วิดีโอคลิ๊ป"เปิดเลนส์ส่องโลก"ตอนที่ถูกห้ามออกอากาศ ชื่อชุด "อาร์เจนตินา" ล่มสลาย...ขา

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 17 มีนาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    วิดีโอคลิ๊ป"เปิดเลนส์ส่องโลก"ตอนที่ถูกห้ามออกอากาศ ชื่อชุด "อาร์เจนตินา" ล่มสลาย...

    คลิ๊กตรงลึ้งนี้ครับ
    http://www.it.msu.ac.th/cgmania/aclub/upsite/vdo/index.asp
     
  2. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    ในสารคดีนี้ คุณนิติภูมิเอาความล้มเหลวของประเทศอาเจนฯ มาบอก ก็ควรบอกให้หมดว่ามีปัจจัยอะไรบ้างในขณะนั้นที่ทำให้ประเทศอาเจนฯล่มสลาย คนที่ฟังคุณนิติภูมิจะได้เข้าใจอย่างถูกต้อง

    และ ความจริงอีกอย่างก็คือ ประเทศอื่นๆ เ่ช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฯลฯ เขาแปรรูปกันแล้วทั้งนั้น มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ สมัยนั้นก็ต้องสู้กับแรงต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในตอนนั้นเหมือนกัน แล้วดูทุกวันนี้..

    หลายๆ ประเทศที่แปรรูปไปแล้วเหล่านั้นก็ไม่ได้ "ล่มสลาย" ซึ่งคุณนิติภูมิบังเอิญไม่ได้กล่าวถึง

    CLICK> ทำไมชอบพูดเหลือเกินว่าไทยจะเหมือนอาร์เจนติน่า

    CLICK> ทำไมพวกเชียร์ทักษิณไม่กลัวไทยเป็นแบบอาร์เจนตินา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2006
  3. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    Argentina
    Economy - overview: Argentina benefits from rich natural resources, a highly literate population, an export-oriented agricultural

    sector, and a diversified industrial base. However, when President Carlos MENEM took office in 1989, the country had piled up huge

    external debts, inflation had reached 200% per month, and output was plummeting. To combat the economic crisis, the government

    embarked on a path of trade liberalization, deregulation, and privatization. In 1991, it implemented radical monetary reforms which

    pegged the peso to the US dollar and limited the growth in the monetary base by law to the growth in reserves. Inflation fell sharply

    in subsequent years. In 1995, the Mexican peso crisis produced capital flight, the loss of banking system deposits, and a severe,

    but short-lived, recession; a series of reforms to bolster the domestic banking system followed. Real GDP growth recovered

    strongly, reaching 8% in 1997. In 1998, international financial turmoil caused by Russia's problems and increasing investor anxiety

    over Brazil produced the highest domestic interest rates in more than three years, halving the growth rate of the economy.

    Conditions worsened in 1999 with GDP falling by 3%. President Fernando DE LA RUA, who took office in December 1999,

    sponsored tax increases and spending cuts to reduce the deficit, which had ballooned to 2.5% of GDP in 1999. Growth in 2000 was a

    disappointing 0.8%, as both domestic and foreign investors remained skeptical of the government's ability to pay debts and

    maintain its fixed exchange rate with the US dollar. One bright spot at the start of 2001 was the IMF's offer of $13.7 billion in support.

    สิ่งที่นิติภูมิไม่ได้บอก
    อาเจนติน่าวันนั้นมีหนี้มหาศาล แถมด้วยเงินเฟ้อสูงเกือบ200% ต่อเดือน
    เงินเฟ้อของไทยวันนี้ไม่เกิน10%ร้องกันจ๊าก
    มันเหมือนกันตรงไหน
    แถมยังไปชักดาบ IMF พึ่งจะยอมจ่ายเขาเมื่อเร็วๆนี้
    <!--MsgFile=11-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=11-->เห็นมันอยากให้เป็นอาเจนฯจัง (มาหาอะไร)
    [​IMG] - [ <!--MsgTime=11-->13 มี.ค. 49 13:31:57 <!--MsgIP=11-->]
    @pantip.com
     
  4. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    "พี่นิติภูมิของผม

    เคยแสดงความคิดเห็นคัดค้านห้างต่างชาติอย่าง เทสโก้โลตัส , คาร์ฟู ฯ ที่เข้ามาลงทุนกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศของเรา นำเงินตราออกนอกประเทศไป เปรียบเทียบให้เห็นภาพดั่งสายเลือดไหลหลั่งพรั่งพรูออกจากร่างก็มิปาน มาแล้ว

    ช่วงนั้น...เท่าที่ผมจำได้เลาๆยังเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังฝ่าวิกฤติ
    นายกทักษินเพิ่งเข้ามา ...อาเจนตินากำลังล้มละลาย

    ตอนนั้นถึงผมจะเชื่อตามที่คุณพี่นิติภูมิของผมบอก แต่ก็แค่ผู้อ่านๆแล้วก็แค่คิดตามว่าเออ ... มันก็จริง ( ว่ะ )

    แต่เมื่อเวลาได้ผ่านไป 5 ปีประเทศไทยก็ยังไม่ล่มสักทีหรือจะให้ผมรออีก 5 ปีก็พอได้นะครับ

    ตอนนี้ก็จึงถึงรู้ว่าการมองอะไรๆแต่เพียงด้านเดียวก็ทำให้เราสมองมืดได้เรื่อยๆเหมือนกัน

