บทปาฐกถาธรรมพิเศษเรื่อง พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย G@cKt, 20 มีนาคม 2009.

  1. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552​


    สมาคมสมาพันธ์ "เต็กก่า" แห่งประเทศไทย​

    ร่วมกับ​

    มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี​

    กระทรวงสาธารณะสุข​

    และชมรมกายอุปกรณ์แห่งประเทศไทยฯ​


    [​IMG]


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    โทร. 02-4492425-6 , 02-9975288

    โทรสาร 02-4492427
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000.jpg
      000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      679 KB
      เปิดดู:
      297
    • 0001.jpg
      0001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.6 KB
      เปิดดู:
      1,055
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 เมษายน 2009
  2. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    แผนที่ที่จัดงานครับ ...


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • map_logo4.gif
      map_logo4.gif
      ขนาดไฟล์:
      123.5 KB
      เปิดดู:
      2,461
  3. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    ปาฐกถาธรรมพิเศษเรื่อง พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า
    โดย พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก ณ สมาคมสมาพันธ์ เต็กก่า แห่งประเทศไทย
    วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒<O:p


    เจริญพร สาธุชนทุกท่าน วันนี้ถือเป็นวันมงคลอย่างยิ่ง เพราะเป็นวันที่คนหลายคนจะมีความสุข เหมือนกับการได้มีชีวิตใหม่ มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงทำให้มีความสุขยิ่งขึ้น เพราะชีวิตความเป็นอยู่มีความปกติสุขยิ่งขึ้น ความทุกข์ทางกายเมื่อลดลง ความทุกข์ทางใจจึงลดลงไปด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การเสียสละกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์ ในการช่วยเหลือผู้ขาดแขนขาของท่านทั้งหลายในครั้งนี้ สอดคล้องตาม ความตั้งใจ หรือมหาปณิธานของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ออกเสียงอย่างสันสกฤตว่า พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระนามเต็มว่า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ญี่ปุ่นเรียก ยากูชิ ธิเบตเรียก ซังเกแมงลาอังกฤษว่า เมคดิซีน บุดดาท่านที่มีส่วนร่วมทั้งหลายจึงชื่อว่าเป็น โพธิสัตว์ที่กำลังบำเพ็ญบารมี ผู้เดินตามรอยพระบาทพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า

    <O:pหากจะกล่าวถึงพระนามของพระพุทธเจ้าองค์นี้ชาวพุทธฝ่ายเถรวาท อาจจะไม่คุ้น หรือไม่รู้จัก แต่ที่จริงพระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นที่รู้จักกันมาแสนนานใน ชื่อว่า พระกริ่ง ที่ในพระหัตถ์ขวา ทรงถือ หม้อยาสมุนไพร หรือบาตร อันมีความหมายคือ การรักษาโรคภัยของสัตว์ทั้งปวง ทั้งโรคภายนอกคือร่างกาย และโรคภายใน คือจิตใจ
    <O:p<O:p
    คำว่า สัตว์ทั้งปวง รวมไปถึง สัตว์ผู้ยังไม่บรรลุถึงความเป็นพุทธะ ตามคำสอนของมหายานแล้ว สัตว์ทั้งหลายล้วนแต่มีศักยภาพ บรรลุพุทธภูมิสูงสุดได้ ดังนั้นผู้ที่บรรลุมรรคผลภูมิต่างๆ ที่ไม่ใช่พุทธภูมิ และผู้ยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ เลย ก็ได้ชื่อว่า สรรพสัตว์ ทั้งสิ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหายานแบ่ง ภูมิต่างๆ ไว้ ๑๐ ภูมิ เรียกอีกอีกอย่างว่า ธรรมธาตุทั้ง ๑๐ คือ <O:p</O:p
    ๑.พุทธะ (ผู้หลุดพ้นด้วยบารมีต่างๆ ที่สั่งสมมาด้วยตนเอง เป็นผู้สอนผู้อื่นให้รู้ตาม หลุดพ้นตาม) <O:p</O:p
    ๒.โพธิสัตว์(ผู้มุ่งสู่ความเป็นพุทธะ) ๓.ปัจเจก (ผู้ถึงความหลุดพ้นเฉพาะตน คนเดียว)<O:p</O:p
    ๔.สาวก (ผู้หลุดพ้น ด้วยการฟัง) <O:p</O:p
    ๕,มนุษย์ (สัตว์ประเสริฐ คือมีโอกาสพัฒนาตนสูงขึ้นไปถึงพุทธะได้ และสามารถตกต่ำถึงเดรัจฉาน หรือนรกได้) <O:p</O:p
    ๖.เทวดา (ผู้เสวยสุขที่ประณีต เปรียบเหมือนคนร่ำรวย มียศศักดิ์ในโลก) <O:p</O:p
    ๗.อสุร(ผู้มักโกรธ) ๘.นรก(ผู้มีกรรมชั่วหนัก และไกลจากกรรมดี) <O:p</O:p
    ๙.เปรต(ผู้มักโลภ) ๑๐,เดรัจฉาน(ผู้มักหลง ไม่มีปัญญา)<O:p</O:p
    <O:p
    ดังที่เราจะได้กล่าว ถึงปณิธานข้อสำคัญข้อหนึ่ง ที่ว่า พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าจะสั่งสอนให้สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นสาวกยาน ปัจเจกยาน และสัตว์ทั้งปวง ได้หันมาบำเพ็ญจริยาเป็นโพธิสัตว์ ได้สำเร็จผลสูงสุดตามที่ศักยภาพของตนมี คือการสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    <O:p
    พระสูตรฝ่ายมหายานที่กล่าวถึง พุทธประวัติ พระปณิธาน และอานิสงค์ในการปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั้น คือ ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร หรือ藥師琉璃光如來本願功德經<O:p</O:p
    <O:p
    ในที่นี้ จะกล่าวถึง มหาปณิธานที่ยิ่งใหญ่ ๑๒ ข้อ ที่เป็นหัวใจของพระสูตรนี้ และเป็นสิ่งที่พระองค์ตั้งพระทัย จะทำให้สรรพสัตว์ เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
    <O:p</O:p
    <O:p
    ถึงจุดนี้ ขออธิบายถึง การโปรดสัตว์ของมหายานอีก ๓ ประการ คือ ๑. พระพุทธเจ้าที่ตั้งพระทัยว่า เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จึงจะยังให้ความตั้งใจ หรือปณิธานต่างๆ ที่เคยอธิษฐานไว้ให้สำเร็จ เรียกว่า การโปรดสัตว์แบบพระราชา การโปรดสัตว์แบบนี้จะให้ผลแก่หมู่สัตว์มาก มีอานิสงค์มาก มีกำลังมาก เหมือนการช่วยเหลือของพระราชา แต่การเข้าถึงพระราชา นั้นก็ไม่ง่ายเช่นกัน ,พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระอมิตาภะพุทธเจ้า ก็อยู่ในประเภทนี้

