เรื่องดีดีน่าอ่าน "บันทึกลับภิกษุนิรนาม"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กิตฺติคุโณ, 19 กรกฎาคม 2009.

  1. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่21 อดีตชาติคือหลวงปู่ร่างไม่เน่า

    เรื่องราวในชีวิตของอาตมาในปัจจุบันชาตินี้ ก็มีตามที่เขียนเล่ามา แล้ว บัดนี้ก็จะเล่าถึงชีวิตในอดีตชาติที่ส่งเสริมให้มารับผลในปัจจุบันดูบ้าง
    ตามที่ได้เล่ามาแล้วว่า อาตมาได้เคยไปที่วัดหนึ่งซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ของท่านมหาจาเริญ กับท่านมหาเอง และได้ไปพบหลวงปู่ในตู้กระจก นั่งมรณภาพในสมาธิ เนื้อหนังไม่เน่าเปื่อย แต่แห้งไปบ้าง
    ขณะนั้นอาตมารู้ด้วยจิตว่า หลวงปู่ในตู้กระจกก็คือ อาตมาในอดีตชาติ เมื่อกายทิพย์ออกจากกายธาตุแล้ว ก็มาเกิดใหม่ เป็นตัวของอาตมาเอง
    ด้วยจิตอันปฏิบัติมาดีแล้วนั้น ทาให้อาตมามีหูทิพย์ ตาทิพย์ ผิดกับ เด็กทั้งปวง เมื่อย้อนไปดูอดีตลึกลงไปอีก จึงรู้ว่าก่อนจะมาเป็นหลวงปู่นั่ง อยู่ในตู้กระจกนั้น มีความเป็นมาอย่างไร
    หลวงปู่ซึ่งเป็นอดีตชาติของอาตมา ท่านเกิดมาดี ในครอบครัวที่มี ศีลธรรม ชอบเข้าวัดถือศีลฟังธรรม ฐานะมีอันจะกิน เลี้ยงดูลูกๆ ซึ่งมี ๓ คนด้วยกันให้เป็นสุขได้
    สาหรับหลวงปู่แม้จะเกิดมาในฐานะดี บิดามารดาก็เป็นคนดีมีศีลธรรม แต่ตัวท่านซึ่งเป็นลูกคนสุดท้อง ก็มีร่างกายอ่อนแอ ๓ วันดี ๔ วันไข้ ไป หาหมอที่ไหนรักษา ก็ไม่มีทางดีขึ้น แต่ก็ไม่ถึงกับเจ็บหนัก
    เพราะความเป็นคนขี้โรค หลวงปู่จึงไม่ค่อยได้ไปวิ่งเล่นซุกซนกับ เพื่อนๆ นอกจากพี่ๆ และมักจะเล่นอยู่แต่ในบริเวณบ้านของตน บาง ครั้งก็นั่งเงียบสงบอยู่ตามลาพัง เป็นคนช่างนึกช่างคิด
    ครั้นโตขึ้นหน่อย อายุถึงเกณฑ์ต้องเข้าเรียน ก็มีกาลังจะไปเรียน ได้ บางทีก็ต้องหยุด แต่ก็เรียนได้จนจบชั้นประถม เพราะความอ่อนแอ ทางร่างกาย จึงได้รับความรักสงสาร และเป็นที่ห่วงใยจากบิดา มารดาเป็นอันมาก
    หลวงปู่ตอนนั้น มักจะตื่นเช้า เพราะชอบดูตอนมารดาตักบาตร พระที่หน้าบ้านเป็นประจา เห็นพระห่มผ้าเหลือง เดินเรียงกันมาเป็นแถว จิตใจก็ชุ่มชื่นมีความสุข ทาให้นึกอยากบวชเป็นพระบ้าง ความ รู้สึกอยากบวชนี้ นับวันจะเพิ่มมากขึ้น
    พอหลวงปู่อายุได้ ๑๘ ปี ค่าวันหนึ่ง หลวงปู่ก็บอกกับบิดามารดาว่า
    “ลูกอยากบวชพระ”
    มารดามองหน้าอย่างแปลกใจ เพราะไม่เคยได้ยินลูกพูดถึงเรื่องการ บวชมาก่อนเลย ก็ถามว่า
    “ลูกเป็นคนขี้โรคอย่างนี้ จะทนอดข้าวเย็นไหวหรือ”
    “เรื่องอาหารนี้ บางครั้งลูกเบื่ออาหาร ทาให้ไม่หิวอยู่แล้ว ไปบวช ก็คงจะไม่ลาบากอะไร อยู่อย่างนี้ ลูกก็ไม่ค่อยจะแข็งแรง จะช่วยพ่อแม่ ทางานก็ไม่ได้ ทาให้พ่อแม่เป็นห่วงกังวลอยู่เสมอ หากไปบวชแล้ว จะ ตายในผ้าเหลืองลูกก็ยินดี”
    เมื่อบิดามารดาเห็นความตั้งใจแน่วแน่อย่างนั้น ก็ไปหาอาจารย์ที่วัด จะขอฝากให้บวชเณรดูก่อน และได้พาหลวงปู่ไปด้วย
    ท่านอาจารย์ที่วัดแห่งนั้น เป็นคนที่มีความรู้ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบ และเก่งในวิชาอาคมต่างๆ เมื่อท่านนั่งพิจารณาอยู่พักหนึ่ง จึง พูดขึ้นว่า
    “ลูกโยมคนนี้ เมื่อบวชแล้วจะไม่สึกนะ โยมเต็มใจหรือ”
    มารดาตอบว่า “ก็แล้วแต่วาสนาบารมีของเขา ตัวเขาเองก็บอกว่า ขอให้ได้บวช จะตายในผ้าเหลืองก็ยินดีเจ้าค่ะ ดิฉันเป็นห่วงแต่ว่า ร่างกาย ของลูกไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก ขี้โรค สามวันดีสี่วันไข้ จะทนอดอาหาร ไม่ไหวเท่านั้น”
    ท่านอาจารย์หัวเราะ “เรื่องนี้คงไม่เป็นไร บวชแล้วปฏิบัติดี โรคภัย มันจะหายไปเอง”
    อีกไม่กี่วันต่อมา หลวงปู่ก็ได้บวชเณรสมตามความตั้งใจ
    “สิ่งแรกของการบวชก็คือ ต้องทาจิตใจให้เป็นสมาธิเสียก่อน ส่วน การเล่าเรียนปริยัติธรรม เอาไว้ว่ากันทีหลัง”
    แล้วท่านอาจารย์ถามว่า “ตอนบวชนั้น พระอุปัชฌาย์ก็สอนกรรม ฐานให้แล้ว เณรจาได้ไหม ที่ท่านบอกเกศา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เล็บ) ตะโจ (หนัง) ทันตา (ฟัน) นะ”
    “จาได้ขอรับ” หลวงปู่เมื่อครั้งเป็นสามเณรตอบ
    “นั่นแหละกรรมฐานบทแรกล่ะ เณรต้องหมั่นพิจารณาไปทีละ อย่าง ผมก็เป็นของไม่เที่ยง ขนก็เป็นของไม่เที่ยง เล็บก็เป็นของไม่ เที่ยง หนังก็เป็นของไม่เที่ยง ฟันก็เป็นของไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลง ได้เสมอ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
    จงพิจารณาว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร ดับไปอย่างไร เมื่อพิจารณาอยู่ อย่างนี้ จิตก็จะค่อยๆ สงบลง
    จากนั้นจึงใช้องค์ภาวนาว่า พุทโธ – พุทโธ อยู่ในใจ จะนั่ง ยืน เดิน นอน ก็ให้นึกถึง พุทโธ เรื่อยไป เณรทาได้ไหม”
    “ได้ขอรับ ผมจะทาตามท่านอาจารย์สั่ง”
    ท่านอาจารย์บอกว่า “ที่วัดนี้ไม่มีสานักเรียนปริยัติ ต้องไปเรียน ไกลถึงวัดในเมือง อีกอย่างหนึ่ง การเรียนนักธรรมนั้น ต้องปรับจิต ปรับใจให้มีพื้นฐานเสียก่อน คือให้มีสมาธิ จึงจะเรียนธรรมะเข้าใจ”
    ขณะนั้นหลวงปู่ซึ่งยังเป็นสามเณรอยู่ ก็ได้ปฏิบัติตามอาจารย์อย่าง เคร่งครัด เมื่อได้ภูมิจิตภูมิธรรม มีสมาธิมั่นคง จนถึงระดับฌาน ๔ แล้ว จึงหันมาเรียนปริยัติ เริ่มแต่นักธรรมตรี
    การเรียนนักธรรมตรีนั้น นอกจากจะเป็นการทดสอบและทบทวน ว่า การปฏิบัติกับปริยัตินั้นตรงกันหรือไม่ หรือมีสิ่งใดคลาดเคลื่อนไป บ้าง ก็ทาให้การเรียนปริยัติ เกิดความเข้าใจทะลุปรุโปร่งไปเป็นอันมาก
    ครั้นเรียนจนได้นักธรรมเอกแล้ว ก็นับว่าเพียงพอแล้วสาหรับความรู้ ในสมัยนั้น หลวงปู่จึงไม่สนใจที่จะเข้าไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ฝักใฝ่ แต่การที่จะปฏิบัติธรรมให้ยั่งยืนไปเท่านั้น
    หลังจากอุปสมบทได้ ๕ พรรษาแล้ว หลวงปู่จึงออกธุดงค์ เข้าป่า ไปเป็นเวลาช้านาน ได้ท่องธุดงค์ไปทุกภาคของประเทศ ขึ้นเหนือล่องใต้ ไปอีสาน และทางภาคตะวันออก
    นอกจากนี้ยังเลยเข้าไปยังป่าชายแดนของพม่า เขมร และวนเวียน อยู่ในประเทศลาว ได้พบครูบาอาจารย์ที่ธุดงค์อยู่ในป่าเป็นอันมาก
