บันได ๑๐ ขั้น ระงับความโกรธ :: พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย kungfuloma, 26 ตุลาคม 2009.

  1. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    [FONT=&quot]ทําอย่างไรจะหายโกรธ [/FONT][FONT=&quot] :mad:
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]​
    [FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]​
    [FONT=&quot]พระพุทธศาสนา [/FONT][FONT=&quot]เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้า มีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ [/FONT][FONT=&quot]พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคน ได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วย กาย วาจา [/FONT][FONT=&quot]และมีนํ้าใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทําอะไรอื่น ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง [/FONT][FONT=&quot]ขอให้อยู่เป็นสุข ปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า [/FONT]
    [FONT=&quot]อย่างไรก็ตาม [/FONT][FONT=&quot]เมตตา [/FONT][FONT=&quot]มีคู่ปรับสําคัญอย่างหนึ่งคือ[/FONT][FONT=&quot] ความโกรธ [/FONT][FONT=&quot]ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวาง[/FONT][FONT=&quot]ไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ต้องทําอะไรรุนแรงออกไป [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]ทําให้เกิดความเสียหาย ถ้าทําอะไรไม่ได้ ก็หงุดหงิดงุ่นง่าน ทรมานใจตัวเอง[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot] เวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธ[/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอมหนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกําจัดให้หมดไปได้อย่างไร [/FONT]
    [FONT=&quot]โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือโดยสอนวิธีการต่างๆสําหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มีประโยชน์ไม่เฉพาะสําหรับคนมักโกรธเท่านั้น แต่เป็นคติแก่ทุกคนช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึงขอนํามาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ขั้นที่ ๑ [/FONT][FONT=&quot]นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ[/FONT]

    <!--[if !supportLists]-->
    [FONT=&quot]ก.[/FONT][FONT=&quot]สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามัวมาโกรธอยู่ ไม่ระงับความโกรธเสีย เป็นการไม่ปฏิบัติตามคําสอนของพระองค์ ไม่ทําตามอย่างพระศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า จงรีบทําตัวให้สมกับที่เป็นศิษย์ของพระองค์ [/FONT][FONT=&quot]และจงเป็นชาวพุทธที่ดี[/FONT]
    [FONT=&quot]ข.[/FONT][FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก [/FONT][FONT=&quot]ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก [/FONT][FONT=&quot]เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่า นั้นเลย[/FONT]
    [FONT=&quot]ค.[/FONT][FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมา เราไม่โกรธตอบไป อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นหรืออีกฝ่ายหนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้เสีย ไม่เคืองตอบ[/FONT][FONT=&quot] จะชื่อว่าเป็นผู้ทําประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง [/FONT]<sup>[FONT=&quot]๑[/FONT]</sup>
    [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น เราอย่าทําตัวเป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงคราม และเป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด [/FONT]<!--[endif]--> <!--[if !supportLists]--><!--[endif]--> <!--[if !supportLists]--><!--[endif]--> [FONT=&quot]อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ให้พิจารณาขั้นที่สองต่อไปอีก[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT] [FONT=&quot]

    ขั้นที่ ๒ [/FONT][FONT=&quot]พิจารณาโทษของความโกรธ[/FONT]


