ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย koymoo, 25 มกราคม 2005.

  1. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** คอน เผชิญความจริง ความเห็น ****

    ศีล มาจากพราหมณ์
    พราหมณ์ มีมาก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ
    พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยสัจจะที่ทำได้จริง

    ข้าพเจ้ากราบไว้พระไตรปิฎกทุกวัน แต่ไม่ใช่พระไตรปิฎกที่เป็นเล่มๆ
    กราบไหว้พระไตรปิฎกคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่อยู่รอบๆตัวพวกเรา
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  2. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ทอง-เงิน ไม่ควรถวายภิกษุ จากพระไตรปิฏก เล่ม 3 หน้า940
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

    พระบัญญัติ
    อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง-เงิน
    หรือยินดีทอง-เงิน อันเข้าเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    (ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป จึงจะพ้นโทษได้)
    *จากพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย 91 เล่ม

    เรามีเจตนาดีก็ต้องประกอบด้วยความรู้ที่ดี จึงจะเกิดผลดีด้วย
    ถ้าเจตนาดีอย่างเดียวแต่ไม่ประกอบด้วยความรู้ที่ดี แบบนี้มีสิทธิที่จะฉิบหายได้

    เช่น เขาบอกว่า "ให้ทาน" เป็นของดี - เป็นสิ่งที่ดี แต่เราไม่รู่้ว่าให้อะไรกันมันจึงจะดี เพราะไม่มีความรู้ไง
    ก็เลยไปหาซื้อยาบ้ามาซัก 1000 เม็ด แล้วก็เอาไปแจกพวกที่เขาชอบยาบ้า
    และซื้อเหล้่ามาหลายลัง แล้วก็เอาไปให้พวกที่เขาชอบเหล้า
    และได้ข่าวว่าพวกเพื่อนๆ เขาชอบเรื่องหญิงๆ ก็เลยพาเพื่อนๆ ไปใช้บริการในสถานที่ที่เขามีการขายบริการทางเพศกัน
    แบบนี้ แล้วเราก็มานอนฝันหวานว่าได้ทำบุญให้ทาน บุญทานนี้คงจะส่งเสริมให้ได้ประสบพบเจอกับสิ่งที่ดีๆ
    ชีวิตนี้คงจะเจอแต่สิ่งที่ดีๆ เพราะใครๆก็พูดว่า ทำบุญให้ทานแล้วจะดี อะไรแบบนี้เป็นต้นนะ

    ใช่ล่ะ ในสิ่งที่เราได้ทำไปนั้น เราผู้ไม่มีความรู้ แต่มีเจตนาดี ก็เข้าใจว่าแบบนี้คือการให้ทาน
    และมันก็เป็นกิริยาอาการของการให้ทานจริงๆ ซะด้วยซิ แต่เมื่อมาคิดให้ละเอียดอีกที
    เจตนาดี - อาการของทาน - แต่ให้สิ่งของที่ผิด และทำบุญด้วยความงมงาย
    นั่นไงล่ะ มันเป็นโทษแล้วใช่ไหม
    โทษยังไง ก็สิ่งของตามที่สมมติให้ดูนั้นน่ะ ถ้าเป็นคนที่พอจะมีสติปัญญาเรียนรู้จักหลักธรรมที่ถูกต้องอยู่บ้าง
    เมื่อเขารับรู้หรือรับทราบในการกระทำของเรา เขาก็ย่อมจะตำหนิเราผู้ให้ทานแบบไม่รู้เรื่อง
    ซึ่งอันนี้จะต้องเป็นจริงอย่างแท้และแน่นอนเลย คือจะต้องถูกท่านผู้รู้ตำหนิติเตียนเอาได้

    ทีนี้ก็ย้อนมาดูในคำถามเรื่องถวายเงินแก่พระอีกที
    ใช่ล่ะ เจตนาดี - มีอาการของการให้ทาน แต่ว่าให้สิ่งของที่ผิด และให้ทานด้วยความไม่รู้ซึ่งก็คือความงมงายอันหนึ่ง

    เราก็ต้องมาดูว่าเรื่องนี้ท่านผู้รู้ผู้ประเสริฐสุดคือพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า การกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ผิด เป็นการกระทำที่ไม่สมควร เป็นบาป
    ก็จริงอีกล่ะที่ใครๆหลายคนในสมัยนี้ จะบอกว่า "ไม่ผิดหรอกถวายเหอะ ยิ่งให้มากก็ยิ่งได้บุญมาก เอามาๆ"

    ทีนี้มันก็มาถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลและสติปัญญาของตัวเองแล้วใช่ไหมว่า ระหว่าง
    พระพุทธเจ้าผู้รู้จักวัฏฏะจักรโดยไม่มีข้อยกเว้นและปราถนาดีที่จะขนสัตว์ออกจากวัฏฏะจักรแห่งความทุกข์กล่าวไว้
    กับ ใครหลายๆคนในสมัยนี้ที่กล่าวเพียงเพื่อปากท้องและความสุขสบายของตัวเองและพวกพ้อง คุณจะเชื่อใคร
     
  3. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    และถ้าจะอ้างกาลเวลาก็ไม่ถูกอีก เพราะธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีกาลเวลาไง
    ไม่เคยสวดและทำความเข้าใจบทที่ว่านี้เหรอ "สวากขาโต ภควตาธัมโม สันทิฎฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก..."
    แปลว่า ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้่ดีแล้ว ไม่ประกอบด้วยกาลเวลาใดๆทั้งสิ้น อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นได้เอง..
    และที่อ้างพุทธพจน์เรื่องการให้ทานมานั้น ถูกต้อง แต่ข้อสองนั้นเสียหายแบบโจ่งแจ้งเลยนะ
    "เพราะพระรับเงิน" ไง ผิดวินัยพระ มีโทษทันที ผู้รับจึงเป็นพระทุศีลไปโดยปริยาย แบบไม่มีข้อแก้ตัวด้วยนะ
     
  4. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    และถ้าจะอ้างกาลเวลาก็ไม่ถูกอีก เพราะธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีกาลเวลาไง
    ไม่เคยสวดและทำความเข้าใจบทที่ว่านี้เหรอ "สวากขาโต ภควตาธัมโม สันทิฎฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก..."
    แปลว่า ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้่ดีแล้ว ไม่ประกอบด้วยกาลเวลาใดๆทั้งสิ้น อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นได้เอง..

    และที่อ้างพุทธพจน์เรื่องการให้ทานมานั้น ถูกต้อง แต่ข้อสองนั้นเสียหายแบบโจ่งแจ้งเลยนะ "เพราะพระรับเงิน" ไง ผิดวินัยพระ มีโทษทันที ผู้รับจึงเป็นพระทุศีลไปโดยปริยาย แบบไม่มีข้อแก้ตัวด้วยนะ

    การนำเงินไปหย่อนใส่ตู้ที่ทางวัดตั้งไว้สำหรับรับบริจาคนั้น ผิดไหมคับ
    ถ้าตั้งเอาไว้เฉยๆ เพราะมีผู้ต้องการทำบุญด้วยเงินเพื่อบำรุงวัด อันนี้ก็ไม่ผิดอะไร และให้โยมวัดเขาจัดการไป
    แต่พระอย่าดันเข้าไปยุ่งกับเงินในส่วนของตู้บริจาคนั้น ปล่อยให้โยมวัดเขาจัดการไปตามธรรมวินัยซะ
    ถ้าพระจะยุ่งก็เป็นแต่เพียงให้คำแนะนำในการใช้จ่ายเงินให้ถูกต้องตามพระวินัย อย่าใช้ไปนอกลู่นอกทาง
    และพระวินัยก็ระบุวิธีใช้เงินที่มีผู้นำมาบริจาคแล้วเรียบร้อย ไม่มีมั่ว ชัดเจนดีอยู่แล้ว

