มีระดับสมาธิแค่ไหน ถึงเพียงพอต่อการบรรลุธรรม สิ้นอาสวะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 25 ธันวาคม 2009.

  1. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637

    ใครจะไปทำได้ ไม่จริงหรอก ท้าพิสูจน์ เรื่องการนังขัดสมาธิเพชร

    มันเป็นเรื่องความพอใจ เฉพาะตัว และเป็นของที่ทำได้เฉพาะคน ไม่ไช่ของกลาง ไม่ไช่มัชฌิมาปฏิปทา

    การบรรลุธรรม บรรลุที่ใจ ไม่ไช่ที่กาย

    งี้คนแก่ อายุห้าสิบขึ้น หยุดทางโลก ที่เราเห็นกันเยอะแยะมากมาย

    จะหันมาปฏิบัติธรรม ถ้านั่งอย่างคุณบอก สมาธิเพชร พอดีเลย! อัมพาต รัปทาน โดยที่ยังไม่ได้อะเลย คนสูงอายุ ปัญหาใหญ่ก็คือโรคกระดูก คนหนุ่มสาวน่ะพอไหว และนี่มาบอกไห้นั่งทั้งคืน มันจะไหวหรอท่านพี่

    อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง เอาอย่างที่สังคมเขาเป็นกัน ที่รับกันได้ และคนทั่วไปทำได้ อย่าเอาแบบที่เราเป็น หรือที่ท่านเป็น!!

    การปฏบัติธรรมจริงๆแล้ว ต้องได้ทุกอริยาบทสี่ นั่ง เดิน ยืน นอน อันนี้พุทธพจน์นะ ใครๆก็ทำได้ และทำได้จริง เหมาะกะทุกเพศ และก็ทุกวัย

    ไอ้ของคุณน่ะ มันไม่ไช่ มันได้เฉพาะคน ท้าพิสูจน์


    การนั่งสมาธิเพชร หรือขัดสมาธิเพชร ก็คือเอาขาขัดกันสองชั้น

    ชั้นเดียงก็จะแย่อยู่แล้ว ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า

    ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ นี่ก็พุทธวจน: นะครับ การสำเร็จไม่ไช่ที่กาย อย่าไปเน้นที่กาย ว่าต้องแบบนั้น ว่าต้องแบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2009
  2. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ใครทำไม่ได้ก็เรื่องของเค้า แต่ผมเชื่อว่าผู้มีสติทำได้
    ลองดูๆ เผื่อดับร้อนได้
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023

    อธิบายสภาวะได้ละเอียดชัดเจนมากเลย
    พูดจากของจริงที่สัมผัสมา ถ้าอ่านตำรามาพูดแบบนี้ไม่ได้

    โมทนา สาธุธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2009
  4. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ต้องถึงกับว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นแบบนี้เองเหรอ....
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    อนุโมทนาค่ะ
    รสพระธรรม แจกหนังสือธรรมประทีป ๙ อยู่ที่กระทู้ แจกฟรีหนังสือธรรมะ ค่ะ

    ธรรมะสวนัง ทำบล็อก เผยแพร่หนังสือธรรมประทีป ๙
    สำหรับผู้ชอบอ่านบนเนท ที่ ธรรมประทีป ๙ บล็อก ค่ะ

    (smile)
     
  6. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    ปฏิปทา ๔ ประการ

    [[FONT=&quot]๑๖๖][/FONT] [FONT=&quot]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)[/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว)[/FONT]
    [FONT=&quot]สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)[/FONT]
    [FONT=&quot]สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว)[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปฏิปทา๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา[/FONT]
    [FONT=&quot]บัณฑิตกล่าวว่า เลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ [/FONT]
    [FONT=&quot]กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการปฏิบัติลำบาก [/FONT]
    [FONT=&quot]กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการรู้ช้าดูกรภิกษุทั้งหลาย [/FONT]
    [FONT=&quot]ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าเลวเพราะปฏิบัติลำบาก [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าเลวเพราะรู้ได้ช้า [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ [/FONT]
    [FONT=&quot]กล่าวว่าประณีตแม้ด้วยการปฏิบัติสะดวก[/FONT]
    [FONT=&quot]กล่าวว่าประณีตแม้ด้วยการรู้ได้เร็ว [/FONT]
    [FONT=&quot]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว [/FONT]
    [FONT=&quot]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ[/FONT]
    <o></o>
    [[FONT=&quot]๑๖๗][/FONT] [FONT=&quot]ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ[/FONT]
    [FONT=&quot]ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้[/FONT]
    [FONT=&quot]ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร[/FONT]
    [FONT=&quot]ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔[/FONT]
    [FONT=&quot]ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ ทุกขาปฏิปทา[/FONT]
    [FONT=&quot]ขิปปาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่าน[/FONT]
    [FONT=&quot]หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔[/FONT]
    [FONT=&quot]ประการนี้ ฯลฯ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ[/FONT]<o></o>
    <o></o>
    [[FONT=&quot]๑๖๘][/FONT] [FONT=&quot]ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร[/FONT]
    [FONT=&quot]ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกร[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย [/FONT]
    [FONT=&quot]ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน [/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... [/FONT]
    [FONT=&quot]ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย [/FONT]
    [FONT=&quot]ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]
    ที่มา[/FONT]����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� ��

