คุณของการนอบน้อมพระรัตนตรัยสูงสุด

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 27 ตุลาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    คุณของการนอบน้อมพระรัตนตรัยสูงสุด
    <O:p</O:p

    การได้เกิดมาพบพระไตรสรคมณ์ (การเข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง) หรือได้นอบน้อมพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ เป็นเหตุสู่การเข้าถึงปัญญารู้โลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๕ นิพพาน ๑ พระนิพพานธรรม คือ คุณแท้จริงของพระรัตนตรัย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ความในหนังสือ “ นโม ไตรสรณคมณ์ ” หน้า ๒๕ กล่าวว่า ในไตรภูมิพระร่วง (ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมพระร่วง หน้า ๑๖๙) สารธรรมแห่งพระคาถาปรากฏอยู่ในคำสอนของพระนางอสันธิมิตตาที่กราบทูลถวายพญาศรีธรรมาโศกราช มีข้อความว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    “ แล้วนางอสันธิมิตตา จึงสั่งโสนอนุโมทนา พญาศรีธรรมาโศกราช ด้วยโคลงธรรม ดั่งนี้ว่า<O:p</O:p
    “ ... ข้าแต่พระราชสมภารเจ้า อันว่าฝูงเทพยดา แลมนุษย์ทั้งหลายอันเปิดในโลกนี้ แลได้พบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เจ้าไส้ ทุกข์ยากนักหนาแล ผู้ใดแล มีปรีชารู้หลักขวนขวายทำบุญธรรมไส้ ก็จะได้เถิงพระนวโลกุตรธรรม แลก็จะพาตนเข้าสู่นครนิพพาน ตนเป็นข้าแต่ผู้เป็นเจ้า
    <O:p</O:p
    อันว่าคนทั้งหลายนี้ จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในเมืองดินนี้ ก็ได้ยากนักหนา แลผู้ใดมาเกิดเป็นมุนุษย์ดังนั้นโสด แลมีใจศรัทธา แลรู้หลักเชื่อบุญเชื่อบาปนั่นแล รู้หลักดั่งนั้นก็ดี แลจักได้ฟังอันพระพุทธิเจ้าบัญฑูรไว้นั้นก็ยากหนักหนาไส้ ผิแลว่า ได้ฟังธรรมดั่งนั้นก็ดี แลจะจำไว้ได้เป็นหมั้นคงแล้ว แลเทศนาให้ท่านผู้อื่นฟังสืบไปเล่าได้ฟังด้วย ดั่งนั่นก็ดียากหนักหนา ...”
    <O:p</O:p
    เหตุฉะนี้ พระอาจารย์เจ้า เมื่อจะประกอบการกุศลใด ๆ จึงต้องแสดงนมัสการระลึกถึงพระรตนัตตยาทิคุณไว้เป็นเบื้องแรกด้วยพระบาลีว่า “ นโม ตัสสะ ภควโต ... ” เพื่อทำชีวิตให้มีแก่นสาร คือ ดำรงอยู่ในนิพพานคุณได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สรุปว่า ชีวิตคือปัญญาที่เป็นแก่นสาร คือ การเห็นคุณของพระนิพพาน กล่าวคือ ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสขันธ์ ๕ บังเกิดแก่ผู้ใด ผู้นั้นกระทำกุศลใดมาตรว่าน้อยหนึ่ง กุศลนั้นชื่อว่า “วิวัฏฏคามีกุศล” (กุศลที่เป็นไปเพื่อการออกจากวัฏฏะ) ซึ่งในทางสภาวธรรมและการปฏิบัติ ได้แก่ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง) มีอานิสงส์นับประมาณมิได้ “
    <O:p</O:p
    ในหนังสือ “นโม ไตรสรณคมน์ ” หน้า ๓๐ กล่าวว่า ในไตรภูมิโลกวินิจยกถา รจนาโดย พระธรรมปรีชา (แก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้กล่าวถึงประโยชน์หรือผลานิสงส์ของการตั้งบทปณามพระรัตนตรัยไว้ในเบื้องต้นของคัมภีร์ ๒ ประการ คือ
    <O:p</O:p
    ประการแรก การนอบนอ้มพระรัตนตรัยในเบื้องต้นพระคัมภีร์ นอกจากจะคุ้มโทษคุ้มภัยผู้ทำแล้ว ยังเป็นประโยชน์คุ้มโทษคุ้มภัยแก่ผู้เล่าเรียน และผู้อ่าน ผู้ฟังบทปณามพระรัตนตรัยนั้นด้วย เพราะเมื่อได้เล่าเรียน ได้อ่าน ได้ฟังบทปณามพระรัตนตรัย ก็จักบังเกิดสัทธาเลื่อมใสเคารพนบนอบในพระรัตนตรัย ช่วยให้พ้นทุกข์ พ้นภัย พ้นอุปัทวะเสนียดด้วยอำนาจแห่งมหากุสลจิตที่มีสัทธาเป็นเบื้องต้น มีปัญญาเป็นปริโยสาน”
    <O:p</O:p
    ประการที่สอง เมื่อผู้เล่าเรียน ผู้อ่าน ผู้ฟังได้รับอานิสงส์ดังกล่าว การตั้งบทปณามพระรัตนตรัย จึงนับเป็นธรรมทานที่มีผลานิสงส์ประเสริฐ”

