สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา..จะเป็นสมาธิได้อย่างไร!?หลวงปู่ดาบส สุมโน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 กันยายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    คำสอนหลวงปู่ดาบส สุมโน
    สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?


    [​IMG]

    สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา...

    ผู้ถาม :
    ...สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?


    หลวงปู่ :
    ...เป็นสมาธิได้ ได้ดังนี้ ขั้นต้นน้อมใจหมายเข้าหาธรรมที่สงบที่ละเอียดประณีต การน้อมใจหมายถึงโน้นใจนี้นี่แหละ เป็นตัวสมาธิชี้ชัดอยู่แล้ว จะว่าใจเคลื่อนเข้าหาความสงบความละเอียดและความประณีต หรือมีทุกข์มีสังขารเป็นที่สิ้นไปก็ไม่ใช่ การโน้นใจถึงหรือโน้มใจหาธรรมชาติที่สงบละเอียดประณีตนี้นี่เอง อารมณ์อื่นๆ คืออารมณ์นึกอารมณ์คิด ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เหมือนถูกตัดตอนย่อมสงบไปเอง นอกจากอารมณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานี้สงบไปเองแล้ว ความยึดถือเกาะกำที่เป็นเสมือนรากยึดอันลึกเข้าไปที่มีอยู่ ก็จะถูกถอนออกตามไปด้วย เพราะการน้อมเข้านำออกมีทั้งส่วนตื้นและส่วนลึก ที่ยึด คือ เกาะกำชื่อว่าเป็นส่วนลึก อารมณ์นึกคิดชื่อว่าส่วนตื้น...
    ...สมาธิแบบนี้แม้ไม่มีอารมณ์ภาวนา ไม่ต้องทำอารมณ์ แต่ก็เหมือนมีเหมือนทำ เพราะมีการกระทำภายในใจแทน และความหมายก็ไปอีกอย่างหนึ่ง การทำสมาธิทั่วไปส่วนมาก เปรียบเหมือนการทำการผูกมัดวัวควายให้อยู่กับหลัก แต่อบบนี้จะเหมือนการทำการปลดปล่อยวัวควายที่ถูกผูกมัดอยู่กับหลักให้ออกจากหลักไป พร้อมทั้งถอนหลักที่เป็นหลักผูกล่ามทิ้ง เลิกสิทธิ์เป็นเจ้าของวัวควายต่อไป...
    ...ผู้ผูกมัดก็คือการทำ ผู้ปลดปล่อยก็คือการทำ เป็นผู้ทำเหมือนกัน แต่ทำกันไปคนละแบบ คนละความหมาย เมื่อทำการปลดปล่อยอารมณ์ จิตว่างใจว่าง หรืออารมณ์สงบใจผ่องใสดังแก้วมณีไม่มีรอยแล้ว อะไรเล่าที่เป็นของหยาบ จะเข้ามาจับต้องหรือปลิวมาติดมาค้างได้...
    ...ถ้าจะมีการย้อนถามอีกว่า การทำสมาธิแบบนี้เปรียบเหมือนทำการปลดปล่อยวัวควายที่ผูกมัดไว้แล้ว ในที่นี้ก็หมายถึง วัวควายที่ถูกผูกมัดไว้แล้วนั้นเอง วัวควายก็หมายถึงจิตที่ไปแล้วในอารมณ์ ต่างมีรูปอารมณ์เป็นต้น อันรู้ได้ยากเห็นได้ยาก แต่จิตจริงๆ แล้วไม่ได้ไปอย่างนั้น นั่นมันเป็นเพียงอารมณ์จิตที่กระจายออกไปคว้านั่น จับนี่วุ่นวายไป เมื่อเราทำในจิตปล่อยวางความนึกคิดออกไปเราก็รู้ว่าต้นตอจิตที่แท้มันอยู่ภายในนี่เอง ตัวที่มีอยู่ภายในนี้มันถูกมัดถูกล่ามอยู่แล้ว คือไปมัดติดอยู่กับอารมณ์ต่างๆ หย่อนยานบ้าง เคร่งเครียดบ้าง เราเมื่อมารู้ว่าจิตนี้มันถูกมัดถูกผูกล่ามอยู่กับอารมณ์อยู่ตลอดเวลามาแล้ว เราก็ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดอีก เพราะฉะนั้นการทำสมาธิในแบบนี้ จึงตัดปล่อยทั้งต้น แล้วทั้งปลายไปทั้งหมดเลย ทำไม่ให้มีที่ภายในทั้งภายนอกทั้งต้นทั้งปลาย สมาธิแบบนี้เป็นสมาธิย่อและรวบยอด เป็นองค์มรรค 8 หรือทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อม ที่ตั้งไม่มี ภพก็ขาดไป ชาติชรา พยาธิก็ขาดไป บาปกรรม นรก อบาย ก็ขาดไป ทุกทั้งหลายทั้งปวงขาดไปเพราะจิตสงบจากสังขาร ข้ามพ้นล่วงแดนฯ...