    <o></o>
    <o>
    ขอเป็นกำลังให้นักปฏิบัติทุกท่านนะครับ

    อยากบอกว่า หลวงปู่สิม ท่านชอบนั่งขัดสมาธิเพชร

    แต่ผมไม่ทราบว่า ท่านอยู่ในปฏิปทาไหน ใครทราบช่วยบอกสักนิด

    โชดดีปีใหม่ครับ

    </o>
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ใน สติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าทรงเมตตาสอนถึง ฌาน ๔ ......ฉนั้นเป็นเหตุตัดสินได้ว่า....ที่กล่าวว่า ฌาณ ไม่เกิดประโยชน์ ไม่ใช่ทาง ไม่ช่วยให้หลุดพ้น.....ค้านพุทธพจน์.....และหากคณาจารย์ใดก็ตามที่กล่าวอ้างพระสูตรนี้ในการปฏิบัติ...และสอนค้านพระสูตรก็ชื่อว่าค้านต่อพระพุทธพจน์ครับ....

    ในส่วนถึง อรูปฌาณ นั้น ยังมีอยู่ในหลายส่วนของพระไตรครับ....อรูปฌาณ ถึง นิโรธสมาบัติ.....พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าเป็นเครื่องอยู่อันเป็นสุขครับ.....

    โมทนาสาธุธรรมด้วยครับ....
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]

    การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา




    (การเลือกนำข้อความตอนนี้มาแปล ก็เพื่อชี้แจงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่าความสุขมีเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงสุด ถึง ๑๐ ขั้น คือความสุขในกาม ความสุขในรูปฌาน ๔ ความสุขในอรูปฌาน ๔ และความสุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ในการแปลจะแปลอย่างเต็มสำนวนเพื่อให้เห็นลีลาของอารมณ์ฌานทั้งที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานอยางสมบูรณ์). <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? กามคุณ ๕ คือรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องได้) ที่พึงรู้แจ้งทางหู, จมูก, ลิ้น และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือกามคุณ ๕. ดูก่อนอานนท์ ความสุขกายสุขใจอันใด ที่เกิดขึ้นเพระอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขกายสุขใจนี้ เรียกว่ากามสุข. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใยอันมีอยู่นั้น นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น." <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (กามสุข) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานที่ ๑ อันมีความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) มีความอิ่มใจและความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่ความสงัดอยู่. นี้แล อานนท์ คือ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น (กามสุข). ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นัน (สุขในฌานที่ ๑) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่า ความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น." <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสงบความตรึก ความตรอง (วิตก วิจาร) ได้ จึงเข้าฌานที่ ๒ อันมีความผ่องใสภายใน มีภาวะแห่งจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มใจ และความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่สมาธิอยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๒) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น." <CENTER></CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะคลายความอิ่มใจจึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระอริยเจ้ากล่าวถึงผู้เข้าฌานนี้ว่าเป็นผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๓) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนพระอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น."



    [​IMG] <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขละทุกข์ได้ (ละสุขกายทุกข์กายได้) เพราะสุขใจ (โสมนัส) ทุกข์ใจ (โทมนัส) ดับไปในกาลก่อน<SUP>๑</SUP> จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติ. อันเกิดขึ้นเพราะอุเบกขา (ความวางเฉย). นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น. คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๔) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้น." <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินนัยนี้ เพราะก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ด้วยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งความกำหนดหมาย ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆสัญญา ได้แก่ความกำหนดหมายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ ผ่านมาทางตา หู เป็นต้น) เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ (นานัตตสัญญา-หมายความได้ ๒ อย่าง คือสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ และสัญญาต่าง ๆ ๔๔ ชนิด-ดูคำอธิบายในวิสุทธิมรรค อารุปปนิทเทส) ทำไว้ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ (มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในเนที่ ๔) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น." <CENTER></CENTER>


    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้" เข้าสู่อรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ (มีวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่ววว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนันเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น.
    [​IMG]

    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "อะไร ๆ ก็ไม่มี" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ (มีความกำหนดหมายว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข ผในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปเนชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วเข้าสู่อรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ<SUP></SUP> (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌาน ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น. <CENTER>๑๐</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.




