ทำความเข้าใจเรื่องกสิณกันนิดหนึ่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ซาตานคลั่ง, 17 พฤษภาคม 2009.

  1. ซาตานคลั่ง

    ซาตานคลั่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    496
    ค่าพลัง:
    +1,449
    ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    หลายๆท่านฝึกสมาธิมาตั้งนาน ด้วยเทคนิควิธีการหลายๆแบบแตกต่างกันไปแล้วแต่ความชอบและความถนัด และเชื่อว่าวิธีการที่ได้รับความนิยมอีกอย่างคือ การฝึกกสิน และดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงมากเสียด้วย เหตุผลอาจจะเพราะรวดเร็วในการทำสมาธิ และที่สำคัญคือ อยากเล่นฤทธิ์ที่เกิดจากกสิน ก็มีทั้งฝึกกสินดิน น้ำ ลม ไฟ เหลือง แดง เขียว ขาว อากาศ แสงสว่าง
    ฝึกมาจนป่านนี้ รู้บ้างหรือเปล่าว่าจริงๆแล้ว กสิน คืออะไร
    ถ้าตามความหมายเดิม กสิน ก็แปลว่า เครื่องหมาย ซึ่งโบราณจารย์ท่านใช้เป็นอุบายให้ลูกศิษย์ในสำนักใช้ในการฝึกวิชาเพื่อให้ง่ายต่อการรวมความสนใจมาไว้ที่จุดเดียว เรียกกันว่า สมาธิ แล้วกสิน มีแค่ 10 อย่างแค่นั้นเหรอ ก็เปล่า มีเป็นร้อยแปดพันเก้า
    ยกตัวอย่างเช่น
    คุณมองดูโพรงไม้บนต้นไม้ต้นหนึ่ง อย่างใจจดใจจ่อ โดยไม่สนใจว่ารอบข้างของคุณหรือหรือข้างโพรงไม้นั่นจะเกิดอะไรขึ้นหรือจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มุ่งความสนใจไปที่โพรงไม้นั่นเพียงอย่างเดียว
    โพรงไม้นั่นแหละ คือกสิน
    หรือ คุณนั่งเล่นอยู่ดีๆ ก็เกิดเหลือบมองไปเห็นมดตัวหนึ่งกำลังลากเศษอาหารชิ้นใหญ่ไปยังรูของมันด้วยระยะทางสั้นๆ(แต่อาจจะใกลนะสำหรับมดตัวนั้น) ทั้งที่มดตัวนั้นมันก็ลากเศษอาหารชิ้นนั้นเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆตามเรื่องของมัน
    ถ้าใจคุณจดจ่ออยู่กับมดตัวนั้น มดตัวนั้นคือกสิน
    ถ้าใจคุณจดจ่ออยู่กับเศษอาหาร เศษอาหารนั้นคือกสิน
    หรือถ้าคุณกำลังเดินอยู่แล้วบังเอิญเหลือบไปมองหนุ่มหล่อหรือสาวสวยที่บังเอิญเดินผ่านมาทำให้คุณไม่สนใจอย่างอื่น จนทำให้คุณเองเดินชนเสาไฟฟ้า ชนต้นไม้ หรือชนถังขยะ หนุ่มหล่อหรือสาวสวยนั่น คือกสิน
    ยังไม่ได้บอกนะว่าเป็นกสิณคุณหรือกสินโทษ เอาแค่เข้าใจว่ากสินคืออะไรซะก่อน
    <O:p></O:p>
    จากตัวอย่างข้างต้น
    ตัวอย่างแรก คุณมองดูโพรงไม้บนต้นไม้อย่างใจจดใจจ่อ เกิดมีตัวกระรอกโผล่ออกมา คุณเริ่มเบนความสนใจไปที่กระรอก
    นั่นเกิดกสินโทษขึ้นมาแล้ว
    หรือ คุณกำลังมองตัวมดที่ขนเศษอาหารอยู่อย่างใจจดใจจ่อ อยู่ๆ มีมดอีกตัวมาแย่งแบ่งเศษอาหารไป ทำให้คุณเริ่มให้ความสนใจกับมดตัวใหม่ กสินโทษเกิดขึ้นแล้ว
    ถ้าคุณใจจดจ่ออยู่กับเศษอาหาร แล้วมีมดตัวอื่นมาแย่งแบ่งเศษอาหารไป คุณก็ไม่ได้สนใจกับมัน ยังคงสนใจที่เศษอาหารชิ้นนั้นอยู่ ไม่เกิดกสินโทษในกรณ๊นี้
    ต่อไปถ้าหากคุณคิดถึงภาพนั้นแล้วสามารถบังคับใจให้จดจ่ออยู่กับภาพที่คิดถึงนั้นแทนภาพจริงที่ได้เคยเห็น แสดงว่าคุณเริ่มใช้กสินเป็นแล้ว (เริ่มใช้กสินเป็นนะ ไม่ใช่เริ่มใช้ฤทธิ์จากกสินเป็น)
    <O:p></O:p>
    แล้วภาพพระเป็นกสินโทษหรือเปล่า
    ภาพพระจะเป็นกสินโทษถ้าภาพพระนั้น ประกอบด้วยรายละเอียดของสี มากกว่า 1 สี ยกตัวอย่างง่ายๆ พระแก้วมรกตที่ทรงเครื่องทรงฤดูต่างๆ ถ้าเป็นพระแก้วมรกตเฉยๆ จะเป็นกสินสีเขียว
    พระประธานในโบสถ์ เป็นกสินสีเหลือง ตามที่หลวงพ่อสุ่นบอกกับหลวงพ่อปาน ซึ่งหลวงพ่อฤาษีลิงดำบันทึกไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน
    กสินวิญญาณ ที่ในหลวงตรัสถามต่อหลวงพ่อฤาษี ไม่ใช่กสินโทษ
    แต่คนที่จะใช้วิญญาณเป็นกสินได้ คือคนที่ต้องสามารถมองเห็นหรือสัมผัสกับวิญญาณได้ตลอดเวลาอย่างเป็นปกติ
    ซึ่งก็บังเอิญในหลวงท่านมีทิพย์จักขุญาณ สามารถสัมผัสกับวิญญาณได้ตลอดเวลาดังที่ว่า การใช้วิญญาณเป็นกสินจึงสามารถเป็นไปได้สำหรับพระองค์ท่าน
    และสามารถเป็นไปได้สำหรับคนทุกคน ที่สามารถสัมผัสกับวิญญาณได้ตลอดเวลา
    <O:p></O:p>
    ปัจจุบัน ถ้าใครจะใช้เสียงจากวิทยุหรือเสียงเพลงเป็นกสิน ก็ตามใจนะ
    หรือจะใช้จอโทรศัพท์เป็นกสินก็ นิมนต์ตามสะดวก
    แต่โอกาสที่จะเกิดกสินโทษหรือหลุดจากกสินจากสิ่งเหล่านี้มีสูงมาก อย่าเสี่ยงเลยถ้ายังใช้อานาปานุสติยังไม่คล่อง
     
