“มุทรา” รหัสนัยความหมายที่ซ่อนองค์คุณของการเจริญมหาสติ ที่มาแห่งเอกอัตลักษณ์ชนชาวไทย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 13 สิงหาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    “มุทรา” รหัสนัยความหมายที่ซ่อนองค์คุณของการเจริญมหาสติ

    ที่มาแห่ง เอกอัตลักษณ์ ชนชาวไทย
    <O:p</O:p

    การทำมุทราเป็นการแสดงท่ามือจีบนิ้วเป็นรูปลักษณะต่างเป็นที่คุ้นเคยของพุทธศาสนิกชนรู้จัก และเรียกอากัปกิริยานี้ว่า " การทำมุทรา "

    <O:p</O:p
    คำว่า “มุทรา”เป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายถึงปางต่างๆของประติมากรรมที่แสดงด้วยมือ เช่น ปางประทานอภัย (อภยมุทรา) ปางประทานพร (วรทมุทรา) ฯลฯ
    <O:p</O:p

    ความหมายแห่ง มุทราคือการแสดงมือเป็นสัญลักษณ์ต่างที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ทรงแสดงไว้เป็นความหมายถึงธรรมธาตใน พระโพธิสัตว์พระพุทธเจ้าโดยผู้ทำจะต้องใช้สมาธิจิตเป็นการทำความกลมกลืนให้เป็นหนึ่งเดี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทวยเทพธรรมบาลอภิเษกตนเองสมมุติให้เป็นเทพเป็นโพธิสัตว์ ถึงเป็นพระพุทธเจ้าเพื่ออาราธนาคุณมาช่วยโปรดสรรพสัตว์ผู้ทำต้องมีสมาธิจิตสูงมากสะอาดด้วยศีลบริสุทธิ์ด้วยปัญญาจึงจะสัมฤทธิ์ผล ในปัจจุบันก็คงจะมีแต่ผู้ทำท่ามือได้เท่านั้นจะให้เกิดฤทธิ์เกิดผลคงยากเต็มทีเพราะต้องเป็นผู้เคร่งครัดในอธิศีล ยื่งผู้ปฏิบัติภาวนาให้จิตบริสุทธิ์ก็ยิ่งแทบหาไม่เห็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    รูปแบบอากัปกิริยาการจีบนิ้วทำมุทรา เป็นการแสดงออกของสภาวะจิตที่เข้าถึงและร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเช่นธรรมจักรมุทราอภัยปราณีมุทรามารวิชัยมุทราฯลฯซึ่งเมื่อทำมุทราแล้วจะมีมนต์กำกับเฉพาะมุทรานั้นเชื่อกันว่ามีบุญญานุภาพอันไพบูลย์มากทำหนึ่งมุทราสามารถชำระบาปซึ่งสั่งสมอยู่ในขันธสันดานเป็นเวลากว่า๓๐อสงไขยแสนมหากัลป์ไห้หมดสิ้นไปและยังเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของเทวดาอินทร์พรหมทั้งหลาย<O:p</O:p


    กล่าวกันว่าสื่อสัญญลักษณ์ “มุทรา” ในพิธีโยคะตันตระของคณะสงฆ์จีนซึ่งมีพื้นฐานมาจากอนุตตรตันตระในทิเบตซึ่งเป็นญานที่แปดนั้น จัดเป็นญานรองสุดท้ายของพุทธญานทั้งเก้า เป็นรองเพียงอทิโยคะ เป็นญานพิเศษเฉพาะของณิงมาปะเท่านั้น ซึ่งการเจริญสตินั้นห่างไกลจากการบรรลุพุทธภาวะอีกนับกัลป์ไม่ได้แต่กระนั้นก็ตาม อากัปกิริยามหามุทราในพิธีโยคะตันตระนั้น คือ เป็นการรวมสมาธิกระทั่งเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะโดยผ่านมุทราผู้เรียนรู้ฝีกฝนปฏิบัติใช้เวลาไม่เกินชาติในการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า