    นับเป็นเวลาหลายสิบปีที่หลวงปู่ได้ท่องธุดงค์อยู่ในป่า สมดังที่สาวก ของพระพุทธองค์ ได้ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลว่า เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ไม่มีญาติในทางโลก แม้แต่บิดามารดาหรือญาติพี่น้อง ก็ต้องถือว่าไม่มี จะมีอยู่ก็แต่ญาติในทางธรรมเท่านั้น
    ต่อเมื่ออายุหลวงปู่ย่างเข้าวัยชรา จึงได้ย้อนกลับสู่วัดบ้านเดิม ซึ่ง บิดามารดาและพี่น้องบางคนก็ได้สูญหายตายจากไปหมดแล้ว แม้ท่าน สมภารที่วัด ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกัน ก็จากันไม่ได้ ต้องรื้อฟื้นความจาอีก พักใหญ่
    หลวงปู่ได้กลับมาอยู่วัดบ้านเดิม อย่างพระลูกวัดธรรมดารูปหนึ่ง เมื่อเห็นว่าทางวัดก็ดี ทางบ้านก็ดี ยังไม่มีความเจริญในการปฏิบัติธรรม ทั้งยังขาดถาวรวัตถุสาหรับวัดอีกเป็นอันมาก โบสถ์ และศาลาที่มีอยู่ เดิม ก็ชารุดทรุดโทรมจนแทบจะใช้การไม่ได้อยู่แล้ว
    ดังนั้น หลวงปู่จึงปรึกษากับท่านเจ้าอาวาส ถึงการทานุบารุงวัด และการอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ท่านเจ้าอาวาสก็เห็นดีด้วย แต่วิตกว่า ชาวบ้านยังยากจน คงยังไม่มีปัจจัยพอเพียงที่จะมาช่วยบูรณะถาวรวัตถุ ให้สาเร็จได้ ตัวท่านเองก็ไม่มีเกียรติคุณความรู้อะไร เท่ากับเป็นสมภาร เฝ้าวัดอยู่เท่านั้น
    หลวงปู่ก็บอกว่า “ไม่เป็นไร ขอให้ท่านรับธุระจัดการที่จะทานุ บารุงให้ดีเท่านั้น ส่วนปัจจัยนั้นอาตมาจะช่วยอธิษฐานจิตให้ ไม่ช้าก็จะ มีมาเอง เพราะขึ้นชื่อว่ากุศลแล้ว เริ่มขึ้นที่ไหน กุศลอื่นๆ ก็จะมา รวมตัวกันเอง”
    หลังจากนั้น หลวงปู่ก็ร่วมมือกับท่านเจ้าอาวาส แล้วปรึกษาว่า พระเณรภายในวัดนี้จะบวชเฉยๆ แล้วกินนอนไปวันๆ ไม่ได้ ท่องสวดมนต์ เจ็ดตานาน สิบสองตานาน ก็ยังไม่พอ ต้องเรียนปริยัติและปฏิบัติควบคู่ กันไป
    ต่อจากนี้ไปหลวงปู่จะเอาเวลากลางวันสอนนักธรรม ตอนกลางคืน สอนการปฏิบัติ ทาเช่นนั้นอยู่สองพรรษา ก็ปรากฏว่าพระเณรในวัด รู้จัก ความสงบและสารวมอินทรีย์ เป็นเนื้อนาบุญสาหรับชาวบ้าน
    ด้วยเหตุนี้ก็ทาให้ญาติโยมเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น ผู้เฒ่าผู้แก่แม้ หนุ่มสาวบางส่วน ต่างก็พากันเข้าวัด ถือศีล ฟังธรรม และปฏิบัติตาม ที่หลวงปู่สั่งสอนอบรมไว้ มีความสบายจิตสบายใจมากขึ้น ใครเจ็บไข้ได้ ป่วย มาเอาน้ามนต์จากหลวงปู่ไปดื่มกิน ก็หายอย่างอัศจรรย์
    เมื่อชาวบ้านรอบๆ วัดมีความศรัทธา ไม่ช้าก็กระจายความศรัทธา เป็นวงกว้างออกไป จนถึงตาบลหมู่บ้านใกล้เคียง ถึงอาเภอ จังหวัด จน กระทั่งต่างจังหวัดออกไปถึงกรุงเทพฯ
    เมื่อมีผู้ศรัทธาในหลวงปู่มากขึ้น ปัญหาเรื่องปัจจัยก็หมดไป ใคร ที่ได้รับการรักษาจากหลวงปู่ เมื่อหายจากเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ก็เอาปัจจัย เอาวัตถุก่อสร้างมาช่วยตามกาลังศรัทธาของตน
    ทั้งนี้หลวงปู่ไม่เคยรับปัจจัยด้วยตนเอง ใครถวายก็ให้เอาเข้ากอง กลางเป็นเงินทุนก่อสร้าง แม้จะถวายเป็นการส่วนตัว ท่านก็ไม่รับ บอก ว่าไม่รู้จะเอาไปทาอะไร เพราะตัวหลวงปู่ก็ฉันเพียงหนเดียว
    บางคนคิดว่าหากเอาไทยทานอย่างอื่นมาถวาย คงจะเป็นประโยชน์ แก่หลวงปู่ ท่านก็รับ แต่แจกจ่ายไปให้พระเณรหมด ไม่เก็บสะสมอะไรไว้เลย
    อีก ๔ - ๕ ปีต่อมา วัดที่ทรุดโทรมใกล้จะพัง ก็กลายเป็นวัดพัฒนา มีโบสถ์ ศาลา หอระฆัง กุฏิสร้างขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์
    ส่วนหลวงปู่กลับไปปลูกกุฏิเล็กๆ ทาด้วยไม้ไผ่มุงแฝกอยู่ในป่าช้า กลางวันออกมารับแขกญาติโยมที่ศาลา กลางคืนกลับไปอยู่ในป่าช้า ตามเดิม
    แม้วัดจะพัฒนาไปครบถ้วนแล้ว ก็ยังมีญาติโยมไปมามิได้ขาด หลวงปู่อยู่โปรดญาติโยมจนอายุกว่า ๙๐ ปี จึงมรณภาพ
    การมรณภาพนั้น ท่านมรณภาพขณะอยู่ในสมาธิ และเข้าใจกันว่า ท่านได้ถึงขั้นพระโสดาบันแล้ว เพราะจิตท่านแน่วแน่อยู่ในการปฏิบัติ
    เมื่อดับขันธ์แล้วไม่นาน ก็มาจุติในครรภ์มารดาของอาตมา พอ เติบโตขึ้นก็เป็นอาตมานี่แหละ ส่วนร่างเดิมในชาติก่อนของอาตมาเป็น อริยบุคคลแล้ว สังขารจึงไม่เน่าเปื่อย
    ที่แปลกก็คือ ท่านมหาจาเริญเคยเป็นศิษย์รักของหลวงปู่ เมื่อ หลวงปู่มาเกิดเป็นอาตมา ท่านมหาจาเริญก็ยังมีชีวิตอยู่ และได้มีความ สัมพันธ์สนิทสนมกันอีก แม้อาตมาจะยังเป็นสามเณรอยู่ ก็สามารถให้คา แนะนาในทางปฏิบัติแกท่านมหาจาเริญได้
    ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า สังขารร่างกายนั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่จิตยังเป็น ดวงเดิม และสืบเนื่องต่อมาในอีกสังขารหนึ่ง เรียกว่าเป็นคนละสังขาร แสดงว่าจิตเป็นของไม่ตาย ยังคงอยู่ตลอด ไม่ว่าจะไปจุติในภพหนึ่งภพ ใด หรือในสังขารของอะไร สุดแต่ตนได้กระทามาในชาติที่แล้ว จะผิด กันก็แต่จิตนั้น ซึ่งได้ปรับปรุงขัดเกลาให้เป็นจิตที่ละเอียดอ่อน สะอาด บริสุทธิ์ขึ้น หรือกลับกระด้างหยาบช้า พอกด้วยกิเลสเท่านั้น ทั้งนี้ก็ ด้วยกรรมของตนที่ได้กระทาดีหรือกระทาชั่ว
    ฉะนั้น การปรับปรุงหรือขัดเกลาจิต จึงเป็นเรื่องสาคัญที่สุดของ มนุษย์เรา การเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ไม่รู้จักปรับปรุงขัดเกลาจิต ก็เท่ากับ เสียชาติเสียเวลาเกิด เพราะเกิดครั้งใด ก็สะสมกิเลสตัณหาพอกพูนขึ้น เรื่อยๆ เมื่อดับจากชาติปัจจุบันไป ก็ต้องไปเกิดในอบายภูมิ หรือใน นรก แต่ไม่เข็ดหลาบต่อความทุกข์ทรมานอันสาหัสในนรกเลย กลับ เวียนไปหานรก ชาติแล้วชาติอีก ภพแล้วภพอีก กว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ แต่ละครั้ง ไม่ใช่ของง่ายเลย ตายจากภพมนุษย์แล้ว ไปเกิดเป็นสัตว์ก็มี แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านต้องไปเกิดเป็นสัตว์นับชนิดไม่ถ้วน
    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้ว ไม่ทาเลยดีกว่า” เพราะความชั่วนั้น ย่อมทาให้ไปเกิดเป็นสัตว์ เป็นเปรต อสุรกาย ทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรกได้ทุกอย่าง สุดแต่กรรมของตน