    ข้อดีที่มีห้างเหล่านี้ก็บานเบอะเยอะแยะแต่ไม่ชอบที่จะพูดถึงนัก เป็นความวิตกจริตกับวิวัฒนาการด้านใหม่ๆของสังคมมากกว่า เป็นรอยต่อของยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่งแค่นั้นเอง แต่ลืมไปว่ามนุษย์เราธรรมชาติสอนให้ต้องปรับตัวอยู่แล้ว

    ที่พี่นิติภูมิพูดไว้ก็ถูกล่ะครับ แต่ถ้าแม้นมันจะมีที่ร้ายแรงแค่ไหนผมก็ยังเชื่อมั่นตามมันสมอง ( แฮ่ๆ ) อันกิ๊กก็อกของผม....ว่าที่นี่ประเทศไทยไม่ใช่อาเจนตินา

    สถานะการณ์ประเทศเราตอนนี้ผมก็ว่าไม่เห็นเป็นไร ธรรมชาติคนไทยเราอยู่แล้วที่ชอบทะเลาะเบาะแว้งอย่างนี้ทุกยุคทุกสมัยเรื่อยมาก็เห็นจะเป็นแบบนี้ได้ตลอด

    ก่อนจะสิ้นสมัยท่านชวน ยุคเศรษฐกิจขาลงและตกต่ำสุดขีดแล้ว แต่รัฐบาลของท่านก็ไม่มีปัญญาแก้ไขปัญหาเศรฐกิจเรื่องปากท้องให้ชื่นใจประชาชี ก็จึงมีเสียงเรียกร้องให้ออกๆไป เพราะท้องใส้ล้วนเป็นปัญหา สุดท้ายก็เห็นๆกัน

    รอพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยกอบกู้ซากหักพัง
    ไม่รู้ใช่พระเอกหรือไม่ นายกทักษิณ ก็เข้ามา

    พอเริ่มอิ่มท้องกันแล้วอะไรๆกลับเข้าที่เข้าทาง กำลังจะเริ่มก้าวเดินต่อไป ท้องอิ่ม สมองก็ไม่ค่อยเครียดกันแล้ว ก็เริ่มหันมานับเรื่องจริยธรรมกันใหม่

    จะเป็นอย่างนี้อีกนานมั้ยครับ" <!--MsgFile=22-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=22-->TurnPro [​IMG] - [ <!--MsgTime=22-->14 มี.ค. 49 00:28:50 <!--MsgIP=22-->]@pantip
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2006
  5. Hades

    Hades เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +199
    ผมชอบคุณนิติภูมินะ แกรู้เยอะดี อย่างเรื่องอาร์เจนติน่านี่ผมว่าน่าศึกษา ประเทศเราจะได้ไม่พลาดอย่างประเทศเขา อย่างที่คุณ jasminine บอก ประเทศที่เขาแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้ล่มสลายทุกประเทศนะครับ หลายๆประเทศก็ไปได้ดีทีเดียว อย่างญีปุ่น อังกฤษ เยอรมัน เท่าที่ผมทราบ ประเทศในยุโรปนี่ แปรรูปเกือบจะหมดแล้วมั้ง แสดงว่า มันไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ทำให้ประเทศล่มสลาย แต่ว่า มันต้องมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ทำให้อาร์เจนติน่าล่มสลาย ไอ้ปัจจัยอื่นๆตรงนี้แหละ ที่น่าศึกษา ว่าอะไรเป็นตัวที่ทำให้อาร์เจนติน่าล่มสลาย เราจะได้เอาเป็นตัวอย่าง ไม่ไปทำพลาดอย่างเขา
     
  6. Boton

    Boton เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +184
    เราก็ต้องมองกันหลายด้านนะคะ...อาจจะมีปัจจัยหลายอย่าง...ที่บางประเทศแปรรูปแล้วทำไมแย่ลง....และในขณะเดียวกันทำไมหลายประเทศแปรรูปแล้วดีขึ้น...ควรศึกษาข้อมูลกันให้ดีก่อนที่จะสรุป.....
     
  7. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155
    การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะทำให้ประเทศล่มสลาย หรือไม่ ก็ไม่รู้

    แต่ที่แน่ๆ แปรรูป แล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
    จะมีผลดี หรือ ผลร้าย กับประชาชน
    สมบัติของชาติ ที่มีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จะตกไปเป็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
    โดนที่เขาไม่ได้ลงทุนอะไรเลย เพียงแต่เขาแปรรูปเข้าตลาดหุ้นเท่านั้นเอง
    เงินที่ใช้ในการก่อสร้าง ก็เป็นเงินของ ปู่ย่าตายาย ของเรา แล้วอยู่ๆก็จะไปเป็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือ ทั้งๆที่ ประเทศไทยก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรที่จะต้องไปแปรรูป ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเท่าเทียมกันอยู่แล้ว

    ถ้ามีการแปรรูปแล้วผลประโยชน์จะไปอยู่ที่ใคร?
    คนรวยในประเทศไทยจะมีซักกี่คน คนจนๆในประเทศไทยจะมีสิทธิได้ถือหุ้นหรือไม่

    ตอนนี้ที่เห็นชัดก็คือ ป.ต.ท. เมื่อก่อนเป็นของรัฐบาล ได้กำไรมาก็เอากำไรมาอุ้มราคาน้ำมันเอาไว้ไม่ให้ราคาแพง แต่เดี๋ยวนี้แปรรูปไปแล้ว ได้กำไรมา ก็เอาเงินไปแบ่งกันเฉพาะผู้ที่ถือหุ้น ในกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และไม่มีการอุ้มราคาน้ำมันเอาไว้ ปล่อยให้ลอยตัว น้ำมันจึงแพงกว่าปกติ

    เข้าใจหรือยังครับ พ่อแม่พี่น้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2006
  8. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    เข้าใจค่ะ

    คุณ yaring กล่าวถูกต้องแล้ว ก็เรื่องโปร่งใสที่เป็นปัญหา เราก็มาว่ากันตรงนี้ แต่ไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายสีและบิดเบือนเรื่องอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์หรือเพราะมีจุดประสงค์ทำลาย อย่างนี้ใช้ไม่ได้ค่ะ

    ถูกต้องมั้ยคะ ?
     
