พบจารึกที่ถูกลืม ชำระประวัติ "สมเด็จโต"

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย อดุลย์ เมธีกุล, 15 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=icon width=24>[​IMG]</TD><TD class=cattitle>พบจารึกที่ถูกลืม ชำระประวัติ"สมเด็จโต" </TD><TD class=itemsubsub><NOBR>Jul 21, '07 9:15 PM</NOBR>
    for everyone</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER><CENTER> </CENTER>
    พบจารึกที่ถูกลืม ชำระประวัติ"สมเด็จโต"
    ณัฐพงษ์ บุณยพรหม

    [​IMG]พระมหาเถระที่มีชื่อเสียง มากด้วยผู้เคารพและศรัทธาแห่งยุครัตนโกสินทร์ หนึ่งในนั้นคือ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)" แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม หรือมักเรียกกันติดปากว่า "สมเด็จโต"

    ท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 13 คํ่า ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช 1150 เวลาประมาณ 06.54 น.

    เดิมเป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ จังหวัดอุตรดิตถ์ ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จัน ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมามารดาย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม และมอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร

    เมื่ออายุครบ 12 ปี ตรงกับปีวอก พ.ศ.2342 บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระบวรวิริยเถร (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำพู (ปัจจุบันคือ วัดสังเวชวิศยาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์

    สามเณรโตเป็นผู้ที่มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษา มีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส จนรัชกาลที่ 2 ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

    เมื่ออายุครบ 21 ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ. 2350 อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมรังสี" เรียกว่าพระมหาโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 สมเด็จโตไปดูการก่อสร้างพระโตที่วัดบางขุนพรหมใน ต่อมาท่านอาพาธด้วยโรคชราภาพ และถึงแก่มรณภาพบนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน (ปัจุบันคือวัดอินทรวิหาร) เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 (ต้น) แรม 2 คํ่า ปีวอก จัตวาศก พ.ศ. 2415 ยามสอง (24.00 น.) คิดทดหักเดือนตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม สิริอายุรวม 84 ปี พรรษาที่ 64

    สมเด็จโตเป็นคนมักน้อย สันโดษ เมื่อได้ลาภสักการะ ท่านมักบริจาคสร้างวัด และสาธารณกุศลต่างๆ เสมอ ท่านนิยมก่อสร้างของที่ใหญ่โต กล่าวกันว่าเพื่อให้สมกับชื่อของท่าน

    พระพุทธรูปที่ท่านสร้างไว้ อาทิ พระพุทธรูปนั่ง วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง พระพุทธรูปยืน วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังสร้างพระพิมพ์ชนิดต่างๆ ขึ้นมากมาย พระพิมพ์เหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในนาม " พระสมเด็จ" เช่น สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ต่างๆ พระสมเด็จวัดเกศไชโย พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อะระหัง ส่วนเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จนั้นย่อมเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป

    ในงานเสวนาเรื่อง "ชำระประวัติศาสตร์พระสมเด็จ และจารึกที่ถูกลืม" มีผู้ที่ค้นคว้ารวบรวมเอกสารมาพิสูจน์ว่า วัตถุที่พบมีอายุกี่ปี มีมวลสารชนิดใดบ้าง จึงเป็นที่มาของการเสนอประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพระสมเด็จและประวัติสมเด็จโต ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2466 คาถาชินบัญชร รูปภาพพระพุทธลักษณะพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ

    การค้นพบจารึกบนฐานพระรูปหล่อสมเด็จโต ที่ทำด้วยสำริด ขนาดหน้าตัก 12-15 นิ้ว ภายใต้ฐานเทด้วยปูนปอร์ตแลนด์ แล้วนำพระสมเด็จบรรจุในรูปหล่อองค์หนึ่งบรรจุโดยเฉลี่ย ประมาณ 100 องค์ พิมพ์ทรงแตกต่างกันออกไป หรือเรียกว่าพระติดแผง โดยสืบทอดเป็นประเพณี ตั้งแต่สมัยสุโขทัย, อู่ทอง, อยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

    รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์โตที่พบ มีกิริยาแตกต่างกัน เช่น ปางพรมนํ้ามนต์ ปางเทศนาธรรม ปางนับลูกประคำ ปางขัดสมาธิ รูปหล่อแต่ละองค์ใต้ฐานจะบรรจุพระสมเด็จพิมพ์ต่างกัน ด้วยอายุการสร้างกว่า 135 ปี ผิวของสำริดมีสนิมสีเขียวและแดงตามธรรมชาติ ถ้อยคำจารึกลักษณะของตัวอักษร วิธีการจารึก และฝีมือของช่าง

    หลักฐานเหล่านี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักของวิทยาศาสตร์ เช่น การพิสูจน์คาร์บอน 14 หรือการจารึกตัวอักษรลายมือก็พิสูจน์ได้จากผู้เชี่ยวชาญ