  2. cacalot

    cacalot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2006
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +130
    ผมเคยอ่านเจอในเวปเรื่องในหลวงท่านถามหลวงพ่อฤาษีลิงดำเรื่องกสินวิญญาณแต่หลวงพ่อตอบว่ากสินวิญญาณไม่มีไม่ใช่เหรอครับ หรือว่าผมตกตรงไหนไปใครช่วยอธิบายให้ผมที
     
  3. ซาตานคลั่ง

    ซาตานคลั่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    496
    ค่าพลัง:
    +1,449
    ก็ใช่ คุณน่ะถูกแล้ว สำหรับปุถุชนคนทั่วไปแล้ว ใช้วิญญาณเป็นกสินไม่ได้เพราะไม่สามารถสัมผัสกับวิญญาณได้เองโดยตลอดเวลาน่ะ
    ก็เหมือนกับคนตาบอดจะใช้กสินสีในการฝึกไม่ได้น่ะแหละ แต่สามารถสัมผัสกับลมหรือดินหรือน้ำหรือความร้อนของไฟได้อะไรทำนองนี้
    ในทำนองเดียวกันถ้าพูดถึงคนที่มีความสามารถสัมผัสกับสิ่งเล้นลับได้ตลอดเวลาแม้ไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ก็สามารถที่จะใช้สิ่งที่สัมผัสได้นั้นเป็นจุดดึงความสนใจเฉพาะตนได้ตลอดเวลา
    สิ่งที่ดึงความสนใจเอาไว้นั่นแหละคือกสิน
    ซึ่งก็ยกตัวอย่างเช่นในหลวงท่านมีทิพย์จักขุญาณ สัมผัสกับวิญญาณได้ตลอดเวลา อะไรทำนองนี้แหละ ซึ่งนี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่พระองค์ท่านตรัสถามคำถามนี้กับหลวงพ่อก็ได้
     