    อย่างที่วัดแห่งหนึ่งทางอาเภอจอมทอง สมภารวัดนี้เมื่องมรณภาพ แล้วได้ไปเกิดเป็นหมาวัด เพราะขณะที่เป็นสมภารได้เอาของที่เขาถวาย เป็นของสงฆ์ไปใช้เป็นของส่วนตัว
    มนุษย์ผู้มีปัญญาทั้งหลาย จะต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ลึกซึ้งว่า ที่ ได้เกิดเป็นมนุษย์นั้น นับว่าโชคดีกว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะพระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม อยู่ในสวรรค์วิมานเมืองฟ้า ก็ยังไม่เท่าเกิดเป็นมนุษย์
    เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี้ มีสิทธิ์ที่จะเลือกทาดีทาชั่วได้ตามความ ต้องการของตน มีโอกาสที่จะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และประกอบ ความดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จนกระทั่งปรารถนาจะขึ้นสวรรค์ หรือเป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอรหันต์ ไปถึงพระนิพพานก็ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับจะทาดี หรือทาชั่วเท่านั้น
     
  2. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่22 เคยเกิดเป็นชาวนา

    อาตมายังระลึกชาติย้อนไปอีกชาติหนึ่งได้ว่า ก่อนจะมาเกิดเป็น หลวงปู่ ซึ่งมรณภาพแล้วร่างกายไม่เปื่อยเน่านั้น ในชาตินั้นอาตมาได้เกิด เป็นชาวนายากจน
    ชีวิตตั้งแต่เด็กในอีกชาตินั้น ก็ช่วยบิดามารดาทามาหาเลี้ยงชีพ ด้วยการหาฟืนและจับปลาอยู่เป็นประจา โดยเฉพาะการจับปลานั้น ได้ทามากที่สุด ทั้งตกเบ็ด ทอดแห ทั้งดักด้วยไข
    บิดาเคยสอนว่า กุ้งปลาที่จับขึ้นมาได้นั้น ถ้าปรากฏว่าเป็นกุ้ง ปลา เวลาไข่ ก็ควรปล่อยไปเสีย เพราะกุ้ง ปลา เหล่านั้นจะต้องไข่ออกมาเป็น ตัว และแพร่พันธุ์ต่อไป ถ้าขืนเอามากินมาขายเสียหมด ก็จะสูญพันธุ์ ปลาที่จะนาไปขายส่วนมากยังเป็นๆ อยู่ ส่วนปลาที่ตายแล้วก็เหลือเอา ไว้กิน ถ้าไม่ทาอย่างนี้ ก็จะไม่มีกิน เพราะที่นาทากินมีน้อย ได้ข้าว มาก็แทบจะไม่พอกิน
    ชาวนาส่วนมากนั้น เรื่องจับปลาแล้วก็ทากันทั่วไป เพราะปลาเป็น อาหารหลักแก่ชาวนาทั่วไป
    เมื่ออาตมาเติบโตขึ้น บิดามารดาผู้ชราภาพก็ตายจากไป ในเวลา ไล่ๆกัน พี่น้องก็ไม่มี เพราะในชาตินั้นอาตมาเป็นลูกชายคนเดียวของ บิดามารดา แต่แรกคิดจะหาภรรยาสักคน จะได้มาช่วยกันทามาหากิน แต่เพราะความยากจน ทั้งยังมองไม่เห็นว่า ใครจะมารักใคร่ไยดี ยอม เป็นภรรยาคนจน ที่นาที่เป็นมรดกก็มีเพียง ๖ - ๗ ไร่เท่านั้น บ้านก็เป็น บ้านหลังเล็กๆ หลังคามุงจาก
    ตอนที่บิดามารดาเสียชีวิตนั้น อาตมาว้าเหว่มาก เงินทองสะสมไว้ก็ ไม่มีพอที่จะทาศพ
    ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงไปหาท่านอาจารย์เจ้าอาวาสใกล้บ้าน ท่าน อาจารย์ก็บอกว่า
    “อย่าเศร้าโศกเสียใจอะไรเลย ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์อย่าง นั้นแหละ หมดพ่อแม่แล้ว ลูกเมียก็ไม่มี เท่ากับตัวคนเดียว ไม่ต้อง ห่วงใจอะไรอีกแล้ว หันหน้าเข้ามาหาพระพุทธศาสนาเถอะ บวชเรียนเสีย จะได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พ่อแม่ ท่านจะได้ไปจุติในภพภูมิที่ดี แล้ว จงตั้งหน้าปฏิบัติธรรมตามคาสอนของพระพุทธองค์เถอะ เพราะจะเป็น หนทางเดียวเท่านั้นที่พ้นทุกข์ได้
    อาตมาในชาตินั้น ก็รู้สึกเห็นคล้อยตามท่านอาจารย์เจ้าอาวาส เพราะมีเพียงตัวคนเดียว จะเหนื่อยยากไปทาไม และเพื่ออะไรกัน บวช แล้วก็ปฏิบัติธรรม เพื่อหาทางพ้นทุกข์ดีกว่า อย่างน้อยเราก็ทาปาณาติบาต มามาก จะได้ลบล้างบาปให้หมดไป
    หลังจากนั้นอาตมาจึงกลับบ้าน แล้วบอกขายที่นา มีเพื่อนทานาที่ ติดกัน เขารับซื้อไว้ เมื่อได้เงินมาก็เอามาจัดการเผาศพบิดามารดาจน เสร็จเรียบร้อย
    ครั้นเหลือเงินอยู่ก็เอามาซื้ออัฐบริขารแล้วโกนหัวเข้าวัด ทาการ อุปสมบทอย่างเงียบๆ โดยท่านอาจารย์เจ้าอาวาส ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้
    ในชาตินั้น อาตมาก็บวชอยู่ได้จนตลอดชีวิต บวชเรียนแล้วก็ได้ ศึกษาจนถึงนักธรรมโท
    ต่อมาในพรรษาที่ ๓ อาตมาก็ติดตามท่านอาจารย์เจ้าอาวาสออก ธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ซึ่งในสมัยนั้น เมื่อออกพรรษารับกฐินแล้ว มักนิยมออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมกันส่วนมาก และท่านอาจารย์ก็ออกธุดงค์ เป็นประจามิได้ขาด
    พอพรรษาครบ ๕ จึงได้ออกเดี่ยวไปตามลาพัง บางทีก็ไม่กลับมา จาพรรษาที่วัดเดิม เอาถ้าเป็นที่อธิษฐานเข้าพรรษา ๓ เดือน ออกพรรษา แล้วก็ธุดงค์ต่อไป อยู่มาจนอายุได้ ๙๐ ปี จึงถึงอายุขัย
    ในชาติที่กล่าวนี้ อาตมาได้บรรลุแค่ฌาน ๔ ซึ่งเป็นฌานโลกีย์ ประกอบกับได้อธิษฐานว่า เมื่อมีกรรมอยู่ เป็นหนี้เจ้ากรรมนายเวรอยู่ ก็ยินดีชดใช้ให้หมดกันไป
    ด้วยเหตุนี้เมื่ออาตมาถึงอายุขัย จิตจึงลงไปใช้กรรมในนรกขุม ปาณาติบาต อยู่ในระยะหนึ่ง
    เมื่อใช้หนี้กรรมแล้วอาตมาจึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ครั้นอายุ ๑๒ ขวบ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร จนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพุทธ ศาสนานี้
    พรรษาที่ ๒๐ (ในชาติที่เป็นหลวงปู่ ร่างกายไม่เน่าเปื่อย) จึงข้าม โลกิยฌานมาได้ บรรลุถึงพระโสดาบัน จึงสิ้นอายุขัย
    ด้วยบุญกุศลที่อาตมาได้ปฏิบัติธรรมสมาธิต่อเนื่อง ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่มีความปรารถนาไปสู่สวรรค์วิมานใดๆ มุ่งแต่จะให้พ้นทุกข์ เข้าถึงพระ นิพพานอย่างเดียว จึงไม่ต้องรอถึง ๗ ชาติ จึงได้มาเกิดเป็นอาตมาใน ชาตินี้
     
  3. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่23 จิตมุ่งพระนิพพาน

    ทาไมจิตอาตมาตอนนี้ จึงมุ่งความพ้นทุกข์ ปรารถนาพระนิพพาน ก็เพราะได้บรรลุพระโสดาบันแล้ว จัดเป็นผู้ไม่ย้อนกลับ มีแต่จะสูงขึ้น ไป อาตมาจึงปรารถนาแต่ทางพระนิพพาน
    พระนิพพานนี้ มนุษย์ชาวโลกพากันสงสัยยิ่งนักว่าเป็นอย่างไร?
