การสวดบทเมตตาใหญ่สามารถช่วยวิญญาณไปเกิดได้จริง

ในห้อง 'ประสบการณ์ ผลของการสวด' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ประมาณ วันที่ ๑ กรกฏาคม ๒๕๔๗ ข้าพเจ้าได้พาอาจารย์และเพื่อน ๆ เดินทางไปเที่ยวบ้านเกิด ที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด

    โดยที่ไม่ทราบว่าอาจารย์เสริมศิลป์ ขอนวงค์ สวดมนต์อัญเชิญพระพุทธเจ้า โดย "บทสวดเมตตาใหญ่ แบบพิสดาร" แล้วสามารถทำให้วิญญาณไปเกิดได้ เพราะเท่าที่เห็นจากการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ คือ การสวดมนต์และนั่งสมาธิ เหมือนกับกลุ่มปฏิบัติธรรมทั่ว ๆ ไป

    ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าได้ประสบมาด้วยตนเองผู้อ่านพิจารณาจากเรื่องได้ ดังนี้

    เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนที่กลุ่มของอาจารย์ ฯ จะเดินทางไปบ้านของข้าพเจ้าประมาณ ๑ สัปดาห์ ข้าพเจ้าฝันเห็นภาพที่หน้าบ้านตัวเอง (อ.บ่อไร่) ได้ยินเป็นสียงผู้ชายพูดโดยไม่เห็นตัว (ในฝันเดาว่า น่าจะเป็นหัวหน้าวิญญาณ) พูดว่า


    “ ใครอยากไปเกิดให้รีบมาลงชื่อไว้ เดี๋ยวจะมีคนมาสวดมนต์บทปลดปล่อยวิญญาณให้ไปเกิดได้ ”

    สิ้นเสียงคำพูดในฝัน ข้าพเจ้าเห็นรูปร่างคนลักษณะเป็นเจลใส ๆ หลายตน มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านข้าพเจ้า ดูแล้วไม่รู้ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย กระโดดโลดเต้นไปมาด้วยความดีใจ แล้วพูดว่า


    “เราจะได้ไปเกิดแล๊ว ๆ ๆ ”

    ตั้งแต่ต้นจนจบภาพความฝันเร็วมาก แต่ข้าพเจ้าไม่อาจเข้าใจความหมายของเรื่องที่ฝันได้ จึงไม่กล้าเล่าให้ใคร นอกจากเล่าให้อาจารย์ฟัง และถามด้วยความสงสัยว่า

    ข้าพเจ้าถามว่า "เจลใส ๆ ที่เห็นในฝันนั้น คือ วิญญาณใช่หรือไม่?"
    อาจารย์ ตอบสั้นๆว่า "ใช่ !"


    เมื่อถึงกำหนดวันนัดหมาย ทุกคนไปถึงบ้านของข้าพเจ้า ในช่วงหัวค่ำมีการสวดมนต์ทำวัตรเย็นตามปกติ ลูกศิษย์อาจารย์ที่มีสัมผัสที่ ๖ (สามารถรับรู้ติดต่อกับวิญญาณได้ ) พูดขึ้นหลังจากสวดมนต์จบลงว่า


    “ วิญญาณที่นี่ดีจัง มีการลงชื่อกันเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก ทำให้จัดส่งวิญญานไปเกิดได้สะดวกรวดเร็วและครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องการจะไปเกิด”

    พอข้าพเจ้าได้ยินแล้วก็รู้สึกแปลกใจ ระคนสงสัย แต่ก็ทำให้เข้าใจเรื่องที่ฝัน (วิญญาณลงชื่อ) และก็รู้สึกดีใจอยู่เงียบ ๆ ว่าสิ่งที่ฝันนั้นพวกวิญญาณเขาได้ไปดีแล้วเมตตาพรัหมะวิหาระภาวนา พิสดาร

    เพราะเรื่องในฝันได้สอดคล้องกับเรื่องที่ลูกศิษย์ของอาจารย์สัมผัส ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เล่าความฝันนี้ให้ลูกศิษย์อาจารย์คนนั้นฟังเลย จึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างหนึ่งว่า วิญญาณในฝันนั้นมีจริง และการสวดมนต์ในครั้งนั้น สามารถส่งให้วิญญาณไปเกิดได้ด้วย ( ความรู้ใหม่นะเนี่ย... )