  4. Tequila

    Tequila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,734
    อยากฝึกกสิณไฟ ต้องมีครูบาอาจารย์สอนรึเปล่า ถ้าหัดเองจะเกิดโทษมั๊ย
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ผมทราบว่ากรรมฐานนั้นมีทั้งหมดอยู่ 40 อย่าง.......กสินมีอยู่ 10 อย่าง......ไม่เคยได้ยินกสิณวิญญาณ.......แล้วการฝึกกสินจริงๆ....ต้องกำหนดภาพนินิตขึ้นมา....อาจเกิดด้วยการเพ่ง........จนเป็นนิมิตติดใจ.......การที่เรียกว่านิมิตติดใจนี้หรือเปล่าครับที่เรียกว่าวิญญาณกสิน........สมมุติว่าไม่ใช่ไปเอาวิญญาณกำหนด.....มันจะไปกำหนดอย่างไร(มันไม่มีนิมิตเครื่องหมายที่แน่นอน)....เพราะว่าการที่จะได้ทิพย์จักษุนั้นก็มาจากกสินที่ได้แล้วเป็นสำคัญ..........ไม่ได้แย้งนะครับ...แต่ออกจะ งง นิดหน่อย.......โมทนาสาธุธรรมครับ...
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เขาทำกันได้เป็นกุรุด........หนังสือ...ตำรา....พระธรรมเทศนามีอยู่นั่นหละครับครูบาอาจารย์......เวบเราก็ได้กันหลายคนแล้วนะ.....



    <CENTER>หมวดกสิน ๑๐

    </CENTER><HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title -->
    โดย: หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ
    <!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_299 onclick=document.all.music.url=document.all.play_299.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=299 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หมวดกสิน 10 ม้วนที่1a.mp3 (3.19 MB, 7139 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_300 onclick=document.all.music.url=document.all.play_300.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=300 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หมวดกสิน 10 ม้วนที่1b.mp3 (3.00 MB, 3632 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_301 onclick=document.all.music.url=document.all.play_301.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=301 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>หมวดกสิน 10 ม้วนที่2.mp3 (6.18 MB, 84002 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- message -->หมวดกสิน 10
    <!-- / message --><!-- edit note --><HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 250x250, created 31/01/09 */google_ad_slot = "7252767143";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
    กสิณ ๑๐ กอง


    <TABLE width="50%" border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">ปฐวีกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งดิน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">อาโปกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งน้ำ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">เตโชกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งไฟ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">วาโยกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งลม</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">นิลกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีเขียว</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">โลหิตกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีแดง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">ปิตกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีเหลือง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">โอทากสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งสีขาว</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">อาโลกกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งแสงสว่าง</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="25%">อากาสกสิณ</TD><TD vAlign=top align=middle width="25%">เพ่งอากาศ</TD></TR></TBODY></TABLE>