    สมัยหนึ่งมีความเชื่อถึงกับมีภาษิตขึ้นมาว่า “นิพพาน ปรม สูญญ นิพพานเป็นของสูญ ไม่เกิด ไม่ตาย” คนไม่เข้าใจก็มักกลัว ไม่คิด จะไปสู่ทางพระนิพพาน
    ส่วนผู้ทาบุญให้ทานรักษาศีล ก็ตั้งความปรารถนาในสวรรค์สมบัติ เพียงเท่านั้น เพราะขึ้นชื่อว่าสวรรค์แล้ว ย่อมเป็นแดนบรมสุข สาหรับ ชาวโลกผู้ปรารถนาแต่ความสุข จึงไม่ปรารถนาพระนิพพาน เพราะไม่ อยากถึงความสูญเช่นนั้น ครั้นกาลเวลาผ่านมา ความเชื่อดังกล่าวนี้จึง หายไป และต่างก็ทราบความจริงว่า “นิพพานไม่สูญ”
    เป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน ที่มีเกราะเหล็ก คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนา ความทุกข์ไม่ ปรารถนา ต้องการแต่ความสุขเพียงประการเดียว แม้นิพพานก็มองเห็น ว่า ไม่ใช่ความสุขที่ตนปรารถนา หากเข้าสู่พระนิพพานแล้ว อะไรก็ สูญสิ้นหมด
    อย่างไรก็ตาม ชีวิตมนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่จะมีความสุขเพียงอย่างเดียว ความทุกข์ก็ย่อมมีอยู่ด้วยเป็นธรรมดา ไม่มีใครจะเลือกสุขเวทนา โดยไม่ มีทุกข์เวทนาปะปนอยู่ด้วยเลย จะสุขน้อยหรือสุขมาก จะทุกข์น้อยหรือ ทุกข์มาก ก็แล้วแต่ผลกรรมของตนเอง
    แต่จะสุขหรือทุกข์อย่างไร ก็ยังเป็นวิสัยของชาวโลก ที่จะพ้นจาก พระไตรลักษณ์ คือ “อนิจจัง” ความไม่เที่ยง “ทุกขัง” ความทนได้ยาก และ “อนัตตา” คือ ความไม่มีตัวตน
    เพียงอนิจจังอย่างเดียว ก็เปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์อย่างตั้งตัวแทบไม่ ติด ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทาของมนุษย์ และผลที่ตามมา
    มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้าแล้วซ้าเล่า ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ เกิดมา รวย เกิดมาจน เกิดมาสุขสาราญ เกิดมายากจนแสนเข็ญ บางทีตายจาก มนุษย์ไป ก็ยังเกิดเป็น สัตว์ เปรต อสุรกาย เทวดา มีความไม่ยั่งยืน แปรปรวนไปได้ทุกขณะ
    ในเรื่องเหล่านี้ เราจะต้องทาความเข้าใจเรื่องกรรมให้ดี เพราะความ รู้เรื่องกรรม เป็นสิ่งสาคัญยิ่ง หรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าเราไม่ รู้เรื่องกรรม เราก็จะไม่รู้ว่าพระนิพพานเป็นอย่างไร
    แม้แต่คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็จาเป็นต้องเอาเรื่องกรรมเป็น หลัก และทรงยืนยันว่า “กรรมเป็นสิ่งที่ทรงอานาจใหญ่ยิ่ง ในการเกิด การตาย การได้ดี หรือการตกยากของมนุษย์เรา”
    ในหมู่พุทธบริษัทส่วนมาก ต่างก็ยอมรับว่า แรงใดจะสู้แรงกรรม เป็นไม่มี ดูแต่องค์พระมหาโมคคัลลานะ แม้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ ยังต้องรับผลกรรมที่สืบเนื่องกันมาในอดีตชาติ ขนาดมีฤทธิ์มาก ก็ยัง ต้องรับกรรม ให้พวกโจรทุบตีเอา แม้พระบรมศาสดาของเราท่านทั้ง หลาย ก็ยังต้องทรงรับสนองผลกรรมในบางกรณี
    สาหรับผู้มีความรู้ดีในเรื่องของกรรม ย่อมอดทนในเมื่อต้องเสวยผล ของกรรม ไม่ทาการโต้ตอบ ให้เกิดกิเลสสืบต่อไป ให้มันสิ้นกระแสไป เพียงเท่านั้น
    ทั้งนี้ไม่เหมือนสามัญสัตว์ทั่วไป เมื่อได้เสวยผลของกรรมที่ตนทา ไว้ แทนที่จะรู้สานึก และยอมรับผลกรรมแต่โดยดี กลับรู้สึกไม่พอใจ แล้วทากรรมใหม่เพิ่มเติมและโต้ตอบ ทาให้เป็นเวรสืบเนื่องไม่ขาดสาย ลงได้ อาจสืบต่อซ้าซากกันไปตั้งกัปตั้งกัลป์ ร้อยชาติพันชาติ อย่างอีกา กับนกเค้าแมว หรืออย่างงูกับพังพอน พบกันก็ต้องตีกันกัดกัน ไม่รู้ว่า เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมาแต่ครั้งไหน
    พระพุทธเจ้าทรงทราบชัด เรื่องกรรมสนองกรรมอย่างชัดเจน จึง ทรงสอนมิให้สืบต่อเวรกรรมต่อไป ให้อดทนและยอมรับผลกรรม เพื่อ ให้หมดสิ้นกันไป ทรงดารัสเป็นใจความว่า
    “ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่จะระงับ ได้ด้วยการไม่จองเวรเท่านั้น”
    กรรมนั้นมีอยู่สองประเภท อย่างหนึ่งเป็นกรรมของคนฉลาด เป็น ความดีที่มีอานาจ สามารถบังคับความชั่วและล้างความชั่วได้ ท่านเรียก ว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญกรรม”
    อีกอย่างเป็นกรรมที่ทาด้วยความโง่ เป็นความชั่วที่มีอานาจเผาลน ให้ร้อนรุ่มดับถูกไฟเผาไหม้ เรียกว่า “อกุศลกรรม” หรือ “บาปกรรม” มีลักษณะทาให้สกปรกเศร้าหมอง
    บางแห่งท่านเรียกกรรมดีว่า “สุกกะ” (ขาว) และเรียกกรรมชั่ว ว่า “กัณหะ” (ดา) ดังนั้นบัณฑิตพึงละ “กรรมดา” เสีย พึงเจริญแต่ “กรรมขาว” เมื่อละกรรมทั้งหลายหายกังวลแล้ว ย่อมยินดียิ่งในพระ นิพพาน อันเงียบสงัด
    อย่างไรก็ตาม การกระทากรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม เมื่อพูดถึง ความรู้สึก เราย่อมทราบว่า เป็นกิริยาของจิตใจ และจิตใจนี้เองเป็นตัว การทากรรมขึ้น โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม การจงใจทา พูด คิด คือ เจตนาของจิตใจ และจิตใจนั้นเอง จะต้องรับผิดชอบการกระทา ของตนเอง จะปัดความรับผิดชอบนั้นไม่ได้”
    ธรรมดา เจตนาในการทา พูด คิด นั้นมีน้าหนักแตกต่างกัน ถ้า ความรู้สึกมีกาลังดันแรงที่สุด เจตนาก็ย่อมแรงที่สุด ถ้าแรงพอประมาณ เจตนาก็แรงพอประมาณ ถ้าแรงเพลาๆ ก็ย่อมเพลาตามกัน สังเกตได้ จากผู้มีโทสะแรงกล้า ก็อาจฆ่าคนได้ทันที จนแทบไม่รู้สึกตัว ถ้ามี โทสะแรงพอประมาณ แม้คิดจะฆ่า ก็ยังคิดก่อนทา ถ้าเพลาเบาลง ก็ เพียงคิดแต่ไม่ฆ่า
    ผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน ย่อมให้ผลสนองตอบ ตามกาลังของ เจตนานั้นๆ ถ้ารู้สึกแรง ผลก็มาแรง เช่น อนันตริยกรรม ๕ มีการ ฆ่าบิดามารดา ผู้ที่จะทาเช่นนั้นได้ ต้องมีความรู้สึกฝ่ายกิเลสแรงกล้า เจตนาที่ทาก็แรงด้วย และมักให้ผลในขณะที่ทานั้นเอง
    เพราะแรงกรรมแตกต่างกันดังนี้ ท่านจึงแยกกรรมและผลของกรรม ไว้ดังนี้
    ๑. กรรมที่สามารถให้ผลให้ปัจจุบันชาติ ที่เรียกว่าให้ผลทันตา ได้แก่ กรรมประเภทประทุษร้ายผู้ทรงคุณ เช่น บิดา มารดา พระอรหันต์ แม้แต่เพียงการด่าว่าติเตียนท่านผู้ทรงคุณเช่นนั้น ก็เป็นกรรมที่แรง สามารถ ห้ามมรรคผลนิพพานได้
    ด้วยเหตุนี้เมื่อ องคุลิมาล จะฆ่ามารดาเป็นคนสุดท้าย จึงจะ ครบพันคนตามที่อาจารย์สั่งฆ่า พระพุทธเจ้าจึงต้องเสด็จไปยับยั้งไว้ เพราะการเบียดเบียนสัตว์ หรือทรมานสัตว์บางจาพวก ก็มักให้ผลใน ปัจจุบันทันตาได้เหมือนกัน เช่น การเบียดเบียนแมว เป็นต้น นี่เป็น กรรมฝ่ายอกุศล ฝ่ายกุศลก็สามารถให้ผลทันตาเช่นกัน
