ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. Dookbuabarn

    Dookbuabarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +225

    สวัสดีค่ะทุกๆท่าน

    ช่วงนี้กิจกรรมของชมรม ฯ ต้องเบรคไว้สักนิดนะคะ เนื่องจากผู้จัดมีภารกิจทางโลกมากๆ จนไม่ค่อยมีเวลามาคุยกับพวกน้องๆ จะพยายามแบ่งเวลามาคุยกันบ้าง

    อดใจรอหน่อยนะคะ คงจะได้พบปะสังสรรกันเร็วๆนี้ หวังว่าท่าน อ. ภราดรภาพ คง
    มีเวลาให้กับชมรม ฯ บ้าง

    ต้องขอขอบคุณน้อง sakichan 02 ที่ช่วยโพสต์ธรรมะของบรรดาครูบาอาจารย์มาให้อ่านกันอย่างทั่วถึง จะได้ลดอัตตา ตัวตน ลดความเป็น ตัวกู ของกู เพื่อการบรรลุธรรมได้บ้างนะคะ
     
  2. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย

    ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียววิปัสสนาอยู่ปลายท่อนทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น
    ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายท่อนไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ถ้ายกไม้ท่อนนี้ขื้น ปลายทั้งสองก็จะขึ้นด้วย
    อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เองและเมื่อจิตสงบแล้ว ความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะ คือ
    สมาธิธรรมทำใหจิตเป็นสมาธิมันก็สงบ ถ้าความสงบหายไป เกิดทุกข์ทำไมอากาศนี้จึงให้เกิดทุกข์

    เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย แน่นอนมันจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อมีความสงบแล้วยังไม่จบพระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่พรหมจรรย์ไม่จบ มันไม่จบ เพราะอะไร เพราะมันยังมีทุกข์อยู่ท่านจึงเอาตัวสมถะตัวสงบนี่พิจารณาต่อไปอีกค้นหาเหตุผลจนกระทั่งท่านไม่ติดในความสงบความสงบก็เป็นสังขารอันหนึ่ง ก็เป็นสมมติเป็นบัญญัติอีกติดอยู่นี่ก็ติดสมมติติดบัญญัติเมื่อติตสมมติติดบัญญัติก็ติดภพติดชาติภพชาติก็คือความดีใจในความสงบนี่แหละเมื่อหายความฟุ้งซ่านก็ติดความสงบ ก็เป็นภพอีกเกิดอยู่อย่างนี้ ภพชาติเกิดขึ้นมา ทำไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้

    ท่านจึงพิจารณา ภพชาติเกิดเพราะอะไรเมื่อยังไม่รู้เท่าสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริงท่านให้ยกเอาเรื่องจิตสงบนี้ขึ้นมาพิจารณาเข้าไปอีกสังขารที่เกิดขึ้นมา สงบหรือไม่สงบพิจารณาเรื่อยไปจนได้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เหมือนก้อนเหล็กแดง
    เมื่อมันแดงรอบแล้ว ไปจบตรงไหนมันจึงจะเย็นได้ มีที่เย็นไหมเอามือแตะข้างบนดูชิ ข้างล่างดูซิ แตะข้างโน้นข้างนี้ดูซิ
    ตรงไหนที่มันจะเย็น เย็นไม่ใด้เพราะก้อนเหล็กมันแดงโรใปหมด

    ขันธ์ห้านี้ก็ฉันนั้นความสงบไปติดไม่ได้จะว่าความสงบเป็นเรา จะว่าเราเป็นความสงบไม่ได้ถ้าเข้าใจว่าความสงบเป็นเรา เข้าใจว่าเราเป็นความสงบก็เป็นก้อนอัตตาอยู่นี่เอง ก้อนอัตตาก็เป็นตัวสมมติอยู่จะนึกว่าเราสงบ เราฟุ้งซ่าน เราดีเราชั่ว เราสุขเราทุกข์อันนี้ก็เป็นภพเป็นชาติอยู่อีก เป็นทุกข์อีกถ้าสุขหายไปก็กลายเป็นทุกข์ ถ้าความทุกข์หายไปก็กลายเป็นสุขก็ต้องเวียนไปนรกไปสวรรค์อยู่ใม่หยุดยั้ง

    หลวงปู่ชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2009
  3. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    จิต - เจตสิก - สังขาร

    <TABLE style="FONT-SIZE: 11px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="93%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle></TD></TR><TR><TD>การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้นเราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญจะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตามก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้น จึงจะถูกทางมิใช่เพื่ออย่างอื่น เพราะทุกข์มันมีเหตุเกิดและมีที่ของมันอยู่แล้ว
    ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจเสียว่า มันจะเป็นจิตก็ช่างมันเถอะเมื่อมันนิ่งอยู่อย่างนี้ก็คือปกติของมันถ้าว่ามันเคลื่อนปุ๊บก็เป็นสังขารแล้วมันจะเกิดยินดีก็เป็นสังขาร มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขารมันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขารถ้าเราไม่รู้เท่าสังขาร ก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมันเมื่อจิตเคลี่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณา

    สังขาร คือ จิตมันเคลื่อนไหวนั่นเองเมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านให้พิจารณาอันนี้ ท่านจึงให้รับทราบสิ่งเหล่านั้นไว้ให้พิจารณาสังขารเหล่านี้

    ปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกันอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารส้งขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ฯลฯเราเคยเล่าเรียนมาศึกษามา ก็เป็นจริง คือท่านแยกเป็นส่วน ๆ ไปเพื่อให้นักศึกษารู้แต่เมื่อมันเกิดมาจริง ๆ แล้ว นับไม่ทันหรอก

    อุปมาเหมือนเราตกจากยอดไม้ก็ตุ๊บถึงดินโน่นไม่รู้ว่ามันผ่านกิ่งไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ปุ๊บขึ้นมา ถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้ มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเอง แต่ม้นก็ไปนอกปริยัติด้วย มันไม่บอกว่า ตรงนี้เป็นอวิชชา ตรงนี้เป็นสังขาร ตรงนี้เป็นวิญญาณ ตรงนี้เป็นนามรูปมันไม่ได้ให้ท่านมหาอ่านอย่างนั้นหรอก

    เหมือนกับการตกจากต้นไม้ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริง ๆอาตมาจึงมีหลักเทียบว่า เหมือนกับการตกจากต้นไม้ เมื่อมันพลาดจากต้นไม้ไปปุ๊บ มิได้คณนาว่ามันกี่นิ้วกี่ฟุต เห็นแต่มันตูมถึงดินเจ็บแล้วทางนี้ก็เหมือนกัน เมื่อมันเป็นขึ้นมา เห็นแต่ทุกข์ โสกะปริเทวะ ทุกข์โน่นเลย มันเกิดมาจากไหน มันไม่ได้อ่านหรอกมันไม่มีปริยัติ ที่ท่านเอาสิ่งละเอียดนี่ขึ้นมาพูด แต่ก็ผ่านไปทางเส้นเดียวกัน แต่นักปริยัติเอาไม่ทัน