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๒. การตั้งใจว่า จะหลุดพ้นไปพร้อมๆ กับสรรพสัตว์ เรียกว่า เป็นกัลยาณมิตร ของหมู่สัตว์ เรียกว่า การโปรดสัตว์แบบนายเรือ คือ ถึงฝั่งพร้อมกัน

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๓. การตั้งใจว่า ให้หมู่สัตว์ข้ามฝั่งไปจนหมดก่อน แล้วจึงตามไปเป็นคนสุดท้าย เรียกว่า การโปรดสัตว์แบบคนเลี้ยงแกะ คือให้แกะตัวสุดท้ายข้ามฝั่งไปก่อน แล้วตนจึงเดินปิดท้ายไป พระกษิติครรภ์ อยู่ในประเภทนี้ คือ ท่านมีปณิธานว่า ตราบใดที่ยังมีสัตว์หลงเหลือในนรกแม้นเพียงหนึ่งเดียว ก็จะไม่ขอเข้าสู่พุทธภูมิ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ไภษัชยคุรุสูตรนี้ กล่าวว่า พระบรมศาสดาศากยมุนี ทรงแสดงธรรมนี้ที่เมือง ไวสาลี ประเทศอินเดีย โดยในสมัยนั้น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นโพธิสัตว์แห่งปัญญา และเป็นประธานหมู่โพธิสัตว์ทั้งปวง ได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ว่า ในอนาคต หากสัตว์โลก เป็นทุกข์เพราะมีโรค มีอันตราย ต่างๆ เบียดเบียน ให้อายุขัยสั้น เป็นทุกข์เพราะร่างกาย และจิตใจ จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใดหรือไม่ ที่หากได้สักการะแล้ว จะมีอานิสงค์มาก ดับทุกข์ภัยเหล่านั้นได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระพุทธองค์มีพระกรุณาตรัสตอบว่า ในทิศตะวันออกของโลกที่เราอยู่นี้ ห่างออกไปเท่ากับเม็ดทรายของแม่น้ำคงคา ๑๐ สายรวมกัน มีอีกโลกหนึ่ง ชื่อ ศุทธิไวฑูรย์ และมีพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง พระนามว่า ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ คือ สมบูรณ์ทั้งคุณธรรมภายนอกภายใน เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ขณะนี้ก็ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ มีพระโพธิสัตว์ พระสาวก จำนวนมากมายมหาศาล เกินการนับคำนวณ ห้อมล้อมอยู่
    <O:p</O:pคือ เปรียบเทียบเม็ดทราย ๑ เม็ด คือ โลกธาตุ ๑ แห่ง และมีพระพุทธเจ้าประทับ ๑ องค์ เราต้องนับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา ๑ สาย แล้ว คูณ ๑๐ จึงจะทราบถึงจำนวนโลกของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ที่ห่างจากโลกของเรา <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จึงทราบได้ว่า พระองค์ทรงอยู่ห่างไกลจากโลกแห่งนี้เหลือเกิน ดังนั้น การได้ยินพระนาม การได้รับรู้ถึงพระจริยาวัตร พระมหาปณิธาน หรือความตั้งพระทัยที่ยิ่งใหญ่ ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ของพวกเราในครั้งนี้ จึงนับเป็นกุศลมหาศาล <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในพระสูตรยังกล่าวอีกว่า เรื่องราวของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านี้ บรรดาพระปัจเจกพุทธะ พระสาวก และพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมียังไม่เกือบเทียบเท่า พระพุทธเจ้า ก็มิอาจจะกล่าวแสดง หรือล่วงรู้ถึงพระปณิธาน และอานิสงค์ต่างๆ ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าได้

    <O:p</O:pพวกเราทั้งหลาย เพราะได้พระกรุณาของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ตรัสแสดงเรื่องราวของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล ทำให้บัดนี้เรามีโอกาสได้รู้จัก และมีโอกาสได้ยินพระนาม จึงถือเป็นการปลูกฝังกุศลมูลที่ยิ่งใหญ่และหาได้ยากในครั้งนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คติ เรื่อง พุทธเกษตรนี้ ชาวไทยหรือชาวเถรวาทอาจไม่คุ้นเคย อันดับแรก เราต้องทำความเข้าใจว่า ภายนอกโลกแห่งนี้ ยังมีสุริยจักรวาล นอกระบบสุริยจักรวาล ยังมีจักรภพ หรืออวกาศ อันไม่มีที่สิ้นสุด และภายในอวกาศนั้นยังมี อีกหลายๆ ระบบสุริยจักรวาล ซึ่งแต่ละระบบสุริยะนั้น มีดวงอาทิตย์เป็นแกนกลาง ๑ ดวง และมีดาวเคราะห์เป็นบริวารมากบ้างน้อยบ้าง เหมือนระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่นี้ ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    และในจุลนิกสูตร ของฝ่ายเถรวาท พระศากยมุนีพุทธเจ้า ก็ตรัสกับพระอานนท์ ว่า ระบบการเรียกโลกต่างๆ ในจักรวาลแบบหนึ่งว่า สหัสโลกธาตุ คือ ระบบที่มีโลกธาตุหนึ่งพันแห่ง เขาสุเมรุหนึ่งพันลูก ทวีปสี่พันทวีป และตรัสถึงระบบโลกธาตุแบบใหญ่ที่สุด คือ ตรีสหัสมหาสหัสโลกธาตุ ซึ่งในโลกธาตุเหล่านั้น ล้วนแต่มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทั้งสิ้น
    <O:p
    อีกประการหนึ่ง บางครั้งเราอาจไม่จำเป็นต้องเอามโนทัศน์ของตนเอง มาทำความเข้าใจเรื่องพุทธเกษตรที่อยู่นอกเหนือกาลเวลาและสถานที่ และที่สำคัญพุทธเกษตรอื่นๆ นั้น อาจมีอยู่จริง มากกว่าโลกที่เราอยู่แห่งนี้ก็ได้ ในด้านตรงข้าม หากพุทธเกษตรอื่นๆ ไม่มีจริง ก็ไม่ผิด เพราะความมีอยู่จริงของโลกนี้ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะโลกที่เราเห็น ที่เราอาศัย ล้วนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยของธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ และอื่นๆ ประกอบกัน แล้วเราก็ดำเนินไปด้วยอวิชชา มองเห็นและเข้าใจไปว่า เป็นตัวตน แล้วไปยึดมั่นถือมั่น เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา จึงเกิดเป็นสังสารวัฏไม่จบสิ้น ข้อนี้เราจึงกล่าวได้ว่า โลกนี้ไม่ใช่ไม่มีอยู่ แต่มีอยู่ด้วยความไม่มีอยู่จริง หรืออยู่ด้วยความไม่จริง ต่างหาก

