นั่งสมาธิแบบใดถูกจริต

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ต้องดี, 29 มิถุนายน 2009.

  1. ต้องดี

    ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ผมเคยฝึกนั่งสมาธิด้วยตนเองมาแล้วหลายวิธี ทั้งแบบธรรมกาย กำหนดดวงแก้ว ภาวนา สัมมาอะระหัง หรือ กำหนดลมหายใจพุทโธ ก็เคยแต่ไม่ชอบเลยจะหลุดจากสมาธิ หรือยุบหนอพองหนอ หรือภาวนานะมะพะทะ ก็เคยครับ ไม่สำเร็จใด ๆ เลย จะปวดหลัง ปวดตา นั่งได้ไม่นาน
    แต่ถ้ากำหนดดวงไฟ หรือแสง โดยไม่ภาวนา จะนั่งได้นานครับ โดยไม่ต้องภาวนาใด ๆ ตาม นั่งได้ประมาณ 1 ชั่วโมง และจะมีอาการดังนี้ บางครั้งนั่งไปสักระยะ ก็จะตัวโยกคลอน เอนไปข้างหน้า เอนไปข้างหลังเหมือนจะล้ม แต่ก็ไม่ล้ม บางครั้งก็ตัวสั่นไปมา บางครั้งก็เหมือนจะหลับในไปโดยไม่รู้สึกตัว และพอระลึกสติได้ ก็จะมากำหนดอยู่ที่แสงที่เพ่งต่อ โดยเหมือนตื่นจากภวังค์ แต่การนั่งก็จะอยู่แค่ระดับนี้ ไม่ก้าวหน้าไปมากกว่าที่เป็นอยู่ อยากทราบว่าผมควรทำอย่างไรกับการฝึกสมาธิดีครับ พี่ ๆ เพื่อน ๆ ช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณมาก ครับ
     
  2. ต้องดี

    ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ถ้าจะฝึกมโนมยิทธิ อย่างถูกวิธีต้องเริ่มอย่างไรบ้างครับ
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    ควรเริ่มต้นจากสมาธิ พุทโธ กําหนดหายใจเข้า พุท ออกโธครับ บางครั้ง เราก็ต้องอดทนครับเพื่อจะได้มาซึ่งความสงบเเละความชํานาญในการปฏิบัติในตอนหลัง อาจจะดูลําบากเหมือนเราไม่น่าจะทําได้ในครั้งเเรกๆ เเต่ถ้าเราสู้กับใจตัวเองอย่างเเน่วเเน่เเล้ว ยังไงเขาต้องมาเเน่นอนครับ ผมเชื่ออย่างนี้ เจริญในธรรมครับ จขกท มันก็เหมือนกับตอนเเรกๆที่เรานั่งสมาธิเเล้วฟุ้งซ่าน ยังคิดโน่นคิดนี่อยู่ เเต่พอเราหมั่นทําสมาธิเป็นประจําวันทุกวันเเล้ว ในอนาคต ความฟุ้งซ่านก็ลดลงไปเเละหายไปได้ครับ ขอให้อดทนเป็นที่ตั้งพอครับ เป็นกําลังใจให้ครับ จขกท
     
  5. คนกันเอง

    คนกันเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    7,441
    ค่าพลัง:
    +8,977

    อนุโมทนา
     
  6. ภูมิพัฒน์รัตน

    ภูมิพัฒน์รัตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +407
    ตอนกำหนดดวงไฟ รู้ลมหายใจเข้าออกและภาวนา ก่อนนะครับ
    หลับตาแล้วนึกเปลี่ยนจากดวงไฟเป็นรูปพระพุทธ ดูครับ ค่อยๆน้อมกราบพระที่เรานึกถึงได้
    ขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าช่วยสงเคราะห์ ปรากฎอะไรก็ตาม ไม่ปรากฏก็ช่าง คุมสติให้ดี ไม่ตึงเกินไป ทำใจให้สบายๆ และไม่ควรนั่งนานเกินไป แต่ควรทำบ่อยๆนะครับ

    คำภาวนาให้หาจาก กสิน10
    สาธุขอให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    อ่านอันนี้ได้ครับ จขกท ของหลวงพ่อฤาษีลิงดําครับ บอกทุกอย่างอยู่ในนี้หมดเเล้ว อนุโมทนาครับ เจริญในธรรมนะครับท่าน

