แน่ใจหรือว่า การกำหนดรู้ นั้นเป็นหนทางที่ผิด ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dokai, 30 เมษายน 2009.

  1. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    สมัยนี้ มักจะ มีผู้กล่าวอ้างว่า การกำหนดนั้นผิด จงใจ มีเจตนาก็ผิด ต้องปล่อยให้ รู้ สติจะเกิดบังคับไม่ได้ ใครไปบังคับผิด ต้องให้เกิดเอง มันก็จริงว่าสติเป็นไปโดยปัจจัย แต่ฟันธงว่า อะไรกำหนดมันผิดหมด จงใจเดี่ยวก็เป็นสมถะ เออกันว่าเข้าไปโน้น แนวทางใด ๆ มัน ก็สามารถมีทั้งคนทำได้ถูกต้อง และ ทำผิดได้ทั้งนั้น แต่การจะเล่นเอาว่าอะไรที่ไม่ตรงของพวกตนนั้น ผิดหมด บอกตามตรง เสียวไส้แทนดีแท้

    มันก็แปลกดี แต่สิ่งที่ พยายามกล่าวอ้างกันนั้น มันขัดกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนยังไง ลองดู เนื้อหาในพระไตรปิฏก นี้ ดู ว่า ท่านสอนอะไร ส่วนใหญ่ ทำก็สอนให้ ทำนั้นแหละ ไม่เห็นบอกว่า รอให้มันเกิดเอง สอนให้ ทำทั้งนั้น แล้วลองดู ข้อความ วรรค สุดท้าย ว่า พระองค์กล่าวว่าอย่างไร

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แลชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ"

    ไตร่ตรองพิจารณากันเองนะครับ ดูที่ ไฮไลท์ตัวดำทั้งหมด ว่าส่วนใหญ่ก็ต้องกำหนดรู้ หรือรู้ชัด ถ้ายังไม่พอใจ ลองไป กด หาคำว่า กำหนดรู้ ในพระไตรปิฏกดูว่า มีมากน้อยยังไงกัน


    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร<O:p></O:p>
    เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้ สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่งในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลสหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แลชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>อ้างอิง พระไตรปฏก เล่ม 14 ข้อ 287- 289<O:p></O:p>
     
  2. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    อ่านไม่ออก ตาลายตัวมันเล็กไปหน่อย
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การจะกล่าวว่า อะไรคือ พุทธพจน์ แท้จริงแล้ว เราต้องควานหา ค้นคว้าที่ภาษา มคธ

    แต่ภาษาที่เป็นภาษา มคธ นั้นไม่มีการทำเผยแผ่ มักปรากฏอยู่แต่ตามหลักศิลาประเภทต่างๆ

    ภาษาที่ใช้อ่านถัดจากภาษา มคธ จึงเป็นภาษา บาลี สันสกฤษ ซึ่งการรักษาธรรมะส่วน
    นี้จะเรียกว่า คันธุระ คือ คอยศึกษา จดจำ อักขรวิธี ในการใช้ภาษา บาลี สันสกฤษ แล้ว
    ผู้ที่เรียนจบ ก็จะมี เปรียญธรรม ประโยค 1-9 ตามลำดับ ซึ่ง อักษรตัวเดียว ก็มีความ
    หมาย ( บุคคลในสัมยพุทธกาล คนที่เรียกอักขรวิธีได้คือ วรรณะพราหมณ์ ในชนชั้น
    ปกครอง : หากเป็นวรรณะอื่น ไปเรียนอักขรวิธีจะถูกประหาร )

    หลังจากนั้นก็จะมีอีกหลายครั้ง ที่ตำราดั้งเดิมได้ถูกคัดลอกใหม่ แต่ธรรมชาติอย่างหนึ่ง
    ของผู้คัดลอกก็จะเพิ่มเติม ลดทอนบางส่วน

    หลังจากผู้คัดลอก ก็จะมาถึงผู้ถอดความ เพื่อให้บุคคลในท้องถิ่นอ่านออก ก็มักจะลดละ
    ตัดทอน และเพิ่มเติม หรือดัดแปลงไปตามความเข้าใจ

