ตํานานความเป็นมาของเทศกาลกินเจและประโยชน์จากการกินเจ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 9 ตุลาคม 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]

    <!--coloro:red--><!--/coloro-->

    ประเพณีการกินเจกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน



    ตำนานที่ 1

    ชาวจีนกินเจเป็นการบำเพ็ญกุศลเพื่อรำลึกถึงวีรชน 9 คน ซึ่งเรียกว่า “หงี่หั่วท้วง” ซึ่งได้ต่อสู้กับชาวแมนจูอย่างกล้าหาญถึงแม้จะแพ้ก็ตาม ชาวบ้านได้พากันถือศีลกินเจนุ่งขาวห่มขาวเพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณเกิดความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจ

    ตำนานที่ 2

    เพื่อเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ดาวนพเคราะห์” ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้สาธุชนในพระพุทธศาสนาสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีลงดเว้นเนื้อสัตว์และแต่งกายด้วยชุดขาว

    ตำนานที่ 3

    ผู้ถือศีลกินเจในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีลกาล 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ รวมเป็น 9 พระองค์(หรือ “เก้าอ๊อง”)ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือ ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาติดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ

    ตำนานที่ 4

    กินเจเพื่อเป็นการบูชากษัตริย์เป๊ง “กษัตริย์เป๊ง” เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้องซึ่งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ในขณะที่เสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่งเป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง การที่เผยแผ่มาสู่เมืองไทยได้นั้นเพราะชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่อีกทอดหนึ่ง

    ตำนานที่ 5

    1500 ปีมาแล้ว มณฑลกังไสเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองมาก ฮ่องเต้เมืองนี้มีพระราชโอรส 9 พระองค์ซึ่งเป็นเลิศทั้งบุ๋นและบู๊จึงทำให้หัวเมืองต่างๆ ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นแคว้นก่งเลี้ยดที่มีอำนาจเข้มแข็งและมีกองกำลังทหารที่เหนือกว่า ทั้งสองแคว้นทำศึกกันมาถึงครั้งที่ 4 แคว้นก่งเลี้ยดชนะโดยการทุ่มกองกำลังทหารที่มีทั้งหมดที่มากกว่าหลายเท่าตัวโอบล้อมกองทัพพระราชโอรสทั้งเก้าไว้ทุกด้าน แต่กองทัพก่งเลี้ยดไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้จึงถอยทัพกลับ
    จนวันหนึ่งชาวกังไสเกิดความแตกสามัคคีและเอาเปรียบกัน เทพยดาทราบว่าอีกไม่นานกังไสจะเกิดภัยพิบัติจึงหาผู้อาสาช่วยแต่ชาวบ้านจะพ้นภัยได้ก็ต่อเมื่อได้สร้างผลบุญของตนเอง ดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์โตรับอาสาและเพ่งญาณเห็นว่าควรเริ่มที่บ้านเศรษฐีใจบุญ ลีฮั้วก่าย
    คืนวันหนึ่งคนรับใช้แจ้งเศรษฐีลีฮั้วก่ายว่ามีขอทานโรคเรื้อนมาขอพบเศรษฐีจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเดินทาง แต่ขอทานไม่ไปและประกาศให้ชาวเมืองถือศีลกินเจเป็นเวลา 9 วัน 9 คืนผู้ใดทำตามภัยพิบัติจะหายไป เศรษฐีนำมาปฏิบัติก่อนและผู้อื่นจึงปฏิบัติตามจนมีการจัดให้มีอุปรากรเป็นมหรสพในช่วงกินเจด้วย
    เล่าเอี๋ยเกิดศรัทธาประเพณีกินเจของมณฑลกังไสจึงได้ศึกษาตำราการกินเจของเศรษฐีลีฮั้วก่ายที่บันทึกไว้ แต่ได้ดัดแปลงพิธีกรรมบางอย่างให้รัดกุมยิ่งขึ้นและให้มีพิธียกอ๋องส่องเต้ (พิธีเชิญพระอิศวรมาเป็นประธานในการกินเจ)

    ตำนานที่ 6

    ชายขี้เมานามว่า เล่าเซ็ง เข้าใจผิดคิดว่าแม่ตนตายไปเพราะเป็นโรคขาดสารอาหาร จนคืนหนึ่งแม่ได้มาเข้าฝันบอกว่า แม่ตายไปได้รับความสุขมากเพราะแม่กินแต่อาหารเจและตอนนี้แม่อยู่บนเขาโพถ้อซัว ตั้งอยู่บนเกาะน่ำไฮ้ ในมณฑลจิ๊ดเจียงถ้าลูกอยากพบแม่ให้ไปที่นั่น
    ครั้นถึงเทศกาลไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เขาโพถ้อซัว เล่าเซ็งอยากไปแต่ไปไม่ถูกจึงตามเพื่อนบ้านที่จะไปไหว้พระโพธิสัตว์ เพื่อนบ้านเห็นเล่าเซ็งสัญญาว่าจะไม่กินเหล้าและเนื้อสัตว์จึงให้ไปด้วย ระหว่างทางเดินสวนกับคนขายเนื้อเล่าเซ็งลืมสัญญาที่ให้ไว้เพื่อนบ้านก็หนีไป โชคดีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งเดินผ่านมาและต้องการไปไหว้พระโพธิสัตว์เล่าเซ็งจึงขอตามนางไป
    เมื่อถึงเขาโพถ้อซัวขณะที่เล่าเซ็งก้มลงกราบไหว้พระโพธิสัตว์นั้น เขาเห็นแม่ลอยอยู่เหนือกระถางธูปที่คนอื่นมองไม่เห็น ขณะเดินทางกลับเขาได้แยกทางกับหญิงสาวและได้พบเด็กชายคนหนึ่งยืนร้องไห้อยู่จึงเข้าไปถามไถ่ได้ความว่าเป็นลูกของเขากับภรรยาที่เลิกกันไปนานแล้ว เขาจึงพาไปอยู่ด้วยแล้ววันหนึ่งหญิงสาวที่นำทางไปเขาโพถ้อซัวมาขออาศัยอยู่ด้วย ทั้งสามอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
    หญิงสาวผู้นั้นเป็นสาวบริสุทธิ์ประพฤติตนเป็นคนดีอยู่ในศีลธรรมและถือศีลกินเจอยู่เนืองนิตย์ นางรู้ว่าใกล้ถึงวันตายของนางแล้วจึงบอกเล่าเซ็ง เมื่อถึงวันนั้นนางอาบน้ำแต่งตัวด้วยอาภรณ์ที่ขาวสะอาดแล้วนั่งสักครู่ก็สิ้นลม เล่าเซ็งเห็นการจากไปด้วยดีของนางคล้ายกับแม่จึงเกิดศรัทธายกสมบัติให้ลูกชายแล้วประพฤติตนใหม่ เมื่อตายไปจะได้บังเกิดผลเช่นเดียวกับแม่และหญิงสาวและประเพณีกินเจจึงเริ่มขึ้น

    ตำนานที่ 7 การกินเจที่ภูเก็ต

    จังหวัดภูเก็ตไม่มีประเพณีกินเจเหมือนที่อื่นแต่จะเรียกว่าประเพณีถือศีลกินผักตามภาษาถิ่นฮกเกี้ยนที่ว่าเจี๊ยะฉ่าย(食菜)ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ180ปีก่อนมีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงที่กะทู้นานเป็นแรมปี แล้วบังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้นคณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินผักและสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บก็หายสิ้น ชาวกะทู้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงปฏิบัติตาม และหลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผู้ศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินผักที่สมบูรณ์ตามแบบประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) ในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินผักในปัจจุบัน



    ความหมายของ เจ

    คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว
    แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ
    แจมิได้แปลว่า อุโบสถ
    ในภาษาจีนมี(กลุ่ม)คำหรือวลีที่ใช้อักษรแจ(เจ, 齋 / 斋 )เป็นตัวประกอบร่วมด้วยหลายคำ แต่คำว่าโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) ซึ่งเป็นศัพท์ของทางพุทธศาสนา ดูจะเป็นคำที่นิยมหยิบยกมาใช้อธิบายความหมายของอักษรแจเสมอมา
    โป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) แปลว่า ศีลบริสุทธิ์แปดประการ ซึ่งก็คือ “ศีลแปด”ที่เรารูจักกันดี
    คนไทยในรุ่นปู่ย่าตายายที่เคร่งในศีลวัตรจะไปอาราธนาศีลแปดจากพระสงฆ์ในวันธรรมสวนะภายในพระอุโบสถ ศีลแปดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ อุโบสถศีล ”
    ผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกินเจที่ไม่เข้าใจภาษาและที่มาของคำจึงแปลอักษรแจผิดว่า “อุโบสถ” ซึ่งคำแปลนี้ก็ฮิตติดตลาดและถูกคัดลอกไปใช้บ่อยอย่างน่ารำคาญใจ เพราะหากจะเอาตามความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแล้ว
    อุโบสถ เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ เรียกย่อว่า โบสถ์
    การแปลและเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าวยังถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการอธิบายวัตรปฏิบัติของการกินเจผิดตามไปด้วยว่า “การกินเจต้องถือศีลข้อวิกาลโภชน์” หรือการงดกินของขบเคี้ยวหลังเที่ยงวันไปแล้ว ซึ่งเป็นศีลข้อหนึ่งในศีลแปด ทั้งๆที่โรงครัวของศาลเจ้าหรือโรงเจที่เปิดเลี้ยงผู้คนในช่วงเทศกาลกินเจล้วนแต่มีอาหารมื้อเย็นให้กับผู้เข้าไปกิน ยิ่งวันที่มีการประกอบพิธีกรรมในตอนค่ำยังมีอาหารมื้อค่ำบริการเสริมให้เป็นพิเศษด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงเทศกาลกินเจนั้นเขาถือเพียงศีลห้าที่เป็นนิจศีล ไม่ได้ครองศีลแปดอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เว้นแต่ผู้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะครองศีลแปดเป็นการส่วนตัวเท่านั้น)
    ในทางอักษรศาสตร์จีน อักษรตัว “แจ” มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร ฉี “ 齊 ” ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด ( 小 ) เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื ( 示 ) ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี
    แจ( 齋 ) จึงมีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์(ทั้งกายและใจ)เพื่อการสักการะ หรือ การปฏิบัติบูชาถวายเทพยดา
    ซึ่งการอธิบายในแนวทางนี้จะสอดคล้องกับ คำว่า “ 齋醮 ” ในลัทธิเต๋า ซึ่งย่อมาจากคำว่า 供齋醮神 ที่แปลว่าการบำเพ็ญกายใจให้บริสุทธิ์เพื่อเป็นสักการะบูชาเทพยดา
    ความหมายของแจในศาสนาอิสลาม
    ศัพท์คำว่า ศีลแจ / 齋戒 ในภาษาจีน นอกจากใช้ในลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธแล้ว ยังหมายถึง “ศีลอด” ที่ถือปฏิบัติในเดือนถือศีลอดของชาวจีนอิสลาม สาระของศีลก็คือการห้ามรับประทานอาหารใดๆในระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจวบจนลับขอบฟ้า ตลอดเดือนถือศีลอด
    แจในวัฒนธรรมดั่งเดิมของจีน
    ศัพท์ แจ พบในเอกสารจีนเก่าที่มีอายุกว่าสองพันปีหลายฉบับ เช่น 禮記 , 周易 , 易經 , 孟子 , 逸周書 (เอกสารที่อ้างนี้ปัจจุบันถือว่าเป็นคัมภีร์ในลัทธิหยู) เอกสารเหล่านั้นยังใช้อักษรตัวฉี(齊 )แต่เวลาอ่านออกเสียงกลับต้องอ่านออกเสียงว่า ไจ เช่น คำว่า ไจเจี๋ย / 齊潔 หรือ ไจเจี้ย / 齊戒 ซึ่งก็คือการออกเสียงแจในสำเนียงแต้จิ๋วนั่นเอง อักษรฉีในเอกสารนั้นนักอักษรศาสตร์ตีความว่าแท้จริงแล้วก็คืออักษรตัวแจหรือใช้แทนตัวแจ แจที่ว่านี้หาได้หมายถึงการงดกินของสดคาว หรือ การงดรับประทานอาหารหลังเที่ยง หากหมายถึงการชำระล้างร่างกาย สงบจิตใจ และสวมใส่เสื้อผ้าใหม่สะอาด เป็นการเตรียมกายและใจให้บริสุทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมสักการะบูชา ขอพร หรือแสดงความขอบคุณต่อเทพยดาแห่งสรวงสวรรค์
    แจเพื่อการจำแนกความเคร่งครัดของภิกษุฝ่ายมหายาน
    ศีลของภิกษุฝ่ายมหายาน ในส่วนเกี่ยวกับการฉันของภิกษุแตกต่างจากฝ่ายเถรวาททั้งมีการจำแนกเป็นสองลักษณะตามสำนักศึกษาได้แก่
    1.เหล่าที่ถือมั่นในศีลวิกาลโภชน์และฉันอาหารเจ จะไม่ฉันอาหารหลังอาทิตย์เที่ยงวัน เรียก ถี่แจ /持齋
    2.เหล่าที่ถือมั่นแต่การฉันอาหารเจ เรียกถี่สู่ /持素
    เจียะแจ
    ความหมาย
    เจียะแจ (食齋 ) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงถิ่นแต้จิ๋ว ศัพท์คำนี้ใช้และเป็นที่เข้าใจแต่ทางตอนใต้ของจีนโดยเฉพาะแถบลุ่มอารยะธรรมหลิ่งหนาน (領南)ในมณฑลกวางตุ้ง อันเป็นแหล่งอาศัยดั่งเดิมของคนแคะ แต้จิ๋ว กวางตุ้งและไหหนำ ซึ่งเป็นชาวจีนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย เจียะแจตรงกับคำว่า ชือซู ( 吃素 )ในภาษาจีนกลาง (สำเนียงปักกิ่ง)
    เจียะ ( 食 ) ในภาษาถิ่นใต้ หากใช้ในความหมายของคำกิริยา แปลว่า กิน
    แจ ( 齋 ) แปลว่า บริสุทธิ์ ( 清淨 ) ( อ้างตามปทานุกรมพุทธศาสนาฉบับ วัดฝอกวงซัน ,ไต้หวัน )
    เจียะแจ หรือ ตรงกับคำไทยที่นิยมใช้กันว่า กินเจ จึงแปลว่า การกินอาหารที่บริสุทธิ์ตามความเชื่อ(ในลัทธิกินเจ) ซึ่งหมายความถึงอาหารที่ไม่คาวหรือไม่เจือปนซากผลิตภัณฑ์ของสัตว์ รวมทั้งไม่ปรุงใส่พืชผักต้องห้าม
    คำว่าเจียะแจนี้ชาวจีนฮกเกี้ยนทางปักษ์ใต้แถบจังหวัดภูเก็ตเรียกต่างออกไปว่า เจียะไฉ่ (食菜) ที่แปลตามตัวอักษรได้ว่า “กินผัก” แต่มีนิยามหรือความหมายตรงกับคำว่าเจียะแจที่กล่าวข้างต้น



    กินเจเพื่ออะไร?



    ผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
    1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิตระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
    2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา
    ประโยชน์



    การกินอาหารเจ นอกจากจะเป็นการถือศีลและรักษาประเพณีแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
    1. ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมดทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน สารอาหารที่มีคุณค่าในพืชผักและผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการย่อยเป็นปกติ
    2. เมื่อรับประทานเป็นประจำโลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลงทำให้อายุยืนยาวมีผิวพรรณสดชื่นผ่องใส นัยน์ตาแจ่มใสไม่พร่ามัวร่างกายแข็งแรงรู้สึกเบาสบายไม่อึดอัด มีสุขภาพพลานามัยดี
    3. อวัยวะหลักสำคัญภายใน ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบคือ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาอาหาร ถุงน้ำดี แข็งแรงทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์
    4. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้แก่
      1. สารเคมี ยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารดีดีที
      2. มลภาวะและก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ซึ่งแพร่กระจายปะปนไปในอากาศที่เราหายใจอยู่เป็นประจำและยังพบว่ามีปะปนอยู่ในแหล่งน้ำดื่มด้วย
      3. กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์และในการทำสงคราม สารอาหารในพืชผักช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทนต่อการทำลายจากรังสีต่างๆ
    5. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้สูงกว่าคนปกติธรรมดาสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ในบรรดาผู้ที่กินอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำความเจ็บไข้ได้ป่วยมักไม่มีปรากฏโดยเฉพาะโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็งโรคหัวใจความดันโลหิตสูงเส้นเลือดตีบไขมันอุดตันในเส้นเลือดโรคไตไขข้ออักเสบโรคเก๊าส์โรคเบาหวานฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย โรคเหล่านี้จะไม่พบเลยในกลุ่มคนผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำ
    หลักธรรมในการกินเจ



    ในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วยสมบูรณ์ตามประเพณีการกินเจ จะต้องปฏิบัติดังนี้
    1. งดเว้นเนื้อสัตว์หรือทำอันตรายต่อสัตว์
    2. งดนมเนย และน้ำมันที่มาจากสัตว์
    3. งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก
    4. งดผักหรือเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น ผักชีกระเทียมหัวหอมต้นหอมกุยช่าย รวมทั้งใบยาสูบ สิ่งเสพติดและของมึนเมาต่างๆ
    5. รักษาศีลห้า
    6. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์
    7. ทำบุญทำทาน
    8. นุ่งขาวห่มขาว
    สำหรับผู้ที่เคร่งครัดเพื่อการกินเจให้เป็นไปอย่างบริสุทธ์โดยแท้ จะเพิ่มการปฏิบัติโดยการกินอาหารเฉพาะที่คนกินเจด้วยกันเป็นผู้ปรุงเท่านั้น รวมถึงจะล้างหม้อไหจนสะอาดเอี่ยมแยกภาชนะสำหรับการปรุงอาหารเจไว้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังจุดตะเกียงไว้ 9 ดวงตลอดช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน โดยไม่ปล่อยให้ดับเพื่อเป็นพุทธบูชาและรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้องตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินเกิด



    เบ็ดเตล็ด

    สี

    ทำไมต้องใช้ธงสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง แต่งกายสีขาว?
    สีแดง เป็นสีที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสีศิริมงคล ดังจะเห็นได้ว่าในงานมงคลต่างๆ ของคนจีนไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง วันตรุษจีน
    สีเหลือง เป็นสีสำหรับใช้ในราชวงศ์ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เพียงคนสองกลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกคือกษัตริย์ซึ่งเห็นได้จากหนังจีน เครื่องแต่งกายและภาชนะต่างๆ เป็นสีเหลืองหรือทองซึ่งคนสามัญห้ามใช้เด็ดขาด กลุ่มที่สองคืออาจารย์ปราบผีถ้าท่านสังเกตในหนังผีจีนจะเห็นว่าเขาแต่งกายและมียันต์สีเหลือง
    สีขาว ตามธรรมเนียมจีนสีขาวคือสีสำหรับการไว้ทุกข์ สีดำที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้เป็นการรับวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าท่านสังเกตในพิธีงานศพของจีนจะเห็นลูกหลานแต่งชุดสีขาวอยู่
    สีซึ่งกล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงในตำนานข้างต้นที่กล่าวมาได้ทั้งหมด
    เพื่อนเจ

    เพื่อนเจเราจะเรียกว่า แจอิ๊ว หมายถึงเพื่อนที่กินเจเวลาร้านค้าเรียกลูกค้าในวันนั้นจะเหมารวมคนที่ใส่ชุดขาวว่า แจอิ๊ว ทั้งหมด


    ถ้วยชาม

    หากเป็นสมัยก่อนถ้วยชามที่ใช้ในเทศกาลกินเจก็จะมีชุดใหม่ซึ่งไม่ปนกับชุดที่ใช้อยู่ทุกวัน บางบ้านจะทำความสะอาดบ้านเพื่อต้อนรับเทศกาลกินเจ



    ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    <TABLE border=0 cellSpacing=10 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    ฟังธรรม
    เสียงธรรมออนไลน์ (mp3)
    เสียงเพลง...แห่งธรรม
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    <EMBED height=70 name=objMediaPlayer type=application/x-mplayer2 pluginspage=http://www.microsoft.com/Windows/MediaPlayer/ width=300 src=http://www.fungdham.com/download/song/allhits/26.mp3 autosize="false" showdisplay="false" displaysize="0" center="true"> </EMBED>​
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]26 อุรุเวฬาเสนานิคม (เพลงบรรเลง) .​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Phuket

    Phuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +877
    ตำนานที่ 7 การกินเจที่ภูเก็ต

    จังหวัดภูเก็ตไม่มีประเพณีกินเจเหมือนที่อื่นแต่จะเรียกว่าประเพณีถือศีลกินผักตามภาษาถิ่นฮกเกี้ยนที่ว่าเจี๊ยะฉ่าย(食菜)ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ180ปีก่อนมีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงที่กะทู้นานเป็นแรมปี แล้วบังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้นคณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินผักและสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บก็หายสิ้น ชาวกะทู้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงปฏิบัติตาม และหลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผู้ศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินผักที่สมบูรณ์ตามแบบประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) ในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินผักในปัจจุบัน

    ++++++++++++++++++++++++++++

    จริงๆแล้วละเอียดกว่านี้นะครับ

    ภูเก็จจะไม่เรียกว่ากินเจ ถูกครับ กินผักมากกว่า ทางภูเก็จไม่ต้องการแสดงอิทธิฤทธิ์ใดๆอย่างที่อ้างถึงกันนะครับ ภูเก็จไม่ต้องการแบบนั้นเลย แต่ด้วยคนไปพูดกันเองและไม่ต้องการให้พิธีกรรมหายไปหมด จึงได้ฟื้นฟูมาให้เหมือน 180 ปีก่อนนู้น

    ศีลขอการถือกินผักมีจริงๆ 12 ข้อนะครับ ไม่ใช่ 8 ข้อ หรือ 10 ข้อ
     
  3. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    ละเอียดดีครับ สามารถอ้างอิงเป็นเหตุเป็นผลมีที่มาที่ไป สาเหตุการกินเจ ก็จะร่วมถึอศิลกินเจด้วยครับ
     
  4. siranyapat

    siranyapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2009
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +382
    ปีนี้ร่วมด้วยค่ะขอบคุณสำหรับความรู้
     
  5. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เดิมประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า "เจี๊ยะฉ่าย" นั้น เป็นลัทธิเต๋าซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดา เทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่า "เจี๊ยะฉ่าย" (กินผัก) เป็นภาษาท้องถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th vAlign=top>
    ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนเหล่านั้นได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) มีการค้าขายแร่ดีบุกกับปอร์ตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น คนจีนเหล่านั้นได้หลั่งไหลเข้ามามากที่สุดก่อนปี พ.ศ.2368 คือหลังจากเมืองภูเก็ตและเมืองถลางถูกพม่ารุกรานเมื่อปี พ.ศ.2352 พลเมืองได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ครั้นพระยาถลาง (เจิม)ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้ตั้งเมืองภูเก็ตที่บ้านเก็ตโฮ่ ให้พระภูเก็ต (แก้ว) มาเป็นเจ้าเมือง (ระหว่าง พ.ศ. 2368-2400)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th vAlign=center>

    พื้นที่รอบๆในทู (กะทู้) อุดมสมบรูณ์ไปด้วยแร่ดีบุก จึงทำให้คนจีนหลั่งไหลเข้ามาขุดแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนที่อพยพมาจากเมืองถลางเดิมที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน,ซัวเถาและเอ้หมึง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยอาศัยเรือใบผ่านมาทางแหลมมาลายู เป็นต้น หมู่บ้านในทูในสมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีไข้ป่า ตลอดจนภยันตรายต่างๆ จากสัตว์ป่ามากมาย แต่ผู้คนและชาวจีนในหมู่บ้านในทูกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD></TD><TD class=th></TD></TR><TR><TD></TD><TD class=th>คนจีนที่อยู่ในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูลหรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน เช่น เทพยดาฟ้าดิน เซียนต่างๆ รวมถึง บรรพบุรุษของตนเองมาก่อนแล้ว เมื่อมีเหตุเภทภัยเกินขึ้นจึงได้มีการอัญเชิญเทพเจ้าแต่ละพระองค์ที่ตนนับถือบูชากราบไหว้ให้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน หรือพวกพ้องที่ได้ทำมาหากินในท้องถิ่นที่ตนพำนักอาศัยให้คนเหล่านั้นอยู่ เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันและความเชื่อนี้ยังคงยึดถือจนตราบเท่าทุกวันนี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%" align=center><TBODY><TR><TD class=th height=30 vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=th vAlign=top>
    ต่อมาได้มีคณะงิ้ว หรือ เปะหยี่หี่ ที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดงที่บ้านในทู คณะงิ้วนี้สามารถแสดงอยู่ได้ตลอดปี เนื่องจากเศรษฐกิจของชาวในทู กรรกรจีน รวมถึงร้านค้า มีรายได้ดีมาก ในขณะนั้น ต่อมาปรากฏว่ามีตึกดิน 26 หลัง และโรงร้าน 112 หลัง จึงสามารถอุดหนุนงิ้วคณะนี้ได้ตลอดปี หลังจากคณะงิ้วได้เปิดทำการแสดงอยู่ที่บ้านในทูระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปีที่เมืองจีน และปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้เป็นต้นมา จึงได้ปรึกษาหารือในหมู่คณะ และได้ตกลงกันประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถลงเรือใบ หรือเรือสำเภาเดินทางกลับไปร่วมพิธีเจี๊ยะฉ่ายที่เมืองจีนได้ทันเพราะใกล้จะถึงวันประกอบพิธีแล้ว จึงได้ตกลงใจประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วเพื่อขอขมาโทษด้วยสาเหตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th></TD></TR><TR><TD class=th>ต่างๆต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่เคยเบียดเบียดชาวในทู ก็ลดลงด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวในทูเป็นอันมาก จึงได้สอบถามจากคณะงิ้วและได้คำตอบว่าพวกเขาได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ เนื่องจากไม่มีผู้รู้และผู้ชำนาญในการจัดประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายโดยเพียงแต่สักการะบูชากราบไหว้ขอขมาโทษ ระลึกถึงกิ้วอ๋องเอี๋ยหรือ กิ้วอ๋องต่ายเต่หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์นั้นเอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th></TD><TD></TD></TR><TR><TD class=th>คณะงิ้วยังได้แนะนำชาวจีนในทูต่อไปว่า การเชิญเทพเจ้ามาสักการะบูชาเพื่อปกป้องตนเอง ครอบครัว และท้องถิ่น เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขตามที่ได้ปฏิบัติกันมาแล้ว เป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรจะเจี๊ยะฉ่ายถือศีลไปด้วย การเจี๊ยะฉ่ายไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบทั้งเก้าวัน จะเจี๊ยะฉ่ายกี่วันก็ได้ตามแต่ศรัทธาและเหมาะสมของแต่ละครอบครัว ชาวในทูและคนจีนส่วนใหญ่มีความเชื่อและเลื่อมใสได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะงิ้ว โดยได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายในปีต่อมา ประเพณีเจี๊ยะฉ่ายของเมืองภูเก็ตได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ในทู (กะทู้) นั่นเอง ต่อมาจึงได้แพร่หลายออกไปตามสถานที่ต่างๆ

