เอกอัจฉริยะบรมบุรุษ "พระพุทธเจ้า"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 1 พฤษภาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    นับตั้งแต่มีธาตุมีธรรมบังเกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในกาลอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตอันมิอาจจะกำหนดขอบเขตที่สิ้นสุดได้ก็ตามที ยอดแห่งเอกอัครบรมมหาบุรุษเพียงหนึ่งเดียว ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและคุณสมบัติอันเลอเลิศประเสริฐอย่างถึงที่สุดด้วยลักษณาการทั้งปวง ชนิดที่บรรลุถึงขีดขั้นหาที่ติมิได้ หาที่เปรียบมิได้ และหาที่เสมอสองมิได้เท่าที่ประวัติศาสตร์แห่งมวลหมู่มนุษยชาติจะพึงได้พบได้เห็นหรือได้รู้จัก แม้เพียงยลยินเพียงด้วยชื่ออย่างแท้จริงนั้น ย่อมไม่อาจจะที่จะเป็นใดอื่นไปได้อีกแล้ว นอกจากพระบรมศาสดาแห่งบวรพระพุทธศาสนา ผู้มีพระนามอันบังเกิดแต่พระคุณแห่งพระองค์เองทั้งสิ้นว่า “สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” เป็นแน่นอน....



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30>great-buddha-ling-shan11.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>


    องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระสวัสดิโสภาคย์ทั้งหลายนั้น ทรงเป็นจอมอรหันต์ผู้อนุตรบุคคล คือทรงเป็นบุคคลเอก เป็นหนึ่งไม่มีสอง หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ เพราะทรงกอรปไปด้วยคุณาธิคุณอันยอดยิ่งกว่าผู้ทรงคุณอื่นๆทั่วไป ด้วยต้องทรงสร้างสมอบรมอธิการบารมีทั้ง 30 ทัศมาอย่างเหลือล้น จนสุดที่จะนับจะประมาณได้ อย่างน้อยที่สุด ก็ต้องยาวนานถึง 20 อสงไขย 100,000 มหากัป สำหรับ “พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า”(พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยปัญญา) ส่วน “พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า”(พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยศรัทธา) หรือ “พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า” (พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยวิริยะความพากเพียร) ก็ยิ่งต้องใช้เวลาสร้างพระบารมีเป็นทบเท่าทวีคูณ ถึง 40 และ 80 อสงไขย กำไร 100,000 มหากัปตามลำดับ จึงจักสามารถตรัสรู้พระปรมาภิเษก สำเร็จยังพระสร้อยศรีสรรเพชญ์พุทธรัตนอนาวรญาณเป็นองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นครูของทั้งมนุษย์และเทวดาทั้งปวงอย่างสมบูรณ์แบบและสมภาคภูมิอย่างแท้จริงได้
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25>DSC03948(2).gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2009
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เพราะด้วยเหตุที่การอุบัติบังเกิดขึ้นของที่สุดแห่งอัจฉริยบุคคลอันดับหนึ่งเฉกเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมจะเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง ด้วยเหตุแห่งเงื่อนไข,จิตใจ,ข้อจำกัดและระยะแห่งกาลที่ยาวนานจนเหลือที่จะนับได้ดังกล่าว จึงมีสรรพชีวิตเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้นที่จักสามารถอดทน อดกลั้น ฟันฝ่าต่ออุปสรรค ความยากลำบาก และมหันตทุกข์ในสังสารวัฏต่างๆ สร้างสมไตรทศบารมีทั้ง 30 ประการจนตลอดรอดฝั่ง ถึงขั้นสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ว่า ในตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัป ที่ผ่านพ้นมา ได้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ในโลกเพียง “28” พระองค์เท่านั้น โดยบางกัป ก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียงพระองค์เดียว บางกัปก็มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 2 หรือ 3 หรือ 4 พระองค์ และบางพุทธันดร(ช่วงเวลาจากพุทธสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งถึงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง)บางคราว ก็ยืดยาวนานถึง 70,000 กัป ถึง อสงไขยกัปก็มี....
    ซึ่งการดังกล่าวย่อมเป็นการยืนยันถึงพระพุทธพจน์หนึ่งให้เป็นที่แจ้งใจทั่วไปเป็นอย่างดีที่สุดว่า “กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท” หรือ “การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ยากยิ่ง” โดยแท้ฯ
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> 56.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เพื่อเป็นการแสดงพระพุทธอัจฉริยภาวะอันประเสริฐสูงสุด หาใดเสมอสองมิได้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายให้ปรากฏทั่วไป อันจะพึงเป็นมหากุศลใหญ่และแรงบันดาลใจอย่างไร้ขอบเขตที่สิ้นสุดสืบไปเมื่อหน้า จึงเป็นการอันสมควรแล้วที่จะได้รวบรวมเอาพระพุทธาธิคุณทั้งปวงอย่างสรุปรวบยอดมาประมวลบันทึกและนำเสนอไว้ ณ ที่นี้แท้ทีเดียว.... <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> 5089a111(1).gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีเป็นเอนกประการ สุดที่จะพรรณนา แต่เมื่อรวบรัดกล่าวโดยย่อแล้วก็มี ๙ ประการ คือ

    ๑. อรหํ เป็นผู้ไกลจากข้าศึก คือ กิเลส อีกนัยหนึ่งว่า เป็นผู้ที่ไม่มีที่รโหฐาน หมายความว่า แม้แต่ในที่ลับ ก็ไม่กระทำบาป

    ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ที่ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง

    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ วิชาและจรณะนี้ได้แสดงแล้วในปริจเฉทที่ ๗ ตอน สัพพสังคหะ ตรงมัคคอริยสัจจ ขอให้ดูที่นั่นด้วย

    ๔. สุคโต แปลว่า ทรงไปแล้วด้วยดี ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึง ๔ นัย คือ

    ก. เสด็จไปงาม คือไปสู่ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ที่ปราศจากโทษภัยทั้งปวง ซึ่งหมายถึง อริยสัจจทั้ง ๔

    ข. เสด็จไปสู่ฐานะอันประเสริฐ คือ อมตธรรม อันเป็นธรรมที่สงบระงับจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง

    ค. เสด็จไปในที่ถูกที่ควร คือพ้นจากวัฏฏะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    ง. ทรงตรัสไปในทางที่ถูกที่ชอบ คือทรงเทสนาในสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้ฟัง ประมวลลักษณะแห่งพระพุทธดำรัสได้เป็น ๖ ลักษณะ ดังจะแสดงโดยย่อที่สุด ดังนี้

    (๑) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส

    (๒) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส

    (๓) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส

    (๔) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส

    (๕) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์ถึงจะไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นก็รู้กาลที่จะตรัส

    (๖) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์และเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นด้วยก็รู้กาลที่จะตรัส

    ๕. โลกวิทู พระพุทธองค์ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งด้วยประการทั้งปวง คือ ทรงรู้จักโลก รู้จักเหตุเกิดของโลก รู้จักธรรมที่ดับของโลก และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับของโลก

    อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการแจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก

    ก. สังขารโลก หมายถึง สังขารธรรม คือ รูปนาม ได้แก่ จิต เจตสิก รูปทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ด้วยการปรุงแต่ง ทำให้หมุนเวียนไปในสังสารวัฏฏ จำแนกโลกได้เป็นหลายนัย เช่น

    โลกนับว่ามี ๑ ได้แก่ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิกา สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่ได้ด้วยต้องอาศัยอาหารเหมือนกันหมด

    โลกนับว่ามี ๒ ได้แก่ นาเม จ รูเป จ คือ นาม ๑ รูป ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ว่าได้แก่ อุปาทินนกสังขาร ๑ อนุปาทินนกสังขาร ๑