    <table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber1" border="0" bordercolor="#111111" cellpadding="2" width="100%"><tbody><tr><td valign="top">
    <center><table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber2" border="0" bordercolor="#111111" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"><tbody><tr><td width="100%">
    <table border="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td>คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ----> หน้า 24 จริต ๖ จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยว ของจิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ ๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวยเสียง เพราะกลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัดยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการ มีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกาย ก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิต รักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตีความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจ อย่างนั้นพลาดถนัด ๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไรหน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโสใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริต นี้ แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถันเป็น คนใจเร็ว ๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่าอะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตาม เก็บดะไม่เลือก มีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบ เอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบ ให้ ๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณา นิดหน่อยก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มี หน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก ๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุ ไร้ผล พวกที่ ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้ พิจารณา ๖. พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณ ไหวพริบดี การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖ ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางราย ก็มีไม่ครบ มีมากน้อยยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติ ที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะ บารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมีที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์ จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละมีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรงจริต มีอารมณ์อย่างเดียวกัน แต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต นักปฏิบัติเพื่อฌานโลกีย์ หรือเพื่อมรรคผลนิพพานก็ตาม ควรรู้อาการของจริต ที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติเพื่อการ ละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุม ความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปัส- สนาญาณ อารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ไปปรารถนาความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ผูกพันใน ทรัพย์สมบัติบ้าง วิตกกังวลถึงเหตุการณ์ต่างๆ บ้าง เกิดอารมณ์สัทธาหวังในการสงเคราะห์ หรือมุ่งบำเพ็ญธรรมบ้าง เกิดอารมณ์แจ่มใส น้อมไปในความเฉลียวฉลาดบ้าง เมื่อรู้ ในอารมณ์อย่างนี้ ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับ ประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือ หักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อผล ให้ได้ญาณสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อ ผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีรวมทั้งหมด ๔๐ อย่างด้วยกันท่าน แยกไว้เป็นหมวดเป็นกองดังนี้ อสุภกรรมฐาน ๑๐ อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ กสิณ ๑๐ อาหาเรฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ รวมเป็น ๔๐ กองพอดี .

    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    </td> </tr> </tbody></table>
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=240
     
  8. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ไม่ลองเพ่งกสิณดิน กสิณสีแดง ลองดูครับ
    - กสิณดิน เวลาเพ่ง ก้กำหนด ปฐวี ปฐวี ไปเรื่อยๆ จนจำ(ใช้สัญญาช่วย)ได้ก็หลับตาแล้วนึกเอาไปเรื่อยๆจนจิตเกิดสมาธิ

    - กสิณสีแดงหรือโลหิตกสิณ ก้ทำจานวงกลมสีแดงขนาดใหญ่ ก้จำวงกลมสีแดงอันใหญ่นี้ให้ได้แล้ว ท่องคาถาว่า "สีแดง สีแดง..." แล้วก็หลับตาแล้วนึกเอาจนจิตจำอยู่กับสีแดงและคำภาวนานั้นๆ
    เป็นอาการของปิติ ระยะที่2 เพราะจิตเริ่มจะเป็นสมาธิ
    ซึ่งจะมีอาการแบบนี้คล้ายๆกันทุกคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  9. ต้องดี

    ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    แล้วถ้าอยู่อาการของปิติ ระยะที่ 2 ขั้นต่อไปควรทำอย่างไรต่อครับ ปัจจุบัน พอนั่งไม่เกิน5 นาทีก็จะมีอาการโยกคลอนทันที ผมจะปล่อยให้โยก คลอนไปเรื่อย ๆ สักพัก แล้วกำหนดจิตจากนั้นก็นั่งตัวตรงใหม่ ให้ตัวตรง พอปล่อยจิตสักพัก ก็กลับมาโยกคลอนใหม่อีก แนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  10. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ก็ต้องไม่ต้องทำไร ดูอาการเหล่านี้ไปเรื่อยๆ เพราะจิตจะรวมเป็นสมาธิมันเกิดปิติก่อน บางคนนั่งจนรู้สึกว่าตัวลอยไปเกือบถึงเพดานแน่ะ ก้ให้รู้ตัวและทนดูอาการเหล่านี้ต่อไป ไม่ต้องไปสงสัยมันมากหรอก เด่วจิตจะไม่รวมลงไป
    แต่ถ้าเคยกำหนดแบบพองหนอ ยุบหนอมาบ้าง ควรที่จะกำหนดรู้หนอ ๆๆ ๆ
    ให้สติกับตัวเราเพื่อระลึกรู้ในอาการโยกคลอน หรือตัวเอนไปข้างๆ หรือเอนไปหน้าไปหลังที่กำหนดก็เพื่อให้จิตตามอาการเหล่านี้ให้ทัน ก้มีอาจารย์ปิติเขามาสอนแล้ว ก็ค่อยศึกษาหาความรู้จากเรื่องนี้กันต่อไป ทำใจให้สบาย อย่าไปเพ่งอาการเหล่านี้มากไป หรือนึกคิดกับมันมากไปจนเกิดวิตก วิจาร เกิดเหตุ ให้ปล่อยเป็นธรรมชาติ พร้อมกับค่อยๆดูมันอย่างพินิจพิจารณา อย่าลืมว่าในองค์
    ฌาณทั้ง5 จะมี วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา เห็นไหมว่าถ้าทำไปทำมาจะได้ถึง 3 ข้อแรก หากทำต่องเนื่องเรื่อยๆ ไม่คิดอะไรกับมันเลย จะเกิดความสงบและความสุขเข้ามาแทนที่ แต่ถ้าสงสัยกับมันมากจิตเราจะถอนเลยนะ และไม่ยอมรวมลงไปอีก หรือไม่เกิดปีติง่ายๆอีก
     
  11. gitti

    gitti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    393
    ค่าพลัง:
    +1,035
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
    เราก็ฟุ้งซ่านมากเลยอ่ะเพิ่งเริ่มทำ
    มันมาเป็นเรื่องๆ เหมือนกับฝัน ทั้งๆที่ไม่ได้หลับด้วยอ่ะค่ะ
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หลายท่านตอบไปแล้วอ่านดูให้ดีนะครับ....

    สำหรับผม...ผมว่าคุณต้องจับอะไรสักอย่างให้ได้ครับ.....การที่เราจับอะไรหลายอย่าง....หรือเปลื่ยนกรรมฐานบ่อย....ผลก็คือ....จะไม่ได้อะไรเลยครับ...
     
  13. อารมณ์สุนทรีย์

    อารมณ์สุนทรีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +1,740
    แนะนำ พุทโธ หรือ ตามถนัด

    ดูลมหายใจ ช้า เร็ว ยาว สั้น ผ่านไปที่ใดบ้างเวลาเราหายใจ

    ไม่ต้องไปกำหนด


    พอเป็นสมาธิดีแล้ว

    อฐิธานว่า ขอให้รู้ว่ากรรมฐานกองใดที่เคยฝึกมาแล้วแต่ในอดีต หรือที่ถูกจริต

    ให้รู้ ให้ชอบแบบโดนใจ

    แล้วก็โลดดดด เลยครับ
     
  14. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    โมทนาสาธุ..ที่เล่ามาทั้งหมดนี่ล่ะ เขาเรียกว่านั่งสมาธิแล้วก้าวหน้าล่ะ...
    นี่ล่ะคือก้าวหน้า...แต่ตัวเองไม่รู้ว่าก้าวหน้า...

    ไอ้พวกอาการ..ที่โค้ดมาข้างบนนี้...
    เป็นอาการที่จิต..จะเข้าสู่ "ฌาน"
    จำไว้ว่า..วันไหนที่เรานั่งแล้วตัวโยกคลอน..มากๆ
    เราใช้กรรมฐานแบบไหน.. ลองใช้กองนั้นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ..

    จนกว่า...ลมหายใจจะเริ่มหายไป..แผ่วไป ...
    คำภาวนา..ค่อยๆ หายไปสิ้น...
    ทรงไว้แต่...ความสุข..สบายของจิต...