  9. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    มีบทความดีๆ มาให้อ่านกันค่ะ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าสร้างสรรค์..

    *****

    ถึงเวลาปราบ 'เสือนอนกิน'

    มองมุมใหม่ : ผศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
    กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2547

    กิจการสาธารณูปโภค ดังเช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ มีลักษณะพิเศษในทางเศรษฐศาสตร์อยู่ประการหนึ่งคือ มีการประหยัดขนาด หมายความว่า ยิ่งผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ก็จะมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถเสนอขายบริการของตนในราคาที่ถูกกว่าผู้ประกอบการรายเล็ก

    เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่เพียง 1-2 รายให้บริการรวมกัน 10 ล้านเลขหมาย จะมีต้นทุนต่อเลขหมายต่ำกว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์รายย่อย 10 ราย รายละ 1 ล้านเลขหมาย เป็นต้น

    ผลก็คือ กิจการสาธารณูปโภคมีแนวโน้มที่จะเกิดการผูกขาดโดยตัวมันเอง หากเริ่มต้นด้วยผู้ประกอบการหลายรายแข่งขันกัน ลงท้ายก็จะเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 1-2 ราย เรียกว่า การผูกขาดโดยธรรมชาติ

    การแก้ปัญหาคือ ให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซง ซึ่งมีสองแนวทางใหญ่คือ ให้รัฐเป็นผู้ประกอบการผูกขาดเสียเองในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือให้เอกชนดำเนินการแต่รัฐควบคุม วิธีแรกเป็นที่นิยมในยุโรป และประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ วิธีหลังปฏิบัติกันในสหรัฐอเมริกา

    แม้ว่า จะมีกรณีที่รัฐวิสาหกิจ สามารถให้บริการได้ดี มีประสิทธิภาพ และราคาสมเหตุสมผล เช่น ในสแกนดิเนเวีย และเยอรมนี แต่ส่วนใหญ่แล้ว รัฐวิสาหกิจได้สร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจมากมาย

    รัฐวิสาหกิจ คือ การผูกขาดโดยรัฐ ไม่มีคู่แข่งทั้งจากรัฐวิสาหกิจด้วยกันหรือจากผู้ประกอบการเอกชน ทำให้รัฐวิสาหกิจกลายเป็นเสือนอนกิน ไร้ประสิทธิภาพ มีคนล้นงาน ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อความสะดวกสบายของพนักงาน ทั้งอาคารสำนักงานที่ใหญ่โตหรูหรา จ่ายเงินเดือนพนักงานเกินกว่าอัตราตลาด แต่ทำงานเช้าชามเย็นชาม ให้สวัสดิการ และผลประโยชน์แก่พนักงานจนล้นหลาม เช่น มีโควตาให้พนักงาน และครอบครัวได้ใช้ไฟฟรี น้ำฟรี โทรฟรี บินฟรี

    รัฐวิสาหกิจกลายเป็นบ่อทองให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างเรื้อรัง ตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้าง ประมูลโครงการ ให้สัมปทานเอกชน จงใจทำสัญญาให้รัฐวิสาหกิจตัวเองเสียเปรียบคู่สัญญา กระทั่ง ยักยอกรายได้ขององค์กรในระดับการเมือง

    รัฐวิสาหกิจกลายเป็นรางวัลที่แย่งชิงกันในหมู่ผู้มีอำนาจระดับสูง กลุ่มใดได้อำนาจ ก็ให้พรรคพวกของตน ยกขบวนแห่กันเข้ามาเสวยผลประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจกันอย่างตะกรุมตะกราม เมื่อการเมืองเปลี่ยน ฝูงเหลือบเก่าไป ฝูงเหลือบใหม่ก็เข้ามา

    ตัวรัฐวิสาหกิจเองให้บริการคุณภาพต่ำ ต้นทุนสูง ราคาแพง เอารัดเอาเปรียบและไม่แยแสความทุกข์ร้อนของผู้บริโภค มีหนี้สินล้นพ้นตัว บางแห่งมีกำไรมหาศาลจากการผูกขาด ก็ส่งให้รัฐส่วนหนึ่ง และเอามาแบ่งปันเป็นโบนัสผลประโยชน์ต่างๆ อย่างฟุ่มเฟือยในหมู่ผู้บริหารและพนักงาน บางแห่งประสิทธิภาพต่ำ และทุจริตกันขนาดหนักจนขาดทุน รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศมาเลี้ยงดูจุนเจืออย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    พนักงานและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจึงกลายเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ของสังคม ที่ได้รับการขุนเลี้ยงดูอยู่เหนือประชาชนคนทำงานทั่วไป ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า เสี่ยงกับการว่างงานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ต้องทนใช้บริการสาธารณูปโภคคุณภาพต่ำ ราคาสูง แล้วยังจ่ายภาษีเอาไปจุนเจือรัฐวิสาหกิจอีกด้วย