    โลกนับว่ามี ๓ ได้แก่ ตีสุ เวทนาสุ คือ เวทนา ๓ มี สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา

    โลกนับว่ามี ๔ ได้แก่ จตูสุ อาหาเรสุ คือ อาหาร ๔ มี กพฬีการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

    โลกนับว่ามี ๕ ได้แก่ ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ อินทรีย ๕

    โลกนับว่ามี ๖ ได้แก่ ฉสุ อชฺฌตฺติเกสุ อายตเนสุ คืออายตนะภายใน ๖ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ นิสสรณียธาตุ ๖

    โลกนับว่ามี ๗ ได้แก่ สตฺตสุ วิญฺญาณฏฺฐิตีสุ คือวิญญาณฐีติ ๗ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ โพชฌงค์ ๗

    โลกนับว่ามี ๘ ได้แก่ อฏฺฐสุ โลกธมฺเมสุ คือ โลกธรรม ๘ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมัคค ๘

    โลกนับว่ามี ๙ ได้แก่ นวสุ สตฺตาวาเสสุ คือ สัตตาวาส ๙ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙

    โลกนับว่ามี ๑๐ ได้แก่ ทสสุ อกุสลกมฺมปเถสุ คือ อกุสลกรรมบถ ๑๐ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ กุสลกรรมบถ ๑๐

    โลกนับว่ามี ๑๒ ได้แก่ อายตนะ ๑๒

    โลกนับว่ามี ๑๘ ได้แก่ ธาตุ ๑๘

    ข. สัตวโลก บาลีเป็น สัตตโลก หมายถึง บุคคล คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งทรงแจ้ง ประเภท (บุคคล ๑๒) , เหตุให้เกิด, นิสัย, จริต, บารมี แห่งสัตว์เหล่านั้นทั้งสิ้น

    ค. โอกาสโลก หมายถึง ภูมิ อันเป็นที่ตั้งแห่งสังขารธรรม คือ เป็นที่อาศัยเกิด อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนรวม ๓๑ ภูมิ

    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงสามารถฝึกอบรมสั่งสอนแนะนำผู้ที่สมควรฝึกได้เป็นอย่างเลิศไม่มีใครเสมอเหมือน ทั้งนี้เพราะทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์นั้น ๆ

    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่มีศาสดาใดจะเทียมเท่า เพราะทรงนำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ได้

    ๘. พุทฺโธ ทรงเห็นทุกอย่าง (สพฺพทสฺสาวี), ทรงรู้ทุกสิ่ง (สพฺพญฺญู) ทรงตื่น , ทรงเบิกบานด้วยธรรม

    ๙. ภควา ทรงเป็นผู้ที่มีบุญที่ประเสริฐสุด ทรงสามารถจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามควรแก่อัตตภาพของสัตว์นั้น ๆ


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> DSC06634.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีเป็นเอนกประการ สุดที่จะพรรณนา แต่เมื่อรวบรัดกล่าวโดยย่อแล้วก็มี ๙ ประการ คือ

    ๑. อรหํ เป็นผู้ไกลจากข้าศึก คือ กิเลส อีกนัยหนึ่งว่า เป็นผู้ที่ไม่มีที่รโหฐาน หมายความว่า แม้แต่ในที่ลับ ก็ไม่กระทำบาป

    ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ที่ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง

    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ วิชาและจรณะนี้ได้แสดงแล้วในปริจเฉทที่ ๗ ตอน สัพพสังคหะ ตรงมัคคอริยสัจจ ขอให้ดูที่นั่นด้วย

    ๔. สุคโต แปลว่า ทรงไปแล้วด้วยดี ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึง ๔ นัย คือ

    ก. เสด็จไปงาม คือไปสู่ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ที่ปราศจากโทษภัยทั้งปวง ซึ่งหมายถึง อริยสัจจทั้ง ๔

    ข. เสด็จไปสู่ฐานะอันประเสริฐ คือ อมตธรรม อันเป็นธรรมที่สงบระงับจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง

    ค. เสด็จไปในที่ถูกที่ควร คือพ้นจากวัฏฏะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    ง. ทรงตรัสไปในทางที่ถูกที่ชอบ คือทรงเทสนาในสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้ฟัง ประมวลลักษณะแห่งพระพุทธดำรัสได้เป็น ๖ ลักษณะ ดังจะแสดงโดยย่อที่สุด ดังนี้

    (๑) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส

    (๒) ไม่จริง ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส

    (๓) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ไม่ตรัส

    (๔) จริง แต่ไม่กอปร์ด้วยประโยชน์ แม้จะเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น ก็ไม่ตรัส

    (๕) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์ถึงจะไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นก็รู้กาลที่จะตรัส

    (๖) จริงและกอปร์ด้วยประโยชน์และเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นด้วยก็รู้กาลที่จะตรัส

    ๕. โลกวิทู พระพุทธองค์ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งด้วยประการทั้งปวง คือ ทรงรู้จักโลก รู้จักเหตุเกิดของโลก รู้จักธรรมที่ดับของโลก และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับของโลก

    อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการแจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก

    ก. สังขารโลก หมายถึง สังขารธรรม คือ รูปนาม ได้แก่ จิต เจตสิก รูปทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ด้วยการปรุงแต่ง ทำให้หมุนเวียนไปในสังสารวัฏฏ จำแนกโลกได้เป็นหลายนัย เช่น

    โลกนับว่ามี ๑ ได้แก่ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิกา สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่ได้ด้วยต้องอาศัยอาหารเหมือนกันหมด

    โลกนับว่ามี ๒ ได้แก่ นาเม จ รูเป จ คือ นาม ๑ รูป ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ว่าได้แก่ อุปาทินนกสังขาร ๑ อนุปาทินนกสังขาร ๑

    โลกนับว่ามี ๓ ได้แก่ ตีสุ เวทนาสุ คือ เวทนา ๓ มี สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา

    โลกนับว่ามี ๔ ได้แก่ จตูสุ อาหาเรสุ คือ อาหาร ๔ มี กพฬีการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

    โลกนับว่ามี ๕ ได้แก่ ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ อินทรีย ๕

    โลกนับว่ามี ๖ ได้แก่ ฉสุ อชฺฌตฺติเกสุ อายตเนสุ คืออายตนะภายใน ๖ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ นิสสรณียธาตุ ๖

    โลกนับว่ามี ๗ ได้แก่ สตฺตสุ วิญฺญาณฏฺฐิตีสุ คือวิญญาณฐีติ ๗ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ โพชฌงค์ ๗

    โลกนับว่ามี ๘ ได้แก่ อฏฺฐสุ โลกธมฺเมสุ คือ โลกธรรม ๘ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมัคค ๘

    โลกนับว่ามี ๙ ได้แก่ นวสุ สตฺตาวาเสสุ คือ สัตตาวาส ๙ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙

    โลกนับว่ามี ๑๐ ได้แก่ ทสสุ อกุสลกมฺมปเถสุ คือ อกุสลกรรมบถ ๑๐ อีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ กุสลกรรมบถ ๑๐

    โลกนับว่ามี ๑๒ ได้แก่ อายตนะ ๑๒

    โลกนับว่ามี ๑๘ ได้แก่ ธาตุ ๑๘

    ข. สัตวโลก บาลีเป็น สัตตโลก หมายถึง บุคคล คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งทรงแจ้ง ประเภท (บุคคล ๑๒) , เหตุให้เกิด, นิสัย, จริต, บารมี แห่งสัตว์เหล่านั้นทั้งสิ้น

