การเข้าถึง ฌาณ 4 ต้องรู้สึกตามขั้นตอนเหล่านี้ทุกครั้งไหมครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย bankcs16, 1 มิถุนายน 2009.

  1. bankcs16

    bankcs16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +128
    การเข้าถึง ฌาณ 4 จะต้องรู้สึกตามขั้นตอนเหล่านี้ทุกครั้งไหมครับ
    วิตก : คือ ยังภาวนาพุทโธอยู่
    วิจาร : คือ การคิดว่าพุทหายใจเข้า โธหายใจออก
    ปิติ : มีอาการ 5 อย่างคือ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยก ตัวลอย ตัวขยายใหญ่ขึ้น (อาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง)
    สุข : จิตที่อิ่มในอารมณ์
    เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
    แล้วจะรู้ได้ยังไงครับว่าถึง ฌาณ 4 พอเหลือ สุข กับ เอกัคคตารมณ์เ มื่อพิจารณาถึง พระไตรลักษณ์ หลังจากนั้นสิ่งที่จะทำให้เรารู้ว่าถึงฌาณ 4 แล้วคือความรู้สึกแบบไหนครับ
     
  2. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ฌานสี่ ดูที่อารมเอาจะเป้น เอกัคคตารมณ์ เป็นอารมเดียว แต่คำภาวนามีแต่เบามาก จิตที่แทรงมีนิดหน่อย

    ถ้าเวลาถอนออกมา จะ อุปจารฌาน คือ จิต แทรก เขามาได้บ้าง แต่ จะไม่ฟุ้ง แต่เป็นสมาธิ ส่วนใหญ่อยู่ได้ทั้งวัน ทั้งคืน
     
  3. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....ตามตำรา รู้ไว้......

    ...ทำได้ถึง ก็ บางอ้อ.....เอง
     
  4. bankcs16

    bankcs16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +128
    ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำ
     
  5. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ทำ
     
  6. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ฌาน 4 หรือรูปฌาน4 เป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้...
    ทรงอารมณ์ด้วย"เอกัคคตา"และมีเพิ่มอีกหนึ่งคือ"อุเบกขา"
    มีจำนวนสองอย่างเหมือนฌาณ3 แต่ฌาน3 "มีสุข กับ เอกัคคตา"
    ผมคิดว่าถ้าตัดความอยาก(คืออยากได้ฌาน)กับ ปลิโพธิ ออกให้ได้
    ตอนนั้นแหละ เราจะเข้าใกล้ถึงฌาน
    :boo:
     
  7. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    จากคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เราจะทราบว่าเราอยู่ในฌานที่สี่หรือไม่? สังเกตที่ลมหายใจของเรา หากลมหายใจของเราปรากฏ แสดงว่าจิตของเรามีสมาธิต่ำกว่าฌานสี่

    เชิงปฏิบัติ แม้ว่าเราอยู่ในฌานสี่ ลมหายใจยังมีอยู่ แต่มันละเอียดมาก สำหรับผู้ปฏิบัติอานาปานสติ เราต้องใช้สติและสัมปชัญญะอย่างยิ่งเพื่อกำหนดรู้ลมหายใจ สิ่งนี้แตกต่างจากกรรมฐานอื่นๆ กล่าวคืออารมณ์ที่เราภาวนาย่อมปรากฏชัดแต่ลมหายใจหายไป

    หากถามถึงความรู้สึก ในฌานสี่นี้ กายและจิตแยกกันแล้ว ดังนั้นเราจะไม่รู้สึกว่าเรามีกาย ความเจ็บปวดทางร่างกายใดๆ ย่อมไม่มีในเรา เราจะจดจ่ออยู่เพียงอารมณ์ที่เรากำลังพิจารณา ขอตอบเพียงเท่านี้สำหรับผู้ที่มีอัชฌาสัยแบบสุกขวิปัสสโก

    ขณะเจริญอยู่ฌาน ท่านไม่สามารถพิจารณาไตรลักษณ์ได้ เนื่องจากจิตของท่านจดจ่อกับอารมณ์ภาวนา หากต้องการพิจารณาไตรลักษณ์ ท่านควรลดกำลังสมาธิมาเพียงแค่อุปจารสมาธิ แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2009
  8. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    ชัดเจนที่สุด...ตามที่มีผู้ตอบไว้แล้วครับ
    เพิ่มเติมว่า..บางท่านที่คล่องมากๆ...
    กำหนดจิตแป๊บเดียว...จิตวิ่งพรวดเดียวไปทรงอยู่ที่ฌานสี่เลย

    ไอ้ที่บอกว่าเป็นไปตามขั้นตามตอนไหม...
    ต้องผ่านปีติก่อนไหม...

    บางทีจิตมันวิ่งพรวดเดียวไปฌานสี่เลย..
    คำตอบคือผ่านขั้นตอน..แต่บางครั้งเรารับรู้ไม่ทันนั่นเอง

    แต่..ถ้าผู้ถามเป็นเหล่ากอพุทธภูมิ
    โห..อันนี้ต้องผ่านทุกขั้น..ต้องเจอปีติทุกตัว..
    ผมเอง..ก็ทั้งตัวโยกคลอนจนหัวจะฟาดพื้น
    ..ตัวโตขยายสูงมากๆ..น้ำตาไหลจนแทบแห้งบ่อน้ำตา
    ทั้งๆ ที่ลาออกจากเหล่ากอแล้วนะครับนี่..


    ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด..
    ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยก็แล้วกันครับ
     
  9. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    3.ไม่มีภาพนิมิตใดๆ ทั้งสิ้น ผู้เข้าฌาณ 4 ที่สติยังไม่กล้าแข็ง จึงมักตกภวังค์ และเข้าใจไปว่า ภวังคนั้น คือสภาวะของฌาณ 4
    รูปฌาณ 4 คือ อรูปฌาณ 1

    4.กายไม่รับสัมผัส เมื่อไม่มีสัมผัสอื่นเพิ่ม ถ้ายุงกัดก็รู้สึกแน่ แต่ก็สามารถละสัมผัสนั้นได้เช่นกัน

    6.หู ไม่รำคาญในเสียง ได้ยินเสียงเบาลง หรือ ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย แต่หากต้องการฟัง ก็สามารถได้ยินเสียงที่ชัดมาก

    ฌาณ 4 ไม่ได้หมายถึงการดับของประสาทรับรู้ แต่เป็นการละความสนใจ หมายความว่า ถ้าหากจะสนใจ ก็จะสนใจได้แจ่มชัดกว่าปกติ
     
  10. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ฌาณ เป็นอารมณ์อุเบกขาครับ
    ทวารทั้ง 6 ปิด ไม่สุขไม่ทุกข์ อิสระเป็นกลาง
    รูปนิมิตจะชัดเจนมาก เป็นประกายพรึกเลย
     
  11. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    ผมฝึกอานาปานสติ (หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ กำหนดความรูสึกที่ปลายจมูก)ภาวนา ๒-๓ นาทีน้ำตาจะไหล ต่อมาลมหายใจจะละเอียดขึ้นตามลำดับ แล้วคำภาวนากับลมหายใจจะหายไป ช่วงนี้จะคิดอะไรไม่ได้ หูไม่ได้ยินอะไร อยู่อย่างนั้นเป็นชั่วโมงแทบจะทุกครั้ง เมื่อสมาธิถอยออกมาจึงพิจารณาพระไตรลักษณ์ อ๋อบางครั้งเสาร์อาทิตย์ว่างๆตั้งใจมากๆอยากจะเข้าสมาธินานๆ ผมจะเข้าสมาธิไม่ได้นั่งจนเมื่อยก็เข้าไม่ได้่ ดังนั้นถ้าอยากจะเข้าสมาธิ จะเข้าไม่ได้ (อย่าทำเพราะอยากสำหรับผู้ยังไม่เป็นวสี)ถือว่าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับโปรดอย่าคิดเป็นอย่างอื่นครับ
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ดีแล้วครับ....ปฏิบัติต่อไป....
     
  13. นิพพานตั่งมั่น

    นิพพานตั่งมั่น Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +53
  14. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    อนุโมทนาสาธุด้วยครับ ชุดนี้ดีมากครับ ผมได้อ่านมากกว่าสิบรอบเลยครับ
     
  15. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    มองอะไรก็ได้เเล้วจดจำไว้ครับ
     
  16. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    ดูตัวเองด้วยว่ากรนรึเปล่า ถ้ากรน น่าจะถึงชานหลับแล้ว
     
  17. saipote

    saipote เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2009
    โพสต์:
    6,115
    ค่าพลัง:
    +9,778
    อนุโมทนาสาธุค่ะ เห็นด้วยความบทความนี้ทุกประการ
     
  18. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    นั่งสมาธิแล้วอยากรู้ว่าถึงไหนแล้วได้ฌาณระดับไหนแล้วจิตมันก็จะตกเพราะความอยากมันมีอยู่มันไม่ถึงไหนหรอก
     
  19. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    จตุตถฌานเหลือแต่เอกัคคตาครับ ^^
    ยังมีนิมิตอยู่ แต่จิตดิ่งไปกับนิมิตต
    แต่พอเพิกจากนิมิตตแล้วจะเริ่มเข้ากระบวนการของอรูปฌานแล้วหละครับ
     
  20. THEFOOL23

    THEFOOL23 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +136
    แล้วจะรู้ได้ยังไงครับว่าถึง ฌาณ 4
    องค์ประกอบ ฌาน ครบ ครับ ถ้าทำได้ ก็จะรู้เอง เหมือนเรากินข้าว เรารู้ตัวเองว่า เรากิน เรา อิ่ม ไม่ต้องให้คนอื่นมาบอกคับ ถ้ายังสงสัย ให้คนอื่นมาบอก ก็ยังไม่ใช่ละคับ แล้วก็ยกเว้นแต่ เข้าใจผิด หลงคิดว่า สมาธิ ที่ได้ เป็น ฌาน

    ง่ายๆ ก็ กสิน คับ ทำ กสิน ได้ ฌาน พิสูจน์ ง่ายสุดคับ

    ฌาณ 4 มีสติ มี เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน เท่านั้นคับ กสิน ฌาน จะมี หรือ ไม่มีก็ได้ กรรมฐาน 40 ห้องบางอัน ที่ไม่ถึง ฌาน 4 ถ้ามีอย่างอื่นอีก ก็ไม่ใช่ ฌาน 4 ละคับ ยิ่ง คำบริกรรม ถ้ามีได้ ก็ ไม่ใช่ ฌาน 4 คับ

    ถ้า เข้า ฌาน แล้ว ยุงกัดได้ ก็ไม่ใช่ ฌาน ละคับ

    ฌาณ 4 ไม่มี วิตก วิจาร ภาวนาพุทโธ คับ ถ้ามี ไม่ใช่ ฌาน 4 ละคับ ฌานจริง แค่เข้า ฌาน 2 ก็ พุทโธ ไม่ได้แล้วคับ
    ฌาณ 4 ไม่มี ปิติ
    ฌาณ 4 ไม่มี ไม่มี สุข

    ลองหาในเน็ท อ่าน เรื่อง ฌาน ดูคับ ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ดูคับจะเข้าในง่ายคับ


    ผม ดีแต่ปาก พูดไปไม่ต้องเชื่อคับ อ่านเอา ขำๆ ก็พอคับ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...