    ฉะนั้น ท่านจึงให้ยืนตัวว่าอะไรที่เกิดขึ้นมาจากผู้รู้อันนี้เมื่อผู้รู้ รู้ตามความเป็นจริงของจิตหรือเจตสิกเหล่านี้จิตก็ไม่ใช่เรา สิงเหล่านี้มีแต่ของทิ้งทั้งหมดไม่ควรเข้าไปยึด ไปหมายมั่นทั้งนั้น

    สิ่งที่เรียกว่า จิต หรือเจตสิก นี้พระศาสดามิใช่ให้เรียนเพื่อให้ติดท่านให้รู้ว่าจิตหรือเจตสิกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้นมีแต่ท่านให้ปล่อยวางมัน เมื่อเกิดมาก็รับรู้ไว้ รับทราบไว้ตัวจิตนี่เองมันถูกอบรมแล้ว ถูกให้พลิกออกจากตัวนี้เกิดเป็นสังขารปรุงไป มันก็เลยมาปรุงแต่งเรื่อยไปทั้งดีทั้งชั่วทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดเป็นไปสิ่งทั้งหลายเหล่านี้พระศาสดาให้ละแต่ต้องเรียนให้รู้อย่างนี้เสียก่อนจึงจะละได้ตัวนี้เป็นตัวธรรมชาติอยู่อย่างนี้จิตก็เป็นอย่างนี้ เจตสิกก็เป็นอย่างนี้

    อย่างมรรค ปัญญาอันเห็นชอบ เห็นชอบแล้วก็ดำริชอบเจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบเหล่านี้เป็นเรื่องของเจตสิกทั้งนั้น ออกจากผู้รู้นั่นเอง
    เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้ถ้ารู้ชอบ ดำริชอบ อย่างอื่นก็ชอบไปด้วยเหมือนกับแสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมันมันเกิดจากผู้รู้อันนี้ถ้าจิตนี้ไม่มี ผู้รู้ไม่มีเช่นกัน มันคืออาการของพวกนี้

    ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้รวมแล้วเป็นนามหมดท่านว่าจิตนี้ก็ชื่อว่าจิตมิใช่สัตว์มิใช่บุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขาธรรมนี้ก็สักว่าธรรม มิใช่ตัวตนเราเขา ไม่เป็นอะไรท่านให้เอาที่ไหนเวทนาก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขันธ์ห้าท่านให้วาง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงปู่ชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2009
  4. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ปฐมฌาน ทุติยฌานฯ..........มันไม่มีป้ายบอก

    นักปริยัติชอบสงสัย เช่น เวลานั่งสมาธิ ถ้าจิตสงบปั๊บเอ มันเป็นปฐมฌานละกระมัง ชอบคิดอย่างนี้พอนึกอย่างนี้จิตถอนเลย ถอนหมดเลยเดี๋ยวก็นึกว่าเป็นทุติยฌานแล้วกระมังอย่าเอามาคิด พวกนี้มันไม่มีป้ายบอก มันคนละอย่างไม่มีป้ายบอกว่า นี่ทางเข้าวัดหนองป่าพง
    มิได้อ่านอย่างนั้น มันไม่บอกมีแต่พวกเกจิอาจารย์มาเขียนไว้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน
    ตติยฌาน จตุตถฌาน มาเขียนไว้ทางนอกถ้าจิตเราเข้าไปสงบถึงนั้นแล้วไม่รู้จักหรอกรู้อยู่แต่ว่ามันไม่เหมือนปริยัติที่เราเรียน

    ถ้าผู้เรียนปริยัติแล้วชอบกำเข้าไปด้วย ชอบนั่งคอยสังเกตว่า เอ เป็นอย่างไร มันเป็นปฐมฌานแล้วหรือยัง นี่มันถอนออกหมดแล้วไม่ได้ความทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันอยากพอตัณหาเกิด มันจะมีอะไร มันก็ถอนออกพร้อมกันนี่แหละเราทั้งหลายต้องทิ้งความคิดความสงสัยให้หมด

    ให้เอาจิตกับกายวาจาล้วน ๆ เข้าปฏิบัติดูอาการของจิตอย่าแบกคัมภีร์เข้าไปด้วย ไม่มีคัมภีร์ในนั้น ขืนแบกเข้าไปมันเสียหมด เพราะในคัมภีร์ไม่มีสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

    หลวงปู่ชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2009
  5. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ตรงนี้เป็นที่แวะ.......วิปัสสนา

    ตรงนี้เป็นที่แวะ พระศาสดาท่านแวะตรงนี้ นี่เป็นท่าที่จะทำวิปัสสนาแล้วเอาไปพิจารณา ทีนี้สมาธิไม่ต้องเท่าไรดูอาการภายนอกเลย ดูเหตุผลพิจารณาเรื่อย ไป
    ถ้าเป็นอย่างนี้ เราเอาความสงบนี้มาพิจารณา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบอารมณ์ แม้จะดี จะชั่ว สุขทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวงเหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บเอา ลูกไหนเน่าเราไม่เอา เอาแต่ลูกที่ดี ๆไม่เปลืองแรง เพราะไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วง คอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น

    ข้อนี้หมายความว่าอย่างไรอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดมา เอาความรู้มาให้เราหมด มิได้ไปปรุงแต่งมันลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ มันมาเอง เรามีความสงบ มีปัญญา สนุกเฟ้น สนุกเลือกเอา ใครจะว่าดี ว่าชั่ว ว่าร้าย ว่าโน่นว่านี่ สุข ทุกข์ ต่าง ๆ นานาเป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นกำไรของเราหมดเพราะมีคนขึ้นเขย่าให้มะม่วงหล่นลงมา เราก็สนุกเก็บเอา ไม่กลัวจะกลัวทำไม มีคนขึ้นเขย่าลงมาให้เราลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เปรียบเหมือนมะม่วงหล่นลงมาหาเราเราเอาความสงบมาพิจารณาเก็บเอา