    ค. โอกาสโลก หมายถึง ภูมิ อันเป็นที่ตั้งแห่งสังขารธรรม คือ เป็นที่อาศัยเกิด อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนรวม ๓๑ ภูมิ

    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงสามารถฝึกอบรมสั่งสอนแนะนำผู้ที่สมควรฝึกได้เป็นอย่างเลิศไม่มีใครเสมอเหมือน ทั้งนี้เพราะทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์นั้น ๆ

    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่มีศาสดาใดจะเทียมเท่า เพราะทรงนำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ได้

    ๘. พุทฺโธ ทรงเห็นทุกอย่าง (สพฺพทสฺสาวี), ทรงรู้ทุกสิ่ง (สพฺพญฺญู) ทรงตื่น , ทรงเบิกบานด้วยธรรม

    ๙. ภควา ทรงเป็นผู้ที่มีบุญที่ประเสริฐสุด ทรงสามารถจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามควรแก่อัตตภาพของสัตว์นั้น ๆ


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระพุทธคุณ ๑๐๐ ประการ

    "ดูก่อนท่านผู้เจริญ ! ขอท่านจงฟังซึ่งคำของข้าพเจ้าเถิด : ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :-
    1. เป็นนักปราชญ์ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา
    2. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโมหะ
    3. เป็นผู้มีเสาเขื่อนเครื่องตรึงจิตอันหักแล้ว
    4. เป็นผู้มีชัยชนะอันวิชิตแล้ว
    5. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากสิ่งคับแค้นสะเทือนใจ
    6. เป็นผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดี
    7. เป็นผู้มีปรกติภาวะแห่งบุคคลผู้เป็นพุทธะ
    8. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จ
    9. เป็นผู้ข้ามไปได้แล้วซึ่งวัฏฏะสงสารอันขรุขระ
    10. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากมลทินทั้งปวง

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    11. เป็นผู้ไม่มีการถามใครว่าอะไรเป็นอะไร
    12. เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยความอิ่มในธรรมอยู่เสมอ
    13. เป็นผู้มีเหยื่อในโลกอันทรงคายทิ้งแล้ว
    14. เป็นผู้มีมุทิตาจิตในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
    15. เป็นผู้มีสมณภาวะอันทรงกระทำสำเร็จแล้ว
    16. เป็นผู้ถือกำเนิดแล้วแต่กำเนิดแห่งมนูโดยแท้
    17. เป็นผู้มีสรีระอันมีในครั้งสุดท้าย
    18. เป็นผู้เป็นนรชนคือเป็นคนแท้
    19. เป็นผู้อันใครๆ กระทำอุปมามิได้
    20. เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันพึงเปรียบได้ด้วยธุลี

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    21. เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากความสงสัยทั้งปวง
    22. เป็นผู้นำสัตว์สู่สภาพอันวิเศษ
    23. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องตัดกิเลสดุจหญ้าคาเสียได้
    24. เป็นสารถีอันประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลาย
    25. เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่าโดยคุณธรรมทั้งปวง
    26. เป็นผู้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความชอบใจของสัตว์ทั้งปวง
    27. เป็นผู้มีกังขาเครื่องข้องใจอันทรงนำออกแล้วหมดสิ้น
    28. เป็นผู้กระทำซึ่งความสว่างแก่ปวงสัตว์
    29. เป็นผู้ตัดแล้วซึ่งมานะเครื่องทำความสำคัญมั่นหมาย
    30. เป็นผู้มีวีรธรรมเครื่องกระทำความแกล้วกล้า

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    31. เป็นผู้เป็นยอดมนุษย์ แห่งมนุษย์ทั้งหลาย
    32. เป็นผู้มีคุณอันใครๆ กำหนดประมาณมิได้
    33. เป็นผู้มีธรรมสภาวะอันลึกซึ้งไม่มีใครหยั่งได้
    34. เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี
    35. เป็นผู้กระทำความเกษมแก่สรรพสัตว์
    36. เป็นผู้มีเวทคือญาณเครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ
    37. เป็นผู้ประดิษฐานอยู่ในธรรม
    38. เป็นผู้มีพระองค์อันทรงจัดสรรดีแล้ว
    39. เป็นผู้ล่วงกิเลสอันเป็นเครื่องข้องเสียได้
    40. เป็นผู้หลุดรอดแล้วจากบ่วงทั้งปวง

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    41. เป็นผู้เป็นดังพระยาช้างตัวประเสริฐ
    42. เป็นผู้มีการนอนอันสงัดจากการรบกวนแห่งกิเลส
    43. เป็นผู้มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว
    44. เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากทุกข์ทั้งปวง
    45. เป็นผู้มีความคิดเหมาะเจาะเฉพาะเรื่อง
    46. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี
    47. เป็นผู้มีมานะเป็นดุจธงอันพระองค์ทรงลดลงได้แล้ว
    48. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากราคะ
    49. เป็นผู้มีการฝึกตนอันฝึกแล้ว
    50. เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากกิเลสเครื่องเหนี่ยวหน่วงให้เนิ่นช้า

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    51. เป็นผู้แสวงหาพบคุณอันใหญ่หลวง องค์ที่เจ็ด
    52. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากความคดโกง
    53. เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาทั้งสาม
    54. เป็นผู้เป็นพรหมแห่งปวงสัตว์
    55. เป็นผู้เสร็จจากการอาบการล้างแล้ว
    56. เป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์ในการกระทำทั้งปวง
    57. เป็นผู้มีกมลศันดานอันระงับแล้ว
    58. เป็นผู้มีญาณเวทอันวิทิตแล้ว
    59. เป็นผู้ทำลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งหลาย
    60. เป็นผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ทั้งปวง

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    61. เป็นผู้ไปพ้นแล้วจากข้าศึกคือกิเลส
    62. เป็นผู้มีตนอันอบรมถึงที่สุดแล้ว
    63. เป็นผู้มีธรรมที่ควรบรรลุอันบรรลุแล้ว
    64. เป็นผู้กระทำซึ่งอรรถะทั้งหลายให้แจ่มแจ้ง
    65. เป็นผู้มีสติสมบูรณ์อยู่เองในทุกกรณี
    66. เป็นผู้มีความรู้แจ้งเห็นแจ้งเป็นปรกติ
    67. เป็นผู้มีจิตไม่แฟบลงด้วยอำนาจแห่งกิเลส
    68. เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้นด้วยอำนาจแห่งกิเลส
    69. เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจแห่งกิเลส
    70. เป็นผู้บรรลุถึงซึ่งความมีอำนาจเหนือกิเลส

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    71. เป็นผู้ไปแล้วโดยชอบ
    72. เป็นผู้มีการเพ่งพินิจทั้งในสมาธิและปัญญา
    73. เป็นผู้มีศันดานอันกิเลสตามถึงไม่ได้แล้ว
    74. เป็นผู้หมดจดแล้วจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง
    75. เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้แล้ว
    76. เป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัวในสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว
    77. เป็นผู้สงัดแล้วจากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง
    78. เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งธรรมอันเลิศ
    79. เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งโอฆกันดาร
    80. เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้ข้ามซึ่งโอฆะนั้น

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    81. เป็นผู้มีศันดานสงบรำงับแล้ว
    82. เป็นผู้มีปัญญาอันหนาแน่น
    83. เป็นผู้มีปัญญาอันใหญ่หลวง
    84. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโลภะ
    85. เป็นผู้มีการไป การมาอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    86. เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
    87. เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเปรียบ
    88. เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเสมอ
    89. เป็นบุคคลผู้มีญาณอันแกล้วกล้า
    90. เป็นผู้มีปัญญาละเอียดอ่อน

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    91. เป็นผู้เจาะทะลุข่ายคือตัณหาเครื่องดักสัตว์
    92. เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานเป็นปรกติ
    93. เป็นผู้มีกิเลสดุจควันไฟไปปราศแล้ว
    94. เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาได้อีกต่อไป
    95. เป็นผู้เป็นอาหุเนยยบุคคลควรแก่ของที่เขานำไปบูชา
    96. เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องบูชา
    97. เป็นบุคคลผู้สูงสุดแห่งบุคคลทั้งหลาย
    98. เป็นผู้มีคุณอันไม่มีใครวัดได้
    99. เป็นผู้เป็นมหาบุรุษ
    100. เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเลิศด้วยเกียรติคุณ ;
    ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น; ดังนี้ แล.