    [FONT=&quot]ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]"คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธ นอนก็ เป็นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้น แหละคือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]“พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงํา มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทํายากก็เหมือนทําง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา"<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]"แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมา ก่อนเหมือนมีควันก่อนจะเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทําให้คนดาลเดือดได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคําไม่มีคารวะ ฯลฯ”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]“คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้จนได้ [/FONT][FONT=&quot]ลืมตามองดูโลกนี้ แต่มีกิเลสหนา พอโกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้ แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]<sup>[FONT=&quot] ๒[/FONT]</sup>
    [FONT=&quot]"กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ ฯลฯ เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]<sup>[FONT=&quot] ๓[/FONT]</sup>[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่างๆ [/FONT][FONT=&quot]และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าความโกรธมีแต่ทําให้เกิดความเสียหายและความพินาศ [/FONT][FONT=&quot]ไม่มีผลดีอะไรเลย จึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ [/FONT][FONT=&quot]"ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่โศกเศร้าเลย"[/FONT]<sup>[FONT=&quot] ๔[/FONT]</sup>[FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]พิจารณาโทษของความโกรธทํานองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สําเร็จก็ลองวิธีต่อไปอีก[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT] [FONT=&quot]ขั้นที่ ๓ [/FONT][FONT=&quot]นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่วไป แต่ละคนๆ ย่อมมีข้อดีบ้าง ข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบจะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี คนอื่นว่าไม่ดี [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการกระทําของคนอื่นที่ทําให้เราโกรธนั้น [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเขาอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]เมื่อจุดนั้นแง่นั้นของเขาไม่ดีไม่ถูกใจเรา ทําให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึงแต่จุดนั้นแง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆ ของเขา เช่น[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]คนบางคน ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานทําร้ายใคร [/FONT][FONT=&quot]บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือการแสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ [/FONT][FONT=&quot]แต่พูดจาดี สุภาพ หรือไม่ก็อาจพูดจามีเหตุมีผล บางคนปากร้ายแต่ใจดี บางคนสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดี [/FONT][FONT=&quot]แต่เขาก็รักงาน ตั้งใจทําหน้าที่ของเขาดี บางคนถึงแม้คราวนี้เขาทําอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่าๆ [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]เขาก็มี เป็นต้น [/FONT][FONT=&quot]
    ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอาขึ้นมาระลึกนึกถึง[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะให้มองเอาจริงๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่[/FONT][FONT=&quot] ! น่าสงสาร [/FONT][FONT=&quot]ต่อไปคนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่างๆ เพราะความประพฤติไม่ดีอย่างนี้ นรก อาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น [/FONT]
    [FONT=&quot]พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]ขั้นที่ ๔ [/FONT]
    [FONT=&quot]พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง [/FONT][FONT=&quot]และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความพินาศวอดวายแก่กันและกัน [/FONT][FONT=&quot]คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้แก่ตัวเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทําอะไรให้ลําบาก[/FONT][FONT=&quot]ก็ได้สมใจของเขา เช่น
    [/FONT][FONT=&quot]ศัตรูปรารถนาว่า [/FONT][FONT=&quot]"ขอให้มัน (ศัตรูของเขา) ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู" [/FONT][FONT=&quot]หรือ[/FONT]
    [FONT=&quot]"ขอให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมทรัพย์สมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ [/FONT][FONT=&quot]ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]<sup>[FONT=&quot] ๕ [/FONT]</sup>[FONT=&quot]เป็นต้น [/FONT]
    [FONT=&quot]เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทําผลร้ายเช่นนี้ให้เกิดแก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา[/FONT]
    [FONT=&quot]ด้วยเหตุนี้ ศัตรูที่ฉลาดจึงมักหาวิธีแกล้งยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ จะได้เผลอสติทําการผิดพลาดเพลี่ยงพลํ้า [/FONT][FONT=&quot]เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทําร้ายตนเองด้วยความโกรธ ให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot] ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว [/FONT][FONT=&quot]สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ทําการงานธุระของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็นทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์ที่ต้องการก็จะสําเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"ถ้าศัตรูทําทุกข์ให้ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทําทุกข์ให้ที่ใจของตัวเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย"[/FONT]
    [FONT=&quot]"ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้าตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพะนอความโกรธนั้นไว้ [/FONT]
    [FONT=&quot]ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]"เจ้าโกรธว่าคนอื่นทํากรรมที่ป่าเถื่อน แล้วไยตัวเจ้าเองจึงมาปรารถนาจะทํากรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า"[/FONT]
    [FONT=&quot]"ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทําสิ่งไม่ถูกใจให้ แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยทําให้เขาสมปรารถนา <o></o>[/FONT][FONT=&quot]ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นมาได้เล่า[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]"แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะทําทุกข์ให้เขาได้หรือไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เดี๋ยวนี้เจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าแล้วด้วยความทุกข์ใจเพราะโกรธนั่นแหละ"[/FONT]
    [FONT=&quot]"หรือถ้าเจ้าเห็นว่า พวกศัตรูขึ้นเดินไปในทางของความโกรธอันไร้ประโยชน์แล้ว <o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาเสียอีกล่ะ[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]"ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใด จึงก่อเหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจงตัดความแค้นเคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อน[/FONT][FONT=&quot]ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องไปทําไม[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]จะพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นไปเพียงชั่วขณะ [/FONT][FONT=&quot]แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ใครกันในโลกนี้[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]"ศัตรูจะทําทุกข์ให้แก่ผู้ใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะทําทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละ[/FONT] [FONT=&quot]เป็นเหตุของทุกข์อยู่ฉะนี้ แล้วทําไมจะไปโกรธเขาเล่า[/FONT][FONT=&quot]" <sup>๖</sup>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็ยังไม่หายโกรธ ก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ขั้นที่ ๕ [/FONT][FONT=&quot]พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