    <O:p</O:pซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธ ว่าโลกนี้และสิ่งต่างๆในโลกนี้ไม่มีอยู่จริง แต่ทว่าความมีอยู่จริงของโลกนี้เป็นความจริงแบบสมมุติเท่านั้น เช่น การเรียกโต๊ะ เก้าอี้ ความเป็นหญิงชาย ตรงกันข้าม ความจริงแบบปรมัตถ์ ทุกสิ่งในโลกและโลกแห่งนี้ รวมถึงโลกอื่นๆ ก็ล้วนไม่มีอยู่จริง เพราะ การเรียกโต๊ะ เก้าอี้ ความเป็นหญิงชายนั้น เป็นการสมมุติชื่อ สมมุติบทบาทขึ้นทั้งสิ้น ในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ยังกล่าวว่า แม้คำว่า โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ โพธิสัตว์ พุทธะ ก็ล้วนเป็นสมมุติบัญญัติทั้งสิ้น มิใช่สุญญตาภาวะอย่างแท้จริง

    <O:p</O:pคำว่า ไม่มีอยู่จริงนี้ ไม่ใช่การปฏิเสธการมีอยู่ของด้านสมมุติ แต่การไม่มีอยู่ของปรมัตถ์นั้น คือ การมีก็ไม่ใช่ การไม่มีก็ไม่เชิง เพราะพ้นจากคำบัญญัติว่า มี หรือไม่มี ดังนั้น พุทธเกษตร โลกธาตุทั้งปวง จึงเป็นสภาวะตถตา คือเป็นไปอยู่เช่นนั้นเอง ไม่เพิ่มขึ้น หรือไม่ลดลง จึงไม่สะอาดและไม่สกปรก ไม่เกิดและไม่ดับด้วยเหตุผลเช่นนี้ ผู้ที่มีทิฐิยึดมั่นถือมั่นอยู่ จึงไม่อาจมองเห็นพุทธเกษตรอื่นๆ ได้

    <O:p</O:pพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทรงมีความตั้งพระทัยที่ยิ่งใหญ่ ๑๒ ประการ ในขณะที่ยังบำเพ็ญเพียรเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ว่าเมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะช่วยเหลือสรรพสัตว์เช่นนี้

    <O:p</O:pมหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วกายแห่งเราจักมีรัศมีสว่างไปในโลกธาตุทั้งปวงไม่มีขอบเขตมีทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ๓๒ประการอสีตยานุพยัญชนลักษณะ๘๐ประการเป็นอลังการแห่งกายยังให้สรรพสัตว์ทั้งปวงเสมอเหมือนเราโดยมิแตกต่าง<O:p</O:p
    <O:p
    ความหมายคือ พระองค์มีพุทธประสงค์ จะช่วยให้สัตว์โลกเหมือนพระองค์ คือ มีลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ นั่นหมายถึง ให้สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุพุทธภูมิ, ส่องแสงสว่างไป ไม่มีประมาณในโลกธาตุทั้งปวง เป็นการแสดงว่า เราทั้งหลายสามารถบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ ด้วยความพากเพียร ปณิธาน โพธิจิต และอำนาจของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า การทำสมาธิน้อมจิตถึงพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า แบบสำนักวัชรยานนั้น จะต้องสร้างบริกรรมนิมิตว่า ตนเองเป็นพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า มีลักษณะมหาบุรุษ มีรัศมีสว่างไสวออกมาจากกายของตน แล้วแผ่ไปยังสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากทั้งปวง เพื่อปลดเปลื้องทุกข์ต่างๆ แม้แต่แพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล ก็ยังมีการสร้างนิมิตว่า ตนเองเป็นพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า รักษาโรคให้ผู้ป่วยด้วยความกรุณา อย่างไม่มีประมาณ<O:p</O:p
    <O:p
    ข้อนี้ คือการเจริญโพธิจิต มีความปรารถนาดีให้สัตว์ทั้งหลาย ได้พ้นทุกข์ และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แสดงถึงความเสมอภาค ระหว่างพระพุทธะและสรรพสัตว์ <O:p</O:p
    <O:p
    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วกายของเราจักดุจรัตนไวฑูรย์วิมลใสทั้งภายในและภายนอกมีรัศมีสว่างไสวมหาศาลเปล่งฉายไปในทิศทั้งปวงอลังการด้วยเปลวอัคคีรุ่งเรืองกว่าสุริยันจันทรานิรยภูมิที่อยู่ภายในโลหบรรพตจะได้เห็นเหตุการณ์นี้อีกในโลกธาตุแห่งนี้ผู้ดําเนินเที่ยวไปในความมืดมนอันธการสรรพสัตว์เหล่านั้นเมื่อได้ยลประภาสแห่งเราความโง่เขลาที่ปิดบังอยู่จักถูกเปิดออกแล้วกระทําสิ่งทั้งปวงได้ตามประสงค์<O:p
    <O:p
    ทรงมีกายที่สว่างใส และสะอาดทั้งภายในภายนอก มีรัศมีไม่มีประมาณ การมีคุณธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ทคือการกระทำที่แสดงออกมา เรียกว่า จรณะ และมีคุณธรรมที่ประเสริฐอยู่ภายใน เรียกว่าวิชชา คือความรู้ พระปัญญา พระอุปายะ พระบารมีต่างๆ ที่แผ่ไปทั่วยังความสว่างให้เกิดขึ้นได้ยิ่งกว่า แสงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ <O:p</O:p
    <O:p
    หมายถึงแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์นั้น หากมีเมฆ หรือ วัตถุทึบแสงใดๆ บดบัด แสงไว้ แสงก็ไม่อาจส่องผ่านได้ แต่พระรัศมีของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ส่องผ่านได้ถึงแดนนรกที่มืดมิด เปรียบเหมือนมนุษย์ที่มีความเห็นผิด โง่เขลา ผู้มีบาปหนัก หากได้เห็นพระรัศมีนี้ หรือ ได้ยินพระนามแล้ว ความโง่เขลาจะถูกเปิดออก เหมือนแสงอาทิตย์กำจัดความมืดมน เพื่อให้มีโอกาสทำสิ่งที่ดีงามทั้งปวง และท่านจะช่วยเหลือหมู่สัตว์ตลอดกลางวันและกลางคืน
    <O:p
    ข้อนี้ เป็นการเปิดทัศนคติที่ถูกต้อง ว่าสัตว์โลกล้วนแต่สามารถบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ เพราะความเข้าใจผิดที่ได้ฟังคำสอน หรือคำกล่าวที่ว่า การบำเพ็ญเพื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้านั้นยาก เป็นไปได้ยาก หรือได้ฟังคำกล่าวให้เสื่อมถอยกำลังใจจากพุทธภูมิ จึงทำให้พลาดจากความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วเหตุใดถึงจะต้องเป็นพระพุทธเจ้า ในเมื่อสภาวะของการหลุดพ้นไม่ต่างกัน <O:p
    <O:p
    ตอบว่า แม้สภาวะของวิมุตติ หรือการหลุดพ้นไม่ต่างกัน แต่วิสัย หรือความสามารถต่างกัน พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญูคือ รู้แจ้งสรรพสิ่ง สั่งสอนธรรมแก่พระอรหันต์ และหมู่สัตว์ได้ไม่มีประมาณ ดังนั้น การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงสามารถยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ได้มากกว่าการสำเร็จมรรคผลขั้นอื่นๆ

    บรรดาโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้บางชาติจะเกิดเป็นเดรัจฉานก็เป็นเดรัจฉานแต่สังขาร แต่จิตใจยังประเสริฐ มีปัญญา กรุณา เมตตา มากกว่ามนุษย์บางคนเสียอีก และสัตว์อื่นๆ ในป่า อันเราศึกษาได้จากพระชาดก เช่น บางชาติท่านเกิดเป็นนกตัวเล็กๆ แต่เอากายของตนเองไปจุ่มน้ำจนชุ่ม แล้วบินมาสลัดขนเพื่อจะดับไฟป่า ช่วยเหลือชีวิตสัตว์ทั้งปวง เป็นต้น ดังนั้น การเกิดของโพธิสัตว์ ไม่ใช่เกิดเพื่อใช้กรรม แต่เกิดเพื่อสร้างบารมี สังสารวัฏแห่งนี้ เป็นกองบุญใหญ่ที่ หมู่พระโพธิสัตว์หมายจะมาเกิดเพื่อสร้างบารมี ผู้มีโพธิจิตยิ่งแล้ว จะมีแต่สมัครใจมาเกิดในสังสารวัฏ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ มาเกิดเป็นกัลยาณมิตรของหมู่สัตว์ เราท่านทั้งหลายก็สามารถเลือกได้ในปัจจุบันว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร จนมีคำกล่าวหนึ่งในมหายานว่า "พระโพธิสัตว์เป็นผู้หมายมุ่งพุทธภูมิยิ่งนัก แต่กลับหันหลังให้พุทธภูมิ แล้วมุ่งหน้าสู่สังสารวัฏ" เพราะพระโพธิสัตว์ ไม่ได้เห็นกายสังขาร หรือภพภูมิที่เกิดว่าสำคัญ เพราะสังขารนั้น เป็นเครื่องครองให้ทำประโยชน์ เพื่อสั่งสมบารมี หาประสบการณ์ต่างหาก เป็นผู้มีจริตอัธยาศัยยิ่งใหญ่ที่สั่งสมมานานประมาณชาติภพไม่ได้มาแล้ว เรียกว่ามี "มหาจิต" ดังนั้น หากเราทั้งหลาย ยังเกรงกลัวการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือปรารถนาเป็นเทวดา นั้นหมายความว่า ยังเป็นผู้ละความสุขเฉพาะตนไม่ได้ ทั้งนี้ บรรดาโพธิสัตว์จึงต้องอาศัยพุทธพละเป็นที่พึ่ง ให้ไม่เสื่อมถอยจากโพธิจิต กรณีการประพฤติตามจริยาของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ก็เช่นเดียวกันนี้ คือขอพึ่งพุทธานุภาพของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า <O:p
    <O:p
    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วด้วยอุบายโกศลแห่งปัญญาญาณอันหาประมาณแลหาขอบเขตมิได้จักยังให้สรรพสัตว์ทั้งปวงได้ถึงพร้อมในเครื่องใช้ทั้งปวงมิหมดสิ้น<O:p
    <O:p
    ข้อนี้ คือการสนองความต้องการของสัตว์โลกทางกาย เราอาจสงสัยว่าท่านจะช่วยเราได้อย่างไร หากเราต้องการมีเงินมากๆ ได้รถคันใหม่ ได้บ้านหลังโตๆ ในสายตาของผู้ที่เห็นแต่ประโยชน์ของตนเอง ก็จะเข้าใจว่าพระองค์มีปณิธาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ผู้ที่สวดมนต์ ภาวนา แล้วอธิษฐานขอให้ถูกหวยก็อยู่ในข่ายนี้ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญา มีศีล ย่อมจะบำเพ็ญศีล เจริญปัญญา ถวายเป็นพุทธบูชาต่อพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เมื่อกุศลจากการทำความดีถวายพระองค์ สุขปีติย่อมเกิดที่จิตภายในของผู้นั้นเอง ดังนั้นความปรารถนาทางกาย หรือสุขภายนอกจึงค่อยๆ ได้รับการบำบัด ความอยาก ความต้องการจึงมีปริมาณที่ลดน้อยลง เป็นผู้รู้จักพอ ผู้รู้จักพอจึงเป็นผู้ร่ำรวยที่สุด <O:p
    <O:p
    ตรงข้าม หากเราภาวนา ระลึกถึงพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ด้วยความโลภที่ไม่สิ้นสุดแล้ว ความโลภนั้น จึงเป็นเครื่องปิดกั้นดวงจิต ให้จิตเดิมแท้ที่สว่าง ไม่อาจส่องประกายแสงออกมาได้ และพระรัศมีของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ก็มิอาจส่องเข้าไปสู่จิตผู้นั้นด้วย เช่นนี้แล้ว จึงเป็นคำตอบว่า เหตุใดเราจึงไม่ได้รับอานิสงค์จากมหาปณิธานข้อนี้ แต่หากเรามีจิตเมตตากรุณา มีความโลภเพียงแต่น้อย มีจิตเป็นผู้ให้มากสักหน่อย เราจะสัมผัสได้ถึงพระรัศมีของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าทันที<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากมีสรรพสัตว์ประพฤติมิจฉามรรคจักยังให้สู่โพธิสัมมามรรคหากประพฤติในสาวกยานหรือปัจเจกโพธิยานก็จักยังให้ตั้งอยู่ในมหาพุทธยานธรรม <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ความหมายคือ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทรงมีพุทธประสงค์จะช่วยเหลือ ผู้ที่หลงผิด ผู้ที่ไม่รู้จักพุทธศาสนา ให้มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ เชื่อเหตุผลของกรรม ว่าทำดีย่อมได้ดี โลกก่อนและโลกหน้ามีจริง เป็นต้น จากนั้น ยังจะช่วยให้ผู้ประพฤติตนเพื่อสำเร็จเป็นพระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า ได้หันมาประพฤติตนเพื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้ประพฤติตนเป็นพระสาวก คือผู้มองเห็นรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นของว่าง, พระปัจเจกโพธิ คือผู้มองเห็นเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นวัฏจักร ของความเกิดดับ เรียกว่าการมองเห็น ปฏิจจสมุปบาท คือการเข้าใจสรรพสิ่งว่า ไม่สามารถก่อเกิด หรืออยู่ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องอาศัยสิ่งต่างๆ ในการตั้งอยู่ มีชีวิตอยู่ กล่าวได้ว่า พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้าอันสามารถนำพาตนให้พ้นทุกข์ แต่ยังไม่ได้บรรลุธรรมทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ยังไม่ได้ทำเต็มศักยภาพของตนเอง สามารถสั่งสอนสัตว์โลกได้มากในระดับหนึ่งเท่านั้น หรือเรียกว่า การหลุดพ้นส่วนบุคคล เป็นแบบอย่างที่ประเสริฐให้ประพฤติตาม เช่นคำว่า พระพุทธเจ้าเป็นธรรมราชา พระโพธิสัตว์เป็นธรรมราชกุมาร สืบเชื้อสายพุทธโครตมิให้ขาดสิ้น เพราะพระพุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงล้วนมีโพธิจิตที่ยิ่งใหญ่ พระสาวกเป็นธรรมเสนาบดี ในคัมภีร์ทศภูมิกสูตร ของมหายาน กล่าวว่า แม้นว่าธรรมราชกุมารยังเยาว์วัย แต่ตามศักดิ์แล้วคือเชื้อสายของพระพุทธองค์ จึงได้รับความช่วยเหลือจากบรรดาธรรมเสนาทั้งปวง และธรรมราชกุมารก็ให้ความเคารพธรรมเสนาบดีเพราะ ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแทนไปก่อน ต่อเมื่อธรรมราชกุมารนั้นมีพระชันษา(บารมี) เต็มพร้อม จึงได้ครองโพธิบัลลังก์อภิเษกเป็นธรรมราชา

