ดุสิตธานี

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 30 กรกฎาคม 2006.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    วันนี้พาทัวร์แบบย้อนอดีตค่ะ ไปเที่ยวดุสิตธานีกัน เปล่าค่ะ ไม่ได้ไปโรงแรมใหญ่ในกรุงเทพฯ แต่ว่านั่งยานเวลากลับไป พ.ศ. ๒๔๖๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยุคที่เมืองหลวงยังมีสภาพแบบเมืองปนสวนอุดมสมบูรณ์ มีน้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา อากาศดีหายใจได้เต็มปอด มีถนนไม่กี่สาย แต่ว่างจากยวดยานพาหนะ เราจะได้นั่งยานแล่นฉิวไปหยุดตรงประตูทางเข้าพระราชวังดุสิต แล้วลงจากรถเดินเกาะกลุ่มกันเข้าไปด้วยกัน
    โน่นค่ะ เดินไม่ทันเมื่อย ไปถึงอ่างหยกสระน้ำใหญ่ในบริเวณพระราชวัง จะเห็นมีสนามหญ้าราบเรียบคั่นระหว่างอ่างหยกตรงนี้กับพระที่นั่งอุดร ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว สนามตรงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ครึ่ง เป็นที่ตั้งของเมืองเล็กๆคล้ายเมืองตุ๊กตาประกอบด้วย พระราชวัง ศาลารัฐบาล วัดวาอาราม อาคารกลุ่ม บ้านใหญ่ และ บ้านน้อย ประมาณเกือบสองร้อยหลัง สร้างด้วยฝีมือประณีตบรรจงเห็นรายละเอียดปลีกย่อย ทาสีสวยสด มีสวนดอกไม้และถนนสายยาวสายเล็กๆลัดเลี้ยวผ่านหน้าบ้านไปจนทั่วเมือง ปลูกต้นไม้เล็กๆไว้ร่มรื่นข้างถนนสายสำคัญ พอตกกลางคืน ไฟฟ้าที่ติดไว้ในบ้านก็เปิดสว่างแลระยิบระยับเมื่อมองจากที่ไกล สวยงามราวกับเมืองในเทพนิยาย ถ้าหากว่ายังดูแลทะนุบำรุงไว้จนทุกวันนี้ ก็จะเป็นเมืองจำลอง ที่อวดนักท่องเที่ยวได้ไม่แพ้เมืองจำลองมาดูโรดัมในเนเธอร์แลนด์เลยทีเดียว<TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พระราชวัง


    </TD><TD></TD><TD>
    ศาลารัฐบาล


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD><TD></TD><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>
    วัดวาอาราม


    </TD><TD></TD><TD>
    อาคารกลุ่ม


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD><TD></TD><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>
    บ้านใหญ่


    </TD><TD></TD><TD>
    บ้านน้อย


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD><TD></TD><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมืองจำลองนี่ละค่ะ ชื่อ "ดุสิตธานี"


    ดุสิตธานีมีพลเมืองคือเจ้าของบ้านแต่ละหลัง แต่การมีบ้านในนั้นไม่ใช่ของง่าย ผู้ปลูกจะต้องยื่นเรื่องราวขอซื้อที่ดินปลูกบ้าน ณ ตำบลใดตำบลหนึ่งในเมืองก่อน เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วก็ต้องยื่นแปลนบ้านให้เจ้าหน้าที่โยธาธิการพิจารณา ได้รับอนุมัติแล้วจึงไปสร้างบ้านมาจากภายนอก แล้วยกเข้ามาตั้งไว้ในเมืองได้ ต่อจากนั้นต้องดูแลรักษาบ้านของแต่ละคนให้อยู่ในสภาพดี ยื่นคำร้องของติดตั้งไฟฟ้า และน้ำประปาแล้วจ่ายค่าน้ำค่าไฟตามกำหนด ถ้าหากว่าปล่อยบ้านให้รกรุงรังก็จะถูกคณะนคราภิบาลตักเตือนได้
    การดูแลบ้านเป็นของยากยิ่งกว่าปลูกบ้าน เจ้าของต้องเอาใจใส่ไปนั่งตัดเล็มหญ้าที่ขึ้นรกแค่ไม่กี่นิ้วก็ท่วมหลังคาบ้าน ถ้าถอนก็ต้องค่อยๆถอนออกทีละต้น ถ้าหลอดไฟขาดก็ต้องเปิดหลังคาใส่หลอดใหม่ และต้องรบรากับผู้บุกรุกไม่รู้จบคือพวกคางคกอึ่งอ่างที่ชอบเข้าไปอาศัยในบ้าน ถึงกับมีภาพวาดล้อเลียนอึ่งอ่างกระโดดเข้าจวนเทศา ลงในหนังสือพิมพ์ "ดุสิตสมิต"