    [/FONT]
    [FONT=&quot]พึงพิจารณาว่า ทั้งเราและเขาต่างก็มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทํากรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น[/FONT] [FONT=&quot]เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทําอะไร การกระทําของเรานั้นเกิดจากโทสะ [/FONT][FONT=&quot]ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ [/FONT][FONT=&quot]และเราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง เมื่อเราจะทํากรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะทําร้ายเขา เราก็ทําร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือของตัวก่อน หรือเหมือนกับเอามือ[/FONT][FONT=&quot]กอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ทําตัวนั่นแหละให้เหม็นก่อน[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตนเองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทํานองเดียวกัน [/FONT][FONT=&quot]เมื่อเขาโกรธเขาจะทํากรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้องรับผลกรรมของเขาเองต่อไป กรรมชั่วนั้น[/FONT][FONT=&quot]จะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีแต่ผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป [/FONT]
    [FONT=&quot]ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของตนเองอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทําแต่กรรมที่ดีไปเถิด[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าพิจารณากรรมแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณาขั้นต่อไป[/FONT] [FONT=&quot]

    ขั้นที่ ๖ [/FONT][FONT=&quot]พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า[/FONT]


    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าของเรานั้น กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบําเพ็ญบารมีทั้งหลายมาตลอดเวลายาวนานนักหนา [/FONT][FONT=&quot]ได้ทรงบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยยอมเสียสละแม้แต่พระชนมชีพของพระองค์เอง เมื่อทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่างๆ ก็ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายาม[/FONT][FONT=&quot]ปลงพระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทนที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทําร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงทําดีต่อเขาต่อไป[/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะนํ ามาระลึกตักเตือนสอนใจตน ในเมื่อประสบเหตุการณ์ต่างๆ ว่า ที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือเกิน เทียบกันไม่ได้เลย[/FONT]
    [FONT=&quot]ในเมื่อเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประสบนั้น ร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยังทรงระงับความโกรธไว้ [/FONT][FONT=&quot]มีเมตตาอยู่ได้ แล้วเหตุไฉนกรณีเล็กน้อยอย่างของเรานี้ ศิษย์อย่างเราจะระงับไม่ได้ [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราไม่ดําเนินตามพระจริยาวัตรของพระองค์ ก็น่าจะไม่สมควรแก่การที่อ้างเอาพระองค์เป็นพระศาสดาของตน[/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธจริยาวัตร เกี่ยวกับความเสียสละอดทน และความมีเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า[/FONT][FONT=&quot]อย่างที่ท่านบันทึกไว้ในชาดก มีมากมายหลายเรื่อง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจนํามาเล่าในที่นี้ได้ [/FONT][FONT=&quot]จะขอยกตัวอย่างชาดกง่ายๆ สั้นๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง

    [/FONT] [FONT=&quot]ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้ามหาสีลวะ [/FONT][FONT=&quot]ครั้งนั้นอํามาตย์คนหนึ่งของพระองค์ทําความผิด ถูกเนรเทศ และได้เข้าไปรับราชการในพระเจ้าแผ่นดินแคว้น[/FONT][FONT=&quot]โกศล อํามาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ให้โจรคอยเข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนืองๆ [/FONT][FONT=&quot]เมื่อราชบุรุษจับโจรได้พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ[/FONT] [FONT=&quot]ในที่สุด อํามาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่า พระเจ้าสีลวะอ่อนแอ [/FONT][FONT=&quot]ถ้ายกทัพไปรุกราน คงจะยึดแผ่นดินพาราณสีได้โดยง่าย พระเจ้าโกศลทรงเชื่อ จึงยกกองทัพไปเข้าโจมตีพาราณสี พระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฎรเดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติ [/FONT][FONT=&quot]จับพระองค์ไป พระเจ้าโกศลจับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทั้งเป็นในสุสานถึงแค่พระศอ [/FONT][FONT=&quot]รอเวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารอย่างในสมัยนั้น [/FONT][FONT=&quot]ครั้นถึงเวลากลางคืน เมื่อสุนัขจิ้งจอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะทรงใช้ไหวพริบและความกล้าหาญ [/FONT][FONT=&quot]เอาพระทนต์ขบที่คอสุนัขจิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์ เมื่อสุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรงทําให้สุนัขตัวอื่นหนีไป [/FONT][FONT=&quot]และทําให้ดินบริเวณหลุมฝังนั้นกระจุยกระจายหลวมออก จนทรงแก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้ [/FONT][FONT=&quot]ในคืนนั้นเองทรงเล็ดลอดเข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อมด้วยดาบอาญาสิทธิ์[/FONT][FONT=&quot]ของพระเจ้าโกศลเอง ทรงไว้ชีวิตพระเจ้าโกศล และพระราชทานอภัยโทษ เพียงทรงกู้ราชอาณาจักรคืน [/FONT][FONT=&quot]แล้วให้พระเจ้าโกศลสาบานไม่ทําร้ายกัน ทรงสถาปนาให้เป็นพระสหายแล้วให้พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]<sup>[FONT=&quot]๗[/FONT]</sup>

    [FONT=&quot]อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นวานรใหญ่อยู่ในป่า ครานั้นชายผู้หนึ่งตามหาโคของตน[/FONT][FONT=&quot]เข้ามาในกลางป่าแล้วพลัดตกลงไปในเหวขึ้นไม่ได้ อดอาหารนอนแขม่วสิ้นหวังสิ้นแรง พอดีในวันที่สิบ[/FONT][FONT=&quot]พญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสาร จึงช่วยให้ขึ้นมาจากเหวได้[/FONT][FONT=&quot]ต่อมา เมื่อพญาวานรซึ่งเหนื่อยอ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และนอนหลับไป ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า[/FONT][FONT=&quot] "ลิงนี้มันก็อาหารของคน เหมือนสัตว์ป่าอื่นๆ นั่นแหละ อย่ากระนั้นเลย เราก็หิวแล้ว ฆ่าลิงตัวนี้กินเสียเถิด [/FONT][FONT=&quot]กินอิ่มแล้วจะได้ถือเอาเนื้อมันติดตัวไปเป็นเสบียงด้วย จะได้มีของกินเดินทางผ่านที่กันดารไปได้[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT][FONT=&quot] คิดแล้วก็หาก้อนหินใหญ่มาก้อนหนึ่ง ยกขึ้นทุ่มหัวพญาวานร ก้อนหินนั้นทําให้พญาวานรบาดเจ็บมาก [/FONT][FONT=&quot]แต่ไม่ถึงตาย[/FONT] [FONT=&quot]พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยนํ้าตานอง แล้วพูดกับเขาโดยดี ทํานองให้ความคิดว่า ไม่ควรทําเช่นนั้น ครั้นแล้วยังเกรงว่าชายผู้นั้นจะหลงหาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเองก็เจ็บปวดแสนสาหัส [/FONT][FONT=&quot]ยังช่วยโดดไปตามต้นไม้นําทางให้ชายผู้นั้นออกจากป่าไปได้ในที่สุด[/FONT]<sup>[FONT=&quot] ๘[/FONT]</sup>
    [FONT=&quot]แม้พิจารณาถึงอย่างนี้แล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลองพิจารณาวิธีต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ขั้นที่ ๗ [/FONT][FONT=&quot]พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ[/FONT]


    [FONT=&quot]มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่า [/FONT][FONT=&quot]ในสังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิดที่กําหนดจุดเริ่มต้นมิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา [/FONT][FONT=&quot]ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย[/FONT]<sup>[FONT=&quot] ๘[/FONT]</sup>[FONT=&quot] เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร [/FONT][FONT=&quot]พึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตรไว้ในท้องถึง ๑๐ เดือน ครั้นคลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดู [/FONT][FONT=&quot]ไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ นํ้าลาย นํ้ามูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ [/FONT][FONT=&quot]ให้ลูกนอนแนบอก เที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้ ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางลําบากตรากตรําเสี่ยงภัย [/FONT][FONT=&quot]อันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง [/FONT]
    [FONT=&quot]ทํางานยากลําบากอื่นๆบ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดจะเลี้ยงลูกน้อย[/FONT]
    [FONT=&quot]ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติ เป็นมิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา [/FONT][FONT=&quot]ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะทําใจร้ายและแค้นเคืองต่อบุคคลเช่นนั้นไม่เป็นการสมควร[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็อาจพิจารณาตามวิธีในข้อต่อไปอีก[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT] [FONT=&quot]
    ขั้นที่ ๘ [/FONT][FONT=&quot]พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา[/FONT]