    การที่เราอ่านพระไตรปิฏกภาษาไทย แล้วเที่ยวกล่าวว่า นั่นคือ พุทธพจน์ จึงเป็นเรื่องที่
    ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้ง

    สำหรับคำว่า กำหนด เป็น ภาษาเขมร คนยุคใหม่เข้าใจไปในทาง กำหนดตายตัว ให้ทำ
    ตามนี้อย่าทำอย่างอื่น อันเป็นพื้นฐานของคนไทย จึงมักไปผูกกับคำว่า เพ่ง จ้อง กดข่ม
    จี้เข้าไป ตัดเข้าไป

    แต่ในอีกลักษณะหนึ่ง ของการใช้คำว่า กำหนด ก็คือ เป็นเพียงวลีบอกขอบเขต ไม่ได้
    หมายจะระบุตายตัว แต่ใช้เพื่อบอกขอบเขตรวมๆเท่านั้น เช่น กำหนดอาณาเขต
    ประเทศ ซึ่งมักจะไม่ใช่การจี้ลงไปเป็นจุด จะกระทำลงเป็นจุดลงไปได้ต้องผ่านข้อ
    ตกลงและพิธีการมากมาย บางทีก็แลกกับการได้มาซึ่งสิ่งแลกเปลี่ยน หรือ ความเข้า
    ใจเฉพาะกาล แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะหมายถึงขอบเขตกว้างเท่านั้น

    ดังนั้น คำว่า กำหนดการรู้ในกองลม ก็หมายถึง จำกัดขอบเขตในการรู้ลงที่ลม แต่ใน
    ทางปฏิบัติจะมีการเคลื่อนไหวของจิตไปรู้อย่างอื่น หากทำอรัมณปณิชฌาณเราก็จะ
    รู้ลงไปที่กองลมอย่างเดียว เพราะต้องอาศัยรูปในการยึด แต่ถ้าเป็นการทำลัก
    ขณูปณิชฌาณ การกำหนดรู้กองลมจะไม่ใช่การจี้ลงไปที่ลม แต่เป็นเพียงให้มารู้ลม
    คอยสลับกับการรู้อย่างอื่น แต่ให้รู้ชัดเป็นหลักไว้ที่การรู้ลม เหมือนเราตีแบท ก็ให้
    กำหนดเขตกลางคอร์ตในการกลับที่ตั้ง แต่ไม่ได้แปลว่าไม่ให้ออกไปจากจุดกลาง

    แต่เป็นไปในแบบแฉลบซ้ายออกไปตี ก็ให้กลับเข้ามา แฉลบขวาทีก็ให้กลับเข้ามา
    แม้อยู่ตรงกลางก็ต้องเต้นเอาไว้ให้รู้ชัดว่ายังอยู่ตรงกลาง ไม่เน้นการ นิ่งจมแช่ที่เรียก
    ว่า ขาตาย เป็นต้น นี่คือลักษณะที่ใกล้เคียง การทำลักขณูปณิชฌาณ หรือการวิปัสสนา
    ยกปัญญา

    ดังนั้น คำว่ากำหนด มีรากฐานมาจาก อักขรเดิมอย่างไร คงต้องสืบ หากสืบไม่ได้ เรา
    ต้องน้อมมาปฏิบัติเพื่อให้รู้ และตรวจสอบตำรานั้น ไม่เชื่อโดยทันทีลำพังตามแต่ตัว
    อักขระที่ปรากฏ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2009
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้ที่อ่านพระไตรปิฎกเอง แล้วสามารถเข้าใจความหมายได้ถูกต้องตรงความเป็นจริง
    ตรงตามความหมายที่พระพุทธองค์สอนไว้ หาได้น้อยยิ่งกว่าน้อย และถ้ามีบารมีระดับหนึ่ง
    ที่พร้อมจะบรรลุธรรมแล้วได้อ่าน1พระธรรมขันธ์ที่ตรงจริตตน จึงมีโอกาสเข้าใจตรงตามที่
    พระพุทธองค์สอนไว้และมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมได้จากการได้อ่านฟังพระไตรปิฎก
    เป็นเรื่องที่พิสดาร เกินกว่าปุถุชนคนมีจิตอวิชชาอย่างเราจะเข้าใจได้