    </TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th></TD></TR><TR><TD class=th>หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายได้ประมาณ 2-3 ปี โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทำให้ชาวจีนที่มาอาศัยทำเหมืองแร่อยู่ตามดงตามป่ามีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle></TD><TD class=th vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=th vAlign=top colSpan=2>
    ก่อนคณะงิ้วจะย้ายไปทำการแสดงที่อื่น คณะงิ้วได้มอบรูปพระกิ้มซิ้น (เทวรูป),เล่าเอี๋ย (เตียนฮู้หง่วนโส่ย),ส่ามอ๋องฮู่อ๋องเอี๋ย, ส่ามไถ้จือ และได้ให้คำแนะนำแก่ชาวจีนเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมโดยย่อๆ ในครั้งนั้นด้วยในช่วงระยะที่ชาวจีนกำลังประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ที่ท่านผู้รู้ท่านหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนามเคยอาศัยอยู่ที่มณฑลกังไส (กังไส คือ เจียงซี้ของประเทศจีนในปัจจุบัน) ได้เดินทางมาประกอบอาชีพในทู ได้เห็นการประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายของชาวจีนไม่ถูกต้องตามแบบฉบับของฉ้ายตึ้ง (ศาลเจ้าในมณฑลกังไส) จึงได้แจ้งให้ชาวจีนในทูทราบว่าตนยินดีรับอาสาเดินทางกลับไปมณฑลกังไสของประเทศจีน เพื่อไปเชี้ยเหี้ยวโห้ย (อัญเชิญธูปไฟ) และองค์ประกอบสำหรับพิธี แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ชาวจีนในทูจึงได้ร่วมมือร่วมใจกันรวบรวมทุนทรัพย์ให้กับผู้รู้ท่านนี้ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมณฑลกังไส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD></TD><TD class=th></TD></TR><TR><TD width=1></TD><TD class=th width=711>อีก 2-3 ปีต่อมา ในระหว่างที่ชาวจีนในทูประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ (วันเก้าโง้ยโฉ่ยฉีด) ตามปฏิทินจีน เวลากลางคืน เรือใบจากประเทศจีนได้เดินทางมาถึงหัวท่าบ่างเหลียว (บางเหนียวในปัจจุบัน) ท่านผู้รู้ได้เดินทางกลับมากับเรือใบลำนี้ด้วยและได้ส่งคนมาแจ้งข่าวให้ชาวจีนในทูทราบว่า บัดนี้ตนได้เดินทางกลับจากประเทศจีนมาถึงหัวท่าบางเหลียวพร้อมเชี้ยเหี้ยวเอี้ยน (ผงธูป) มาด้วยแล้ว ขอให้คณะกรรมการกับผู้ที่ร่วมประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายไปต้อนรับที่หัวบ่างเหลียวในวันเก้าโง้ยโฉ่ยโป๊ยคือวันรุ่งขึ้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th></TD></TR><TR><TD class=th>เหี้ยวโห้ย หรือ เหี้ยวเอี้ยนที่นำมาจากมณฑลกังไส ได้จุดปักไว้ในเหี้ยวหล๋อ(กระถางธูป) โดยจุดธูปให้ติดตลอดระยะทางมิให้ดับ นอกจากนี้ยังได้นำแก้ง(บทสวดมนต์,คัมภีร์,ตำราต่างๆ พร้อมทั้งป้ายชื่อเต้าโบ้เก้ง ป้ายติดหน้าอ๊ามฉ้ายตึ้ง)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width="98%"><TBODY><TR><TD class=th></TD></TR><TR><TD class=th>ปัจจุบันประเพณีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ของชาวภูเก็ตได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปีนับเวลาได้ หลายร้อยปีแล้วซึ่งถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวภูเก็ต</TD></TR></TBODY></TABLE>

    แหล่งที่มา : ไชยยุทธ ปิ่นประดับ ประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) จังหวัดภูเก็ต



    <TABLE class=th border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=400><TBODY><TR><TD colSpan=2>ข้อควรปฏิบัติ 10 ประการสำหรับผู้ถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>1</TD><TD class=th>ชำระร่างกายให้สะอาดตลอดช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>2</TD><TD class=th>ทำความสะอาดเครื่องครัวและแยกใช้คนละส่วนกับผู้ที่ไม่ได้ถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>3</TD><TD class=th>ควรสวมชุดขาวตลอดช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>4</TD><TD class=th>ประพฤติตนดีทั้งกายและใจ</TD></TR><TR class=th><TD class=th>5</TD><TD class=th>ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์</TD></TR><TR class=th><TD class=th>6</TD><TD class=th>ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>7</TD><TD class=th>ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา</TD></TR><TR class=th><TD class=th>8</TD><TD class=th>ผู้ที่อยู่ระหว่างไว้ทุกข์ไม่ควรร่วมงานประเพณีถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>9</TD><TD class=th>หญิงมีครรภ์ไม่ควรดูพิธีกรรมใด ๆ ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก</TD></TR><TR class=th><TD class=th>10</TD><TD class=th>หญิงมีประจำเดือนไม่ควรร่วมพิธีกรรมใด ๆ ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. Phuket

    Phuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +877
    ตั้งแต่ภูเก็ตเป็นข่าวไปทั่วโลก ทำให้มีคนที่จะแสวงบุญนั้น กลายเป็นว่าจะต้องถูกแสวงบาปไปแทน มิจฉาชีพไปไม่รอดหรอก

    ภูเก็จ ณ. ปัจจุบันนี้จะนำพิธีกรรมต่างๆที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ให้เหมือนกันหมด ตั๋วเล่าเอี๋ยกง บอกไว้ว่าให้ชาวกะทู้รักษาไว้ให้ยาวนานไว้แบบเดิม อิ้วเก้งเดินออกจากอ๊ามไล่ทูเต้าโบ้เก้ง เดินเท่านั้น ไปทางไหนกลับทางนั้น รวมๆก็ 10 - 20 กว่ากิโลเมตรประมาณนี้ ติดต่อกันมานานแล้ว.

    ถือศีลมี 14 ข้อหลักๆ >> limtaishi.com --
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ตุลาคม 2009
  7. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    เลียได้ครับ
    ปีนี้ไมได้กินเจครับเพราะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดครับ
     
  8. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,370
    อนุโมทนากับทุกคนที่ตั้งใจจะกินเจในช่วงเทศกาลนี้ด้วยครับ ^^
     
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ ผมกินตามโอกาสที่สภาพแวดล้อมอำนวย ไม่ลำบากตัวเอง ไม่ลำบากร่างกาย จนเกินไป ให้ยึดทางสายกลาง ให้เป็นไปตามสถาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ เพราะถ้ากินได้ก็จะดีต่อสุขภาพตัวเองอย่างมาก และเป็นการส่งเสริมไม่ให้คนฆ่าสัตว์กระทำปาณาติบาต ให้ลองคิดเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วจะเข้าใจ เพราะทุกชีวิตมีดวงจิตเหมือนกันเป็นตัวกำเนิด เพียงแต่อาศัยร่างเขาอยู่ชั่วคราวตามกรรมที่ให้ผลเป็นไปอย่างไร ในภพภูมิใหน เหตุเพราะกิเลสตัวเดียว

    การทานเจ ตามหลักวิทยาศาสตร์หรือวิชาการ คือจะเป็นผลดีต่อสุขภาพนะครับ
    ในทางหลักธรรม การทานเจ คือท่านมีเจตนาดีคือไม่อยากส่งเสริมให้คนกระทำปาณาติบาตซึ่งก็เป็นการดี ขออนุโมทนาบุญด้วย แต่ ถึงเราไม่ฆ่าคนอื่นก็ฆ่าซึ่งเราก็ห้ามไม่ได้มันเป็นอย่่างนี้มานานแล้ว ทำแล้วถ้าใจมีความสุขก็ทำไปเถอะแต่ท่านมีเจตนาดีซึ่งท่านก็ได้บุญแล้ว แต่ถ้าทำแล้วทำให้เกิดวิตกกังวล ลำบากร่างกาย ขันธ์ห้าและธาตุสี่ที่เราอาศัยอยู่ยึดมั่นถือมั่นมากเกินไป ก็ทำให้เป็นทุกข์ฺอาจทำให้เป็นบาปได้ ให้เดินทางตามทางสายกลางคือไม่ตึงและไม่หย่อนเกิน ทำตามอัตตภาพทำความสมควรที่เหมาะสมในขณะนั้นๆ
    ในทางธรรม ครูบาอาจารย์ของเราสืบๆต่อกันมาประวัติของแต่ละท่านที่สำเร็จธรรมก็ดีหรือบรรลุธรรมก็ดี
    ก็ไม่ได้ทานเจแต่ก็มีบ้าง ท่านยึดทางสายกลาง ก็มีศิล สมาธิ ปัญญา แล้วให้พิจารณาลงด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2009
  10. หงษ์

    หงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +821
    ขอบพระคุณมากๆค่ะ ปีนี้ตั้งใจทาน20วันถวายต่อเจ้าแม่กวนอิมเจ้าค่ะoishi_
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • soung53.jpg
      soung53.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.2 KB
      เปิดดู:
      131
    • 268_1219643723_jpg_143.jpg
      268_1219643723_jpg_143.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.3 KB
      เปิดดู:
      131
    • 49.jpg
      49.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.8 KB
      เปิดดู:
      138
  11. เพลงเพลิง

    เพลงเพลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +476
    ภูเก็ตก็มีตำนานการกินเจนะครับ ยาวนานกว่า 200 ปี หาใช่ 180 ปีไม่

    Phuket Vegetarian Festival, Phuket Thailand เชิญแวะเยี่ยมชมครับ
     
  12. raunheim

    raunheim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +232
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยคนค่ะ ก็ปฎิบัติมาเรื่อยๆค่ะ ขอขอบคุณกับข้อความที่ให้ความเข้าใจข้างบน สาธุๆๆๆๆๆๆบุญกุศลที่ดีอันใด ก็ขอให้ท่านผู้ที่นำความรู้มาบอกกล่าว มีความสุข ความเจริญ สวัสดีมีชัยทุกประการเทอญ สาธุ แล้วก็ขอบคุณค่ะ
     
  13. ครูพระ

    ครูพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +601
    เชิญเป็นเจ้าภาพเพื่อดำเนินการก่อสร้างศาลาธรรมสังเวช+เมรุ ที่ พระอุทัย กิติภัทโท บัญชี วัดบ้านสวนหงษ์,เลขบัญชี 108-105342-5,ธ.กรุงศรีอยุธยา,นครนายก,หรือโทรสอบถาม,087-600-5334<!-- google_ad_section_end --> สาธุ สาธุ ขอโมทนา
     
  14. Blue.star

    Blue.star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +259
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สำหรับทุกท่านที่ทานเจนะค่ะ^^
     
  15. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    โมทนาค่ะ

    การไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ^^
     
  16. พล

    พล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +137
    โมทนาครับ..ผมในผลบุญที่งดเว้นเนื้อสัตว์ของสาธุชนที่บำเพ็ญบารมีทุกท่านครับ
     
  17. hidrolite

    hidrolite Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +62
    1 คนงดทานเจ ก็ช่วยได้อีกหลายชีวิต
    หลากหลายชีวิตทานเจ ก็ช่วยได้อีกล้านชีวิต

    แม้แค่ช่วงเดียว สาธุกับทุกท่านที่ทานเจคะ
     
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    กราบอนุโมทนา สาธุการท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ
    อนุโมทามิ ทุก ๆ ดวงจิตที่ได้กระทำบำเพ็ญ
    ขอมีส่วนแห่งบุญทุก ๆ ประการค่ะ ส้าธุ !

    " พลังของผู้มีธรรม จะยังโลกสว่างไสว คุณงามความดี จะยังคงอยู่ตลอดไป "
     
  19. lekjung13

    lekjung13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2009
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +376
    เป็นลูกหลานชาวภูเก็ตค่ะ...ก็กินมาทุกปี (มีร้านค้าเจมากมาย หาซื้อได้สะดวก)
    ใน 1 ปี งดกินและเบียดเบียนเค้าสักครั้ง...เค้ามีจิตใจเหมือนเรา แต่ต่างกันแค่กาย.

    ..................
    อนุโมทนา...สาธุ กับทุกคนที่ละเว้นเนื้อสัตว์ในช่วงเทศกาลกินเจน่ะค่ะ
     
