สนุกสุขใจกับสงกรานต์กรุงเทพฯ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 เมษายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>10 เมษายน 2549 17:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>คนไทย-ต่างชาติ ต่างสนุกด้วยกันในสงกรานต์ถนนข้าวสาร </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> วันหยุดสงกรานต์ในปีนี้หลายคนก็เดินทางออกนอกเมืองหลวง บ้างก็เดินทางเพื่อกลับบ้านเกิดภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมเยียนพ่อแม่ญาติพี่น้อง บ้างก็เดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวงานสงกรานต์ในจังหวัดต่างๆ ที่จัดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

    แต่สำหรับคนที่ยังต้องอยู่โยงเฝ้าเมืองอยู่ในกรุงเทพมหานครนี้ก็ไม่ต้องกลัวว่าวันสงกรานต์คราวนี้จะเงียบเหงา เพราะในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ นี้ มีหลายแห่งด้วยกันที่จัดงานประเพณีสงกรานต์ขึ้น โดยแต่ละแห่งก็มีกิจกรรมน่าสนใจไม่ซ้ำกันเลย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เล่นน้ำกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยนี่คือวิถีไทยที่ต่างชาติชื่นชม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เย็นชุ่มฉ่ำกับอุทยานน้ำ ณ ท้องสนามหลวง

    งาน "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" ประจำปี 2549 ณ ท้องสนามหลวงในครั้งนี้ จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9-15 เมษายน โดยการจัดงานในวันแรกจะเริ่มต้นด้วยความสนุกสนานกับอุทยานน้ำ และประตูน้ำพุที่จะโปรยสายน้ำเย็นชื่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่เดินผ่านเข้าสู่อุทยานน้ำพุ ซึ่งเป็นการจัดแสดงน้ำประกอบแสงสีเสียง สื่อผสม และเทคนิคพิเศษ โดยจะมีการนำเสนอน้ำพุประกอบจินตภาพผ่านม่านน้ำในสองชุดการแสดงด้วยกัน คือ "สุดยอดมหัศจรรย์อุทยานน้ำพุวิจิตรนิรมิตร ตำนานสยามสงกรานต์" ที่นำเสนอเรื่องราวตำนานความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ ทั้งตำนานหลักและตำนานของท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์ของท้องถิ่นต่างๆ

    ส่วนการแสดงอีกชุดหนึ่งคือ "สุดยอดมหัศจรรย์อุทยานน้ำพุวิจิตรนิรมิตร เย็นศิระเพราะพระบริบาล" เป็นการนำเสนอพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โครงการตามพระราชดำริ และพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่แห่งพระบารมีของพระองค์ และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พสกนิกรมีต่อพระองค์ นอกจากนั้นก็ยังมีกิจกรรม "น้ำกับเทศกาลแห่งความสุข" ที่นำเสนอเทคนิคพิเศษในการจัดแสดงน้ำแบบต่างๆ ที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ เพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ของน้ำที่สร้างความสุขในรูปแบบต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้การแสดงจะเริ่มในเวลา 20.00 น. ส่วนอุทยานน้ำจะเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00-23.00 น.ของวันที่ 9-15 เมษายน
    นอกจากนั้นตลอดช่วงการจัดงานนี้ก็ยังมีกิจกรรมจำลองประเพณีสงกรานต์ 4 ภาค โดยมีการนำเสนอเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันของประเพณีสงกรานต์ของทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ และการสาธิตอาหารและขนมไทยที่นิยมทำในช่วงประเพณีสงกรานต์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สงกรานต์ถนนข้าวสารกับความสนุกนานาชาติ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> และสำหรับพิธีเปิดงาน "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" อย่างเป็นทางการนั้น จะเริ่มในคืนวันที่ 12 เมษายน เวลา 19.00 น. โดยจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครขึ้นประดิษฐานบนบุษบกในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ รวมทั้งสักการะกันตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ 12-15 เมษายน และพิธีเปิดนี้จะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ไปทั่วประเทศ และถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซต์ www.songkran.net ไปทั่วโลกอีกด้วย

    สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับประเพณีอันดีงามของวันสงกรานต์ อย่างเช่นการรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสนั้น ภายในงานก็จะจัดให้มีเช่นกัน โดยได้มีการเรียนเชิญอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพ และผู้ใหญ่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งมีการก่อเจดีย์ทราย และการละเล่น การแสดงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการแสดงร่วมสมัยอีกมากมายที่ไม่ควรพลาด