    [​IMG]

    ผู้ถาม :
    ...จิตที่คลายอารมณ์ สละวางทุกสิ่งไม่เกาะอะไรแล้ว จิตจะยังมีรู้อะไรอยู่บ้างหรือไม่?


    หลวงปู่ :
    ...ถ้าเข้านิโรธสมาบัติในขั้นสุด ความเสวยอามรณ์ไม่มี เพราะสัญญาความจำดับ แต่ถ้าไม่เข้านิโรธสมาบัติดังกล่าว ยังคงมีความรู้อยู่ แต่อยู่ในห้วงแห่งความสงบ เหนือความนึกคิด และรู้เต็มเปี่ยมหรือเต็มรอบเป็นรู้มีใรทุกขุมขน ถ้าจะเปรียบก็เหมือนน้ำมีอยู่เต็มสระใหญ่ทั้งซึบซาบไปตามบริเวณรอบๆ ด้วยฉะนั้นฯ...


    [​IMG]

    ถาม :
    ...จิตที่ไม่มีนอกไม่มีในไม่มีที่ตั้ง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร จิตจะอยู่ในแบบใด?


    หลวงปู่ :
    ...จิตจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง เหมือนฟ้าไม่ต้องอาศัยแผ่นดินหรือดวงดาวอะไรๆ ทั้งนั้นแต่จะพูดว่าอาศัยธรรมนั้นก็ได้อยู่ จะเปรียบให้ฟังง่าย ทารกน้อยแรกเกิดมา ไม่อาจนั่งยืนเดินได้ เอาเพียงจะพลิกคว่ำพลิกหงายในที่นอนอยู่ก็ทั้งยาก หมายความว่า เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ซิ นั่งนอนยืนเดินหรือจะทำอะไรก็ย่อมทำได้ คือหมายความว่า เป็นตัวของตัวเองได้ อุปมาเปรียบนี้ก็ฉันนั้น...


    ถาม :
    ...การทำสมาธิแบบนี้ เราจะเริ่มต้นที่ไหนหรือทำอย่างไร?


    หลวงปู่ :
    ...เริ่มต้นที่ใจเรานี่แหละทันที ไม่ต้องรอเวลาหรือมีพิธีอะไร จะอยู่ป่า อยู่โคนไม้ ศาลาว่าง กุฏิ นั่ง นอน ยืน เดิน แม้ไปในยามหลับตาทำหรือลืมตาทำก็ได้ ขอแต่ว่าปลอดภัยและไม่มีโทษ และมีความจริงใจที่จะทำฯ...


    [​IMG]

    ถาม :
    ...ถ้าทำจิตให้สงบว่างจากอารมณ์นึกคิดไม่ได้ ตามแบบข้างต้น จะมีวิธีใดบ้างที่เป็นมูลฐานช่วยให้จิตสงบมีความว่างแจ่มใสได้?


    หลวงปู่ :
    ...มีเหมือนกัน คือให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นอารมณ์ หยุดอยู่ในที่หนึ่งเสียก่อน จิตรวมตัวหยุดอยู่ที่หนึ่งนี้จะเรียกว่านิมิตก็ใช่ เมื่อจิตรวมตัวเป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว แล้วเราก็เบนจิตออกจากอารมณ์หนึ่งนั้น โน้นเข้าหาความว่างความสงบทั่วรอบ ที่เรียกว่าโน้นเข้าหาฝั่งเพื่อขึ้นฝั่ง...
    ..ที่ว่าให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงนั้นเป็นต้น ว่าดูส่วนอันใดอันหนึ่งในร่างกายเราท่านหรือศพ หรือวัตถุ ขาว เขียว แดง อะไรก็ได้ แต่อย่างลืมว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีย่อตัดตรง อีกนัยหนึ่ง จะนึกถึงรูปร่างอัตภาพสังขารทั้งหลายภายในภายนอกว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไปไม่มีส่วนเหลือ จิตก็จะเข้าสู้ความสงบว่างเปล่าล่วงสังขารทั้งหลายไป เข้าถึงฝั่งพ้นทุกข์อันเป็นฝั่งพ้นทุกข์ที่เดียวกันนั้นเอง