    เรารู้จักแล้ว ลูกไหนดี ลูกไหนเน่า เมื่อเริ่มพิจารณาสิ่งเหล่านี้อาการที่พิจารณาออกจากความสงบเหล่านี้แหละเรียกว่าปัญญา เป็นวิปัสสนา ไม่ได้แต่งมันหรอก วิปัสสนานี้ ถ้ามีปัญญา มันเป็นของมันเอง ไม่ต้องไปตั้งชื่อมันถ้ามันรู้แจ้งน้อยก็เรียกว่า วิปัสสนาน้อย ถ้ามันรู้อีกขนาดหนึ่ง ก็เรียกว่า วิปัสสนากลาง ถ้ามันรู้ตามความเป็นจริง ก็เรียกว่า วิปัสสนาถึงที่สุด
    เรื่องวิปัสสนานี้อาตมาเรียกปัญญาการจะทำวิปัสสนาจะทำเอาเดี๋ยวนั้น ๆ ทำได้ยาก มันต้องเดินมาจากความสงบเรื่องมันเป็นเองทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องเราจะไปบังคับ

    พระศาสดาจึงตรัสว่า เรื่องของเป็นเองเมื่อเราทำไปถึงขั้นนี้แล้ว เราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเราแต่เราไม่หยุดทำความเพียรจะช้าหรือเร็วเราบังคับไม่ได้เหมือนปลูกต้นไม้ มันรู้จักของมัน
    มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เพื่อทำแล้วมันจึงเกิดผลขึ้นมา

    เหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ปัองกันแมลงให้มันเท่านั้น นี่เรื่องของเรานี่เรื่องศรัทธาของเราส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปดึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ ผิดเรื่อง เราต้องให้น้ำ เอาปุ๋ยใส่ให้

    ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบาย จะถึงชาตินี้ก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็ตามเรามีศรัทธาอย่างนี้แล้ว มีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้ จะเร็วหรือช้านั้นเป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเราทีนี้ก็รู้สึกสบาย เหมือนขับรถม้า ก็มิได้เอารถไปก่อนม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า ถ้าไถนาก็เดินก่อนควายหมายความว่าใจมันเร็วมาก ร้อนมากทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เดินก่อน ต้องเดินตามหลังควาย

    ข้าเอาน้ำให้ก่อน เอาปุ๋ยให้กิน กินไปเถอะมดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้าเท่านั้นแหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเองเมื่อมันงามแล้วเราจะบังคับว่า แกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าทำ เราจะเป็นทุกข์เปล่า ๆมันจะเป็นของมันเองเมื่อมันเป็นดอกแล้ว เราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้อย่าไปบังคับมัน ทุกข์จริงนา ทุกข์จริง ๆเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรารู้จักหน้าที่ของเราของเขา หน้าที่ของใครของมันจิตก็จะรู้หน้าที่การงานถ้าจิตไม่รู้หน้าที่การงาน ก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเองให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้นนั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาทั้งนั้นถ้ารู้อย่างนี้ คิดอย่างนี้ รู้ว่ามันหลงมันผิด
    รู้อย่างนี้แล้วก็ปล่อย ให้เป็นเรื่องบุญวาสนาบารมีต่อไปเราทำของเราไป ไม่ต้องกลัวว่าจะนาน ร้อยชาติพันชาติก็ช่างมันจะชาติไหนก็ตาม ปฏิบัติสบาย ๆ นี่แหละ

    หลวงปู่ชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2009
  6. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ปฏิบัติจนไม่ตื่นเต้นในนิมิต

    เมื่อลงนั่งสมาธิ ถ้าเกิดนิมิตต่าง ๆ เช่น เห็นนางฟ้าเป็นต้นเมื่อเห็นอย่างนั้น ให้เราดูเสียก่อนว่า จิตเป็นอย่างไร อย่าทิ้งหลักนี้ จิตต้องสงบจึงเป็นอย่างนั้นนิมิตที่เกิดขึ้นอย่าอยากให้มันเกิด อย่าไม่อยากให้มันเกิดมันมาก็พิจารณา พิจารณาแล้วอย่าหลงให้นึกว่ามันไม่ใช่ของเรา นี่ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน

    ถึงมันจะเป็นอยู่ก็ อย่าเอาใจใส่มันเมื่อมันยังไม่หาย ตั้งจิตใหม่ กำหนดลมหายใจมาก ๆสูดลมเข้ายาว ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อย 3 ครั้งก็ตัดได้ตั้งกำหนดใหม่เรื่อยไป

    สิ่งเหล่านี้อย่าว่าเป็นของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิมิตคือ ของหลอกลวงให้เราชอบ ให้เรารัก ให้เรากลัวนิมิตเป็นของหลอกลวงใจเรา มันไม่แน่นอนถ้าเห็นแล้วอย่าไปหมายมัน ไมใช่ของเรา

    อย่าวิ่งตามนิมิตเห็นนิมิตให้ย้อนดูจิตเลย อย่าทิ้งหลักเดิมถ้าทิ้งตรงนี้ ไปวิ่งตามมัน อาจพูด ลืมตัวเอง เป็นบ้าไปได้ ไม่กลับมาพูดกับเรา เพราะหนีจากคอกแล้ว ให้เชื่อตัวเองแน่นอน เห็นอะไร มาก็ตามถ้านิมิตเกิดขึ้นมาดูจิตตัวเอง จิตต้องสงบมันจึงเป็นถ้าเป็นมา ให้เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่ของเรา

    นิมิตนี้ให้ประโยชน์แก่คนมีปัญญา ให้โทษแก่คนไม่มีปัญญา
    ทำความเพียรไปจนเราไม่ตื่นเต้นในนิมิต
    มันอยากเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็ไม่เกิด ไม่กลัวมันเชื่อใจได้อย่างนี้ ไม่เป็นไร ทีแรกเราตื่นของน่าดู มันก็อยากดู
    ความดีใจเกิดขื้นมา อย่างนี้ก็หลง ไม่อยากให้มันดีใจ มันก็ดีใจไม่รู้จะทำอย่างไร

    หลวงปู่ชา
     
  7. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    การนั่งสมาธิ สิ่งที่ไม่น่าคิดก็ผิดได้

    ท่านมหายังไมได้ทำดู เคยนั่งสมาธิแล้วใช่ไหม การนั่งสมาธินี่สิ่งที่ไม่น่าคิดก็ผิดได้เช่น เวลานั่งเราตั้งใจว่า “เอาละ จะเอาให้มันแน่ ๆ ดูที” เปล่า !วันนี้ไม่ได้เรื่องเลย แต่คนเราชอบทำอย่างนั้น

    อาตมาเคยสังเกต มันเป็นของมันเอง เช่น
    บางคืนพอเริ่มนั่งก็นึกว่า เอาละวันนี้อย่างน้อยตีหนึ่งจึงจะลุกคิดย่างนื้ก็บาปแล้วเพราะว่าไม่นานหรอก เวทนามันรุมเอาเกือบตายมันดีเวลานั่งโดยไม่ต้องกะต้องเกณฑ์ ไม่มีที่จุดที่หมายทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม สามทุ่ม ก็ช่างมันนั่งไปเรื่อย ๆ วางเฉยไว้ อย่าบังคับมันอย่าไปหมายมั่น อย่าไปบังคับหัวใจว่าจะเอาให้มันแน่ ๆ มันก็ยิ่งไม่แน่ให้เราวางใจสบาย ๆ หายใจก็ให้พอดีอย่าเอาสั้น เอายาว อย่าไปแต่งมันกายก็ให้สบาย ทำเรื่อยไป