    นั่นล่ะ... เขาเรียกว่าทรง ฌาน
    ยิ่งโยก ยิ่งคลอน ยิ่งใกล้ฌานแล้ว..
    ไปฝึกต่อนะ..อย่าทิ้ง
     
  15. ต้องดี

    ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ขอบคุณทุกท่านครับ ช่วงนี้ก็ยังฝึกอยู่บ้างตามแต่โอกาสครับ อย่างน้อยก็สัปดาห์ละ 1 ครั้งถ้ามีเวลาก็ 2 ครั้งครับ
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    คุณลองฝึกทุกวันนะคะ
    วันละนิดก็ยังดี
    ประมาณ ตี 2- ตี 3 หรือ ตี 3-ตี 4
    เหมาะสุดค่ะ สงัดดีค่ะ
     
  17. ต้องดี

    ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53

    ขอบคุณครับ ปกติ ผมจะตื่นกลางดึกประจำ ก็จะมีลุกขึ้นมานั่งสมาธิ 10-15 นาทีแล้วก็จะเปลี่ยนไปเป็นนอนสมาธิครับ
     
  18. เมธี อยู่สุข

    เมธี อยู่สุข Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +45
    ขอโทษนะครับ การที่คุณกำหนดเห็นดวงไฟ แล้วจิตคุณนิ่งไม่ฟุ้งซ่านนั้น อันนี้นั้นเป็นกสินแสงสว่าง(อาโลกกสิน) ให้คุณตั้งจิตจับภาพดวงไฟ ทำอารมณ์ใจสบายๆ ภาวนาว่า อา-โล-ก-ก-สิ-นัง จับลมหายใจไปเรื่อยๆ ถ้าภาพนั้นหายไปก็เริ่มต้นจับภาพใหม่ ภาวนาไปด้วย ทำทุกวัน เวลาทำงานก็จับภาพกสินด้วย เมื่อภาพนั้นเริ่มติดอยู่กับจิตแล้ว ภาพจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป เริ่มขาวสะอาด สดใส จนที่สุดก็กลายเป็นดั่งแก้วมีประกายพรึกระยิบระยับ นั่นคือถึงที่สุดของกสินกองนั้นครับ อาโลกกสินนี้ เป็นกสินที่ทำให้ทิพจักขุญาณเกิดขึ้นนะครับ ตัวผมเองไม่เก่งหรอก คุณไปหาอ่านในคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ ของหลวงพ่อฤาษีต่อเอานะ
     
  19. ต้องดี

    ต้องดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +53
    ขอบคุณทุกความเห็นครับ พอดีผมพึ่งไปบวชมาเมื่อช่วงปีใหม่ และได้ฝึกวิปัสนากรรมฐาน ด้วย เหมือนถอยหลังลงคลอง คือพอไปฝึกจะตีกลับสิ่งที่ตนเคยฝึกมา นอกจากไม่ก้าวหน้า ผมจะได้แต่ความปวดเมื่อย และความง่วง ในแต่ละวันผมฝึกวิปัสนา ถึง 6 ชม. แต่ไม่หลับแบบง่วง ก็ฟุ้งซ่านคิดนั่นคิดนี่ แถมได้ความปวดล้า ซึ่งวิปัสนา ต้องการให้รู้อารมณ์ คือปวดหนอ ง่วงหนอ ฟุ้งหนอ อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ซึ่งยกขึ้นเป็นวิปัสนากรรมฐานเลยก็ไม่ได้ ไอ้สมาธิแบบที่เคยฝึกมา ก็ถดถอยไปตามกำลัง ไม่โยกไม่คลอน ไม่เห็นแสงใด ๆ อีกเลย การรวมตัวของสมาธิไม่เกิด ได้แต่เจ็บหนอ ง่วงหนอ ฟุ้งซ่านหนอ ใครรู้ช่วยแนะนำด้วย การฝึกจะได้ไม่สะเปะสะปะคับ
     
  20. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    เอ๊ะผมฟังเทศน์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโยท่านบอกว่าจะขาดคำภาวนาไม่ได้นะ ถึงจะทำใจหยุดนิ่งแต่ต้องหาคำภาวนา ไม่งั้นล่ะก็.....อาจจะไม่รอดจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในสมาธิ
    ทุกวันนี้ผมรู้แล้วว่า สติปัฐาน 4 เหมาะกับผมที่สุดแต่ก็ทำบ้างไม่ทำบ้างขี้เกียจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...