พระเครื่องหลวงปู่ดู่ หลวงปู่สี หลวงพ่อเกษม และวัตถุมงคลเกจิดังแบ่งให้บูชา Update หน้า 17

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย KonnoK, 5 มีนาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    ปิดรายการ 19. เหรียญเสมาหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
     
  2. andy_aree

    andy_aree Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +79
    ไม่ค่อยได้เข้าเวปเหรอครับ ไม่เห็นเลย แวะเข้ามาดูครับเผื่อมีองค์ถูกใจ
     
  3. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    ขอบคุณพี่andy_areeที่ติดตามกันครับ พักหลังเริ่มเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่ค่อยนำมาลงให้บูชา
    อย่างพระหลวงปู่ดู่ตอนนี้ไปแรงจนน่าตกใจครับ :'(
     
  4. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    ปิดรายการ 40. พระสมเด็จเนื้อผงผสมมวลสารเก่า สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง "พิมพ์โบราณแตกลายงา" กล่องเดิม
     
  5. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    88. เหรียญยันต์ดวง หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ปี 2526 หายากมาก


    ปิดรายการนี้ครับ

    เหรียญยันต์ดวง หลวงปู่ดู่ แท้ๆหายากมากแล้ว เหรียญนี้เป็นบล็อกธรรมดา รับประกันแท้ตลอดชีพ<!-- google_ad_section_end -->



    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00199938.jpg
      00199938.jpg
      ขนาดไฟล์:
      131.6 KB
      เปิดดู:
      131
    • 1548135.jpg
      1548135.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.9 KB
      เปิดดู:
      110
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2009
  6. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    89. เหรียญยันต์ดวง หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ปี 2526 หายากมาก


    ปิดรายการนี้ครับ

    เหรียญยันต์ดวง หลวงปู่ดู่ แท้ๆหายากมากแล้ว เหรียญนี้เป็นบล็อกธรรมดา รับประกันแท้ตลอดชีพ<!-- google_ad_section_end -->


    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00198115.jpg
      00198115.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.2 KB
      เปิดดู:
      125
    • 1535146.jpg
      1535146.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.7 KB
      เปิดดู:
      105
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2009
  7. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    90. พระสมเด็จวัดระฆัง 108 ปี พิมพ์พระประธาน

    ปิดรายการนี้ให้พี่นอกเวปครับ


    จัดสร้างเป็นอนุสรณ์ 108 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. พ.ศ.2523

    องค์นี้เป็นพิมพ์พระประธาน มีจุดที่ข้างใต้ฐาน เนื้อพระออกวรรณะเหลืองนิยม ด้านหลังประทับตราลายเซ็นต์

    รับประกันพระแท้ ตำหนิทุกอย่างตามรูป พร้อมจัดส่งด่วนให้



    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2009
  8. sean2738

    sean2738 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2008
    โพสต์:
    797
    ค่าพลัง:
    +1,754
    [​IMG]

    "มั่งมีศรีสุข" เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๓<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    ขอบคุณพี่ sean2738 สำหรับคำอวยพรปีใหม่ครับ

    ขอให้พี่ sean2738 ได้รับพรดีๆในปีใหม่นี้เช่นกัน
     
  10. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    ปิดรายการที่ 88 และ 89 เหรียญยันต์ดวง หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ปี 2526 ;38
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2009
  11. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    สรุปรายการพระที่ยังมีให้บูชา

