ปฏิบัติธรรม ณ วัดสังฆทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 30 เมษายน 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม

    ณ วั ด สั ง ฆ ท า น


    [​IMG]













    ๑. การอุปสมบทหมู่พระภิกษุสงฆ์

    จัดอุปสมบทหมู่ปีละ ๔ - ๕ ครั้ง ปีละประมาณ ๑๕๐ รูป




    หลักการและเหตุผล

    การอุปสมบทหมู่เป็นการประหยัด เป็นการสร้างให้สังคมมองเห็นว่าการบวชตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่จำเป็นต้องฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นต้องมีการละเล่น ไม่ดื่มสุรา ผู้อุปสมบทจะได้มีโอกาสปฏิบัติเพื่อความสงบ และเพื่อความดับทุกข์ มิใช่บวชแล้วพ่อแม่ต้องเป็นทุกข์กับการกู้หนี้ยืมสิน

    การบวชในพระพุทธศาสนาต้องใช้เวลาในการอบรม ต้องคัดเลือกกลั่นกรองตัวบุคคลผู้ศรัทธา เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นคนที่พูดมาก มีเรื่องราวมาก เป็นคนสงบ ขยัน ไม่เอาเปรียบหมู่คณะ เคารพในการประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เมื่อดูจริตนิสัยแล้วเห็นว่าเป็นพระได้ก็ให้บวช


    วันเวลาการอุปสมบทในปีหนึ่งมีการอุปสมบทดังนี้

    ๑. วันมาฆบูชา

    ๒. วันวิสาขบูชา

    ๓. วันอาสาฬหบูชา (ก่อนวันเข้าพรรษา)

    ๔. วันพ่อแห่งชาติ (วันที่ ๕ ธันวาคม)

    ค่าใช้จ่ายในการอุปสมบทหมู่ ได้จากญาติโยมผู้มีศรัทธาบริจาค ถ้าไม่เพียงพอทางมูลนิธิฯจะจัดกองทุนให้

    การสมัครบวช และรับทราบระเบียบการบวช ที่โต๊ะพระเจ้าหน้าที่ ใต้โบสถ์แก้วทุกวันจำนวนพระภิกษุที่ผ่านการอุปสมบทปฏิบัติตามแนวธุดงคกรรมฐานจากวัดสังฆทานมีประมาณกว่า ๒,๕๐๐ รูป


    ๒. การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน


    จัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปีละ ๓๐๐ องค์




    หลักการและเหตุผล

    ในยุคปัจจุบันช่วงปิดเทอม นักเรียนอยู่บ้านมีเวลาว่างมาก มักจะไปเล่น เที่ยว อาจถูกชักจูงจากเพื่อนให้ทดลองสิ่งเสพย์ติด หรือหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้พ่อแม่ลำบากใจในการดูแล จึงควรมาบวช เพื่อจะได้ศึกษาธรรมะ และได้เห็นแบบอย่างที่ดีของพระ หัดทำวัตร สวดมนต์ อดทน ขยัน เป็นการช่วยตัวเองตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อรู้หลักธรรมวินัยก็นำไปปรับตัวเองให้เป็นเด็กว่าง่ายสอนง่าย กตัญญูรู้คุณพ่อแม่ รู้จักบาปบุญคุณโทษ สำนึกบาปที่ตนเองทำมาแล้วได้ มีปัญญาแยกแยะดีชั่ว ได้ประโยชน์ทั้งทางครอบครัวและการศึกษาเล่าเรียน มูลนิธิฯต้องการแก้ไขปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและก่อความเดือดร้อนอย่างทุกวันนี้ ด้วยการนำเยาวชนให้เข้าถึงธรรม เข้าถึงพระพุทธเจ้า ด้วยการปฏิบัติจริง

    ผู้มีความประสงค์จะบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ต้องมีอายุระหว่าง ๑๐ - ๑๕ ปี เมื่อมาสมัครแล้วจะต้องอยู่เป็นผ้าขาวน้อยเพื่อรอการพิจารณาบรรพชาในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคมและลาสิกขาในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน

    ค่าใช้จ่ายในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วันละ ๑๐,๐๐๐ บาท ได้จากญาติโยมผู้มีศรัทธาบริจาค ถ้าไม่เพียงพอทางมูลนิธิฯ จะจัดกองทุนให้

    การสมัครบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในสัปดาห์ที่ ๓ เดือนมีนาคมของทุกปี ที่ซุ้มประชาสัมพันธ์ทรงไทยใกล้ศาลาพระนวกะ จำนวนสามเณรที่ผ่านการบรรพชาปฏิบัติตามแนวธุดงกรรมฐานจากวัดสังฆทานมีประมาณกว่า ๗๕๐๐ องค์




    ๓. การบวชเนกขัมมปฏิบัติ

    จัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน




    หลักการและเหตุผล

    การบวชเนกขัมมปฏิบัติ (บวชไม่โกนผม) ถือว่าเป็นการชักจูงศรัทธา มีทั้งบวชคนเดียวและบวชหมู่ เป็นการฝึกให้ทุกคนได้มาปฏิบัติธรรม มีการพิจารณาอาหารมื้อเดียว ใช้ภาชนะใบเดียว มีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ถือเนสัชชิก รักษาศีลแปด ทำให้เกิดศรัทธาและปีติ มองเห็นวัดเป็นที่สงบ มองเห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทางแก้ทุกข์ มีประโยชน์กับสังคมที่จะช่วยแก้จิตใจคนเราให้ดีขึ้น เมื่อมาบวชแล้วได้รับความสุขสงบ ทำให้เข้าใจธรรมะ จิตใจก็ดีขึ้น บ้านเรือนก็ดีขึ้น ก็นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้มาก

    ระยะเวลาการบวช ๓-๗ วัน

    การรับสมัคร รับสมัครและขอทราบรายละเอียดได้ทุกวันที่สำนักงานวัดสังฆทาน (ท่านหญิง) ส่วนท่านชายสมัครที่โต๊ะพระเจ้าหน้าที่ ใต้อุโบสถ

    ค่าใช้จ่ายในการบวชเนกขัมมปฏิบัติ ตามกำลังศรัทธาบริจาค

    จำนวนเนกขัมมปฏิบัติที่มาสมัครบวชปฏิบัติตามแนวธุดงคกรรมฐานจากวัดสังฆทานมีประมาณกว่า ๒๐,๐๐๐ คน



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2009
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    โค ร ง ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม ณ วั ด สั ง ฆ ท า น

    ร ะ เ บี ย บ ข อ ง วัดสังฆทาน ว่าด้วยผู้บวชเนกขัมมปฏิบัติ ( หญิง )

    เตรียมตัวก่อนรับศีล

    1. ผู้ที่บวชเนกขัมมาปฏิบัติ (ไม่ปลงผม) ให้อยู่ปฏิบัติได้ไม่เกิดครั้งละ ๗ ราตรี นอกจากเป็นผู้ทำงานช่วยวัด หรือเป็นผู้ที่พระ,เจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้าแม่ชีรับรองให้อยู่ต่อได้



    2. ต้องนำหลักฐานต่อไปนี้ คือ รูปถ่าย ๒ นิ้ว ๑ รูป สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ (พร้อมสำเนา) มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันสมัครบวช



    3. ผู้ที่เคยมาสมัครบวชแล้วและได้กรอบประวัติโดยละเอียดลงในใบสมัครบวชครั้งแรก เมื่อจะบวชในครั้งต่อไป ไม่ต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติลงในใบสมัครซ้ำอีก เพียงแต่เซ็นชื่อและนำบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ มาสมัครบวชได้ที่ทำการรับสมัครบวช (Download ใบสมัครบวชเนกขัมมปฏิบัติ)



    4.ให้เตรียมเครื่องนุ่งห่มที่ถูกต้องตามแบบที่ทางวัดกำหนดไว้แล้วเท่านั้น ห้ามใช้ผ้าสไบลูกไม้ สไบที่ถัก

    5. ห้ามรับจ้างบวชแก้บนแทนผู้อื่น ห้ามหญิงมีครรภ์ หญิงแม่ลูกอ่อน หญิงที่มีสามีหรือผู้ปกครองไม่อนุญาตและผู้ป่วยทางกายและจิต ทั้งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่พิจารณาให้บวชในสำนักนี้