    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สรุปความ</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ มีฐานะอยู่ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธในความสุข ข้อนั้นคืออะไรกัน ? ข้อนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ? (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับความจำ ดับความรู้สึก แล้วจะว่ามีความสุขได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้สึก) ดูก่อนอานนท์ นักบวชเจ้าลัทธิอื่น ผู้กล่าวอย่างนี้พึงเป็นผู้อันท่านชี้แจง "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงบัญญัติในความสุขหมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียว ในที่ใด ๆ ย่อมหาความสุขได้ ในฐานะใด ๆ มีความสุข พระผู้มีพระภาคย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ในความสุข."<SUP></SUP>

    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘


    ๑. คำว่า ในกาลก่อน คือสุขทุกข์ดับไปตั้งแต่ยังอยู่ในขณะแห่งอุปจาระเกือบจะถึงฌานที่ ๔ คำว่า อุปจาระ แปลว่า ใกล้เคียง หรือเฉียด ก็ได้
    ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔ วิธีเจริญอรูปฌานข้อนี้ คือออกจากอรูปเนที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ) แล้วนึกในใจว่า สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เป็นเหตุให้ยุ่งยาก นึกตำหนิสัญญานั้นจนจิตสงบ ก็เข้าสู่อรูปฌานนี้ได้ คำว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ หมายความว่า สัญญามีอยู่ แต่ทำหน้าที่ไม่ได้ มีอย่างละเอียดมาก
    ๓. จากพระพุทธภาษิตนี้ แสดงว่า ความสุขมีเป็นชั้น ๆ พระพุทธศาสนาแสดงความสุขหมดทุกชั้นตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง แต่ก็อาจย่อความได้ว่าเป็นสุขชั้นเวทนา คือรู้สึกได้เสวยได้ (Sensational Happiness) อย่างหนึ่ง ความสุขที่อยู่เหนือเวทนา ไม่ต้องรู้สึกไม่ต้องเสวย (Happiness Beyond Sensation) อีกอย่างหนึ่ง
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ข้อความทั้งหมดยกอ้างอิงจาก พระไตรปิฏกฉบับ สำหรับประชาชาชน........ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์......หน้าที่ 125....ข้อมูลทั้งหมดที่บรรยาย(ในช่วงของพระสูตร) เป็นของท่าน สุชีพ ปุญญานุภาพ......
    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=19467[/MUSIC]
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จากบทบัญญัติความสุข ต้องพิจารณาดีๆว่า

    สุขแต่ละประเภทเหล่านั้น ล้วนอาศัยปัจจัยให้เกิดทั้งสิ้น แม้กระทั่ง
    สุขสัญญาเวทยิตนิโรธ เอง แม้จะไม่มีอะไรหมาย ไม่เหลืออะไร
    ในสภาวะสุขนั้นก็จริงอยู่ แต่ก็ยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิด และ
    เพราะความที่มันต้องอาศัยปัจจัยจึงเกิด จึงบัญญัติเป็น สุข อีกชนิดหนึ่ง

    และไม่ว่าอะไร ที่ยังอาศัยปัจจัยในการเกิด ล้วนเป็น ภพ ทั้งสิ้น เมื่อเป็น
    ภพแล้ว ย่อมต้องมีชาติ ชรา มรณะ ลงในที่สุด

    ความสุขเหล่านี้ แม้บัญญัติว่าเป็นสุข แต่ไม่ใช่สุขอย่างยิ่ง อันจะต้องเป็น
    สุขที่เกิดจากการสิ้นภพชาติ

    สุขทั้งหลายตามที่บัญญัตินั้น ปฏิเสธที่จะไม่เอา ไม่ทำได้ไหม ก็ต้องตอบ
    ว่าทำไม่ได้ เพราะหากปัจจัยมันมี เราฝึกสติดี มีความเพียรดี สุขเหล่านี้
    ย่อมเกิดขึ้น โดยอาศัยปัจจัยเหล่านั้น แต่ถึงมันจะมี ก็ไม่เอา ไม่ได้แปล
    ว่าไม่มี -- การปฏิเสธ หรือ ถ้อยคำที่ดูเหมือนปฏิเสธ จึงต้องพิจารณาให้ดี
    ว่าเขาปฏิเสธแบบ ไม่มีเลย หรือ มีแต่ไม่เอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2009
  11. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    พูดถึงเรื่องปฏิจสมุบาท มีท่านผู้รู้ รู้กันมากสามารถอธิบายได้เป็นหน้าๆ
    หรือแม้แต่เรื่องอวิชาก็เช่นกันรอบรู้ไปหมด แต่เวลาเอาสองคำมารวมกัน
    เป็น อวิชาในปฏิจสมุบาทหรือความไม่รู้ในเหตุปัจจัยนี้นะ
    พอรู้พอเข้าใจกันบ้างมั้ยครับ เห็นพูดกันบ่อยเรื่องผู้รู้เอย
    ความสุขในนิพานเอย เฮอ!
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ในส่วนตัวผมนั้น...ขอให้มันได้ก่อนเถอะแล้วค่อยว่ากัน....ยังไม่ทันกิน....มันไปรู้รส...มันยาก....