    แตุ่ถ้าตั้งตู้บริจาคแล้วพระก็ประกาศเชิญชวนอย่างนั้นอย่างนี้
    หรือพระเอาป้ายติดประกาศเอาไว้ว่าวัดมีเรื่องจำเป็นต้องบูรณะอันนั้น ซ่อมแซมอันนี้
    วัดกำลังมีการก่อสร้างตรงนั้นตรงนี้ กำลังจะทำโครงการนั้นโครงการนี้ ขอเชิญอย่างนั้นขอเชิญอย่างนี้
    หรือประเภทที่บอกว่า ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองหรอก ทำเพื่อส่วนรวมเท่านั้น
    หรือแจกซองกฐิน - ผ้าป่า อะไรที่เขาว่ากันนั้น แบบนี้ก็เข้าข่ายเรี่ยไรทั้งหมด ผิดวินัย ห้ามพระกระทำการแบบนี้
    และพระนี่ก็ไม่มีข้ออ้างทั้งหมดนะ ห้ามอย่างเดียว หยุดอย่างเดียว อย่าดื้อดึง เพราะพระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ
    เป็น "พุทธอาณา" สาวกทุกระดับต้องปฏิบัติเท่านั้นไม่ใช่หาข้ออ้าง แม้แต่อ้างชาติ
    อ้างศาสนา อ้างมรรค อ้างผล อ้างนิพพาน ก็ไม่ได้ เพราะสาวกก็คือสาวกอยู่วันยังค่ำนั่นแหละ

    อย่าดันอวดเก่งไปบิดเบือนคำสอนของศาสดาด้วยการหาข้ออ้างเลอะเทอะ โง่เขลา ไม่เข้าเรื่องเข้่าราว
    ไม่เข้าธรรมไม่เข้าวินัย ถ้ารักและเคารพพระศาสดาจริง ต้องไม่มีในส่วนที่ขัดคำสอนท่าน เพราะถ้าไปขัดเข้าแล้ว
    ผลกระทบในทางลบมันสะท้อนไปไกลทั้งชาวมนุษย์และชาวทิพย์
    ที่จะมาหอบเอาบาปหาบเอากรรมกับการทุศีลของพระองค์นั้นหรือกับการทุศีลของพระคณะนั้นวัดนั้น
    เพราะความรู้และความรอบคอบของความเป็นสาวกกับพระศาสดานั้น มันเทียบกันไม่้ไ้ด้เลย
    แต่ถ้าจะเปรียบเทียบพอให้เห็นภาพก็คือ

    ความรู้ของอรหันตสาวกเหมือนแสงหิ่งห้อย - แต่ความรู้ของพระศาสดาเหมือนแสงแห่งดวงอาทิตย์
    ความรู้ของอรหันตสาวกเหมือนหยดน้ำค้างหยดเดียว - แต่ความรู้ของพระศาสดาเหมือนน้ำในมหาสมุทร
    ความรู้ของอรหันตสาวกเหมือนเม็ดดินเม็ดเดียว - แต่ความรู้ของศาสดาเหมือนกับผืนดินทั้งโลกนี่แหละ

    อันนี้แค่เปรียบเทียบเท่านั้นหรอก แต่ถ้าความเป็นจริง มันเปรียบไม่ได้ มันเทียบไม่ได้เลย
    ระหว่างความรู้ของอรหันตสาวกกับความรู้ของอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า


    แต่ถ้าประกาศออกไปเพื่อบอกล่าวแก่โยมที่เขาปวารณาเอาไว้หรือที่โยมเขาเคยให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ว่า
    ถ้าวัดนี้มีกิจการงานอะไรก็ให้บอกเขาได้ และผู้ปวารณานี้ก็มีหลายคนอยู่กันหลายๆที่
    ก็ประกาศระบุว่าบอกแก่ผู้ปวารณา แบบนี้ก็ได้ แต่ก็ห้ามร่ำไรให้มันมากเรื่องมากราว ยืดเยื้อเยิ่นเย้ออยู่นั่นแหละ
    หาข้ออ้างอันนั้น หาข้ออ้างอันนี้ ประกาศออกไปพอให้เขารู้ก็พอ ไม่ต้องไปคุมไม่ต้องไปตื้อให้เขารำคาญ
    ประกาศออกไปว่าวัดมีกิจการแบบนี้ เขาจะมาช่วยหรือไม่มาช่วยมันก็เรื่องของเขา

    นี่คือการพิจารณาในการตั้งตู้รับบริจาคก่อน อันดับต่อไปที่จะต้องพิจารณาคือ
    พระในวัดนั้นมีพฤติกรรมเป็นเช่นไร ควรที่จะสนับสนุนหรือควรจะถอยให้ห่าง ถ้าอยากทราบพฤติกรรมของพระ
    ก็ไปอ่านหมวดวินัยพระทั้งหมดนั่น แล้วก็ตัดสินใจเอาเอง ว่าจะทำยังไงดี สมควรจะช่วยเหลือหรือว่าจะไปใครไปมัน
    เพราะอาตมามั่นใจว่า ข้อมูลที่นำมาลงไว้นี้ เพียงพอแก่พื้นฐานในการตัดสินใจเรื่องนี้ได้

    ส่วนพระเอาเงินวัดไปซื้อตั๋วผิดไหม?
    ถ้าพระถือใช้เอง ก็ผิดแหละ แต่ถ้าโยมวัดเขาจัดการให้ตามที่สมควร อันนี้ก็ไม่เป็นไร
     
  5. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ตัวอย่างเรื่องห้ามเรี่ยไรเงิน - ทองในพระพุทธศาสนา เล่ม 9 หน้า 531

    สมัยนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี
    ถึงวันอุโบสถเอาถาดทองสัมฤทธิ์ตักน้ำเต็มตั้งไว้ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
    กล่าวแนะนำอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลี ที่มาประชุมกันอย่างนี้ว่า

    ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะ (เงิน) แก่สงฆ์์ กหาปณะหนึ่งก็ได้ กึ่งกหาปณะก็ได้ บาทหนึ่งก็ได้ มาสกหนึ่งก็ได้
    สงฆ์จักมีกรณียะด้วยบริขาร เมื่อพระวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว

    ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงกล่าวกะอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีว่า
    ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้ถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ตาม กึ่งกหาปณะก็ตาม
    บาทหนึ่งก็ตาม มาสกหนึ่งก็ตาม ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
    พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน
    พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน

    อุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีแม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอยู่อย่างนี้
    ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง บาทหนึ่งบ้าง มาสกหนึ่งบ้าง.

    ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ได้จัดส่วนแบ่งเงินนั้นตามจำนวนภิกษุแล้ว
    ได้กล่าวกะท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า ท่านพระยส เงินจำนวนนี้เป็นส่วนของท่าน
    ท่านพระยสกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ฉันไม่มีส่วน (ใน) เงิน ฉันไม่ยินดีเงิน…..


    เงินและทองคือมลทินของสมณะ เล่ม 9 หน้า 533

    ...สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน
    นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สาม ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
    เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์….