    หากผู้ใดบรรลุธรรมมีจักษุธรรมบังเกิด มีสัมมาทิฏฐิ ละทิฏฐิความเห็นในตนได้สิ้นเชิง
    เมื่อได้อ่านพระไตรปิฎก ย่อมเข้าใจความหมายตรงตามจริง เหมือนที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

    หากเรายังเป็นปุถชน คนมีทิฏฐิ ยังละทิฏฐิความเห็นส่วนตนไม่ได้ อ่านพระไตรปิฎก ก็เข้าใจ
    ได้แต่ในความคิดตน หาได้รู้ตรงความหมายตามจริงนั้น แม้ผู้รจนาใหม่เพิ่มเติมท่านทรง
    ภูมิธรรมระดับอรหันต์ เราอ่านของท่านก็ยังไม่แน่ว่าจะรู้ได้ตรงกับที่ท่านต้องการจะสื่อสาร
    เป็นเรื่องที่พิศดารยากที่เข้าใจได้ด้วยความคิดความอ่านของปุถุชน คนที่ยังไม่พ้นคิดจะไป
    รู้ได้ หนทางการปฏิบัติธรรมจึงต้องอาศัยผู้รู้ธรรม มีจักษุธรรมชี้แนะให้เข้าใจ จึงมีโอกาส
    ได้ทำความเข้าใจ ได้ตรงความหมาย ความรู้ในธรรมเกิดได้จากการปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้ถูก
    แล้วมาอ่านจึงมีโอกาสที่จะรู้และเข้าใจความหมายที่ถูกตามจริง เมื่อสอบด้วยผลการปฏิบัติ
    จึงจะรู้ว่า ที่อ่านไปเข้าใจถูกหรือไม่ถูก พระพุทธศาสนาจึงไม่ใช่เรื่องของการอ่านและตี
    ความตามความคิด ถ้ายังคิด ยังละทิฏฐิความเห็นในตนไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเชื่อตนเอง ว่าสิ่ง
    ที่อ่านแล้วเข้าใจนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

    หลัก กาลามสูตรสอนไว้ว่า อย่าเชื่อในสิ่งต่างๆ ที่รับรู้มาในทันที ขอให้พิสูจน์จนได้รู้
    ความจริง ค่อยเชื่อว่าเป็นจริง
     
  5. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    อึม สงสัยเป็นนักแบท ว่างตีกันหน่อย ชวนตีแบท นะ ไม่ได้ชวนตีกัน หึ ๆ

    สิ่งที่กล่าวมานั้น มันจะเป็นอย่างไร ก็ตามแต่ นัยยะสาระสำคัญ มัน อยู่ที่เจตนา จะเรียกว่า ระลึกรู้ เฝ้าดู เฝ้ารู้ หรือ รู้เฉย ๆ มันมีเจตนาด้วยกันทั่งนั้น ทั้งสิ้น เป็นสาระสำคัญ ส่วนตามนัยยะของ อภิธรรม ปรมัตธรรม นั้น สติ เกิดเป็นขณะ เกิดแล้วดับ มิอาจบังคับบัญชาให้ เกิด ได้ มันก็จริงอยู่ แต่ การจะกล่าวอ้างว่า โอย เจตนาไม่ได้ เป็นผิด อันนั้น นะ ควรพิจารณาให้ละเอียดรอบครอบ เสียหน่อยน่าจะดีกว่า การจะกระทำการสิ่งใด ๆ นั้น มันย่อมต้องมีเจตนาในการนั้น สิ่งนั้น ส่วน ผลจะเกิดได้ หรือมิได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่ เหตุปัจจัยอันถึงพร้อม การไม่ต้องมีเจตนาใด ๆ นี่สิ ลองไปนั่งเฉย วาง ๆไม่ต้องมีเจตนาใด้ แล้ว ปล่อย ให้ อะไรมันเกิดดู สิว่า มันทำได้จริง หรือ แม้นการเฝ้าดู มันก็ย่อมมีเจตนา อยุ่ที่ความพอดี ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไปข้างใดข้างหนึ่ง นั้นคือ ความสำคัญ
    แม้นแต่ ที่พยายามจะบอกกัน ว่า ปล่อย และ ให้ ดู รู้ เฉย ๆ แน่ใจหรือว่า นั้น ไม่มีเจตนา มันเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำ เสียมากกว่า ให้ดู แปลกใหม่ ตื่นตาตื่นใจ ของใหม่ เป็นวิธีที่ง่ายกว่า