    ไอ่เขาว่า...ก็คือเขาว่า.....ไอ่คิดเอาก็คือคิดเอา......ไม่เป็นสาระ....

    พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความสุข...ก็คือความสุข....เป็นเครื่องอยู่คือเครื่องอยู่....ไม่เอาก็เรื่องของใครสิ....แต่สำหรับผม....ถ้าทำได้ก็ควรทำ....เสียเวลา...ทำให้มันให้ได้ได้รู้เอง....รู้ชัด....พูดมากยากนาน.....
     
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้ามีสัมมาทิฐิ สมาธิระดับไหน ก็เป็นสัมมา
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย
    พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
    สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
    เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

    อ่านเต็มๆที่นี่

    ;aa24
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้
    ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้


    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น


    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ

    เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง
    ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ


    อ่านเต็มๆที่นี่

    ;aa24


     
  16. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    พี่ๆช่วยอธิบายมรรค ๔ ให้หน่อยครับ ขอวิธีปฏิบัติด้วย

    [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง-
    *โกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า
    <o></o>
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ
    อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
    ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน
    <o></o>
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ
    เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
    <o></o>
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ
    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    <o></o>
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
    เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
    สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    <o></o>
    อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
    ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
    เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

    ดูกรอาวุโส

    ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
    ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
    อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
    <o></o>
    จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

    <o></o>����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� ��

    พี่ๆช่วยอธิบายมรรค ๔ ให้หน่อยครับ ขอวิธีปฏิบัติด้วย

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

     
  17. 1000lert

    1000lert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +143
    อุปจารสมาธิก็เพีียงพอ
    พระอรหันต์ที่ได้ไม่ถึงอัปปนาสมาธิก็มีนะ
     
  18. 1000lert

    1000lert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +143
    ขอบใจนะจ้ะ
    คงจะบรรลุแล้วสินะจ้ะ
    รู้อีกว่าตอนบรรลุ ต้องสงบเีทียบเท่าปฐมฌาณ

    ตกลงว่าเทียบเท่าปฐมฌาณ
    หรือว่า ได้ปฐมฌาณ จ้ะ
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อุปจารสมาธิ.....เป็น...สิ่งที่เล็กน้อยมากๆ.....

    ทำไมหวังกันตื้นจัง.....
     
  20. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637

    อันนี้แหละถูกต้อง ว่าตามหลัก ตามพระสูตร หรือตามตำรา

    ที่เหลือ ก็คือลงมือกระทำไห้เกิดขึ้นจริง ค้นคว้า พิสูจน์ด้วยการ

    ปฏิบัติ สาวก แปลว่า ผู้รับฟัง ผู้ปฏิบัติตาม ทำได้แค่ไหน ก็สุดแท้

    แต่กำลังใจของแต่ละคน บุญกุศลที่สั่งสมกันมา

    เราไม่ได้เป็นปัจเจกชน ที่จะรู้ดี รู้ชอบ ด้วยตัวเองได้

    แต่ถ้าคิด จะตรัสรู้ชอบ โดยตนเอง ก็ต้อง เดินทางสายไหม่

    ไปค้นคว้าหาทางอีกนับชาติไม่ถ้วน หรือถ้าใคร อยากจะเป็นเช่นนั้น

    ก็ไม่ว่ากัน ถ้าคิดว่าการเกิดมามีชีวิต แต่ละชาติ แต่ภพ มันมีความสุข

    มันเป็นของน่าสนุก มันน่าเกิด เกิดเป็นคน ก็พอทำเนา พลาดไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

    แล้วมันจะยุ่ง แต่สำหรับผม มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ เป็นภาระ ภาระ อันหนักอึ้ง

    เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน เช็ดขี้ เช็ดเหยี่ยว พอเขาโตๆกัน ภาระเราก็จบ มีวันจบ

    แต่ร่างกายของเรานี่สิ เราต้องหาเลี้ยงมัน เราต้องเช็ดขี้ เช็ดเหยี่ยว ไห้มัน

    ไม่มีวันจบ จนกระทั่งวันตาย น่าเอา น่าเป็นไหมล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...