    เรื่องราวของการเรี่ยไรเงินนี้เกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ประมาณ 100 ปี

    เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว
    ก็ทำให้พวกภิกษุชาวเมืองวัชชีบุตรทั้งหลายเกิดความไม่พอใจในตัวท่านเป็นอย่างมาก
    พวกภิกษุชาวเมืองวัชชีบุตรจึงอาศัยพรรคพวกที่มากกว่าหาเรื่องให้ร้ายพระยส
    พากันกล่าวหาว่าพระยสไปด่าอุบาสก - อุบาสิกาที่มีศรัทธาเลื่อมใส
    จึงลงโทษให้ท่านพระยสไปขอขมาต่อโยมชาวเมืองเวสาลีนั้น

    เมื่อท่านพระยสเข้าไปหาโยมชาวเมืองเวสาลีแล้ว
    ท่านก็ชี้แจงให้เหล่าญาติโยมเมืองเวสาลีนั้นได้เห็นแจ้ง - ได้เข้าใจว่า
    สิ่งใดเป็นธรรม สิ่งใดไม่เป็นธรรม สิ่งใดเป็นวินัย สิ่งใดไม่เป็นวินัย
    โดยได้ยกพุทธพจน์หลายต่อหลายเรื่องซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการแสวงหาเงิน - ทอง
    ที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม - ทรงตำหนิภิกษุ มาแสดงให้โยมชาวเมืองเวสาลีฟัง

    เมื่อท่านสามารถชี้แจงให้โยมชาวเมืองเวสาลีเข้าใจได้แล้ว เรื่องนี้ก็ทราบถึงพวกภิกษุชาวเมืองเวสาลีอีก
    ซึ่งก็ทำให้พวกภิกษุชาวเมืองเวสาลีนั้นเดือดดาลมากขึ้นไปอีก คราวนี้ถึงขนาดจะพากันยกวัตรท่านพระยสกันเลยทีเดียว

    แต่พระยสท่านก็รู้ทันจึงออกไปจากเมืองเวสาลี แล้วท่านก็คิดว่า ต่อไปภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง
    สภาพที่เป็นธรรมจักเสื่อมถอย สภาพที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรือง สภาพที่เป็นวินัยจักเสื่อมถอย

    จึงควรอย่างยิ่งที่จะหาภิกษุผู้มีความสามารถที่ทรงธรรม - ทรงวินัย มาช่วยกันชำระเรื่องราวสกปรกเหล่านี้ให้เรียบร้อย
    เพื่อความมั่นคงยั่งยืนนานของพระสัทธรรม และเรื่องของการเรี่ยไรเงินนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งใน 10 สาเหตุ
    ในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 2 ที่เมืองเวสาลี โดยมีท่านพระยสกากัณฑบุตรเป็นผู้ริเริ่ม

    เรื่องของการเรี่ยไรเงินในสมัยนั้นที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างให้พวกเราชาวพุทธได้ตระหนักและศึกษากันในสมัยนี้
    ก็เพื่อเป็นความรู้ในการเคารพ - นับถือ - ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
    เพื่อจะได้เป็นบุญกุศลวาสนาสืบไปภายหน้า - เพื่อจะได้ให้สมกับที่พวกเราเรียกตัวเองว่าเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์...
     
  6. CASIO12

    CASIO12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +1,133

    ว่าไปนั่น.... คนเกิดเป็นต้นตาล;aa28

    ตื่นๆๆ ..... ... เมานิมิตแล้วหละ

    ระวัง ... เดี๋ยวคิดว่าตนเป็นศาสดาเองนะจ๊ะ

    ;aa58

    ,,,,,,,,ขอเตือน
     
  7. CASIO12

    CASIO12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +1,133
    อันนี้ก็มั่วๆๆ อีกแล้วท่าน (หนุ)มารhello11

    พระพุทธศาสนา ศีลก็มาจากพระพุทธเจ้าซิ
    มานั่งเทียนมั่วได้ไง ฮินดูโน่นที่ศีลมาจากพราหมณ์

    อ่านนี่เลย จะได้หาย........เมา

     
  8. CASIO12

    CASIO12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +1,133
    ยกมาชัดๆ



    ตามความในพระไตรปิฎก หมวดพระวินัย มหาวิภังค์ ปฐมภาค
    ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทแรก (พระวินัย หรือศีลข้อแรกในพระพุทธศาสนา) พระองค์ได้ตรัสประโยชน์ หรือสาเหตุที่ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ ดังนี้<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ....... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
    อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ<o:p></o:p>
    - เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
    (
    เพื่อความยอมรับ/เห็นด้วยของสงฆ์หมู่มาก - ธัมมโชติ)
    -
    เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    (
    เพื่อให้สังคมสงฆ์อยู่กันอย่างสงบสุข - ธัมมโชติ)

    -
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
    (
    เพื่อไม่ให้พวกอลัชชี/ผู้ไม่ละอาย ทำสิ่งที่ไม่ดีได้ตามใจ - ธัมมโชติ)
    -
    เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
    (
    เพื่อไม่ให้พวกอลัชชีมารบกวนความสงบของผู้มีศีล - ธัมมโชติ)
    -
    เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
    (
    เพื่อป้องกันกิเลสในปัจจุบัน - ธัมมโชติ)
    -
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
    (
    เพื่อกำจัดกิเลสที่จะเกิดในอนาคต - ธัมมโชติ)
    -
    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
    -
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
    -
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    (
    เพื่อให้ศาสนาตั้งมั่นอยู่ได้นาน - ธัมมโชติ)
    -
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑
    (
    เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายถือปฏิบัติ - ธัมมโชติ)<o:p></o:p>

    ถึงแม้ในพระสูตรนี้จะเน้นที่พระวินัย หรือศีลสำหรับภิกษุ แต่ก็สามารถเข้ากันได้กับศีลสำหรับฆราวาสด้วยเช่นกัน คือไม่ว่าศีลชนิดใดในพระพุทธศาสนา ก็ล้วนถูกบัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลเหล่านี้ทั้งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีลขึ้นมา ก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง และเพื่อคนหมู่มากทั้งสิ้น โดยที่สำคัญก็คือเพื่อประโยชน์ในการขัดเกลา หรือกำราบกิเลสเป็นส่วนมาก <o:p></o:p>
    ธัมมโชติ
    2
    ธันวาคม 2543<o:p></o:p>
    <SCRIPT language=JavaScript src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.js2.yimg.com/us.js.yimg.com/lib/smb/js/hosting/cp/js_source/geov2_001.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript>geovisit();</SCRIPT><?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 0.75pt; HEIGHT: 0.75pt" id=_x0000_i1030 alt="1" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\Somcharn\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://geo.yahoo.com/serv?s=76001081&t=1252571787&f=us-w6"></v:imagedata></v:shape>
     
  9. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    พ่อสอนลูก..ได้...เพราะมีสายสัมพันธ์กันมา...ลูกจึงคิดตามที่พ่อสอน.

    วิหารทาน ธรรมทาน สังฆทาน เกิดขึ้นได้ เพราะอะไร...เจตนาสำคัญ....วัดสวยๆเกิดขึ้นได้เพราะเจตนาอันดี..อย่างน้อยยึดไว้..ถึงสวรรค์...พรหม...ปฏิบัติอีกนิด...แบบทางสายกลาง...เข้าสู่พระนิพพาน...สาธุ...อนุโมทนา..
     
  10. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ท่านจะเชื่อใคร หรือเชื่ออะไรก็เป็นสิทธิ์ส่วนตัวของทุกๆท่าน แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ขอเชื่อและปฎิบัติตามตามคำสอนของพระอรหันต์เท่านั้น เพราะพระอรหันต์เป็นผู้สืบทอดหนทางแห่งพระนิพพาน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้อย่างแท้จริง.............
     
  11. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    <table id="post2418765" class="tborder" align="center" width="834" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" height="3288"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175">Theewin_boys<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2418765", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Apr 2009
    ข้อความ: 36
    Groans: 0
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 234
    ได้รับอนุโมทนา 328 ครั้ง ใน 38 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_2418765" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <center><!-- google_ad_section_start -->โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดี มีในกรุงเทพฯ แล้วด้วยครับ<!-- google_ad_section_end -->

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- google_ad_section_start -->สวัสดีครับคุณป้าศิ คุณน้อง คุณลุง คุณป้า คุณน้า
    คุณอา และกัลยาณมิตรทุกท่านในเรือนพญานาคครับ


    ลองอ่านดูนะครับคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์กับสมาชิกทุกท่าน
    ไม่มากก็น้อยครับ


    ชื่อทางการของมันชื่อ แมลงด้วงน้ำมัน
    <tt>ถ้าโดนแล้วห้ามเกาเด็ดขาด เพราะมันจะลามไปเรื่อยๆ เลย หนองหรือน้ำเหลืองของเราจะทำให้ลามจากอีกจุดเพิ่มเป็นอีกจุดลามเป็นแผลใหญ่ </tt>
    <tt>และที่สำคัญตอนนี้แมลงนี้มีอยู่ใน กทม. แล้วด้วย </tt>