    --------------------
    ขอขอบคุณที่มาของบทความ:นิตยสารหญิงไทยออนไลน์

    ���͹��ǧ������� �����
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    อุบายสู่ฝั่งโน้น...


    [​IMG]



    ...อุบายสู่ฝั่งโน้น ก็คือ วิธีการทำจิตทำใจ ที่เรียกว่าสมาธิ แต่สมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิไม่ต้องทำอารมณ์ ไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆ ทั้งนั้น แต่มีการทำในใจ คือ ทำในใจคลายอารมณ์เป็นการตรงกันข้ามกับการทำอารมณ์ ความหมายของการทำสมาธิแบบนี้ก็ตือ ทำให้จินสงบ ว่างจากอารมณ์นึกคิด และสิ่งที่เกาะที่ถือทั้งปวง ให้จิตเสมือนอากาศว่างไม่มีอะไรเลย แต่ไม่ใช่ไปเพ่งอากาศว่างเปล่า หรือไปนึกถึงอากาศว่างเปล่า มันว่างเปล่า มันว่างเปล่า เพราะจิตสงบปล่อยวางอารมรณ์ต่างหาก...

    ...สมาธิแบบนี้มีทั้งคลายออกและน้อมเข้าพร้อมกันไปคลายออกก็คือคลายอารมณ์นึกคิด และสิ่งที่เกาะที่ถือนั่นเองออก น้อมเข้าก็คือเขยืบจิตเข้าสู่ความสงบ เมื่อคลายออกหรือสลัดออกทิ้งไปแล้ว จิตก็ว่างได้ ความวกวุ่นเร่าร้อนและมืดมนก็จะหายไป ความหนักและความทุกข์ก็จะหายไป...

    ..ขณะที่จิตว่างนี้ เราต้องมีสติ และความรู้ตัวอยู่ด้วย ตราบใดจิตของเรายังไม่เป็นตัวของตัวเองได้ ตราบนั้นเราก็ยังจะต้องมีการคืบคลานเข้า และนำออกอยู่อีก จนกว่าจะสุดทาง ล่วงทาง คือ จิตของเรา เป็นตัวของตัวเองได้...

    ...สุดทางหรือไม่สุดทางเราจะรู้ได้เอง ไม่ต่างอะไรกับที่เราตัดทอนต้นไม้ออก ที่แรกก็ตัดทอนกิ่งใบ แล้วก็มาลำต้น แล้วก็มาตอและราก จะไปสุดลงที่รากนั่นแล..

    ...จิตเป็นตัวของตนเอง ย่อมไม่ต้องตั้งอยู่กับอะไรๆ เป็นจิตล่วงพ้นหรือล่วงแดน เป็นอยู่เองได้ ไม่อาศัยอะไรๆ อยู่ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน สงบสงัดว่างเปล่า ผ่องใส ดั่งน้ำในภาชนะปราศจากตะกอนเปือกตม หรือเหมือนผ้าขาวอันซักด้วยน้ำสะอาดดีแล้ว หรือเหมือนแก้วอันช่างเจียนไนดีแล้วมีความแจ่มใสเต็มเปี่ยม ไม่ใช่หลับหรือเคลิบเคลิมหลงลืมฯ
    --------
    (*)(*)(*)(*)(*)
    ขอขอบคุณที่มาของบทความ:นิตยสารหญิงไทยออนไลน์
    ���͹��ǧ������� �����
     
  3. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    กายของคนเรามีกายซ้อนกันอยู่ถึง๔กาย