    ความเข้มข้นของเจตนา นั้น มันก็มีแตกต่างกัน ไปในระดับ ความจงใจมากเกินงาม เกินพอดี มันก็ไม่เป็น สัมมา ตกไปเป็นฝ่าย อกุศล ภาวะตัณหา แต่เจตนาในส่วนดีที่พอดี พอควร พองาม มันก็ย่อมยังให้ กุศลเกิด ดำเนินไป แต่การดักตีว่า พอมีเจตนาจงใจนั้น ผิดพลาดหมด อันนั้น นั้นแหละ เรียกว่า ทิฐิตั่งไว้เกิดพอดีเสียแล้ว

    ย่อมจริงอยู่ พระไตรปิฏก เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณ จะมีการแก้ไขอย่างไรก็ตามที่ ก็เป็นสิ่งที่เดียวที่สืบต่อที่ให้ เป็นหลักได้ ของเก่าแก่ ส่วนที่ท่านั้น ยึดถืออยู่ นั้น นะ เอาอะไรมาสืบค้น พิจารณาว่าเป็นจริงได้ดังกล่าว วิธีที่ท่านพยายามสอนแนะนำนั้น เกิดมา กี่ปี พิสูตรผลหรือยัง แต่ละคน อาจจะกล่าวว่า ก็มี อาจารย์ทันเป็นผุ้สอน เป็นผุ้แนะนำ แล้ว คำสอนเก่าแม้นแต่ในพระไตรปิฏก ครูบาอาจารย์ กี่รุ่นแล้วละ จะต้องสาธยายว่ามีท่านใด กี่องค๋ กัน หลวงปุ่มั่น หลวงปู่ฝั่น หลวงปู่.... แม้นแต่ หลวงปู่ดุลย์เองก็ตาม ลองไป อ่านดุว่า เรื่อง จิตคือพุทธะ ของหลวงปู่ ดุลย์ แล้วช่วยมาบอกหน่อยเถอะว่า ท่านสอนอะไร ท่านสอนให้ ภวานา เต็ม ๆ เลย

    จริงๆ ผมก็ไม่ได้อยากจะทำให้ เกิดการแบ่งแยกข้างใดข้างหนึ่งให้มันมากมายนัก เแล้ว ก็มิได้ติติงว่า วิธีที่ท่านนั้น ไม่ดีหรือผิด ก็เพียงชี้แจง หักล้างในทิฐิ ที่ มักจะมีออกมาจาก นักปฏิบัติ ที่ ค่อนไปทาง หมิ่นหนทาง สมถะ กลาย ๆ เหมือน ประมาณ second class population แท้จริง มัน เป็นเพียง ทิฐิ ที่ตั่วเอาไว้ไม่ถูกส่วน มัน เรื่องเดียวกัน เป็นไปเพื่อ สิ่งเดียวกัน เป็นสิ่งที่เนื่องกัน ขาดสิ่งใด ก็ย่อมไม่สมบรูณ์ แล้วใครกัน ดันพยายามเอามาแยกแบ่งให้มันเป็นเรื่องเป็นราว