    มันจะถามเราว่า จะเอากี่ทุ่ม จะเอานานเท่าไรมันมาถามเรื่อยหรอกเราต้องตวาดมันว่า“เฮ้ย อย่ามายุ่ง” ต้องปราบมันไว้เสมอเพราะพวกนี้มีแต่กิเลส มากวนทั้งนั้น อย่าเอาใจใส่มันเราต้องพูดว่า
    “กูอยากพักเร็วพักถ้าไม่ผิดกระบาลใครหรอกกูอยากนั่งอยู่ตลอดคืนมันจะผิดใคร จะมากวนกูทำไม” ต้องตัดมันไว้อย่างนี้ แล้วเราก็นั่งเรื่อยไปตามเรื่องของเราวางใจสบาย ก็เลยสงบ

    เป็นเหตุให้เข้าใจว่าอำนาจอุปาทาน ความยึดหมายนี้สำคัญมากจริง ๆ เมื่อเรานั่งไปนาน ๆ นานแสนนาน เลยเที่ยงคืนค่อนคืนไป ก็เลยนั่งสบาย มันก็ถูกวิธี จึงรู้ว่าความยึดมั่นถือมั่นเป็นกิเลสจริง ๆ
    เพราะวางจิตไม่ถูก


    บางคนนั้นเวลานั่งจุดธูปไว้ข้างหน้าคิดว่า“ธูปดอกนี้ไหม้หมดจึงจะหยุด” แล้วนั่งต่อไปพอนั่งใด้ 5 นาที ดูเหมือนนานตั้งชั่วโมง
    ลืมตามองดูธูป แหม ยังยาวเหลือเกินหลับตานั่งต่อไปอีก แล้วก็ลืมตาดูธูป ไม่ได้เรื่องอะไรเลย

    อย่า อย่าไปทำ มันเหมือนกับลิงจิตเลยไม่ต้องทำอะไร นึกถึงแต่ธูปที่ปักไว้ข้างหน้าว่าจวนจะไหม้หมดหรือยังหนอ นี่มันเป็นอย่างนี้ เราอย่าไปหมาย

    ถ้าเราทำภาวนา อย่าให้กิเลสตัณหามันรู้เงื่อนรู้ปลายได้เท่านี้จะเอาอย่างไร” มันมาถามเรา“จะเอาขนาดไหน จะเอาประมาณเท่าไร ดึกเท่าไร” มันมาทำให้เราตกลงกับมันถ้าเราไปว่า จะเอาสักสองยาม มันจะเล่นงานเราทันที
    นั่งไปยังไม่ถึงชั่วโมงต้องร้อนรนออกจากสมาธิแล้วก็เกิดนิวรณ์ว่า “แหมมันจะตายหรือยังกันนา ว่าจะเอาให้มันแน่ มันไม่แน่นอน ตั้งสัจจะไว้ก็ไม่ได้ดั่งตั้ง” คิดทุกข์ใส่ตัวเอง ด่าตัวเองพยาบาทตัวเอง ไม่มีคนพยาบาท
    ก็เป็นทุกข์อีกนั่นแหละ
    ถ้าได้อธิษฐานแล้วต้องเอาให้มันรอด หรือตายโน่น อย่าไปหยุดมันจึงจะถูก

    เราค่อยทำค่อยไปเสียก่อน ไม่ต้องอธิษฐานพยายาม ฝึกหัด ไปบางครั้งจิตสงบ ความเจ็บปวดทางร่างกายก็หยุดเรื่องปวดแข้งปวดขา มันหายไปเอง

    หลวงปู่ชา
     
  8. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอภิญญา คือ ความรู้ความสามารถพิเศษยวดยิ่งอย่างหนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่าอิทธิวิธิ หรือ อิทธิวธา ( การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ) แต่เป็นโลกียอภิญญา คือ อภิญญาระดับโลกีย์ ซึ่งพัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่ในโลก เป็นวิสัยของปุถุชน ยังอยู่ในอำนาจของกิเลส เช่นเดียวกับโลกียอภิญญาอื่นๆ ทั้งหลาย คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ การรู้ใจผู้อื่น และระลึกชาติได้

    โลกียอภิญญาทั้ง 5 อย่างนี้ มีคนทำได้ตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลไม่เกี่ยวกับการเกิดของพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม โลกียอภิญญาเหล่านี้เกิดมีได้ พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา และไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงพระพุทธศาสนา

    ความรู้ที่ทำให้ดับกิเลสทุกข์ได้ เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า อาสวักขยญาณ แปลว่า ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป จัดเข้าเป็นอภิญญาข้อสุดท้าย คือข้อที่ 6 เป็น โลกุตรอภิญญา คือ อภิญญาระดับโลกุตระ ซึ่งทำให้มีจิตใจปลอดโปร่งฝ่องใสพน้จากอำนาจครอบงำของเครื่องโลกๆ หรือสิ่งที่เป็นวิสัยของโลกทำให้ปุถุชนกลายเป็นอริยชนโดยสมบูรณ์

    โลกียอภิญญาทั้งหลายเสื่อมถอยได้ แต่โลกุตรอภิญญาไม่กลับกลาย ได้โลกุตรอภิญญาอย่างเดียว ประเสริฐกว่าได้อภิญญาทั้ง 5 อย่างรวมกัน แต่ถ้าได้โลกุตรอภิญญา โดยไม่ได้โลกียอภิญญาด้วยก็เป็นคุณสมบัติส่วนพิเศษเสริมให้ดีพร้อมยิ่งขึ้น โลกุตรอภิญญาเท่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นาหรับชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ทุกคนควรได้ควรถึง ส่วนโลกียอภิญญาทั้งหลาย มิใช่สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ดีงามเป็นเพียงเครื่องประกอบเสริมคุณสมบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  9. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง

    อิทธิปาฏิหาริย์นี้พระพุทธเจ้าทรงจัดเป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งใน 3 อย่าง คือ

    1. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆ
    2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การทายใจคนอื่นได้
    3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง และนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง

    อิทธิปาฏิหาริย์ บางท่านประกอบฤทธิ์ต่างๆได้มากมายหลายอย่าง คนเดียวเป็นหลายคนได้ หลายคนเป็นคนเดียวได้ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ ใช้มือจับต้องลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีกำลังฤทธิ์เดชมากมายเพียงนี้ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้อำนาจทางกายจนถึงพรหมโลกก็ได้