    3. เหรียญกลมพญาวัน ๘๒ หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี 2536 มีโค๊ต พร้อมกล่องเดิม #3 ให้บูชา 350 บาท
    45. เหรียญอุดมความสุข หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย พญานาคคู่ ตอกโค๊ดชัด เหรียญสวยมาก #122 ให้บูชาองค์ละ 350 บาท
    46. เหรียญทวิธรรม หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล หลังหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ปี2528เหรียญสวยมาก #123 ให้บูชาองค์ละ 350 บาท
    49. พระผงพิมพ์ฐานบัว หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ปี 2526 เนื้อผงกัมมัฏฐาน หลัง นร หายาก แท้ ดูง่าย #135 ให้บูชา 700 บาท
    52. เหรียญแจกทานหลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พร้อมกล่องเดิม #147 ให้บูชา 150 บาท
    55. พระปิดตาจัมโบ้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปี 2535 รุ่นเพชรรุ่งโรจน์ ตะกรุดทองคำคู่ พระสวยครับ #150 ให้บูชา 500 บาท
    59. เหรียญเสมาหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดสุวรรณาราม จ.สุรินทร์ #164 ให้บูชา 150 บาท
    60. เหรียญหล่อหลวงพ่อเขียน วัดกระทิง สวยๆ #165 ให้บูชา 150 บาท<!-- google_ad_section_end -->
    68. หลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีด ออกที่วัดเมืองยะลา จ.ยะลา ปี 2539 พร้อมกล่องเดิมจากวัด #191 ให้บูชา 400 บาท<!-- google_ad_section_end -->
    77. เหรียญมงคลเกษม 83 หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง ปี 2537 พร้อมกล่องเดิม #231 ให้บูชา 300 บาท<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    79. เหรียญกลม หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง เนื้อทองแดง ปี 2538 #233 ให้บูชา 300 บาท<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    80. เหรียญยืนอันตรายาปิ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา ปี 2526 สภาพสวย #237 ให้บูชา 1,300 บาท<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    85. เหรียญ ร.5 วัดระฆังโฆสิตาราม ปี 38 กะหลั่ยทองสวยมาก #249 ให้บูชา 300 บาท<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    90. พระสมเด็จวัดระฆัง 108 ปี พิมพ์พระประธาน#289 ให้บูชา 900 บาท


    :eek: ทุกรายการไม่ต้องเพิ่มค่าจัดส่ง<!-- google_ad_section_end --> :eek:


    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  12. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    91. พระผงกัมมัฎฐาน พิมพ์หลวงปู่ทวดข้างบัว หลวงปู่ดู่ วัดสะแก หนึ่งเดียวในเวปครับ


    ลงให้หน้า 17 ครับ

    พระเนื้อผงพิมพ์นี้ถอดแบบมาจากเหรียญหลวงปู่ทวดข้างบัว ปี 2520 พระสภาพสวย พิมพ์ติดชัด หลังไม่มีตรายาง ทันหลวงปู่แน่นอนครับ



    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2010
  13. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    92. พระสมเด็จ ผงกัมมัฎฐาน หลัง ๑ด หลวงปู่ดู่ วัดสะแก พระธรรมธาตุเสด็จ แท้สวยดูง่าย


    ลงใหม่หน้า 17 ครับ



    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2010
  14. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top>93. เหรียญจอมสุรินทร์ เนื้อทองแดง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ปี 2513


    รายการนี้มีผู้บูชาแล้วครับ



    ประวัติ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่ดุลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเจ้าเมื่ออุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

    บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล "ดีมาก" แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนักประจำอยู่ที่วัดสุดทัศนารามจังหวัด อุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่ง ซื่อพร้อม ไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า "เกษมสินธุ์" ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" ไปด้วย

    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกัน คือ

    คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง
    คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)
    คนที่ 3 เป็นชาย ชื่อ แดน
    คนที่ 4 เป็นหญิง ชื่อ รัตน์
    คนที่ 5 เป็นหญิง ชื่อ ทอง

    พี่น้องของท่านตางพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวัยชรา และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปีทั้งหมด หลวงปู่ดุลย์ ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง 96 ปี

    ชีวิตของหลวงปู่ดุลย์ เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถูกำหนดให้อยู่ในเกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น เช่วยแบ่งเบาภระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นาแล้วเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าน่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้ว ยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ดุลย์ ก็มิได้หลงไหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้ามท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวชจึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านผู้มีพระคุณที่มีเมตตาชุบเลี้ยงแต่ก็ถูกท่านเหล่านั้นคัดค้านเรื่อยมา โดยเฉพาะฝ่ายบิดามารดาไม่อยากให้บวช เนื่องจากขาดกำลังทางบ้าน ไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ทั้งท่านก็เป็นบุตรชายคนโตด้วย

    แต่ในที่สุด บิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนาที่แน่วแน่ไม่คลอนแคลนของท่าน พร้อมกับมีเสียงสำทับจากบิดาว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึกหรืออยางน้อยต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาส ทั้งนี้เนื่องจากปู่ของท่านเคยบวชและได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว และคงเป็นเพราะเหตุนี้ด้วยกระมังท่านจึงมีอุปนิสัย รักบุญ เกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนบุคคลอื่น