    คัมภีร์สารัตถสมุจจัย อัตกถาภาณวาร เล่ม ๑ หน้า ๑๖ ได้สรุปสาระแห่งการตั้งบทบูชาพระรัตนตรัย ไว้เป็นเบื้องแรกว่า
    <O:p</O:p
    “ พระมหาพุทธคุณทั้ง ๓ อันเปนประธานคุณใหญ่ สรุปรวมพระรัตนัตตยะคุณทั้งปวงไว้ในพระบาฬีว่านโม ตัส์ส ภควโต อรหโต สัมมา สัม์พุท์ธัส์สะนี้ได้แจ้งแล้ว ก็จะได้มีอุตสาหเจริญภาวนา สวดมนต์หยั่งปัญญาไปตามเนื้อความอันท่านพรรณนาไว้ จะเกิดปราโมทช ปิติ สุข สมาธิ อันเปนอุปจารญาณ
    <O:p</O:p
    อนึ่งจะได้รู้ว่า พระรัตนไตรยคุณทั้ง ๓ นี้ คือ องค์พระนพโลกุตตรธรรม ประดับด้วยกิเลศนิพพาน อันเปนต้นเหตุแห่งขันธนิพพาน แลธาตุนิพพาน ได้รู้แจ้งพระนิพาน ฉะนี้ ผลอานิสงฆ์เปนอนันตัง ดังจะนับประมาณมิได้ จะทำกุศลสิ่งใด กุศลนั้นชื่อว่า “วิฏฏคามีผล” เหตุเห็นพระนิพพานเปนแท้ ผู้นั้นมีบารมีมากแล้ว
    <O:p</O:p
    ถ้าผู้ใดทำกุศลมิได้ปรารถนาพุทธโพธิญาณ และปักเจกโพธฺญาณ สาวกโพธิญาณ ผู้นั่นชื่อว่า มิได้ปรารถนานิพพานธรรม ผู้นั้นยังปฏิบัติผิดจากคลองธรรมแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งปวง ให้เข้าใจแจ้งว่า พระพุทธโพธิญาณ และพระปัจเจกโพธิญาณ พระสาวกโพธิญาณ พระนวโลกุตรธรรมทั้ง ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เปนปรมัตถสัจจะกถา ก็ต้องด้วยพุทธฎีกาตรัสโปรดประทานเทศนาไว้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ธรรมกถาใดอันธรรมกถึกนำเอามาแสดงเปนสมมุตสัจจะ ปราศจากอริยสัจจ์ ๔ ปราศจากมรรค ปราศจากพระนิพพาน อันเปนปรมัตถสัจจะ ธรรมกถาอันนั้นชื่อว่าหาคุณประโยชน์มิได้ ธรรมกถาอันใด อันเปนปรมัตถสัจจะกถา ประกอบด้วยพระอริยสัจจ์ ๔ แลมรรคผล นิพพาน ธรรมกถาอันนั้นมีอุดมประโยชน์อันยิ่งแก่สัตว์ผู้สดับ ธรรมกถึกผู้แสดงนั้นชื่อว่าสันทัด เปนธรรมกถึกแท้ <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • big121.jpg
      big121.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.4 KB
      เปิดดู:
      10,079
    • 20.jpg
      20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.6 KB
      เปิดดู:
      2,173
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    บุญญสิกขา พิมพ์เป็นมหาธรรมทาน เป็นพุทธบูชา น้อมเกล้าฯ อัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยสุงสุด อภิบาลเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลเจริญญาณพระบารมีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และทรงมีพระสุขภาพพลามัยสมบูรณ์แข็งแรง โดยประการทั้งปวง ควรมิควรฯ