    อาเทสนาปาฏิหาริย์ บางท่านย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความไตร่ตรองของสัตว์อื่นบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยโอกาสนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้

    บางท่านทายใจได้ด้วยสิ่งที่กำหนดเป็นเครื่องหมาย (นิมิต) ว่าใจของท่านเป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงหากเธอจะทายเป็นอันมาก ก็ตรงอย่างนั้น ไม่พลาดเป็นอื่น เสียงของมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาแล้วก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ บางท่านไม่ทายโดยนิมิต ไม่ฟังเสียง แล้วจึงทาย แต่ฟังเสียงวิตกวิจารณ์ของคนที่กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ บางท่านไม่ทายด้วยนิมิต ไม่ฟังเสียงแล้วจึงทาย แต่ใช้จิตกำหนดใจของคนที่เข้าสมาธิซึ่งไม่มีวิตกวิจารณ์แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขาร (ความคิดปรุงแต่งในใจ) ไว้อย่างไร ต่อจากความคิดนี้แล้ว ก็จะคิดความคิดโน้น ถึงหากเธอจะทายมากมาย ก็ตรงอย่างนั้นไม่พลาดเป็นอื่น (อาเทสนาปาฏิหาริย์นี้ ดูคล้ายเจโตปริยญาณหรือ ปรจิตตวิชานน์ คือการหยั่งรู้ใจผู้อื่น แต่ไม่ตรงกันทีเดียว เพราะยังอยู่ในขั้นทาย ยังไม่เป็นญาณ


    อนุสาสนีปาฏิหาริย์ บางท่านย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่างตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่างมนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด อธิบายเพิ่มเติมโดยยกเอาการที่พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้วทรงสั่งสอนธรรม ทำให้คนศรัทธาออกบวชบำเพ็ญศีลสำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะ สันโดษ เจริญฌาน บรรลุอภิญญาทั้ง 6 ซึ่งจบลงด้วยอาสวักขัยเป็นพระอรหันต์ ว่าการสอนได้สำเร็จผลอย่างนั้นๆ ล้วนเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  10. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แก่นของธรรมะ

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเหตุผลว่า ในบรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง 3 อย่างนั้น ทรงไม่โปรดไม่โปร่งพระทัยต่ออิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ เพราะทรงเห็นโทษว่า คนที่เชื่อก็เห็นจริงตามไป ส่วนคนที่ไม่เชื่อได้ฟังแล้ว ก็หาช่องขัดแย้งคัดค้านเอาได้ว่าภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น คงใช้คันธารีวิทยา และมณิกาวิทยา ทำให้คนมัวทุ่มทะเลาะกัน และได้ทรงชี้แจงความหมายและคุณค่าของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เห็นว่าเอามาใช้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ประจักษ์ได้ภายในตนเองจนบรรลุถึงอาสวักขัยเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา

    นอกจากนั้นยังได้ทรงยกตัวอย่างภิกษุรูปหนึ่งมีฤทธิ์มาก อยากจะรู้ความจริงเกี่ยวกับจุดดับสิ้นของโลกวัตถุธาตุ จึงเหาะเที่ยวไปในสวรรค์ ดั้นด้นไปแสวงหาคำตอบจนถึงพระพรหมก็หาคำเฉลยที่ถูกต้องไม่ได้ในที่สุดต้องเหาะกลับลงมาแล้วเดินไปทูลถามพระองค์ เพื่อความรู้จักโลกตามความเป็นจริง แสดงถึงความที่อิทธิปาฏิหาริย์มีขอบเขตจำกัดอับจนและมิใช่แก่นธรรม

    อิทธิปาฏิหาริย์จำพวกฤทธิ์ที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งทำอะไรได้ผาดแผลงพิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์นั้นไม่ได้รับความยกย่องในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา ฤทธิ์ที่สูงส่งดีงามตามหลักพระพุทธศาสนา คือฤทธิ์ที่ไม่มีพิษไม่มีภัยแก่ใครๆ ได้แก่ การบังคับความรู้สึกของตนเองได้ หรือบังคับจิตใจให้อยู่ในอำนาจของตนได้ ซึ่งผู้ได้ฤทธิ์อย่างต้นอาจทำไม่ได้ บางครั้งจึงหันไปใช้ฤทธิ์นั้นเป็นเครื่องมือสร้างคุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ โมหะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  11. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    โทษแก่ปุถุชนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องฤทธิ์

    สำหรับปุถุชน ฤทธิ์อาจเป็นโทษได้ทั้งแก่ผู้มีฤทธิ์เอง และแก่คนที่มาเกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์

    ปุถุชนผู้มีฤทธิ์อาจจะเกิดความเมาฤทธิ์ในลักษณะต่างๆ เช่น เกิดมานะว่าเราทำได้ในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ คนอื่นทำไม่ได้อย่างเรา มีความรู้สึกยกตนข่มผู้อื่น กลายเป็นอสัตบุรุษไป หรืออาจเกิดความหลงใหลมัวเมาในลาภสักการะที่เกิดจากฤทธิ์นั้น นำฤทธิ์ไปใช้เพื่อก่อความชั่วความเสียหายอย่างพระเทวทัต เป็นต้น

    อย่างน้อยการติดใจเพลินอยู่ในฤทธิ์นั้น ก็ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไป ไม่อาจชำระกิเลสที่ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ได้ และเพราะฤทธิ์ของปุถุชนเป็นของเสื่อมได้ แม้แต่ความห่วงกังวลมัวยุ่งกับการรักษาฤทธิ์ ก็กลายเป็นปลิโพธ คือ อุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถใช้ปัญญาพินิจ พิจารณาตามวิธีของวิปัสสนาอย่างได้ผลดี ท่านจึงจัดเอาฤทธิ์เป็นปลิโพธอย่างหนึ่งของวิปัสสนา (เรียกว่าอิทธิปลิโพธ) ซึ่งผู้ฝึกอบรมปัญญาพึงตัดเสียให้ได้



    ส่วนปุถุชนที่มาเกี่ยวข้องกับผู้มีฤทธิ์ ก็มีทางประสบผลเสียจากฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ผลเสียข้อแรกทีเดียวคือ คนที่มาเกี่ยวข้องอาจตกไปเป็นเหยื่อของผู้มีฤทธิ์หรือหลอกลวงว่ามีฤทธิ์ ซึ่งมีอกุศลเจตนานำเอาฤทธิ์มาเอ่ยอ้างเพื่อแสวงหาลาภสักการะ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้มีข้อพึงสังเกตว่า ตามปกติผู้มีฤทธิ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติชอบ จะใช้ฤทธิ์ในกรณีเดียวเมื่อมีเหตุผลอันสมควรเพื่อเป็นสื่อนำไปสู่การแนะนำสั่งสอนสิ่งที่ถูกต้องคือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ถ้าไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับการแนะนำสั่งสอนธรรมแล้ว ผู้มีฤทธิ์จะใช้ฤทธิ์ทำไม นอกจากเพื่อผูกคนไว้กับตนเป็นสะพานทอดไปสู่ชื่อเสียงและลาภผล