    ส่วนพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ที่บรรลุภูมิชั้นสูงนั้น จะมีความสามารถในการสั่งสอนสัตว์ด้วยวิธีการ หรืออุปายะที่ต่างกัน ตามแต่จริตของสัตว์นั้นๆ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ มองเห็นสรรพสัตว์ว่า ไม่ได้ต่างจากตนเอง ไม่มีบัญญัติใดๆ มีความเสมอภาค และยังเคยเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง กันมาก่อน จึงมีเมตตากรุณาต่อสัตว์อย่างไม่มีประมาณ เพราะสัตว์โลกเป็นโรค เป็นทุกข์อยู่ โพธิสัตว์ทั้งหลายจึงทุกข์ด้วย <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากเราทำกุศลทั้งปวง ด้วยจิตของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เราก็จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งปวงด้วยความเคารพ มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งปวงดุจบิดามารดา ญาติมิตรที่รักกัน เป็นส่วนหนึ่งกับเรา คนในโลกนี้จะไม่มีความเห็นแก่ตัว สันติสุขจึงเกิดได้เอง ภัยพิบัติต่างๆ จึงสิ้นไปได้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากสรรพสัตว์ทั้งหลายบําเพ็ญพรหมจรรย์ในธรรมแห่งเราย่อมมิต้องล่วงละเมิดในศีลทั้งปวงจักรักษากรรมทั้งได้เป็นอย่างดี ไร้ซึ่งผู้ล่วงละเมิดแล้วตกอบายภูมิแม้นได้ล่วงละเมิดแล้ว ได้สดับนามของเราตั้งจิตจดจําภาวนาด้วยที่สุดแห่งใจแล้วไซร้ย่อมคืนสู่บริสุทธิภาวะตราบถึงพระโพธิญาณ<O:p</O:p
    หมายถึง ความตั้งใจของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ที่เมื่อชักจูงหมู่สัตว์ให้มีความเห็นถูกต้องแล้ว แต่หมู่สัตว์นั้นได้พลาดพลั้งทำผิดไป พระองค์ก็จะทรงอนุเคราะห์ให้พ้นจากอบายภูมิด้วย มหาปณิธานข้อนี้ ถือเป็นพระกรุณาอย่างที่สุด เพราะปกติผู้ผิดศีลแล้ว ย่อมเป็นผู้ร้อนตัว ภาษาพระเรียก วิปฏิสารย่อมเกรงกลัวตกสู่อบายภูมิ แต่หากได้ยินพระนามของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า จดจำได้ และภาวนาถึงอย่างสุดจิตสุดใจ คือศรัทธาอย่างไม่เคลือบแคลง ความร้อนใจต่างๆ ที่ปกคลุมดวงจิต ก็จะมลายสิ้นไป เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว ก็ย่อมไปสู่สุขคติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แต่การได้ยินพระนามของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า แล้วศีลกลับบริสุทธิ์ได้ ไม่ตกไปเป็นสัตว์นรก ผีเปรต และสัตว์เดรัจฉานนั้น ต้องภาวนาต่อไปด้วยความศรัทธาอย่างสุดหัวใจ ต่อเมื่อได้ภาวนาถึงด้วยความไม่เคลือบแคลงเมื่อใด บาปกรรมที่เป็นสิ่งเศร้าหมองของจิตก็จะดับไปพร้อมๆ กัน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระธรรมในมหายานสูตร กล่าวว่า มีบุคคล ๒ จำพวกที่หาได้ยาก คือ ๑.ผู้ที่ไม่เคยทำผิดเลย และ ๒.ผู้ทำผิดแล้วรู้สำนึกอย่างสุดซึ้ง กลับใจ ไม่ทำซ้ำอีก เช่นนี้ อานุภาพของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า จึงจะช่วยให้เราไม่ต้องไปเกิดเป็น สัตว์นรก ผีเปรต สัตว์เดรัจฉาน<O:p</O:p
    <O:p