    (คำของอุบาลีคหบดี ผู้เคยเป็นสาวกของนิคันถนาฏบุตรมาก่อน กล่าวตอบแก่คณะนิครนถ์ว่าเหตุใดเขาจึงเปลี่ยนใจมานับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า. ม.ม. ๑๓/๗๗/๘๒ - พุทธประวัติจากพระโอษฐ์, พุทธทาส)


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ในบทว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้า นี้มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงหยั่งเห็นสิ่งทั้งปวง.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ไม่มีคนอื่นแนะนำ.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะสิ้นอาสวะแล้ว.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะปราศจากอุปกิเลส.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะการถือบวช.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าไม่เป็นที่สอง.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าละตัณหาได้.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะเสด็จดำเนินทางเป็นที่ไปอันเอก.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เดียวตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงได้เฉพาะความรู้ เป็นเหตุกำจัดความไม่รู้เสียได้.
    บททั้งสามคือ พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ นี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. ผ้าเขาเรียกว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น ฉันใด.
    ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้าฉันนั้น.

    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> Picture-7-075.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เพื่อประโยชน์ที่ใหญ่ยิ่ง</CENTER>
    พระพุทธเจ้าเป็นนักต่อสู้เพื่อจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง นั่นก็คือ การบรรลุอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ และพระองค์ก็ทรงทำได้เป็นผลสำเร็จ

    พระองค์เคยตรัสเล่ากับภิกษุทั้งหลาย ถึงการที่พระองค์ทรงบรรลุอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ด้วยการอธิษฐานความเพียรอย่างแรงกล้าว่า

    "เราได้รู้ธรรมถึงสองอย่าง คือ ความไม่รู้จักพอในกุศลธรรม และความเป็นผู้ไม่ถอยหลังในการตั้งความเพียร"

    "เราตั้งความเพียร คือ ความไม่ถอยหลังว่า แม้ว่าจะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือดในร่างกายเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อยังไม่บรรลุถึงประโยชน์ที่บุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว เราจักไม่หยุดพากเพียร"

    "เราตรัสรู้ได้เพราะความไม่ประมาท ได้บรรลุถึงธรรมที่ปลอดภัยจากกิเลสผูกมัดสัตว์อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า ก็เพราะความไม่ประมาท"

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> P-2451.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    องค์ใดพระสัมพุทธ...
    พระพุทธองค์ทรงมีพระวิสุทธิคุณคือความบริสุทธิ์อันประเสริฐสุดอย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มหาชนตั้งแต่พุทธกาลจนป่านนี้ เกิดความเลื่อมใสอย่างสูงสุด ไม่มีใดจะเปรียบปานหรือเทียบเคียงได้

    ความบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ อาจมองเห็นได้ใน ๓ สถาน กล่าวคือ

    ๑. ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง
    ๒. ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะพระองค์ทรงกระทำได้อย่างที่สอน
    ๓. ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะพระองค์มุ่งสอนเพื่อผู้อื่น ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ



    <CENTER>ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์</CENTER>

    อาจารย์พรหมายุ เป็นอาจารย์พราหมณ์ วันหนึ่ง เมื่อชื่อเสียงของพระพุทธองค์ลือกระฉ่อน ล่วงหน้าไปในตำบลที่พระพุทธองค์กำลังจะเสด็จไปถึง เขาได้บอกแก่อุตระ ศิษย์รักว่า แน่ะอุตระ พระสมณโคดม โอรสเจ้าศากยะ ออกผนวชจากศากยะตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในหมู่ชาววิเทหะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป และเสียงที่กล่าวสรรเสริญพระโคคมนั้น กระพือไปแล้วอย่างนี้ว่า

    "เพราะเหตุเช่นนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารภีที่ฝึกคนควรฝึกได้ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์"

    อาจารย์พราหมณ์พรหมายุกล่าวต่อไปถึงเสียงเล่าลือนั้นว่า

    "พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์ แล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ ท่านแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง การได้เห็นพระอรหันต์ผู้เช่นนี้เป็นความดี"

    แน่ะ อุตระ เจ้าจงไปเฝ้าพระโคดม แล้วสังเกตให้รู้ว่า เป็นความจริงดั่งเสียงสรรเสริญที่กระพือไปอย่างนั้นจริงหรือไม่ เราจักได้รู้จักพระสมณโคดมไว้ด้วยกัน

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> buddha.jpg </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895

    <CENTER>มีพระสุรเสียงไพเราะเสนาะโสต
    มีพระวาจาสุภาพสละสลวย
    </CENTER>
    พระพุทธเจ้าท่านมีเสียงไพเราะ มีพระดำรัสชวนฟัง พราหมณ์คนหนึ่งชื่อจังกี ถึงกับกล่าวชมพระพุทธองค์ว่า

    "พระสมณโคดม มีพระวาจาไพเราะ รู้จักตรัสถ้อยคำงดงาม มีพระวาจาสุภาพ สละสลวย ไม่มีโทษ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัดแจ้ง"

    ชายหนุ่มคนหนึ่ง ชื่ออุตระ กล่าวชมพระพุทธองค์ว่า

    "พระสมณโคดมนั้น ไปถึงอารามแล้ว (เย็นลง) ก็ประชุมบริษัทแสดงธรรม ไม่ประจบประแจงบริษัท สนทนาชักชวนบริษัทให้อาจหาญร่าเริงด้วยถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม"
    เสียงกังวานที่เปล่งออกจากพระโอษฐ์ของพระสมณโคดมนั้น ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๘ ประการ คือ
    ๑. แจ่มใส
    ๒. ชัดเจน
    ๓. นุ่มนวล
    ๔. ชวนฟัง
    ๕. กลมกล่อม
    ๖. ไม่พร่าเลือน
    ๗. ซาบซึ้ง
    ๘. กังวาน
    เสียงที่พระสมณโคดม ใช้เพื่อทำให้บริษัทเข้าใจเนื้อความไม่กึกก้องแพร่ออกไปนอกบริษัท ครั้นเมื่อพระสมณโคดม สังสันทนาการชักชวนให้อาจหาญรื่นเริงด้วยธรรมิกถา
    บริษัทเหล่านั้น เมื่อลุกจากที่นั่งหลีกไปแล้ว ยังเหลียวมามองดูด้วยความไม่รู้สึกว่าอยากจะจากไป
    ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นพระสมณโคดม เมื่อเสด็จดำเนินไปยืนอยู่ เข้าไปบ้านเรือน นั่งสงบนิ่งในบ้านเรือน ฉันภัตตาหารในบ้านเรือนนั้นแล้วนั่งสงบนิ่ง ฉันแล้วอนุโมทนา เมื่อกลับสู่อาราม ถึงอารามแล้วนั่งสงบนิ่ง ถึงอารามแล้วแสดงธรรมแก่บริษัท พระสมณโคดม นั่นเป็นเช่นกล่าวมานี้ด้วยฯ

    นี่เป็นการแสดงความคิดเห็นของตนตามประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ของมาณพหนุ่มนามว่า อุตระ

    ก็แลในมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ มีอยู่ข้อหนึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระสุรเสียงดังเสียงพรหม ตรัสมีสำเนียงใสไพเราะดุจนกการเวก ย่อมสมจริงทุกประการดังนี้....

