล้วตั้งแต่ตื่นเราก็หลับอย่างสบาย.. แต่ถ้ากระทำแต่สิ่งที่มันตรงกันข้ามก็จะส่งผลตรงกันข้ามอาจจะนอนหลับยากนอนกัดฟัน มีภาวะความเครียด จนหลับไป หลับก็แบบไม่สนิทมั่วแต่ระแวงไปต่างๆนานา หรืออาจจะค้างข้ามวันไปเลยทีเดียว
    คราวนี้มาพิจารณาเปรียบเทียบดูว่าถ้าคืนนั้นเป็นวาระสุดท้ายของภพชาตินี้
    อารมณ์ดังกล่าวก็จะติดไปด้วย อย่างมีความเป็นไปได้สูง

    ฉนั้นพุทธศาสนาขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมิกล่าวให้กระทำแต่ความดีเพื่อหลุดพ้นไปจากวัฎสงสารเพราะมันหลุดไปไม่ได้ จึงได้มีตำรา มีพระธรรมอธิบายไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอย่างน่าอัศจรรย์ใจราวกับว่าพระองค์ได้มาสถิตอยู่ในจิตเราทุกคนแล้วตั้งแต่ต้น


    ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนก็แล้วกัน
     
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ในขณะที่เขาป่วย เขามีเวทนา คนส่วนใหญ่ จะไม่มีกำลังภาวนาจะเกิดแต่ความกลัว
    ไม่งั้น ไปมาหลายอสงไขยมหากัปนี้หรอก
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ญาติใครป่วยอยู่ อย่าเศร้าโศก

    ให้เบิกบาน แผ่เมตตา ให้คนป่วย มากๆ เขาจะรับ อานิสงค์ แล้วจะระงับเวทนาได้
     
  8. วริษฐ์

    วริษฐ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +75
    กระทู้นี้ดีจังเลย ขอคุณเจ้าของกระทู้ที่นำมาเผยแผ่นะครับ.. เป็นประโยคมาสำหรับทุกคนเลย... เพราะทุกคนหรือไม่แต่คนรอบข้างก็หนีไม่พ้น...

    สิ่งที่ผมเจออยู่ทุกวัน... พอจะเป็นแนวทางในการนำไปปฎิบัติครับ...



    ขอบคุณครับ
    อนุโมทนาสาธุ...



    .
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  10. mib8gdviNz

    mib8gdviNz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ขอบคุณมากครับ อิอิ~..
     
  11. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    เคยมีโอกาสได้ส่งผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตครั้งหนึ่ง

    ขออนุญาตนำเรื่องราวของพี่มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นธรรมทานนะคะ
    และขอให้บุญกุศลนี้ส่งถึงพี่โดยตรงด้วยเถิด

    ผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 34 ปี มาโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาโรค
    แต่เธอต้องนอนโรงพยาบาลอยู่ 33 วัน โดยไม่ได้กลับไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
    ผู้ป่วยและญาติไม่ได้ผ่านการเตรียมใจมาก่อนเลย
    เพราะไม่เคยคิดว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเองและคนที่เขารัก
    (จากคำบอกเล่าของผู้ป่วยและญาติ)