    [FONT=&quot]ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ [/FONT][FONT=&quot]เมตตา [/FONT][FONT=&quot]ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด [/FONT]
    [FONT=&quot]เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย[/FONT][FONT=&quot]แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกําจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว [/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตา[/FONT][FONT=&quot] ชื่อว่าทําประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น[/FONT]
    [FONT=&quot]เมตตาทําให้จิตใจสดชื่น ผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างในที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ[/FONT][FONT=&quot]
    หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และศัสตราไม่กลํ้ากราย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก[/FONT]<sup>[FONT=&quot]๑๐[/FONT]</sup>

    [FONT=&quot]ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่จะได้อานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้น [/FONT][FONT=&quot]จึงควรพยายามทําเมตตาให้เป็นธรรมประจําใจให้จงได้ โดยหมั่นฝึกอบรมทําใจอยู่เสมอๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าจิตใจเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้เพราะสั่งสมนิสัยมักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา [/FONT][FONT=&quot]พึงลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป[/FONT][FONT=&quot]

    ขั้นที่ ๙ [/FONT][FONT=&quot]พิจารณาโดยวิธีแยกธาต[/FONT]


    [FONT=&quot]วิธีการข้อนี้ เป็นการปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา หรือเอาความรู้ทางวิปัสสนามาใช้ประโยชน์ คือ [/FONT][FONT=&quot]มองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้ว ก็เป็นแต่เพียงส่วนประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียกกันไปว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา [/FONT][FONT=&quot]เป็นนาย ก[/FONT][FONT=&quot]. นาง ข. เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ครั้นจะชี้ชัดลงไปที่ตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นนาย ก[/FONT][FONT=&quot]. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลวบ้าง เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือ วิญญาณขันธ์บ้าง <o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]หรือเป็นอายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาตามความจริงแยกให้เป็นส่วนๆ ได้อย่างนี้แล้ว พึงสอนตัวเองว่า [/FONT][FONT=&quot]"นี่แน่ะเธอเอ๋ย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะโกรธอะไร โกรธผม หรือ โกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ โกรธกระดูก โกรธธาตุดิน โกรธธาตุนํ้ า โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือโกรธรูป โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน"[/FONT]
    [FONT=&quot]ในที่สุดก็จะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความโกรธจับตัว[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]อาจพิจารณาต่อไปในแนวนั้นอีกว่า ในเมื่อคนเรา ชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุ หรือขันธ์ หรือนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกันเข้า แล้วเราก็มาติดสมมตินั้น ยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวาย[/FONT]
    [FONT=&quot]ทําตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไป [/FONT]
    [FONT=&quot]การที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียด งุ่นง่านเคืองแค้นกันไปนั้นมองลงไปให้ถึงแก่นสาร [/FONT][FONT=&quot]ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหลไร้สาระทั้งเพ[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปัญญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยกธาตุออกไปอย่างนี้ได้ หรือสักว่าแยกไปตามที่ได้ยินได้ฟังได้อ่านมา แต่มองไม่เห็นความจริงเช่นนั้น ก็แก้ความโกรธไม่สําเร็จ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็พึงดําเนินการตามวิธีต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ขั้นที่ ๑๐ [/FONT][FONT=&quot]ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ[/FONT]

