สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 14 ตุลาคม 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    หมู่ 1 สี่แยกหินกอง บนเขาเทพพนมยงค์
    ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230
    โทรศัพท์ 036-379-428, 036-305-239


    พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) ประธานสงฆ์

    เมื่อปี พ.ศ. 2542 สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต ได้รับแต่งตั้งจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดสระบุรี และเป็นสำนักฯ ที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนา “พุทโธ”

    สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต ตั้งอยู่บนเขาเทพพนมยงค์ เส้นทางไปนครนายก ห่างจากสี่แยกหินกองประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาก่อนถึงปั๊มน้ำมัน ปตท. ทั้งนี้ จะมีรถบัสรับ-ส่งสาธุชนที่จะมาปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต ทุกๆ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 06.30 น. โดยรถบัสจะจอดรับในจุดดังต่อไปนี้

    (1) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าร้านเซเว่น อีเลฟเวน ฝั่งรพ.พระมงกุฎฯ ตรงข้าม รพ.ราชวิถี
    (2) หน้า ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ด้านถนนพหลโยธิน
    (3) ป้ายรถเมล์ตรงข้ามห้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
    (4) เฉพาะทุกวันอาทิตย์ เพิ่มรถรับ-ส่ง อีก 2 ที่ คือ
    -- ตึกเหลือง วัดมหาธาตุ ตรงข้ามสนามหลวง
    -- ป้ายรถเมล์หน้าห้างคาร์ฟูร์ บางใหญ่

    เที่ยวกลับ.....รถออกจากสำนักฯ เวลา 15.50 น.

    ทางสำนักฯ ได้จัดปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะ (ศีล 8) สัมมาปฏิบัติ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และในวันสำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาและของชาติ อาทิเช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันสงกรานต์ วันปีใหม่ ฯลฯ โดยจัดอบรมและปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

    สภาพแวดล้อมและสถานที่ภายในสำนักฯ มีความสัปปายะ ปลอดภัย สะอาด สงบเย็น สงบเงียบ ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อย ศาลาที่พักแยกเป็นสำหรับอุบาสก-อุบาสิกาต่างหากจากกัน ห้องน้ำสะอาด ปัจจุบันนี้ วันธรรมดาจะมีสาธุชนไปบวชปฏิบัติธรรม ในแต่ละวันประมาณ 100 กว่าคน (สำหรับคนทำงาน เราสามารถจะไปบวชวันเสาร์ แล้วลาบวช-กลับบ้านวันอาทิตย์ ทำแบบนี้ก็ได้)

    ข้อวัตรที่ต้องปฏิบัติประจำวัน

    วันจันทร์ - วันศุกร์
    -- เวลา 03.30 - 05.30 น. ทำวัตรเช้า และปฏิบัติธรรม
    -- เวลา 08.30 น. ช่วยกันทำความสะอาดศาลา ห้องน้ำ อาสนะ เสื่อ หมอน และผ้าห่ม ฯลฯ
    -- เวลา 13.00 - 15.00 น. ปฏิบัติธรรม
    -- เวลา 18.00 - 21.00 น. ทำวัตรเย็น และปฏิบัติธรรม

    วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันสำคัญต่างๆ ที่จัดปฏิบัติธรรม
    -- เวลา 03.30 - 06.00 น. ทำวัตรเช้า และปฏิบัติธรรม
    -- เวลา 09.00 - 11.00 น. ปฏิบัติธรรม
    -- เวลา 13.00 - 15.30 น. ปฏิบัติธรรม
    -- เวลา 18.00 - 21.00 น. ทำวัตรเย็น และปฏิบัติธรรม

    ต้องขึ้นศาลาทำวัตรเช้า-เย็น และขึ้นปฏิบัติธรรมตามเวลาที่กำหนด
    หากมีเหตุจำเป็นสุดวิสัย ไม่สามารถปฏิบัติได้ ขอให้แจ้งเจ้าเหน้าที่ทราบทุกครั้ง

    *** ควรขึ้นศาลาก่อนถึงเวลาปฏิบัติธรรม ***

    [​IMG]

    ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติธรรมถือบวชเนกขัมมะ

    1. ผู้ที่มีความประสงค์จะอยู่ปฏิบัติธรรม ถือบวชเนกขัมมะ ให้แจ้งความประสงค์ที่จะขอบวช
    ได้ที่เจ้าหน้าที่ของสำนักฯ ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 ศาลาบุญ และลงทะเบียนในแบบฟอร์มที่กำหนดให้
    โดยต้องมีหลักฐานคือ บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการหรือสำเนาทะเบียนบ้าน

    2. อนุญาตให้อยู่ปฏิบัติธรรมได้ครั้งละไม่เกิน 9 วัน หากมีความประสงค์จะอยู่ต่อต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของสำนักฯ
    ให้ทราบล่วงหน้าก่อนครบกำหนด 1 วัน และจะพิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อเป็นรายๆ ไป ตามความเหมาะสม

    3. ต้องเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่วิกลจริต มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงช่วยเหลือตัวเองได้
    ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เป็นโรคร้ายแรงหรือโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ

    4. ต้องไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เช่น หมากพลู ยานัตถุ์ บุหรี่ สุรา ยาบ้า หรือยาเสพติดอื่นๆ

    5. ห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด (เช่น กระติกน้ำร้อน วิทยุ เทป) มาใช้ในศาลา
    ยกเว้น วิทยุซาวอเบาท์ และควรฟังเฉพาะรายการธรรม ห้ามฟังข่าวและเพลง

    6. ห้ามนำของมีค่า และเครื่องรางของขลังทุกชนิดมาประดับตกแต่งร่างกาย

    7. ต้องแต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อย ด้วยผ้าสีขาว

    เพศหญิง

    • นุ่งผ้าถุง หรือกระโปรงสีขาว ความยาวไม่น้อยกว่าครึ่งน่อง
    • สวมเสื้อแขนยาว หรือครึ่งข้อศอก คอไม่กว้างเกินไป ถ้าผ้าบางควรสวมเสื้อซับในด้วย
    • รวบผม หวีผม ให้ดูเรียบร้อย ไม่ควรปล่อยผมรุงรัง
    • ไม่ควรนุ่งกางเกง ระหว่างขึ้นปฏิบัติธรรมบนศาลา

