เหตุให้จิตเกิดดับ ที่ถอดจากเสียงหลวงปู่ดูลย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 25 กันยายน 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ท่านสอนดีจริงๆ ครับ หากสั่งสมบารมีมามากก็เห็นได้ทันทีเลย
    ความตอนหนึ่งของธรรมะเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ทั้งหมด
    ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติดังนั้น ด้วยอํานาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลายส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่าจิต จึงมี สํานักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทํางานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึก นึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย [FONT=CordiaNew+1][FONT=CordiaNew+1](ของ[FONT=CordiaNew+1][FONT=CordiaNew+1]) [/FONT][/FONT]ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วยชีวิตแท้[FONT=CordiaNew-Bold+1][FONT=CordiaNew-Bold+1]-[/FONT][/FONT]รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว[FONT=CordiaNew+1][FONT=CordiaNew+1]-[/FONT][/FONT]เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้[FONT=CordiaNew+1][FONT=CordiaNew+1]-[/FONT][/FONT]รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม[FONT=CordiaNew+1][FONT=CordiaNew+1]-[/FONT][/FONT]รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจาก กรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน[/FONT][/FONT]


    สรุป จิตเกิดดับไม่ได้หมายความว่าจิตตายก็เท่านั้น
    ขอท่านทั้งหลายเจริญในธรรมครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมไม่ชอบเสพครับ ล้อเล่น555+

    <DD>เพื่อสนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับบาทฐานของวิปัสสนาที่กำลังจะพูดกันนี้ จึงใคร่ขอยกหลักฐานจากยุคนัทธวรรค ซึ่งมีมาในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย แห่งปฏิปทาวรรค ฉบับฉัฏฐะ หน้า ๔๗๕ ข้อ ๑๗๐ แล้วแก้ด้วยอรรถกถาชื่อ "มโนรถปูรณี ฉบับ ฉัฏฐะ" ภาค ๒ หน้า ๓๔๖ ข้อ ๑๗๐ และขยายด้วยอังคุตตรฎีกาชื่อ "สารัตถมัญชุสา" ภาค ๒ หน้า ๓๔๔ ข้อ ๑๗๐ ว่า (เพราะบางฉบับอ่านแล้วทำให้ตัวผมเข้าใจผิด)</DD><DD><CENTER>บาลีตอนที่ ๑</CENTER><DD>อิธ อาวุโส ภิกฺขุ สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ, ตสฺส สมถปุพฺพงฺคมิ วิปสฺสนํ ภาวยโต มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรติ. ตสฺส มคฺคํ อาเสวโต ภาวยโต พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียติ, อนุสยา พฺยนฺติ โหนฺติ. <DD>


    <CENTER>ความว่า
    </CENTER>

    <DD>ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อเธอทำวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นให้เจริญอยู่ มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญบำเพ็ญให้มากขึ้น เมื่อเธอ(ไม่ยอมลดละ) ปฏิบัติเจริญ บำเพ็ญมรรคนั้นให้มากๆ เธอย่อมละสังโยชน์เสียได้ อนุสัยทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นโทสชาติที่มอดไหม้หมดไปฯ


    ข้อที่ควรสังเกตในข้อที่ ๑ นี้ ก็มีอยู่ว่า การเจริญวิปัสสนาในแบบที่ ๑ นี้ เป็นการเจริญสมาธิให้เกิดขึ้นก่อนแล้วจึงเจริญปัญญาให้เกิดต่อภายหลัง แต่ถ้าขืนเจริญแต่สมาธิเรื่อยไปโดยไม่เปลี่ยนอารมณ์ด้วยการออกจากฌานสมาธิแล้ว รับรองว่าวิปัสสนาปัญญาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย ไม่ต้องดูอื่นไกล ขอให้ดูดาบสทั้งสองที่เป็นอาจารย์สอนพระพุทธองค์ตอนเมื่อก่อนตรัสรู้เถิด ปรากฏว่าท่านดาบสทั้งสองไม่อาจทำวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการอาศัยสมาธิแบบนั้นเป็นบาทฐาน ผลที่สุดก็ต้องตายจากโลกนี้ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นอรูปภพ ซึ่งมีอายุยืนถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เป็นตัวอย่างฯ


    <DD><CENTER>บาลีตอนที่ ๒ </CENTER><DD>ปุน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ, ตสฺส วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาวยโต มคฺโค สญชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ.