    ต้องเป็นผู้ไม่กระทำความผิดอันกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด



    6. ต้องเป็นผู้ไม่กระทำความผิดอันกฏหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด



    7. ห้ามนำของมีค่าติดตัวมา และห้ามแต่ตัวด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ หากฝ่าฝืนเกิดการสูญหายทางวัดจะไม่รับผิดชอบ



    8. ต้องอาราธนาศีล ๕ และศีล ๘ ได้ด้วยตนเอง

    การปฏิบัติตัวขณะปฏิบัติธรรมอยู่ในวัด

    1. ไม่ควรมีกิจธุระภายนอกในขณะถือบวช ควรทำกิจภายนอกให้เรียบร้อยก่อนห้ามนำโทรศัพท์มือถือหรือสัญญาณติดตามตัวเข้ามาใช้ในช่วงบวช



    2. ไม่เป็นผู้เสพของเสพติด ของมึนเมาทุกชนิด เช่น หมาก พลู บุหรี่ นัดยานัตถุ์ และสิ่งเสพย์ติดอื่น ๆ



    3. ต้องทำวัตรสวดมนต์เจริญพระกัมมัฏฐานทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น และเดินจงกรมในเวลาที่ทางวัดกำหนด เมื่อทำกิจวัตรสวดมนต์ เดินจงกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องรีบกลับที่พักของตน (หากทางวัดมีกิจกรรม อาจได้รับการยกเว้น) และเมื่อมีเหตุจำเป็นที่จะทำวัตรสวดมนต์ไม่ได้ ต้องแจ้งให้หัวหน้าแม่ชีทราบ



    4. ต้องช่วยเหลือกิจกรรมภายในวัด เช่น ทำความสะอาด ปัดกวาดทั้งที่ส่วนรวมและที่อยู่ของตน ต้องช่วยกันทำและรักษาความสะอาดห้องน้ำส่วนรวมทุกวันในเวลาหลังจากที่เลิกทำวัตรเช้าแล้ว ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด ผ้าอนามัยควรใส่ถุงพลาสติกห่อกระดาษให้มิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะ ห้ามนำไปทิ้งในโถส้วม



    5. ห้ามจับกลุ่มคุยกันเสียงดัง และห้ามรับแขกในที่พัก ให้รับแขกที่โรงตักอาหาร ห้ามพูดคุยกับโยมผู้ชายตามลำพังยกเว้นเพื่อนผู้หญิงอยู่ด้วย ต้องเป็นคนว่านอนสอนง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดื้อถือตัว ไม่ประพฤติตัวให้เป็นภาระกับผู้อื่น เป็นผู้สำรวม เป็นผู้มีมารยาทอันเรียบร้อยสงบ เป็นผู้ใครต่อความเพียรในการเจริญสติปัฏฐานสี่ทั้งกลางวันและกลางคืน



    6. ห้ามดูหมอเล่นไสยศาสตร์ บวงสรวงถือเจ้าเข้าทรง



    7. เมื่อมีกิจธุระที่ศาลา หรือประสงค์ที่จะพบพระรูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง ขณะสนทนากับพระหรือสวนทางกับพระ จะต้องนั่งลงประนมมือทุกครั้ง



    8. เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกวัด ต้องบอกกับแม่ชีเจ้าหน้าที่และจะต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้งวันพระไม่ควรออกนอกวัด



    9. ต้องรับประทานอาหารมื้อเดียว ภาชนะเดียว ต้องสำรวม มีสติในการพิจารณาตักอาหาร ต้องไม่แซงแถว ไม่ตัดแถว ไม่พูดคุยกันเสียงดังในขณะตักอาหารที่โรงตัก ไม่รับประทานอาหารในที่พัก ต้องออกมารับประทานในที่ส่วนรวมเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม ต้องนั่ง ห้ามยืน ห้ามนั่งเท้าแขนรับประทานอาหาร ห้ามดื่มนมโอวัลติน น้ำเต้าหู้และของเคี้ยวทุกชนิดหลังเที่ยงวันไปแล้วจนตลอดรุ่งราตรี ยกเว้นสมอ และมะขามป้อม ห้ามเก็บอาหารไว้ในที่พัก ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่โดยเด็ดขาด ถ้ามีความจำเป็นควรเก็บหรือประกอบอาหารในโรงครัว