    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากสรรพสัตว์มีอินทรีย์ทั้งปวงมิสมบูรณ์ร่างกายอัปลักษณ์เนตรบอดโสตหนวกโอษฐ์ใบ้นิ้วมือเท้างอหงิกหลังค่อมโก่งงอเป็นโรคเรื้อน สติวิปลาสมิสมประดีมีโรคาทุกข์นานารุมเร้าเสียดแทงอยู่หากได้สดับนามของเราและสรรเสริญระลึกถึงด้วยที่สุดแห่งใจจักบรรลุศุภลักษณะที่งดงามสรรพโรคามลายสิ้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มหาปณิธานข้อ ๖ นี้ และข้อ ๗ ถือเป็นหัวใจของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ในฐานะของพระพุทธเจ้าหมอ ความสุขและทุกข์ทั้งปวง ล้วนเกิดจากจิต หากเรามีปัญญา มองเห็นสภาวะตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวเราได้มากเท่าไร ความทุกข์ก็น้อยลงเท่านั้น เพราะมีความยึดมั่นน้อยลง หากสิ่งทั้งหลายมันไม่ได้ดั่งใจ เมื่อมันเสียหายชำรุดไป เราก็ไม่ทุกข์ใจ เมื่อไม่ทุกข์ใจความสุขที่เกิดจากความเข้าใจโลกตามความเป็นจริงจึงเพิ่มขึ้นมา<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ในปณิธานข้อนี้ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ บกพร่องนั้นไม่เป็นทุกข์เสียเลย แต่หากเรามองด้วยปัญญา เราจะได้พบความสุขที่จิตใจ ซึ่งเป็นสุขกว่าสุขทางกายหลายเท่านัก ข้อนี้จึงถือเป็นความอัศจรรย์ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า อีกข้อหนึ่ง ซึ่งหากเราพิจารณาตามอักขระ ย่อมถือว่ายังยึดติดในสมมุติบัญญัติ ก็จะเห็นว่ามันไม่อาจเป็นไปได้ แต่หากมองด้วยความไม่มีตัวตนแล้ว ก็จะเห็นความไม่มีตัวตน ที่รับรู้ด้วยใจ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากสรรพสัตว์ทั้งหลายยากจนข้นแค้นลำบากแสนเข็ญไร้ที่พึ่งพิงอาศัยมีโรคทั้งปวงรุมเร้าไร้โอสถบําบัดโรคไร้แพทย์ผู้รักษาเมื่อได้สดับนามของเราแล้วเพียงชั่วขณะสรรพโรคาจักดับสิ้น วงศ์ตระกูลรุ่งเรืองโภคทรัพย์มิขาดแคลนกายแลใจผาสุกตราบถึงพระโพธิญาณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ปณิธานข้อนี้ คล้ายคลึงกับข้อ ๖ เพียงแต่ข้อ ๖ เป็นเรื่องเฉพาะตนของผู้ป่วยเอง ส่วนข้อที่ ๗ กล่าวถึงสภาพสังคม ทั้ง ๒ สิ่งนี้ ก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง เพราะเราไปยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวตน บุคคล เราเขา จึงเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป เพราะยังมีความอยาก เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ หากเราสละความอยากขั้นหยาบที่สุด คือส่วนเกินของการดำรงชีวิต คือการฟุ้งเฟ้อ ความกระหายในลาภ ยศ สรรเสริญแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จากนั้น จึงมาละความอยากขั้นพื้นฐานที่เกินพอดี คือความอยากในอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยที่เกินพอดี ก็จะอยู่ได้อย่างพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะได้รับความสุขพื้นฐาน ที่ทำให้มนุษย์สามารถอยู่ได้เป็นสุข โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น แล้วจึงมาสละความอยากอย่างละเอียด คือความอยากให้ตนเองสุข เพราะความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเป็นตนของเราจริงๆ เมื่อสละความอยากได้ทุกขั้นตอน ก็จะบรรลุธรรมได้ เหมือนกับพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าที่มีแต่ความปรารถนาให้สัตว์โลกเป็นสุข หากเราทุกท่านไม่เห็นแก่ตัวจนที่สุดทุกกรณี ก็สามารถบรรลุธรรม เป็นพระโพธิสัตว์ได้อย่างแน่นอน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากมีสตรีถูกความทุกข์ทั้งปวงของความเป็นหญิงรุมเร้าเบื่อหน่ายเป็นที่สุดปรารถนาสละกายของสตรีหากได้สดับนามของเราแล้วสรรเสริญระลึกถึงด้วยที่สุดแห่งใจกายนี้จักแปรเปลี่ยน กลายเป็นบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะของชายชาตรีตราบถึงพระโพธิญาณ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อนี้แสดงให้เห็นแนวคิดของสภาพสังคมอินเดียโบราณที่กดขี่สตรี แม้นในปัจจุบันที่กล่าวว่า ชายหญิงเสมอภาคกัน แต่สตรีเพศก็ยังถูกรังแกอยู่ และเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้เกิดเป็นหญิงนั้น เพราะทำกรรมมาในชาติก่อน จึงต้องมาอุ้มท้อง และได้รับทุกข์ต่างๆ แม้คำว่า แม่ เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์และทรงคุณค่า แต่ในสายตาของสังคม ก็ยังมีการแบ่งแยกและถูกข่มเหงอยู่ดี ปณิธานของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ข้อนี้ มุ่งสอนให้เราละวาง ทวิภาวะ หรือความเห็นที่มองสรรพสิ่ง ว่าต่างกัน เป็นสอง ไม่เป็นหนึ่งเดียว <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะความเห็นเช่นนี้จึงทำให้เราเวียนว่ายในสังสารวัฏ เพราะความเห็นผิด ยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน ความเป็นหญิงชาย ความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นบทบาทต่างๆ บางคนที่ยึดติดในบทบาทนั้น เป็นคนที่น่าสงสารกว่าการเกิดเป็นหญิงเสียอีก เพราะเป็นผู้ยึดมั่นหลงผิดถึงที่สุด ข้อความในพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องพุทธเกษตรต่างๆ เช่น