    กายของคนเรานี้ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือว่าเป็นชาย ก็มีกายทั้ง๔ซ้อนกันอยู่ทั้งนั้น กายแรกคือสะรีระกาย หรือกายเนื้อเรียกว่าสะรีระกาย แล้วก็กายที่๒คือเทพกายหรือกายเทวดา กายที่๓คือพรหมกาย หรือกายพรหม กายที่๔คืออรหันตกาย หรือกายอรหันต์ ในกายของเราท่านทั้งหลายนี้ มีกายซ้อนกันอยู่ แต่โดยมากแล้ว คนเรามักจะไม่รู้ว่ากายของตัวนั้นมีอยู่๔กาย กายเนื้อเป็นกายที่ แก่ เจ็บ ตาย

    เป็นกายเน่า กายเปื่อย กายผุพัง กายเน่าเหม็น กายอันประกอบไปด้วย กองกระดูก คือปฎิสนธิในครรณ์ คลอดออกมาจากครรณ์ของมารดา แล้วเจริญขึ้นด้วยนม ข้าวสุกขนมสด เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเรื่อยมา อันนี้เป็นกายเนื้อ กายเนื้อนี้เป็นกายหยาบ จึงว่าเป็นสะรีระกาย กายอันนี้ต้องเน่าเปื่อย เสื่อมสลายอยู่ในโลกนี้ กายที่๒เป็นกายทิพย์ หรือกายเทวดา หรือกายทิพย์อันนี้เป็นกายที่ไม่ตาย กายที่ไม่ตายอันนี้ก็ออกจากร่าง คือทิ้งร่างไปเมื่ิอกายตัวนอกมันหมดอายุ สิ้นอายุ หมดลมหายใจ กายตัวในอันเป็นกายทิพย์ก็ต้องละทิ้งร่างไป กายทิพย์ก็ไปปฎิสนธิใหม่ หรือไปถือเอาภพเอาชาติใหม่ ถ้าทำดีก็ไปถือเอาภพเอาชาติที่ดี มีความสุข ถ้าทำกรรมไว้ไม่ดีหรือมีจิตใจเศร้าหมอง ก็จะไปถือเอาภพเอาชาติที่พบกับทุกขเวทนามาก แม้จะเป็นกายทิพย์หรือกายเทวดา แต่ด้วยอำนาจจิตที่มืดดำ หรือด้วยอำนาจกรรมที่ทำไว้ ก็ไปถือเอาภพเอาชาติที่เลว หรืออบายภูมิ ส่วนกายที่๓คือกายพรหม กายพรหมนั้นก็คล้ายๆกับกายเทวดาเหมือนกัน กายอรหันต์หรือกายพระอริยะบุคล ก็อยู่รวมกันในกายทิพย์นั่นเอง ก็เพราะฉะนั้นในที่นี้พอจะย่อกายเข้ามาได้เป็น๓กาย ย่อลงมาเหลือเป็น๓กาย คือกายเนื้อ กายทิพย์ และกายพระอรหันต์หรือธรรมกาย ท่านผู้ฟังทั้งหลาย นี่ก็คือกายอันมีอยู่ในตัวคนเรานี้ซ้อนกันอยู่ แต่มนุษย์เราก็ใช้แต่ร่างกายที่เป็นมนุษย์ กายที่เป็นเทวดาก็เอามาใช้น้อย กายที่เป็นพรหมก็เอามาใช้น้อย กายที่เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้เอามาใช้เสียเลย แต่ถ้าเราเอากายเทวดามาใช้ เอากายพรหมมาใช้ก็จะปรากฎ เป็นกายเทวดา เป็นกายพรหม เป็นกายพระอรหันต์ กายดีซึ่งไม่ปรากฎก็เพราะว่า คนเรามัวเมาอยู่ด้วยความโลภ ด้วยความโกรธ ด้วยความหลง กายที่เป็นกายเทวดาก็ไม่ปรากฎ เหมือนกับไม่มี ก็เพราะที่ว่าในกายของคนเรานี้ มีกายเทวดา มีกายพรหม มีกายพระอรหันต์ เกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้นของการปฎิบัติ เช่นกายเทวดาก็จะปรากฎเมื่อ คนเรามีหิริโอตัปปะ รู้จักละเว้นบาป รู้จักการทำบุญ รู้จักการไม่ประกอบกรรมอกุศล กายเทวดาก็จะปรากฎ ถ้าเจริญเมตตา ภาวนา มีเมตตา