    รัฐวิสาหกิจจึงเป็นการดูดซับเอารายได้ของประชาชนผู้ทำงานหลายสิบล้านคนทั่วประเทศไปหล่อเลี้ยงผู้บริหาร และพนักงานรัฐวิสาหกิจไม่กี่แสนคนให้อิ่มหมีพีมัน

    แนวโน้มในช่วง 20 ปีมานี้ จึงเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน และเปิดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งขันในฐานที่เท่าเทียมกัน โดยรัฐมีบทบาทเป็นเพียงเจ้าของ และให้เช่าเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนกำกับดูแลราคา และคุณภาพของบริการ ป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด ซึ่งเป็นแนวทางของสหรัฐอเมริกา

    จึงไม่น่าแปลกใจที่นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทย เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา จึงถูกต่อต้านจากพนักงานรัฐวิสาหกิจอย่างรุนแรง เพราะพวกเขาหวาดกลัวที่จะเสียประโยชน์ หรือเพราะจะได้ประโยชน์ตอบแทนไม่มากเท่าที่ต้องการแต่การต่อต้านของพนักงานรัฐวิสาหกิจไทยมีลักษณะพิเศษคือ อ้างตนเองเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ และอ้างการปกป้องประชาชนผู้ใช้บริการเป็นเครื่องบังหน้า ทั้งที่ตนเองนั่นแหละคือ ผู้เกาะกินเจาะไชรัฐวิสาหกิจของตน และเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ใช้บริการมาทุกยุคสมัย

    กระทั่งใช้ตรรกะแบบสุดขั้ว อ้างการแปรรูปทุกชนิดเป็น "การขายชาติ" และอ้างการประท้วงปกป้องประโยชน์แคบๆ ของตนเองเป็น "การรักชาติ"

    การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทยยังมีปัญหาในระดับการเมือง เมื่อระบบการเมืองถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์คับแคบ ไม่มีความโปร่งใส และธรรมาภิบาลที่ดี การแปรรูปก็กลายเป็นการโอนทรัพย์สินของรัฐนับแสนล้านบาทไปเข้ากระเป๋ากลุ่มธุรกิจการเมืองเพียงไม่กี่ตระกูล

    และนี่ก็คือจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทย ประชาชนทั่วไปนั้นเอือมระอากับพนักงานรัฐวิสาหกิจที่นั่งกินนอนกิน เกาะอยู่บนหลังพวกเขามาตลอดชาติ แต่ขณะเดียวกัน ก็หวาดหวั่นว่า การแปรรูปจะเป็นเพียงการแปรการผูกขาดของรัฐไปเป็นการผูกขาดของกลุ่มธุรกิจการเมืองเพียงไม่กี่ตระกูล โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ได้รับประโยชน์อะไร

    ที่ผ่านมา การกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจบางแห่งไปเข้ากระเป๋าญาติตระกูลของนักการเมืองในรัฐบาลได้ทำให้ประชาชนผิดหวังอย่างรุนแรง และสงสัยเจตนาของรัฐบาลกันถ้วนหน้า

    สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือ ปรับแก้สูตรการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใหม่ทั้งหมด การกระจายหุ้นจะต้องเป็นการกระจายไปสู่มือประชาชนจำนวนมากอย่างแท้จริง มีกระบวนการที่โปร่งใส มีหลักเกณฑ์ที่ลงตัวชัดเจนตรวจสอบได้ จะต้องมีกฎหมาย และแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสาธารณูปโภคที่เป็นอิสระ ปลอดจากการเมือง เป็นกลาง มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการแข่งขันในหมู่ผู้ประกอบการ และต้องมีกระบวนการสรรหาที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส ไม่ใช่กระบวนการที่ถูกแทรกแซงจนบิดเบี้ยวดังเช่นที่เกิดกับ กทช.
    หลักการสำคัญคือ ต้องให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์เพียงด้านเดียว แต่ต้องมีหลักการ และมาตรการให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้นหลังจากแปรรูปไปแล้ว
     
  10. Boton

    Boton เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +184
    บทความ ที่คุณ jasminine นำมาให้อ่าน ....ถึงเวลาปราบ 'เสือนอนกิน'....
    เป็นบทความที่น่าสนใจ...และน่าวิเคราะห์นะคะ
     
  11. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155
    ถูกต้องแล้วครับ
    แต่ทางฝ่ายพันธมิตรก็ได้พิสูตรได้แล้วว่าไม่ได้ใส่ร้าย
    จากคดีของคุณสุภิญญา
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=30853

    แต่ผมยอมรับว่าขอมูลบ้างส่วนก็มีการใส่ร้ายบิดเบียนบ้าง แต่ก็มีการพิสูตรก่อนถึงจะรูว่าฝ่ายไดเป็นฝ่ายบิดเบียน ซึ่งก็มีการใส่ร้ายป้ายสีบิดเบียนกันไปมาทั้ง 2 ฝ่ายครับ ซึ่งจะทำให้ประเด็นหลักๆ ลดความเด็นชัดลง และทำให้ประชาชนหลงประเด็น
    และเกิดความสับสนเขาใจยากว่ามันเกิดเรื่องอะไรกันแน่!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2006
  12. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155
    การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะทำให้ประเทศล่มสลาย หรือไม่นั้น
    ก็ต้องดูที่ผู้ถือหุ้นด้วย ถ้าผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย ก็ไม่เป็นไร เงินก็ยังหมุนอยู่ในประเทศ
    แต่ถ้าผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ เงินที่ได้กำไรปันผล ก็จะไหลออกนอกประเทศ
    ทำให้ประเทศเสียหายได้