    ดังนั้นจึงควรยึดถือเป็นหลักไว้ทีเดียวว่า การใช้อิทธิปาฏิหาริย์จะต้องมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์ตามมาด้วย ถ้าผู้ใดอ้างหรือใช้อิทธิปาฏิหาริย์โดยมิใช่เป็นเพียงบันไดที่จะนำไปสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์พึงถือไว้ก่อนว่า ผู้นั้นปฏิบัติผิดในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เขาอาจมีอกุศลเจตนาหลองลวง มุ่งแสวงหาลาภสักการะ หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้มัวเมาหลงใหลเข้าใจผิดในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น

    ที่มาจากหนังสือ เพชรน้ำหนึ่งหลวงปู่เณรคำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2009
  12. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ เรียนเชิญคืนสู่เหย้า

    กลุ่มเป้าหมาย:
    ทุกรุ่น และผู้ที่สนใจทุกๆ ท่าน (ไม่ต้องสมัครหรือลงทะเบียนใดๆ ถ้าว่าง มาได้เลยครับ)

    วัตถุประสงค์:
    1) เพื่อพบปะ สนทนา และสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัลยาณมิตร
    2) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และปฏิบัติสมาธิแบบ TM และแบบกรรมฐาน-วิปัสสนา
    3) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักปฏิบัติธรรมให้มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงร่วมกิจกรรมสร้างบุญกุศลและสาธารณประโยชน์แก่สังคม

    กำหนดการ:
    วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2552 เวลา 10.00 น. - 17.00 น.

    กิจกรรม:
    09.30 น. พบปะ แนะนำ สนทนา แบบพี่ๆ น้องๆ
    10.00 น. บรรยายเรื่อง: สมาธิแบบ TM (Transcendental Meditation)
    11.00 น. นั่งสมาธิแบบ TM
    12.00 น. พักทานอาหารกลางวัน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
    13.00 น. บรรยายเรื่อง: ธรรมวิพากษ์ ปุจฉา-วิสัชชนา
    14.00 น. นั่งกรรมฐาน-วิปัสสนา
    15.00 น. สอบอารมณ์

    สถานที่:
    98/318 หมู่บ้านลัดดารมย์ ปิ่นเกล้า ถนนวงแหวนรอบนอก ต. บางคูเวียง อ. บางกรวย จ. นนทบุรี แผนที่ตามแนบ

    [​IMG]

    สถานที่ตั้ง
    1) เส้นทางหลัก คือ ถนนกาญจนาภิเษก หรือวงแหวนรอบนอก
    2) อยู่ตรงข้ามกับ เทสโก โลตัส บางใหญ่
    3) ก่อนถึงที่หมาย สังเกตุ ป้ายปั้มน้ำมัน ปตท. (ปั้ม jet เดิม) ถัดจากปั๊ม ปตท. ประมาณ 100 ม. จะถึง หมู่บ้านพฤกภิรมย์ก่อน ถัดไปอีก 200 เมตร ก็จะถึง หมู่บ้านลัดดารม์ ปิ่นเกล้า (จะมีป้ายตัวโตๆ บอกไว้)
    4) อย่าลืมบอก บ้านเลขที่ แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย: 98/318 ซอย 2/18

    ต้องการทราบรายละเอียด ติดต่อ คุณภราดรภาพ 081-808 6695
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  13. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328

    แล้วเจอกันjaah
    ;aa41
     
  14. หนุ่ม01

    หนุ่ม01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +39
    รอมานานแล้วjaahผมไปสองคนครับjaah
     
  15. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    สมาธิแบบ TM (Transcendental Meditation)
    ได้ถูกนำเผยแผ่โดยมหาฤๅษี วิธีการของ TM คือ การท่อง "มนตรา" (Muntra) ซึ่งจะท่องซ้ำ ๆ ในใจ ให้เกิดความผ่อนคลาย และถือเป็นอุบายในการทำให้จิตนิ่ง ซึ่งการท่องมนตรานี้จะไม่มีการเปิดเผยให้ทราบขึ้นอยู่กับครูผู้ฝึกสอนจะเป็นผู้กำหนดให้ บ้างก็จะใช้วิธีการเปิดเพลงบรรเลงเกี่ยวกับธรรมชาติหรือมนตรา ให้ผู้ปฏิบัติได้รับฟัง จากนั้นก็จะใช้วิธีการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่ภวังค์เพื่อการบำบัดความเครียด บ้างก็เรียกสมาธิแบบนี้ว่า "สมาธิแห่งดุลยภาพ" หรือ "สมาธิแห่งความเป็นนิรันดร"


    ประโยชน์ที่จะได้รับ
    1) ได้วิธีการบำบัดความเครียดแบบฉับพลัน
    2) ได้พื้นฐานให้กับการฝึกโยคะแบบ Body & Mind หรือ กายและจิตเป็นรวมเป็นหนึ่งเดียว
    3) เสริมสร้างสติปัญญา

    ติดตามตอนต่อไป
     
  16. Dookbuabarn

    Dookbuabarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +225

    เปิดตัวแล้วจ้า ในที่สุดเวลาแห่งการรอคอยของ ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์
    ของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งหลาย ก็จะได้มาร่วมพบปะสังสรรกันอีกครั้ง

    คราวนี้มาในรูปโฉมใหม่ การปฏิบัติสมาธิแบบ TM ยังไม่เคยทำการเปิดสอนแนวนี้ที่ไหนเลยจ้า เป็นการให้ความรู้แบบใหม่ที่เหมาะกับสภาวะสังคมยุคนี้มาก

    บางท่านต้องเครียดจากสภาวะทั้งการงาน การเงิน ครอบครัว สภาวะทางสังคมความเป็นอยู่รอบๆด้าน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

    เรามาหาทางออกให้กับชีวิตในรูปแบบใหม่ ขจัดอาสวกิเลสของธาตุ 4 ขันธ์ 5
    ให้ได้รับการผ่อนคลายจากความตึงเครียดจากผลกระทบที่อยู่รอบๆตัวเรา ให้จิตและกายได้รับการฟื้นฟูเข้าสู่สภาวะความเป็นธรรมชาติ ปรับโครงสร้างของชีวิตใหม่ๆ ด้วยการปฏิบัติสมาธิแบบ TM