    ผู้ที่ฝึก สมาธิ จนกลายเป็นนิสัยและข้าถึงวิถีจิตแห่งพุทธะเที่ยงแท้แล้ว บุคคลเหล่านั้นจะมีท่าทางอากัปกิริยาเป็นมุทราคือเดินเหินเคลื่อนไหวด้วยอาการที่เชื่องช้าเนิบนาบอ่อนนุ่มมีสติในขณะเดียวกันจะหนักแน่นมั่นคงและมั่นใจเพราะเป็นอาการของคนมี สติ / สัมปชัญญะ
    <O:p</O:p
    อากัปกิริยาเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วย สติ/ สัมปชัญญะนี่แหละที่กำหนดอาการมุทราการเคลื่อนไหวเช่นนี้คืออากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าและสาวกของท่านคือพระสงฆ์ผู้รักษาศีลและฝึกสมาธิสติ-สมาธิ-ปัญญาจะเกิดต่อกันเป็นลูกโซ่ฉะนั้นผู้ที่ฝึกสติและมีสมาธิแล้วการเคลื่อนไหวของผู้นั้นจะตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ฝึกซึ่งมักจะมีอาการเร่งรีบหยาบกระโดกกระเดกนอกจากคนที่มีอาการสงบตามธรรมชาติหรือโดยนิสัยเท่านั้น

    <O:p</O:p
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คนไทยโบราณก็ได้นำระดับภูมิจิตการเข้าถึงภาวะมุทรา มาผสานเป็นภูมิปัญญาสู่กระแสวัฒนธรรมแล้วโดยการฝึกบุตรหลานให้เดินเหินด้วยท่าทางมุทราคือ อ่อนช้อยเชื่องช้าเนิบนาบมาดมั่นสมสง่า และบวกกับความเคารพยำเกรงโดยการต้องก้มโค้งหรือเดินบนเข่าเมื่อผ่านผู้ใหญ่เช่น หากขึ้นบนเรือนแล้วผู้ใหญ่กำลังนอนอยู่เด็กๆก็ต้องหัดเดินให้เงียบที่สุดแม้การฟ้อนรำแบบไทยเดิมต่างๆก็ยังอยู่บนหลักของการฝึกท่ามุทรา สื่อสิริแห่งพละกำลังในกาย ดังให้เห็นในการแสดงท่ารำจับจีบมือตัวเอกในโขนละครชุดรามเกียรติ
    <O:p</O:p
    อากัปกิริยาภาวะมุทรานี้จึงได้ซ่อนองค์คุณที่สำคัญมากที่สุดไว้คือมีทั้งเรื่องศีลเรื่องการฝึกสติเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธิการที่สิ่งเหล่านี้อยู่ในกระแสวัฒนธรรมนั้นทำให้เด็กตกเข้าไปในร่องทางของการฝึกสติโดยที่ตนเองก็ไม่รู้ตัวแต่ทุกครั้งที่เด็กจำเป็นต้องเดินด้วยอาการที่เชื่องช้าต่อหน้าผู้ใหญ่นั้นเขาจำเป็นต้องมีสติไม่เช่นนั้นเขาจะทำไม่ได้ฉะนั้นจิตที่วุ่นวายจะได้รับการรวบให้สงบลงทุกครั้งสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นการฝึกสติปัฏฐานไปในตัวปรากฎลูกโซ่แห่งสมาธิภูมิจิตจากการเข้าถึงมหาสตินี้ ล้วนฝั่งรากอยู่ในอากัปกิริยาปรากฎอัตลักษณะเฉพาะชนชาวไทยสืบมา ยากที่ชาวชาติอื่นใดจะลอกเลียนแบบได้ คือ เด็ก – อ่อนน้อม / ผู้หญิง- อ่อนหวาน / ผู้ใหญ่ –อ่อนโยน อาการมุทราเหล่านี้กำลังหายไปจากคนไทยโดยเฉพาะหญิงไทยด้วยความเร็วที่น่าใจหาย เพราะการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเต็มที่

