องค์มรรค ๘ ใคร ๆ ก็รู้ทำไมถึงเดินไม่ใคร่จะถูก ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Tboon, 12 สิงหาคม 2009.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    พระธรรมเจดีย์ :
    จะปฏิบัติให้ถึงสุขอันไพบูลย์จะดำเนินทางไหนดี ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ก็ต้องดำเนินทางองค์มรรค 8

    พระธรรมเจดีย์ :
    องค์มรรค 8 ใครๆก็รู้ ทำไมถึงเดินกันไม่ใคร่จะถูก ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะองค์มรรคทั้ง 8 ไม่มีใครเคยเดิน จึงเดินไม่ใคร่ถูก พอถูกก็เป็นพระอริยเจ้า

    พระธรรมเจดีย์ :
    ที่เดินไม่ถูกเพราะเหตุอะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะชอบเดินทางเก่าซึ่งเป็นทางชำนาญ

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทางเก่านั้นคืออะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่กามสุขัลลิกานุโยคแลอัตตกิลมถานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    กามสุขัลลิกานุโยคนั้นคืออะไร ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ความทำตนให้เป็นผู้หมกมุ่นติดอยู่ในกามสุขนี้แล ชื่อว่ากามสุขัลลิกานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    อัตตกิลมถานุโยคได้แก่ทางไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ผู้ปฏิบัติผิด แม้ประพฤติเคร่งครัดทำตนให้ลำบากสักเพียงไร ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ซึ่ง มรรค, ผล, นิพพาน, นี่แหละเรียกวาอัตตกิลมถานุโยค

    พระธรรมเจดีย์ :
    ถ้าเช่นนั้นทางทั้ง 2 นี้ เห็นจะมีคนเดินมากกว่ามัชฌิมาปฏิปทาหลาร้อยเท่า ?

    พระอาจารย์มั่น :
    แน่ทีเดียว พระพุทธเจ้าแรกตรัสรู้ จึงได้แสดงก่อนธรรมอย่างอื่นๆ ที่มาแล้วในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อให้สาวกเข้าใจ จะได้ไม่ดำเนินในทางทั้ง 2 มาดำเนินในทางมัชฌิมาปฏิปทา

    พระธรรมเจดีย์ :
    องค์มรรค 8 ทำไมจึงยกสัมมาทิฎฐิ ซึ่งเป็นกองปัญญขื้นแสดงก่อน ส่วนการปฏิบัติของผู้ดำเนินทางมรรค ต้องทำศีลไปก่อน แล้วจึงทำสมาธิ แลปัญญา ซึ่งเรียกว่าสิกขาทั้ง 3 ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ตามความเห็นของข้าพเจ้าว่าจะเป็น 2 ตอน ตอนแรกส่วนโลกียกุศลต้องทำศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลำดับไป ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4 สังโยชน์ 3 ยังละไม่ได้ ขีดของใจเพียงนี้เป็นโลกีย์ ตอนที่เห็นอริยสัจแล้วละสังโยชน์ 3 ได้ ตอนนี้เป็นโลกุตตร

    พระธรรมเจดีย์ :
    ศีลจะเอาศีลชนิดไหน ?

    พระอาจารย์มั่น :
    ศีลมีหลายอย่าง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 แต่ในที่นี้ประสงค์ศีลที่เรียกว่า สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว แต่ต้องทำให้บริบูรณ์

    จากหนังสือ ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
    - พระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ถาม
    - พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอบ


    ที่มา ::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2009
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    พระอาจารย์มั่น :
    เพราะองค์มรรคทั้ง 8 ไม่มีใครเคยเดิน จึงเดินไม่ใคร่ถูก พอถูกก็เป็นพระอริยเจ้า

    ----------------------------------------------------------------------

    เมื่อรู้แจ้งเห็นจริง สัมมาทิฏฐิจึงเปิดทางให้ จึงมองเห็นทาง (เอก) เห็นอริยสัจจ์

    เห็นอริยสัจจ์ คือเห็นว่า เขาดับทุกข์กันยังไง ตรงไหน ต้นตอของมันอยู่ตรงไหน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2009
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ปฏิบัติกันไปเถอะ เมื่อถึงเวลา วาสนาบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว จะปฏิบัติในแนวใดก็ตาม ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านเมตตาสั่งสอนมา มันก็ทะลุถึงกันหมดทุกสำนักนั่นเอง ไม่มีเขามีเรา เพราะเข้าถึงแก่นแท้เดียวกัน จึงหมดข้อสงสัยใด ๆ ซึ่งกันและกันได้ในที่สุด...