    อาจารย์อรรคเดช กฤษณะดิลก ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศิลป์ เล่าว่า การค้นคว้านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงการศึกษาประวัติศาสตร์ของสมเด็จโต เป็นอย่างมาก และยังพบว่าพระสมเด็จพิมพ์อะระหัง สร้างโดยสมเด็จโต จริง และยังมีจารึกถึงพระอาจารย์ของสมเด็จโต ทั้ง 4 ท่าน อีกด้วย

    สิ่งที่เราค้นพบเป็นเรื่องของเอกสารล้วนๆ ไม่สามารถบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง แต่พอเราพบหลักฐานด้านข้างของฐานสำริด จึงทราบว่าเรื่องที่พบเป็นเรื่องจริง

    อาจารย์อรรคเดช เล่าต่อว่า ทราบมาตลอดว่ารัชกาลที่ 5 กับสมเด็จโต มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด มีหลักฐานที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างพระรูปหล่อเนื้อสำริด หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว สูง 15 นิ้ว ด้านหน้ามีจารึกว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) อาจารย์ผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่

    ด้านข้างซ้ายมีจารึกว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านขวามีจารึกว่า สร้างถวายพระองค์ท่าน พ.ศ.2411 ส่วนด้านหลังมีจารึกว่า สิ่งที่ระลึกถึงพระคุณงามความดีของพระอาจารย์ขรัวโต

    ทั้งค้นพบหลักฐานสำคัญว่า สมเด็จโตสร้างพระถวายรัชกาลที่ 5 เป็นรูปหล่อนั่งเทศนาธรรมสูง 16 นิ้วหน้าฐานกว้าง 7 นิ้ว พบจารึกด้านหลังว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) ทรงแสดงเทศนาธรรมชินบัญชร สร้างในคราวรัชกาลที่ 5 ศิษย์รัก ซึ่งครองราช พ.ศ.2411 ขรัวโตผู้เป็นอมตะเถระ

    หลักฐานชิ้นสำคัญทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงถึงกัน และสามารถมั่นใจได้ว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของพระมหาเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ถือเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ตามหลักฐานพยานทางวัตถุธรรม และประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างชัดเจน

    [FONT=Tahoma,]หน้า 6<[/FONT]

    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03hap04220750&day=2007/07/22&sectionid=0317
    </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <!-- -->
    Prev: อานิสงส์ของการสวดมนต์
    Next: 50 Top Football Transfers
     
  2. sio191

    sio191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +601
    สุดยอดเลยครับ อนุโมทนาครับ
    เป็นบุญของประเทศไทยเราแล้วครับ
    การที่เราได้เจอสิ่งศักดิ์สิทะขนาดนี้
     
  3. nutagul

    nutagul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +159
    เมืองไทยเราถือว่าเป็นเมืองที่โชคดีเรามีสี่งศักสิทธิ์มากมาย เรามีมหากษัตริย์ที่ทรงทศพิศราชธรรม คนไทยเราควรภูมิใจครับ และช่วยกันรักษาของดีเอาใว้ไห้ลูกหลานเราได้กราบไหว้
     
  4. Archpunmile

    Archpunmile สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +5
    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน
    ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

    สาธุ..สาธุ...กราบ
     
  5. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +973
    ยังดีครับ ที่อุตส่าห์นำมาลงในห้องนี้

    ถ้านำไปลงในห้อง พระเครื่อง-วัตถุมงคลก็คงไม่พ้นที่จะเรียกอีกอย่างดังที่ท่านทั้งหลายชอบกล่าว

    เหล่านี้ เป็นบันทึกธรรมของหลวงปู่โต ประโยชน์มหาศาลย่อมมีกับผู้บำเพ็ญ

    แต่ย่อมไม่ยังประโยชน์ ให้กับการค้า-ขายวัตถุมงคล
     
  6. aodbu

    aodbu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +456
    ขอบคุณมากครับ
     
  7. Chaiwat_Khamhom

    Chaiwat_Khamhom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    710
    ค่าพลัง:
    +91
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


    นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


    เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
        1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
          จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
        2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
          สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
        3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
          สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
        4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
          โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
        5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
          กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
        6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
          นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
        7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
          โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
        8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
          เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
        9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
          เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
          ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
        10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
          ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
        11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
          อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
        12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
          วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
        13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
          วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
        14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
          สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
        15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
          ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
          ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
          สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
          สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
    <TABLE style="WIDTH: 21em; FONT-SIZE: 90%" class=infobox cellSpacing=2><TBODY><TR><TD>เกิด</TD><TD>17 เมษายน พ.ศ. 2331</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="WIDTH: 21em; FONT-SIZE: 90%" class=infobox cellSpacing=2><TBODY><TR><TD>เกิด</TD><TD>17 เมษายน พ.ศ. 2331</TD></TR></TBODY></TABLE>วันคล้ายวันเกิดสมเด็จโต วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 .....................คือวันนี้

    ขอน้อมกราบ 3 ครั้ง พระบารมีองค์สมเด็จโต
     
  8. Thammasawasdee

    Thammasawasdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2013
    โพสต์:
    292
    ค่าพลัง:
    +869
    ธรรมะสวัสดี ^-^

    ขออนุโมทนา สาธุจร้า

    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...