    <CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=4 width=760 border=0><TBODY><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>ปฐวีกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์
    • ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน"
    • กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>อาโปกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • อาโปกสิณ อาโป แปลว่า "น้ำ" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" อาโปแปลว่า "เพ่งน้ำ"
    • กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
    • ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่าง ๆ มา
    • ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะ เท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง
    • การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต
    • อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม
    • สำหรับปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือ ใสมีประกายระยิบระยับ
    • เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้ว จงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน
    • บทภาวนา ภาวนาว่า "อาโปกสิณัง"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>เตโชกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • เตโชกสิณ แปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์"
    • กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้
    • ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน
    • แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า
    • ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ
    • การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์
    • ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต
    • อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ
    • สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ
    • เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>วาโยกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • วาโยกสิณ แปลว่า "เพ่งลม"
    • การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    • การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    • การถือด้วยการถูกต้องกระทบ ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะให้พัดลมเป่าแทน ลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้
    • เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณังๆ ๆ ๆ
    • อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับ กระไอ แห่งการหุงต้ม ที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั้นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
    • สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั้นเอง อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>นิลกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • นิลกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเขียว"
    • ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนังกระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขึยวทา หรือจะเพ่งพิจารณา สีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ
    • อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณังๆ ๆ ๆ
    • อุคคหนิมิตนั้น ปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>ปีตกสิณ </TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • ปีตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเหลือง"
    • การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด
    • บทภาวนา ภาวนาว่าเป็น ปีตกสิณังๆ ๆ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>โลหิตกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • โลหิตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีแดง"
    • บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ ๆ ๆ
    • นิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่งดอกไม้สีแดง หรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้
    • อุคคหนิมิต เป็นสีแดง
    • ปฏิภาคนิมิต เหมือนนีลกสิณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>โอทากสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • โอทากสิณ แปลว่า "เพ่งสีขาว"
    • บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณังๆ ๆ ๆ
    • สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้ หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
    • นิมิตทั้งอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหนิมิต เป็นสีขาวเท่านั้นเอง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>อาโลกสิณ</TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • อาโลกสิณ แปลว่า "เพ่งแสงสว่าง"
    • ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องหลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ
    • แล้วภาวนาว่า อาโลกสิณังๆ ๆ ๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ
    • อุคคหนิมิตของอาโลกสิณ เป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่
    • ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่าง มากองรวมกันไว้ที่นั่น
    • แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=92></TD><TD vAlign=top width=630><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER></TD></TR><CENTER><CENTER><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=92>อากาสกสิณ </TD><TD class=cd16 vAlign=top width=630>
    • อากาสกสิณ แปลว่า "เพ่งอากาศ"
    • อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณังๆ ๆ
    • ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อ หรือผืนหนัง
    • โดยกำหนดว่า อากาศๆ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิตซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด
    • ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ คำอธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>จากหนังสือคำสอน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>

    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________

    (smile)(smile)(smile)<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2009
  8. กะละมัง

    กะละมัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +150
    ชอบเจ้าของกระทู้ค่ะ => "ซาตานคลั่ง" ฉลาดดี
     
  9. GROLY

    GROLY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    2,019
    ค่าพลัง:
    +8,001
    ผมก็เข้าใจตามนี้ครับ กสินที่ใช้สำหรับฝึกกรรมฐานมีอยู่ 10 อย่าง สำหรับที่ จขกท ยกตัวอย่างมาไม่ใช่กสินครับ จะเป็นการสอนเกินครูบาอาจารย์ไป และที่สำคัญเป็นการสอนที่ผิดไปจากพระพุทธเจ้า เข้าข่ายปรามาสพระรัตนตรัยไป
    แล้วการเพ่งที่ จขกท บอกไว้ก็ไม่สามารถต่อยอดเป็น นิมิตกสินได้

    แต่ถ้าดูแล้วเกิดเป็นวิปัสนาฌาณได้ก็อีกเรื่องหนึ่งครับ


    คุณมองดูโพรงไม้บนต้นไม้ต้นหนึ่ง อย่างใจจดใจจ่อ โดยไม่สนใจว่ารอบข้างของคุณหรือหรือข้างโพรงไม้นั่นจะเกิดอะไรขึ้นหรือจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มุ่งความสนใจไปที่โพรงไม้นั่นเพียงอย่างเดียว
    โพรงไม้นั่นแหละ คือกสิน

    หรือ คุณนั่งเล่นอยู่ดีๆ ก็เกิดเหลือบมองไปเห็นมดตัวหนึ่งกำลังลากเศษอาหารชิ้นใหญ่ไปยังรูของมันด้วยระยะทางสั้นๆ(แต่อาจจะใกลนะสำหรับมดตัวนั้น) ทั้งที่มดตัวนั้นมันก็ลากเศษอาหารชิ้นนั้นเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆตามเรื่องของมัน
    ถ้าใจคุณจดจ่ออยู่กับมดตัวนั้น มดตัวนั้นคือกสิน
    ถ้าใจคุณจดจ่ออยู่กับเศษอาหาร เศษอาหารนั้นคือกสิน
    หรือถ้าคุณกำลังเดินอยู่แล้วบังเอิญเหลือบไปมองหนุ่มหล่อหรือสาวสวยที่บังเอิญเดินผ่านมาทำให้คุณไม่สนใจอย่างอื่น จนทำให้คุณเองเดินชนเสาไฟฟ้า ชนต้นไม้ หรือชนถังขยะ หนุ่มหล่อหรือสาวสวยนั่น คือกสิน
     