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> buddha(3).jpg </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน</CENTER>
    พระพุทธองค์ท่านทรงมีลักษณะของบุคคลผู้เป็นมหาบุรุษครบถ้วน ๓๒ ประการ หรือที่เรียกว่า มหาปุริสลักษณะ อันประกอบด้วย

    ๑. มหาบุรุษ มีพื้นเท้าสม่ำเสมอ
    ๒. มหาบุรุษ ที่ฝ่าเท้ามีจักรเกิดขึ้น มีซี่ตั้งพัน พร้อมทั้งกงและดุม
    ๓. มหาบุรุษ มีส้นเท้ายาว
    ๔. มหาบุรุษ มีข้อนิ้วยาว
    ๕. มหาบุรุษ มีลายฝ่าเท้าอ่อนละมุน
    ๖. มหาบุรุษ มีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจตาข่าย
    ๗. มหาบุรุษ มีข้อเท้าอยู่สูง
    ๘. มหาบุรุษ มีแข้งดุจแข้งเนื้อทราย
    ๙. มหาบุรุษ ยืนไม่ย่อตัวลง แตะเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง
    ๑๐. มหาบุรุษ มีองคชาติตั้งอยู่ในฝัก
    ๑๑. มหาบุรุษ มีสีกายดุจทอง คือมีผิวหนังดุจทอง
    ๑๒. มหาบุรุษ มีผิวหนังละเอียด ละอองจับไม่ได้
    ๑๓. มหาบุรุษ มีขนขุมละเส้น เส้นหนึ่ง ๆ อยู่ขุมหนึ่ง ๆ
    ๑๔. มหาบุรุษ มีปลายขนช้อนขึ้น สีดุจดอกอัญชัน ขึ้นเวียนขวา
    ๑๕. มหาบุรุษ มีกายตรงดุจกายพรหม
    ๑๖. มหาบุรุษ มีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง (คือหลังมือหลังเท้าบ่อคอ)
    ๑๗. มหาบุรุษ มีกายข้างหน้า ดุจราชสีห์
    ๑๘. มหาบุรุษ มีหลังเต็ม (ไม่มีร่องหลัง)
    ๑๙. มหาบุรุษ มีทรวดทรงดุจต้นไทร กายกับวาเท่ากัน
    ๒๐. มหาบุรุษ มีคอ กลมเกลี้ยง
    ๒๑. มหาบุรุษ มีประสาทรับรสอันเลิศ
    ๒๒. มหาบุรุษ มีคางดุจราชสีห์
    ๒๓. มหาบุรุษ มีฟัน ๔๐ ซี่บริบูรณ์
    ๒๔. มหาบุรุษ มีฟันเรียบเสมอ
    ๒๕. มหาบุรุษ มีฟันสนิท (ชิด)
    ๒๗. มหาบุรุษ มีลิ้น (ใหญ่และยาว) เพียงพอ
    ๒๘. มหาบุรุษ มีเสียงดุจเสียงพรหม พูดเหมือนนกการเวก
    ๒๙. มหาบุรุษ มีตาเขียวสนิท (ตานิล)
    ๓๐. มหาบุรุษ มีตาดุจตาวัว
    ๓๑. มหาบุรุษ มีอุณาโลมหว่างคิ้ว ขาวอ่อนเหมือนสำลี
    ๓๒. มหาบุรุษ มีศีรษะรับกับกรอบหน้า

    พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่นได้เลย คือ ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรอันมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการคือ
    ๑. จักรแก้ว
    ๒. ช้างแก้ว
    ๓. ม้าแก้ว
    ๔. แก้วมณี
    ๕. นางแก้ว
    ๖. คฤหบดีแก้ว
    ๗. ปริณายกแล้ว
    พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปร่างสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีทหารของข้าศึกได้ พระองค์ทรงมีชัยชนะโดยธรรม มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่มีหลักตอ ไม่มีเสี้ยนหนาม มีความมั่งคง เบิกบาน เกษม ร่มเย็น ปราศจากเสนียดคือ โจร ทรงครอบครองโดยธรรม อันสม่ำเสมอ มิได้ใช้อาชญาและศาสตรา
    แต่หากพระมหาบุรุษนี้ ถ้าเสด็จออกบวชเป็นบรรพชิต ก็จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก.....
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระผู้ทรงสวัสดิโสภาคย์

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระวรกายและพระรูปพระโฉมงามสง่าหล่อเหลาจับตาจับใจหาที่เปรียบมิได้เป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดที่ว่าผู้ชายบางคนเห็นพระองค์แล้วหลงรักถึงกับออกบวชเพื่อที่จะได้มีเวลาชมพระสิริโฉมตลอดเวลาก็เคยมี ดังเรื่องของ
    พระวักกลิ ที่ภายหลัง พระพุทธองค์ทรงโปรดจนได้สำเร็จธรรมขั้นสูงสุด เป็นพระอรหันต์มหาสาวกเอตทัคคะฝ่าย สัทธาธิมุติ(หลุดพ้นด้วยศรัทธา)เป็นต้นฯ
    ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่บางท่าน เมื่อเห็นพระพุทธองค์แล้ว ก็ถูกอกถูกใจเป็นนักเป็นหนา ถึงกับจะยกลูกสาวให้วิวาหะด้วยก็มี ต่อเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมชี้แนะแล้ว จึงได้เข้าใจและยุติความตั้งใจนั้นๆไป....
    ครั้งหนึ่ง จังกีพราหมณ์ได้กล่าวชื่นชมความสิริโสภาคย์ของพระพุทธองค์ทีเดียวว่า
    "พระสมณโคดม มีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก วรรณะและสรีระดุจดั่งพรหม น่าดูน่าชมนักหนา.." <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> buddha(5).jpg </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>ทรงคุณเป็นที่ชอบใจ</CENTER>

    คนดีนั้นใคร ๆ ก็รัก อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย แม้แต่เทวดาก็ชอบ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพได้ถามพวกเทวดาชั้นดาวดึงษ์ว่า
    "ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยากจะฟังพระคุณ ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามที่เป็นจริงไหม"
    เทวดาเหล่านั้นได้กล่าวรับคำว่า อยากจะฟัง
    ท้าวสักกะได้กล่าวประกาศพระคุณ ๘ ประการของพระพุทธองค์ไว้ดังนี้

    ๑. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความเอ็นดูต่อโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ เราไม่เห็นประศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้เลย ในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็นนอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

    ๒. พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสดีแล้ว เป็นธรรมอันผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้แสดงธรรมที่ควรน้อมเข้ามาสู่ตนอย่างนี้เลย ในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

    ๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติดีแล้วว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล นี้ประกอบด้วยโทษ นี้ไม่ประกอบด้วยโทษ นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้ประกอบด้วยการแบ่งแยกเป็นธรรมดำธรรมขาว เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้บัญญัติแล้วซึ่งธรรม โดยความเป็นกุศล อกุศล เป็นต้น อย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

    ๔. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัตินิพพานคามีนีปฏิปทาแก่สาวก เป็นอย่างดีแล้ว นิพพานและปฏิปทาย่อมกลมกลืนกัน เปรียบเสมือนน้ำในแม่น้ำคงคากับน้ำในแม่น้ำยมุนาย่อมไหลกลมกลืนเสมอกัน เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองคคุณแม้อย่างนี้ ผู้บัญญัติปฏิปทา เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพานอย่างนี้เลย ในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

    ๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้ซึ่งสหายเป็นผู้ปฏิบัติในระดับพระเสขะและผู้อยู่จบพรหมจรรย์สิ้นอาสวะ : เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงละจากหมู่แล้ว ประกอบความยินดีในการอยู่พระองค์เดียวอยู่ เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้ประกอบความยินดีในการอยู่ผู้เดียวอย่างนี้เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผุ้มีพระภาคพระองค์นั้น.