    อีกประการ เรื่อง อรัมณ... และ ลักขณู..... คงต้องไปพิจารณาดู เสียใหม่น่าจะดีกว่า
    อรัมณ นั้น อาศัยกองลม นั้น ก็ได้ แต่มันรู้อะไร มันแล่นไปในสภาพอย่างไร มันยึดรูปหรือ ? แล้วที่ ว่าลักขณู นั้นที่ว่า ไม่จี้ลงไปลม แต่ รุ้ ลม นั้น รุ้ในสภาพอย่างไร กันแน่ มันจะต้องรู้สลับกับการรู้อย่างอื่น อันนี้บอกได้คำเดียว ว่า ยังไม่ตรง อันนี่แหละ ที่ มักจะติงเสมอว่า ผลมันยังไม่เกิด มันรู้ไม่ชัดแจ้ง อย่าฟันธง
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตามจริตตนนั้นแหละ ถูกที่สุด อ่านแล้วเข้าใจ แล้วทำจนได้ผล ก็ได้รู้ว่าถูกหรือไม่ถูก
    การจะสอนให้คนกลุ่มหนึ่งเข้าใจในเรื่องหนึ่ง ก็ต้องพูดให้ละเอียดลงไปจนยิบยับ
    คนที่ฟังแล้วเข้าใจถูก ทำได้ถูก มันก็มี คนที่ไม่ถูกจริตฟังแล้วทำยังไงก็ไม่ถูกมันก็มี
    ถึงบอกว่า เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ธรรม เราเองยังไม่รู้จริงก็ไม่ต้องการไปขัดแย้ง
    กับผู้ใด การถกเถียงในเรื่องสมมุติจึงไม่มีประโยชน์ หากสนทนาเรื่องผลที่ปฏิบัติได้
    ยังน่าสนใจและเป็นธรรมทานมากกว่า การจะถกเถียงเรื่องสมมุติตัวอักษร ก็ว่ากันไป
    ตามทิฏฐิและความเห็นส่วนตน รู้ทันก็หยุด รู้ไม่ทันก็เป็นเหยื่อให้กิเลสไป
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่ต้องอะไรมากหรอกครับ คุณไปอ่านพระสูตรดู

    ในบทอานาปานสติ

    ผมกล่าวย่อก็มีดังนี้

    ...ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น
    หายใจเข้าสั้นรู้ หายใจเข้ายาวรู้
    หายใจออกสั้นรู้ หายใจออกยาวรู้
    ......
    ......
    จิตมีโทษะรู้ จิตไม่มีโทษะรู้
    จิตมีโมหะะรู้ จิตไม่มีโมหะะรู้
    จิตมีโลภะรู้ จิตไม่มีโลภะะรู้
    .......
    ......

    เห็นไหมว่า ไม่ได้ให้ดูลมอย่างเดียว แต่จิตมีอะไรอย่างอื่นแทรก
    ให้รู้ด้วย นี่คือการไม่จมไปที่กองลม เพราะ โลภะ โทษะ โมหะ
    มีก็ต้องระลึกรู้ ซึ่งเป็นการปล่อยจิตให้เคลื่อนไหว การระลึกรู้
    กองลมก็เพื่อให้จิตมีหลักเกาะไว้หลวมๆ เป็นหลัก หากเกาะแน่น
    โลภะ โทษะ โมหะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะการเกาะแน่นย่อมพา
    เข้าสู่สภาวะฌาณ อัน โลภะ โทษะ โมหะ เกิดใหรู้ไม่ได้

    นี่คือ ลักขณูปณิชฌาณ โดยใช้ อานาปานสติ เป็น background ใน
    การมุ่งระลึกรู้ โลภะ โทษะ โมหะ ที่จะปรากฏ