  10. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    เคยอ่านมาเหมือนกัน และตอนนั้นผมเข้าใจว่าอย่างนี้นะ กสินวิญญาณ ก็คือ การที่เรานั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แต่ใจไปจับอยู่กับอีกที่หนึ่ง และปัจจุบันก็ยังเข้าใจว่าอย่างนี้นะ
    เหตุเพราะว่า หากเป็นแบบกสิณวิญญาณ อย่างเจ้าของกระทู้ว่ามา คนที่จะเห็นวิญญาณได้ตลอดเวลา หรือตามที่ต้องการนั้น เข้าใจว่า สมาธิต้องอยู่ขั้น อุปจารสมาธิ ซึ่งหากเป็นดั้งนี้ ต้องคล่องในการเข้าออก ฌาน 1-4 4-1 และหากคล่องขนาดนั้นแล้ว มีเหตุอะไรที่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ กับกสิณวิญญาณ อย่างที่เจ้าของกระทู้ว่า
     
  11. mozard002

    mozard002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +433
    ด้วยความเคารพครับ เท่าที่ทราบมา วิญญาณนั้นไร้รูปไม่ใช่หรอครับ ถ้าเพ่งสิ่งที่ไร้รูปมันก็กลายเป็นอรูปฌาณไปโดยปริยาย

    อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

    ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
    ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
    ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
    อะไรเลยเป็นสำคัญ
    ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
    หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน


    ส่วนที่ จขกท. บอกความหมายของกสินว่าเป็นเครื่องหมายนั้น เข้าใจว่าคงสับสนกับคำว่านิมิตนะครับ

    นิมิต

    นิมิต
    แปลว่า เครื่องหมาย คือรูปเป็นเครื่องกำหนดจิต จับเป็นอารมณ์ นิมิตนี้ส่วนใหญ่เป็น
    เครื่องหมายของกสิณ แต่ทว่ากรรมฐานหมวดอื่นๆ ก็มีเหมือนกัน เช่น อสุภกรรมฐานก็มีรูปอสุภเป็น
    นิมิต อาหาเรปฏิกูลสัญญา ก็มีรูปอาหารเป็นนิมิต อย่างนี้เป็นต้น รวมความว่านิมิตนั้นแยกออกเป็น
    สองอย่าง คือ นิมิตที่เป็นเครื่องหมายกำหนดจิต เป็นนิมิตจำเป็นที่นักปฏิบัติจำเป็นต้องกำหนดอย่างหนึ่ง
    นิมิตเลื่อนลอย เป็นนิมิตตัดรอนความดี
    ที่นักปฏิบัติควรละประการหนึ่ง จะขออธิบายในนิมิตทั้งสอง
    พอเข้าใจไว้ดังต่อไปนี้