    ๖. ลาภและเสียงสรรเสริญ ได้พรั่งพร้อมแก่พระผู้มีพระภาคอย่างเดียวกันกับที่พวกกษัตริย์เขาพอใจกันอยู่ แต่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ปราศจากความมัวเมา เสวยพระกระยาหาร เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้เสวยพระกระยาหารอยู่โดยปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ เลยในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

    ๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรตรัสอย่างนั้น : เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่าเป็นผู้ยถาวาทีตถาการี ยถาการีตถาวาที เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้วอย่างนี้เลย ในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็น นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

    ๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ปราศจากความสงสัยว่าอะไรเป็นอะไร มีความดำริประสบความสำเร็จแล้ว ถึงกับมีอาทิพรหมจรรย์เป็นอัธยาศัย เราไม่เห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้อย่างนี้ ผู้มีอาทิพรหมจรรย์เป็นอัธยาศัยอย่างนี้เลย ในอดีตกาล แม้ในกาลนี้ก็ไม่เคยเห็นนอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น


    ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้กล่าวประกาศพระคุณของพระผู้มีพระภาคตามที่เป็นจริงแก่เทวดาชั้นดาวดึงษ์ ๘ ประการเหล่านี้แล้ว พวกเทวดาพากันยินดีปรีดา ส่งเสียงกึงก้อง, บางพวกร้องขึ้นว่า อยากจะให้มีพระพุทธเจ้าอย่างนี้เกิดขึ้นในโลกสัก ๔ องค์, บางพวกร้องว่า อยากให้เกิดขึ้นสัก ๓ องค์,บางพวกว่า อยากให้เกิดขึ้นสัก ๒ องค์
    แต่ท้าวสักกะอธิบายให้ฟังว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นในโลกพร้อมคราวเดียวกันเกินกว่า ๑ องค์ฯ
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ที่กล่าวว่า "พระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หาประมาณมิได้" อาจจะพิจารณาโดยสังเขปได้จากระยะเวลาอันยืดยาวนานสุดประมาณที่ต้องทรงอดทนสร้างพระบารมีวัฏสงสารเป็นหนักหนา สุดที่สามัญสัตว์ใดจะพึงอดพึงทนจนตลอดรอดฝั่งได้ ดังนี้... <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> untitled10.gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กถาพรรณาเรื่องกัลป์

    นี้ไปข้าพเจ้า จักเริ่มกถาพรรณนาเรื่องกัลป์
    ชื่อต่อจากว่ากัลป์ มี๒อย่างคือ สุญญกัลป์๑ อสุญญกัลป์๑ บรรดากัลป์ทั้ง๒นั้น ในสุญญกัลป์ทั้งหลายพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธจ้า พระขีณาสพแลพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย จะไม่อุบัติขึ้น เพราะเหตุนั้น กัลป์นั้นจึงเรียกว่า สุญญกัลป์ เพราะว่างเว้นจากบุคคลผู้มีคุณ

    อสุญญกัลป์ มีู ๕ อย่างคือ สารกัลป์๑ มัณฑกัลป์๑ วรกัลป์๑ สารมัณฑกัลป์๑ ภัททกัลป์๑

    บรรดากัลป์ทั้ง ๕ นั้น กัลป์ที่ว่างจากคุณ หรือเว้นจากคุณ เรียกว่า สารกัลป์ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้สร้างคุณสาระ คือยังคุณความดีให้เกิดขึ้น ปรากฏพระองค์เดียว

    แต่ว่าในกัลป์ใด พระผู้นำของโลกเสด็จอุบัติขึ้น ๒พระองค์ กัลป์นั้นเรียกว่า มัณฑกัลป์
    แต่ว่าในกัลป์ใด พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๓ พระองค์ ในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง๓พระองค์นั้น พระพุทธเจ้าองค์ที่๑ จะพยากรณ์พระโลกนาถองค์ที่๒
    พระโลกนาถองค์ที่๒ จะพยากรณ์พระโลกนาถองค์ที่๓ ในกัลป์นั้นมนุษย์ทั้งหลายมีใจร่าเริงเบิกบาน อ้อนวอน ปรารถนาตามปณิธานที่ตนปรารถนาไว้ เพราะเหตุนั้น กัลป์นั้น จึงเรียกว่า วรกัลป์
    แต่ว่าในกัลป์ใด พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๔ พระองค์ กัลป์นั้นเรียกว่า สารมัณฑกัลป์ เพราะวิเศษกว่ากัลป์ต้น
    แต่ว่าในกัลป์ใด พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๕ พระองค์ กัลป์นั้นเรียกว่า ภัททกัลป์

    ก็ภัททกัลป์นั้น หาได้ยากอย่างยิ่ง แต่ในกัลป์นั้น สัตว์โดยมาก จะมากด้วยความดีและความสุข โดยมากสัตว์ทั้งหลายจะเป็น ติเหตุกะ ทำกิเลสให้สิ้นไปได้ สัตว์ที่เห็น
    ทุเหตุกะ ก็จะไปสู่สุคติ ฝ่ายสัตว์ที่เป็นอเหตุกะ ก็จะกลับได้เหตุ เพราะฉะนั้น กัลป์นั้น
    เรียกว่า ภัททกัลป์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชื่อของกัลป์มี๒ คือ สุญญกัลป์๑ อสุญญกัลป์๑ อสุญญกัลป์ มี๕ส่วน กัลป์ที่เหลือ ชื่อว่า สุญญกัลป์ ในอสุญญกัลป์
    ท่านประกาศกัลป์ไว้ ๕ กัลป์ คือ สารกัลป์๑ มัณฑกัลป์๑ วรกัลป์๑ สารมัณฑกัลป์๑
    ภัททกัลป์๑
    ในสารกัลป์มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเสด็จอุบัติขึ้น
    ในมัณฑกัลป์มีพระชินเจ้า ๒พระองค์ เสด็จอุบัติขึ้น
    ในวรกัลป์มีพระพุทธเจ้า๓พระองค์ เสด็จอุบัติขึ้น
    ในสารมัณฑกัลป์มีพระพุทธเจ้า๔พระองค์ เสด็จอุบัติขึ้น
    ในภัททกัลป์มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์เสด็จอุบัติขึ้น
    พระชินเจ้าที่มีจำนวนมากกว่า ๕ พระองค์นั้น(ในกัลป์หนึ่ง)ไม่มีเลย

    กถาพรรณนาเรื่องกัลป์พึงทราบว่า จบบริบูรณ์ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้

    ที่มา, เวปลานธรรม <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ครั้งหนึ่ง ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้นได้ตามไประลึกถึง พระพุทธคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นพระสารีบุตรได้เกิดความอัศจรรย์ใจว่า พระสัพพัญญูคุณนั้นเป็นอจินไตย ไม่มีข้อกำหนด มีอานุภาพมาก พระสัพพัญญูคุณเหล่านี้ เป็นโคจรแห่งพุทธญาณอย่างเดียวเท่านั้น โดยประการทั้งปวง มิได้เป็นโคจรแก่ผู้อื่นเลย