แดนสุขาวตีของพระอมิตาภะพุทธเจ้า และแดนศุทธิไวฑูรย์ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ฯลฯ ก็กล่าวถึงความไม่มีสตรีเพศในดินแดนเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายตามที่กล่าวแล้วข้างต้น และมีคำสอนว่าสังสารวัฏและพระนิพพานไม่ต่างกัน ศุทธิไวฑูรย์และสหาโลกธาตุแห่งนี้ก็ไม่ต่างกัน ที่เห็นต่างกันเพราะเรายังละวางความแบ่งแยกไม่ได้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มหาปณิธานประการที่เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วจักยังให้สรรพสัตว์ทั้งปวงได้ออกจากมารชาละยังมีพลพรรคของมิจฉาทิฐินานาประการซึ่งจักสงเคราะห์ไว้ทั้งสิ้นยังให้เกิดสัมมาทิฐิค่อยๆได้ศึกษาบําเพ็ญโพธิสัตวจริยาทั้งปวงตราบถึงพระโพธิญาณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มารชาละ คือ ตาข่ายของมาร มารคือมิจฉาทิฐิ คือความเห็นผิด ความเห็นผิดนี้ ถือเป็นอวิชชา ที่หลอกให้หมู่สัตว์หลงผิด เห็นผิดว่าเป็นตัวตน บุคคล เราเขา เห็นว่าสรรพสิ่งนั้นเที่ยงแท้ ไม่เสื่อมสลาย ไม่สิ้นไป สร้างบัญญัติขึ้นมา ผูกมัดตัวเองทีละอย่าง ยึดมั่นในกาย ในจิต จนถึงการยึดมั่นในธรรม ในข้อนี้เป็นพุทธประสงค์ ให้สละความเห็นผิดจนถึงที่สุด จนได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า มหายานธรรมมีคำสอน โดยสรุปคร่าวๆ ว่า ผู้ละวางความยึดมั่นถือมั่นกายและใจ เห็นแจ้งอริยสัจได้ จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ละความความแบ่งแยกเห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาทได้จึงได้บรรลุปัจเจกโพธิ ผู้ละวางสัญญาที่ลวงหลอกรู้แจ้งปุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตาได้จึงสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า จึงทราบได้ว่า ความหลงผิดนั้นมีหลายระดับ เมื่อใดที่สละทิ้งทั้งธรรมที่พาให้เราบรรลุได้ จึงชื่อว่าไม่ยึดมั่นอย่างแท้จริง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหาปณิธานประการที่๑๐เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องราชอาญาถูกจองจําในกรงขังพันธนาการด้วยโซ่ตรวนถูกโบยตีจนถึงประหารชีวิตยังมีเรื่องราวอันเป็นทุกข์มากมายที่บีบคั้นให้ทุกข์โศกไร้ซึ่งความสุขเพียงชั่วครู่ หากได้สดับนามของเราด้วยเหตุแห่งอํานาจคุณธรรมบารมีของเราจักยังให้หลุดพ้นจากความทุกข์โศกทั้งปวงตราบถึงพระโพธิญาณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ปณิธานข้อนี้ กล่าวถึง ภัยของพระราชา ในสมัยอินเดียโบราณ อำนาจทั้งปวงอยู่ที่พระราชา เป็นดั่งสมมติเทพ มีพระราชอำนาจอยู่เหนือสรรพสิ่งในแผ่นดิน ดังนั้นหากพระราชา ไม่พอพระทัย ชีวิตบรรดาไพร่ฟ้าก็ตกอยู่ในความอันตราย หาความแน่นอนมิได้ ดังนั้น ราชภัย จึงถือเป็นภัยที่นอกเหนือการควบคุมอย่างหนึ่ง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แต่ในยุคปัจจุบัน อาจจะเป็นภัยจากกฎหมายหรือภัยทางการเมือง เช่นการใช้กฎหมายในทางที่ผิด เป็นเครื่องมือของคนมีอำนาจและคนเจ้าเล่ห์ รวมไปถึงความทุกข์ที่ไม่ได้กล่าวถึงต่างๆอีก ปณิธานข้อนี้กล่าวว่า มีความทุกข์มากมายที่บีบคั้นให้ทุกข์โศก ไร้ซึ่งความสุขเพียงชั่วครู่หากได้ยินพระนามของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า และ ด้วยเหตุแห่งคุณธรรมบารมีของเรา ยังให้หลุดพ้นจากความทุกข์โศกทั้งปวง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ปณิธานข้อนี้ มีนัยยะทางธรรมคือ มิจฉาทิฐิ อวิชชา ประดุจกรงขัง ใจเรานี่เองเป็นดุจพระราชา เพราะใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจมีอำนาจ แม้ใจเองก็ไม่เที่ยง ผันแปรตลอดเวลา หากเราลืมกายลืมใจเราเอง คือไม่มีสติ ภัยใหญ่หลวง คือการเวียนว่ายตายเกิด ย่อมเกิดขึ้นเพราะใจที่หลงผิด จึงเกิดเป็นความทุกข์มากมาย จนหาความสุขไม่ได้เลย แต่ด้วยพระคุณธรรมของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าแห่งยา ทรงใช้ธรรมโอสถ คือพระคุณธรรมหลักของพระองค์เยียวยาความทุกข์ทั้งหลายได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหาปณิธานประการที่๑๑เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกข์ทรมานจากทุพภิกขภัย(ข้าวยากหมากแพง) เหตุที่ต้องการอาหารจึงกระทําความชั่วทั้งปวงหากได้สดับนามของเราแล้วสรรเสริญระลึกถึงด้วยที่สุดแห่งใจเราจักยังให้อิ่มเอมในโภชนารสเลิศตามจิตปรารถนาก่อนแล้วใช้ธรรมรสยังให้ตั้งอยู่ในบรมสุขในภายหลังตราบถึงพระโพธิญาณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เราไม่อาจปฏิเสธ ความทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยที่ใจไปรับรู้เข้า และเป็นการยากที่จะละวางกายกับจิตว่าเป็นคนละส่วน เพราะกายและจิตติดกันแน่นมานานแสนนาน ตามทฤษฏีเราอาจเข้าใจว่า สุขเกิดขึ้นเพราะความชอบใจ ทุกข์เกิดขึ้นเพราะการไม่ชอบใจ สิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น เพราะเสียง รูป กลิ่น รส สัมผัส ไปกระทบที่หู ตา จมูก ลิ้น กายแล้วใจเราไปปรุงแต่งเข้า จนเกิดความยึดมั่นในความสุข แล้วปรุงแต่งให้มันสุขยิ่งๆ ขึ้นไปเพื่อสนองกิเลส เหมือนเชือกที่ผูกมัดตัวเองแน่นขึ้นเรื่อยๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในข้อนี้หากผู้ที่ละวางได้ถึงที่สุด ย่อมถึงพระนิพพาน คือความดับ ความเย็น แต่หากผู้ละได้ชั่วคราว ก็เย็นชั่วคราว คืออยู่เป็นสุขไม่ทุกข์ร้อนเพราะกิเลสมันเผาไม่ได้ชั่วคราว ทั้งนี้ อยู่ด้วยปัญญาที่อบรมมา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าทรงทราบว่า สัตว์ทั้งปวง ล้วนแต่มีพุทธภาวะ คือ ความสามารถรู้แจ้งเป็นพระพุทธะได้ จึงทรงมีพระเมตตากรุณา ต่อสัตว์โลกอย่างไม่มีประมาณ เพราะทรงมองสัตว์โลกไม่ต่างกับพระองค์ ทุกคนย่อมรู้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก นั่นคือ การมีพุทธภาวะอยู่ภายใน แต่เราไม่สามารถเอาชนะกิเลส คือปล่อยใจไปตามกิเลส จึงทำให้ก่อกรรมชั่วอยู่เรื่อยไป