    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล: หนังสือ “มหานมัสการ ฯ : มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง” เรียบเรียงโดยครูบาอาจารย์ที่เคารพ ; ท่านมหาวัดแจ้ง ( พระศรีศาสนวงศ์ , มีชัย วีระปัญโญ ป.ธ. ๙ M.P.A.) วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

    <O:p</O:p
    ภาพประกอบ: ภาพจิตรกรรมคุรุศิลปิน ; ท่านเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1173429/[/MUSIC]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2010
  3. datchanee

    datchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,947
    ค่าพลัง:
    +1,276
    satu satu satu
     
  4. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ


    อันว่าท้อง ถิ่นแคว้น แดนธรรมนี้


    เป็นถิ่นมี ที่สำคัญ ร่วมมั่นหมาย

    รวมพลัง สามัคคี ไม่มีคลาย

    สร้างถวาย แด่องค์ พระทรงธรรม
     
  5. hon9999

    hon9999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +2,430
    เพลงบทสวดเพราะมากๆๆครับ
     
  6. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,487
    ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งอันเกษมสูงสุด สาธุ
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    การแสดงความนอบน้อมพระรัตนตรัย ครบองค์คุณทั้ง ๓ ประการ คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ เรียกสำนวนว่า “อวนาภาวนัย” (นัยะไม่แยกจากกัน) เนื่องจากรัตนะทั้ง ๓ กล่าวคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มีความเกี่ยวเนื่องกัน ไม่แยกจากกันนั้นเอง ดังมีข้อความว่า

    <O:p</O:p
    “ พระรัตนตรัย แม้จะต่างกันโดยวัตถุว่า “พุทฺโธ ธฺมโม สงฺโฆ” ก็จริง
    แต่โดยเนื้อความเป้นอย่างเดียวกัน เหตุไม่แยกจากกัน
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ธรรม พระธรรมอันพระสงฆ์ทรงจำได้
    พระสงฆ์ก็เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า พระรัตนตรัยเนื่องเป็นอันเดียวกันอย่างนี้”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ทั้งสามดังกล่าวนั้น ปราชญ์บางท่านได้เปรียบความไว้ว่า เหมือนไม้ ๓ อันตั้งพิงกัน ถ้าชักออกเสียอันหนึ่ง หรืออันใดอันหนึ่งล้มไป อีก ๒ อันก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องล้มตามไปด้วย แต่ถ้าตั้งพิงกันทั้ง ๓ อันก็จะตั้งอยู่ได้ พระรัตนตรัยก็เช่นกันต่างอิงอาศัยกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมอันพระสงฆ์ทรงจำไว้ให้ดำรงอยู่สืบมา และพระสงฆ์ก็เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้งสามมีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในคัมภีร์ปรมัตถโขติกา ขุททนิกาย อรรถกถา ได้เปรียบเทียบพระรัตนตรัยไว้หลายอย่าง และอุปมาบางอย่างก็สมเหตุสมผลน่ารู้ จะนำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้ :-
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเปรียบเหมือนแสงรังสีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชาวโลกผู้มีความปิติยินดีที่แสงรังสีของพระจันทร์ทำให้เกิดขึ้น
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายสารถีที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนคนที่เดินไปตามมรรคานั้นแล้ว ถึงภูมิสถานแดนเกษมเป็นที่สุด
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงปัญญา ผู้ให้ความปลอดภัย พระธรรมเปรียบเหมือนความไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้บรรลุแล้วซึ่งความปลอดภัย โดยแท้จริง เปรียบเหมือนประชาชนผู้ถึงแล้วความปลอดภัย
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อรัตนะ พระธรรมเปรียบเหมือนรัตนะอันเป็นแก่นสาร พระสงฆ์เปรียบเหมือนคนผู้ใช้สอยรัตนะอันเป็นแก่นสาร
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนต้นไม้จันทน์ พระธรรมเปรียบเหมือนกกลิ่นหอมของไม้จันทน์อันเกิดจากต้น พระสงฆ์ผู้มีความเร่าร้อนอันสงบระงับได้แล้วโดยแท้จริง ด้วยบริโภคใช้สรอยพระสัทธรรม เปรียบเหมือนประชาชนผู้มีความรุ่มร้อนที่ระงับได้แล้วด้วยการใช้สรอยผงไม้จันทน์
    <O:p</O:p
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีข้อสังเกตว่า ในวรรณกรรมบางลีบางแห่ง ท่านอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ ได้รจนาคาถาแสดงความนอบน้อม พระรัตนตรัยโดยใช้พระธรรมรัตน์เป็นหลัก เรียกคาถานี้ว่า พระคาถาวาณีสุนทรี



    มุนินฺท วท นฺมโภช คฺพภสฺ ภวสุนฺทรี
    สรณํ ปาณินํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ.