    ครั้นเมื่อได้รับอนุญาตจากบิดามารดาเรียบร้อยแล้วอย่างนี้ ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัยอย่างเข้าสู่ความเป็นสมณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านมีอายุได้ 22 ปี โดยมีพวกตระกูลเจ้าของเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่าน เป็นผู้จัดแจงในเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดชุมพลสุทธาวาส ในเมืองสุรินทร์ โดยมี

    พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็น พระอุปัชฌาย์
    พระครูบึก เป็น พระกรรมวาจาจารย์
    พระครูฤทธิ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อแรกบวช ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงปู่แอกวัดคอโค ซึ่งอยู่ชานเมืองสุรินทร์ วิธีการเจริญกัมมัฏฐานในสมัยนั้น ก็ไม่มีวิธีอะไรมากมายนัก วิชาที่หลวงปู่แอกสอนให้สมัยนั้น คือ จุดเทียนขึ้นมา 5 เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า "ขออัญเชิญปีติทั้ง 5 จงมาหาเรา" ดังนี้เท่านั้นแต่หลวงปู่ดุลย์ก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า พยายามบริกรรมเรื่อยมาจนครบไตรมาสโดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย

    นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนทรมานร่างกายเพื่อเผาผลาญกิเลส ด้วยความเข้มงวดกวดขันการขบฉันอาหาร วันก่อนเคยฉัน 7 คำ ก็ลดเหลือ 6 คำ แล้วลดลงไปอีกตามลำดับจนกระทั่งรางกายซูบผอมโซเซ สู้ไม่ไหว จึงหันมาฉันอาหารตามเดิม ระยะนั้นก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย

    นอกจากนี้ก็ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่นเจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย เรื่องวินัยที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากาย วาจา เพื่อเป็นรากฐานของสมาธิภาวนานั้น ท่านไม่ทราบ มิหนำซ้ำ ระหว่างที่อยู่วัดดังกล่าว พระในวัดนั้นยังใช้ให้ท่านสร้างเกวียนและเลี้ยงโคอีกด้วย ท่านจึงเกิดความสลดสังเวช และเบื่อหน่ายเป็นกำลัง แต่ก็อยู่มาจนกระทั่งได้ 6 พรรษา

    เมื่อทราบข่าวว่า ที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ก็เกิดความยินดีล้นพ้น รีบเข้าไปขออนุญาตท่านพระครูวิมลศีลพรต ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เพื่อไปศึกษา แต่ก็ถูกคัดค้านกลับมา ท่านมิได้ลดละคามพยายามไปขออยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งพระอุปัชฌาย์เห็นว่าท่านมีความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้ไปได้โดยมีครูและครูดิษฐ์ไปเป็นเพื่อน

    เมื่อแรกไปถึงจังหวัดอุบลฯ นั้น เขาไม่อาจรับท่านให้พำนักอยู่ที่วัดธรรมยุตได้เพราะต่างนิกายกัน แม้จะอนุมัติให้เข้าเรียนได้ก็ตาม ดังนั้น ท่านจึงต้องไปอยู่วัดหลวงซึ่งการบิณฑบาตเป็นไปได้ยากเสียเหลือเกิน พอดีหลวงพี่มนัส ซึ่งเดินทางไปเรียนก่อน ได้แวะไปเยี่ยมทราบความเข้า จึงพาท่านไปฝากอยู่อาศัยพร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรมไปด้วยที่วัดสุทัศนาราม แต่เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรมยุตจึงไม่อาจให้ท่านอยู่ที่วัดได้ด้วยเหตุผลที่น่าฟังว่ามิได้รังเกียจ แต่เกรงจะเกิดผลกระทบต่อความเข้าใจอันดีระหวางผู้บริหารการคณะสงฆ์ของนิกายทั้งสอง

    อย่างไรก็ดี ด้วยเมตตาธรรม ทางวัดสุทัศน์ ได้แสดงความเอื้อเฟื้อด้วยวิธีการอันแยบคาย โดยรับให้ท่านพำนักอยู่ในฐานะพระอาคันตุกะผู้มาเยี่ยมเยือน แต่อยู่นานหน่อยความเป็นอยู่ของท่านจึงค่อยกระเตื้องขึ้น คือเป็นไปได้สะดวกบ้าง