    อย่างผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งยังมีศีลบริสุทธิ์ ผลที่มองเห็นก็คือ ได้รับการอภิวาทกราบไหว้ ได้รับการยกเว้นภาษีอากรจากรัฐบาล ได้รับ การคุ้มครองจากรัฐบาล ได้รับปัจจัยที่เขาถวายด้วยศรัทธา เลี้ยงชีพเป็น สุขในปัจจุบัน ได้รับความเงียบสงัดใจ ความแช่มชื่นเบิกบานใจ ความสุข สบายทั้งกายและใจ เพราะใจสงบเป็นสมาธิ ได้ฌานสมาบัติ ได้ไตร วิชชาหรืออภิญญา สิ้นอาสวะในปัจจุบันชาติ แต่ถ้ายังมีกิเลสอยู่ ก็จะ เข้าถึงโลกที่มีสุขเมื่อตายไป
    ๒. กรรมที่สามารถให้ผล เมื่อเกิดใหม่ในชาติหน้า ถ้าเป็นกุศลกรรม ก็อานวยผลให้มีความสุขตามสมควรแก่กรรมในคราวใดคราวหนึ่ง ถ้า เป็นอกุศลกรรมก็ให้ผลเป็นทุกข์เดือดร้อน ตามสมควรแก่กรรมในคราวใด คราวหนึ่ง สมมติชาติปัจจุบันเราเกิดเป็นมนุษย์ ได้กระทากรรมไว้หลาย อย่าง ทั้งบุญและบาป ตายแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ด้วยอานาจ กุศลกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแต่งกาเนิดได้ในชีวิตใหม่นี้ ที่เราได้รับ สุขสมบูรณ์เป็นครั้งคราว เพราะกุศลกรรมในประเภทนี้ให้ผล เราได้รับ ความเดือดร้อนเป็นบางครั้ง นั่นคืออกุศลกรรมในประเภทนี้ให้ผล
    ๓. กรรมที่สามารถให้ผลสืบเนื่องไปหลายชาติ ตัวอย่างในข้อนี้มีมาก
    ฝ่ายกุศลกรรม เช่น พระบรมศาสดาทรงแสดงบุพกรรมของ พระองค์ไว้ว่า ทรงบาเพ็ญเมตตาภาวนาเป็นเวลา ๗ ปี ส่งผลให้ไปเกิด ใน พรหมโลก นานมาก แล้วมาเกิดเป็น พระอินทร์ ๓๗ ครั้ง มา เกิดเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ๓๗ ครั้ง
    ฝ่ายอกุศลกรรม เช่น พระมหาโมคคัลลานะเถระในอดีตชาติ หลง เมียและฟังคายุยงของเมียให้ฆ่าบิดามารดาผู้พิการ ท่านทาไม่ลง เพียงแต่ทา ให้มารดาลาบาก กรรมนั้นส่งผลให้ไปเกิดในนรกนาน ครั้นมาเกิดเป็น มนุษย์ ถูกเขาฆ่าตายมาตามลาดับทุกชาติถึง ๕๐๐ ชาติ ทั้งชาติปัจจุบัน ที่บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ถูกโจรฆ่า
    ๔. กรรมที่ไม่มีโอกาสจะให้ผล เพราะไม่มีช่องที่จะให้ผล เลย หมดโอกาส และสิ้นอานาจสลายไป เรียกว่า “อโหสิกรรม”
    ในฝ่ายอกุศล เช่น องคุลิมาล ได้หลงกลของอาจารย์ จึงได้ฆ่า คนเกือบพัน เพื่อนาไปขึ้นครูขอเรียนมนตร์
    พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ผลมีอยู่ ทรงเกรงว่า จะฆ่ามารดา แล้วทาลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เสีย จึงรีบเสด็จไปโปรด และตรัสพระวาจาเพียงว่า
    “เราหยุดแล้ว แต่ท่านซิยังไม่หยุด”
    องคุลิมาลเกิดรู้สึกตัว จึงเข้าเฝ้าขอบรรพชาอุปสมบท
    ๕. ชนกกรรม กรรมที่สามารถแต่งกาเนิดได้ กาเนิดของสัตว์ใน ไตรโลก มี ๔ อย่างด้วยกันคือ ชลาพุชะ เกิดจากน้าสัมภะของมารดาบิดาผสมกัน เกิดเป็นสัตว์ ครรภ์ แล้วคลอดออกมาเป็นเด็ก ค่อยเจริญเติบโตขึ้นโดยลาดับกาล ฝ่ายดีเกิดเป็นมนุษย์ ฝ่ายไม่ดีก็เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานบางจาพวก อัณฑชะ เดิมเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงเกิดเป็นตัวออกจากกะเปาะ ฟองไข่ แล้วเจริญเติบโตโดยลาดับกาล ฝ่ายดีได้แก่กาเนิดดิรัจฉานที่มี ฤทธิ์ เช่น นาค ครุฑ ฝ่ายชั่วได้แก่กาเนิดดิรัจฉาน เช่น นกทั่วๆไป สังเสทชะ เกิดจากสิ่งโสโครก เหงื่อไคล ฝ่ายดี เช่น นาค ครุฑ ฝ่ายชั่ว ได้แก่ กิมิชาติ มีหนอนที่เกิดจากน้าครา เป็นต้น รวมทั้งเลือด ไร หมัด เล็น ที่เกิดจากเหงื่อไคลหมักหมม เป็นต้น
    ง. อุปปาติกะ เกิดขึ้นเป็นวิญญูชนทันที ฝ่ายดี เช่น เทวดา ฝ่าย ชั่ว เช่น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย รวมความว่ากรรมดีแต่งกาเนิดดี กรรม ชั่วแต่งกาเนิดชั่ว นี้เป็นกฎแห่งกรรมที่ตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไป
    ๖. อุปปัตถัมภกรรม เป็นกรรมที่คอยสนับสนุนกรรมอื่นซึ่งเป็น ฝ่ายเดียวกัน กรรมดีก็สนับสนุนกรรมดี กรรมชั่วก็สนับสนุนกรรมชั่ว เช่น กรรมดีแต่งกาเนิดดีแล้ว กรรมดีอื่นๆ ก็ตามมาอุดหนุนส่งเสริมให้ได้รับ ความสุขความเจริญยิ่งขึ้น กรรมชั่วแต่งกาเนิดทราม กรรมชั่วอื่นๆ ก็ตาม มาอุดหนุนส่งเสริมให้ได้รับทุกข์เดือดร้อนในกาเนิดนั้นยิ่งๆ ขึ้น อย่างที่ เราเห็นๆกัน คนทาดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ ความดีก็จะ ส่งเสริมให้ได้ดีมีความสุขยิ่งขึ้น บางคนเกิดมายากจน ชีวิตก็ยิ่งได้รับ ความยากจนตลอดมา
    ๗. กรรมที่เป็นปรปักษ์ต่อกรรมอื่นที่ต่างฝ่ายกับตน คอยเบียดเบียน ให้ฝ่ายตรงข้ามมีกาลังอ่อนลง ให้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น เกิด เป็นมนุษย์ แล้วมีกรรมชั่วเข้ามาขัดขวางริดรอนอานาจของกรรมดีลง เช่น ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ให้มีอันเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน มี แต่ความทุกข์โศกสูญเสีย พลัดพราก ทั้งนี้ก็เพราะกรรมชั่วแต่งให้เกิด มาทราม แต่ยังมีกรรมดีเข้ามาสนับสนุน ให้มีผู้เมตตาสงสารช่วยเหลือ ถึงเกิดเป็นสัตว์ ก็มีผู้เลี้ยงดูรักใคร่อุปถัมภ์ อย่างหมามีปลอกคอ
    ๘. กรรมที่เป็นปรปักษ์กับกรรมอื่น แต่มีอานาจรุนแรงกว่า เช่น เกิดเป็นมนุษย์ แต่ไปฆ่าเขาตาย ก็เสียความเป็นมนุษย์ไป ดูเหมือน เป็นยักษ์มารชั่วร้ายป่าเถื่อน
    นั่นคือ กรรมดีให้มาเกิดเป็นมนุษย์ แต่กรรมชั่วทาให้เสียความเป็น มนุษย์ หรือเกิดมาเป็นเพศชาย แต่ประพฤติอย่างเพศหญิง หรือเพศหญิง อยากเป็นชาย ซึ่งมีให้เห็นกันมาอย่างทุกวันนี้ ในพุทธกาลเคยมีตัวอย่าง เช่น โสเรยยะบุตรเศรษฐี ไปหลงใหลพระสังกัจจายน์ ว่าท่านรูปงาม
    อย่างผู้หญิง มีจิตคิดเอาเป็นภรรยา ผลกรรมทาให้กลับเพศเป็นหญิง ต้องหนีจากบ้านไปอยู่เมืองอื่น ไปได้สามี มีบุตรด้วยกัน ภายหลังมาขอ อโหสิกรรมจากพระเถระ ท่านอภัยโทษให้ จึงได้กลับเป็นชายตามเดิม เรื่องของพระอรหันต์จะไปล้อเล่นไม่ได้ บางคนไปเกิดเป็นเปรต ได้มีผู้ อุทิศบุญให้ ต่อมาได้ไปเกิดเป็นเทวดา
    ๙. กรรมที่หนักมาก สามารถให้ผลในทันทีทันใด หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า “ครุกรรม” ฝ่ายกุศล ได้แก่ ฌานสมาบัติ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อนันตริยกรรมนี้มีผลร้ายแรงมาก แม้เป็นผู้มี อุปนิสัยจะได้สาเร็จมรรคผลถึงขั้นพระอรหันต์ แต่ถ้าไปทาผิดเข้า ก็จะ ตัดมรรคตัดผล ต้องไปเสวยกรรมอีกช้านาน