    นิมิตจำเป็นต้องรักษา

    นิมิตที่จำเป็นต้องรักษาคือ กรรมฐานหมวดใดที่มีนิมิตเป็นอารมณ์ เช่น กสิณ เป็นต้น
    เมื่อเริ่มปฏิบัติในกรรมฐานกองนั้น ท่านให้ถือนิมิตอะไรเป็นสำคัญต้องรักษานิมิตนั้นให้มั่นคง คือกำหนด
    จดจำภาพนั้นให้ติดใจ จะกำหนดรู้เมื่อไรให้เห็นได้ชัดเจนแจ่มใสตามสภาพเดิมที่กำหนดจดจำไว้
    อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมนิมิต" จัดเป็นสมาธิได้ในสมาธิเล็กน้อยที่เรียกว่า "ขณิกสมาธิ"
    นิมิตใดที่ท่านนักปฏิบัติเพ่งกำหนดจดจำไว้ มีความชำนาญมากขึ้น จนภาพนิมิตนั้น
    ชัดเจนแจ่มใส สามารถบังคับให้สูง ต่ำ ใหญ่ เล็ก ได้ตามความประสงค์ แล้วต่อไปนิมิตนั้นค่อยเปลี่ยนสี
    จากสีเดิมไปทีละน้อย ๆ จนกลายเป็นสีใสสะอาด อย่างนี้ท่านเรียกว่า" อุคคหนิมิต " ถ้าเรียกเป็น
    สมาธิก็เรียกว่า " อุปจารสมาธิ " ถ้าเรียกเป็นฌานก็เรียกว่า " อุปจารฌาน "
    นิมิตใดที่นักปฏิบัติเพ่งพิจารณากำหนดอยู่จนติดตาติดใจ จนนิมิตนั้นกลายจากสีเดิม
    มีสีขาวใสสวยสดงดงาม มีประกายคล้ายดาวประกายพรึก อารมณ์จิตแนบสนิทไม่เคลื่อนไหว ลมหายใจ
    อ่อนระรวย ภาพนิมิตที่สดสวยนั้นหนาทึบเป็นแท่ง อารมณ์จิตไม่กวัดแกว่งไปตามเสียงที่เข้ามากระทบ
    โสตประสาท แม้เสียงจะดังกังวานเพียงใด จิตใจก็ไม่หวั่นไหว คงมีอารมณ์สงบเงียบ กำหนดจดจำนิมิต
    ไว้ได้ด้วยดี อาการอย่างนี้เรียกเป็นนิมิต ท่านเรียกว่า " ปฏิภาคนิมิต " ถ้าเรียกเป็นสมาธิท่านเรียกว่า
    " อัปปนาสมาธิ " ถ้าเรียกเป็นฌาน ท่านเรียกว่า " ปฐมฌาน "
    นิมิตตามที่ท่านกำหนดให้ยึดถือตามกฎของปฏิบัติกรรมฐานกองนั้น ๆ อย่างนี้เป็นนิมิตที่
    จำเป็นต้องกำหนดจดจำและทำให้ถึงขั้นถึงระดับ
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถ้าเป็นไปได้...ขอคุณ ซาตานคลั่ง กับคุณ cacalot ช่วยเมตตานำลิงค์ ที่เกี่ยวกับ เรื่องในหลวงท่านถามหลวงพ่อฤาษีลิงดำเรื่องกสินวิญญาณ....มาลงให้ทีนะครับ....ผมยังไม่เคยได้อ่านเจอ....และก็เชื่อว่าสมาชิก..ที่ฝึกด้านกสิณ 10 หลายท่านยังไม่เคยได้อ่านเช่นกัน.....อาจเป็นประโยชน์ด้านการปฏิบัติไม่มากก็น้อย...
     
  13. cacalot

    cacalot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2006
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +130
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อนุโมทนาสาธุธรรมมากครับ....ไว้ผมขอยกมาเลยแล้วกันจะได้อ่านสดวก....


    [​IMG]

    ในหลวงสนทนาธรรมกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    เรื่อง...กสินวิญญาณของในหลวง
    <DD>เป็นการสนทนากันระหว่างหลวงพ่อและในหลวงในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องการเมือง และเรื่องสงเคราะห์ช่วยเหลือคน และที่ขาดไม่ได้คือเรื่องธรรมะ ในระหว่างที่กำลังสนทนากันอยู่นี้ ตอนหนึ่งเรื่องกรรมฐาน หลวงพ่อเล่าการสนทนาเรื่อง "กสิน" ให้ลูกศิษย์ทั้งหลายฟังว่า..

    ในหลวง : หลวงพ่อบันทึกเสียงมาให้ผมคาสเซ็ทเดียว กสิน ๑๐ อย่าง คาสเซ็ทเดียว

    หลวงพ่อ : ถ้าทำได้อย่างเดียว อย่างอื่นทำได้หมด

    ในหลวง : แต่ว่า กสินวิญญาณ หลวงพ่อไม่ได้บอกมาด้วย

    <DD>ล่อกสินวิญญาณ เข้าให้ มันมีในแบบที่ไหนล่ะ(หัวเราะ) ไม่มีในแบบ ของท่านมี เอ้อ...แปลกจริงเหมือนกัน เราก็นั่งฟัง ถามมันเป็นอย่างไร กสินวิญญาณ นี่ไม่มี เมื่อวานมวยวัดเลยไม่รู้ใครเป็นใคร ท่านไม่ชอบใช้ราชาศัพท์