    สาธุครับ
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    หากจะดูว่าตนเองเข้าถึงธรรมหรือยัง ให้ดูที่การละกิเลส (ในปัจจุบัน)

    ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้ากิเลสเกิดขึ้นมา เราละกิเลสเป็นหรือยัง

    กิเลสเป็นอย่างไร เรารู้จักและเข้าใจอาการของเขาบ้างแล้วหรือยัง

    การละกิเลสต้องละให้ได้ทุกอิริยาบถ เมื่อรู้ตัว ไม่ต้องไปมัวตั้งท่าขัดสมาธิอะไร

    รู้ทันแล้วก็ให้หัดละ ละมันในขณะที่กำลังดำเนินกิจวัตรในชีวิตประจำวันนี่แหละ ครูบาอาจารย์ท่านจึงสอนให้รู้จัก กินให้เป็น นอนให้เป็น อย่างนี้เป็นต้นนั่นเอง


    จบข่าว...
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    การกระทำใดทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ที่ทำแล้วกิเลสมันบรรเทา กิเลสมันลดลง การกระทำนั้นผมขอเรียกว่า "มรรค" ^-^
     
  6. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ถูกต้องครับ หากแต่การเดินมรรคนั้นหากมิยอมใช้อริยสัจ 4 มีเป็นองค์พิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่าย และ วางเฉยในขั้น 5 (สังขารุเปกษาญาน) มรรคนั้นย่อมเดินไม่ถึง ผลเช่นกัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "เรากล่าวว่า อริยสัจ 4 นี้เป็นทางสายเอก จะถึงซึ่งพระนิพพานได้ มีทางนี้ทางเดียวทางอื่นไม่มี " สมัยก่อนพราหมทั้งหลายเข้าใจว่า สมาบัติ 8 (รูปฌาน 4 อรูปฌาน4 ) เป็นทางสำเร็จพระพุทธเจ้าท่านลองแล้ว พบว่าไม่ใช่ เมื่อตรัสรู้ทรงใช้ฌานเหล่านั้นเป็นกำลังพิจารณาในอริยสัจ 4 จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาน เอาแต่สมาธิระงับจิตอุปมาเป็นดังก้อนหิน ทับต้นหญ้า หญ้านั้นจะตายก็หาไม่ หากแต่ ถอนรากเหง้าหญ้านั้นเสีย หญ้านั้นจึงจักไม่กลับงอกเงยขี้นมาใหม่ ด้วยพิจารณาอริยสัจ4 โดยเฉพาะตัวทุกข์นี่ต้องรู้ให้มาก
     
  7. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    องค์มรรค 8 ใคร ๆ ก็รู้ทำไมถึงเดินไม่ใคร่จะถูก ?

    พระอาจารย์มั่น : เพราะชอบเดินทางเก่าซึ่งเป็นทางชำนาญ

    อนุโมทนา สาธุ.



     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    <table width="549" align="center" bgcolor="#ffffcc" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td colspan="4">มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

    </td> </tr> <tr> <td> </td> <td colspan="4">
    ..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
    ..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
    .....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
    .....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
    .....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
    .....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
    ..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
    .....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
    .....อำนาจของอวิชชา
    ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
    .....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
    ..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
    ..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    ..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    ..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    ..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    ..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    ..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    ..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
    .....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
    .....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
    ...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
    ....
    </td> </tr> <tr> <td width="12" bgcolor="#ffffff"> </td> <td colspan="4" bgcolor="#ffffff">.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
    .....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
    .....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
    .....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
    .....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
    .... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
    .....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
    .....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
    .....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
    .....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
    </td> </tr> <tr> <td width="12"> </td> <td colspan="4">สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
    .....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
    .....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
    .....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
    .....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
    </td> </tr> <tr> <td width="12" bgcolor="#ffffff"> </td> <td colspan="4" bgcolor="#ffffff">.สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    </td> </tr> <tr> <td width="12"> </td> <td colspan="4">.สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    </td> </tr> <tr> <td width="12" bgcolor="#ffffff"> </td> <td colspan="4" bgcolor="#ffffff">.สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    </td> </tr> <tr> <td width="12"> </td> <td colspan="4">.สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
    .....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
    </td> </tr> <tr> <td width="12" bgcolor="#ffffff"> </td> <td colspan="4" bgcolor="#ffffff">.สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
    .....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
    .....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
    </td> </tr> <tr> <td width="12"> </td> <td colspan="4">.สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
    .....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
    .....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้
    .....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
    </td> </tr> <tr bgcolor="#ffffff"> <td width="12"> </td> <td colspan="4">....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
    .....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
    .....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
    .....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
    ..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
    .....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
    .....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
    .....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
    .....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
    .....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
    .....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
    .....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
    .....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...