    <O:p</O:p
    เข้าใจแล้ว วิถีไทย วีถีพุทธ ภูมิปํญญา อัตลักษณ์ชนชาวไทย
    ควรรักษาได้ด้วยวิถีใด :)


    เรียบเรียงจาก
    http://community.buddhayan.com/index.php?topic=210.0;prev_next=next<O:p</O:p
    http://community.buddhayan.com/index.php/topic,565.msg2283.html#msg2283<O:p></O:p>

    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • tosakan.jpg
      tosakan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.5 KB
      เปิดดู:
      279
    • pra_ram.jpg
      pra_ram.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.8 KB
      เปิดดู:
      229
    • งาม 2.jpg
      งาม 2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.9 KB
      เปิดดู:
      290
    • งาม 3.jpg
      งาม 3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.5 KB
      เปิดดู:
      1,945
    • งาม 6.jpg
      งาม 6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30 KB
      เปิดดู:
      243
    • งาม 5.jpg
      งาม 5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.7 KB
      เปิดดู:
      260
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สาระต่อเนื่อง จากนี้ไป ขออนุญาตคัดมาเผยแพร่เป็นวิทยาธรรมศึกษา
    ขอได้รับคำสรรเสริญอนุโมทนา เพื่อท่านเจ้าของสาระต้นฉบับ สาธุการค่ะ


    พร้อมนี้ กราบอนุโมทนา กัลยาณมิตรผู้อารี
    ที่ได้แนะนำ link ไว้ให้ทราบด้วยนะคะ




    ;36​






    มุทรา (mudras : bodily posture or symbolic gesture of buddha images)
    <!-- Main -->มุทรา (mudras)

    คำว่า “มุทรา” หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร คือทั้งท่าทางของร่างกาย หรือสัญลักษณ์ของพระหัตถ์ (bodily posture or symbolic gesture) ซึ่งใช้กับเทวรูปต่างๆ ซึ่งมีการสร้างของพราหมณ์ ฮินดู ก่อนที่พุทธศาสนาจะอุบัติขึ้น เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น การที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของพุทธประวัติ โดยใช้พระพุทธรูปนั้น การสร้างพระพุทธรูปในอิริยาบทต่างๆนั้นเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็ง่าย บางครั้งก็ยาก จึงต้องมีการใช้ มุทรา ที่เป็นสัญลักษณ์ของมือ เข้ามาร่วมด้วย เพราะเป็นที่รู้จัก และเข้าใจในความหมายกันมาก่อนแล้ว การเห็นพระพุทธรูปจึงทำให้คนที่เห็นนั้น เข้าใจในองค์พระพุทธรูปนั้นๆ ว่าแสดง หรือแทน พระพุทธประวัติ ในช่วงใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    มุทรา
    มีมากมายหลายแบบ แต่ทางพุทธศาสนานำมาใช้ ที่สำคัญ คือ


    ๑. ธยานิ มุทรา (Dhyani Mudra or Samadhi Mudra : gesture of meditation)

    (สัญลักษณ์แทนสมาธิ การหลุดพ้นของจิตสู่นิพพาน หรือการตรัสรู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ๒. วิตรรก มุทรา (Vitarka Mudra : teaching gesture The Gesture of Debate)

    สัญลักษณ์ทรงแสดงธรรม เดี๋ยวนี้จะได้ยินศัพท์ใหม่ เขาบอกว่า ปางดีดน้ำมนต์ ทรงแสดงธรรมนี้ ถูกต้องแน่นอน มุทรานี้ ยังต้องประกอบกันด้วยสองหัตถ์ คือพระหัตถ์ขวาจีบยกขึ้นระดับไหล่ พระหัตถ์ซ้ายหงายห้อยลงระดับสะโพก ถ้าเป็นปางนั่งสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายจะวางหงายบนพระเพลา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ๓. ธัมมจักร มุทรา (Dharmachakra Mudra : gesture of turning the wheel of the teaching)