    <DD>ท่านบอกว่าคุยบอกลูกทุ่งๆ สบายก็มีกันแค่สองคน เมื่อวานไม่มีใครขัดคอกันเลย ปิดประตูคุยกัน เพราะว่าตอนที่ไปภูพิงค์ ท่านให้นั่งไม่มีที่พิง ใช่ไหม ต่างคนต่างนั่งพรมคนละผืน ไม่มีที่พิง เราออกมาเราก็บ่น ไอ้ภูพิงค์นี่มันพิงแต่ภู (หัวเราะ)

    <DD>เข้าไปไม่มีที่พิงเลย พวกชาววังเขาออกมา เราก็บ่นเข้าไปอีก เมื่อวานนี้มีที่พิง สวนจิตร มีที่พิง มีที่พิงให้ มีเบาะสูงกว่าพระองค์ประทับหน่อยนะ แล้วเขาจัดมีทั้งหมากทั้งน้ำร้อน มีน้ำชาแล้วก็มีน้ำเย็น แต่ไม่มีเวลากินเลย พอจ้อก็ตั้งตัวไม่ติดเลย (หัวเราะ)

    <DD>โอ้โฮ! พูดถี่ยิบ ใครบอกพระเจ้าแผ่นดินพูดช้า ที่ไหนได้ โฮ้! ตามลำพัง ล่อกันถนัด เมื่อวานออกมาเหนื่อยแฮ่กเลย นี่ความจริงปล่อยให้ท่านชกคนเดียวตั้งครึ่งชั่วโมงแล้วนะ

    <DD>เมื่อกี้เล่าถึงอะไร (พุทธบริษัทตอบ กสินวิญญาณ) เออ..ใช่! จะลืม จะไหลไปเสียแล้วนะ กสินวิญญาณ ท่านก็ตรัสถามว่า "หลวงพ่อทำมาคาสเซ็ทเดียว ทำไมกสินวิญญาณ ไม่บอก?" เราเอ๊ะ! กสินวิญญาณ มันมีที่ไหนเรียนมาเยอะแล้ว ไม่เจอะ กสินวิญญาณก็นั่งนึก ก็เลยถามท่าน บอก"พระมหาบพิตรตรัส มันเป็นอย่างไร? กสินวิญญาณ" ท่านก็บอกว่าแหม..ท่านละเอียดมากนะ เรื่องธรรมมะละเอียด ละเอียดจัด เรียกว่าพระที่คุยมาแล้วด้วกัน

    <DD>ที่ผ่านพระมาแล้ว อาตมากล้าพูดว่าหลายพันองค์ที่สัมผัสมาแล้วเรื่องปฏิบัติ นักเทศน์ไม่มีความสำคัญนะ นักปฏบัติก็มีนะที่ว่าพระหลอกๆ ไม่ใช่หมายถึงเขาเลว หมายถึงว่า"สมมติสงฆ์"ใช่ไหม พระที่ยังไม่ถึงพระโสดาบันจะเป็นขั้นไหนก็ตาม แก่แค่ไหนก็ตาม พระพุทธเจ้ายังไม่เรียกว่าพระ เรียกว่า "สมมติสงฆ์" ถ้าหากตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปท่านจึงจะเรียกได้

    <DD>นี่เคยสัมผัสกับพวกนี้มาเป็นร้อย ไม่ใช่เป็นของดี แล้วก็ยังไม่เคยมีใครพูดเรื่องกสินวิญญาณ ไอ้เราก็อ่านพระไตรปิฎกก็ไม่มีจะนึก เอ๊ะ! พระอรหันต์รุ่นนั้นน่ากลัวจะบันทึกตก(หัวเราะ) ก็เลยถามอาการ

    <DD>พระองค์ก็ทรงอธิบายว่า "สมมติว่าผมจะจับภาพกสิน คือภาพอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่จิตนึกอย่างพระพุทธรูปตั้งอยู่ข้างหน้านี่" ท่านก็ชี้ไปจุดใดจุดหนึ่ง เมื่อวานนี้ฉันออกท่ากันนะ

    <DD>ต่างคนต่างออกท่ารำกันไปในตัวเสร็จไม่ใช่ร้องอย่างเดียว ว่ากันเต็มที่ เพราะไม่มีใครขัดคอ เป็นห้องส่วนพระองค์ ปิดประตูเลย ปิดประตูลงกลอนเองเลย ชี้ไปที่พระพุทธรูป "อย่างผมนึกไปที่พระพุทธรูป ไอ้กระแสจิตนี่มันออกไปหาพระพุทธรูปที่มันยังไม่ถึง ไม่เอาเป็นองค์ อันนี้เขาเรียกว่าวิญญาณใช่ไหม?"