    ท่านพยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเต็มสติกำลัง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยกรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ นับว่าท่านได้บรรลุปณิธานที่ได้ตั้งไว้ ในการจากบ้านเกิดเมืองนอนไป ศึกษาต่อ ณ ต่างแดนแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะการคมนาคมระหว่าง สุรินทร์-อุบลฯ ในสมัยนั้นเป็นไปโดยยากจนนับได้ว่าเป็นต่างแดนจริงๆ

    ต่อมาท่านได้พยายามอย่างยิ่งที่จะญัตติจากนิกายเดิมมา เป็นธรรมยุตติกนิกาย แต่ทางคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยเฉพาะพระธรรมปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลในขณะนั้น ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระนักบริหารผู้มีสายตาไกลและจิตใจกว้างขวาง ได้ให้ความเห็นว่า "อยากจะให้ท่านศึกษาเล่าเรียนไปก่อนไม่ต้องญัตติ เนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุตมีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนาศึกษาพระปริยัติธรรมที่จังหวัดสุรินทร์บ้านเกิดของท่าน ให้เจริญรุ่งเรือง เพราะถ้าหากญัตติแล้วเมื่อท่านกลับไปสุรินทร์ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัดสุรินทร์เลย"

    แต่ตามความตั้งใจของท่านเองนั้น มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรมจึงได้พยายามขอญัตติต่อไปอีก

    ในกาลต่อมา นับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ ท่านมีโอกาสได้คุ้นเคยกับ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านรับราชการครู ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์สิงห์ได้ชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้ช่วยเหลือท่านในการขอญัตติ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ

    ดังนั้น ใน พ.ศ. 2461 ขณะเมื่ออายุ 31 ปี ท่านจึงได้ญัตติจากนิกายเดิมมาเป็นพระภิกษุในธรรมยุตติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ถ้าหากจะนับระยะเวลาที่ท่านไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ในฐานะพระอาคันตุกะ จนกระทั่งได้รับเมตตาอนุญาตให้ได้ญัตติก็เป็นเวลานานถึง 4 ปี รวมเวลาที่ดำรงอยู่ในภาวะของนิกายเดิมก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี

    จากการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและพิจารณาข้อธรรมะเหล่านั้นจนแตกฉานช่ำชองพอสมควรแล้ว ก็เห็นว่าการเรียนปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้นเป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ผลและได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหน่ายและท้อถอยในการเรียนพระปริยัติธรรมและมีความสนใจโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธรรม ทางธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่

    นับว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดุลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเองท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายอารัญญวาสี ได้เดินทางกลับจากธุดงค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ข่าวที่พระอาจารย์มั่นมาจำพรรษา ที่วัดบูรพานั้นเลื่องลือไปทุกทิศทาง ทำให้ภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์ และประชาชนแตกตื่นฟื้นตัวพากันไปฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น

    หลวงปู่ดุลย์กับอาจารย์สิงห์ 2 สหายก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ ไม่ขาดแม้สักครั้งเดียว นอกจากได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ มีความหมายลึกซึ้งและรัดกุมกว้างขวาง ยังได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ที่งดงามน่าเลื่อมใสทุดอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจคำพูดแต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีฯ

    ครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุ 2 รูป คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมกับหลวงปู่ดุลย์ จึงตัดสินใจสละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไปทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น

    ตามธรรมเนียมธุดงค์กัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่นมีอยู่ว่า เมื่อถึงกาลเข้าพรรษาไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกกันไปจำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นถ้ำ เป็นเขา โคนไม้ ป่าช้า ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไรตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล แต่ละคณะ

    เมื่ออกพรรษาแล้ว หากทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ ณ ที่ใดพระสงฆ์ก็พากันไปจากทุกทิศทุกทางมุ่งไปยัง ณ ที่นั้นเพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานและเล่าแจ้งถึงผลการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมีอันใดผิดพระอาจารย์จัดได้ช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้วท่านจักได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานยิ่งๆ ขึ้นไป

    ดังนั้น เมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือ พรรษาแรกแห่งการธุดงค์ของท่าน คณะหลวงปู่ดุลย์ จึงพากันแยกจากท่านพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมติทำเป็นสำนักวัดป่า เข้าพรรษาด้วยกัน 5 รูป คือ