    [​IMG]


    ภาพวาดล้อเลียนอึ่งอ่างกระโดดเข้าจวนเทศา


    อย่างไรก็ตาม "ดุสิตธานี" ไม่ใช่เมืองตุ๊กตาเป็นของเล่นสนุกๆนะคะ แต่เป็นแบบทดลองของการปกครองแบบตะวันตกที่คนไทยสมัยนั้นยังไม่รู้จักมาก่อน รูปแบบการดำเนินงานดัดแปลงมาจากธรรมนูญการปกครองเทศบาลของอังกฤษ เริ่มด้วยพลเมือง(เรียกว่านาคร) ลงเสียงเลือกตั้งผู้แทนในแต่ละอำเภอของดุสิตธานี เรียกผู้แทนว่า เชษฐบุรุษ แล้วเชษฐบุรุษ ก็ไปเลือกคณะ นคราภิบาลมาปกครองเมืองดุสิตธานีอีกที มีการออก"ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาลกันอย่างจริงจัง มีการประชุมดำเนินงานกันแบบของจริง
    พระราชประสงค์ในการสร้าง"ดุสิตธานี"เห็นได้จากพระราชดำรัสในวันเปิดศาลารัฐบาลดุสิตธานี ว่า"…วิธีการดำเนินงานในธานีเล็กๆของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจไว้ว่าจะให้สยามประเทศได้ทำเช่นเดียวกัน แต่จะให้เป็นการสำเร็จรวดเร็วทันใจดังธานีเล็กนี้ ก็ยังทำไปทีเดียวยังไม่ได้ โดยมีอุปสรรคบางอย่าง "
    " เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอให้ราชการทั้งหลายตลอดจนทวยนาคร จงตั้งใจกระทำกิจการของตนตามหน้าที่ให้สมกับธานีซึ่งได้จัดตั้งขึ้นนี้ ในไม่ช้าก็จะได้แลเห็นผลของประเทศสยามว่าจะเจริญไปได้เพียงไร "
    กิจกรรมในเมืองมีหลายอย่างล้วนแต่ทันสมัย คือการออกหนังสือพิมพ์ ตั้งพรรคการเมือง จัดตั้งธนาคารเรียกว่าดุสิตธนาคาร มีเช็คเล็กๆรับจ่ายเงินในเมืองนี้ได้ เมื่อนึกว่าในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้งในสยาม ดุสิตธานีก็เป็นแบบแผนการปกครองแบบใหม่ มีมาก่อนระบอบประชาธิปไตย และระบบเทศบาลในเวลาต่อมา
    ใครคือชาวเมืองดุสิตธานี? บุคคลสำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ทรงอยู่ในฐานะชาวเมืองคนหนึ่งใช้ชื่อว่า "นายราม ณ กรุงเทพ " เป็นเนติบัณฑิต อาชีพทนายความ มีบ้าน ๓ หลังชื่อ บ้านผูกใจบ้านหย่อนใจ และบ้านโปร่งใจ ส่วนนาครคือข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ที่ทรงใช้สอยไว้วางพระราชหฤทัย มีตั้งแต่มหาดเล็ก บุตรหลานขุนนางข้าราชการไปจนถึงหม่อมเจ้า ทรงเลือกผู้คนเหล่านี้ ซึ่งยังไม่รู้จักระบอบการปกครองแบบตะวันตกมาแนะนำสั่งสอนให้รู้จักการเลือกตั้ง นาครมีสิทธิ์เลือกคนที่ตนพอใจมาปกครองดุสิตธานี คนไหนที่นาครไม่พอใจก็ไม่สามารถเป็นผู้บริหารได้นาน นอกจากนี้การออกหนังสือพิมพ์ อย่าง ดุสิตสมิต ดุสิตสมัย ดุสิตสักขี ก็เพื่อเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร้องทุกข์ วิเคราะห์ วิจารณ์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาก่อน