    <tt>เรียน ทุกท่านทราบเพื่อเป็นการเตือนถึงอันตรายของแมลง และอาการที่เกิดขึ้น </tt>

    <tt>( ตามภาพที่แนบมา) ดร.วัฒนา อู่วาณิชย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งเมล์มาให้เพื่อกระจายข่าวต่อด้วยครับ</tt>
    <tt>โปรดระวังแมลงลักษณะนี้ให้ดี คนหลายคนถูกแมลงชนิดนี้ทำร้ายหลายรายแล้ว </tt>
    <tt>หากโดน กรุณาพบแพทย์โดยด่วนมิฉะนั้นแผลจะลุกลามไปรวดเร็วมาก </tt>
    <tt>แมลงชนิดนี้จะไม่กัดหรือต่อย แต่ฉี่ของมันมีความเป็นกรดสูงมากและเป็นสาเหตุให้เกิดแผล ซึ่งหากเกิดเป็นแผล แล้วเอามือไปถูกแผลนั้น </tt>
    <tt>ให้รีบล้างมือโดยเร็ว </tt><tt>มิฉะนั้นจะเกิดแผลลุกลามไปยังที่ๆ เอามือไปสัมผัสต่อไปอีก </tt>
    <tt>[​IMG]</tt>
    <tt>[​IMG]</tt>
    <tt>[​IMG]</tt>
    <tt>[​IMG]</tt>

    <!-- google_ad_section_end -->
    <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    Copy มาให้สมาชิกได้อ่านกัน
    </fieldset> </td></tr></tbody></table>
     
  12. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระอรหันต์ที่ศึกษาน้อย...ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบาปมาก เล่ม 16 หน้า 302 , 308

    ...พระขีณาสพ (อรหันต์) ที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติ ( ละเมิด )
    ที่เป็นโลกวัชชะ ( การละเมิดที่มีโทษทางโลก ) ก็จริงอยู่

    แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ( ทางกาย )
    ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ ( ให้คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ )
    อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ( ผู้ไม่ใช่ภิกษุ ) เป็นต้น

    ย่อมต้องอาบัติในวจีทวาร ( ทางคำพูด ) ในประเภทชักสื่อ
    หรือกล่าวธรรมโดยบท หรือพูดเกินกว่า 5 – 6 คำ หรือบอกอาบัติที่เป็นจริง เป็นต้น

    ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง
    ในทางมโนทวาร ( ความคิด ) ด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.

    แม้พระขีณาสพ (พระอรหันต์)
    ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยังเกิดมโนทุจริต (ความคิดชั่ว) ขึ้นได้
    ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะปาตุเมยยกะ
    ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
    ในคราวที่ทรงประณามพระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับภิกษุประมาณ 500 รูป.....

    ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ ( ไฟอันเกิดจากผู้ควรรับของทำบุญ ) นี้ คำว่า ทกฺขิณา
    ( ของทำบุญ ) คือปัจจัย 4. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล ( ผู้สมควรรับของทำบุญ ).
    ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะมากเเก่คฤหัสถ์ ( โยม ) ด้วยการชักนำ
    ให้ประพฤติในกัลยาณธรรม ( ธรรมอันดีงาม ) ทั้งหลายเป็นต้นว่า
    สรณะ 3 ศีล 5 ศีล 10 การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุงสมณพราหมณ์ผู้มีธรรม.

    คฤหัสถ์ (โยม) ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอภิกษุสงฆ์
    ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ
    ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน.
    และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง
    ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรต (เปรตที่ได้รับสุขและทุกข์สลับกันไป) โดยละเอียดด้วย

    ผมเองก็นับถือพระอรหันต์ ทำบุญกับพระอรหันต์หลายองค์ แม้ที่วัดท่าซุงก็เคยไปทำบุญ วัดหลวงพ่อปานก็ไป ทำบุญด้วยเงินทอง มาเยอะ แต่เมื่อรู้ว่าผิดเพราะได้อ่านพระไตรปิฏก ก็แก้ไข ทำแต่ สิ่งที่ไม่ทำให้พระท่านผิดวินัย แล้วเราเองก็ไม่บาป
    พระอรหันต์ที่ไม่ปฏิบัติอยู่ในวินัยได้ เพราะท่านไม่ยึดไม่ติด แต่บาปท่านก็ได้รับการสังขารท่าน เมื่อตายท่านพ้นไป ส่วนเราท่านอย่าลืมว่ายังไม่พ้น อย่างท่าน อย่ามายึดติดกับความเป็นอรหันต์ของผู้อื่น ไม่ได้พาเราพ้นทุกข์ด้วย
    ทำบุญกับพระอรหันต์นะดีครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกให้ควร
    คุณเกษมจะยึดติดกับคำสอนของพระอรหันต์หรือคำสอนของบรมครูพุทธองค์ก็เลือกเอา พระพุทธองค์ท่านไม่ผิดไม่พลาดแน่ แต่พระอรหันต์ยังมีผิดพลาดได้ หากศึกษามาน้อย ด้วยความหวังดี....ใครคิดได้ก็ช่วยกันแก้ไข จรรโลงพระศาสนาอันแท้จริง ให้เจริญสมกับเป็นชาวพุทธ ที่แท้จริง
     
  13. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    สิ่งของที่ต้องไม่นำไปถวายพระภิกษุ เล่ม 11 หน้า 310 – 311

    ...13. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
    14. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหาร ( ข้าว ) ดิบ.
    15. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
    16. เธอเว้นขาดจากการรับสตรี และกุมารี.
    17. เธอเว้นขาดจากการรับทาสี( ทาสหญิง ) และทาส.
    18. เธอเว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ.
    19. เธอเว้นขาดจากการรับไก่ และสุกร.
    20. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    21. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นา และที่ดิน.
    22. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม ( การนำข้อความไปแจ้ง ) และการรับใช้.
    ต้องไม่ถือตามอุปัชฌาย์ – อาจารย์ที่ผิดวินัยและโง่เขลา เล่ม 9 หน้า 543

    ...พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้แสดงวัตถุ 10 ประการเหล่านี้
    ในเมืองเวสาลี ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์ (เรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว) นี้ขึ้น
    ในภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรือง
    วินัยจักเสื่อมถอย ในภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง
    พวกอวินัยวาที (กล่าวผิดไปจากหลักวินัย) จักมีกำลัง
    พวกวินัยวาทีจักเสื่อมกำลัง ....

    เล่ม 6 หน้า 153 และ 178

    .....สัทธิวิหาริก (ศิษย์) ผู้ประสงค์จะไป พึงชี้แจงถึงกิจการแล้วอ้อนวอนเพียงครั้งที่สาม.
    ถ้าท่านอนุญาตเป็นการสำเร็จ, ถ้าไม่อนุญาต เมื่อเธออาศัยท่านอยู่
    อุทเทส (หัวข้อที่ยกขึ้นแสดง) ก็ดี ปริปุจฉา (การสอบถาม) ก็ดี
    กัมมัฏฐานก็ดี ไม่สำเร็จ เพราะอุปัชฌาย์เป็นคนโง่ไม่เฉียบแหลมไม่ยอมให้ไปเช่นนั้น
    เพราะมุ่งหมายจะให้อยู่ในสำนักของตนถ่ายเดียว เมื่ออุปัชฌาย์เช่นนี้แม้ห้ามจะขืนไป ก็ควร.

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ (คนโง่เขลา)
    เหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ 10 แล้ว เรามีพรรษาได้ 10 แล้ว ดังนี้
    แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท (ให้ผู้อื่นบวช)
    ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา แต่สัทธิวิหาริก (ศิษย์) เป็นผู้ฉลาด
    ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม แต่สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
    ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะ (การฟัง , การเล่าเรียน) น้อย
    แต่สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
    ปรากฏว่าอุปัชาฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม แต่สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาดี

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
    ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
    ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลาไม่เฉียบแหลมไม่พึงให้อุปสมบท
    รูปใดให้อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    เราอนุญาตให้ภิกษุผู้สามารถมีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 ให้อุปสมบท

    23. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.
     