    ๑๐. กรรมอีกอย่างเรียกพหุกรรม หรืออาจิณกรรม คือต้องทา เป็นประจาจนเคยชิน เป็นกรรมหนักรองจากครุกรรมลงมา ทางฝ่ายดี เช่น เป็นผู้บาเพ็ญทาน ถือศีล เจริญสมาธิ มีเมตตาภาวนา เป็นต้น แต่ยังไม่ถึงได้ฌานสมาบัติ กรรมนี้ก็จะเป็นปัจจัยให้มีกาลังในจิต ที่จะ ทาดีอยู่เสมอ สามารถให้ผลต่อเนื่องไปนาน ถ้าไม่ประมาท ในชาติ ต่อไปก็จะทาเพิ่มเติมอยู่เป็นอาจิณ ตัดโอกาสไม่ให้กรรมเล็กน้อยมาตัด รอนได้
    ทางฝ่ายอกุศลก็เช่นเดียวกัน เช่น พรานป่าล่าสัตว์ หรือชาวประมง ทาปาณาติบาตอยู่เป็นประจา แม้แต่คนมีอาชีพฆ่าหมูขาย เชือดไก่ เชือดเป็ด หรือขายสัตว์เป็นประจา คนพวกนี้แม้จะมีกรรมดีอยู่บ้าง ก็ ยากที่จะเข้ามาช่วยได้ เพราะกรรมชั่วติดสันดานเสียแล้ว เวลาใกล้ตาย ก็จะส่งเสียงร้องเหมือนสัตว์ที่ตนฆ่า พอสิ้นใจก็ไปนรกทันที โรงงาน ใหญ่ๆ ที่ฆ่าไก่ส่งนอกวันละเป็นพันเป็นหมื่น เขามักจะจ้างคนอิสลาม มาฆ่า ก็ไม่มีผลอะไรในเรื่องของบุญบาป เพราะเจ้าของผู้ให้ฆ่า และคน ฆ่า จะนับถือศาสนาอะไร ก็ต้องรับผลทั้งนั้น
    เจ้าของผู้ให้ฆ่าหรือจ้างวานให้ฆ่า จะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นบาปกว่า คนฆ่าเสียอีก เขาเหล่านี้ แม้จะร่ารวยเป็นพันเป็นหมื่นล้าน เมื่อถึง คราวจะสิ้นชีวิต ทรัพย์นั้นก็จะละลายหายสูญ เช่นเดียวกับที่ถูกเผาไหม้ อยู่ในนรก
    ยังมีกรรมอีกสองประเภท กรรมแรกเรียก “อาสันนกรรม” เป็น กรรมที่ให้ผลในเวลาใกล้ตาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมหนักหรือกรรมเบา
    ตัวอย่างในสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีบุรุษคนหนึ่งโดยสารไปในเรือเดิน ทะเล แล้วเกิดพายุทาให้เรือแตกอับปางลง จึงได้สมาทานศีลก่อนตาย เพียงเล็กน้อย เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ มีนามว่า สตุลลปายิกาเทวา
    ตัวอย่างการอาราธนาศีลก่อนตาย คนไทยชาวพุทธแต่โบราณมา ยึดถือปฏิบัติกันทั่วไป บิดามารดาก็ดี ญาติพี่น้องก็ดี เมื่อเห็นว่าใกล้จะ สิ้นใจ เขาจะบอกให้ผู้ใกล้ตายระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น บอกให้ระลึกถึงคุณ พระพุทธเจ้า เช่น พุทโธ หรือ สัมมาอะระหัง เมื่อสิ้นใจแล้วจะได้มีสติ ไปจุติในที่ดีเอาไว้ก่อน
    แต่บางทีถ้าทาบาปเอาไว้มาก จะบอกอย่างไรก็ไม่มีสติจะระลึกได้ เพราะเจ้ากรรมนายเวรที่เขาอาฆาตได้ปิดบังเอาไว้
    พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนนักหนาว่า “ขึ้นชื่อว่าบาป ไม่ทาเสียเลย ดีกว่า” แต่ถึงจะเคยทาบาปมา ภายหลังสานึกได้ กลับทาความดี ให้ทาน รักษาศีล บาเพ็ญสมาธิภาวนา ก็ยังพอเอาตัวรอดได้ โดยเฉพาะการทา สมาธินั้น เป็นเหตุให้มีสติดี เมื่อมีสติดี ก็สามารถจะระลึกถึงความดี เช่น พุทโธ ได้ก่อนสิ้นใจ
    ดังนั้นท่านทั้งหลายจึงไม่ควรจะตายอย่างคนเลอะเทอะ หาสติมิได้ จะเป็นการเสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์
    กรรมอีกประเภทหนึ่ง เรียก “กตัตตากรรม” เป็นกรรมที่เบา ที่สุด หรือจะเรียกว่า กรรมเล็กกรรมน้อย ทาด้วยเจตนาอ่อนๆ แทบไม่มี เจตนาเลย เช่น การฆ่ามดแมลงของเด็กๆไม่เดียงสา แสดงคารวะต่อพระ รัตนตรัย ตามที่ผู้ใหญ่สอนให้ทา เด็กก็จะทาด้วยเจตนา ที่ชื่อว่าสักแต่ ว่าทา ถ้าไม่มีกรรมอื่นให้ผลเลย กรรมชนิดนี้ก็ให้ผลได้บ้าง
    อย่างไรก็ตาม กรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด แสดงว่าพระพุทธ ศาสนาไม่ได้สอนแบบกาปั้นทุบดิน อย่างที่บอกว่า ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว แต่ได้แยกแยะกรรมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทาดีขนาดไหน ทาอย่างไร ทาชั่วขนาดไหน ทาอย่างไร และให้ผลอย่างไร ท่านแสดงไว้หมด ผู้ที่ วิตกว่า ได้ทาบาปมามาก กลัวจะใช้กรรมไม่หมด ก็ไม่ต้องกลัวขนาด นั้น เมื่อรู้ตัวว่าทาบาปมาก ก็ยังมีทางแก้อยู่ คือ หันมาทาบุญให้มาก ท่าน ศีล ภาวนา ต้องทาให้มากกว่าบาปที่ทามาแล้ว ก็อาจแก้ไขให้ร้าย กลายเป็นดีได้ แต่ต้องทาให้มาก ชนิดที่กรรมชั่วตามไม่ทัน
    อย่างองคุลิมาลได้ฆ่าคนมาร่วมพัน ยังได้บรรลุอรหันต์ พอบรรลุ อรหันต์ก็เป็นผู้เหนือโลก พ้นโลกเสียได้แล้ว กรรมอื่นก็เป็นอันพ้นไป หมดทางที่จะชดใช้อีกแล้ว เว้นแต่กรรมบางชนิด แม้เป็นอรหันต์แล้ว ก็ยังต้องใช้ อย่างที่กล่าวมาแล้ว
    ยังมีผู้เข้าใจผิดในเรื่องของกรรมอีกมาก เช่น ทาดีได้บาป หรือทา บาปแล้วยังได้ดี ถ้าทาความเข้าใจเรื่องกรรมที่กล่าวมาแล้วให้ดี ก็จะ เห็นว่า ที่ทาบาปกลับได้ดีนั้น เขายังมีกรรมอื่นสนับสนุนอุปถัมภ์อยู่ บุญกุศลที่เคยทาไว้ในอดีต ยังมีเหลืออยู่ บาปในชาตินี้ยังส่งผลให้ไม่ได้ ส่วนทาดีได้บาปนั้น ก็เช่นเดียวกัน บาปเก่ายังส่งผลอยู่ กรรมดีก็เข้าไป สนับสนุนไม่ได้ ต้องรอจนบาปเก่าสิ้นไป จึงจะได้รับผลดีตอบแทน จึง เชื่อว่าจะไม่สับสนในเรื่องของกรรม หรือรู้เรื่องกรรมแบบกาปั้นทุบดิน
    นอกจากนี้ยังมีลักษณะของกรรมที่อยากให้รู้ไว้ให้ชัดอีก ๖ ประการ คือ
    ๑. กรรมจากการฆ่าสัตว์ ย่อมส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นกลับมา เกิดเป็นมนุษย์อีก ก็เป็นคนอายุน้อยหรืออายุสั้น ตายเสียก่อนวัยอันควร
    ส่วนกรรมที่ไม่ฆ่าสัตว์ มีเมตตาปรานีในสรรพสัตว์ ตายแล้วย่อมไป สู่สุคติโลกสวรรค์ เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นคนอายุยืน
    ๒. กรรมจากการเบียดเบียนสัตว์ ด้วยการตบตี ขว้างปา แทง ฟัน ส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นได้กลับมาเป็นมนุษย์อีก ก็เป็นคนมีโรคภัย ไข้เจ็บมาก
    ๓. กรรมจากความมักโกรธ ถูกว่าเล็กน้อยก็โกรธพยาบาทปอง ร้าย แสดงความโกรธ ความดุร้าย ความน้อยใจให้ปรากฏออกมา ส่ง ผลไปสู่อบายภูมิ ครั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนผิวทราม ส่วนคน ที่ไม่มักโกรธ เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ผิวงาม น่าเลื่อมใส ผ่องผุด เกลี้ยงเกลา
    ๔. กรรมจากความมีใจริษยา อยากได้ เข้าไปขัดขวางในลาภ สักการะของผู้อื่น หรือผู้อื่นมีใจนับถือ นบไหว้ผู้อื่น ก็ไปขัดขวางเขา ต้องการให้นับถือตัวผู้เดียว ตายไปก็ลงสู่อบายภูมิ ครั้นเกิดเป็นมนุษย์ อีก ก็เป็นคนมีศักดาต่า ไม่ค่อยมีใครยกย่องนับถือ ส่วนตรงกันข้าม ก็ไปสู่สวรรค์ เกิดเป็นมนุษย์มีศักดาใหญ่ ได้รับความนับถือจากผู้อื่น