    <CENTER>ความว่า
    </CENTER>

    <DD>ผู้มีอายุ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเจริญสมถะ ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อเธอทำสมถะ อันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ทำให้เกิดอยู่ มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญ บำพ็ญมรรคนั้นให้มากขึ้น เมื่อเธอปฏิบัติเจริญ บำเพ็ญมรรคนั้นให้มากๆ เธอก็ย่อมจะละสังโยชน์ทั้งหลายเสีย อนุสัยทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้หมดไปฯ


    ส่วนคำของอรรถกถาท่านหมายความง่ายๆ ว่า ได้วิปัสสนาแล้วแต่อยากได้ฌานก็ทำฌานให้เกิดขึ้นเท่านั้น เราก็พอจะถือเอาความได้ว่า พระอริยะผู้ที่เป็นวิปัสสนาลาภี คือ ผู้ที่ได้วิปัสสนาจนเป็นพระโสดา - สกทาคามี -อนาคามี และพระอรหันต์แล้ว แต่ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลังจนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อย่าง นี้เรียกว่า ทำสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นฯ




    <CENTER>บาลีตอนที่ ๓ </CENTER><DD>ปูน จปรํ อาวุโส ภิกฺขุ สมถวิปสฺสนํ ยุคนทธฺ ภาเวติ ตสฺส สมถวิปสฺสนํ ยุคนฺธํ ภาวยโต มคฺโค สญฺชายติ, โส ตํ มคฺคํ อาเสวติ ภาเวติ หุลีกโรโต สํโยชนานิ ปหียนฺติ, อนุสยา พฺยนฺติ โหนฺติ.




    <CENTER>ความว่า
    </CENTER>

    <DD>ข้ออื่นยังมีอยู่อีกผู้มีอายุ ภิกษุผู้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิดพร้อม เธอปฏิบัติเจริญ กระทำมรรคนั้นให้มาก เมื่อเธอปฏิบัติเจริญ(และ) ทำมรรคนั้นให้มาก สังโยชน์ทั้งหลายก็ย่อมถูกละเลยไป อนุสัยทั้งหลายย่อมเป็นธรรมที่มอดไหม้หมดไปฯ <DD>


    <DD>ข้อสังเกตตามที่พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์อธิบายมา จะเห็นได้ว่าเป็นการยากที่เราจะไปตีความเอาโดยพลการ เพราะถ้าไม่ตรงต่อคำอธิบายของท่านแล้ว แทนที่จะเป็นการช่วยกันเผยแผ่พระพุทะศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป กลับจะเป็นการช่วยกันทับถมคำสอนของท่านให้เสื่อมสูญลงโดยไม่รู้ตัว



    <DD>ดังนั้นท่านผู้ที่รักจะช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะอธิบายอะไรก็ควรที่จะตรวจตราดูเสียให้เรียบร้อยก่อน เพราะการบรรยายธรรมเป็นการแนะแนวในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เพื่อให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ซึ่งไม่เหมือนกับการ้องเพลงที่จะชวนให้คนฟังเกิดแต่กิเลสเป็นความเศร้าหมองอย่างเดียว




    <DD>ถ้าเราจะสรุปความในท่อนที่ ๓ ที่ท่านได้อธิบายมา เราก็พอจะจับใจความของท่านได้ว่า ในการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปนั้น ที่จริงก็คือ การเจริญสมะจนได้ฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จึงจะพิจารณาสังขารต่อไป จนกว่าจะเกิดมรรคนั่นเอง




    <DD>เพราะท่านปฏิเสธไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักปฏิบัติคนใดดอก ที่จะสามารถเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นแล้วก็พิจารณาสังขารด้วยจิตดวงนั้นได้ <DD>ข้อมูลโดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)

    วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

    <DD>กราบอนุโมทนาครับหลวงพ่อ<DD>


    ปล. ธรรมทั้งหลายอันเป็นธรรมแห่งพระศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดม เป็นธรรมแห่งการปฏิบัตินะครับ ไม่ใช่แห่งการเสพ ขอท่านที่สนใจใฝ่ธรรมเข้าใจไว้ดังนี้ครับ
    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ฝากไว้ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑

    อย่าปล่อยให้จิตปรุงแต่งมากนัก
    ข้อสำคัญ ให้รู้จัก...จิต...ของเราเท่านั้นเอง
    เพราะว่าจิตคือ "ตัวหลักธรรม"
    นอกจากจิตแล้ว ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
    ภาวนามากๆ แล้วจะรู้ถึงความเป็นจริง
    เท่านั้นเอง...ไม่มีอะไรมากมาย...มีเท่านั้น

    เปล่า...เปล่า...บริสุทธิ์

    พุทโธเป็นอย่างไร
    หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า พุทโธ เป็นอย่างไร
    หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า
    เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมดแล้วก็ภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆเข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา
    ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั้นแหละ เป็นความรูที่ลึกซึ้งที่สุด ให้มันออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือ จิตมันสงบ
    ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา
    เราจะได้รู้จักว่า
    พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร
    แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย
    (ถอดจากเทป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2009
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ปรารภธรรมะให้ฟัง

    จบพระไตรปิฏกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากหลาย พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง มีคนเคารพนับถือมาก ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ละเอียดแค่ไหนก็ตาม "ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นับว่ายังไม่ได้รับรสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของภายนอกทั้งนั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ภายนอก คือ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์ อนุชนรุ่นหลัง หรือเป็นสัญญลักษณ์ของศษสนวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น คือ ความพ้นทุกข์"

    "จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง"

    คำว่าจิตหนึ่งนี้หากข้าพเจ้าจักตีความ ข้าพเจ้าหมายเอาลักษณะของจิตชนิดหนึ่งที่ไม่มีการปรุงแต่งแต่อย่างใด หาใช่ จิตหนึ่งเดียวหรือดวงเดียวไม่แต่อย่างใด

    กราบสักการะองค์หลวงปู่ ด้วยเคารพศรัทธายิ่ง
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พระพุทธพจน์

    หลวงปู่ว่า ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ตราบนั้นย่อมมีทิฏฐิและเมื่อมีทิฏฐิแล้วยากที่จะเห็นตรงกัน เมื่อเห็นไม่ตรงกัน ก็เป็นเหตุให้โต้เถียงวิวาทกันอยู่ร่ำไป สำหรับพระอริยะเจ้าผู้เข้าถึงธรรมแล้วก็ไม่มีอะไรสำหรับมาโต้แย้งกับใคร ใครจะมีทิฏฐิอย่างไรก็ปล่อยเป็นเรื่องของเขาไป ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่ สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่วิวาทโต้เถียงกับโลก แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา"

    หมายเหตุ ข้าพเจ้าตีความคำว่าบัณฑิตทั้งหลายหมายถึงผู้รู้ผู้เห็นธรรมทั้งหลาย อันมีพระอริยะสงฆ์องค์อรหันต์ทั้งหลาย
    (แต่โดยความเป็นจริงแล้ว พระอริยะสงฆ์ขั้นอื่นก็เห็นและทราบเช่นกันแต่ไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งเท่าพระอรหันต์ เพราะยังมีมลทินอยู่บ้าง)
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่เบียดเบียนแม้ทางวาจา

    หลวงปู่กล่าววาจาบริสุทธิ์ เพราะท่านกล่าวเฉพาะวาจาที่เป็นประโยชน์ และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะคำพูดของท่านแม้จะมีผู้ใดมาพูด เป็นเหตุที่จะชวนให้ท่านวิพากษ์วิจารณ์ใครๆ ให้เขาฟังสักอย่าง ท่านก็ไม่เคยคล้อยตามฯ
    หลายครั้งที่มีผู้ถาม ถามท่านว่า หลวงปู่ ทำไมพระนักพูดนักเผยแผ่ระดับประเทศ บางองค์เวลาพูดหรือเทศน์ชอบพูดโจมตีคนอื่น พูดเสียดสีสังคม หรือพูดกระทบกระแทกพระเถระด้วยกัน เป็นต้น พระพูดในลักษณะนี้ จ้างผมก็ไม่นับถือดอกฯ
    หลวงปู่ว่า
    "ก็ท่านมีภูมิรู้ ภูมิธรรมอยู่อย่างนั้น ท่านก็พูดไปตามความรู้ความถนัดของท่านนั่นแหละ การจ้างให้นับถือไม่มีใครเขาจ้างหรอก เมื่อไม่อยากนับถือ ก็อย่าไปนับถือซิ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก"
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ดูลย์กล่าวเตือน

    บางครั้งหลวงปู่แทบจะรำคาญกับพวกที่ปฏิบัติเพียงไม่กี่มากน้อยก็มาถามแบบเร่งผลให้ทันตาเห็นฯ
    หลวงปู่ท่านกล่าวเตือนว่า

    "การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อคลาย ความกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมานหรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงรู้เอง"

    กราบสักการะหลวงปู่ครับ
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ขาว อนาลโย ตอบปัญหาธรรมตอนหนึ่ง