    เพศชาย

    • สวมกางเกงขายาวและเสื้อสีขาว ไม่ควรใช้ผ้าบางเกินไป

    กฎระเบียบ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติขณะอยู่ปฏิบัติธรรม

    1. ห้ามนำอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด (ยกเว้น น้ำเปล่า) เข้าไปรับประทานในศาลาบุญโดยเด็ดขาด ให้รับประทานที่โรงทาน หรือในที่ที่สำนักฯ จัดไว้ให้ ควรสำรวมกาย วาจาและมีสติในขณะตักอาหารและรับประทานอาหาร ควรนั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้เรียบร้อย ไม่คุยกันในระหว่างรับประทานอาหาร

    2. ควรสำรวมกาย วาจาและมีสติ ในขณะตักอาหารและรับประทานอาหาร
    ควรนั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้เรียบร้อย ไม่คุยกันในระหว่างรับประทานอาหาร

    3. ห้ามนำหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ธรรมะมาอ่านในสำนักฯ โดยเด็ดขาด

    4. ห้ามสูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินหมาก เสพยาบ้า ยานัตถุ์ และสิ่งเสพติดทุกชนิด

    5. ห้ามพูดคุยกันและสนทนาเสียงดังในระหว่างปฏิบัติธรรม ห้ามนำถุงพลาสติก (ถุงก็อบแก็บ)
    ขึ้นบนศาลา และห้ามทำเสียงดังอื่นใด ที่อาจเป็นการรบกวนสมาธิผู้อื่นในขณะปฏิบัติธรรม

    6. ห้ามนำของมาขาย บอกบุญเรี่ยไร ห้ามเป็นหมอดู หมอนวด
    หมอเวทย์มนต์ เล่นไสยศาสตร์ ทรงเจ้าเข้าผี โดยเด็ดขาด

    7. ห้ามซักเสื้อผ้าในห้องน้ำ ควรแต่งตัวให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องน้ำ ห้ามนุ่งกระโจมอก
    หรือห่มผ้าสไบผืนเดียว หรือใส่เสื้อชั้นในตัวเดียวเดินในที่พัก บริเวณรอบที่พัก หรือบริเวณหน้าห้องน้ำ

    8. ควรช่วยกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ห้ามเปิดน้ำ-เปิดไฟทิ้งไว้ ให้ปิดไฟใต้ศาลาเวลา 22.00 น.
    และเปิดไฟเวลา 03.15 น. ห้ามตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลา 03.15 น. และหลังเวลา 22.00 น.
    ควรรักษาความสงบ ห้ามพูดคุยและทำเสียงดังรบกวนผู้อื่น

    9. ห้ามปัสสาวะหรืออุจจาระ และห้ามนำกระโถนมาปัสสาวะหรืออุจจาระในศาลาหรือบริเวณรอบๆ ศาลาโดยเด็ดขาด

    10. ในระหว่างถือบวชเนกขัมมะ ห้ามออกนอกบริเวณสำนักฯ หรืออกไปนั่งคุยคลุกคลีที่ร้านค้า โดยไม่มีเหตุจำเป็น

    11. เมื่อครบกำหนดการถือบวชเนกขัมมะแล้ว ต้องเก็บของใช้ส่วนตัวกลับให้หมด ห้ามทิ้งไว้ให้เป็นภาระผู้อื่น

    12. ต้องเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ของสำนักฯ หากได้รับคำเตือน หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ
    และเห็นว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสียต่อหมู่คณะ จะไม่อนุญาตให้อยู่ต่อโดดเด็ดขาด และต้องออกจากสำนักฯ โดยทันที

    ปัจจุบันสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีทั้งหมด 3 แห่งดังนี้
    1. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    หมู่ 1 สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230
    โทรศัพท์ 036-379-428, 036-305-239

    2. วัดป่าสว่างวีระวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต)
    บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม กิ่ง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190
    เจ้าหน้าที่ : แม่ชีแวว โทรศัพท์ 08-1600-0848

    3. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
    หมู่ 8 บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
    เจ้าหน้าที่ : แม่ชีนลินรัตน์ โทรศัพท์ 08-9777-1625

    เว็บไซต์สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    <!-- m -->www.sangdhamsongchevit.com/
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    <!-- m -->www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1387
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    เลขที่ 62/1 หมู่ 5 บ้านเขาวง
    ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120
    โทรศัพท์ 036-236-500-5, 086-133-6889,
    084-310-9442, 084-310-9443

    พระครูภาวนาพิลาศ (พระวัชรชัย อินทฺวํโส) เจ้าอาวาส

    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสระบุรี และเป็นสถานที่ปฏิบัติและสอนพระกรรมฐานสายพระคุณหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) วัดท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นองค์อุปถัมภ์ มีหลักเจริญภาวนา มหาสติปัฏฐานสูตร รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก

    [​IMG]

    โบราณสถานวัดเขาวงถ้ำนารายณ์

    วัดเขาวง ตั้งอยู่ที่บ้านเขาวง หมู่ ๕ ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท ห่างจากตัาอำเภอพระพุทธบาท ประมาณ ๓ กิโลเมตร ที่ปากถ้ำมีอักษรมอญโบราณ (ปัลลวะ) ซึ่งเป็นแบบอักษรของชาวอินเดียฝ่ายใต้ ปรากฎมีในภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยก่อนสุโขทัย จนวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมและมอญโบราณ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงนำมาดัดแปลงประดิษฐ์เป็นต้นกำเนิดอักษรไทย จนถึงทุกวันนี้อักษรจารึกถ้ำนารายณ์ มีข้อความ ๓ บรรทัด ถูกจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (ยุคทวาราวดี) ในยุคนั้น ชนชาติมอญมีอำนาจรุ่งเรือง อักษรจารึกเขียนเป็นคำบอกร้อยแก้ว กรมศิลปากรแปลไว้ว่า “กัณทราชัย ผู้ตั้งแคว้นอนุราธปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสินาธะ เป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมือง (อนุราธปุระ) จัดพิธีร้องรำเพื่อเฉลิมฉลอง (สิ่ง) ซึ่งประดิษฐานไว้แล้วข้างในนี้”

    (อ้างอิงจาก เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ‘จารึกบนผนังปากถ้ำนารายณ์’ ในวารสารศิลปากร หน้า ๕๓-๕๗ ม.ป.ป.)