    และสังเกตให้ดีว่า มีคำว่า ฌาณ ประกอบ นั่นแปลว่า การระลึกรู้ โลภะ โทษะ
    โมหะ นั้นย่อมมีภาวะที่ขจัดโลภะ โทษะ โมหะ ออกไปจากจิตได้ เมื่อโลภะ
    โทษะ โมหะ ถูกขจัดออกไปจากจิตได้ จึงเกิดสภาวะที่เรียกว่า ฌาณ สัมปยุติ
    ร่วมด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2009
  8. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    นั้นนะสินะ พระไตรปิฏก เป็นของยาก ต่างก็ตีความกันไป อันนี่ ก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ควรต้องหลีกหนีห่าง ไม่เอา ของยากแต่ให้ไปหา ธรรมปฏิรูปแนวใหม่ หาของใหม่วิธีใหม่ที่ ง่ายกว่า ไม่ต้องหลับตา เป็นวิธีปฏิบัติง่าย ก็คงเหมาะสำหรับคนที่มี จริต ทิฐิ บางกลุ่ม ไม่ว่ากัน ถ้าทำแล้ว เจริญได้ ก็ถือว่า ดี

    ถ้าง่ายอย่างที่ว่าไว้ ควรต้องรู้สึกสงสาร ครูบาอาจารย์ เก่า ๆ ท่านต้องเข้าป่า วิเวก เผชิญ อันตรายสรรพัด สำรวม ข่ม กำจัด กิเลส นิวรณ์ แล้ว....ทำไมท่านถึงต้องไป ทำให้ยุ่ง ยาก ทำไมไม่ทำง่าย ๆ เหมือนคนสมัยนี่ ไม่ต้องกำหนด ไม่ต้องเจตนา
    รู้ก็ให้รู้ หลงก็ให้รุ้ พอจะถาม ก็ให้ รู้ว่าสงสัย ไม่ต้องถามกันพอดี
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  10. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    (smile)rabbit_ สังเกตุ ก็ให้รู้ว่าสังเกตุ เห็นไหม กลุ่มนี้อารมณ์ดีทุกคน
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
  12. ชาวพุทธครับ

    ชาวพุทธครับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +59
    คนเรามีมุมมองที่แตกต่างกัน เราเข้าใจในมุมมองนี้เพราะเราเห็นอย่างนี้ อิกคนเข้าใจอิกอย่างนั้นเพราะเขาเห็นอิกมุมนึง แต่สิ่งที่เห็นนั้นก็คือสิ่งเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่ ใครจะเห็นในลักษณะใหน และมุมใด
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ขอโทษนะครับ

    ที่เขียนว่า .... นั้นหมายถึง ตัดต่อยีนพันธุกรรมตามใจคุณหรือครับ

    พระสูตรมีเต็มๆ ก็ยกมาให้หมดสิครับ ยกมาบางท่อนบางตอนเพื่อให้ เข้าทางตนมันไม่เหมาะครับ
     
  14. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    ขำกลิ้งก็รู้ หุ หุ
     
  15. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    คำว่า "กำหนดรู้ หรือ รู้ " เป็นคำสมมุติ ยุคสมัยเปลี่ยนมาเรื่อย ความเข้าใจในความหมายของคำบางคำ พอยุคสมัยเปลี่ยน ความเข้าใจในคำๆนั้นก็เปลี่ยนไป

    สืงที่สำคัญสุดคือ "เราต้องเห็นสภาวะที่ตรงตามคำนั้นๆ ด้วยตนเองก่อน" แล้วคำสมมุติ เราใช้คำไหน เป็นสิ่งสำคัญรองลงไป สามารถปรับเลือกคำที่ใช้ให้เข้าใจตรงกันได้ในภายหลัง หรือเพื่อให้เข้าใจตรงกันเพื่อสะดวกในการเผยแพร่