    ท่านผู้ใดที่สนใจการปฏิบัติสมาธิแนวนี้ เชิญได้นะคะพบกับพวกเราชาวชมรมนักปฏิบัติธรรม ที่บ้าน อ.ภราดรภาพ หมู่บ้านลัดดารมย์ ปิ่นเกล้า ในวันเสาร์ที่ 28 พ.ย. 2552 นี้

    ยินดีต้อนรับทุกๆท่านค่ะ
     
  17. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    จิต - อารมณ์ - ผู้รู้

    เปรียบเหมือนกับเราเลี้ยงควายหนึ่งต้นข้าว สองควาย สามเจ้าของ ควายจะต้องกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกินจิตของเราก็เหมือนควายอารมณ์คือต้นข้าวผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของการปฏิบัติเป็นเหมือนอย่างนี้ไม่ผิด เปรียบเทียบดูเวลาเราไปเลี้ยงควาย ทำอย่างไรปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ถ้ามันเดินใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมันควายได้ยินก็จะถอยออกแต่เราอย่าเผลอนะถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง ก็เอาไม้ค้อนฟาดมันจริง ๆ มันจะไปไหนเสียมันจะได้กินต้นข้าวหรือแต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกันถ้าขืนนอนหลับ ต้นข้าวหมดแน่ ๆเรื่องการปฏิบิตก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ ผู้ใดตามดูจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงของมารจิตก็เป็นจิต แล้วใครจะมาดูจิตอีกเล่า เดึ๋ยวก็งงกันเท่านั้นจิตอันหนึ่ง ผู้รู้อันหนึ่ง รู้ออกมาจากจิตนั่นแหละรู้จิตเป็นอย่างไร สบอารมณ์ เป็น อย่างไรปราศจากอารมณ์เป็นอย่างไร ผู้ที่รู้อันนี้ ท่านเรียกว่า ผู้รู้ ผู้รู้จะตามดูจิต ผู้รู้นี้จะเกิดปัญญาจิตนั้นคือความนึกคิด ถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไปถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีกเหมือนกับควายนั่นแหละมันจะไปทางไหน เราก็ดูมันอยู่ มันจะไปไหนได้มันจะไปใกล้ต้นข้าว ก็ตวาดมันอยู่ว่าไม่ฟังก็ถูกไม้ค้อนเท่านั้น ทรมานมันอยู่อย่างนี้

    จิตก็เหมือนกัน เมื่อถูกอารมณ์ มันจะเข้าจับทันทีเมื่อมันเข้าจับ ผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณามัน ว่าดีไม่ดีอธิบายเหตุผลให้มันฟัง มันไปจับสิ่งอื่นอีกมันนึกว่าเป็นของน่าเอา ผู้รู้นี้ก็สอนมันอีกอธิบายให้มีเหตุผล จนมันทิ้ง อย่างนี้จึงสงบได้จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอาทั้งนั้น มันก็หยุดเท่านั้นมันขี้เกียจเหมือนกัน เพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอทรมานมันเข้า ทรมานเข้าไปถึงจิต หัดมันอยู่อย่างนั้นแหละ


    ตั้งแต่ครั้งอาตมาปฏิบัติอยู่ในป่า ก็ปฏิบัติอย่างนี้สอนศิษย์ทั้งหลายก็สอนอย่างนี้เพราะต้องการเห็นความจริงไม่ต้องการเห็นในตำราต้องการเห็นในใจของเจ้าของว่า ตัวเองหลุดพ้นจากสิ่งที่คิดนั้น หรือยังเมื่อหลุดแล้วก็รู้จัก เมื่อยังไม่หลุดก็พิจารณาเหตุผลจนรู้เรื่องของมันถ้ารู้เรื่องของมันก็หลุดเองถ้ามีอะไรมาอีก ติดอะไรอีก ก็พิจารณาสิ่งนั้นอีกไม่หลุดไม่ไป ย้ำมันอยู่ตรงนี้ มันจะไปไหนเสียอาตมาชอบให้เป็นอย่างนั้นในตัวเองเพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนทั้งหลายรู้เฉพาะตน ก็ต้องหาเอาจากเจ้าของ ให้รู้จักจากตัวเองนี้เหละถ้าเชื่อตัวเองก็รู้สึกสบายเขาว่าไม่ดีก็สบาย เขาว่าดีก็สบายเขาจะว่าอย่างไรก็สบายอยู่ เพราะอะไรจึงสบายเพราะ รู้ตัว เองถ้าคนอื่นว่าเราดี แต่เราไม่ดี เราจะเชื่อเขาอย่างนั้นหรีอเราไม่เชื่อเขา เราปฏิบัติของเราอยู่คนไม่เชื่อตนเอง เมื่อเขาว่าดีก็ดีตามเขา ก็เป็นบ้าไปอย่างนั้นถ้าเขาว่าชั่ว เราก็ดูเรา มันไมใช่หรอกเขาว่าเราาทำผิดแต่เราไม่ผิดดังเขาว่า เขาพูดไม่ถูกก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความจริงถ้าเราผิดดังเขาว่า ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม อีกถ้าคิดได้ดังนี้ รู้สึกว่าสบายจริง ๆมันเลยไม่มีอะไรผิด ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมดอาตมาปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้มันลัดตรงจริง ๆแม้จะเอาธัมมะธัมโมหรืออภิธรรมมาเถียง อาตมาก็ไม่เถียงไม่เถียงหรอก ให้แต่เหตุผลเท่านั้นให้เข้าใจเสียว่า เรื่องปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าให้วางทั้งหมดวางอย่างรู้ไม่ใช่ว่าวางอย่างไม่รู้จะวางอย่างควายอย่างวัวไม่เอาใจใส่อย่างนี้ไม่ถูกวางเพราะการรู้สมมติบัญญัติความไม่ยึด

    ทีแรกท่านสอนว่า ทำให้มาก เจริญให้มาก ยึดให้มากยึดพระพุทธ ยึดพระธรรม ยีดพระสงฆ์ ยืดให้มั่นท่านสอนอย่างนี้เราก็ยึดเอาจริง ๆ ยึดไป ๆคล้ายกับท่านสอนว่า อย่าไปอิจฉาคนอื่น ให้ทำมาหากินด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง มีวัวมีควายมีไร่มีนาให้หาเอาจากของ ๆ เรานี่แหละไม่บาปหรอก ถ้าไปทำของคนอื่นมันบาป ผู้ฟังจึงเชื่อทำเอาจากของตนเองอย่างเต็มที่แต่มันก็ยุ่งยากลำบากเหมือนกันที่ยากลำบากนั้นเพราะของเราเองก็ไปบ่นปรับทุกข์ให้ท่านฟังอีกว่า มีสิ่งของใด ๆ ก็ยุ่งยากเป็นทุกข์แต่ก่อนเข้าใจว่ายุ่งยากเพราะแย่งสิ่งของคนอื่นท่านจึงแนะให้ทำของ ๆ ตน นึกว่าจะสบายครั้นทำแล้วก็ยังยุ่งยากอยู่ เมี่อเห็นความยุ่งยากแล้วท่านจึงเทศน์อย่างใหม่ให้ฟังอีกว่ามันก็ต้องเป็นอย่างนี้ถ้าไปยึดไปหมาย มันก็เป็นอยางนี้ไม่ว่าของใครทั้งนั้น