    [​IMG]

    จารึกนี้บอกให้ทราบว่า ท้องถิ่นแถบนี้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลานาน และอาจจะเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง มาก่อน ซึ่งคำว่า ‘อนุราธปุระ’ เป็นชื่อเมืองโบราณในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และอาจจะแสดงว่าชาวลังกากับคนท้องถิ่นนี้ (มอญโบราณ) มีการติดต่อสัมพันธ์กัน จึงมีการอ้างชื่อเมือง เพื่อกำหนดให้ระลึกถึงกัน พร้อมทั้งจารึกอักษรไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้เปรียบเทียบศึกษาจากบันทึกในพงศาวดารหลายฉบับระบุว่า ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๖๓-๒๑๗๑)

    เคยมีปรากฏคณะสงฆ์ไทยเดินทางไปเมืองลังกาเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ แต่ พระภิกษุลังกาได้บอกว่ามีรอยพระพุทธบาทในประเทศไทยที่เขาสุวรรณบรรพต และเกิดการค้นพบรอยพระพุทธบาทบริเวณเทือกเขานี้ในเวลาต่อมา หรืออาจจะหมายถึงการแลก เปลี่ยนวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และสยามวงศ์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารของชาติไทยเราด้วย ก็อาจจะเป็นได้

    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี โดยได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดตามลำดับ จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑ มีบริเวณกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๕๑ เมตร เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ตารางเมตร ดำเนินการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖

    สถานที่แห่งนี้ เป็นศาสนสถานมาเป็นเวลายาวนาน สืบความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จจากวังนารายณ์ เมืองละโว้ (ลพบุรี) ไปว่าราชการ ณ กรุงศรีอยุธยา ทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมซึ่งเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาท ก็ได้เสด็จประทับพักแรมในถ้านารายณ์ ซึ่งมีอากาศเย็นสบายตลอดปี และจากจารึกอักษรผนังปากถ้ำก็ปรากฏหลักฐานว่าถ้ำนี้ได้เคยเป็นที่บำเพ็ญกุศลมาตั้งแต่สมัยอนุราธปุระ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ผ่านความรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม และฟื้นฟูขึ้นเป็นวัดตามประเพณีการปกครองแผ่นดินและการสืบพระพุทธศาสนา ดังกล่าวข้างต้น

    ปัจจุบันนี้ โดยการนำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และพระธรรมสิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ได้พัฒนาขึ้นมาสู่สภาพวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้ว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง และยังเป็นแหล่งพันธุ์ไม้และสัตว์หาดูยาก คือ โมกราชินี (Wrightia SIRIKITIAE D.J. Middleton&Santisuk) จันผา, นกหัวจุก, กระรอกเผือก ฯลฯ เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมศาสนาของชาติไทยสืบไป

    [​IMG]

    ปฏิปทาปฏิบัติ

    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสายพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง) ญาติโยมพุทธบริษัท และเพื่อนพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย การที่บรรดาท่านพุทธบริษัทก็ดี ภิกษุสามเณรก็ดี ที่เข้ามาปฏิบัติธรรมในวัดนี้ ทุกท่านมีความประสงค์ดีทั้งหมด นั่นก็คือทุกท่านมีความปรารถนาเพื่อพระนิพพาน การปฏิบัติ ทำความดีในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะสำหรับ พระภิกษุ สามเณร อย่าลืมคำว่า

    ‘นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตังกาสาวัง คะเหตะวา' (ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัตร์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เราจะทำความเห็นให้ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) ทำตามระเบียบวินัยนั้นให้ถูกต้อง อันไหนดีเราปฏิบัติตาม นอกจากนั้น เราก็คิดต่อว่าการเกิดแก่เจ็บตายเป็นของไม่ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราไม่ต้องการเกิดต่อไป เราต้องการพระนิพพาน อย่างเดียว ตั้งใจให้ทานเพื่อตัดโลภะ ตั้งใจรักษาศีลเพื่อป้องกันโทสะ ตั้งใจปฏิบัติธรรมในด้าน สมถวิปัสสนาเป็นการ กำจัดโมหะ ตั้งใจปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน คือ

    ๑. ด้านของความรัก เราจะรักคนอื่นเหมือนกับรักชีวิตของเรา จิตใจจะเยือกเย็น
    ๒. มีอารมณ์สงสารอยู่เป็นปกติ ถ้าไม่เกินวิสัยเราจะเกื้อกูลให้มีความสุขตามกำลัง
    ๓. เราจะไม่อิจฉาริษยาใครเมื่อบุคคลอื่นได้ดี เห็นเขาได้ดีพลอยยินดีด้วย
    ๔. ถ้าเขาพลาดพลั้งไป อาจจะต้องถูกลงโทษขับไล่ประการใดก็ตาม เราช่วยไม่ไหวเรา จะวางเฉย ไม่ซ้ำเติม

    นี่กำลังใจของทุกท่านที่มาอยู่ในที่นี้ ทั้งพระภิกษุสามเณรประจำ หรือท่านที่มาปฏิบัติชั่วคราว ให้มีกำลังใจตามนี้ อันดับแรกขอให้ปฏิบัติตามระเบียบและจารีตของวัดดังนี้

    [​IMG]

    (๑) กิจวัตรประจำวัน

    ทั้งภิกษุสามเณร ฆราวาสที่มาปฏิบัติธรรม ทั้งที่อยู่ประจำ และที่มาพักชั่วครั้งคราว หรือเป็นกลุ่มนักปฏิบัต ิที่สำนักอนุญาตให้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม ต้องร่วมกันปฏิบัติตัวตามประเพณีกิจวัตร ดังนี้

    ๑. เมื่อมาพักปฏิบัติธรรม ต้องรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘
    ให้ครบถ้วน และรักษากรรมบท ๑๐ รวมเข้าไปด้วย