    สัญลักษณ์ทรงแสดงปฐมเทศนา มุทราแบบนี้ มีการนำไปสร้างเป็นพระพุทธรูปทั้ง ๓ อิริยาบท คือยืน นั่งห้อยพระบาท และนั่งสมาธิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ๔. ภูมิผัสส มุทรา (Bhumisparsha Mudra : gesture of touching the earth)

    สัญลักษณ์ทรงพิชิตมาร หรือมารวิชัย ที่ทรงใช้พระหัตถ์ ยื่นลงไปแตะพระธรณี เพื่อให้พระธรณีเป็นพยาน มุทรานี้ ยังแสดงถึงความมั่นคง ไม่หวั่นไหวอีกด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ๕. อภย มุทรา ทรงประทานอภัย (Abhaya Mudra : gesture of fearlessness and granting protection or the Gesture of Renunciation)

    สัญลักษณ์แสดงพลังแห่งการปกป้องคุ้มครอง เป็นมุทราที่พระพุทธองค์ทรงกระทำภายหลังจากทรงตรัสรู้ ประทานแก่สัตว์โลกทั้งหลาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ๖. วรท มุทรา ทรงประทานพร (Varada Mudra : gesture of granting wishes or The Gesture of Compassion )

    สัญลักษณ์แสดงประทานพรที่ขอ หรือการสละให้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ๗. อัญชลี มุทรา (Anjali Mudra or Namaskara Mudra : gesture of greeting and veneration or The Gesture of Prayer)

    สัญลักษณ์แสดงการทักทาย หรือ แสดงความเคารพ มุทรานี้จะไม่ได้ใช้กับพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า แต่จะใช้กับพระพุทธรูปที่เป็นพระอรหันต์ หรือพระสาวเท่านั้น เช่นรูปพระโมคคัลลา และพระสาลีบุตร ที่ยืนอัญชลีต่อหน้าพระพุทธรูปพระพุทธชินราช
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นอกจากมือที่มีความหมายตามลักษณะต่างๆ แล้ว แม้แต่นิ้วมือ ก็มีความหมายด้วยเช่นกัน โดยนิ้วทั้ง ๕ เป็นสัญลักษณ์ของ

    ๑.ความกรุณา (Generosity)
    ๒.ความมีศีลธรรม (Morality)
    ๓.ขันติ ความอดทน (Patience)
    ถ.ความมานะ พยายาม (Effort)
    ๕.การตั้งมั่นในสมาธิ (Meditative concentration)

    การดูปางพระพุทธรูป ให้เข้าใจความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ เราจึงต้องศึกษา มุทรา ประกอบด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น นั่นเอง

     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    คนไทยโบราณก็ได้นำระดับภูมิจิตการเข้าถึงภาวะมุทรา มาผสานเป็นภูมิปัญญาสู่กระแสวัฒนธรรมแล้วโดยการฝึกบุตรหลานให้เดินเหินด้วยท่าทางมุทราคือ อ่อนช้อยเชื่องช้าเนิบนาบมาดมั่นสมสง่า และบวกกับความเคารพยำเกรงโดยการต้องก้มโค้งหรือเดินบนเข่าเมื่อผ่านผู้ใหญ่เช่น หากขึ้นบนเรือนแล้วผู้ใหญ่กำลังนอนอยู่เด็กๆก็ต้องหัดเดินให้เงียบที่สุด

    ขอบคุณจ้า คุณพี่บุญญ เพิ่งทราบครานี้เอง อย่างน้อยหนูก็ยังคงได้รับการถ่ายทอด อากัปกิริยานี้อยู่ และได้ฝังอยู่ในกริยาโดยไม่รู้ตัวเลย....



    อาการมุทราเหล่านี้กำลังหายไปจากคนไทยโดยเฉพาะหญิงไทยด้วยความเร็วที่น่าใจหาย เพราะการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเต็มที่


    สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว โดยเฉพาะ ความอ่อนน้อมของเด็กๆ นับวันจะไม่มีเหลือเลย เป็นความแข็งกระด้าง อาจเป็นเพราะผู้ใหญ่เองไม่ปลูกฝังกริยา มารยาท หรือการเลี้ยงเด็กไม่เป็นก็ไม่รู้ หรือการไม่มีเวลาอบรมก็ไม่รู้ .....
     