    ไฟอยู่บ้านเขา ไปจับมันก็ร้อน ไฟอยู่บ้านเรา ไปจับมันก็ร้อนอยู่อย่างนั้น ท่านก็พูดตามเรา เพราะท่านสอนคนบ้า การรักษาคนบ้าก็ต้องทำอย่างนั้น
    พอช้อคไฟได้ท่านก็ช้อค เมื่อก่อนยังอยู่ต่ำเกินไป เลยไม่ทันรู้จักเรื่องอธิบายของพระพุทธเจ้าท่านสอนเราต่างหากหมดเรื่องของท่าน มาติดเรื่องของเราถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม เอาอุบายทั้งหลายเหล่านี้มาสอนเรา
    เรื่องปฏิบัตินี่ อาตมาพยายามค้นคิดเหลือเกินเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพราะเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรค ผล นิพพาน มีอยู่มันมีอยู่ดังพระองค์ตรัสสอนแต่ว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติดีเกิดจากการทรมานกล้าหาญ กล้าฝึก กล้าหัด กล้าคิด กล้าแปลง กล้าทำ
    หลวงปู่ชา
     
  18. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    เมื่อดูคนทั่วไปจะรู้แต่สิ่งที่ดู หรืออย่างมากก็รู้สึกว่าเราดู เช่น เมื่อเห็นแมวเดินมา คนทั่วไปจะรู้ว่าแมวเดินมา หรือรู้ว่าเรากำลังดูแมวอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติบางท่านจะมองทะลุสิ่งที่เห็นนั้นเข้าไปถึงอารมณ์ปรมัตถ์ คือทราบว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นสีบางอย่างเท่านั้น และรูปอย่างนี้ชาวโลกเขาเรียกกันว่าแมว อย่างไรก็ตามการปฏิบัติไม่ใช่เรื่องที่ต้องทำอะไรให้ยุ่งยากขนาดนั้น แค่รู้ว่า จิตมีอาการไปดู ก็พอแล้ว ไม่ต้องสนใจว่าดูแมวหรือดูอะไร และไม่ต้องไปวิเคราะห์แยกแยะแมวให้เป็นรูปปรมัตถ์ก็ได้ เพราะไม่มีใครเห็นว่าแมวเป็นตัวเราอยู่แล้ว

    การรู้ว่าจิตมีอาการไปดูนั่นแหละเป็นการรู้จิตซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ในฝ่ายนามธรรมอย่างหนึ่ง และถ้าจิตไปดูแล้วจิตเกิดโสมนัสหรือโทมนัส และเกิดกุศลหรืออกุศล ก็ให้รู้โสมนัสหรือโทมนัส กุศลหรืออกุศลนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเจตสิกอันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ในฝ่ายนามธรรมเช่นกัน

    พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ​
     
  19. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้การจำแนกรูปนามหรืออารมณ์ปรมัตถ์ของจริง ออกจากสิ่งที่คิดขึ้นมาหรือสมมุติบัญญัติขึ้นมาให้เป็น เพราะการเจริญวิปัสสนาจะต้องรู้รูปนามจะไปตามรู้อารมณ์บัญญัติแล้วคิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ไม่ได้ ตัวอย่างเช่นบางท่านปฏิบัติโดยดูความคิด ว่ามันคิดเรื่องอะไรบ้าง เรื่องราวที่คิดเป็นบัญญัติตามดูแล้วจะเกิดสมถะคือจิตจะสงบ แต่ไม่ทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญา ผู้ปฏิบัติควรจะต้องรู้ทัน "อาการของจิตที่คิด" อันเป็นการรู้ทันจิต จึงเป็นการรู้อารมณ์ปรมัตถ์ และเกิดปัญญาเห็นความจริงว่าเราไม่มี มีแต่ธรรมชาติบางอย่างที่เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆเท่านั้น


    พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ​
     
  20. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    เมื่อใดมีสติ เมื่อนั้นจิตจะหลุดออกจากโลกของสมมุติบัญญัติชั่วคราว แล้วระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้โดยไม่ต้องจงใจรู้ แต่สติก็เกิดได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้วดับไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับชวนจิตที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงได้แก่การที่จะต้องทำให้สติเกิดขึ้นเนืองๆ หรือเกิดบ่อยๆ ยิ่งบ่อยยิ่งดี ไม่ใช่ไปฝืนทำในสิ่งที่ผิดธรรมชาติ คือพยายามจะทำให้สติเที่ยงและทนอยู่ได้นานๆ

    พวกเราจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะทำให้สติเกิดขึ้น ถ้าไม่รู้วิธี สติจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ผู้เขียนได้เห็นเพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากพยายามบังคับตนเองเพื่อให้เกิดสติขึ้นด้วยวิธีการต่างๆนานา เช่น พยายามบังคับจิตให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจ พยายามบังคับจิตให้จดจ่ออยู่กับความเคลื่อนไหวของมือ ของเท้า ของท้อง พยายามเดินกระแทกส้นเท้าแรงๆ เพื่อปลุกตนเองไม่ให้ลืมตัว พยายามบริกรรมถี่ๆ เพื่อไม่ให้ลืมตัว พยายามคลึงหรือเคาะนิ้ว เพื่อให้เกิดความรู้สึกตัว ฯลฯ

    วิธีการเหล่านี้ไม่ได้ทำให้สติตัวแท้เกิดขึ้น แต่เป็นวิธีการดักจริตไม่ให้ไหลไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยพยายามบังคับหรือน้อมให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าวมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1.ถ้าเป็นการบังคับให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียวจิตจะเกิดความอึดอัด แต่2. ถ้าเป็นการน้อมระลึกถึงอารมณ์อันเดียวนั้นอย่างสบายๆจิตจะเกิดความสงบและตั้งมั่นในลักษณะของการเจิรญสมถกรรมฐาน

    เคล็ดลับของการทำสมถกรรมฐานอยู่ที่ว่าจะต้องทำให้จิตรู้สบายๆอยู่ในอารมณ์ฝ่ายกุศล เพราะความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ

    พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ​
     

แชร์หน้านี้

Loading...