    10. เมื่อรับศีล และลาศีลทุกครั้ง จะต้องมีแม่ชีพี่เลี้ยงไปด้วย



    11. เมื่อลาศีลแล้ว ห้ามรับประทานอาหารที่ร้านค้า หรือนอกเวลาในชุดนักบวช ต้องเปลี่ยนเป็นชุดอื่นก่อน



    (เวลา 17.00 น. ผู้สมัครบวชเนกขัมมปฏิบัติในวันนี้ทุกท่าน ให้มาพร้อมกันที่รับสมัครบวชหญิงชั้นล่างพระอุโบสก)

    กำหนดกิจวัตร

    03.30 น. ระฆังทำวัดเช้า

    04.00 น. ทำวัดเช้า

    05.30 น. ทำความสะอาดสถานที่ และพระภิกษุ-สามเณรเตรียมตัวออกรับบิณฑบาต

    07.00 น. รับน้ำปานะ

    07.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ เดินจงกรม

    09.15 น. ระฆังฉันภัตตาหาร (วันพระ,วันหยุด,09.30 น.)

    12.00 น. ระฆังทำวัดกลางวัด (วันพระ,วันหยุด,12.30 น.)

    12.30 น. ทำวัดกลางวัน (วันพระ,วันหยุด,13.00 น.)

    15.30 น. ระฆังปัดกวาดทำความสะอาด

    16.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ เดินจงกรม

    17.00 น. พระภิกษุ-สามเณร รับน้ำปานะ

    17.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ รับน้ำปานะ

    18.00 น. ระฆังทำวัตรเย็น (วันพระ, วันเสาร์, 19.00 น.)

    19.00 น. ทำวัตรเย็น (วันพระ, วันเสาร์, 20.00 น.)



    หมายเหตุ 1. วันพระ, วันเสาร์ และโอกาสพิเศษ รับศีลอุโบสถฟังธรรม-ปฏิบัติธรรมตลอดรุ่ง(เนสัชชิก)
    และช่วงเช้าสวดมนต์พิเศษ 08.45 น.

    2. วันพระขึ้น 15 ค่ำ (เดือนเพ็ญ) มีการเวียนเทียน 3 ครั้ง (เวลา 20.00 น., 24.00 น. และ

    04.00 น.) วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มรอบ 16.00 น.

    ๔. การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชน
    จัดเข้าค่ายปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนตลอดปี โดยนักเรียน นักศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล



    หลักการและเหตุผล

    นักเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ห่างไกลศาสนา มองเรื่องศาสนาไม่สำคัญ ไม่มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีผลสะท้อนไปถึงการไม่เคารพครูบาอาจารย์ บิดา มารดา กลายเป็นเด็กหัวดื้อ ก้าวร้าว หลงผิดเป็นชอบ ถูกเพื่อนชักจูงในทางที่ผิด อาจเข้าหาสิ่งเสพติดได้ง่าย จึงได้จัดค่ายอบรมเนกขัมมปฏิบัติขึ้น เพื่อให้รู้จักศีลธรรม ซึ่งจะทำให้เป็นคนเรียบร้อย เป็นคนงดงามได้ ทำให้ซาบซึ้งและศรัทธาในศาสนา กลายเป็นคนมีสติปัญญา มีเหตุผล ไม่มุทะลุดุดัน รู้จักความสงบ มีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุของกระแสที่เสื่อมของสังคมได้ เป็นการช่วยเหลือสังคม ผลที่ได้รับก็เกิดขึ้นกับครูอาจารย์และบิดามารดาเลยไปถึงประเทศชาติศาสนาในที่สุด

    นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ต้องนุ่งขาวห่มขาวเหมือนนักบวชเนกขัมมปฏิบัติ (บวชไม่โกนผม)

    ระยะเวลาการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ๒-๓ วัน (ศุกร์ - อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์)

    การรับสมัคร แจ้งความจำนงเข้าค่ายปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะได้ตลอดปี

    ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ตามกำลังศรัทธาบริจาค

    การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมของนักเรียนเริ่มเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ คือ โรงเรียนศรีบุณ-ยานนท์ จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๙๖ คน ปัจจุบันมีโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล วิทยาลัย มหาวิทยาลัย


    ขอขอบคุณ http://sanghathandhamma.com


    </SPAN>
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <CENTER>วัดสังฆทาน นนทบุรี


    [​IMG] </CENTER>
    ที่อยู่ : บางไผ่, เมือง, นนทบุรี 11000, Thailand
    [​IMG] โทรศัพท์ : 0-2447-1766 หรือ 0-2447-0799 ถึง 800 ต่อ 117
    แฟ็กซ์ : 0-2447-2784
    อีเมล์ : vimokkha@hotmail.com [​IMG]
    การเดินทางมาวัดสังฆทาน : จากกรุงเทพฯขึ้นเรือด่วนเจ้าพระยามาที่ท่าน้ำนนท์ ข้ามฝั่งด้วยเรือข้ามฝาก และต่อเข้ามาวัดด้วยรถสองแถวสีแดงที่จอดรออยู่ที่ท่าน้ำถึงวัดสังฆทานเลย

    หรือรถปรับอากาศสาย 106 จากสีลมถึงท่าน้ำนนทบุรี ข้ามฝากมาขึ้นรถสองแถวเล็กสีแดงมาวัดสังฆทาน <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    แนวทางการปฎิบัติ : เป็นการกำหนดอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก และแนวทางอื่นๆตามคำสังสอนของพระพุทธเจ้า

    หลักการเรียนการสอน : สำหรับผู้ที่ไม่เคยมาปฎิบัติจะมีการแนะนำก่อน [​IMG] และสอบถามความเป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ โดยอาจารย์ผู้สอน และที่นี่มีการปฎิบัติแบบร่วมกลุ่มในการเดินจลกรม การนั่งสมาธิ

    อาจารย์ผู้สอน : หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ เจ้าอาวาสเป็นผู้ฝึกสอน ร่วมกับพระรูปอื่น และมีแม่ชีสอนบ้าง

    [​IMG] บริเวณวัดสังฆทาน : พื้นที่วัด ประมาณ 100 ไร่ ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา
    บริเวณวัดประกอบไปด้วยพืชสวน และต้นไม้ร่มรื่น สระน้ำขนาดใหญ่ใจกลางวัด ก็สวยงาม มีปลาหลากหลายพันธ์
    เป็นอีกหนึงสถานที่ๆใกล้กรุงเทพฯแต่ยังคงความร่มรื่นงามตา
    จำนวนผู้อยู่ปฎิบัติ : พระ: 100 - 300

    <DD>สามเณร: 10 - 300 (ถ้าเป็นชวงปิดเทอมภาคฤดูร้อน)

    <DD>แม่ชี: 30 บุคคลทั่วไป: 40 - 100


    ที่พัก : สำหรับบุคคลทั่วไปผู้ที่มาปฎิบัติภายในวัดมีที่พักจัดให้ รวมกัน สะอาด น่าอยู่
    หรือผู้ที่ต้องการปฎิบัติเก็บอารมณ์ทางวัดก็มีที่พักจัดแยกให้ ทางวัดจัดให้มีคอร์สพิเศษขึ้นสำหรับผู้ที่มีความสนใจจะไปปฎิบัติที่ศูนย์ปฎิบัติธรรมบ้านสว่างใจ โดยจะมีการปฎิบัติทุกๆวันเสาร์แรกของเดือนเป็นระยะเวลา 7 วัน

    การสมัครบวช : ผู้ที่สนใจสามารถขอสมัครบวชพระ สามเณร หรือเนกขัมปฎิบัติได้ แต่ต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าหน้าที่