    พระพุทธคุณอันมีอานุภาพเป็นอจินไตยมีอาทิอย่างนี้คือ
    1. ศีลคุณ
    2. สมาธิคุณ
    3. ปัญญาคุณ
    4. วิมุตติคุณ
    5. วิมุตติญาณทัสสนคุณ
    6. หิริโอตตัปปะ
    7. ศรัทธา
    8. วิริยะ
    9. สติสัมปชัญญะ
    10. ศีลวิสุทธิ
    11. ทิฏฐิวิสุทธิ
    12. สมถะ
    13. วิปัสสนา
    14. กุศลมูล ๓
    15. สุจริต ๓
    16. สัมมาวิตก ๓
    17. อนวัชชสัญญา ๓ (สัญญาที่ไม่มีโทษ)
    18. ธาตุ ๓
    19. สติปัฏฐาน ๔
    20. สัมมัปปธาน ๔
    21. อิทธิบาท ๔
    22. อริยมรรค ๔
    23. อริยสัจ ๔
    24. ปฏิสัมภิทา ๔
    25. โยนิปริจเฉทกญาณ ๔ (ญาณกำหนดกำเนิด)
    26. อริยวงศ์ ๔
    27. เวสารัชชญาณ ๔
    28. ปธานิยังคะ ๕ (องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร)
    29. สัมมาสมาธิมีองค์ ๕
    30. อินทรีย์ ๕
    31. พละ ๕
    32. นิสสรณิยธาตุ ๕ (ธาตุนำออกไป )
    33. วิมุตตายตนญาณ ๕ (ญาณมีอายตนะพ้นไปแล้ว)
    34. วิมุตติปริปาจนียธรรม ๕ (ธรรมอันเป็นความงอกงามแห่งวิมุติ)
    35. สาราณิยธรรม ๖
    36. อนุสสติ ๖
    37. คารวะ ๖
    38. นิสสรณิยธาตุ ๖
    39. สัตตวิหารธรรม ๖ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนื่องๆ)
    40. อนุตตริย ๖
    41. นิพเพธภาคิสัญญา ๖ (สัญญาอันเป็นส่วนแทงตลอด)
    42. อภิญญา ๖
    43. อสาธารณญาณ ๖
    44. อปริหานิยธรรม ๗
    45. อริยทรัพย์ ๗
    46. โพชฌงค์ ๗
    47. สัปปุริสธรรม ๗
    48. นิททสวัตถุ ๗ (เรื่องชี้แจง)
    49. สัญญา ๗
    50. ทักขิไณยบุคคลเทศนา ๗
    51. ขีณาสวพลเทศนา ๗ (การแสดงถึงกำลังของพระขีณาสพ)
    52. ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา ๘ (การชี้แจงถึงเหตุได้ปัญญา)
    53. สัมมัตตะ ๘
    54. การก้าวล่วงโลกธรรม ๘
    55. อารัมภวัตถุ ๘ (เรื่องปรารภ)
    56. อักขณเทศนา ๘ (การแสดงแบบสายฟ้าแลบ)
    57. มหาปุริสวิตก ๘
    58. อภิภายตนเทศนา ๘ (การแสดงอายตนะของท่านผู้เป็นอภิภู)
    59. วิโมกข์ ๘
    60. โยนิโสมนสิการมูลกะ ๙ (ธรรมเป็นมูลแห่งโยนิโสมนสิการ)
    61. ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙ (องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรอันบริสุทธิ์)
    62. สัตตาวาส ๙
    63. อาฆาตปฏิวินัย ๙ (การกำจัดความอาฆาต)
    64. ปัญญา ๙
    65. นานัตตเทศนา ๙ (การแสดงความต่างกัน)
    66. อนุปุพพวิหารธรรม ๙
    67. นาถกรณธรรม ๑๐
    68. กสิณายตนะ ๑๐
    69. กุศลกรรมบถ ๑๐
    70. สัมมันตะ ๑๐
    71. อริยวาสะ ๑๐
    72. อเสกขธรรม ๑๐
    73. รตนะ ๑๐
    74. ตถาตคพล ๑๐
    75. เมตตานิสสังสะ ๑๑ (อานิสงส์เมตตา)
    76. อาการของธรรมจักร ๑๒
    77. คุณธุตังคะ ๑๓
    78. พุทธญาณ ๑๔
    79. วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕
    80. อานาปานัสสติ ๑๖
    81. อปรัมปริยธรรม ๑๖ (ธรรมที่ไม่เป็นปรัมปรา)
    82. พุทธธรรม ๑๘
    83. ปัจจเวกขณญาณ ๑๙
    84. ญาณวัตถุ ๔๔
    85. อุทยัพพยญาณ ๕๐
    86. กุศลธรรมเกิน ๕๐
    87. ญาณวัตถุ ๗๗
    88. มหาวชิรญาณอันเป็นจารีต ร่วมกับสมาบัติสองล้านสี่แสนโกฏิและเทศนญาณเป็นเครื่องค้นคว้าและพิจารณา
    89. สมันตปัฏฐาน อันมีนัยไม่มีที่สุด
    90. อาสยาทิญาณ - ญาณประกาศ

    อัธยาศัยเป็นต้นของส้ตว์ไม่มีที่สุด ในโลกธาตุ อันหาที่สุดมิได้ของ
    พระปัญญาธิกสัมสัมพุทธเจ้า อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น
    พระสารีบุตรนั้น เมื่อท่านตามระลึกถึงพระพุทธคุณก็มิสามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดได้ ความอัศจรรย์ในพุทธคุณอันเป็นอจินไตย ได้เกิดขึ้นในครั้งนั้นอันพระสัพพัญญูคุณเหล่านี้เป็นโคจรแห่งพุทธญาณอย่างเดียวเท่านั้นโดยประการทั้งปวง สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    "แม้พระพุทธเจ้าก็กล่าวคุณของพระพุทธเจ้าและหากแม้ว่ากล่าวถึงพระพุทธคุณแม้ตลอดกัปป์ กัปป์พึงเสื่อมสิ้นไปในระหว่างเวลายาวนานนั้นก่อน แต่พระคุณของพระตถาคต หาได้สิ้นไปไม่"