    อาการผู้ป่วยหลังจากนอนโรงพยาบาลจนถึง 7 วันสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
    อาการของเธอทรุดลงเรื่อยๆ ตอนนั้นญาตินำพระพุทธรูปมาวางไว้ที่โต๊ะข้างเตียงแล้วสวดมนต์ให้ผู้ป่วยฟัง
    เพื่อหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยประคับประคองจิตใจผุ้ป่วยไว้ได้
    แต่ด้วยเวทนาทางกายที่รุมเร้า ผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่ายเป็นระยะๆ
    ตอนนั้นเราเป็นคนเดียวที่ดูจะทำให้เธอลดความกระสับกระส่ายได้มากที่สุด
    วิธีที่ใช้คือเราสัมผัสบริเวณที่เธอปวดเบาๆ พยายามพูดคุยด้วยเสียงที่นุ่มนวล
    พอเธอสงบก็พยายามให้เธออยู่กับลมหายใจเป็นที่ตั้ง
    เธอทรงตัวอยู่ได้ สงบลงได้ในระดับหนึ่ง
    จนวันสุดท้ายเธออยู่ในสภาวะี่ที่ร่างกายทนอยู่ไม่ได้ หายใจเริ่มจะล้มเหลว ออกซิเจนในเลือดลดต่ำลงจนเหลือเพียง 42%
    แต่น่าแปลกที่เธอยังรู้ตัวดี เรียกหาเราแล้วบอกว่าเธอเหนื่อย
    20.00น. ตอนนั้นทางเดียวที่พอจะทำได้คือนำมาลัยดอกมะลิที่วางอยู่หัวเตียงเธอมาให้เธอดม แล้วบอกเธอว่า พี่คะ นี่เป็นมาลัยดอกมะลินะ พี่ได้กลิ่นใช่ไหม หนูจะเอามาลัยนี้ถวายพระค่ะ พี่เอามาลัยนี้ไปถวายพระนะ
    เป็นที่น่าแปลกใจที่เมื่อเธอได้ยินเช่นนั้น ค่าออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้นมาเกือบสู่ระดับปรกติ เธอนิ่งสงบลง หายใจช้าลง สัญญาณชีพกลับมาเกือบเป็นปรกติอีกครั้ง
    23.00น.เธอตื่นขึ้นมาด้วยอาการปวดที่กระดูก แม่เธอพยายามเอายานวดให้เธอร้องโวยวาย เรียกร้องหาเราตลอดเวลา ในขณะนั้นเรากำลังจะลงเวร สามีผู้ป่วยขอร้องเราในฐานะเพื่อนมนุษย์ ขอในเราอยู่เป็นเพื่อนภรรยาเธอได้หรือไม่ เราตอบตกลง เราเข้าไปหาเธอแล้วบอกเธอว่าเราอยู่นี่แล้ว เราจับตำแหน่งที่เธอปวดเบาๆ ตอนนั้นไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากจับด้วยความรู้สึกว่า อยากให้เธอเบาคลายจากความทุกข์ทรมาน
    01.00น.ผู้ป่วยสงบลง หายใจเริ่มช้าลงเรื่อยๆ น้องชายของผู้ป่วยร้องไห้โหเพราะรู้ว่าพี่สาวคงเหลือเวลาอีกไม่นาน ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาตะคอกน้องชายว่าจะร้องทำไม พี่กำลังจะสวดมนต์ เราต้องพาน้องชายผู้ป่วยออกไปข้างนอก ปลอบใจให้ยอมรับในสิ่งที่กำลังจะเกิด
    03.00น. เข้าไปดูเธออีกครั้งตอนนั้นเธอแทบจะหมดลมหายใจแล้วแต่ใบหน้าเธอกลับดูยิ้มละไม เหมือนคนนอนหลับธรรมดา
    05.00น. เธอจากพวกเราทุกคนไปอย่างสงบ ไม่มีแม้แต่อาการทุรนทุราย

    ป.ล. ท่านผู้ใดที่กำลังประมาทในความตายโปรดรู้เถิดว่าความตายเป็นดังเพื่อนสนิท ความตายไม่เคยสะกิดเตือนเราไว้ก่อนเลย
    -เวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะตายนั้นแรงกล้านัก หากคนที่ไม่เคยเตรียมพร้อมรับมือมาก่อนย่อมทำจิตที่เป็นกุศลได้ยาก เปรียบเหมือนท่านมีกำลังวังชาที่แข็งแรง กำลังเล่นน้ำตกอยู่แล้วโดนน้ำป่าที่ซัดลงมา หากไม่ได้เตรียมตัว ยากนักที่จะรับมือได้
    -ขอย้ำอีกครั้ง นี่เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดซึ่งกันและกัน โปรดอย่ามัวมานั่งตัดสินผิดตัดสินถูกกันอยู่เลย สิ่งใดที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องก็พึงวางมันไว้ที่ตรงนี้ไม่ต้องเก็บเข้าไปไว้ในใจเถิด


    สุดท้ายนี้ ขออนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้อย่างยิ่งสำหรับกระทู้ดีๆเช่นนี้
     
  12. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พยายามให้เขาไปอย่างสงบ ได้หรือไม่ได้ ก็พยายามทำให้ดีที่สุด
    เมตตาจิต ...พิชิตเวทนา..

    ความเศร้าโศกเสียใจ มันช่วยอะไรไม่ได้ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไป ถวายสังฆทาน แล้ว อุทิศให้กับ เจ้ากรรมนายเวร ของผู้ป่วยก็ได้
    ถวายเงิน สร้าง ตึกอาพาธสงฆ์ กับ หลวงตา แล้วอุทิศให้ ผู้ป่วย เจ้ากรรมนายเวรของผุ้ป่วย
    ทำกุศลให้ทุกทาง
     
  14. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    กำหนดรู้นะ

    รู้และเข้าใจหรือยัง เวลาปฏิบัติธรรม ปวดหลัง ปวดขา ปวดนั่นปวดนี่ทางกาย เวทนา จิต ธรรม แต่พระไม่ได้บอกให้เปลี่ยนท่าที่มันทรมานหนีไปเรื่อย เพียงแต่กำหนดรู้ไปเรื่อยๆตามความเป็นจริง..พอจะเข้าใจและเกิดปัญญากันแล้วนะครับ รู้หนอ รู้หนอ .. มีอีกนะแต่จะคงคุณธรรมไว้เช่นพระจึงจะไม่กล่าว ขอให้ใช้ปัญญากันนะครับ

    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...