    ถ้าถามว่าถ้าไม่แปรรูปจะเอาที่ไหนมาลงทุน ก็ถามกลับไปว่ารัฐวิสาหกิจต้องใช่เงินลงทุนอะไรอีกเหรอ ไม่ต้องลงทุนแล้ว มีแต่เก็บผลกำไรเท่านั้นเอง

    ถ้าถามว่าประเทศอื่นไม่เห็นเป็นไร ก็เพราะระบบการเงินเขาแข็งแรงอยู่แล้ว ดุลการค้าดีอยู่แล้ว
    มีเงินหมุนเวียนระหว่างประเทศดี ก็เลยไม่มีผลกระทบอะไร และเขาก็เป็นระบบนายทุนมาตั้งแต่แรกแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2006
  13. Hades

    Hades เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +199
    มันจะมั่วไปใหญ่แล้ว ได้ดึงเรื่องของคุณสุภิญญามาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างได้ยังงัย มันคนละเรื่อง คุณสุภิญญามันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และมันก็เป็นผลวิจัย ดูเหมือนจะเคยอธิบายไปแล้วเรื่องผลวิจัย ที่เป็นเหตุผลว่าทำไมศาลถึงยกฟ้อง ก็ไม่รู้จะเข้าใจกันหรือเปล่า แต่ไอ้เรื่องที่ผมกับคุณjasmine กำลังพยายามบอกน่ะ มันเรื่องของสนธิที่เอามาพูดครับ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องคุณสุภิญญาเลย

    ผมไม่ทราบว่า สนธิ = สุภิญญา ตั้งแต่เมื่อไหร่ คนละเรื่องคนละคน ถ้าไปดึงมาโยง มาเกี่ยวข้องกัน มันก็มั่วคุยกันไม่รู้เรื่องครับ เรื่องคุณสุภิญญาถือว่าจบ เพราะศาลตัดสินแล้วว่าเธอไม่ผิด มีสิทธิ์ทำวิจัยเพื่อให้ข้อมูลได้ ไม่ได้เป็นการใส่ร้าย ตรงนี้ต้องเคารพการตัดสินของศาล แล้วถ้าเธอจะฟ้องกลับ เธอฟ้องได้ครับ แต่ไม่ใช่ข้อหาที่บริษัทชินคอร์ปทำอย่างผลวิจัยเธอจริง แต่เป็นข้อหาที่ทำให้เธอเสียชื่อเสียง ซึ่งก็เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันอีก

    คุณรู้หรือไม่ ถ้าทักษิณไม่ตัดสินใจถอนฟ้องสนธิ ป่านนี้สนธิไม่ได้กร่างคอยให้ข้อมูลบิดเบือนเรื่อยมาหรอกครับ เพราะผมมั่นใจว่าทักษิณชนะคดีแน่ ถามว่าทำไม เพราะข้อมูลสนธิมันบิดเบือนจริงครับ ผมเผอิญผมได้ทราบข้อมูลแท้จริง ในเรื่องบางเรื่องที่สนธิกล่าวหาอยู่ ว่ามันบิดเบือนครับ และถ้าเรื่องส่งถึงศาลจริง มีการสืบหาข้อมูล พยานหลักฐานต่างๆ ผมมั่นใจว่าสนธิไม่รอด ติดคุกชัวร์ครับ แล้วอย่าถามนะครับ ว่าทำไมไม่ฟ้องซะล่ะ ถอนฟ้องทำไม ก็เพราะพระราชดำรัสในหลวงครับ ท่านบอกให้อย่าทะเลาะกัน ให้เลิกแล้วต่อกัน ทักษิณจึงถอนฟ้องทันที คุณรู้รึเปล่าตอนทักษิณบอกจะฟ้องน่ะ สนธิเสียงอ่อยไปเลย เพราะถ้าฟ้องจริง ต่อให้คดียังไม่ตัดสิน ยังมีการพิจารณาคดีอยู่ ทักษิณสามารถขออำนาจศาลคุ้มครอง ไม่ให้สนธิพูดพาดพิงถึงทักษิณได้ครับ คุณรู้ถึงข้อนี้บ้างไหม ที่ทักษิณยอมถอนฟ้องน่ะ เพราะทำตามพระราชดำรัสแท้ๆครับ ผมจะบอกคุณให้
     
  14. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155
    เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน มันเกี่ยวกับทักษิณคือเป็นผู้เปิดบริษัทชินครอป
    ซึ่งก่อนเข้ามาเป็นนายก ได้ขายหุ้นไปลูกๆแล้ว
    ข้อกล่าวหาคือทักษิณเป็นคนอยู่เบื่องหลังในการให้ผลประโยชน์ทับซ้อน
    ของบริษัทชินครอป เพราะใช้อำนาจ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินครอป
    ตกลงทักษิณเกี่ยวไหมครับ
    สนธิ เกี่ยวกับ สุภิญญา ยังไง ก็คือกล่าวหาเรื่องของทักษิณ และสนธิกับสุภิญญาก็เป็นพันธมิตรกัน
    มันมีหลายเรื่องนะ ครับ เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และยังมีอีกหลายเรื่องที่กล่าวหาไม่ใช่เรื่องนี้เรื่อง
    ตกลงผมไม่เข้าใจ หรือ คุณ Hades ไม่เข้าใจครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2006
  15. Hades