    ผู้ถาม:
    กราบเรียนถามหลวงปู่บ้างเล็กน้อย ขอประทานโทษด้วยที่มารบกวนเวลาและธาตุขันธ์ปู่ เรื่องที่น่าสงสัยมีอยู่ว่า เมืองไทยเราเป็นเมืองพุทธศาสนา คนนับถือศาสนาพุทธอย่างน้อย 80% แต่ผลที่แสเงออกทุกสถานที่กาลเวลา มีแต่ผลลบที่ขัดแย้งกับคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ละวันเวลาแสดงออกแต่สิ่งไม่ดี เช่นการ ปล้นจี้ ล้วงกระเป๋า ตระบัด ยักยอก ตีชิงวิ่งราว คดโกง รีดไถร้อยแปด ล้วนเป็นของไม่ดีและขัดต่อศีลธรรมของชาวพุทธ จึงทำให้สงสัยว่า การนับถือศาสนานั้นนับถืออย่างไรกัน เรื่องถึงได้เป็นอยู่อย่างนี้ จะแก้ไขอย่างไรจึงจะตรงกับเป้าหมายของพุทธศาสนาที่มุ่งหมายให้ผู้นับถือเป็นคนดีมีความสงบสุขทั่วหน้ากัน กรุณาปู่ช่วยเมตตาชี้แจงด้วย

    หลวงปู่ตอบ:
    คำว่านับถือศาสนากับการปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมนั้นมันต่างกันหลาน การนับถือนั้นคือความยอมรับว่าดี ไม่ขัดไม่แย้งไม่แข่งดีแข่งเด่น ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ความเทิดทูนไว้บนหัวหรือบนเศียรเกล้าแม้จะปฏิบัติตามไม่ได้ แต่ก็ไม่นำกิริยาที่แข็งกระด้างอวดอ้างว่าตัวดีตัวเก่งเข้าไปกล้ำกรายศาสนา ยกศาสนาไว้บูชาบนหัวใจอยู่เสมอนี่เรียกว่าความนับถือศาสนา ส่วนการปฏิบัตินั้น คือ การปฏิบัติตามหลักศีล หลักธรรม ด้วยกายวาจาใจ ไม่ล่วงเกินฝ่าฝืนหลักของศีลธรรมที่ห้ามไว้ ปฏิบัติตามสิ่งที่ศาสนา อนุญาตเท่านั้น เช่น อุบาสก อุบาสิกา และ พระ เณร ผู้ตั้งใจปฏิบัติรักษาศีลธรรมกันจริงจัง ท่านปฏิบัติตามจริงๆ ไม่ล่วงเกินฝ่าฝืนสิกขาบทน้อยใหญ่ใดๆ ทั้งสิ้นท่านเคารพแทนองค์ศาสดาผู้ประสาทศาสนธรรมไว้นี้เรียกการ ปฏิบัติ

    การนับถือแต่มิได้ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม คนเรา ย่อมหลวมตัวทำในสิ่งนอกเหนือศีลธรรมได้ดังที่รู้ๆ เห็นๆ กันอยู่ นั่นคือเขามิได้ปฏิบัติศีลธรรม เป็นเพียงนับถือเฉยๆ เช่นเวลาเดินผ่านหน้าวัด หรือมองเห็นพระก็ยกมือไหว้เสียทีแล้วเดินผ่านไป มิได้ตั้งหมัดตั้งมวยวางลวดลายเสือโคร่งเสือดาวใส่ท่าน อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม กิริยาที่เขายกมือไหว้เป็นต้นเรียกว่าแสดงความนับถือ คนที่นับถือศาสนาแม้พกอาวุธเต็มตัวเดินผ่านวัดเขายังนั่งลงยกมือไหว้พระก่อนผ่านไป แต่กิริยาแห่งการนับถือนั้นมิได้ลบล้างความไม่ดีที่เขาจะทำและกำลังทำอยู่ได้เลย เพราะมิใช่กิริยาที่แสดงออกเพื่อความลบล้าง เขาเพียงยอมรับนับถือเท่านั้นไม่ได้ปฏิบัติตามศาสนา ฉะนั้น เรื่องความเลวร้ายทั้งหลายมีการปล้นจี้เป็นต้น จึงมีอยู่ตามปกติและอาจเพิ่มมากขึ้นตามคนประเภทนี้มีมากและความคล่องตัวแห่งการกระทำ ส่วนการปฏิบัติตามหลักศีลธรรมนั้นจะไม่มีเรื่องเลวร้ายนี้เกิดขึ้นเลยแม้เรื่องย่อยๆ นอกจากความผิดพลาดที่ไม่มีเจตนาเท่านั้นซึ่งอาจมีได้เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย เช่น ยางระเบิดกลางทางขณะที่รถวิ่งสวนกันมาหรือรถที่ตามหลังมาติดๆ ห้ามล้อไม่อยุ่ หรือระเบิดในที่ชุมชนและรถรามากย่อมมีทางผิดพลาดและเกิดเหตุการณ์ได้ไม่เลือกกาลสถานที่นอกจากเหตุสุดวิสัยแล้วผู้ปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมจะไม่ทำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...