  14. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    อนุโมทนาในสิ่งที่คุณบุญญสิกขา นำมาแบ่งปันประดับปัญญา เพื่อให้ชนรุ่นหลังที่นับวันจะไม่ทราบในสิ่งเหล่านี้กันแล้วนะคะ รวมทั้งตัวเองด้วยค่ะซึ่งอยู่ในกลางเก่ากลางใหม่อ่ะนะ... คิกๆๆๆ

    แต่จะขอแสดงความเห็นด้วยซักนิด ซึ่งอาจมองต่างจากคุณบุญญและน้องสร้อยและอีกหลายๆท่าน ที่อาจจะโหยหาในวัฒนธรรมอันดีของไทยที่กำลังเลือนหายไป แต่หากเรามีการปรับใช้เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของชนชาติตะวันตกที่กำลังกลืนวัฒนธรรมที่สวยงามของชาวตะวันออกได้ ก็เชื่อว่าแม้แต่ชนชาติที่ว่านั้นก็ต้องทึ่งในสิ่งที่เรานำมาปรับใช้ได้อย่างลงตัว ที่แม้แต่ชนชาติตะวันตกก็ไม่สามารถซึมซับความงามที่หยั่งลึกของชาวไทยได้ เหมือนคนไทยที่เข้าใจได้จริงๆ และหากหญิงไทยรู้จักคำว่าแม่พลอยแห่ง 4 แผ่นดิน ก็คงรู้จักปริศนา สาวน้อยที่สดใสน้ำใจงามนี้เช่นกัน โดยรู้จักนำมาผสมผสานก็จะเป็นที่เกรงขามว่าหญิงไทยงามพร้อมกว่าสาวใดในแผ่นดิน จริงมั๊ยจ๊ะ^_________^





    .
     
  15. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณค่ะแม่บุญญฯ สำหรับความรู้ใหม่(สำหรับบุษนะ แหะๆๆ ได้เพิ่มรอยหยักในสมองอันน้อยนิดของบุษได้อีกเยอะเลย)
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สาวน้อยที่สดใสน้ำใจงามนี้เช่นกัน โดยรู้จักนำมาผสมผสานก็จะเป็นที่เกรงขามว่าหญิงไทยงามพร้อมกว่าสาวใดในแผ่นดิน จริงมั๊ยจ๊ะ^_________^

    ถึงขนาดน่าเกรงขามเลยเหรอพี่ปุญญ... ขอแค่กริยานุ่มนวลอ่อหวานแบบไม่เกรงใจใครได้ป่ะ... หรือแบบเรียบร้อยน่ารักแบบที่ว่าผู้ชายต้องเกรงใจก็พออ่ะ...
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คำไหว้พระจุฬามณี ฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
    นะโม ข้าจะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
    ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
    ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
    นะโม ข้าจะไหว้พระธรรมเจ้า ของพระพุทธองค์
    เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
    ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
    ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
    นะโม ข้าจะไหว้พระสังฆเจ้า ของพระพุทธองค์
    เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
    ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
    ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโนติ ฯ


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.674687/[/MUSIC]


    ตัวอย่าง สื่อรหัสนัยแห่ง มุทรา นี้
    บรรพบุรุษชนชาวไทย ท่านไว้ในนาฏศิลป์ลีลา น้ำมือการจับจีบ เช่น การตั้งวงรำมือ ยิ่งโดยเฉพาะรูปแบบชั้นสูง ตัวละครโขนและละคร ไม่ว่าจะเป็น พระราม พระลักษณ์ ยักษ์ ลิง ตัวอย่างเด่นชัด ในตอนพระรามอวตาร ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    นี้ล่ะค่ะ สำคัญนัก
    จึ่งได้ คัดสาระนำมาตักเตือนกุลสตรี สภาพสตรีไทย ให้รู้จักรากเง้าตัวตน ภูมิใจชาติเราชาวไทยกันไงค่ะ - งาม สง่า ในกิริยาท่าท่วงที เธอมีอยู่ในดวงจิต แม้ยามเอียงอาย ชะม้าย หาไม่ ในหญิงงามชาติไหน ๆ ใดใด ขนาดชายชาติอื่น เที่ยวได้ยกย่อง หญิงไทย !
     