    อาหาร : อาหารที่ทางวัดจัดให้สำหรับผู้ที่มาปฎิบัติจะเป็นอาหารที่ พระบิณฑบาตรมาในตอนเช้า แล้วแบ่งให้ผู้ที่มาปฎิบัติพิจารณาต่อ โดยจะพิจารณาร่วมกันในเวลาประมาณ 09.30 น. หนึ่งมื้อต่อวัน และในตอนเย็นหลังจากเดินจงกรมเสร็จแล้ว จะมีน้ำปานะให้

    ข้อมูลทั่วไป : วัดสังฆทานไม่คิดค่าบริการในการมาปฎิบัติที่วัด แต่อย่างไรก็ดีการบริจาคให้กับการมาอยู่เพื่อปฎิบัติก็สามารถทำได้ตามความเหมาะสม และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของวัด

    [​IMG] <CENTER>ระเบียบการของวัดสังฆทานว่าด้วยผู้มาบวช


    </CENTER><CENTER>เนกขัมปฎิบัติหญิง


    <DD>เนื่องด้วยวัดสังฆทานมีผู้เข้ามาปฎิบัติเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกันของนักบวชฯ และเหมาะสมกับสถานที่ปฎิบัติธรรม ซึ่งต้องการความสงบไม่พลุกพล่านจอแจ เอื้ออำนวยให้กับผู้มาปฎิบัติ ให้ได้ผลคุ้มค่า ทางวัดจึงปรับปรุงระเบียบและข้อปฎิบัติสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะเข้ามาบวชเนกขัมปฎิบัติ ให้ยึดถือในระเบียบอย่างเคร่องครัดดังนี้


    เตรียมตัวก่อนรับศีล </CENTER>
    1. ผู้ที่บวชเนกขัมปฎิบัติ(ไม่ปลงผม) ให้อยู่ปฎิบัติได้ไม่เกินครั้งละ 7 ราตรี นอกจากเป็นผู้ทำงานช่วยวัด หรือเป็นผู้ที่พระเจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้าแม่ชีรับรองให้อยู่ต่อได้
    2. ต้องนำหลักฐานต่อไปนี้ คือ รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 1 รูป ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา บัตรประจำตัว ประชาชนหรือบัตรข้าราชการ๖พร้อมสำเนา) มายื่นให้เจ้าหน้าที่ในวันสมัครบวช
    3. ผู้ที่ได้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติลงในใบสมัครบวชครั้งแรกแล้ว เมื่อมีความประสงค์จะบวช ในครั้งต่อไปไม่ต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติซ้ำอีกเพียงแต่เซ็นต์ชื่อและนำบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ มาสมัครบวชได้ที่ทำการรับสมัครบวชเท่านั้น
      [*]ให้เตรียมเครื่องนุ่งห่มที่ถูกต้องตามแบบที่ทางวัดกำหนดไว้แล้วเท่านั้น ห้ามใช้ผ้าสไบลูกไม้ สไปที่ถัก
      [​IMG]
      [*]ห้ามรับจ้างบวชแทนผู้อื่น ห้ามหญิงมีครรภ์ หญิงแม่ลูกอ่อน หญิงที่สามีหรือผู้ปกครองไม่อนุญาต และผู้ป่วยทางกายและจิต ทั้งไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่พิจารณาให้บวชในสำนักนี้
      [*]ต้องไม่เป้นผู้ที่กระทำความผิดตามกฏหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด
      [*]ห้ามนำของมีค่าติดตัวมา และห้ามแต่งตัวด้วยเครื่องประดับต่างๆ หากผ่าผืนเกิดการสูญหาย ทางวัดจะไม่รับผิดชอบ
      [*]ต้องอาราธนาศีล 8 ได้ด้วยตนเอง