    แต่ .... ข้าพเจ้าก็ยังสงสัยต่อไปอีกว่า บทสวดมนต์บทไหนหนอ ... สามารถปลดปล่อยวิญญาณได้ ก็ได้คำตอบจากอาจารย์ว่า "บทสวดมนต์เมตตาใหญ่ ฯ "

    ถึงจะทราบคำตอบแล้ว ข้าพเจ้าก็ยังไม่เข้าใจอีกว่า ทำไม? บทสวดนี้ถึงทำให้วิญญาณไปเกิดได้ (แต่ตอนนั้นข้าพเจ้าไม่กล้าถามอาจารย์มากไปกว่านี้ เพราะถามว่ากลัวถูกว่าว่าไม่ฉลาด)

    ลูกศิษย์อาจารย์คนที่มี sixth sense นั้น ยังเล่าต่ออีกว่าวิญญาณที่นี่เยอะมาก ๆๆๆๆ ข้าพเจ้าก็คิดอยู่ในใจว่าน่าจะใช่อยู่หรอก เพราะ อ.บ่อไร่ นี้ ข้าพเจ้ารู้ดีมาตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นเด็กแล้ว เนื่องจากอำเภอนี้มีการทำเหมืองพลอยเป็นอาชีพหลักในสมัยนั้น มีการฆ่ากันทุกวัน เพราะผลประโยชน์การซื้อขายพลอยไม่ลงตัวกันเป็นส่วนใหญ่

    ในสมัยนั้นกฏหมายบ้านเมืองยังเข้าไปไม่ถึง จึงเป็นอำเภอบ้านป่าเมืองเถื่อนอยู่ และเป็นพื้นที่ที่ติดชายแดนเขมร มีการยิงต่อสู้กันระหว่างไทย กับ เขมรแดง ตามแนวชายแดนนานนับสิบปี ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากถิ่นอื่น ทำให้ไม่ทราบว่าใครเป็นใครมาจากที่ใด เมื่อตายจึงไม่มีญาติมารับศพไปบำเพ็ญกุศลให้

    เรื่องที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าพิสูจน์ได้ ๒ เรื่อง คือ

    ๑. วิญญาณมีจริง และได้เห็นว่าวิญญาณมีรูปร่างเป็นอย่างไร
    ๒. การสวดมนต์ นอกจากตัวผู้สวดได้ประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังสามารถช่วยวิญญาณให้พ้นทุกข์ได้
    ๓. คุณพระพุทธเจ้าประเสริฐจริง ๆ บทเมตตาใหญ่ ฯ เป็นบทที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงอานิสงส์ การมีเมตตาต่อผู้อื่น เมื่อมีเมตตาแล้วตัวเป็นสุข
    ผู้อื่นก็เป็นสุขด้วย



    เรื่องเล่าจากคน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

    http://www.mettajetovimuti.com/forum/viewtopic.php?f=24&t=145
     
  2. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,240
    “ วิญญาณที่นี่ดีจัง มีการลงชื่อกันเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก ทำให้จัดส่งวิญญานไปเกิดได้สะดวกรวดเร็วและครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องการจะไปเกิด”


    เหมือนที่เราเคยฝัน เเบบนี้เลย เเต่จะเป็นฝลั่งยืนเรียงคิวเพื่อจะไปเช็นอะไีรสักอย่าง ที่ฝันเห็นฝลั่้งเพราะเราอยู่เยอรมันค่ะ
     
  3. พงศ์กฤต

    พงศ์กฤต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    5,699
    ค่าพลัง:
    +33,737
    โมทนาด้วยกับธรรมะดีๆ ขอบทสวดมนต์เมตตาใหญ่ช่วยโพสต์หน่อยครับ จะเอาไปสวดที่บ้าน ต่อจาก คาถาชีนบัญชร โมทนาด้วยครับ
     
  4. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,659
    เราสวดทุกวันเลย ถ้าไม่ใช่มีธุระจริงๆ ไปเมืองนอกก็สวด
     
  5. trirut

    trirut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,420
    ค่าพลัง:
    +1,499
    [​IMG]ครับ
     
  6. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  7. godman

    godman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,254
    [​IMG] วิญญาณมีจริงๆครับ
     
  8. Freiheit

    Freiheit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +103
    บทสวด เมตตาใหญ่

    เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)




    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ

    ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ

    ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ

    วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?