  20. Phuket

    Phuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +877
    <TABLE width="112%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#660033 colSpan=6 height=43>
    ประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc colSpan=6 height=1674>
    ความหมายของการกินผักที่กะทู้
    ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มีการเข้าใจผิดคิดว่า ประเพณีกินผักกับการถือมังสวิรัตินั้นเป็นอย่างเดียวกัน แต่ความเป็นจริง แล้วการกินผักของกิ้วอ๋องต่ายเต่ ยังมีข้อแตกต่าง คือการกินผักต้องไปรับอาหารจากศาลเจ้าโดยตรง ไม่เหมือนคนที่กินเจอื่นๆ ซึ่งยังคงทำอาหารดัดแปลงเลียนแบบรูปสัตว์เนื้อสัตว์ ถึงแม้จะทำจากแป้งก็ตาม หากนำสิ่งเหล่า นั้นไปตั้งไหว้บูชาเทพเจ้าที่ศาลเจ้า จะถูกเทพเจ้าที่ประทับร่างทรง ซึ่งตรวจตราความเรียบร้อยภายในและภายนอกอ้าม จะเลือกสิ่งเหล่านั้นออก ยกเว้นผลไม้ หรือขนมที่ไม่มีการเลียนแบบรูปสัตว์ ทั้งนี้เพราะการกินผักของกิ้วอ๋องต่ายเต่ จะต้องมีความสะอาดทั้งกายและใจ และเครื่อง แต่งกายจะต้องนุ่งขาวห่มขาว เพราะถือว่าสีขาวเป็นสีแห่งความสะอาดบริสุทธิ์ การแต่งกายแบบนี้จึงได้ยึดถือมานับ เป็นร้อยปี แต่ในปัจจุบันการแต่งกายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วน เพราะบริษัทห้างร้าน ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาค เสื้อผ้าให้ศาลเจ้า
    เพื่อแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมประเพณีกินผัก ผลจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สีสันเสื้อผ้าจึงเปลี่ยนไปมี
    หลากหลายสีขึ้นทั้งนี้เพราะเป็นการโฆษณาของห้าร้าน บริษัทด้วย
    ประวัติความเป็นมา
    เดิมประเพณีกินผัก(เจี๊ยะฉ่าย) ที่ชาวบ้านและชาวจีนในจังหวัดภูเก็ตเรียกกัน ว่า"เจี๊ยะฉ่าย"นั้น เป็นลัทธิเต๋า
    ซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดา เทพเจ้า วีรบุรุษ บรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีน ฮกเกี้ยน คำว่า "เจี๊ยะฉ่าย"(กินผัก) เป็นภาษาท้องถิ่น อ่านออกเสียงตามชาวจีนฮกเกี้ยน ที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ต เรียกกันจนติดปากมาตั้งแต่สมัยโบราณวันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เก้าโง๊ยโฉ่ยอิดถึง โฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีน ที่ศาลเจ้า(อ้าม,ฉ้ายตึ๋ง) ปฏิบัติกันมา พร้อมกับประชาชนส่วนหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต และได้
    จัดงานประกอบพิธีเจียะฉ่ายให้กับกิ้วอ๋องเอี๋ย หรือกิ้วอ๋องต่ายเต่ หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์ รวมทั้งเทพเจ้า
    ฝ่ายต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงคุณงามความดีที่แต่ละองค์ได้ทรงทำประโยชน์ไว้ต่อแผ่นดิน เรื่องนี้ปรากฏก่อน
    พุทธศาสนาถึง 2,400 ปี
    ประเพณีเจี๊ยะฉ่ายได้เริ่มขึ้นครั้งแรกที่หมู่บ้านไล่ทู(ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนเหล่านั้นได้อพยพมาทำเหมืองแร่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา(รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) มีการค้าขายแร่ดีบุก กับปอร์ตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสเป็นต้น คนจีนได้หลั่งไหลเข้ามามากที่สุด ก่อนปี พ.ศ.2368 คือหลังจากเมืองภูเก็ต และเมืองถลางถูกพม่ารุกราน (ปีพ.ศ.2352) พลเมืองถลางได้กระกระจาย ไปอยู่ตามที่ต่างๆ ครั้นพระยาถลาง(เจิม) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้ตั้งเมืองภูเก็ตที่บ้านเก็ตโฮ่ ให้พระภูเก็ต
    (แก้ว) มาเป็นเจ้าเมือง(ระหว่างพ.ศ.2368 -2400)พื้นที่ในทูอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุก คนจีนจึงหลั่งไหลเข้ามาขุด
    แร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่มาจากเมืองถลางเดิมที่กระจัดกระจายซึ่งคนจีนเหล่านี้อพยพมาจาก มณฑลฮกเกี้ยนซัวเถา และเอ้หมึง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยอาศัยเรือใบผ่ามาทางแหลมมาลายู
    หมู่บ้านในทูสมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีไข้ป่า ตลอดจนภยันตรายต่างๆ จากสัตว์ป่ามากมายแต่ชาวจีนก็ยังเพิ่มจำนวนขึ้น อย่างมากมาย เพราะแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกคนจีนในทูมีความเชื่อและศรัทธา ในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูลหรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน เช่น เทพยดาฟ้าดิน และเซียนต่างๆ รวมถึงบรรพบุรุษของตนเองมาก่อนเมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นจึงได้มีการอัญเชิญเทพเจ้าแต่ละองค์ที่ตน นับถือ บุชากราบไหว้ให้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน หรือพวกพ้องที่ได้ทำมาหากินในท้องที่ที่ตนพำนักอาศัย ให้อยู่เย็น
    เป็นสุขโดยทั่วกัน และยังคงยึดถือจนตราบเท่าทุกวันนี้
    ต่อมาได้มีคณะงิ้ว หรือเปะหยี่หี่ ได้เดินทางมาจากประเทศจีน มาเปิดแสดงที่บ้านในทู คณะงิ้วสามารถแสดงอยู่ ได้ตลอดปี เนื่องจากเศรษฐกิจชาวในทู กรรมกรจีน รวมถึงร้านค้ามีรายได้ดีมาก ในขณะนั้น มีตึกดิน 26 หลัง และโรงร้าน 112 หลัง จึงอุดหนุนงิ้วคระนี้ได้ตลอดปี หลังคณะงิ้วเปิดทำการแสดง อยู่ระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บ ป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ คณะงิ้วจึงนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย(กินผัก) ซึ่งเคย
    ปฏิบัติกันมาที่เมืองจีน
    การเจี๊ยะฉ่ายปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้ คณะงิ้วจึงได้ปรึกษากันในหมู่คณะ และได้ประกอบ พิธีเจี๊ยะฉ่ายกันที่โรงงิ้วนั่นเอง เพราะไม่สามารถลงเรือสำเภากลับไปประกอบพิธีที่เมืองจีนได้ทัน เพราะใกล้ถึงวันประกอบพิธีแล้ว หลังการประกอบพิธีอาการเจ็บไข้ โรคภัยก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยที่เคย เบียดเบียนชาวในทูก็ลดลงด้วยสร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวในทูเป็นอันมาก จึงได้สอบถามคณะงิ้ว และได้รับคำตอบว่า พวกเขาได้ประกอบพิธีแบบย่อๆ เนื่องจากไม่มีผู้รู้และชำนาญ เพียงแต่บูชากราบไหว้ขอ
    ขมาโทษระลึกถึงกิ้วอ๋องต่ายเต่ หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าองค์นั่นเองคณะงิ้วจึงให้คำแนะนำชาวในทูว่า การเชิญเทพเจ้ามาสักการะบูชาเพื่อปกป้องตนเองครอบครัว และท้องถิ่นให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ดีควรเจี๊ยะฉ่ายถือศีล ไปด้วยไม่จำเป็นต้องครบทั้งเก้าวันก็ได้ แต่ขึ้นอยู่กับความศรัทธา ชาวในทูและคนจีนในทูเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
    จึงได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะงิ้ว โดยได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายในปีถัดมาจึงนับเป็นการเกิดพิธีเจี๊ยะฉ่าย(กินผัก) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้านในทูนั่นเองหลังจากคณะงิ้วย้ายไปทำการแสดงที่อื่น ชาวในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย มา 2 - 3 ปี โรคภัยไข้เจ็บลดลและหายไปในที่สุด ทำให้ชาวจีนที่อาศัยอยู่ตามป่าดง เกิดการเลื่อมใสและเข้าร่วมพิธีเจี๊ยะฉ่ายมากขึ้น
    ก่อนคณะงิ้วจะย้ายไป คณะงิ้วได้มอบรูปพระกิ้มซิ้น (เทวรูป) เล่าเอี๋ย (เตี่ยนฮู่หง่วนโส่ย) ส่ามฮ๋องฮู่อ๋องเอี๋ย ส่ามไถ้จือ(องค์ชายสามโกมินทร์) และได้ให้คำแนะนำแก่ชาวจีนในการประกอบ พิธีโดยย่อในช่วงระยะ ที่กำลังประกอบ พิธี ได้มีผู้รู้ท่านหนึ่งไม่ปรากฏนามเป็นชาวจีนจากมณฑลกังไส (เจียงสี้ ของจีนในปัจจุบัน) ได้มาประกอบอาชีพที่ในทู เห็นพิธีเจี๊ยะฉ่ายไม่ถูกต้องตามแบบอ้ามฉ้ายตึ๋ง (ศาลเจ้าในมณฑลกังไส) จึงแจ้งให้ชาวในทูทราบ และตนยินดีอาสาเดินทางไปมณฑลกังไสประเทศจีน เพื่อไปเชี้ยเหี้ยวโห้ย (อัญเชิญธูปไฟ)และองค์ประกอบสำหรับพิธี แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้ เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ชาวในทูจึงร่วมใจรวบรวมทุนทรัพย์ ให้กับชายผู้นี้เป็นค่า ใช้จ่าย ในการเดินทางกลับไปมณฑลกังไส
    2-3 ปีต่อมา ในระหว่างที่ชาวจีนในทูประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย แบบย่อๆ จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ (วันเก้าโง่ยโฉ่ยอิด) ตามปฏิทินจีน เวลากลางคืน เรือใบจากประเทศจีน ได้เดินทางมาถึงหัวท่าบางเหลียว (บางเหนียวปัจจุบัน) ท่านผู้รู้ได้เดินทางกลับมากับเรือใบลำนี้ และได้ส่งคนมาแจ้งข่าวให้ชาวจีนในทูทราบว่าบัดนี้ ตนเดินทางกลับมาพร้อมกับเซี้ยเหี้ยวเอี้ยน (ผงธูป) มาด้วยแล้ว ขอให้คณะกรรมการกับผู้ที่ร่วมพิธีเจี๊ยะฉ่าย ไปต้อนรับที่หัวท่าบางเหลียว ในเก้าโง้ยโฉ่ยโป๊ย (คือวันรุ่งขึ้น) เหี้ยวโห้ย หรือเหี้ยวเอี๊ยนที่ นำมาจากมณฑลกังไส ได้จุดปักไว้ในเหี้ยวหลอ (กระถางธูป)โดยจุดธูปมาตลอดระยะทางไม่ให้ดับ นอกจากนี้ยัง ได้นำแก๊ง (บทสวดมนต์คัมภีร์ตำราต่างๆ)พร้อมทั้งป้ายชื่อ เต้าบู้เก้ง ป้ายติดหน้าอ้ามฉ้ายตึ๋ง
    อนึ่ง ตามที่ปรากฎต่อสายตาคนทั่วไป จะเห็นว่าผู้กินผักในปัจจุบันจะสวมชุดขาวกันทุกคน การแต่งกายลักษณะนี้ คงสืบเนื่องมาจากสมัยเลียดก๊กจนถึงในสมัยราชวงศ์ถัง โดยพระนางฮองเฮาได้รับสั่งให้เสนาบดี ขุนนางนุ่งขาว ห่มขาวปฏิบัติธรรม ชำระร่างกายให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ละเว้นการตกปลาฆ่าสัตว์ทุกชนิด เพื่อบวงสรวงเทพยดา ฟ้าดินให้เกิดสิริมงคล แก่บ้าน เมืองและให้ฝนตกตามฤดูกาล ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มีการเข้าใจผิดคิดว่า ประเพณีกินผักกับการถือมังสวิรัตินั้นเป็นอย่าง
    เดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้วการกินผักของกิ้วอ๋องต่ายเต่ ยังมีข้อแตกต่าง คือการกินผักต้องไปรับอาหารจากศาลเจ้า โดยตรง ไม่เหมือนคนที่กินเจอื่นๆ ซึ่งยังคงทำอาหารดัดแปลงเลียนแบบรูปสัตว์เนื้อสัตว์ ถึงแม้จะทำจากแป้งก็ตาม หากนำสิ่งเหล่านั้น ไปตั้งไหว้บูชาเทพเจ้าที่ศาลเจ้า จะถูกเทพเจ้าที่ประทับร่างทรง ซึ่งตรวจตราความเรียบร้อยภาย ในและภายนอกอ้าม จะเลือกสิ่งเหล่านั้นออก ยกเว้นผลไม้ หรือขนมที่ไม่มีการเลียนแบบรูปสัตว์ ทั้งนี้เพราะการกินผักของกิ้วอ๋องต่ายเต่ จะต้องมีความ
    สะอาดทั้งกายและใจ และเครื่องแต่งกายจะต้องนุ่งขาวห่มขาว เพราะถือว่าสีขาวเป็นสีแห่งความสะอาดบริสุทธิ์ การแต่งกาย แบบนี้จึงได้ยึดถือมานับเป็นร้อยปี แต่ในปัจจุบันการแต่งกายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วน เพราะบริษัทห้างร้าน ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาค เสื้อผ้าให้ศาลเจ้าเพื่อแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมประเพณีกินผัก ผลจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สีสันเสื้อผ้าจึงเปลี่ยนไปมีหลากหลายสีขึ้นทั้งนี้เพราะเป็นการโฆษณาของห้างร้าน บริษัทด้วย