    สนุกกับสงกรานต์นานาชาติถนนข้าวสาร

    หากพูดถึงงานสงกรานต์ภายในกรุงเทพฯ แล้วไม่พูดถึงงานสงกรานต์บนถนนข้าวสารละก็ ต้องถือว่าเชย เพราะการเล่นน้ำสงกรานต์บนถนนข้าวสารนี้ถือเป็นงานที่สนุกสุดเหวี่ยงงานหนึ่ง มีผู้คนไปร่วมงานแน่นขนัดทุกปี และไม่เฉพาะชาวไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวต่างชาติต่างภาษาที่มาร่วมเล่นสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานอย่างไม่แบ่งแยก

    สำหรับงานสงกรานต์บนถนนข้าวสารนั้นได้เริ่มเล่นกันมา 20 กว่าปีแล้ว คือเริ่มมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2533 เนื่องจากที่ถนนข้าวสารนี้เป็นย่านแหล่งที่พักอาศัยชั่วคราวของชาวต่างชาติ หรือที่เรียกว่าเกสต์เฮ้าส์มาตั้งแต่ พ.ศ.2528-2529 ซึ่งแต่ก่อนนั้นก็มีเพียงชาวไทยเท่านั้นที่เล่นสงกรานต์ และเมื่อชาวต่างชาติที่พักอาศัยอยู่แถวนั้นได้เห็นประเพณีที่น่าสนุกเช่นนั้นจึงเข้ามาร่วมเล่นกัน จนทำให้งานสงกรานต์ของไทยมีชื่อเสียงในระดับโลก จากการบอกเล่าปากต่อปากของนักท่องเที่ยว รวมทั้งจากการที่มีการนำภาพการเล่นสงกรานต์ของที่นี่ไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ทั่วโลก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ไอ้หนูกับปืนฉีดน้ำกระบอกโตขอฉีดทุกคนที่เดินผ่าน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แต่งานสงกรานต์ในแถบถนนข้าวสารนั้นโด่งดังขึ้นมาจริงๆ ก็เมื่อประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมานี่เอง โดยมีกิจกรรมเพิ่มเติมนอกจากการเล่นสาดน้ำเป็นปกติแล้ว ก็ยังมีทั้งเวทีการแสดง มีสปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุน มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการในการตกแต่งหน้าร้าน หรือร่วมกันเปิดเพลงไทยในช่วงวันสงกรานต์ เพื่อสร้างบรรยากาศแบบไทยๆ รวมทั้งมีน้ำสำหรับเล่นสงกรานต์ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอีกต่างหาก

    แน่นอนว่างานสงกรานต์บนถนนข้าวสารในปีนี้ก็ยังคงมีกิจกรรมดีๆ อยู่มากมายแน่นอน โดยในปีนี้กำหนดจัดงานในวันที่ 12-15 เมษายน ใช้ชื่องานว่า "ประเพณีสงกรานต์ถนนข้าวสาร" ประจำปี 2549 จัดโดยสมาคมผู้ประกอบการค้าถนนข้าวสาร และชมรมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร จัดให้นักท่องเที่ยวได้เล่นน้ำกันบนเส้นทางตลอดถนนข้าวสารเลยทีเดียว

    ส่วนจุดเด่นของการจัดงานในปีนี้ก็อยู่ที่การมุ่งเน้นให้เห็นถึงประเพณีการเล่นสงกรานต์ที่ดี การเล่นน้ำอย่างถูกประเพณี และแสดงให้เห็นถึงการเติบโต และการมีชื่อเสียงของงานสงกรานต์ถนนข้าวสาร โดยได้จัดให้มีการแสดงชุดพิเศษชื่อว่า "รำประวัตินางสงกรานต์ทั้ง 7 คน" หรือ Miss Songkran ซึ่งจะทำให้ได้เห็นประวัติความเป็นมาของตำนานวันสงกรานต์ที่โด่งดังไปทั่วโลก

    สำหรับงานสงกรานต์ถนนข้าวสารในปีนี้มีการรณรงค์ให้ร้านค้าย่อยและผู้ประกอบการงดจำหน่ายแป้ง และกระบอกฉีดน้ำ รวมทั้งรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาร่วมเล่นสงกรานต์ให้เล่นกันอย่างถูกประเพณี โดยไม่เล่นแป้งและกระบอกฉีดน้ำ และเพื่อความปลอดภัย ทางสถานีตำรวจชนะสงครามจึงได้จัดกำลังมาช่วยเหลือ และรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวทุกคนอีกด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สู้ตายค่ะ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในส่วนของกิจกรรมของงานประเพณีสงกรานต์ถนนข้าวสารนั้น เริ่มตั้งแต่ในวันที่ 12 เมษายน เวลา 18.00-24.00 น. ซึ่งจะมีพิธีเปิดงาน ณ เวทีชั่วคราว ด้านสถานีตำรวจชนะสงคราม โดยมีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาเป็นประธานเปิดงาน จากนั้นก็จะเป็นกิจกรรมการแสดงต่างๆ เช่น การประชันวงดนตรีเครื่องสายและวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรีพิสดาร การแสดงดนตรีสุนทราภรณ์วงใหญ่ การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย การแสดงฟันดาบ การแสดงร้องเพลงรำตัด การแสดงวงกลองยาวผสมแตรวง และการแสดงอื่นๆ อีกมากมาย