    Hades เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +199
    คุณรู้ข้อมูลน้อยมากเลยนะครับ คุณรู้ไหมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนะ ไฟฟ้ากำลังไม่พอใช้นะครับ และการสร้างโรงไฟฟ้าน่ะ ไม่ใช่รอให้ไฟไม่พอใช้แล้วค่อยสร้างนะครับ มันต้องสร้างไว้ก่อนเพื่อรองรับ ไม่งั้นเวลาช่วง Peak Time ผมบอกได้เลยครับ ไฟดับทั้งประเทศ แล้วถ้าไฟฟ้าดับเนื่องจากไฟฟ้าไม่พอ คุณรู้ไหมครับว่า กว่าจะ Operate ระบบใหม่น่ะใช้เวลาเท่าไหร่ และระหว่างไฟดับนั้น เศรษกิจของประเทศจะเสียหายเท่าไหร่ กิจกรรมทุกอย่างต้องใช้ไฟฟ้าแทบทั้งนั้น โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้านต่างๆ

    ปัจจุบันไทยมีการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านใช้แล้ว คุณรู้หรือเปล่า เพราะไฟฟ้ามันไม่พอใช้จริงๆ แล้วนี่หรือครับที่คุณบอกว่ารัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ไปเอาข้อมูลมาจากไหนครับ คุณรู้หรือเปล่า โรงไฟฟ้าโรงนึงน่ะใช้ค่าสร้างเท่าไหร่ ปัจจุบันกฟผ.ยังเป็นหนี้อยู่เลยนะครับ แต่ที่อยู่รอดได้เพราะมีรัฐบาลเข้าไปช่วยพยุงไว้ ซึ่งเป็นภาระรัฐบาลครับ แทนที่จะเอาเงินที่ต้องมาคอยอุ้มกฟผ. ไปพัฒนาประเทศด้านอื่น ก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าแปรรูปไปซะ ไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะสามารถระดมทุนได้มากมายมหาศาล ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระของรัฐบาล จะได้มีเงินมาใช้หนี้ที่มีอยู่ และยังมีเงินสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้อีก โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเอาเงินมาช่วย

    ข้อดีอีกอย่างของการแปรรูปแล้ว คือ เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วทุกอย่างต้องชัดเจนครับ ต้องตรวจสอบได้หมด รายจ่ายเท่าไหร่ รายรับเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ จะไปตกหล่นระหว่างทางไม่ได้ อีกอย่างถ้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ต้องมีการปฏิรูปองค์กรกันใหม่เลยครับ ไม่งั้นรับรองเจ๊ง เพราะอะไรหรือครับ เพราะปัจจุบัน พนักงานรัฐวิสาหกิจทำงานไม่คุ้มเงินเดือนครับ เคยได้ยินไหมครับ ทำงานเหมือนราชการ แต่เงินเดือนสวัสดิการเหมือนเอกชน

    ผมจะบอกอะไรคุณให้ ผมจะยกตัวอย่างเรื่องที่ผมรู้จริงให้คุณฟัง คุณรู้รึเปล่าคนส่งไปรษณีย์ ก่อนที่การไปรษณีย์จะแปรรูปน่ะเงินเดือนเท่าไหร่ สามหมื่นกว่าบาทครับ ไม่ต้องแปลกใจนะครับ ผมพิมพ์ไม่ผิด และคุณก็อ่านไม่ผิด เงินเดือนคนส่งไปรษณีย์ตามบ้าน ที่จบม.6 เงินเดือนสามหมื่นกว่าบาทครับ เพียงแค่ว่าเค้าทำงานมายี่สิบกว่าปี เงินเดือนขึ้นมาเรื่อยไม่มีตัน คุณก็คิดดูละกัน งานมันเหมาะสมกับเงินเดือนไหม ถ้าเป็นบริษัทเจ๊งไปนานแล้วครับ แต่นี่ไม่เจ๊งเพราะอะไร เพราะรัฐบาลเข้าไปอุ้ม แล้วเงินที่ไปอุ้มน่ะ ภาษีของพวกเราทั้งนั้นนะครับ แทนที่จะเอาไปพัฒนาประเทศด้านอื่น ต้องเอามาจ่ายค่าจ้างให้คนส่งไปรษณีย์เดือนละสามหมื่นกว่าบาท นี่แหละครับ สาเหตุของการประท้วงที่แท้จริง เพราะพนักงานรัฐวิสาหกิจ กำลังเสียความสะดวกสบายที่พวกเขาได้รับ ไม่เคยคิดจะเสียสละกันเลย คิดแต่ว่าอะไรที่ข้าเคยได้ ข้าต้องได้ต่อไป อย่างนี่เมื่อไหร่รัฐบาลจะพัฒนาประเทศด้านอื่นได้เสียที

    ส่วนเรื่องที่กลัวจะเป็นของต่างชาติ ไม่ต้องไปกลัวครับ กฎหมายไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกินครึ่งครับ หมายความว่างัยครับ หมายความว่ากิจการก็ยังเป็นคนไทย อำนาจการตัดสินใจจริงๆก็ยังเป็นของคนไทยครับ ต่างชาติจะไม่สามารถกำหนดราคาเองตามใจชอบได้ ซึ่งเรื่องราคานี่รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลอีกต่อหนึ่งอยู่แล้ว ไม่มีอะไรต้องกังวลเลยครับ
     
