อุบายธรรมกรรมฐาน : หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 16 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส



    สำหรับอุบายธรรมกรรมฐานต่างๆ ที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้สอนหลวงตาคำดีนั้น ท่านเมตตา เล่าว่า
    กรรมฐานที่พระอาจารย์ (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร) อบรมศิษย์ โดยทั่วไปแล้วส่วนมาก เน้น หนักในพุทธานุสสติ กับกายคตาสติ คือสอนให้บริกรรมพุ ทโธเป็นอารมณ์ ในทุกอิริยาบถ ให้มีสติกำหนดรู้กายรู้จิตอยู่เสมอ จะ เป็นการยืนกำหนด เดินจงกรม นั่ง ภาวนา หรือนอนสีหไสยาสน์ภาวนา ก็ให้มีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา จนกว่าความรู้กับสติที่ระลึก สัมพันธ์ เป็นอันเดียวกันเป็น สติชาคโร คือ จิตตื่นอยู่ หรือสว่างอยู่เป็นนิจ เป็นจิต ที่ปราศจากนิวรณ์ จิตก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ “สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ ยถาภูตํ ปชานาติ ภิกษุเมื่อสมาธิตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง

    เมื่อความรู้ รู้ตามความเป็นจริง ของสภาวธรรมโดยรอบ คือบริบูรณ์แล้ว จิตก็จะพ้นจากอารมณ์ครอบงำ หรือ ดอง ที่เรียกว่า อาสวะ นี้เป็นหลักปฏิบัติโดยย่อที่ สอนทั่ว ๆ ไปในสำนักนี้ และ ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจสำหรับศิษย์ผู้ใคร่ในการปฏิบัติจริง แม้คฤหัสถ์ที่มีภารกิจในการครองเรือนก็สามารถปฏิบัติได้ ตามกำลัง เพียงแต่ตั้งสัจจะไว้ว่า เรา เกิดขึ้นมาครั้งนี้จะพยายามสั่งสมความดีทุกวิถีทางอย่างง่าย ๆ ก็คือ การภาวนา เมื่อว่างจากภารกิจก็เอาเสียนิดหนึ่ง โดย การตั้งสติระลึก จะใช้กิริยากายหรือวาจาก็ได้ เช่น ไหว้พระสวดมนต์เล็กน้อยแล้วก็ภาวนา โดยระลึกกำหนดดู ให้รู้กายรู้จิต เพื่อชำระอารมณ์ที่เศร้าหมองของจิตออกไปผลก็คือความสะอาดผ่องใส อันเป็นสิ่งที่ทุกดวงจิตต้องการ จึง เป็นสิ่งที่ควรพยายามไว้ให้เป็นสมบัติของตน เพราะว่า“จิตนี้ผ่องใส แต่ก็หมองเศร้าได้เพราะอุปกิเลสที่จรมา จิตนี้ ผ่องใส แต่หลุดพ้นได้เพราะละอุปกิเลสที่จรมา

    การฝึกหัดปฏิบัติ อบรมจิตที่จะให้ธรรมเข้าถึงจิตนี้นั้น ต้องอาศัยการ ทำจริงและต้องมีกัลยาณมิตร การทำจริงเรียกว่าสัจจะบารมี คือ เมื่อตั้งจิตว่าเมื่อจะประพฤติปฏิบัติแล้ว ต้องมี สติควบคุมการทำ การพูด การคิด การ กระทำด้วยกายนั้น จะเป็นการกระทำโดยอิริยาบถยืน หรือเดิน หรือนั่ง หรือนอน ต้องมีสติควบคู่รู้ทั่ว อยู่ในอิริยาบถนั้น การ กระทำด้วยวาจาคำพูด ก็ต้องมีสติระลึกรู้อยู่ในการ พูดนั้นๆ

    การกระทำด้วย จิต คือการคิด จะเป็นการบริกรรมภาวนาอยู่ในพุทโธก็ ตาม จะเป็นการคิดพิจารณาแยกธาตุขันธ์อยู่ในรูปใน นาม คือในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ก็ตาม ต้อง มีสติกำกับ ทำงานจริงอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อใช้ทั้งความเพียรบวกกับความจริงโดยมีสติเป็นผู้ ควบคุมในการฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิต ไม่ช้าธรรมก็จะเข้าถึงจิตหรือจะเรียกว่าจิตเข้าถึงธรรมะก็ได้ เพราะการกระทำด้วยกาย วาจา จิต บ่อย ๆ หรือต่อเนื่องกันไม่ขาดช่วงไม่ขาดตอน สิ่งที่กระทำ นั้นก็จะเข้าถึงจิตหรือจิตก็จะเห็นสิ่งนั้น ตัวอย่าง เช่น การเรียนหนังสือ การ เขียนภาพต่าง ๆ ครั้งแรกหัดเขียนหัดอ่านตามตัวอย่าง หรือ ตามครูผู้บอกผู้นำ แต่พอตัวหนังสือหรือภาพเหล่านั้นเข้าถึงจิต จิตเห็นแล้ว ถึงสิ่งเหล่านั้นจะ อันตรธานหายไปหมดแล้ว จิตก็สามารถสั่งให้พูดให้ทำ ได้อย่างถูกต้อง จะเรียกว่าด้วยหนังสือหรือภาพเหล่า นั้น ถึงจิตหรือจิตบันทึกสิ่งเหล่านั้นไว้ด้วยการ เห็นก็คงไม่ผิด เมื่อธรรมะเข้าถึงจิตหรือจิตเห็น ธรรมแล้ว ก็จะเห็นสภาพธรรมทั้งหมดทั้งปวง ทั้งที่เรียกว่ากุศลธรรม และอกุศลธรรม ว่าเป็นเพียง สภาพของธรรมชาติเท่านั้น

    www.sakoldham.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...