    </TD></TR><TR><TD colSpan=6 height=454>พิธีกรรมในเทศกาลกินผัก
    วันยกเสาโกเต้ง (เสาธงเทวดา)ทางศาลเจ้าต้องจัดเตรียมของบชาผักแห้ง ผลไม้สด ขนมที่ใช้เฉพาะพิธีกรรม ติดกระดาษเหลือง (เลี่ยนตุ่ย) ตามประตูและสถานที่ต่างๆ ภายในบริเวณศาลเจ้าในบริเวณศาลเจ้า
    พิธียกเสาโกเต้ง
    ก่อนห้าโมงเย็น ผู้มีหน้าที่จะให้เด็กตีฆ้องจีน(โหล) ไปตามถนนร้องบอกประชาชนให้ไปช่วยกันขึ้นเสาเทวดา
    และกิ้วอ๋องต่ายเต่ เรียกว่า"คี้โกเต้ง" ครั้นได้เวลา เจ้าหน้าที่เลอไท (ฮวดกั้ว) ทำพิธีเชิญเทวดาและกิ้วอ๋องต่ายเต่
    ประชาชนก็ช่วยกันดึงเชือก และไม้ค้ำยัน ยันเสาจนเป็นที่เรียบร้อยจึงนำตะเกียงทั้งเก้าดวงเตรียมไว้สำหรับจะดึงขึ้นสู่ยอดเสา
    ก่อนพิธีเชิญพระกิ้วอ๋องต่ายเต่เข้าศาลเจ้าประชาชนที่มีรูปเทพเจ้าจะจุดธูปสามดอก บอกกล่าวอัญเชิญมาร่วม
    พิธีกินผัก (เจี้ยะจ่าย)

    พิธีโก้ยเช่งเหี้ยว(เครื่องหอม)
    ศาลเจ้าช่วงระยะเวลาตอนค่ำ ทางเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ
    จัดเตรียมสิ่งของทุกชนิดที่ใช้ในพิธีการและใช้สักการะบูชาทุกหน้าพระ(ตั๋วทุกๆแห่ง เวลา 23.00 น. เจ้าหน้าที่เลอไท(ฮวดกั้ว) จะทำพิธีไหว้เทพเจ้าเพื่อให้รับทราบขั้นตอน ถึงเวลาจะทำพิธีหม้อไม้หอมโก้ยเช่งเหี้ยวเรียกว่า"เส้เจ่ง"หม้อไฟ เครื่องหอมจะรมภายในศาลเจ้า โรงครัวศาลเจ้า ที่พักผู้ประทับทรง และตามบริเวณศาลเจ้า และที่โต้ะพิธี แล้วทำพิธีเชิญพระ
    กิ้วอ๋องต่ายเต่ (พระราชาธิราชทั้งเก้าองค์) คลิกดูภาพ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=6>พิธีเชิญยกอ๋องส่งเต่ (พระอิศวร)
    ครั้นถึงเวลา 00.15 น. เที่ยงคืนของวันขึ้น 1 ค่ำ (ตามปฏิทินจีน) คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เลอไท ทำพิธีไหว้เทพเจ้า ตามที่ประทับอยู่ในศาลเจ้าให้รับทราบถึงขั้นตอน เมี่อถึงเวลาอัญเชิญเทวดา ยกอ๋องส่งเต่(พระอิศวร)มาเป็นประธานใหญ่ ในพิธีกินผัก มีประชาชนมาพร้อมในพิธีร่วมอัญเชิญเทวดาที่หน้าศาลเจ้าเป็นจำนวนมาก เมื่อทำพิธีอัญเชิญเทวดา โดยการเสี่ยงทาย (ปัวะโป้ย) เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นจะอัญเชิญหม้อไฟไม้หอม กระถางธูปและชื่อเทวดา ไปประดิษฐืบนแท่นบูชา ซึ่งทางศาลเจ้าได้จัดเตรียมไว้เช่นทุกๆปี ที่เคยปฏิบัติ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...