    ๒. ต้องร่วมกันปฏิบัติตัวตามประเพณีกิจวัตร
    ๐๓.๓๐ น. ระฆังเตือน ตื่นขึ้นเตรียมตัวพร้อม
    ๐๔.๐๐ น. สมาทานพระกรรมฐานในถ้ำนารายณ์ เจริญภาวนา, เดินจงกรม
    ๐๕.๐๐ น. ทำวัตรเช้า พระภิกษุออกบิณฑบาตร ฆราวาสเตรียมตัวใส่บาตร หรือกวาดใบไม้ตามสะดวกใจ
    ๐๗.๓๐ น. ฉันอาหารเช้า (พระในสำนักฉันมื้อเดียว ภาชนะเดียว)
    ฆารวาสรับประทานอาหารหลังพระภิกษุสามเณรฉันเสร็จแล้ว
    - ทำธุระส่วนตัว
    - กวาดใบไม้
    - บำเพ็ญกุศลตามอัธยาศัย
    ๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหาร
    ๑๒.๓๐ น. อบรมวิปัสสนาญาณ และมโนมยิทธิ
    - พักตามอัธยาศัย
    ๑๓.๓๐ น. เปิดเสียงตามสาย เจริญพระพุทธมนต์และคำเทศน์สอน
    - บำเพ็ญกุศล ถวายสังฆทานตามต้องการ
    - พักตามอัธยาศัย กวาดใบไม้ตามศรัทธา
    ๑๕.๐๐ น. เลือกกิจกรรมตามชอบในใบลงทะเบียนเข้าพัก
    - เดินจงกรม
    - โยคะ
    ๑๖.๐๐ น. ฟังคำสอนหลวงพ่อฤๅษีฯ เรื่องพระวินัย
    ๑๗.๓๐ น. ระฆังเตือน เตรียมตัวพร้อม
    ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็นในถ้ำนารายณ์ สมาทานพระกรรมฐาน
    -เจริญภาวนา, เดินจงกรม
    ๒๐.๐๐ น. พระอาจารย์ตอบปัญหา สนทนาธรรม
    ๒๑.๐๐ น. พักตามอัธยาศัย ในระเบียบของสำนัก

    ให้ร่วมเจริญพระกรรมฐานกันเป็นปกติ อย่าอยู่ในห้องพักขณะเวลามีกิจวัตร เพราะบางคนแฝงตัวเข้ามาหาประโยชน์ เวลาคนอื่นไม่อยู่ในห้อง ก็เข้าไปขโมยของ ก็ถือว่าถ้ามาดีต้องเจริญพระกรรมฐานร่วมกัน ถ้าไม่เจริญพระกรรมฐาน มีเหตุขัดข้องอย่างไรให้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานกลางทราบล่วงหน้า

    ๓. หากอยากทรงอารมณ์สบายไว้ขณะที่พักอยู่ปฏิบัติธรรม ขอเชิญชวนให้
    ช่วยงานวัดเล็กๆ น้อยๆ เช่น กวาดวัด พอหล่อเลี้ยงอิริยาบท ให้ใจเป็นสมาธิ สบายๆ

    [​IMG]

    (๒) การใช้สถานที่

    ทางวัดยังมีบุคคลากรที่จะอำนวยความสะดวกแก่ท่านไม่เพียงพอ จึงใคร่ขอความเมตตาจากญาติโยมทั้งหลาย ช่วยตัวเองและทางวัด ดังนี้

    ๑. ท่านที่ประสงค์จะเข้าพักปฏิบัติธรรม ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการมาลงทะเบียนเข้าพักด้วยทุกครั้ง หลังจากพักครบกำหนดแล้ว และท่านส่งคืนกุญแจห้องพัก เจ้าหน้าที่จะคืนบัตรให้ท่าน

    ๒. จะไม่รับท่านที่ไม่ประสงค์จะมาปฏิบัติธรรมเข้าพัก เพราะเข้ามาสร้างความไม่สงบต่อส่วนรวม การเข้าพักปฏิบัติธรรมอยู่ได้คราวละ ไม่เกิน ๗ วัน เนื่องจากเคยมีคนมาฝังตัวเพราะเกียจคร้านในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัว อาศัยวัดกิน

    ๓. ช่วยกันรักษาความสะอาดอาคารและห้องพัก

    ๔. เมื่อออกจากห้องพักห้ามเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ เมื่อเสร็จภารกิจหรือนอนหลับให้ดับไฟทุกครั้ง ทรัพย์สินที่เป็นของมีค่าสำหรับท่าน ให้นำติดตัวไปด้วยและต้องรักษาของนั้นเอง เพราะถ้าเกิด สูญหายทางวัดไม่สามารถรับผิดชอบให้ท่านได้

    ๕. ห้ามเข้าห้องของคนอื่นเป็นอันขาด ห้ามนำญาติหรือเพื่อนเข้าไปในห้องพักหรือเขตเฉพาะ ถ้ามีความจำเป็นให้พบปะกันภายนอกห้องพัก หากเพื่อนหรือญาติที่เข้าไปในห้องทำความผิด จะถือว่า ท่านร่วมรับรู้การกระทำผิดนั้นด้วย

    ๖. ของใช้ประจำอาคาร ทุกท่านที่มาอยู่ต้องช่วยกันรักษา ถ้าเสียหายในมือท่าน ต้องจัดการหามาทดแทน

    ๗. ห้ามส่งเสียงดังรบกวนท่านที่พักอยู่ห้องข้างเคียง

    ๘. เวลากลับขอให้จัดห้องพักให้เรียบร้อย ปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดพัดลม ปิดหน้าต่าง ปิดบานเกล็ด ให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้รกรุงรัง อุปกรณ์ เครื่องนอนพับเก็บและส่งคืนที่เบิกอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

    [​IMG]

    [​IMG]

    (๓) มารยาท จารีตประเพณี

    ๑. เมื่อจะออกไปนอกบริเวณวัดหรือกลับบ้าน ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่
    ที่สำนักงานกลางให้ทราบก่อนทุกครั้ง (เพื่อตรวจสอบกรณีเกิดอุบัติเหตุ)