กรุณาต่อคนต่อสัตว์ทั้งหลาย กายพรหมก็จะปรากฎ ถ้าเป็นผู้ที่ปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ กายพระอรหันต์ก็จะปรากฎ กายอันมี๓กายซ้อนกันอยู่ ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับต้นไม้ ชั้นนอกเป็นเปลือกไม้ ชั้นกลางเป็นกระพี้หรือเนื้อไม้ ชั้นในเป็นแก่นไม้ ต้นไม้มีแก่นอยู่ข้างใน มีกระพี้หุ้มห่อแก่นอยู่ แล้วก็มีเปลือกหุ้มห่อกระพี้อยู่อีกชั้นหนึ่ง แก่นนั้นแข็งที่สุดคือเป็นแก่นใน ท่านผู้ฟังทั้งหลายคนเราก็อย่างเดียวกันเหมือนกัน ถ้าจะเปรียบอีกอย่างหนึ่ง คนเรานี้เหมือนมีน้ำมันหรือเปรียบเหมือนมะพร้าว มะพร้าวนี้มีน้ำมันอยู่ในเนื้อมะพร้าวหรือในกาบในเปลือกมะพร้าว ที่เป็นมะพร้าวแก่ถ้าเราเอามาผ่าออกไป ก็จะเห็นเนื้อมะพร้าว แต่เนื้อมะพร้าวนั้นยังไม่ใช่น้ำมันมะพร้าว เนื้อมะพร้าวนั้นต้องเอาไปขูด เมื่อขูดแล้วก็เอาไปคั่นจึงจะได้กระทิ ส่วนเปลือกเมื่อทิ้งเสีย มันก็เปรียบเหมือนกายมนุษย์นั่นแหละ ส่วนกระทิก็เปรียบเหมือนกับกายทิพย์ แต่กายทิพย์นั้นก็มีกายธรรมหรืออรหันตกายซ้อนกันอยู่ มีลักษณะใสบริสุทธิ์ เป็นน้ำมันใสสะอาด เราต้องเอาไปเคี่ยวอีกทีหนึ่ง ! จึงจะออกมาเป็นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันสุดท้ายนั่นแหละ หลังจากที่เราเอากระทิไปเคี่ยว มันก็จะปรากฎมาเป็นน้ำมันมะพร้าว ในขั้นสุดท้าย ฉันใดก็ดีกายในขั้นสุดท้ายก็จะปรากฎมาเป็นธรรมกาย หรือกายพระอรหันต์คือกายที่สาม ก็สรุปได้ว่าการปฎิบัติธรรม เราจะถึงความเป็นเทวดา ถึงความเป็นพรหม ถึงความเป็นพระอรหันต์ ก็ด้วยการปฎิบัติ เจาะลึกเข้าไปด้วยการปฎิบัติของเรานี้แหละ หรือว่าคั่นเข้าไป เคี่ยวด้วยสติปัญญา พยายามปลดเปลื้อง จากตัญหาอุปาทาน ความยึดมั่นในสะรีระร่างกายเรานี้ออกไป กายทิพย์ก็จะปรากฎ แต่ถ้าหมดกิเลส กายพระอรหันต์ก็จะปรากฎ เพราะฉนั้นท่านผู้รู้จึงกล่าวว่า
     
  4. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    สาธุครับ..สาธุ สาธุ
    สมาธิแบบปล่อยวัว ปล่อยควาย จากหลัก ..
    กำหนดจิตสู่ความสงบเลย เพิ่งจะเข้าใจครับ..ทิ้งนิวรณ์5ไปเลย กำหนดความละเอียดหรือความสงบของอารมณ์แทน อุเบกขาอารมณ์ จิตอยู่ที่กาย...ก็ไม่มีอารมณ์แล้ว สาธุร้อยครั้งพันครั้งครับ สาธุ
     
  5. student888

    student888 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมทำสมาธิเเบบนี้โดยไม่มีใครสอน สงสัยชาติก่อนเคยฟังธรรมท่านมา เพราะชาตินี้เกิดไม่ทันเเน่นอน ใช้ความว่าง เป็นอารมณ์
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ต้องฉลาดในการเข้า และฉลาดในการออก และไม่ไปติดมัน ไม่งั้น... ซวยลูกเดียว
     

แชร์หน้านี้

Loading...