    ๕. กรรมจากการไม่ให้ข้าว น้า ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม ที่อาศัยหลบนอน ให้แสงสว่าง แกสมณะและคนดี เพราะความตระหนี่ เหนียวแน่น ตายไปก็ส่งผลให้ไปสู่อบายภูมิ ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก ย่อมเป็นคนมีโภคะน้อย หรือมีสมบัติน้อย ส่วนตรงกันข้ามย่อมเป็นผู้มี โภคะมาก
    ๖. กรรมจากความกระด้างถือตัว ไม่ไหว้คนควรไหว้ ไม่ลุกรับคน ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนควรให้ ไม่หลีกทางแก่คนควรหลีก ไม่ สักการะคนควรสักการะ ไม่เคารพคนควรเคารพ ไม่นับถือคนควรนับถือ ไม่บูชาคนควรบูชา ทั้งนี้ก็สามารถส่งผลดีและผลร้ายได้เช่นเดียวกัน
    ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กรรมที่กล่าวมานี้ เป็นเรื่องของจิตใจโดยตรง เป็นกรรมทางจิต ก็จิตของมนุษย์เรานั้น ถ้าปล่อยให้จิตเศร้าหมอง ขุ่นมัว ด้วยกรรมต่างๆ กัน ย่อมเป็นพิษภัยแก่ตัวเองทั้งสิ้น ท่านจึง สอนให้ทาจิตให้สะอาด สว่าง และสงบ เป็นจิตบริสุทธิ์ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นจิตใจที่อ่อนโยน
    ๗. กรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ การไม่เข้าหาเพื่อศึกษา หรือไต่ถาม สมณพราหมณ์ หรือผู้รู้มีปัญญาในสิ่งที่ควรถาม เช่น กุศล อกุศล สิ่งมีโทษ ไม่มีโทษ สิ่งควรเสพ ไม่ควรเสพ กรรมที่
    เป็นไปเพื่อทุกข์ กรรมที่เป็นไปเพื่อสุข หรือสิ่งที่ส่งผลไปสู่อบาย หรือกรรมที่ส่งผลไปสู่ สุคติโลกสวรรค์ นิพพาน
    การที่ท่านบัญญัติกรรมนี้ไว้ ก็เพราะถือว่า มนุษย์ที่เกิดมา จะทาดี หรือไม่ดี ก็เพราะความไม่รู้ที่เรียกว่า “อวิชชา” การไม่แสวงหาความรู้ จึงเป็นต้นเหตุแห่งกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์ ผลที่เห็นได้ง่ายก็คือความ โง่เขลา และความเฉลียวฉลาดมีปัญญา
    เมื่อได้รู้เรื่องกรรม ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ท่านผู้มัปัญญา ย่อมจาแนกแยกแยะ ความหยาบ ความละเอียด หนักเบาของกรรม นั้นๆ ได้ และเป็นจริง
    แสดงให้เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเครื่องจาแนกแยกให้เห็นว่า มนุษย์ จะดีหรือจะชั่ว จะร่ารวยหรือยากจนเข็ญใจ จะรูปงามหรือต่าทราม จะลง นรกหรือขึ้นสวรรค์ จะเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ หรือจะหลุดพ้น ไปสู่พระนิพพาน แดนแห่งจิตอมตะก็ด้วยกรรม คือ การกระทาของตน เองทั้งสิ้น
    ทั้งนี้ไม่มีพระเจ้าองค์ใดจะบันดาลให้ได้ แม้พระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลก ทั้ง ๓ ก็เป็นแต่ผู้แนะนาสั่งสอน ชี้ให้เห็นทางถูกผิด กุศล อกุศล ให้ เท่านั้น ตัวเรา มนุษย์เรา จะเป็นผู้เลือกทางเดินของตนเอง จะเลือกอย่าง คนโง่ดักดาน หรือจะเลือกอย่างคนฉลาดมีปัญญา ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ เองทั้งสิ้น
    พระพุทธศาสนา ไม่มีคาสอนให้คนหลงใหลงมงาย แต่สอนให้รู้จัก ความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อตนเอง และให้พยายามค้นหาความเป็น จริง ในกายในจิตของตนเอง มากกว่าดูจากภายนอก เพราะภายนอกนั้น ยังเป็นสิ่งลวงตาอยู่
    เมื่อรู้จักเรื่องของกรรมแล้ว ก็ย่อมจะเข้าใจนิพพานได้ถูกต้องขึ้น ว่า แท้จริงแล้ว “นิพพาน” มิได้สูญหายไปไหน คาว่า “นิพพาน ปรม สูญญ ” นิพพานสูญนั้น ได้สร้างความเข้าใจผิด หวาดกลัวมาสมัยหนึ่ง ใครๆ ก็ไม่อยากไปนิพพาน ไปทาไมเมื่อมีความสูญสลาย สู้เป็น มนุษย์อยู่อย่างนี้ไม่ได้ บริบูรณ์ด้วยรูป รส กลิ่น เสียง หรือไม่ได้เป็น มนุษย์ ไปสวรรค์ยังดีเสียกว่า
    ก็นี่แหละมนุษย์ ที่ยังติดรูป รส กลิ่น เสียง มีความโลภ โกรธ หลง เป็นเจ้าเรือนอยู่ ไม่ใช่จะสละละวาง ไปนิพพานกันได้ง่ายๆ เอกเพียง แค่ไม่ทาบาป ก็เป็นของยากแสนเข็นเสียแล้ว ก็ยากที่จะเอาชนะกิเลสได้
    คาบาลีมีอีกประโยคหนึ่งว่า “นิพพาน ปรม สุข ” แปลว่า “นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง” ซึ่งมีความหมายที่ถูกต้องที่สุด ความสุขอย่างยิ่ง เป็นลักษณะของพระนิพพาน แต่สุขอย่างยิ่งอย่างไร จึงจะเป็นสุขของ พระนิพพาน
    ธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีทุกขเวทนาเป็นพื้น ฐาน เกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ เพียงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ครั้งหนึ่งก็พอทน แต่มันมีคาว่าเวียนว่ายตายเกิดเพิ่มขึ้นมา ชีวิต มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ต่างเวียนว่ายตายเกิดเช่นนี้ นับภพนับชาติไม่ ถ้วน เกิดแต่ละภพแต่ละชาติ ต่างก็ต้องทนทุกขเวทนาซ้าแล้วซ้าอีก
    ผู้มีปัญญา ได้สร้างทานบารมี ศีลบารมี สมาธิบารมี จนเป็นผู้ มีปัญญา มีจิตเป็นกุศล ย่อมเห็นทุกขเวทนาในการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เวียนว่ายตายเกิด ซ้าซาก ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลายกาหนัด แสวงหาความพ้นทุกข์ หวังมรรคผลนิพพาน
    ส่วนผู้มีอวิชชาครอบงาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกรู้สา ต่อการละวางกิเลส ตัณหา ยังติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งเป็นธรรมดาโลก ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับผลกรรมของตน ใครทากรรมใดไว้ จะดีหรือชั่ว ย่อมเป็นไปตาม กรรมนั้น
    นิพพานที่ว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง ต้องทราบก่อนว่า ธรรมชาติจิตเป็น ธาตุอมตะ ไม่ใช่ของสูญได้ จิตย่อมเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตน การที่เราจะเข้าถึงนิพพานที่เป็นสุขอย่างยิ่ง คือ ทาให้จิตไม่ต้องเกิดตาย ต่อไป เป็นจิตที่สุขอย่างเดียว เหนือธรรมชาติของจิตธาตุอมตะธรรมดา ขึ้นไปอีก และเป็นจุดสุดยอดที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึง และเป็นจุดสุดยอด ของพระพุทธศาสนา ซึ่ง
    ไม่ใช่จะเข้าถึงได้โดยง่าย อย่างที่คนโดยมากคิดกัน ต้องอาศัยบารมีที่สร้างสมมาหลายภพหลายชาติ เกื้อกูลส่งเสริมด้วย
    ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่มนุษย์สามัญชนเรา จะมานั่งกลัวว่า ตน จะต้องไปนิพพาน ที่เข้าใจว่าเป็นการสูญ
    มนุษย์สามัญชนผู้ไม่รู้อดีตชาติ ไม่รู้กรรมดีกรรมชั่วที่เคยกระทามา ถ้าเรามีจิตเป็นกุศล เราอาจปรารถนานิพพานได้ แต่จะช้าหรือเร็ว ก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สุดแต่วาสนาบารมีที่เราเคยกระทามา ซึ่งไม่ทราบว่ามี แค่ไหน