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในกรณีผู้ต้องทำกรรมชั่วเพื่อเลี้ยงชีพ ท่านให้ดูที่เจตนา เช่นว่า การฆ่าสัตว์เพื่ออาหาร กับการฆ่าสัตว์เพื่อการกีฬา เช่นการแข่งขันตกปลา แข่งขันล่าสัตว์ หรือการฆ่าสัตว์มากินจนเกินความจำเป็น น้ำหนักของกรรมก็ต่างกัน ด้วยพระปณิธานและพระเมตตาของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หมายจะอนุเคราะห์สัตว์ที่ทำกรรมชั่วเพราะจำเป็น พระองค์จึงทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์ทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชั้นวรรณะโดยแท้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ด้วยพุทธานุภาพจะบันดาลให้ผู้ที่ทำกรรมชั่วเพื่อเลี้ยงชีพ ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และอาชีพให้ถูกต้องสมควรได้เอง เพราะผู้น้อมรับ ศรัทธาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าแล้ว ก็คือ ผู้เกิดโพธิจิต ที่กำลังจะมีวิบากกรรมลดน้อยลง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่อดยากจึงไม่ต้องทำความชั่วอีก และสติปัญญาก็จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้นจนได้รับธรรมรส ถึงพระนิพพาน แต่ทั้งปวงนี้ เนื่องอยู่ด้วยความศรัทธาที่ไม่เคลือบแคลงเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหาปณิธานประการที่๑๒เมื่อเรามาอุบัติยังโลกและบรรลุพระโพธิญาณแล้วหากสรรพสัตว์ทั้งหลายกายปราศจากอาภรณ์ได้รับทุกข์จากแมลงยุงและความหนาวร้อนหากได้สดับนามของเราแล้วสรรเสริญระลึกถึงด้วยที่สุดแห่งใจจักได้รับอาภรณ์ที่ดีเลิศเครื่องประดับรัตนะเครื่องดนตรีของหอมดอกไม้นานาชนิดอย่างบริบูรณ์ไกลจากทุกข์เศร้าหมองทั้งปวงตราบถึงพระโพธิญาณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อ ๑๒ นี้มีความคล้ายข้อที่ ๑๑ ที่มุ่งดับทุกข์แก่ผู้ยากไร้ ที่หากเราได้ศึกษาธรรม จากมหาปณิธานทั้ง ๑๑ ประการข้างต้นแล้ว ความทุกข์ยาก หิวกระหาย เพราะความเห็นผิด ความยึดมั่นถือมั่น ความทะยานอยากก็จะทุเลาเบาบางไปมาก จนถึงพระโพธิญาณ ดังนั้น หากเราไม่ยึดมั่นอยู่ในทุกข์หรือสุขทั้งปวงแล้ว ผู้ที่กายอดอยากย่อมมีใจอิ่มเอม ผู้ที่กายพิการย่อมมีจิตใจสมบูรณ์ ผู้ร่างกายไม่น่าดู ไม่น่ารัก ย่อมมีจิตใจงดงามบริสุทธิ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตรงข้ามกับผู้มีร่างกายที่เสพอาหารจนอิ่ม แต่มีจิตใจไม่รู้จักพอ ผู้มีร่างกายงดงามน่าดู แต่จิตใจสกปรก น่ารังเกียจ หากเราทั้งหลายบูชา ศรัทธา และภาวนาถึงพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า จึงควรทราบว่า พระองค์มุ่งเปลื้องทุกข์ที่อยู่ภายในสู่ภายนอกเป็นสำคัญ ความหมายคือ เมื่อขจัดความเห็นผิดแล้ว จึงมีการกระทำที่ถูกต้อง จึงได้รับแต่สิ่งดีงาม แล้วไม่ตกสู่อบายภูมิอีกต่อไป
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระมหาปณิธานต่างๆ ของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งปวง แม้มีจำนวนอสงไขยก็เพื่อจุดประสงค์หนึ่งเดียว แม้มีจุดประสงค์หนึ่งเดียวก็แสดงปณิธานจำนวนอสงไขย ด้วยอุปายะวิธี แก่หมู่สัตว์ที่มีจริตต่างกันให้เข้าใจ เรียนรู้ได้มากที่สุด ถือเป็นพระมหากรุณา มหาปัญญา มหาอุปายะที่ไม่มีประมาณ และมหาปณิธานของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านี้ หากยังไม่สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายแล้ว พระองค์ก็จะมิเสด็จสู่มหาปรินิพพานเช่นกัน และเพราะเราทั้งหลายยังมีจิตที่แปดเปื้อนอยู่จึงเห็นโลกนี้แปดเปื้อน หากจิตเราบริสุทธิ์แล้ว โลกนี้ก็คือศุทธิไวฑูรย์พุทธเกษตร ทุกคนในโลกล้วนคือพระโพธิสัตว์ ที่กำลังดำเนินปฏิปทาสู่ความรู้แจ้งสูงสุด เสียงต่างๆ ในโลก ล้วนคือ เสียงแห่งธรรมที่ว่าด้วย ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่า ทั้งสิ้น <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บัดนี้สมควรแก่เวลา ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย พระพุทธบารมีของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดบันดาลให้ท่านทั้งหลายเป็นผู้สุขกาย สุขใจ ไร้โรคาพยาธิ มีสติปัญญาแตกฉาน ไม่เสื่อมถอยจากโพธิจิต และมีความสมบูรณ์ในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ ตราบถึงพระโพธิญาณทุกท่านเทอญ.<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...