  16. Hades

    Hades เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +199
    อย่างนี้คุยไม่รู้เรื่องแน่นอน ถ้าคุณเข้าใจอย่างนี้คงไม่ต้องคุยกัน คุณกำลังบอกว่า ถ้าเรื่องของสุภิญญาไม่บิดเบือน(แต่ไม่ได้หมายถึงจะถูกต้องนะผลวิจัยอาจจะผิดก็ได้) แสดงว่าเรื่องที่สนธิเอามาพูดทุกเรื่องไม่บิดเบือน มันเป็นตรรกะตรงไหน แยกเป็นประเด็นสิครับ อย่าไปเหมารวม ผมก็บอกแล้วว่า ข้อมูลที่ผมกับคุณjasmine นำเสนอ ไม่ใช่การบิดเบือนของคุณสุภิญญา แต่เป็นการบิดเบือนของสนธิ คุณได้อ่านบ้างหรือเปล่า ข้อมูลต่างๆน่ะ อ่านบ้างสิครับ ไม่ใช่มาตัดสินเอาเองว่า ถ้าสุภิญญาถูก สนธิต้องถูกด้วย ถ้าคุณคิดอย่างนี้ผมคงไม่มีอะไรจะพูดกับคุณแล้ว เอาตามสบายเลยครับ จะคิดอย่างไรก็คิดละกัน
     
  17. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155
    สุภิญญา กับ สนธิ เขาอยู่ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
    สุภิญญา เขาขึ้นเวทีปราศัย หลายครั้งแล้วครับ เพื่อประท้วงทักษิณ
    ข้อมูลที่สนธิพูดก็เอามาจากที่ สุภิญญา วิจัยนี้ด้วย

    การแปรรูป การลงทุน ย่อมมีการถอดทุนคืน และเอากำไร
    การแปรรูป ประปา ไฟฟ้า ค่าน้ำกับค่าไฟก็จะแพงขึ้น
    ถ้าเป็นคนรวยก็จะไม่มีผลกระทบอะไรมากมาย
    แต่คนชั้นกลาง และคนจนจะเดือดร้อน

    ข้อมูลเนื่อหาของ สนธิ หรือ สุภิญญา จะเป็นยังไงก็แล้วแต่
    แต่มันส่อไปในทางทุจริตของทักษิณ เหมือนกัน
    จะจริงหรือไม่จริงผมก็ไม่รู้ ต้องมีการพิสูตรถึงจะรู้ ซึ่งหลายคนก็รอการพิสูตรอยู่

    เรื่องที่ว่า สนธิ ดีไม่ดียังไง เขาจะโกงอะไร ไม่มีใครสนใจหรอกครับ เพราะ สนธิไม่ใช่ นายก
    เรื่องที่สนใจคือเรื่องที่กล่าวหา ทักษิณ เพราะทักษิณเป็นนายก
    ซึ่งหลายคนก็รอการพิสูตรอยู่ว่าเรื่องที่สนธิกล่าวหาทักษิณนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่
    ถ้าไม่มีการพิสูตร คนก็จะคิดว่าเรื่องที่สนธิพูดกล่าวหาทักษิณนั้นเป็นเรื่องจริง
    และจะทำให้เกิดปัญหาบ้านเมือง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2006
  18. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    แค่อันนี้ล่ะ ที่ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคุณ ..เป็นคำถามที่รัฐบาลต้องให้คำตอบ & ทำความเข้าใจกับประชาชนให้ดี

    จริงอย่างนั้นเหรอคะ?
     
  19. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    7. แปรรูปแล้ว ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหรือไม่

    ถ้ามีการแปรรูปกิจการไฟฟ้า โดยส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น เชื่อว่า ค่าไฟฟ้าจะลดลง เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการแปรรูป เพราะในการเปิดให้เอกชน เข้ามาแข่งขันในการผลิตไฟฟ้า จะใช้วิธีเปิดประมูลแข่งขัน ซึ่งผู้ลงทุนต่างๆ จะยื่นข้อเสนอ ทางด้านราคาเข้ามาแข่งขัน โดยที่ กฟผ. จะเปรียบเทียบค่าไฟฟ้า ที่ผู้ลงทุนเสนอมากับค่าไฟฟ้าของ กฟผ. ในกรณีที่ กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอง แทนที่จะซื้อจากไอพีพี ซึ่งถ้าเอกชนเสนอเข้ามาสูงกว่าที่ กฟผ. จะทำเอง กฟผ. ก็จะไม่รับซื้อ และจากผลการคัดเลือกไอพีพี ในรอบปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราค่าไฟฟ้า ที่เอกชนเสนอเข้ามา และได้รับคัดเลือกนั้น อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. ดำเนินการเอง จึงเชื่อได้ว่า หากมีการแปรรูปแล้ว ค่าไฟฟ้าจะต่ำกว่า ในกรณีที่มีการผูกขาด



    10. ถ้าไม่แปรรูป กฟผ. แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

    กฟผ. จะประสบปัญหาทางด้านการเงิน ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การไปกู้เงิน โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ทำได้ยากมาก และโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ หลายโครงการ ก็ยังไม่มีเงินกู้เพียงพอ ที่จะทำให้โครงการ สามารถดำเนินการได้เสร็จ ดังนั้นการแปรรูปก็จะทำให้ กฟผ. มีฐานะทางการเงิน ที่มั่นคงยิ่งขึ้น