    ถ้าเราจะศึกษาพระไตรปิฏกจริงๆ ต้องไปอ่านฉบับ"สยามบาลี" เพราะเป็นต้นฉบับ ก่อนแปลมาเป็นไทย ศึกษาเทียบเคียงกับฉบับที่แปลเป็นภาษาไทย แล้วจะเห็นว่าประโยคแต่ละประโยค แปลออกมาเป็นไทย มีคำใดเกินมาบ้าง ก็จะได้ความรู้ ความชำนาญในการศึกษาพระไตรปิฏกเพิ่ม
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หลวงพ่อท่านเทสน์ ไว้ ใช้กำหนดรู้ เพื่อฝึกให้สติเกิด นั้นเป็นการเริ่มของ สัมมาสติ แต่หาก กำหนดรู้ด้วยการข่มไว้ ยังเป็นการทำสมถะ
    เช่นว่า เวลาโกรธ ใช้คำว่า โกรธหนอ ๆๆๆๆ หากกำหนดไปบ่อยๆ ก็เป็นการกำหนดเพื่อจดจำสภาวะได้เหมือนกัน แต่กรณี ที่กำหนด แบบโกรธหนอๆๆๆ เพื่อ บีบ อารมณ์โกรธ หรือข่มไว้ ไม่ได้เป็นการจดจำสภาวะ ตรงนี้ จึงต้องแยกให้ออก
    หลวงปู่พุธ ท่านก็เทศน์ไว้จัดเจน พระอาจารย์ปราโมทย์ ท่านก็เทศน์ไว้ชัดเจน คนฟังต้องพิจารณาโดยแยบคาย
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พระไตรปิฏก มาจากคัมภี จามมขันทกะ ควรไปศึกษา ภาษาตามนั้นแล้วไปดูที่คัมภีร์ จามมะขันทกะ จึงจะเข้าใจแจ่มแจ้ง
    อีกนัยยะหนึ่ง
    ใครว่าอย่างไร ก้ลองทำตามดูก่อน หากผลไม่ได้จริง ก็ค่อยมาตำหนิกัน
    และที่สำคัญ ควรศึกษาวิธีการ ให้เข้าใจด้วย
     
  18. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    ยืนตามบัญญัติแห่งพระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ..............................
    ยืนตามมติแห่งตนที่มีต่อบัญญัติแห่งพระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา.........
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ ผมเห็นคุณยกพระสูตรโต้แบบไม่ใช้หัวที่กั้นหู
    พิจารณาพระพุทธพจน์ในพระสูตรแล้ว
    ก็อดไม่ได้ที่ต้องกล่าวแย้งคุณเป็นธรรมดา

    “ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น
    หายใจเข้าสั้นรู้ หายใจเข้ายาวรู้
    หายใจออกสั้นรู้ หายใจออกยาวรู้”

    คำว่า “ดำรงสติ” ก็ชัดเจนแล้วครับว่าต้องสร้างสติให้ต่อเนื่องเนืองๆอยู่
    ระลึกรู้อยู่ที่จุดลมหายใจเข้า-ออกใช่มั้ยครับ? ไม่ใช่สติเกิดขึ้นเองใช่มั้ยครับ???

    “จิตมีโทษะรู้ จิตไม่มีโทษะรู้
    จิตมีโมหะะรู้ จิตไม่มีโมหะะรู้
    จิตมีโลภะรู้ จิตไม่มีโลภะะรู้”

    อาจานนิฯ คุณพยายามจังเลยครับที่ต้องให้จิตออกไปรับรู้อุปกิเลสทั้งหลาย
    เสมือนกับว่า ถ้าจิตไม่มีเรื่องเหล่านี้เป็นความผิดปกติไปจากคนอื่น

    ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วคนที่สามารถละโลภะ โทสะ โมหะได้
    แม้จะชั่วครั้งชั่วคราวในขณะปฏิบัติ
    น่าที่จะเป็นบุคคลที่เราควรยินดีไม่ใช่หรือครับ???
    ยิ่งสามารถเจริญให้ยิ่งๆขึ้นจนกระทั่งละได้ถาวรนั้น
    จะเป็นบุคคลที่ควรกราบไหว้ใช่มั้ยครับ???

    ผมขอบังอาจถามว่า
    การที่จิตไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นเรื่องเสียหายตรงไหนครับ???
    การที่จิตไม่มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นเรื่องดีไม่ใช่หรือครับ???

    ที่พระบรมครูเราพร่ำสั่งสอนพวกเราชาวพุทธให้ละโลภะ โทสะ โมหะ
    ตลอดพระชนมายุของท่าน
    แสดงว่าพระองค์ท่านผิดหรือคุณเรียนรู้จากครูบาอาจารย์แบบผิดๆกันแน่ครับ???