  19. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,329
    [​IMG]

    กิริยาที่งดงามก็เป็นส่วนหนึ่งที่มาจากจิตใจที่งดงามที่ต้องอาศัยคุณธรรมที่สั่งสม ฝึกฝนขัดเกลามาดีแล้ว...ซึ่งถ้าสตรีใดหรือผู้ใดมีไว้เป็นสมบัติประจำตัวได้...ไม่ต้องไปหาเสน่ห์ที่ไหนมาแต่งเติมเพราะ...งามอยู่แล้วโดยไม่ต้องเสแสร้ง
     
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471


    กราบขอบพระคุณ คุณพี่ประทีปแก้ว ค่ะ ภาพงามๆ บุญญสิกขา ยังลงภาพใหญ่ ๆ อย่างนี้ ไม่เป็นเลยค่ะ สาธุคุณพี่ด้วยความเคารพรัก ค่ะ


    [​IMG]



    “การไหว้” กิริยาสื่อสาร อาการงามอย่างไทย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อทราบความนัยนี้แล้ว จึงไม่ประหลาดใจใดใดเลย ทำไมชนชาวสุวรรณภูมิและภุมิภาคใกล้เคียง ไล่เรื่อยแถบมาจาก อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย จึงต่างมีเอกลักษณ์ทักทายเหมือนกัน คือ “ท่าไหว้” แต่ ท่าไหว้ชาติไหน ๆ ก็ไม่งดงามเท่า การไหว้แบบไทยๆ<O:p</O:p
    <O:p

    ใครเลยจะรู้บ้าง ทำไมคนไทย จึงจัดกิริยาการเคารพนบน้อบพระมหากษัตริย์ ด้วยอาการถวายบังคม นี้ก็เพราะ คนไทยรู้จักการเก็บกำลัง รวบรวมพลังแห่งดวงจิต สื่อสารส่งพลังนบนอบตอบแทนคุณ จากพลังในกายเรากันนั่นเอง
    <O:p</O:p
    <O:p
    การถวายบังคม<O:p</O:p
    ซึ่งเป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ก่อนที่จะถวายบังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้งนั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชายและหญิงมือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้างชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อยหญิงนั่งเข่าชิดการถวายบังคมแบ่งออกเป็นจังหวะ


    จังหวะที่ยกมือขึ้นประนมระหว่างอกปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก<O:p</O:p
    จังหวะที่ยกมือที่ประนมขึ้นให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย<O:p</O:p
    จังหวะที่ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ในจังหวะที่<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    [​IMG]



    ทำให้ครบ ครั้ง โดยจบลงอย่างจังหวะที่แล้วจึงลดมือลงวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้างการถวายบังคมดังกล่าวนี้หญิงมีโอกาสใช้น้อยจะใช้ในกรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกันถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ<O:p</O:p


    การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพโดยนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียวมือประสานเมื่อจะกราบให้ประนมมือก้มศีรษะลงหน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนมเมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้งหนึ่งแล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม


    <O:p</O:p
    <O:p
    รับทราบอย่างนี้ นับแต่นี้ไป สมควรแล้ว จะได้ภูมิใจ ทุก ๆ ครั้งที่ได้ส่งใจสื่อสารสู่อาการกราบและไหว้ ด้วยสติปัญญาอาการงามอย่างไทย ๆ ให้สวยงามที่สุดในโลกกันนะคะ



    [​IMG]


    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    http://kanchanapisek.or.th/kp8/mthai/res.html#5<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...