    ขอพระสัมธรรมอันงามบังเกิดในห้องบงกช คือ
    พระโอษฐ์ของจอมพระมุนี ซึ่งเป็นที่พึ่งของปราณชาติทั้งหลาย จงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มเถิด
    <O:p</O:p

    ในคาถานี้ แม้ท่านผู้แต่งจะแสดงการนอบน้อมพระธรรมรัตน์อย่างเดียว แต่ความเลื่อมใสในพระธรรมเจ้า ย่อมสำเร็จแม้ในพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ เพราะไม่พรากกันได้ ดังนั้น คาถานี้ จึงเป็นการนอบน้อม พระรัตนตรัยโดยปริยาย
    ด้วยเหตุดังกล่าว ความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ย่อมสำเร็จ ทั้งแม้ในพระธรรม และ พระสงฆ์ด้วย<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2009
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระจันทร์ที่ส่องฉาย สัมผัสกายของชาวโลกให้เย็นฉ่ำสุกสกาวในสุกกปักษ์ตามลำดับดิถีกาลตั้งแต่วันพบเห็นจวบจนถึงวันเพ็ญ พึงยังดอกคล้าและกุมุทให้แย้มบาน ฉันใด
    <O:p</O:p
    ขอบารมีคุณที่เต็มเปี่ยม อันเจริญตามลำดับในฝ่ายเกื้อหนุนพระสัพพัญญุตญาณ จำเดิมแต่วันพบเห็นพระทีปังกร จวบจนกระทั่งถึงวันเพ็ญตรัสรู้ โปรดยังเวไนยชนทั้งมวลให้แย้มบาน ฉันนั้น.
    <O:p</O:p
    ความคุ้มครองเช่นกับ "พระรัตนตรัย" ซึ่งทำให้โลกสามบรรลุแดนเกษมด้วยเดชานุภาพนั้น หามีไม่ เหตุนั้น เชิญท่านทั้งหลายซ่องเสพพระรัตนตรัยนั้น เป็นนิตย์เถิด.


    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [​IMG]



    กราบขอบพระคุณสาระประโยชน์จากหนังสือ “มหาพลานุภาพ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธธสฺส. มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง เรียบเรียงโดย ท่านมหาวัดแจ้ง (ป.ธ. ๙ M.P.A.) วัดอรุณราชวรราม ราชวรมหาวิหาร โทร.๐๘๑ ๙๘๗ ๗๕๓๕ , ๐๒ ๘๙๑ ๒๑๘๕<O:p</O:p
     
  9. singhol

    singhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +1,941
    ขออนุโมทนาสาธุครับ...ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธ...พระธรรม...พระสงฆ์..เป็นสรณะ
     
  10. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
  11. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    ขอแสดงคารวะ มุฑิตาจิต “ท่านมหาวัดแจ้ง”

    ขอแสดงคารวะ มุฑิตาจิต “ท่านมหาวัดแจ้ง”
    ด้วยมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๓ วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้อนุมัติแต่งตั้ง ท่านพระอาจารย์ “มหาวัดแจ้ง” หรือ พระศรีศาสนวงศ์ (มีชัย วีรปญฺโญ) ป.ธ. ๙ ผู้เรียบเรียง “มหาพลานุภาพ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธธสฺส. มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
     
  12. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    ขอแสดงคารวะ มุฑิตาจิต “ท่านมหาวัดแจ้ง”

    ขอแสดงคารวะ มุฑิตาจิต “ท่านมหาวัดแจ้ง”
    ด้วยมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๓ วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้อนุมัติแต่งตั้ง ท่านพระอาจารย์ “มหาวัดแจ้ง” หรือ พระศรีศาสนวงศ์ (มีชัย วีรปญฺโญ) ป.ธ. ๙ ผู้เรียบเรียง “มหาพลานุภาพ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธธสฺส. มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
     

แชร์หน้านี้

Loading...