  14. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ความประพฤติของภิกษุในกาล.....? เล่ม 53 หน้า 202

    ...ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรม (คำสอน) ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง
    ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า
    ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน (ตามพระไตรปิฎก) ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล

    ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ
    มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย

    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ
    และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษคนอื่น
    ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การทะเลาะวิวาท
    จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียว แดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง
    เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขาคือมานะ ทำตนดั่งพระอริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่.....
    จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม
    เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน
    ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น
    เที่ยวคบหาราชสกุล (คนที่มีหน้าตาในสังคม) เป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน ไม่สำรวมอินทรีย์

    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย
    จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก...

    ภิกษุทุศีล....คือเสนียด...คือโจร เล่ม 1 หน้า 361

    บทว่า นิรพฺพุโท คือเว้นจากเสนียด. พวกโจรท่านเรียกว่า เสนียด…..
    ก็ในอรรถนี้ พวกภิกษุผู้ทุศีลท่านประสงค์เอาว่า เป็นโจร.
    จริงอยู่ ภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ย่อมลักปัจจัยของคนเหล่าอื่น เพราะเป็นผู้มิใช่สมณะ
    แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุนั้น ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโจร มีอธิบายว่า ไม่มีคนทุศีล.

    บทว่า นิราทีนโว ได้แก่ ไม่มีอุปัทวะ คือไม่มีอุปสรรค. มีคำอธิบายว่า
    เว้นจากโทษของผู้ทุศีลทีเดียว. ผู้ทุศีลแล ท่านเรียกว่า คนดำ

    ในคำว่า อปคตกาฬโก นี้. จริงอยู่ ผู้ทุศีลเหล่านั้น
    แม้เป็นผู้มีวรรณะ (ผิว) ดุจทองคำ พึงทราบว่า เป็นคนดำทีเดียว เพราะประกอบด้วยธรรมดำ.
    ภิกษุที่เลวทรามย่อมทำให้เทวดา – มนุษย์ทั้งหลายเดือดร้อน เล่ม 33 หน้า 394

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป.
    เสด็จออกไปหรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน
    ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป
    หรือเพื่อตรวจตราการงานภายนอก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง
    สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว
    นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน

    ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
    เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย..
     
  15. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ภิกษุจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาพระวินัย เล่ม 1 หน้า 393

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
    อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
    เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้ออยาก ๑ (ผู้ไม่มีความละอาย)
    เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
    เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ (ธรรมที่ดี)
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑
    อานิสงส์การเรียนรู้พระวินัย เล่ม 1 หน้า 170

    เพราะฉะนั้น เพื่อให้พระวินัยตั้งมั่น อันภิกษุผู้กำหนดรู้อานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย)
    ใคร่ต่อการศึกษา ก็ควรเรียนพระวินัย ในอธิการว่าด้วยการพรรณนานิทานนั้น
    มีอานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย) ดังต่อไปนี้

    จริงอยู่ บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาบิดาของเหล่ากุลบุตร
    ผู้ได้ศรัทธาในพระศาสนา เพราะว่า บรรพชา อุปสมบท ข้อปฏิบัติวัตรใหญ่น้อย
    ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ (มารยาท) และโคจร(สถานที่ควรไป) ของกุลบุตรเหล่านั้น
    เนื่องด้วยความฉลาดในวินัยปริยัตินั้น อีกประการหนึ่ง เพราะอาศัยวินัยปริยัติ กองศีลของตน
    ย่อมเป็น ของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาดีแล้ว
    ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ ย่อมกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
    ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ มีอยู่ ในบุคคลผู้ทรงพระวินัย คือ

    (๑) กองศีลของตน ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้น คุ้มครองรักษาไว้ดีแล้ว
    (๒) ย่อมเป็นที่พึ่งพิงของเหล่ากุลบุตร ผู้ถูกความสงสัยครอบงำ
    (๓) ย่อมเป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
    (๔) ย่อมข่มขี่พวกข้าศึกได้ด้วยดี โดยสหธรรม
    (๕) ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม (ธรรมที่ดี)
    ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมของพระวินัย เล่ม 1 หน้า 171

    วินัย (ศีล) ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังวร (ความสำรวม)
    สังวรย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อน)
    อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์
    ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปีติ (ความอิ่มใจ)
    ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ (ความสงบ)
    ปัสสัทธิย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสุข
    ความสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ (ความตั้งใจมั่น)
    สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นตามเป็นจริง)
    ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย)
    นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอกกิเลส)
    วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น)
    วิมุตติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นความหลุดพ้น)
    วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน (ความดับสนิทหาเชื้อมิได้)
    การกล่าว การปรึกษา กิริยานั่งใกล้ความเงี่ยโสตลงสดับ แต่ละอย่าง ๆ
    มีอนุปาทาปรินิพพาน คือ ความพ้นพิเศษแห่งจิต ไม่ถือมั่น นั่นเป็นผล
    เพราะฉะนั้น ควรทำความพยายามโดยเอื้อเฟื้อในการเล่าเรียนพระวินัย ดังนี้แล.

    พระพุทธเจ้าสอนว่า.... เล่ม 35 หน้า 79

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน
    มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ
    และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้
    มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร (สำรวม) เพื่อปหานะ (ความละ)
    เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัดยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ อันเป็นการละเว้นสิ่งที่กล่าวตามกันมา
    เป็นทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน เพื่อสังวร เพื่อปหานะ.
    ทางนั้น มหาบุรุษทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ดำเนินแล้ว ชนเหล่าใดดำเนินตามทาง
    ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
    จักกระทำที่สุดทุกข์ได้.
    พระมหาเถระนี่แหละเป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดธรรมวินัย เล่ม 36 หน้า 195

    ....อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
    ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด
    ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
    ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง
    แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน
    เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร
    เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
    เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
    การลบล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
    แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น...

    พระอรรถกถาจารย์อธิบายความว่า

    บทว่า ธมฺมสนฺโทสา วินยสนฺโทโส ได้แก่ การเสียวินัยย่อมมีเพราะเสียธรรม.
    ถามว่า ก็เมื่อธรรมเสีย วินัยชื่อว่า เสียอย่างไร ?
    ตอบว่า เมื่อธรรมคือสมถวิปัสสนาไม่ตั้งท้อง วินัย ๕ อย่างก็ไม่มี.
    เมื่อธรรมเสียอย่างนี้ วินัยก็ชื่อว่าเสีย ส่วนสำหรับภิกษุผู้ทุศีล ชื่อว่าสังวร (สำรวม) วินัยไม่มี
    เมื่อสังวรวินัยนั้นไม่มี สมถะและวิปัสสนา ก็ไม่ตั้งท้อง
    การเสียธรรมแม้เพราะเสียวินัยก็พึงทราบโดยนัยอย่างนี้.



    แม้จะเป็นพระอริยะก็ต้องรักษาวินัยพระ เล่ม 34 หน้า 457

    บทว่า น หิ เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในที่นี้
    เราตถาคตมิได้กล่าวว่า พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้องและการออกจากอาบัติเห็นปานนี้
    แต่งกายคล้ายพระก็จริง แต่เป็นพระนอกศาสนาพุทธ เล่ม 45 หน้า 682

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้หลอกลวงมีใจกระด้าง ประจบประแจง
    ประกอบด้วยกิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจไม้อ้อสูงขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น
    ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่นับถือเราตถาคต ภิกษุเหล่านั้นปราศไปแล้วจากธรรมวินัยนี้……

    ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง มีใจกระด้าง ประจบประแจง
    ประกอบด้วยกิเลสอันปรากฏดุจเขา (สัตว์) มีกิเลสดุจไม้อ้อสูงขึ้น
    มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่งอกงามในธรรม
    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
    ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนักปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง
    มีใจตั้งมั่นดีภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

    บทว่า กุหา ได้แก่
    เป็นผู้หลอกลวงด้วยเครื่องหลอกลวงมีการร่ายมนต์ (ปลุกเสก) เป็นต้น
    อธิบายว่า เป็นผู้ทำการลวง เพื่อต้องการประกาศคุณความดีที่ตนไม่มี แล้วให้ผู้อื่นสนเท่ห์.