    ท่านพระอาจารย์สิงห์
    ท่านพระอาจารย์บุญ
    ท่านพระอาจารย์สีทา
    ท่านพระอาจารย์หนู
    ท่านพระอาจารย์ดุลย์ อตุโล (คือ ตัวหลวงปู่เอง)

    ทุกท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด ครั้งนั้น บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

    ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษาก็ปรากฏว่า อาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาลกันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มีความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละ จนกระทั่งองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพลงในกลางพรรษานั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมิกอย่างน่าเวทนา

    สำหรับหลวงปู่ดุลย์ ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี จึงตัดเตือนตนว่า "ถึงอย่างไร ตัวเราจักไม่พ้นเงื้อมมือของความตายในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด" จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตาย ตั้งสติให้สมบูรณ์พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือ มีมรณัสสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ไปด้วยโดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่กำลังคุกคามจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้เลย

    ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์นี้เอง การปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดุลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละ ก็ได้บังเกิดผลอย่างเต็มภาคภูมิ กล่าวคือ ขณะที่นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกมากนั้น จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบและให้บังเกิดนิมิตขึ้นมา คือ เป็นพระพุทธรูปปรากฏขึ้นที่ตัวของท่าน ประหนึ่งว่าตัวของท่านเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตต่อไปอีก แม้ขณะที่ออกจากที่บำเพ็ญสมาธิภาวนาแล้วและขณะออกเดินไปสู่ละแวกบ้านป่า เพื่อบิณฑบาต ก็เป็นปรากฏอยู่เช่นนั้น

    วันต่อมาอีกก่อนที่รูปนิมิตจะหายไป ขณะที่เดินกลับจากบิณฑบาต ท่านได้พิจารณาดูตนเองก็ได้ปรากฏเห็นชัดว่า เป็นโครงกระดุกทุกส่วนสัด วันนั้นจึงเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหารจึงอาศัยความเอิบอิ่มใจของสมาธิจิตกระทำความเพียรต่อไป เช่น เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างตลอดวันตลอดคืน และแล้วในขณะนั้นเองแสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่าน

    รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้

    1. บำเพ็ยเพียรภาวนาเป็นปกติไม่ขาดสาย ไม่เคยขาดตกบกพร่อง กลางคืนจะพักผ่อนเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
    2. ฉันมื้อเดียวตลอดมา เว้นแต่เมื่อมีกิจนิมนต์จึงฉัน 2 มื้อ
    3. มีความเป็นอยู่ง่าย เมื่อขาดไม่ดิ้นรนแสวงหา เมื่อมีไม่สั่งสม เป็นอยู่ตามมีตามเกิดเจริญด้วยยถาลาภสันโดษ (คือสันโดษ ได้อย่างไร บริโภคอย่างนั้น)
    4. มีสัจจะ พูดอย่างไรต้องทำอย่างนั้น มีความตั้งใจจริง จะทำอะไรแล้วต้องทำจนสำเร็จ
    5. สัลลหุกวุตติ เป็นผู้มีความประพฤติเบากาย เบาใจ คือ เป็นผู้คล่องแคล่วว่องไว เดินตัวตรงและเร็ว แม้เวลาตื่นนอนพอรู้สึกตัวท่านจะลุกขึ้นทันที เหมือนคนที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา
    6. นิยมการทำตัวง่ายๆ สบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง มักตำหนิผู้ที่เจ้าบทบาท มากเกินควร
    7. การปฏิสันถาร ท่านปฏิบัติเป็นเยี่ยมตลอดมา

    หลวงปู่ดุลย์ เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์ มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว ... " มาก

    ธรรมโอวาท

    สำหรับหลวงปู่ดุลย์ นั้น ท่านเล่าว่าได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สญฺญา อนตฺตา" ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เดิความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับได้แล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า

    1. จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย
    2. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์
    3. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    4. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

    แล้วท่านเล่าว่า เมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจทั้ง 4 ได้ดังนี้แล้ว ก็ได้พิจารณาทำความเข้าใจใน ปฏิจฺจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย

    คติธรรม ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ

    "อย่าส่งจิตออกนอก"
    "จงหยุดคิดให้ได้"
    "คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้ แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้"
    "คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี"

    ปัจฉิมบท

    สังขารธรรมหนึ่งอุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2430 ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉลียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้เจริญเติบโตและรุ่งเรืองมาโดยลำดับตามวัย ได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องดีงามอยู่ภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเวลานานถึง 64 พรรษา ท่านประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา เป็นเนื้อนาบุญของโลก ท่าทนเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริง ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ บัดนี้สังขารขันธ์นั้นได้ดับลงแล้ว ตาม สภาวธรรม เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526

    แม้ว่า หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทิ้งร่างกายไปแล้ว แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมเลือน


    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2010
  15. Saksit.H

    Saksit.H เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +183
    ขอจองบูชารายการนี้นะครับพี่ครับ

    ขอจองบูชารายการนี้นะครับพี่ครับ
     
  16. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574

    รับทราบการจองครับ ;aa40<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. preechaniy

    preechaniy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +2,356
    พอมีพระสังกัจจายน์ เนื้อผงฯ ของหลวงปู่ดู่ มั้ยครับ ราคาบูชาพอประมาณนะครับ.
     
  18. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574

    พระสังกัจจายน์เนื้อผง ผมยังไม่มีตอนนี้ครับ หากหาให้ได้จะแจ้งให้คุณพี่ทราบอีกทีครับ :cool:
     
  19. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    95. เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ปี 2517


    ให้บูชา 900 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว



    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->


    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%"></TD><TD class=buttonheading align=right width="100%"></TD><TD class=buttonheading align=right width="100%"></TD><TD class=buttonheading align=right width="100%"></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top>ประวัติ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2452 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลาประมาณ 21.00 น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน - นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน ท่านเป็นคนที่ 5

    สกุล "วงศ์เข็มมา" เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุล คือ ท่านขุนแก้ว และ อิทปัญญา น้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เ เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา 1 ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้ม หลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ 3 ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า "สิม" ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุ 15-16 ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิม เป็นหมอแคน

    สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่สิม อยากออกบวชคือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า "ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจ ทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช" มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาท ในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่สิมกำหนด "มรณํ เม ภวิสฺสติ" ของท่าน มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัย ของท่าน หลวงปู่สิมก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่า หลวงปู่เทศน์ครั้งใด มักจะมี "มรณํ เม ภวิสฺสติ" เป็นสัญญาณเตือนภัย จากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เมื่อท่านอายุ 17 ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม 2469 ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกต ข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจาย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์ มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยัง ไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ 2 ลำ ทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    เมื่อสามเณรสินอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับ วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธาจาโร" จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณา อสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา หลวงปู่สิมได้เล่า ประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพและว่า "นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่า กัน"

    "สมมติโลกว่าสวยว่างามสมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตาย ตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ"

    ในชีวิตสมณะของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า "โสสานิ กังคะ" คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าเหล่างานี้เอง ที่หลวงปู่สิมได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน 3-4 ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทศก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

    ปี พ.ศ. 2479 (พรรษาที่ 8) เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโมที่วัดจักราช สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของหลวงปู่สิม ขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้และเกิดชื่นชอบถูกใจ ถึงกับปรารถนาจะชวนหลวงปู่สิมไปอยู่ด้วย กับท่าน จึงเอ่ยปากขอตัวหลวงปู่สิม กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ว่า "พระองค์นี้มีลักษณะเป็นผู้มีบุญบารมี ผมจะขอตัวให้ไปอยู่ด้วยจะขัดข้องหรือเปล่า" ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของหลวงปู่สิม ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เยี่ยงท่านสมเด็จฯ นี้ ทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร จึงได้ร่วมเดินทางมากับสมเด็จฯ ที่วัดบรมนิวาส มาจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักสมเด็จฯ ทำให้หลวงปู่สิม ได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขึ้น หลวงปู่สิม อยู่รับใช้สมเด็จฯด้วยจริยา ดีเยี่ยม พร้อมกันนั้นหลวงปู่สิม ก็ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ พระธุดงค์กรรมฐานให้แก่พระเณรจำนวนมากที่มารับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่สิม
    ปี พ.ศ. 2480 ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิม ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภ ที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว ญาติโยม จึงต่างสนองตอบ คำปรารภของหลวงปู่สิม อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ โยมอาของท่าน คือนางคำไพ ทุมกิจจะ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่สิม จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2480 สำนักสงฆ์นี้ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น "วัดสันติสังฆาราม" พร้อมด้วยวัดและสำนักสงฆ์ สาขา เกิดอีก 9 แห่ง