    ๒. ห้ามทำตัวเป็นหมอดูพยากรณ์ ห้ามทำการประทับทรง
    หรือทำการคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าด้วยอาการใดๆ เพื่อการใดๆ ทั้งสิ้น

    ๓. ห้ามทำการหรือขอรับการรักษาโรค ไล่คุณไสย
    หรือพิธีกรรมใดๆ โดยอ้างพลังพิเศษพิสดารไม่ว่าอย่างใดๆ ทั้งสิ้น

    ๔. ครูอาจารย์ผู้แนะนำพระกรรมฐานของสถานที่นี้ ต้องได้รับการรับรองแต่งตั้งจากเจ้าอาวาส และคณะกรรมการ สงฆ์ของวัด และต้องนำสอนลูกศิษย์ตามปฏิปทาของพระคุณอาจารย์หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง (พระราชพรหมยาน) ต้องไม่สอนเพื่อติดพันฟั่นเฝือในความเป็นทิพย์ ในชาติภพอื่นใดนอกจากปัจจุบัน ซึ่งต้องพากันละให้สิ้นชาติขาดเชื้อ ต้องสอนและปฏิบัติกันในหัวใจพระพุทธศาสนา คือ พากันละความชั่ว ชวนกันทำความดีตามครรลองจารีตของสำนัก และทำจิตใจให้มีอารมณ์ผ่องใสเบิกบาน มีพระนิพพานเป็นที่มั่นหมายเท่านั้น

    ๕. เมื่อกระทำการอันใดเกิดขึ้น อันเป็นเหตุให้คณะกรรมการสงฆ์
    เรียกตัวมาไต่สวนเพื่อหาข้อสรุป ต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติตามโดยไม่บิดพริ้ว

    [​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

    [​IMG]
    พระครูภาวนาพิลาศ (พระวัชรชัย อินทฺวํโส)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5780" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ?࢒ǧ (?铹҃҂?쩠?.ʃк؃զlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    <!-- m -->วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์มหาเหล็ก จนฺทสีโล
    ............................................................................


    โพธิปักขิยธรรมสถาน มูลนิธิวิปัสสนามิตรภาพ
    เลขที่ 159 หมู่ 6 เทศบาลสาย 4
    ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18260
    โทรศัพท์ 08-7028-6616,
    08-9802-0778, 08-9967-6464

    พระอาจารย์มหาเหล็ก จนฺทสีโล พระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนัก

    โพธิปักขิยธรรมสถาน มูลนิธิวิปัสสนามิตรภาพ ขอเชิญร่วมปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ โพธิปักขิยธรรมสถาน ระยะเวลา ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ๑๕ วัน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ถึง ๑ ปี เพราะทางสำนักมีการปฏิบัติตลอดปี หากจะเข้าปฏิบัติเป็นคณะ รับได้ไม่เกิน ๕๐ คน

    โพธิปักขิยธรรมสถาน รับผู้ที่สนใจใฝ่ในการปฏิบัติกัมมัฏฐานตามแนวมหาสติปัฏฐานสี่ ทั้งระดับเริ่มต้น (ผู้ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน), ผู้ที่เคยผ่านการปฏิบัติมาแล้ว และผู้ที่ต้องการปฏิบัติให้ถึงฝั่งตามจุดมุ่งหมาย ซึ่ง พระวิปัสสนาจารย์ จะเป็นผู้พิจารณาว่าท่านใด หมู่คณะใด สมควรที่จะปฏิบัติอยู่ในระดับใด

    [​IMG]

    คุณสมบัติระเบียบและข้อบังคับในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    ๑. มีสุขภาพทางกายและใจที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม
    ๒. เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระวิปัสสนาจารย์อย่างเคร่งครัด
    ๓. งดเว้นการพูดคุยที่ไม่จำเป็นและ กระทำการใดๆ ที่รบกวนผู้อื่นอย่างเด็ดขาด
    ๔. งดเว้นจากของเสพติดและอบายมุขทุกชนิด
    ๕. เข้ารับการสอบอารมณ์กับพระวิปัสสนาจารย์ตามเวลาที่กำหนด
    และงดเว้นการส่งอารมณ์กับผู้ร่วมปฏิบัติท่านอื่น
    ๖. ไม่นำเครื่องประดับ และสิ่งของมีค่าติดตัวมาด้วย
    ๗. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่ใส่เสื้อ/กางเกงรัดรูป สีที่ใช้ควรเป็นสีสุภาพ อาทิ สีขาว ครีม
    กากี เทา ดำ น้ำตาล น้ำเงิน กรณีเนื้อผ้าโปร่งบางควรสวมเสื้อคอกระเช้าหรือกระโปรงซับใน
    ๘. ห้ามออกนอกบริเวณโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพระวิปัสสนาจารย์
    ๙. ในกรณีที่ออกจากการปฏิบัติไม่ว่าในกรณีใดๆจะต้องนำสัมภาระที่ติดตัวมากลับไปด้วยทุกครั้ง
    ๑๐. รักษาความสะอาดเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกอาคาร
    ๑๑. หากผู้ปฏิบัติมีความประสงค์ที่จะปฏิบัติต่อจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพระวิปัสสนาจารย์
    ๑๒. ไม่ประกอบกิจใดๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    ๑๓. ห้ามเปลี่ยนที่พำนักโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ๑๔. ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น
    ผู้ปฏิบัติจะต้องออกจากการปฏิบัติทันทีโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
    ๑๕. มูลนิธิสงวนสิทธิในการรับหรือไม่รับผู้สมัครคนหนึ่งคนใดเพื่อเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    ๑๖. ก่อนออกจากการปฏิบัติธรรม ให้ผู้ปฏิบัติทำความสะอาดเรือนปฏิบัติ
    รวมทั้งห้องน้ำ และคืนกุญแจห้องแก่เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ

    เอกสารที่ใช้ในการสมัคร

    ๑. รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ๑ รูป
    ๒. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ
    ๓. จดหมายอนุญาตจากผู้ปกครอง (กรณีผู้สมัครอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี)

    หลักฐานการสมัคร (เฉพาะพระภิกษุ-สามเณร)