    บทว่า ลปา ความว่า เป็นผู้ประจบประแจง คือ เป็นผู้สงเคราะห์ตระกูลด้วยอำนาจมิจฉาชีพ.
    อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เป็นผู้พูดเพื่อปัจจัย ด้วยสามารถแห่งถ้อยคำที่ประดิษฐ์ประดอยแล้ว
    และด้วยสามารถแห่งอุบายโกง.

    บทว่า สิงฺคี ความว่า วาจาที่ประกอบด้วยกิเลสที่เด่นชัด เช่นกับเขาสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
    คำพูดดุจเขาสัตว์ เป็นไฉน. การพูด มีแง่งอนภาวะที่พูดแง่งอน การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม
    กิริยาที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม การพูดมีเหลี่ยมมีคู ภาวะที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด
    นี้เรียกว่าคำพูดดุจเขาสัตว์ (มีแง่งอน).

    บทว่า อนฺนฬา ความว่า ผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่ชูขึ้นคือเที่ยวไปยกตนที่มีใจว่างเปล่าจากคุณวิเศษ
    คล้ายไม้อ้อชูขึ้นมาอ้าง.

    บทว่าอสมาหิตา ความว่า เป็นผู้ไม่ได้ แม้เพียงเอกัคคตาจิต.(สมาธิที่แนบแน่น)

    บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า
    ภิกษุของเราตถาคตเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นคนของเราตถาคต.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า มยฺหํ (ของเราตถาคต) นี้ เพราะภิกษุเหล่านั้นบวชอุทิศพระองค์.
    แต่เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่ปฏิบัติชอบ โดยประกอบการหลอกลวงเป็นต้น ฉะนั้น
    พระองค์จึงไม่ตรัสเรียกว่า มามกะ (เป็นคนของเราตถาคต).

    ด้วยบทว่า อปคตา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า
    ถึงแม้ว่า ภิกษุเหล่านั้นบวชแล้วในศาสนาของเราตถาคต แต่เพราะไม่ปฏิบัติตามที่เราตถาคตสอน
    จึงเท่ากับไปแล้วจากพระธรรมวินัยนี้นั่นเอง คือ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าอยู่ไกลแสนไกลจากศาสนานี้


    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า

    ท้องฟ้ากับพื้นปฐพี นักปราชญ์กล่าวว่าอยู่ไกลกัน
    และฝั่งมหาสมุทร (ทั้ง ๒) นักปราชญ์ก็กล่าวว่าอยู่ไกลกัน
    ข้าแต่พระราชา แต่ธรรมของสัตบุรุษ (คนดี) กับของธรรมอสัตบุรุษ (คนชั่ว)
    นักปราชญ์กล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้นเสียอีก
     
  16. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เรื่องภิกษุผู้มีชื่อเสียง แต่ความประพฤติเลวทราม เล่ม 34 หน้า 21

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
    ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม
    เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมากทั้งเทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน

    คือ ชักชวนในกายกรรมอันไม่สมควร
    ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลายอันไม่สมควร

    ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
    ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม
    เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมากทั้งเทวดาทั้งมนุษย์

    บทว่า ญาตโก ได้แก่ ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือ ประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว ได้แก่ ปรากฏแล้ว.
    บทว่า อนนุโลมิเก ความว่า กายกรรม ชื่อว่า อนนุโลมิกะ
    เพราะหมายความว่า ไม่เหมาะสมแก่ศาสนา. ในกายกรรมอันไม่เหมาะสมนั้น.
    บทว่า กายกมฺเม ได้แก่ ในกายทุจริต มีปาณาติบาต เป็นต้น.

    อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริตนั้นเป็นของหยาบ แต่ภิกษุสามารถจะชักชวนให้สมาทาน (การยึดถือ)
    ในกายทุจริตเป็นต้นนี้ได้ คือชักชวนให้สมาทานคือให้ยึดถือในกรรมเห็นปานนี้ว่า
    การนอบน้อมทิศทั้งหลายสมควร การทำพลีกรรมให้ภูตย่อมควร

    แม้ในวจีกรรม มุสาวาท เป็นต้น เป็นของหยาบ
    แต่ภิกษุนั้น จะชักชวนให้สมาทานในวจีกรรมเห็นปานนี้ว่า
    ขึ้นชื่อว่า การพูดเท็จแก่คนโง่นี้ว่า ไม่มี เพราะไม่ประสงค์จะให้ ของๆตนแก่ผู้อื่น ก็ควรพูดได้.

    แม้ในมโนกรรม อภิชฌา (การเพ่งเล็งละโมบอยากจะได้ของเขา เป็นต้นก็เป็นของหยาบ
    แต่ภิกษุเมื่อบอกกัมมัฏฐานผิดพลาดไป ก็ไม่ชื่อว่าชักชวนให้สมาทานในมโนกรรมอันสมควร

    *** การทำพลีกรรมให้ภูตย่อมควร หมายถึง การบวงสรวง – การบูชาเทพเจ้าทั้งหลาย
    มีการร่ายรำ หรือ มีการจัดปะรำพิธีขึ้นแล้วมีบายศรี 5 – 7 – 9 ชั้นบ้าง
    มีผลไม้นานาชนิด – มีหมู – เห็ด – เป็ด – ไก่ - สุรา - ดอกไม้
    แล้วก็ให้คนมาจุดธูปแล้วก็เดินเวียนขวาปักธูปไว้กับสิ่งของที่นำมาบวงสรางเทพเจ้านั้น
    นัยว่าเพื่อให้เทพเจ้าพอใจและบันดาลให้ประสบความสำเร็จในสิ่งปรารถนาทุกๆอย่าง เป็นต้น

    *** แต่ภิกษุเมื่อบอกกัมมัฏฐานผิดพลาดไป ก็ไม่ชื่อว่าชักชวนให้สมาทานในมโนกรรมอันสมควร
    หมายถึง บอกกัมมัฏฐานแก่คนที่ไม่สมควรทำกัมมัฏฐาน
    พาคนนั่งทำสมาธิ – วิปัสสนาโดยไม่ดูพื้นฐานของเขาเสียก่อนว่าโยมทั้งหลายนี่แหละ
    พร้อมที่จะบำเพ็ญธรรมขั้นนี้แล้วหรือยัง ข้อปฏิบัติเบื้องต้นของเขาสมบูรณ์พอหรือยัง เป็นต้น
    เช่นนี้ ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    เพราะมีแต่สร้างโทษให้เกิดแก่เขา
    จงกำจัดและขับไล่พระทุศีล - พระหลอกลวง ให้ออกไปจากพุทธศาสนาเสีย เล่ม 37 หน้า 328

    ...เพราะการอยู่ร่วมกัน พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้มีความปรารถนาลามก
    มักโกรธ มักลบหลู่ หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด
    (พระ) บางคนในท่ามกลางประชุมชน พูดไพเราะ ดังพระสมณะ
    พูดปิดบังความชั่วที่ตนทำ มีความเห็นลามกไม่เอื้อเฟื้อ พูดเลอะเลือน พูดเท็จ
    เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่าเป็นอย่างไรแล้ว จงพร้อมใจกันทั้งหมดขับบุคคลนั้นเสีย
    จงกำจัดบุคคลที่เป็นดังหยากเยื่อ จงถอนบุคคลที่เสียในออกเสีย

    แต่นั้น จงนำคนแกลบ (คือ) ผู้มิใช่สมณะแต่ยังนับว่าเป็นสมณะออกเสีย
    เธอทั้งหลาย เมื่อต้องการอยู่ร่วมกับคนดี และคนไม่ดี ครั้นกำจัดคนที่มีความปรารถนาลามก
    มีอาจาระ (มารยาทที่ไม่ควร) และโคจร (ไปสถานที่ที่ไม่ควร) ลามกออกแล้ว
    จงเป็นผู้มีสติ แต่นั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
    เป็นผู้มีปัญญารักษาตน จักกระทำที่สุดทุกข์ได้
    เล่ม 45 หน้า 572