    (๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ

    (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ

    (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ

    เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ

    ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ

    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

    กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ

    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?


    (๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


    (๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๑) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ


    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ


    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา

    อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา

    อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา

    อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา

    อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา

    อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา

    ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ

    เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ


    เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2009
  9. Freiheit

    Freiheit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +103
    เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่แปล)

    เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่แปล)

    ข้าพเจ้า ได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีฯ ณ โอกาสนั้นและรพผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฯ พระผู้มีพระภาคได้ประทานพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย (คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะรับ) อานิสงส์ ๑๑ ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนต้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้ว ทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม (ด้วยวสี ๕ ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ อานิสงส์ ๑๑ ประการ (ของเมตตาเจโตวิมุติ) คืออะไรบ้าง? (อานิสงส์ ๑๑ ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ คือ)

    (๑) นอนหลับเป็นสุข

    (๒) ตื่นเป็นสุข

    (๓) ไม่ฝันร้าย

    (๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

    (๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

    (๖) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา

    (๗) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา

    (๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว

    (๙) ผิวหน้าผ่องใส

    (๑๐) ไม่หลงตาย

    (๑๑) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ หวังได้แน่นอนที่จะได้รับ อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนส้องเสพ ทำให้ชำนาญ แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม ด้วยวสี ๕ ประการดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ

    เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มีอยู่

    เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปเจาะจง บุคคล มีอยู่

    เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศที่มีอยู่ฯ

    เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?

    เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?

    เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง?


    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มี ๕ อย่าง

    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มี ๗ อย่าง

    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศมี ๑๐ อย่างฯ


    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) ๕ อย่างมีอะไรบ้าง?

    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) ๕ อย่าง คือ


    (๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ

    (๒) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ

    (๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ

    (๕) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ


    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) ๗ อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) ๗ อย่าง คือ)


    (๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่าง คือ)

    (๑) ประเภทที่ ๑

    (๑) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๒) ประเภทที่ ๒


    (๑) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๓) ประเภทที่ ๓


    (๑) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๔) ประเภทที่ ๔


    (๑) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๕) ประเภทที่ ๕


    (๑) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๖) ประเภทที่ ๖


    (๑) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
    (๗) ประเภทที่ ๗


    (๑) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๘) ประเภทที่ ๘


    (๑) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๙) ประเภทที่ ๙


    (๑) ขอปุถุชนขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๑๐) ประเภทที่ ๑๐


    (๑) ขอเทวดาขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอผู้มีเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๑๑) ประเภทที่ ๑๑


    (๑) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    (๑๒) ประเภทที่ ๑๒


    (๑) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๒) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๓) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๔) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๕) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๖) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๗) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๘) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๙) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

    (๑๐) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ


    เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ

    ด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑

    ด้วยการเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑

    ด้วยการเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑

    ด้วยการเว้นการย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑

    ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑

    ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑

    จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑

    จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑

    จิต ชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อ วิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาท และ ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติฯ

    เมตตาพรหมวิหารภาวนา
     
  10. ใจ

    ใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +45
    อนุโมทนาสาธุค่ะ ได้บทสวดนี้จากเวปนี้และได้สวดอย่างไม่ได้ ไม่ได้เลยก็สองครั้งต่อเดือน แต่ก็จะพยายามหมั่นให้มากกว่านี้ ขอบคุณเวปดีๆที่ให้สิ่งดีๆ บอกได้เลยค่ะ หลังสวดเสร็จ ปิติอิ่มเอมอย่างที่สุด ขอบคุณค่ะ
     
  11. BeRespectful

    BeRespectful สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    ดิฉันสวดบทนี้ค่อนข้างบ่อยไม่รู้มาก่อนเลยมาอนิสงส่งวิญญาณได้ด้วย
    ดิฉันได้มาจากวัดสุทัศน์เป็นเล่มค่ะ สิบหน้าหน้าโดยประมาณ สาธุ
     
  12. คนกันเอง

    คนกันเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    7,441
    ค่าพลัง:
    +8,977
    อนุโมทนสาธุ