    แต่เมื่อปรารถนานิพพาน แล้วตั้งใจทากรรมดี ก็จะต้องได้สักวัน หนึ่ง หรือในชาติหนึ่งจนได้ ข้อสาคัญในปัจจุบัน เราทาอะไรอยู่ ถ้าเราทา ในสิ่งที่เป็นกุศล เช่น ให้ทาน รักษาศีล ทาสมาธิ ทาไปจนเคยชินเป็น ปกติ ไม่ให้ตกไปอยู่ในความชั่วหรืออกุศลกรรม แม้ไม่ปรารถนาสวรรค์ นิพพาน ก็ย่อมไปถึงจนได้ เพราะกุศลกรรมความดีนั้น เปรียบเหมือน เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เมื่อได้น้าดี ดินดี ก็จะมีแต่ความงอกงาม เจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป
    ดังนั้น แต่ละชีวิต แต่ละจิตวิญญาณ ก็ใช่ว่าเมื่อเกิดมาในภพใดภพ หนึ่งหรือชาติใดชาติหนึ่ง ซึ่งต่างก็ผ่านมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จะมีโอกาส สร้างสมกุศลบารมี ทุกชาติทุกภพก็หาไม่ บางชาติบางภพ ก็มีโอกาส สร้างสมกุศลบารมีติดต่อกันมา แต่บางชาติบางภพ ก็มีอกุศลกรรม มาทา ให้หลงผิดเป็นชอบ สร้างบาปกรรมทาลายตนเองมากมาย เพียงผิดศีล ๕ ก็ทาให้ตกนรกภูมิ เสียเวลาไปนับเป็นกัปเป็นกัลป์ เพราะอวิชชา ครอบงา และส่วนมากก็ตกอยู่ในสภาพที่จะต้องรับผลจากอกุศลกรรม มากกว่ากุศลกรรมด้วยซ้าไป เราเรียกเจ้าตัวอุปสรรคขัดขวางว่าเป็น มาร หรือกิเลสมาร อันเป็นฝ่ายอกุศล
    ด้วยเหตุนี้ทาให้เห็นว่า ทุกชีวิตผู้มีจิตวิญญาณ ต่างก็ต้องพบกับ การทาความดี และการทาความชั่วสลับกันไป ข้อสาคัญอยู่ที่เราทากรรมดี หรือกรรมชั่วมากกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับชีวิตความคิดของเราเอง
    เคยมีพระนักปฏิบัติบางรูป ท่านปรารภให้ฟังว่า ถ้าท่านเกิดทันใน พุทธกาล คือ ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงดารงค์พระชนม์อยู่ ก็คงจะบรรลุ เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว
    คาที่ท่านปรารภออกมานี้ มันไม่แน่เสมอไป เพราะผู้ที่เกิดทันพระ พุทธเจ้า ได้สนทนากับพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นแม้เพียงโสดาบันก็มี ส่วนผู้ ที่เกิดภายหลังพระพุทธเจ้านับเป็นพันๆปี เมื่อปฏิบัติตามพระธรรมคา สอนอย่างจริงจังแล้ว ได้บรรลุพระอรหันต์ก็มี มันขึ้นอยู่กับกุศลบารมี ได้สร้างสมมาเต็มเปี่ยมหรือยัง
    ดูแต่ อุปกาชีวก ซิ เขาเดินสวนทางกับพระพุทธเจ้า ไดทักถาม สนทนากับพระพุทธเจ้า ตอนที่มุ่งหน้าไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน เมื่อพบพระองค์กลางทาง เขาทักว่า
    “ดูกร อาวุโส…อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสพิเศษแล้ว พรรณนา แห่งผิวบริสุทธิ์ผุดผ่องโดยรอบ ท่านได้บรรพชาเฉพาะซึ่งผู้ใด ใครหนอ เป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของผู้ใด”
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เราเป็นผู้ครอบงาซึ่งธรรมทั้งปวงในภูมิ ๓ เราตรัสรู้แจ้งด้วยตนเอง เราละเสียซึ่งเตภูมิกรรม เป็นผู้น้อมไปแล้ว ซึ่งอารมณ์พระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้มีวิมุตติหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งปวง เราตรัสรู้เองแล้ว จะพึ่งใครเป็นศาสดาเล่า”
    แต่อุปกาชีวก กลับแสดงอาการเย้ยหยัน ไม่เชื่อ แล้วหลีกไปเสีย นี่ก็แสดงว่าการพบพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทาให้เขาบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด แทนที่จะทูลซักถามให้ละเอียด และขอฟังธรรมของผู้สิ้นอาสวะแล้ว
    การแสดงความไม่เชื่อ เย้ยหยันพระพุทธเจ้านั้น ก็อาจทาให้เขา ตกนรกได้ เพราะพระพุทธศาสนานั้น ถือเรื่องความคิดเป็นเรื่องสาคัญ คนที่มีทิฐิ แสดงความไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ว่ามีอยู่จริง หรือไม่เชื่อบาปอกุศล ไม่เชื่อกุศลบารมี ทาให้ตกนรกอวจี ได้เหมือนกัน
    “จิตมนุษย์” ล้วนมีความโลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นสัญชาติญาณประจาตัวก็ว่าได้ จึงเท่ากับมีทุนทางอกุศล เป็นทุนอยู่ แล้ว เรื่องการทาชั่วทาบาป จึงกระทากันได้ง่าย จนกระทั่งถือเป็นธรรมดา ไปก็มี คือ ทากันจนเคยชิน เช่น การฆ่าสัตว์ เมื่อทาเป็นอาจิณ ผู้ทาก็ไม่ รู้สึกถึงความผิดบาปแต่อย่างใด หรือการพูดโกหกมดเท็จ บางคนพูดจน กลายเป็นนิสัย วันไหนไม่ได้พูดมุสา จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ คล้ายขาด อะไรไปอย่างหนึ่ง
    ที่ท่านกล่าวว่าบาปทาได้ง่าย ก็เพราะมันมีบาปมากมาย ให้เลือก ทาได้ทุกโอกาส ผิดกับการทากุศลหรือการทาบุญสร้างความดี ต้องฝืนทา ต้องพากเพียร ต้องตั้งใจให้จริง จึงจะทาได้
    อันที่จริง การระลึกชาติได้นี้ มีคนในโลกระลึกได้ไม่น้อย เป็น การระลึกในลักษณะแตกต่างกันไป บางคนก็ระลึกได้ในชาติที่แล้ว สามารถ บอกเล่าตรงกับความเป็นจริงได้ บางคนก็ระลึกได้ด้วยฌาณ อันปฏิบัติ ธรรมดีแล้ว ที่เรียกว่า “อตีตังสญาณ” จะระลึกได้น้อยชาติหรือมาก ชาติ ก็ขึ้นกับปัญญาบารมีของแต่ละคน
    พระอรหันต์ระลึกได้น้อยกว่าพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ สามารถย้อนหลังระลึกชาติไปไม่มีสุด
    สาหรับอาตมา ที่เล่าการระลึกชาติมานี้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตน เพื่อ ยืนยันว่า ชาตินี้ชาติหน้า การเวียนว่ายตายเกิด เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ ไม่อาจเปิดเผยนามได้ และนามนั้นก็สมมติขึ้น ชีวิตก็เป็นอนัตตา เพียง ให้รู้ว่าเราท่านไม่ควรประมาทในชีวิต ก็น่าจะจบได้แล้ว

    "เผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน
    รวบรวมและคัดลอกจาก
     
  4. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    เรื่องราวดีๆ ที่อยากให้พี่น้องที่รักยิ่งได้อ่านกันนะครับ
     
  5. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    ใครอ่านแล้วพอจะทราบว่าเป็นประวัติของอาจารย์ท่านใด ก็บอกกล่าวกันด้วยนะครับ
     
  6. ร่มโพธิ์

    ร่มโพธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,952
  7. ck2548

    ck2548 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +37
    ไม่น่าจะใช่ ลป เณรคำ เพราะบทความท่านเกิดในครอบครัวค้าขาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...