    ๑. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดเดิม หรือผู้ที่ปกครองเหนือตน
    เช่น เจ้าอาวาส, อุปัชฌาย์, อาจารย์, เจ้าคณะ/รองเจ้าคณะ
    ๒. สำเนาหนังสือสุทธิ (พร้อมทั้งต้นฉบับ) เพื่อยืนยันการดำรงอยู่ในสมณะเพศ
    ๓. กรณีจะมาเป็นคณะ (มากกว่า ๑๐ รูป) ต้องทำหนังสือรับรองจาก
    วัดหรือสถาบันและแจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน

    เครื่องใช้ที่ควรนำติดตัวไปด้วย

    ร่ม ผ้าปูที่นอนพร้อมปลอกหมอน ไฟฉาย เสื้อกันหนาว ยาประจำตัว

    [​IMG]

    ตารางปฏิบัติกัมมัฏฐาน (พื้นฐาน)
    ณ โพธิปักขิยธรรมสถาน มูลนิธิวิปัสสนามิตรภาพ

    กิจวัตรประจำวัน
    ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน (สรีระกิจ)
    ๐๔.๓๐ น. ทำวัตรเช้า
    ๐๕.๐๐ น. ฟังเทปธรรมะ/การบรรยายธรรม
    ๐๖.๐๐ น. เดินจงกรม
    ๐๖.๔๐ น. นั่งเจริญสติ (นั่งสมาธิ)
    ๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหาร (กำหนดอิริยาบถย่อย)
    ๐๘.๐๐ น. พักผ่อน
    ๐๘.๓๐ น. แนะนำการเดินจงกรม, นั่งเจริญสติ, การกำหนดฝึกปฏิบัติ
    ๑๐.๓๐ น. รับประทานอาหาร (กำหนดอิริยาบถย่อย)
    ๑๒.๐๐ น. พักผ่อน
    ๑๓.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติ
    ๑๕.๐๐ น. น้ำปานะ (กำหนดอิริยาบถย่อย)
    ๑๕.๓๐ น. ปฏิบัติ
    ๑๖.๓๐ น. พักผ่อน
    ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
    ๑๙.๐๐ น. บรรยายธรรม, ปฏิบัติ
    ๒๑.๐๐ น. พักผ่อน

    หมายเหตุ
    ๑. ตารางปฏิบัติฯ อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
    ๒. วันพระ, วันอาทิตย์ งดส่งอารมณ์

    [​IMG]

    ควรรายงานอะไรบ้างในการส่งอารมณ์

    ๑. บรรยายสภาวะการพองของท้อง
    ๒. บรรยายสภาวะการยุบของท้อง
    ๓. บรรยายว่าจินตนาการมีสภาวะเป็นอย่างไร
    ๔. บรรยายว่าความรู้สึกต่างๆ มีสภาวะเป็นอย่างไร
    ๕. บรรยายว่าความคิดมีสภาวะเป็นอย่างไร
    ๖. สิ่งสำคัญยิ่งที่ต้องกำหนดรู้ :
    สภาวะที่เกิดขึ้น การกำหนด และจำแนกแยกแยะอารมณ์ต่างๆ ของผู้ปฏิบัติ
    ๗. บรรยายแต่ละอารมณ์อย่างชัดเจนและโดยละเอียด
    ๘. บรรยายเฉพาะประสบการณ์ใหม่ ๆ และตรงประเด็น
    ๙. บรรยายอย่างกระชับรัดกุมและชัดเจน
    ๑๐. อย่าเสียเวลา
    ๑๑. ไม่นำความฝันมาส่งอารมณ์

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่โพธิปักขิยธรรมสถาน
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2608" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ը⾸Իѡ?Ԃ?Ã??ҹ ?.ʃк؃զlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์โพธิปักขิยธรรมสถาน
    <!-- m -->⾸Իѡ?Ԃ?Ã??ҹ ?ŹԸԇԻъʹҁԵÀҾ<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์แบน ธนากโร
    ............................................................................


    วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา
    อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180

    พระอาจารย์แบน ธนากโร ประธานสงฆ์

    วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา เป็นวัดป่าสายปฏิบัติแนวหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา เป็นวัดที่พระอาจารย์แบน ธนากโร ได้สร้างขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันนี้ พระอาจารย์แบนท่านได้พำนักอยู่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร หรือในบางครั้งท่านก็จะไปพักสั่งสอนศีลธรรมอยู่ที่วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และวัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่ในจังหวัดจันทบุรี

    การเดินทาง :: จากถนนมิตรภาพ ประมาณ กม. ที่ 144-145 เยื้องกับโรงแรมมวกเหล็ก เกสท์อินน์ (ถ้าหากไปจากกรุงเทพฯ ทางเข้าจะอยู่ด้านขวามือ ต้องเลยไปยูเทิร์นกลับมา) ตรงเข้าไปสักพักก็เลี้ยวขวาตามป้ายไพรแพรวา ผ่านถนนที่เป็นทางน้ำล้นไปสักพัก วัดจะอยู่ด้านซ้ายมือ (ระยะทางจากปากทางเข้าไปประมาณ 11 กม. จึงจะถึงวัด)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อแบน ธนากโร
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?荡?? ??ҡ⃦lt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดพระพุทธบาท
    ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120
    โทรศัพท์ 036-266-658

    พระธรรมปิฏก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาส

    เว็บไซต์วัดพระพุทธบาท
    <!-- m -->http://www.watphrabuddhabat.com/<!-- m -->


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดเขาพระ
    ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110

    พระครูภาวนาวรคุณ (พระมหาศสาตราวุธ จกฺกวโร) เจ้าอาวาส

    เว็บไซต์วัดเขาพระ
    <!-- m -->http://www.watkoutpra.com/<!-- m -->


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดดอนพุด
    หมู่ 5 บ้านดอนพุด ต.ดอนพุด
    อ.ดอนพุด จ.สระบุรี 18210

    พระครูวินัยธรจรูญ วราโภ เจ้าอาวาส


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดทองพุ่มพวง
    ถนนพหลโยธิน ซอย 15 ต.ปากเพรียว
    อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
    โทรศัพท์ 036-211-136