    ที่สำคัญยังมีการจัดประกวดเทพีสงกรานต์ชาวต่างชาติ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของถนนข้าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ชุดไทยในสมัยต่างๆออกสู่สายตาผู้คนทั่วโลก ให้เห็นว่าแม้แต่ชาวต่างชาติก็สามารถสวมใส่ชุดไทยได้อย่างสวยสดงดงาม และยังเป็นการเปิดตลาดด้านแฟชั่นอีกด้วย

    นอกจากนี้ ในวันที่ 13 เมษายน เวลา 08.00 น. เนื่องจากปีนี้เป็นปีเฉลิมฉลองสิริราชย์สมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงได้มีการจัดขบวนสงกรานต์ถนนข้าวสารพิเศษกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีขบวนรถ ภปร 60 ปี และขบวนอื่นๆ เช่น ขบวนรถพระพุทธรูป ขบวนรถพระสงฆ์ ขบวนรถนางสงกรานต์ ขบวนการแสดงพื้นเมืองศิลปะแบบไทยๆ ฯลฯ โดยจะเริ่มต้นเดินขบวนสู่รอบเขตพระนครชั้นนอก และสิ้นสุดขบวนที่ถนนข้าวสาร และหลังจากนั้นร่วมเล่นน้ำสงกรานต์อย่างถูกประเพณีบนถนนข้าวสารตลอดเส้นทาง

    สงกรานต์ปีนี้สนุกได้...แบบไร้แอลกอฮอล์

    เทศกาลสงกรานต์นับเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มักมีการดื่ม เหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายๆคนอาจคิดไม่ถึงว่านั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการทำลายประเพณีอันดีงาม เพราะเป็นการเสริมสร้างความรุนแรง จะเห็นได้จากพฤติกรรมหลากรูปแบบที่ไม่เหมาะไม่ควร รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่มีทุกปี

    ด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ก็ได้ร่วมมือกับทางประชาคมท้องถิ่นจากทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็น ประชาคมบางลำพู สมาคมหมออนามัย ฯลฯ ก็ได้ร่วมรณรงค์จัดงาน "สงกรานต์นี้ สนุกได้...ไร้แอลกอฮอล์" โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวได้สนุกสนานช่วงสงกรานต์อย่างปลอดภัย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ จะประดิษฐานที่สนามหลวงให้ประชาชนได้สรงน้ำในช่วงสงกรานต์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับโครงการสงกรานต์ไร้แอลกอฮอล์นี้ได้จัดขึ้นในทั่วภูมิภาคของประเทศ และสำหรับในกรุงเทพมหานครนั้นจัดขึ้นใน 4 จุดด้วยกันคือ ประชาคมบางลำพู จัดงานวันที่ 13-15 เมษายน (ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ สี่แยกบางลำพู ถนนจักรพงษ์ ถนนสิบสามห้าง ถนนไกรสีห์ และถนนตานี) วัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ (ถนนจรัญสนิทวงศ์) จัดงานวันที่ 10-18 เมษายน ชุมชนปรกอรุณ (วัดอรุณราชวราราม) จัดงานวันที่ 12-13 เมษายน และวัดบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน จัดงานวันที่ 13-18 เมษายน

    สำหรับในพื้นที่ของประชาคมบางลำพูนั้น ในรอบหลายปีที่ผ่านมาประเพณีสงกรานต์ของชาวบางลำพู ได้ถูกทั่วโลกกล่าวขาน ในฐานะของเทศกาล "water war" หรือ "สงครามน้ำ" ซึ่งเป็นความเข้าใจอันผิดเพี้ยนและบิดเบือนไปจากประเพณีดั้งเดิมที่ดีงาม ทาง สสส. และ สคล. จึงมีความต้องการที่จะเปลี่ยนภาพของสงกรานต์ของประชาคมบางลำพู และในพื้นที่อื่นๆ ให้เป็นเทศกาลที่ปลอดจากแอลกอฮอล์

    นอกจากจะปลอดเครื่องดื่มมึนเมาแล้ว กิจกรรมต่างๆ ภายในงานก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว โดยในวันที่ 13 เมษายน จะมีพิธีตักบาตรเมือง และพิธีแห่พระบรมธาตุพุทธบางลำพูประชานาถ ร่วมด้วยขบวนแห่หลวงพ่อข้าวสาร และหลวงพ่อวิสุทธิกษัตริย์ รวมทั้งพิธีรับขบวนแห่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ปิดท้ายด้วยการประกวดนางสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์-บางลำพู ที่เวทีสวนสันติชัยปราการ