    [FONT=&quot]ขั้นนี้เป็นวิธีการในขั้นลงมือทํา เอาของของตนให้แก่คนที่เป็นปรปักษ์ และรับของของปรปักษ์มาเพื่อตน หรืออย่างน้อยอาจให้ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา คือ ถ้อยคําสุภาพไพเราะ ประกอบเสริมไปด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]การให้หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีแก้ความโกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทําให้ศัตรูกลายเป็นมิตร เป็นเมตตากรุณาที่แสดงออกในการกระทํา[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านกล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทานคือการให้นั้นว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]"การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สําเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ [/FONT][FONT=&quot]ฝ่ายผู้ได้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา[/FONT][FONT=&quot]"[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลับกลายเป็นมิตร [/FONT][FONT=&quot]ไฟพยาบาทก็กลายเป็นนํ้าทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่เร้ารุมใจ ก็กลายเป็นความ[/FONT][FONT=&quot]สดชื่นผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข[/FONT]

    [FONT=&quot]วิธีทั้ง ๑๐ ที่ว่ามาเป็นขั้นๆ นี้ ความจริงมิใช่จําเป็นต้องทําไปตามลําดับเรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะ [/FONT][FONT=&quot]ได้ผลสําหรับตน ก็พึงใช้วิธีนั้น ตกลงว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]วิธีการท่านก็ได้แนะนําไว้อย่างนี้แล้ว เป็นเรื่องของผู้ต้องการแก้ปัญหา [/FONT][FONT=&quot]จะพึงนําไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แท้จริงต่อไป[/FONT][FONT=&quot] *[/FONT]


    [FONT=&quot]<o></o>เชิงอรรถ[/FONT]
    [FONT=&quot]๑[/FONT][FONT=&quot]. ดู สํ.ส. ๑๕/๘๗๕/๓๒๕[/FONT]
    [FONT=&quot]๒[/FONT][FONT=&quot]. องฺ.สตฺตก. ๒๓/๖๑/๙๘ (แปลตัดเอาความเป็นตอนๆ)[/FONT]
    [FONT=&quot]๓[/FONT][FONT=&quot]. ขุ.ธ. ๒๕/๒๕/๔๒;๒๘/๔๘[/FONT]
    [FONT=&quot]๔[/FONT][FONT=&quot]. สํ.ส. ๑๕/๑๙๙/๕๗[/FONT]
    [FONT=&quot]๕[/FONT][FONT=&quot]. เทียบกับคํ าสอนไม่ให้โศกเศร้า, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๘/๖๒[/FONT]
    [FONT=&quot]๖[/FONT][FONT=&quot]. วิสุทธิมัคค์ ๒/๙๗ (ตัดข้อความสํ าหรับภิกษุโดยเฉพาะออกแล้ว)[/FONT]
    [FONT=&quot]๗[/FONT][FONT=&quot]. มหาสีลวชาดก, ชา.อ. ๒/๔๑[/FONT]
    [FONT=&quot]๘[/FONT][FONT=&quot]. ดู มหากปิชาดก, ชา.อ. ๗/๒๗๑[/FONT]
    [FONT=&quot]๙[/FONT][FONT=&quot]. สํ.นิ. ๑๖/๔๕๑-๕/๒๒๓-๔[/FONT]
    [FONT=&quot]๑๐[/FONT][FONT=&quot].องฺ.เอกาทสก. ๒๔/๒๒๒/๓๗๐ (หมายถึงเมตตาเจโตวิมุตติ)[/FONT]

    [FONT=&quot]ที่มา[/FONT]
    [FONT=&quot]* [/FONT][FONT=&quot]เรื่องนี้ เขียนตามแนวคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ภาค ๒ หน้า ๙๓[/FONT][FONT=&quot]-๑๐๖ แต่แทรกเสริมเติมและตัดต่อเรียบเรียงใหม่ตามที่เห็นสมควร [/FONT]
    [FONT=&quot]ของเดิมมี ๙ วิธี ในที่นี้ขยายออกเป็น ๑๐ วิธี และเนื้อหาเก่า ท่านมุ่งสอนพระภิกษุผู้บําเพ็ญเมตตากรรมฐาน [/FONT]
    [FONT=&quot]ในที่นี้เขียนปรับความให้เหมาะแก่คนทั่วไป[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. panfool

    panfool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +164
    ความโกรธ สร้างปัญหามากมายจริงๆ
     
  3. paya_po@yahoo.com

    paya_po@yahoo.com เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +227
    ทำอะไรก็ตามอย่าหลง สุขและทุกข์ ขอให้รู้ไว้แต่อย่าตามหลงนะคะ และก็ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ ที่นำเรื่องดี ๆ มาให้อ่าน ขอน้อมบุญที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้ท่านและครอบครัว มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมสืบไป นะคะ สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...