    พระมงคลภัทราจารย์ (หลวงปู่มหาแถม วิสุทฺธสีโล) อดีตเจ้าอาวาส

    เว็บไซต์วัดทองพุ่มพวง
    <!-- m -->Ǒ??ͧ?ب?ǧ [Engine by iGetWeb.com]<!-- m -->


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดศรัทธาประชากร
    หมู่ 4 บ้านเขารวก ต.หน้าพระลาน
    อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 18240
    โทรศัพท์ 036-379-428

    พระพิศาลมงคลวัฒน์ เจ้าอาวาส


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดใน จ.สระบุรี ทั้ง 5 แห่งนี้ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
    ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
     
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ศูนย์พุทธศรัทธา
    (สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง 77 - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    เลขที่ 77 หมู่ 7 ต.บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี 18130
    โทรศัพท์ 036-201-600, 08-4107-6106, 08-1937-0244

    พระครูปลัดอนันต์ พุทธญาโณ ประธานสงฆ์

    ศูนย์พุทธศรัทธา ตั้งอยู่ระหว่าง กม. 11-12 ถนนสายท่าเรือ-พระพุทธบาท
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    1. สนส.ถ้ำสิงหราชเดโช
    อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    ธรรมยุติ อานาปานสติกัมมัฏฐาน พึ่งตัวเอง ถ้ำสวย อากาศดี


    2. วัดถ้ำประกายแก้ว
    อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    ธรรมยุติ สถานที่ดี ถ้ำสวย มี 2 ถ้ำ พึ่งตัวเอง


    3. สวนอิทัปปัจจยตาราม
    ต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 18240


    แนวสวนโมกขพลาราม อยู่ติดสวนพฤษศาสตร์ เข้าได้ทั้ง 2 ทาง


    4. วัดพระพุทธบาทน้อย
    ต.พระบาทน้อย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    มีรอยพระพุทธบาท อยู่ติดเขาหินปูน มีถ้ำสวย 2 ถ้ำ อากาศดี พึ่งตนเอง


    5. สนส.ถ้ำมังกร (ประกายแก้ว)
    อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    ธรรมยุติ พึ่งตนเอง ถ้ำไม่ใหญ่ แต่เงียบจริงๆ ติด สนง.ป่าไม้


    6. สนส.ป่าหินตั้ง
    ต.ซับชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    ธรรมยุติ เลยจากวัดป่าแสวงบุญ ไปทางขวา ไปออกน้ำตกเจ็ดคตได้ พึ่งตนเอง


    7. ศูนย์เมืองอริยะ
    ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    กำลังก่อสร้างอยู่ แต่สถานที่ถือว่าเยี่ยมยอด อยู่ในหุบเขา มีรอยพระพุทธบาท มีน้ำตก


    8. วัดเขาพระงาม
    อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    มีอบรมปฏิบัติเป็นช่วงๆ มีรอยพระพุทธบาทจำลอง บนยอดเขาเป็นมณฑป มองเห็นจากถนน


    9. สนส.ภูฟ้าเขียวคราม
    ต.ท่ามะปราง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    สาขาของถ้ำสุมโน


    10. สนส.ถ้ำดาวเขาแก้ว
    อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180


    สัปปายะ สมบูรณ์แบบมากจริงๆ มีถ้ำที่สวยที่สุดในสระบุรีแล้ว จากสระบุรี 70 กม. ไกลพอดู


    11. วัดไตรธรรมมัชฌิมารัตนบุตร
    ต.เจ็ดสาวน้อย อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180


    แนวปฏิบัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีน้ำตกไหลผ่านวัด ห่างจากเจ็ดสาวน้อย


    12. วัดถ้ำรัตนบุปผา
    อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180


    แนวปฏิบัติธรรมะเปิดโลก มีถ้ำสวย อากาศดี อยู่ในหุบเขา


    13. สนส.ถ้ำเขาน้อย เหวปลากั้ง
    อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180


    ไปทางสายฝั่งซ้ายจากมวกเหล็ก ขึ้นเนินไปเพื่อไปเขาใหญ่ มีถ้ำยาว


    14. วัดธนะพัฒนาราม
    อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180


    มีถ้ำเล็ก ขึ้นเนินมวกเหล็กมาอยู่ติดถนน ทางลงเป็นทางลาดปูน จะชันหน่อย หลวงพ่อใจดีมาก


    15. วัดเขาพรหมสวรรค์
    อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 18240


    สถานที่สัปปายะ มีโบสถ์ ระฆังเด่นสวยงาม พึ่งตนเอง


    16. วัดถ้ำนาคราช
    ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    มีถ้ำอยู่บนยอดเขา ก่อนถึงวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ หลวงพ่อเคยอยู่วัดมหาธาตุ


    17. วัดถ้ำพระโพธิสัตว์
    อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18110


    แนวสวนโมกขพลาราม สัปปายะสุดยอดทุกด้าน มีถ้ำ มีน้ำตก


    18. สวนป่าสุขกาโร
    อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180


    ไม่แน่ใจว่าเป็นเขตปากช่องหรือป่าว แต่เป็นสถานที่หลวงปู่อ่อน สุขกาโร มาประจำช่วงออกพรรษาบ่อย
    สัปปายะทุกอย่างดี ต้องติดต่อก่อนเพราะเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติอบรมภาวนาครับ ในพรรษาไม่มีพระอยู่ประจำ


    19. วัดป่าพุทธญาณ
    ต.ห้วยทราย อ.เมือง จ.สระบุรี 18000


    มีหลวงพ่อโต องค์ใหญ่ ต้องติดต่อถ้าต้องการภาวนา
     
  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงพ่อผินะ ปิยธโร
    ............................................................................