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่เพราะการแสวงหาก้อนข้าวนี้
    เป็นกรรม (การกระทำ) ที่ลามกของบุคคลผู้เป็นอยู่ทั้งหลาย
    บุคคลผู้ด่าย่อมด่าว่าท่านผู้นี้มีบาตรในมือ ย่อมเที่ยวแสวงหาก้อนข้าวในโลก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรทั้งหลาย เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ
    อาศัยอำนาจแห่งเหตุ ไม่ได้ถูกพระราชาทรงให้นำไปจองจำไว้เลย
    ไม่ได้ถูกพวกโจรนำไปกักขังไว้ ไม่ได้เป็นหนี้ ไม่ได้ตกอยู่ในภัย
    เป็นผู้มีความเป็นอยู่เป็นปกติ ย่อมเข้าถึงความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้น
    ด้วยคิดว่า ก็แม้พวกเราแล เป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
    โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกทุกข์ติดตามแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
    แม้ไฉน การการทำซึ่งที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้
    เป็นผู้มีอภิชฌามาก (เพ่งเล็งด้วยความอยากจะได้ในกามทั้งหลายมาก)
    มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย
    มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์
    เรากล่าวบุคคลนี้ว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผีที่ไฟติดทั่วแล้วทั้งสองข้าง
    ตรงกลางเปื้อนคูถ (ขี้) จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้าน - ในป่า ก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้น
    บุคคลนี้เสื่อมแล้วจากโภคะ (ทรัพย์สมบัติ) แห่งคฤหัสถ์
    และไม่อาจยังผลแห่งความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์
    ย่อมขจัดผลแห่งความเป็นสมณะให้กระจัดกระจายไป
    เหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น
    ก้อนเหล็กร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ อันบุคคล (พระชั่ว) บริโภคแล้ว ยังจะดีกว่า
    บุคคลผู้ทุศีล ผู้ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะดีอะไร
    เพราะพระต้องพึ่งโยม – เพราะโยมต้องพึ่งพระ เล่ม 45 หน้า 678

    คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยกันและกันทั้ง ๒ ฝ่าย
    ย่อมยังสัทธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมให้สำเร็จ
    (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อมปรารถนาเฉพาะ จีวร บิณฑบาต ที่นอนที่นั่ง
    และคิลานปัจจัย (ยารักษาโรค ,ปัจจัย 4 นี้ ไม่มีเงินและทองนะ)
    อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งอันตราย จากฝ่ายคฤหัสถ์ทั้งหลาย

    ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
    เชื่อถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้มีปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี
    ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติในศาสนานี้ มีปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่กาม ย่อมบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

    พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า

    ภิกษุทั้งหลาย พราหมณคหบดีทั้งหลายเหล่านี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย
    ซึ่งได้แก่ ทั้งพราหมณ์ทั้งผู้ครองเรือนที่เหลือ เธอทั้งหลายเท่านั้นที่เขาพากันทำนุบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น
    โดยคิดว่า (นี้) เป็นบุญเขตของเราทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจะพากันประดิษฐานไว้ซึ่งทักษิณา (ของทำบุญ)
    ให้มีค่าสูง มีผลอันงามเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิสทาน
    คือ โดยการแจกแบ่งอามิสทาน ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิสทาน อย่างนี้แล้ว

    บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม
    คือ การแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม

    ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร ?
    ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑบาต (เคารพในอาหารบิณฑบาต).

    ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะเหตุที่พราหมณ์และคหบดีเหล่านี้
    ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้ ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษ
    โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้เป็นผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำในสมณะเหล่านี้
    จักมีผลานิสงส์มาก ดังนี้ พวกเขาจึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น
    ฉะนั้น เธอทั้งหลายควรให้ความประสงค์นั้นของพวกเขาเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
    แม้ธรรมเทศนา ก็จะงดงามและน่าถือเอาสำหรับเขาเหล่านั้นผู้ทำตามอยู่นั่นแหละ
    ไม่ใช่สำหรับคนเหล่าอื่นนอกจากนี้
    เธอทั้งหลายพึงทำความไม่ประมาทในสัมมาปฏิบัติ (พึงปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมวินัย)

    แต่ถ้าพระปฏิบัติไม่ดี ก็เป็นเนื้อนาบาปอันมโหฬารแก่ผู้ถวายของทำบุญเหมือนกันนะ
    (อันนี้ซิเป็นเรื่องน่าเศร้า) เล่ม 51 หน้า 45

    ...ก็ในที่ไม่ไกล ที่พระเถระอยู่ มีภิกษุผู้โกหกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
    แสดงตนเหมือนเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เหมือนเป็นผู้สันโดษ เที่ยวลวงโลกอยู่.
    มหาชนพากันยกย่องภิกษุรูปนั้น เหมือนอย่างพระอรหันต์.

    ลำดับนั้น ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ
    ทรงทราบพฤติการณ์นั้นของเธอแล้ว จึงเข้าไปหาพระเถระ
    แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้โกหก กระทำกรรมชื่อไร ?

    พระเถระเมื่อจะตำหนิความปรารถนาลามก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

    บุคคลผู้ลวงโลก ย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึงฆ่าผู้อื่น บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย
    เหมือนนายพรานนก ที่หาอุบายฆ่านก และทำตนให้ได้รับความทุกข์ในอบายภูมิ ฉะนั้น
    บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ไม่ใช่พราหมณ์ (นักบวชผู้ลอยบาปแล้ว) เพียงแต่มีเพศเหมือนพราหมณ์ในภายนอกเท่านั้น
    เพราะพราหมณ์ (ที่แท้จริง) ย่อมมีเพศอยู่ภายใน บาปกรรมทั้งหลาย มีในบุคคลใด
    บุคคลนั้น เป็นคนดำ ดูก่อนท้าวสุชัมบดี ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ หนติ อตฺตานํ ความว่า
    บุคคลผู้โกหกเพื่อลวงโลก (ในที่นี้คือ พระทุศีล) ด้วยประพฤติเป็นคนโกหกของตน ชื่อว่า ย่อมฆ่าตน
    ด้วยธรรมอันลามก มีความเป็นผู้ปรารถนาลามกเป็นต้นก่อนทีเดียว คือ ยังส่วนแห่งความดีของตนให้พินาศไป.

    บทว่า ปจฺฉา หนติ โส ปเร ความว่า บุคคลผู้โกหกนั้น ฆ่าตนเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว เป็นอย่างแรกก่อน
    ต่อมาภายหลังจึงฆ่าคนทั้งหลาย ผู้สรรเสริญตนว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นพระอริยะ ดังนี้
    แล้วกระทำสักการะ คือ ทำสักการะที่เขาถวายตน ให้ไม่มีผลมาก ให้พินาศไป โดยการพินาศแห่งปัจจัย.
    พระเถระเมื่อจะแสดงว่า แม้ในการฆ่าทั้งสองอย่าง ของคนโกหกจะมีอยู่ แต่ข้อแปลกในการฆ่าตนมีดังนี้
    จึงกล่าวว่า สหตํ หนติ อตฺตานํ (บุคคลผู้ลวงโลกนั้นย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย).

    คนโกหกนั้น (พระทุศีล) เมื่อฆ่าตน ย่อมฆ่าคือทำให้พินาศให้ตนได้ง่ายดาย.
    ถามว่า เหมือนอะไร ?
    ตอบว่า เหมือนนายพรานนกที่หาอุบายฆ่านก ฉะนั้น.