    สวดบทนี้เป็นภาษาบาลี แล้วไม่ต้องสวดเป็นไทยได้มั้ยครับ
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาค่ะ
    จะหาโอกาสสวดในช่วงเข้าพรรษานี้
    ขอท่านทั้งหลายได้อนุโมทนาในผลบุญนี้ค่ะ
     
  14. deawmilan

    deawmilan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +206
    เป็นบทแผ่เมตตาที่ผมชอบมากที่สุดครับ
     
  15. simking

    simking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอร่วมอนุโมทนาด้วยค่ะ ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีบทสวดมนต์นี้ แต่ต่อไปนี้ทราบแล้วจะลองสวดดูตอนหลังจากไหว้พระค่ะ เผื่ออานิสงฆ์ในการท่องครั้งนี้จะช่วยให้ปู่ ย่า ตา ทวด
    ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวรและเทวดาทั้งหลายจะได้รับ เป็นการทำบุญอีกวิธีหนึ่งค่ะ
     
  16. Cerulean Blue

    Cerulean Blue ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2005
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +868
    อนุโมทนาค่ะ

    เคยได้บทสวดนี้ แล้วสวด เห็นผลค่ะ หลายอย่าง หลายครั้งด้วยกัน
    ต้องปฏิบัติเองค่ะ สวดเอง แล้วจะเห็นผลได้ด้วยตัวเอง
     
  17. dabos29

    dabos29 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +53
    ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับ

    ผมก็เจริญเมตตาเหมือนกันแต่เป็นชุดเล็กนะครับ
    ผมเรียนมาจากหลวงปู่ ทิวา อาภากโร วัดปทุมวนาราม
    เมื่อครั้งที่บวชเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ฯครับ
    หลวงปู่แบ่งสรรพสัตว์เป็นกลุ่มใหญ่ๆเจ็ดกลุ่มดังนี้ครับ
    พรหม
    เทวดา
    มนุษย์
    เปรต
    อสุรกาย
    เดียรัจฉาน
    สัตว์นรก
    เพียงกล่าวเป็นภาษาไทยคือ
    ขอพรหมทั้งหลายจงมีความสุข
    ขอเทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
    (สำหรับมนูษย์นั้นหลวงปู่บอกว่าพิเศษหน่อยต้องแบ่งย่อยเป็นคนสี่คน)
    คนแรก ขอข้าพเจ้าจงมีความสุข
    คนที่สอง ขอมนุษย์ที่เป็นที่รักของข้าพเจ้าจงมีความสุข
    คนที่สาม ขอมนุษย์ที่ข้าพเจ้าไม่รู้จักจงมีความสุข
    คนที่สี่ ขอมนุษย์ที่ข้าพเจ้าไม่รัก ไม่ชอบ จงมีความสุข (เกลียดหรือเคยเป็นศรัตรู)
    ปล.คนนี้ยากหน่อยครับแต่ถ้าทำได้จริง ผลเป็นจริงครับคือเรามีความสุขเองครับ
    ขอเปรตทั้งหลายจงมีความสุข
    ขออสุรกายทั้งหลายจงมีความสุข
    ขอเดียรัจฉานทั้งหลายจงมีความสุข
    ขอสัตว์นรกทั้งหลายจงมีความสุข
    สรุป ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข
    แล้วต่อด้วยการแผ่ความสุขไปทั้งสิบทิศและทุกจักรวาลเลย

    ท่านใดสนใจลองดูครับกระชับสั้นๆ
    จบแล้วครับวันหน้าจะมาใหม่
    ขอให้ท่านจงมีความสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 สิงหาคม 2009
  18. athiti

    athiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +228
    ขออนุโมทนาสาธุ ด้วยค่ะ
    เมื่อวานนี้ได้สวดมนตร์บทนี้ เพิ่งได้รับทราบความหมายดีดีวันนี้ ขอบคุณค่ะ..
     
  19. kriengkripob

    kriengkripob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,326
    ค่าพลัง:
    +2,048
    อนุโมทนา จะสวดแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ได้พ้นทุกข์ สาธุ
     
  20. LMong

    LMong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +541
    กระผมจออนุโมทนา เช่นกันคัรบผม

    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...