    สำหรับ วัดสันติสังฆาราม จังหวัดสกลนครนี้ หลวงปู่สิม ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนแล้วเสร็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาฝังลูกนิมิตในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ในโอกาสเดียวกับงานอายุครบ 71 พรรษา ของหลวงปู่สิม

    หลวงปู่สิม ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิ เช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่นี้หลวงปู่สิมได้พบ หลวงปู่มั่นฯ และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น จนการปฏิบัติธรรม ของหลวงปู่สิม ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก) เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่สิมได้เดินธุดงค์ ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่ วัดโรงธรรม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีนี้ เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้พักจำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นต้น

    หลวงปู่สิม ได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคี แห่งนี้ ติดต่อกันนานถึงห้าปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึงปี พ.ศ. 2487 จึงย้ายไปจำพรรษาที่ ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 ในระหว่างนั้น หลวงปู่สิมได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่สิมได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการหยั่งพระ สัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา

    ในระหว่างออกพรรษา หลวงปู่สิม ได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย 96 ปี) โดยในปี พ.ศ. 2488 เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่สิมธุดงค์ ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะนี้ ท่านเปรียบเสมือนที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมาก สำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เนื่องจากสงคราม ปลายปี พ.ศ. 2498 เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะ กลับคืน ตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่สิม ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษา ที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้าง กับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่สิมพบกับลูกศิษย์ คนแรกที่อุปสมบทที่เชียงใหม่คือ พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัด "สันติธรรม" ซึ่งได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปี พ.ศ. 2490 เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่า เจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยง ดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืน ถิ่นฐานเดิม หลวงปู่สิม จึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่สิม ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง "วัดสันติธรรม" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธา ของสานุศิษย์

    ปี พ.ศ. 2497 โยมมารดาของหลวงปู่สิม ถึงแก่กรรม หลวงปู่สิม จึงได้เดินทาง จากเชียงใหม่ลงมาที่บ้านบัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ ไปจังหวัดนครพนมทันที เพื่อจำพรรษาที่ภูลังกา

    ช่วงปี พ.ศ. 2498-2503 หลวงปู่สิม ได้กลับไปพักจำพรรษาที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในจิตใจส่วนลึกของท่านนั้น ยังปรารภความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่างๆ อยู่ จนต้นปี พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ ไปพบ ถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่สิม จึงย้ายไปอยู่ภาวนาที่ถ้ำปากเปียงบ่อยครั้ง ด้วยเป็นที่สงบสงัดร่มรื่น ต่อมาในฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2503 ลุงติ๊บ คนบ้านถ้ำ ได้เป็นคนนำทาง พาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็กๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง ตามคำปรารภของหลวงปู่สิม ที่ว่า "กิเลสจะได้เข้าหายาก" จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่อง ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านคิดว่าจะเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวติของท่าน หลวงปู่สิม ได้ พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียงต่อ ต่อจากนั้นท่านก็ได้แวะเวียนไปพักที่ถ้ำผาปล่องอีกเสมอ

    ในปี พ.ศ. 2504 ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร (ท่านเจ้าคุณวิสุทธิธรรม รังสี) เจ้าอาวาส วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นศิษย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่นกัน ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติขอให้หลวงปู่รับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการาม ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 และในปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ได้รับการขอร้องจาก ท่านเจ้าคุณนิโรธธรรมรังษี ให้หลวงปู่ช่วยรับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่สิม จึงจำใจต้องรับเป็นเจ้าอาวาส ให้วัดป่าสุทธาวาสอยู่ 1 พรรษา โดยที่ใจจริงของท่านนั้นเบื่อหน่าย คิดอยากแต่จะออกธุดงค์อยู่เรื่อยไป