    [​IMG]


    บ้านผูกใจ


    ในพ.ศ. ๒๔๖๒ ปีต่อมา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชนนีเสด็จสวรรคต ณ พระราชวังพญาไท พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหฤทัยอาลัยรักพระบรมราชชนนีมาก จึงทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังพญาไท แล้วย้ายดุสิตธานีไปสร้างใหม่มีบริเวณกว้างขวางกว่าเก่า มีบ้านเรือนใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯขยายการอบรมเรื่องประชาธิปไตยไปถึงช้าราชการภายนอก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สมุหเทศาภิบาล และนายอำเภอเข้าไปฝึกอบรมด้วย
    น่าเสียดายที่พอสิ้นรัชกาล ดุสิตธานีไม่ได้รับการทะนุบำรุงต่อ เมืองน้อยๆก็ทรุดโทรมลงไป สิ่งก่อสร้างกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ บ้านจำลองบางหลังเจ้าของยกกลับไปไว้บ้านเป็นที่ระลึก บางหลังก็ปรักหักพังไปตามเวลา หลงเหลือมาเป็นส่วนน้อยในปัจจุบันที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ทางเหนือ เมืองดุสิตธานีทั้งเมืองจึงเหลือแต่ภาพถ่ายอย่างที่ลงในบทความนี้ และเรื่องราวเบื้องหลัง รวบรวมขึ้นด้วยความอุตสาหะของข้าราชบริพารบางท่าน ที่ยังจดจำเรื่องนี้ไว้เป็นอนุสรณ์พระราชปณิธานในพระเจ้าอยู่หัว

    http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=246
     
  2. A~MING

    A~MING เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,734
    ค่าพลัง:
    +1,730
    โอ้ว นึกมาตลอดว่าเมื่อดุสิตธานีทำไซต์ 1:1 แต่นี่เล่น 1:200 แต่ชอบกบบุกยึกบ้านเทศา สงสัยมีการยึดอำนาจแน่ๆ กร๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  3. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,983
    ร. 5

    ทรงมีพระปรีชาสามารถและเมตตามาก...

    เป็นเรา เราจะคิดออกไหมเนี่ย อิอิ
     
  4. wasawat

    wasawat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +33
    พระองค์ทรงพระปรีชา จริงๆคับ
     
  5. ThunwaKnight

    ThunwaKnight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +142
    ดุสิตธานี เกิดในสมัย รัชกาลที่ 6 ครับ!!!

    จากนั้น รัชกาลที่ 7 ต่อเนื่อง พระราชประสงค์ ก่อกำเนิด

    "การปกครองระบอบประชาธิปไตย" คร๊าบโพ้มม

    (b-smile)
     
  6. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    ร. 7 ท่าน ยังไม่ได้คิดที่จะให้ประชาธิปไตยกับประชาชนหรอกครับ เพราะยุคนั้นชาวบ้านยังไม่รู้เลยว่าอะไรคือ ประชาธิปไตย
    แต่ท่านได้ถูกปล้นราชบัลลังก์โดยคณะราษฎร์ครับ
     
  7. ThunwaKnight

    ThunwaKnight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +142
    ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ ^ ^

    ว่าแต่ "ประชาธิปไตย" นี่เข้ามามีบทบาท เต็มตัว ตั้งแต่ สมัยใด หรือครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...