    ส่วนวันที่ 14 เมษายน จะมีการรื้อฟื้นและต่อยอดประเพณีสรงน้ำพระสงฆ์ประจำเมือง และพิธีรดน้ำขอพรผู้ใหญ่เมืองบางลำพู ส่วนในวันที่ 15 เมษายน จะมีพิธีแห่พระบรมธาตุพุทธบางลำพูประชานาถกลับวัดบวรนิเวศวิหาร และทั้งสามวันนี้จะมีมหรสพที่เน้นประเพณีไทยมาให้ชม โดยจะมีการแสดงอยู่สองเวทีด้วยกัน คือบริเวณสวนสันติชัยปราการ และเวทีบริเวณถนนจักรพงษ์ ใกล้หน้าห้างตั้งฮั่วเส็ง ปากซอยไกรสีห์

    ในส่วนของจุดจัดงานอีกสามจุดที่เหลือต่างก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจเช่นกัน เช่นประเพณีเทศกาลแห่ผ้าไตรถวายหลวงพ่อเกษร ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาววัดท่าพระ ก็เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 100 ปีแล้ว และในปีนี้จะจัดขบวนแห่ในวันที่ 12 เมษายน บริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ ส่วนงานสงกรานต์ที่วัดอรุณฯ และวัดบางกระดี่นั้น ต่างก็มีความเป็นมายาวนานกว่า 60 ปีแล้ว โดยเฉพาะที่ชุมชนบางกระดี่นั้น ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ จึงได้นำเอาวัฒนธรรมของมอญมาผสมรวมกับประเพณีไทย ไม่ว่าจะเป็นดนตรีทะแยมอญ การละเล่นปี่พาทมอญ รำมอญ สะบ้า เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ดับร้อนด้วยน้ำเย็นๆชุ่มฉ่ำดีแท้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> งานนี้นักท่องเที่ยวที่จะไปร่วมงานก็สบายใจได้ว่าจะได้เที่ยวและเล่นน้ำสงกรานต์ตามแบบประเพณีดีงามของไทย ไร้แอลกอฮอล์แน่นอน

    เที่ยวพระราม 8 สงกรานต์ของดีบางพลัด

    ปิดท้ายกันด้วยงานสงกรานต์ของเขตบางพลัด ที่ใช้ชื่องานว่า "เทศกาลสงกรานต์ สืบสานประเพณี ชมของดีเขตบางพลัด" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 8-12 เมษายน ณ บริเวณสวนสาธารณะสะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) ในงานจะมีทั้งการจัดกิจกรรมของเทศกาลสงกรานต์ และกิจกรรมการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มกรุงธนบุรี (กท.5) ได้แก่ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตคลองสาน และเขตธนบุรีด้วย เรียกว่าไปครั้งเดียวแต่เหมือนได้เที่ยวทั้งสองงานเลยทีเดียว

    ในส่วนของกิจกรรมงานเทศกาลสงกรานต์ในวันที่ 8 เมษายนนี้จะเริ่มต้นจากพิธีอัญเชิญพระพุทธแซกคำ พระประธานจากวัดคฤหบดีไปทางน้ำ เพื่อให้ประชาชนร่วมสรงน้ำ โดยจะแวะเทียบตามท่าน้ำต่างๆ คือท่าเรือวัดฉัตรแก้วจงกลณี ท่าเรือวัดอาวุธวิกสิตาราม ท่าเรือวัดเทพากร ท่าเรือวัดเทพนารี ท่าเรือวัดบวรมงคล ท่าเรือวัดดาวดึงษาราม และท่าเรือสะพานพระราม 8 และหลังจากนั้นจะอัญเชิญพระพุทธแซกคำขึ้นประดิษฐาน ณ มณฑปในบริเวณงานเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและสักการะตลอดระยะเวลาการจัดงาน

    นอกจากนั้นภายในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ จากนักเรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการจัดมหกรรมอาหารสะอาด และการสาธิตพร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของเขตบางพลัด เช่น ผลิตภัณฑ์หัวโขน ขนมลูกชุบ เป็นต้น ส่วนในวันที่ 12 เมษายน เวลา 07.00 น. วันสุดท้ายของการจัดงาน จะมีการตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 80 รูป และปล่อยปลา 8,000 ตัว เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของไทย

    และแน่นอนว่า สำหรับการเล่นสงกรานต์ในงานนี้ก็ได้มีการขอความร่วมมือกับนักท่องเที่ยวให้เล่นน้ำกันอย่างสุภาพ ไม่ใช้น้ำแข็งหรือแป้ง เพื่อให้ประเพณีสงกรานต์ยังคงวัฒนธรรมที่ดีงามเหมือนที่เป็นมา

    ตกลงเลือกได้หรือยังว่าวันสงกรานต์นี้จะไปเที่ยวกันที่ไหนดี??</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,318
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...