    <DD>บอกใช่! เอาเข้าแล้ว ตัวนี้เรียกกสินใช่ไหม บอกเขาไม่เรียกกสิน ที่พระมหาบพิตรบอก กสินวิญญาณ อาตมางงเป็นไก่ตาแตก ไม่รู้เรื่องเลย ท่านก็บอก "เขาเรียกว่าอะไรหรือครับ" หลวงพ่อ"เขาเรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน" เป็นอรูปฌาน มันเลยกสินไปแล้ว...

    <DD>ต้องมีกสินเป็นภาคพื้นแล้วก็จึงใช้ตัวนี้ได้ บอก อ้อ...เล่นเราเกือบแย่หาว่าไม่บอก ท่านบอก บันทึกคาสเซ็ทไม่เห็นมี กสินวิญญาณ ไอ้เราก็งงติ้วเลย นี่ท่านเลยบอกถ้าจะจำอันนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ ก็เลยบอก เขาเรียกว่า

    <DD>"วิญญาณัญจายตนฌาน" เป็น "อรูฌาน" แต่ภาคพื้นจริงๆ ต้องมาจากกสินก่อน ถ้าเราจับกสินถึงฌาน ๔ แล้วค่อยมาจับวิญญาณ แต่ความจริงเขาจะไม่จับวิญญาณก่อน จะต้องจับอากาสก่อน ที่เรียกว่า "อากาสานัญจายตนฌาน"

    <DD>อากาสานัญจายตนฌาน แล้วก็เพิกทิ้งไป แล้วก็จับกสินเข้ามาอีก ให้จิตตั้งฌาน ๔ ต่อไปก็จับวิญญาณัญจายตนฌาน หลังจากนั้นเมื่อจับได้แล้วก็ทิ้งไป จับกสินขึ้นมาให้ทรงตัว ก็มาจับ อากิญจัญญายตนฌาน ที่เรียกว่าไม่มีอะไรเลย โลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ หลังจากนันก็ทิ้งไป ก็จับ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นอรูปขั้นที่ ๔ เรียกว่าครบ "สมาบัติ ๘" อีตอนนี้ท่านก็งงบ้าง แล้วต่อไป ก็ผลัดกันงง...

    <DD>เอ...นี่ผมไม่รู้หรอก บอกมีคาสเซ็ท มีมาให้แล้ว เรื่องสมาบัติ ๘ ผมยังไม่ได้ฟังเลย เอาเข้าแล้ว ท่านจะไม่เอา ผลัดกัน ผลัดกันรุกผลัดกันรับ ก็เลยอธิบาย(เหตุผลที่)ถวายพอสมควร

    <DD>เมื่อถวายไปพอสมควรแล้วก็เรื่องนี้มา เรื่องกรรมฐานนี่นะว่ากันยาวเหยียด ว่าไปว่ามา อาตมานี่ขามันไม่ดีอยู่ข้าง ไอ้ขาขวานี่ เวลานี้ขัดสมาธิไม่ได้นาน พับเพียบก็ไม่ได้นาน แต่ของท่านวางแป๊ะไปด้านซ้าย ท่านอยู่ตลอด ไม่ขยับเลยเก่งจริงๆ ๕ ชั่วโมงครึ่งนี่ไม่เคยเปลี่ยนเลย แล้วไม่เคยขยับเขยื้อนแสดงอาการเมื่อย สู้! ถ้าเป็นมวยก็สู้เราไม่ได้ เราเป็นมวยแย๊บ เดี๋ยวพลิกซ้าย เดี๋ยวก็พลิกขวา(หัวเราะ) ท่านสู่เราไม่ได้ เด็ด อีท่าห่วย สู้เราไม่ได้ เรียกท่าห่วย..ใช่ไหม...

    <DD>ที่มา
     
  15. pawang

    pawang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +193
    ขอขอบคุณซานตาคลั่ง และขอขอบคุณ Phadudet ครับ

    อนุโมทนาด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...