    และถ้าไม่แปรรูป การปรับปรุงประสิทธิภาพ จากการแข่งขันในการผลิตไฟฟ้าก็จะไม่เกิดขึ้น ประชาชนก็จะต้องซื้อไฟฟ้า ในอัตราที่สูงกว่าที่ควร ซึ่งก็จะส่งผลกระทบ ต่อฐานะความเป็นอยู่ ของประชาชน ต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม ต้นทุนสินค้าส่งออก และฐานะการเงินของประเทศในที่สุด


    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
    21 เมษายน
    2541

    http://www.eppo.go.th/doc/idp-02-10Q&A-T.html#7
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2006
  20. yaring

    yaring เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +155


    ประชาชนในประเทศไทยจะมีสักกี่คนที่ได้ถือหุ้น นอกจากนักธุรกิจบางกลุ่ม
    ถ้านักธุรกิจกลุ่มนั้น เขาเหมาหุ้นใหญ่ทั้งหมดเป็นของเขา
    ซึ่งเขามีเงินมากพออยู่แล้ว
    ในเมื่อเจ้าของหุ้นเป็นคนกลุ่มเดียวกัน เขาจะแข่งขันกับใคร
    จะแน่ใจได้หรือว่าราคาไม่ขึ้น เพราะยังไงคนก็จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า ต้องใช้น้ำ

    ทำไมเอกชนไม่ผลิตโรงงานไฟฟ้าเอง แทนที่จะมาแปรรูปของรัฐบาล
    อย่างนี่สิถึงจะมีการแข่งขันกันจริง

    จากราคาน้ำมันมีใครแข่งขันกันลดค่าน้ำมันหรือไม่ มีแต่ขึ้นราคาตามกัน เอากำไรกันทุกบริษัท
    เพราะยังไงคนก็ต้องใช้น้ำมัน มีการควบคุมราคาน้ำมันได้หรือไม่
    บริษัทน้ำมันทั้งหมด ส่วนใหญ่ก็คนกลุ่มเดียวกันที่ถือหุ้น จะมีการแข่งขันกันในกลุ่มของตัวเองหรือ

    การคิดแก้ปัญหาประเทศ โดยการคิดแต่จะกู้เงิน หรือคิดแต่จะใช้เงินมาแก้ปัญหา
    หาเงินยังไงก็ไม่พอหรอกครับ

    การแก้ปัญหาของประเทศยังมีวิธีอื่นอีกหลายวิธี
    เช่น
    -การใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมการใช้พลังงานธรรมชาติจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม
    โรงพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ก็ใช้ไปตามปกติ
    -การปลูกฝังให้ประชาชนรู้จักการประหยัดพลังงาน ซึ่งรัฐบาลนี้ก็ทำแล้ว แต่ก็เงียบไปแล้ว
    -ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริ กว่าจะเห็นผลแต่ประเทศจะมั่นคงกว่า
    พระเจ้าอยู่หัวได้ทำมาหลายโครงการแล้ว แต่ต้องล้มเหลวจากรัฐบาลชุดนี้ก็หลายโครงการ
    เช่น โครงการโคนม (หารายละเอียดเอง) เนื่องมาจากโครงการ FTA ของรัฐบาล
    -การใช้พลังทดแทนน้ำมัน เช่นน้ำมันไบโอดีเซล รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้สงเสริม
    ถ้ามีการสงเสริมการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ชาวบ้านก็จะได้ประโยชน์จากการปลูกต้นปาล์ม
    ซึ่งอยู่ในโครงการพระราชดำริ พระเจ้าอยู่ทรงดำรัสไว้เมื่อวันที่ 4 ธันวา ด้วย
    แต่กลับไปแปรรูป ป.ต.ท.เพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์
    น้ำมันแก็สโซฮอ ก็สั่งแอลกอฮอมาจากต่างประเทศ ไม่ได้ผลิตเอง ทั้งๆที่ประเทศไทยผลิตเองได้

    กฟผ. จะประสบปัญหาทางด้านการเงิน ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การไปกู้เงิน โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ทำได้ยากมาก และโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ หลายโครงการ ก็ยังไม่มีเงินกู้เพียงพอ ที่จะทำให้โครงการ สามารถดำเนินการได้เสร็จ
    แล้วเอาเงินไปจ่ายหนี้ IMF ทำไม ทำไมไม่เอาเงินไปให้ กฟผ. ใช้ก่อน

    ที่ผมรู้มา รัฐบาลนี้จ่ายหนี้ IMF เพราะ IMF มีข้อกำหนดไว้ว่า ถ้ารัฐบาลไม่จ่ายหนี้ IMF
    IMF สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้
    ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ จ่ายหนี้ IMF เพราะ หลบเลี่ยงการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล จากIMF นั้นเอง

    ประเทศอื่นที่เขาไม่ล้มจมเพราะไม่มีการแซกแซงสื่อ
    มีองค์กรอิสระที่อิสระจริง สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐได้
    นักการเมืองต้องไม่เกี่ยวข้องกับหุ้น หรือ มีไม่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจไดๆ ทั้งสิน

    ประเทศไทยที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ เพราะ มีนักการเมืองบางคน เกี่ยวข้องกับหุ้น
    และมีส่วนได้เสียกับธุรกิจ
    องร์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
    และได้มีการแซกแซงสื่อ สื่อไม่สามารถเสนอข้อมูลทางด้านความจริงได้ ซึ่งดูได้จากการที่ประชาชนได้รับข่าวสารที่ไม่ตรงกัน และได้รับข่าวสารกันคนละด้านไม่รู้ด้านไหนจริง หรือด้านไหนเท็จ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...