    บทว่า ปกฺขิมา ได้แก่ นายพรานนก. เปรียบเหมือนนายพรานนก ลวงนกเหล่าอื่นไปฆ่าด้วยนกต่อนั้น

    ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนแม้ในโลกนี้ เพราะเป็นกรรมที่ท่านผู้รู้ตำหนิ และเป็นกรรมที่มีโทษเป็นสภาพ เป็นต้น
    ส่วนในสัมปรายภพ (โลกหน้า) ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนด้วยความมืดมน มัวหมองของทุคติทีเดียว
    แต่ในภายหลัง ก็ไม่สามารถจะฆ่านกเหล่านั้นได้อีก ฉันใด

    คนโกหกก็ ฉันนั้น ลวงโลกด้วยความเป็นคนโกหก
    ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนเองแม้ในโลกนี้ เพราะวิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) และถูกตำหนิจากวิญญูชนเป็นต้น.
    แม้ในปรโลก (โลกหน้า) ก็ชื่อว่าฆ่าตน เพราะความมืดมน มัวหมองของทุคติ
    ใช่แต่เท่านั้น ยังชื่อว่า ทำทายกผู้ถวายปัจจัยเหล่านั้นให้ถึงทุกข์ในอบาย (มีทุกข์ในนรก เป็นต้น) อีกด้วย
    เมื่อเห็นพระทำผิดธรรมวินัย...โยมก็เตือนได้ เล่ม 3 หน้า 663

    ...ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นท่านพระอุทายี
    นั่งในที่ลับ คือในอาสนะ (ที่นั่ง) กำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า

    "ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง
    ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม (ผู้หญิง) หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร
    แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส
    จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก "

    ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ก็มิได้เชื่อฟัง
    เมื่อนางวิสาขามิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย...


    เมื่อเตือนพระไม่ฟัง...ไม่ทำบุญกับพระนั้นก็ได้ เล่ม 7 หน้า 480

    ...ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีได้หารือกันดังนี้ว่า
    พระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพีนี้ ทำความพินาศใหญ่โตแก่พวกเรา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกท่านเหล่านี้รบกวน จึงเสด็จหลีกไปเสีย
    เอาละ พวกเราไม่ต้องอภิวาท (การกราบไหว้) ไม่ต้องลุกรับ
    ไม่ต้องทำอัญชลีกรรม (การประนมมือไหว้) สามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ) ไม่ต้องทำสักการะ
    ไม่ต้องเคารพ ไม่ต้องนับถือ ไม่ต้องบูชาซึ่งพระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพี
    แม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ต้องถวายบิณฑบาต ท่านเหล่านี้ ถูกพวกเราไม่สักการะ
    ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะอย่างนี้ จักหลีกไปเสีย หรือจักสึก
    หรือจักให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโปรด

    ครั้นแล้ว ไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม
    ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา
    ซึ่งพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ถวายบิณฑบาต.

    นี่ละครับภัยพิบัติอันแท้จริง เพราะเหตุที่ชาวพุทธไม่ศึกษา ไม่รักษาศาสนากันอย่างถูกต้อง ทำบุญที่คิดว่าเป็นบุญแต่กลายเป็นบาปสะสมไปแทน ความเดือนร้อนวุ่นวาย ถึงมีไปทุกหย่อมหญ้า ไม่คิดพิจารณากันบ้างเหรอครับ ว่าเมืองไทย เมืองพุทธศาสนานี้ ผู้คนขยันทำบุญ สร้างกุศลกันมากมาย เจริญสมาธิ ปัญญา มีพระอรหันต์มากมาย แต่ทำไม ผลบุญ ไม่ออกดอกผล บ้านเมืองนี้น่าจะเจริญทั้งทางโลก ทางธรรมมากที่สุดในโลกได้แล้วนะครับ ด้วยผลบุญตั้งแต่บรรพบุรุษทำกันมายาวนาน แต่ทำไม บ้านเมืองนี้ ยังคงประสบภัย ประสบความเดือดร้อน มีนักการเมืองเลว ผู้มีอำนาจทำทุจริตกันไปทั่วแผ่นดินนี้ บุญที่สะสมไม่ได้ช่วยเลยหรือทำไมๆ ก็เพราะเราไม่ศึกษาพระพุทธพจน์ให้ดี หลงงมงาย บอกตัวเองนับถือพระพุทธศาสนา มีพระไตรสรณคมณ์ เป็นที่พึ่ง แต่ยังไปหลงกราบไหว้ ต้นไม้ สัตว์พิ การแปลก ๆ ไปเที่ยวขอหวยกับพระ ส่งเสริมพระผิดวินัย แล้วความเจริญ ความเป็นชาวพุทธ มันอยู่ตรงไหนละ อยู่แต่ในทะเบียนบ้านกันทั่วหน้าเท่านั้นหรือ ช่วยกันพิจารณาแก้ไขกันด้วยเถอะครับ...เพื่อรักษาศาสนาไว้ ภัยพิบัติต่างๆ จะได้ผ่านไปซะที หากคนยังเต็มไปด้วยความโกรธ โลภ หลง กันแบบนี้ ก็คงผ่านไปได้ยาก อย่ารอให้พระอริยะมาช่วย หรือพระโพธิสัตว์ใดๆ มาช่วยเลย หากเรายังไม่ช่วยตัวเองในทางที่ถูกที่ควรอยู่แบบนี้ ด้วยความเคารพ
     
  17. jho7799

    jho7799 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +71
    หยุดดู หยุดรู้ ภายในตนเอง
    เห็นภายใน ระวังภายนอก
    สาธุ
     
  18. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระพุทธองค์สอนให้ยึดติดกับวัดสวยๆ หรือครับ.. มีวัดสวยๆ เป็นสรณ์(ทีพึ่งก็ตามใจ) เจตนาดีอย่างเดียวไม่พอหรอกครับ ต้องศึกษาดี ทำให้ถูกต้อง ตามธรรมวินัย ด้วยจึงเรียกว่าทำบุญ เป็นบุญ และได้บุญจริงๆ ยึดติดในวัตถุในวัดสวยๆ ตายไปก็เป็นผีเฝ้าวัดสวยๆ นั้นละครับ ให้ยึดในบุญกุศลที่ได้สร้างวัดให้เกิดประโยชน์ในศาสนานั้นสิ จะได้ไปสวรรค์ ส่วนพรหม นั้นจะเป็นได้ก็ต้องรักษาศีล พรหมจรรย์ มีพรหมวิหารสี่ เพิ่มด้วยถึงจะเป็นพรหมได้นะครับ อย่าแนะนำกันผิดๆ มันจะไปนรกกันมากกว่านิพพาน ทางสายกลางนั้น ก็ศึกษาเอาจากพระไตรปิฏกนั้นละครับสายกลาง ไม่ใช่เลี่ยงบาลี เลี่ยงคำสอนของพุทธองค์อันที่ทำไม่ได้ ตัดทิ้งไปแล้วเรียกว่าสายกลาง มันจะเลยไปลงกลางอเวจีแทนน่า กรุณาไปศึกษาพระไตรปิฏกให้ดีก่อน จะมาแนะนำคนอื่น สอนตัวเองให้ถูกต้องก่อนดีกว่านะครับ เจตนาดีแต่อย่าพาตัวเองและคนอื่น เชื่อแบบผิดๆ พากันหลงทาง ห่างไกลจากความดีงามในศาสนาจะดีกว่านะครับ
     
  19. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    พอใจจะให้อะไรก้อให้ไปเถอะครับ ให้ตั้งใจให้เพื่อตัดความโลภ เป็นทานบารมีของตัวท่านเอง ถ้ามาเศร้าหมองภายหลังก้อจะไม่ได้ผลเต็มที่ สิ่งของไม่ว่าแม้แต่อาหาร ให้แล้วก้อเปลี่ยนเป็นเงินได้ ให้เงินก้อเปลี่ยนไปของได้ ไม่ต่างกัน ใช่ไหมครับ
     
  20. pmntr

    pmntr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +2,244
    ทางใครทางมัน จบข่าว

    ต่อจากนี้เสนอ ข่าวภัยพิบัติ ต่อได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...