    วัดสนมลาว (วัดไทยงาม)
    หมู่ 2 ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230

    หลวงพ่อผินะ ปิยธโร อดีตเจ้าอาวาส

    วัดตั้งอยู่ที่ ต.โคกแย้ อ.หนองแค ซึ่งใน ต.โคกแย้ มีวัดอยู่ 2 วัด คือ วัดสนมลาว (วัดไทยงาม) และ วัดสนมไทย (วัดเขาพนมยงค์) โดย วัดสนมไทย เป็นที่อยู่ของคนไทยที่พูดภาไทยภาคกลาง ส่วนวัดสนมลาวเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนที่อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ได้มาอยู่ที่บ้านโป่งแร้ง บ้านหนองผักชี และบ้านสนมลาว

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    นั่งขัดสมาธิถอดจิต-มรณภาพ ฮือฮา “หลวงพ่อผินะ” สังขารไม่เน่า

    ย้อนหลังกลับไป เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ชาวบ้านต่างเดินทางไปที่ วัดสนมลาว หมู่ที่ 2 ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ด้วยเกิดเหตุปรากฏการณ์ความมหัศจรรย์ ภายหลังการมรณภาพลงอย่างสงบของ “หลวงพ่อผินะ ปิยธโร” สิริอายุ 89 ปี เจ้าอาวาสวัดสนมลาว ร่างหลวงพ่อผินะ ปิยธโร นั่งหมดลมหายใจในท่านั่งขัดสมาธิอย่างสงบ เหตุที่ไม่ปกติเพราะท่านมรณภาพเมื่อเวลาประมาณ 05.14 นาฬิกา แต่เวลาล่วงเลยกว่า 12 ชั่วโมงแล้วร่างกายเนื้อตัวท่านยังอ่อนนิ่ม ไม่คล้ายดังคนที่หมดลมหายใจแต่อย่างใด

    ก่อนหน้านี้หลวงพ่อผินะได้ทำหนังสือเขียนสั่งไว้ มีใจความว่า “เมื่อฉันละสังขาร ขอให้ปฏิบัติตามนี้ คือ ห้ามฉีดยาศพโดยเด็ดขาด ให้เก็บศพไว้ในสภาพนั่งขัดสมาธิ ให้บรรจุศพไว้ในที่เตรียมไว้ ณ สุสานผินะ ไม่ต้องมีการสวดศพ ไม่ต้องบอกคนมาก ห้ามเผาศพโดยเด็ดขาด” สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2545 ลงชื่อ พระผินะ ปิยธโร พระอาจารย์ใหญ่ประธานคณะปฏิบัติธรรม วัดสนมลาววิหาร

    พระพิศาลมงคลวัตร เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี (ธรรมยุต) ในขณะนั้น กล่าวว่า ได้ทำการบรรจุศพในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2545 และทำตามที่ท่านสั่งไว้ โดยสั่งช่างทำโลงแก้ว บรรจุศพในท่านั่งขัดสมาธิ และนำไปตั้งไว้ที่สุสานผินะ ที่ท่านสั่งให้สร้างไว้แล้ว

    [​IMG]

    อัตโนประวัติ หลวงพ่อผินะ ปิยธโร มีนามเดิมว่า ทวาย หาญสาริกิจ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2456 บ้านหัวลำโพง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี วัยเด็กหลวงพ่อมีโรคประจำตัวรักษาไม่หาย หลังการร้องไห้ทุกครั้ง จะต้องมีอาการชักจนหน้าเขียว โยมมารดาพาไปหาหมอรักษาโรค แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นพอหมดหนทางจึงได้พาบุตรชายไปหาหลวงพ่อสิน เจ้าอาวาสวัดหนองเตา ต.โนนขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    หลวงพ่อสินระบุว่า ชื่อทวาย เป็นกาลกิณี ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นผินะ มาจากคำว่าผิน แปลว่า หันหน้า, หันหลัง, เปลี่ยนทิศทาง, ไม่แยแส, หรือเลิกคบกัน นับแต่นั้นอาการดังกล่าวได้ทุเลาลง

    พ.ศ.2481 โยมบิดาได้ล้มป่วยและเสียชีวิต จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่ออุทิศส่วนกุศล พออายุครบบวชจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดหนองเต่า โดยมีพระครูอุดมคุณาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอทัพทัน เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมหาอำนวย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในระหว่างเป็นพระภิกษุ พระผินะได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสออกไปจำพรรษาที่วัดเกาะเทโพ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ได้ศึกษาพระธรรมจากหลวงตาคำ ให้รู้ถึงสังขารร่างกายมนุษย์และสัตว์ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ร่างกายเน่าเปื่อย

    พ.ศ.2481 ท่านสอบได้นักธรรมตรี และออกธุดงค์ ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐาน ณ วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก่อนจะเดินธุดงค์ไปในหลายจังหวัด ในภาคเหนือ ภาคใต้ ประเทศพม่า ลาว เขมร อินเดีย

    พ.ศ.2485 พระผินะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และพระอาจารย์อีกหลายรูปที่ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์

    พ.ศ.2527 หลวงพ่อผินะจาริกธุดงค์ผ่านมาถึงวัดโบราณ บ้านสนมลาวเขาโบถส์ ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี เป็นวัดร้าง แต่มีสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ปัจจุบันกลายเป็นวัดสนมลาว และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ

    หลวงพ่อผินะ เคยปรารภกับคณะศิษยานุศิษย์ว่า สถานที่แห่งนี้มีความเหมาะสมใช้เป็นที่ละสังขาร และได้มอบหมายให้จัดสร้างเตรียมไว้ล่วงหน้า เป็นอ่างน้ำด้านล่าง ที่ใส่สังขารอยู่ด้านบน อันเป็นปริศนาธรรม หมายถึงการอยู่เหนือพ้นน้ำ ดังเช่น บัวสี่เหล่าที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวเทศนาไว้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เหนือการตาย เวียนว่ายตายเกิด สำหรับสุสานที่เก็บสังขารหลวงพ่อผินะ คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้างเจดีย์ ลักษณะคล้ายองค์พระปฐมเจดีย์ครอบไว้ สูงประมาณ 10 เมตร ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อผินะ ใต้ฐานเจดีย์เป็นน้ำ มีปลาแหวกว่าย ทุกวันจะมีสาธุชนที่ศรัทธาเลื่อมใสเดินทางมากราบไหว้สังขารหลวงพ่อผินะที่บรรจุในโลงแก้วอยู่เป็นประจำ


    หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 30
    คอลัมน์ สดจากหน้าพระ โดย เสรี สุพรรณ์นอก
    วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5447

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อผินะ ปิยธโร
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงพ่อผินะ ปิยธโร

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     

แชร์หน้านี้

Loading...