    <!--emo&:63:--><!--endemo--><!--emo&:63:--><!--endemo-->อ้างอิงและที่มา

    ปรมัตถทีปนีอรรถกถาจริยาปิฎก ในขุททกนิกาย

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellPadding=0 width=550><TBODY><TR><TD vAlign=top>"...เพราะค่าที่พวกเราได้นำเอาหลักคำสอนของพระองค์มาใช้ในชีวิตจริง พวกเราจึงควรถวายการอภิวาทสดุดีแต่พระองค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมครูของมวลมนุษย์ ตลอดเวลาที่โลกนี้ยังดำรงอยู่ ข้าพเจ้ามั่นใจอย่างไม่หลงเหลือความเคลือบแคลงเลยแม้แต่น้อยว่า พระองค์จะทรงดำรงฐานะปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ.."
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    มหาตมะ คานธี
    ใน "สุนทรพจน์ในพิธีพุทธชยันตี" ปี พ.ศ. 2496 เมืองกัลกัตตา อินเดีย ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> MSG-0608080855237071(5)(6).gif </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellPadding=0 width=550><TBODY><TR><TD vAlign=top>"...พระพุทธเจ้า โอรสแห่งภารตประเทศ เป็นผู้รุ่งโรจน์ที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุดและชาญฉลาดที่สุด ในโลกแห่งความขัดแย้ง เกลียด และเบียดเบียนกันนี้ พระธรรมคำสอนของพระองค์จึงเปล่งรัศมีเป็นประกาย ดั่งพระอาทิตย์ทรงกลด ฉะนั้น..."
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ฯพณฯ ยวาหรลาล เนห์รู อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellPadding=0 width=550><TBODY><TR><TD vAlign=top>"...พระพุทธเจ้าคือ กลุ่มก้อนแห่งคุณงามความดีทั้งหมด ซึ่งพระองค์เองได้เทศนาสั่งสอนตลอดช่วงเวลา 45 พรรษา แห่งการประการพรหมจรรย์อย่างสัมฤทธิ์ผล และน่าสังเกตนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงนำเอาพระดำรัสทั้งหมดปรับปรุงไปสู่การกระทำจริง ไม่มีที่ใดเลย ที่พระพุทธองค์จะเปิดช่องให้กับความอ่อนแอ หรือกิเลสของมนุษย์ ดังนั้น หลักการทางศีลธรรมของพระพุทธเจ้าจึงสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ชาวโลกเคยประสบมา้..."
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ศาสตราจารย์ แมกซ์ มีลเลอร์,
    นักภารตวิทยาคนสำคัญชาวเยอรมัน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    คำที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า
    พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย
    สิทธัตถะหมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ
    พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
    ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย 8 อย่างคือ
    1. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น
    2. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
    3. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ
    4. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น
    5. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น
    6. พระผู้ตรัสอย่างนั้น
    7. พระผู้ทำอย่างนั้น
    8. พระผู้เป็นเจ้า
    ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
    ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย
    ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม
    ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม
    ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม
    ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
    บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู
    พระผู้มีพระภาคเจ้า
    พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
    พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง
    พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม
    มหาสมณะ
    โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก
    สยัมภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน
    สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
    พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กำลังพระวรกายของพระตถาคต
    พึงทราบโดยทำนองแห่งสกุลช้าง สมดังคาถาประพันธ์ที่โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า

    สกุลช้าง ๑๐ สกุลนี้คือ กาฬาวกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑ อุโบสถ ๑ ฉัททันตะ ๑.

    ก็สกุลแห่งช้าง ๑๐ สกุลเหล่านี้. สกุลกาฬาวกหัตถี พึงเห็นว่าเป็น สกุลช้างธรรมดา.

    กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คนเท่ากับกำลังช้างกาฬาวกะ ๑ เชือก.
    กำลังของช้างกาฬาวกะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างคังเคยยะ ๑ เชือก.
    กำลังช้างคังเคยยะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างปัณฑระ ๑ เชือก.
    กำลังช้างปัณฑระ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างตัมพะ ๑ เชือก.
    กำลังช้างตัมพะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างปิงคละ ๑ เชือก.
    กำลังช้างปิงคละ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างคันธะ ๑ เชือก.
    กำลังช้างคันธะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างมังคละ ๑ เชือก.
    กำลังช้างมังคละ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างเหมวัต ๑ เชือก.
    กำลังช้างเหมวัต ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างอุโบสถ ๑ เชือก.
    กำลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างฉัททันตะ ๑ เชือก.
    กำลังช้างฉัททันตะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังพระตถาคต ๑ พระองค์.

    ช้างฉัททันต์ ๑๐ เชือก เท่ากับ ช้างอุโบสถ ๑๐๐ เชือก,ช้างเหมะ ๑,๐๐๐ เชือก,ช้างมงคล ๑๐,๐๐๐ เชือก,ช้างคันธะ ๑๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างปิงคละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างตามพะ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างปัณฑระ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างคังไคย ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างกาฬาวกะ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,บุรุษ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน.

    ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถาทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

    “กำลัง (ของพระตถาคต) นี้นั้น เป็นกำลังของช้างหนึ่งหมื่นล้านเชือกโดยการนับช้างธรรมดา,เป็นกำลังของบุรุษหนึ่งแสนล้านคนโดยการนับบุรุษ.”

    อ้างอิงจาก
    1. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159
    2. คัมภีร์ จักรวาฬทีปนี <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>พระพุทธฉัพพรรณรังสี</CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>ในพระธัมมสังคณีภาคหนึ่งเล่มที่ ๑ คัมภีร์ที่ ๑ ในพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ บรรยายว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง เริ่มตั้งแต่พระคัมภีร์ที่ ๑ - ๖ เป็นการแสดงให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของปรมัตถธรรมทั้งปวง ระยะนั้นไม่มีความพิศดารแปลกประหลาด
    แต่เมื่อทรงแสดงคัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน อันเป็นพระอภิธรรมประเสริฐยิ่ง ทรงปลื้มปิตี ยินดีอย่างล้นพ้น เกิดพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมนั้นอยู่ถึง ๗ วัน ด้วยสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ทุก ๆ พระองค์

    ฉัพพรรณรังสีมี ๖ สี คือ สีเขียว ขาว แดง เหลือง ม่วง และประภัสสร (เลื่อมพราย) ท่านอุปมาว่า


    สีเขียว - นิลกะ สีเขียวเข้มเหมือนดอกอัญชัน ดอกสามหาว กลีบบัวเขียวที่ซ่านออกไปจากพระเกสา คือ ผม และพระมัสสุ (หนวด) ออกมาจากสีเขียวแห่งพระเนตรทั้งสอง

    สีขาว - โอทา
    ตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน เหมือนน้ำนม และดอกโกมุท ดอกย่านทรายและมลิวัลย์ ซ่านออกมาจากพระอัฐิ (กระดูก) พระทนต์ (ฟัน) และสีขาวออกจากพระเนตรทั้งสอง

    สีแดง - โลหิต แดงเหมือนสีตะวันทอง สีผ้ากัมพล ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองกวาว ดอกชบา ที่ออกมาจากพระมังสะ (สีเนื้อ) พระโลหิต (สีเลือด) ซ่านออกมาจากพระเนตรทั้งสอง

    สีเหลือง - ปิตะ สีเหมือนแผ่นทองคำ สีเหลืองเหมือนผงขมิ้น ดอกกรรณิการ์ที่ซ่านออกมาจากพระฉวีวรรณ(ผิว)

    สีม่วง - มันชิถะ เหมือนสีเท้าหงส์ที่เรียกว่า หงสบาท สีดอกหงอนไก่ สีม่วงแดง ที่ซ่านออกมาจากพระสรีระ (ร่างกาย)

    สีประภัสสร
    - สีเลื่อมพราย เหมือนสีแก้วผลึกที่เรียกว่า สีเลื่อมประภัสสร ออกมาจากพระสรีระเช่นกัน
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ฉัพพรรณรังสีที่ซ่านออกมาหลังจากทรงพิจารณาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์มาถึงคัมภีร์มหาปัฏฐาน ในเบื้องต้นฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกายไปสู่เบื้องล่าง

    จากมหาปฐพีใหญ่ อันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ รัศมีเหล่านั้นลอดทะลุแผ่นดิน ลงไปจับน้ำในแผ่นดินหนาถึงสี่แสนแปดหมื่นโยชน์ รัศมีเหล่านั้นเมื่อเจาะทะลุลมแล้ว แล่นลงไปสู่อัชฎากาส อากาศว่าง ๆ ภายใต้ลม


    ฉัพพรรณรังสีที่แผ่ไปสู่เบื้องบนแผ่ไปตั้งแต่มนุษย์และเทวภูมิ ๖ คือ จากนั้นแผ่ไปยังพรหมโลก ตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชชา จนถึงชั้นสุทธาวาส ๕ แล้วแล่นไปสู่อัชฎากาส

    ฉัพพรรณรังสีที่ไปสู่เบื้องขวาอันหาที่สุดมิได้ ไม่มีรัศมีใด ๆ ที่เทียบเท่าได้เลย แม้รัศมีของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และเทวดาทั้งหลายก็สู้ไม่ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...