    ในระหว่าง พ.ศ. 2506-2509 หลวงปู่สิม ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่สิม หลวงปู่สิม จึงได้ตัดสินใจวาง ภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้น ท่านก็มาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องตลอดมา

    ในปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่สิม ได้เดินทางไปสังเวชนียสถานที่อินเดียและได้เดินทางไปอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2523 นอกจากนี้แล้วหลวงปู่สิม ยังได้มีโอกาส เดินทางไปที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตลอดถึงทวีปยุโรป และอเมริกาอีกด้วย

    หลวงปู่สิม ท่านมีความขยันและตั้งใจมั่นตั้งแต่เด็กดังเช่น พระอาจารย์ศรีทอง (พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งเป็นมหานิกาย) ได้เล่าว่า ครั้งเมื่อทางวัดมีการขุดสระ สามเณรสิมก็ไปช่วยขุดและขุดจนกระทั่งใครต่อใครเขาทิ้งงานไปหมด เนื่องจากขุดลงไปลึกถึงสิบเอ็ดสิบสองวาแล้ว ก็ยังไม่มีน้ำ เมื่ออุปัชฌาย์ถามว่า "จะขุดไปถึงไหนกัน" สามเณรสิมตอบว่า "ขุดไปจนสุดแผ่นดินนั่นแหละ" ปฏิปทาของหลวงปู่สิม ที่แสดงถึงความมีเมตตาอย่างล้นเหลือต่อลูกศิษย์ ได้แสดงให้เห็นอยู่เนืองๆ หลวงปู่สิม ปกครองพระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่น ใกล้ชิดเหมือนพ่อดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจลูกศิษย์ (คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์) ภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธ หลวงปู่สิม จะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่างจนกระทั่ง ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ครั้งหนึ่งเณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิตัวเหลืองซูบซีดผอม เพราะฉัน อาหารไม่ได้เลย "แม่ไล" ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโมโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่สิม ซึ่งนั่งเฝ้า อยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า "วันพรุ่งนี้เถอะเน้อ ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน" งานพัฒนาชุมชนที่นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ของหลวงปู่สิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส และผลงานก็ได้ก่อประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ แก่ชาวบ้านเกษตรกร ก็คือ งานสร้างฝายน้ำล้น ลำน้ำอูน ที่ท่าวังหิน ซึ่งก็คือบริเวณ สำนักสงฆ์เวฬุวันสันติวรญาณ ในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2521 ภายหลังจำพรรษา ที่วัดสันติสังฆาราม หลวงปู่สิม ก็ได้รับอาราธนาจากชาวบ้านทั้ง 4 ตำบล ใน 2 เขตอำเภอ ให้มาเป็นประธานในการสร้างฝายน้ำล้นกั้นลำน้ำอูน งานสร้างฝายน้ำล้นชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของหลวงปู่สิม เด่นชัดมาก ในเรื่องความเป็นผู้เอาใจใส่ และรับผิดชอบในภารกิจ เมื่อที่ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเห็นควรจะเริ่มงานกันวันใหม่ หลวงปู่สิม ก็ว่าให้เริ่มงานกันวันนี้เลย

    หลวงปู่สิม เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่ตี 4 ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นพอ 10 โมงเช้า จึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา 1 ทุ่ม หลวงปู่ก็จะพาสวดมนต์และฟังเทศน์ เสร็จแล้ว ก็เริ่มท้ิงหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็ 4 ทุ่ม หรือบางวัน งานจะติดพันจนถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่สิม จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง

    หลวงปู่สิม ได้รับสมณศักดิ์ "พระครูสันติวรญาณ" ในวันที่ 5 ธันวาคม 2502 และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ "พระครูสันติวรญาณ" เป็น "พระญาณสิทธาจารย์" ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 และในคืนวันที่ 13 สิงหาคม 2535 พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. แล้วท่านก็นั่งพักดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ 20 นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา 22.00 น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2009
  20. KonnoK

    KonnoK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +574
    96. เหรียญรุ่นพิเศษ หลังพระปิดตา เนื้อทองแดง หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ปี 2517


    ให้บูชา 800 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว



    รับประกันความพอใจ 7 วัน / สอบถามได้ที่หมายเลข 081-816-5848
    โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 089-2-21135-5/ ธ.กสิกรไทย/ นายวิวัฒน์ อมรรัตนพันธ์
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...