    อาจานฯวอน แสดงว่าไม่เคยสมาทานสัมมาสมาธิแบบจริงจังเลยใช่มั้ยครับ???
    เพราะถ้าเคยสมาทานอย่างเต็มกำลังแล้ว
    ย่อมต้องรู้ว่าขณะที่ภาวนารู้อยู่ที่จุดลมกระทบหายใจเข้า-ออกอยู่นั้น
    จิตมักเผลอจะแวบออกไปรู้รับอารมณ์โลภะ โทสะ โมหะเป็นประจำ
    เมื่อออกไปรู้อยู่กับอารมณ์เหล่านั้น ถ้าไม่มีสติระลึกรู้ชอบ(สัมมาสติ)
    ก็จะชุ่มแช่อยู่กับอารมณ์เหล่านั้น เพราะจิตมีอวิชชา(ชอบชุ่มแช่)ครอบงำ

    เมื่อระลึกรู้ชอบก็ดึงกลับมาสู่ที่ๆไม่มีอารมณ์เหล่านี้ก็คือจุดลมหายใจกระทบอยู่
    ย่อมดีกว่าการปล่อยให้จิตชุ่มแช่อยู่กับอารมณ์เหล่านั้นใช่มั้ยครับ???
    ผมถามตรงๆเถอะว่า ยังรู้จักอารมณ์โลภะ โทสะ โมหะไม่เพียงพออีกเหรอครับ???
    ในเมื่อเราเวียนเกิดเวียนตายมากลับอารมณ์เหล่านี้มาแล้วไม่รู้กี่ภพกี่ชาติใช่มั้ยครับ???

    ทุกวันนี้จิตมันเคลื่อนเร็วมากจนคุณรู้ไม่ทันมัน ยังไม่พออีกเหรอ
    ยังจะเปิดทางให้โอกาสมันออกไปคลุกคลีอีกเหรอ???

    การฝึกฝนอบรมจิตจึงมีความสำคัญมากในพุทธศาสนา
    โดยเฉพาะสัมมาสมาธิ เนื่องจากมีองค์ประกอบที่ต้องทำไปพร้อมๆกันอีกสององค์
    คือสัมมาวายามะและสัมมาสติ จึงทำให้เกิดสัมมาสมาธิที่บริบูรณ์
    เป็นสภาวะที่จิตตั้งมั่นด้วยลำพังตนเอง เราควรฝึกฝนอบรม
    จดจำสภาวธรรมนั้นให้แม่นยำ เมื่อเกิดกระทบอารมณ์อย่างปัจจุบันทันด่วน
    ก็สามารถกลับสู่สภาวธรรมที่จิตมั่นได้อย่างรวดเร็ว มันเสียหายตรงไหนครับ???

    ฌาน(ความเพียรเพ่ง)ในสัมมาสมาธินั้น จิตจะระลึกรู้ชอบ
    ที่จะละอารมณ์โลภะ โทสะ โมหะออกไปเพื่อกลับมารู้อยู่ที่ๆจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    การฝึกฝนอบรมจิตให้ทำแบบนี้ได้ไม่ดีหรือครับ???

    ;aa24
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การเห็น โลภะ โทษะ โมหะ ดับเพราะเข้าสู่ฌาณ นั่นมันก็อย่างหนึ่ง

    แต่

    การเห็น โลภะ โทษะ โมหะ ดับเพราะมีสติระลึกรู้ตามทัน มันก็ทำให้
    โลภะ โทษะ โมหะ ดับเหมือนกัน

    การได้เห็น โลภะ โทษะ โมหะ ดับในสภาวะฌาณ มันต้องเข้าฌาณ
    ก่อนถึงเห็นสภาวะนั้น

    แต่การเห็น โลภะ โทษะ โมหะ ดับขณะใช้ชีวิตประจำวัน อันไหนทำได้
    มากกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...