    1. ไม่ควรมีกิจธุระภายนอกขณะถือบวช ควรทำกิจภายนอกให้เรียบร้อยก่อน ห้ามนำโทรศัพท์มือถือหรือสัญญาณติดตามตัวเข้ามาใช้ในช่วงบวช
    2. ไม่เป็นผู้เสพของเสพย์ติด ของมึนเมาทุกชนิด เช่น หมาก พลู บุหรี่ นัดยานัตถุ์ และสิงเสพย์ติดอื่น ๆ
    3. ต้องทำวัตรสวดมนต์เจริญพระกัมมัฎฐานทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น และเดินจงกรมในเวลาที่ทางวัดกำหนด เมื่อทำกิจวัตรสวดมนต์ เดินจงกรม เสร็จเรียบร้อยแล้วต้องรีบกลับที่พักของตน (หากทางวัดมีกิจกรรม อาจได้รับการยกเว้น) และเมื่อมีเหตุจำเป็นที่จะทำวัตรสวดมนต์ไม่ได้ ต้องแจ้งให้หัวหน้าแม่ชีทราบ

    1. [​IMG]
      [*]ต้องช่วยเหลือกิจกรรมภายในวัด เช่นทำความสะอาดปัดกวาดทั้งที่ส่วนรวมและที่อยู่ของตนเอง ต้องช่วยกันทำและรักษาความสะอาดห้องนำส่วนรวมทุกวันในเวลาหลังจากที่เลิกทำวัตรเช้าแล้ว ห้มทิ้งขยะ เรื่ยราด ผ้าอนามัยควรใส่ถุงพลาสสติกห่อกระดาษให้มิดชิด และนำไปทิ้งในถังขยะ ห้ามนำไปทิ้งในโถส้วม
      [*]ห้ามจับกลุ่มคุยกันเสียงดังและห้ามรับแขกในที่พัก ให้รับแขกที่โรงตักอาหาร ห้ามพูดคุยกับโยมผู้ชายตามลำพัง ยกเว้นมีเพื่อนผูหญิงอยู่ด้วย ต้องเป็นคนว่านอนสอนง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดื้อถือตัว ไม่ประพฤติตัวให้เป็นภาระ กับผู้อื่น เป็นผู้สำรวม เป็นผู้มีมารยาทอันเรียบร้อยสงบ เป็นผู้ใคร่ต่อความเพียรในการเจริญสติปัฎฐานสี่ทั้งกลางวันกลางคืน
      [*]ห้ามดูหมอเล่นไสยศาสตร์ บวงสรวงถือเจ้าเข้าทรง
      [*]เมื่อมีกิจธุระที่ศาลา หรือประสงค์ที่จะพบพระรูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง ขณะสนทนากับพระหรือ สวนทางกับพระจะต้องนั่งลงประณมมือทุกครั้ง
      [*]เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกวัด ต้องบอกกับแม่ชีเจ้าหน้าที่ และจะต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง วันพระไม่สมควร ออกนอกวัด

      .[​IMG]
      [*]ต้องรับประทานอาหารมื้อเดียว ภาชนะเดี่ยว ต้องสำรวม มีสติในการพิจารณาตักอาหาร ต้องไม่แซงแถว ไม่ตัดแถว ไม่พูดคุยกีนเสียงดังขณะตักอาหารที่โรงตัก ไม่รับประทานอาหารในที่พัก ต้องออกมารับประทานอาหารในที่ส่วนรวม เมื่อรับ ประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม ต้องนั่งห้ามยืน ห้ามนั่งเท้าแขนรับประทานอาหาร หลังเที่ยงไปแล้วจนตลอดรุ่งราตรี ห้ามดื่มนม โอวันติน นำเต้าหู้และของเคี้ยวทุกชนิด ห้ามเก็บอาหารไว้ในที่พัก ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่เด็ดขาด ถ้ามีความจำเป็น ควรเก็บหรือประกอบอาหารในโรงครัว
      [*]เมื่อรับศีลและลาศีลทุกครั้ง จะต้องมีแม่ชีพี่เลี้ยงไปด้วย เมื่อลาศีลแล้ว ห้ามรับประทานอาหารนอกเวลาในชุด นักบวช ต้องเปลี่ยนเป็นชุดอื่นก่อน
    <CENTER>***วัดทุ่งสามัคคีธรรม*** </CENTER>

    </DD>
     
  4. สน2550

    สน2550 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +280
    ถ้ามีระเบียบปฏิบัติของเนกขัมมะชายด้วย สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยไปแต่สนใจและประสงค์ที่จะสมัครได้ทราบ ก็จะดีครับ ขอโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...