เรียนถามผู้รู้ เรื่องการเข้าฌาณ 4

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย NCK2046, 23 มีนาคม 2009.

  1. NCK2046

    NCK2046 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    628
    ค่าพลัง:
    +3,793
    ตอนนี้ดิฉันติดอยู่แค่ฌาณ 3 อย่างหยาบเท่านั้น คือจิตยังยึดกายอยู่บ้าง

    ยังได้ยินเสียงบ้างแต่ค่อยๆ และไม่รำคาญ เมื่อก่อนนี้หกลายปีมาแล้วเคยเข้าไปถึงฌาณ 4 ได้2-3ครั้ง คือ หูดับไปเลยไม่ได้ยินอะไร แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว ไม่ทราบว่าติดขัดตรงไหน ขอท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย

    ขอบพระคุณค่ะ
     
  2. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749

    ตอนนี้สมาธิปฏิบัติสงบดีใหมครับ หากสงบดี แสดงว่า จิตมันรู้แล้ว ร่างกายมันรู้แล้ว ครับ ไม่ต้องสนใจนะครับ ปฏิบัติต่อไป คือ ให้โน้มจิตไปทางวิปัสสนาครับ
     
  3. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    มันเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อนว่า ฌาณ สี่ จะต้องหูดับ ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย
    บังเอิญมิได้ บอกด้วยว่า ปรกติ เห็นสภาวะ หรือนิมิตหรือไม่ ถ้าเห็นนิมิตก็จะง่ายต่อการอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น

    หลักในการพิจารณาว่า ถึงฌาน สี่หรือยัง แบ่ง ออก ง่ายๆ เป็น สอง สภาพ คือ หากไม่เห็นนิมิต ก็ให้ รุ้สึกที่อารมณ์ ว่า มีความนิ่ง ไม่ไหวออกไปกับ ความคิด สบาย ๆ โปร่ง ๆ เวลาได้ยินเสียง อะไรมากระทบ ก็ตาม อารมณ์ ไม่แปรปวน สั่นไหว ดำเนินไป โดยมิต้องประคอง หรือ คอยกำหนด ให้ อยู่ สามารถทรงตัวอยู่โดยความ เป็นไปเอง เป็นอุเบกขา ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง อารมณ์เกิดความจดจ่อหลวม ๆ โดยมิได้ ต้องค่อยกำหนด แต่มีความแนบแน่นเป็นหนึ่งในอารมณ์เดียว หากเป็นไปโดยประมาณนี่ นั้นถือว่า เป็นอารมณ์แห่ง ฌาณ 4 แล้ว ครับ มีประเด็นอยู่นิดคือ ว่า จะต้องแยกแยะจำแนกออก ด้วยว่า ฌาณ 3 กับ ฌาณ 4 นั้น แตกต่างกันตรงไหน เพราะโดยมากแยกกันไม่ออก ปนกัน ฌาณ 3 คือ หากจิตยังกอปร กับอารมณ์ ยินดีพอใจเป็นสุขแบบเบาในสภาพนั้น นั้นก็แสดงว่า ยังเสวยอารมณ์ใน ฌาณ 3 อยู่

    หากเห็นสภาพนิมิต หรือ สภาวะได้ ก็ให้ พิจารณา ดูที่นิมิตว่า นิ่ง ไหว เวลามีอะไรกระทบ หรือไม่ นิมิตทรงตัวเอง โดยมิต้องประคอง หรือคอยกำหนด แต่เป็นไปเอง ไม่สั่นไหว มีความสงบนิ่ง แนบแน่นอยุ่

    สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่มีความจำเป็นว่า ฌาณ 4 จะต้องไม่รุ้สึกตัว หรือ ยังรุ้สึกถึงกาย หรือ ต้องไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย นั้นคือ ความเข้าใจคาดเคลื่อน แล้ว เอาเป็นบรรทัดฐานว่าต้องเป็นเช่นนั้น
    แท้จริง ความรู้สึก ทั้ง กาย และ เสียง ยังสามารถได้ยินได้ แต่ ประเด็นสำคัญ ต้องพิจารณา ว่ามีความเป็นอุเบกขา ตั้งอยู่บนอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ไหลไปกับสิ่งที่กระทบต่างหาก
     
  4. btme

    btme เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +319
    ผมมีข้อสงสัยครับ ไม่ทราบว่าอาการที่เคยเกิดกับผมขณะที่ทำสมาธิ อย่างนี้เขาถึงฌาณ 4
    รึเปล่าครับ โดยผมจะมีอาการดังนี้ครับ
    ในชวงแรกๆมีความรู้สึกว่ารางกาย ตัวตน หายไปหมดแล้ว ไม่รู้สึกหิว หรือปวดเมื่อย เสียงภายนอกจะไม่ได้ยินเลย จิตนิ่งแล้วก็มีความรู้สึกว่าจิตเรามีลักษณะเหมือนกับดวงดาว ดวงเดียวอยู่ในที่ ที่สว่างจ้า และไม่มีขอบเขต เป็นอย่างนี้ 2 - 3 ครั้งได้
    ในระยะหลังนี้ พอจิตมันดิ่งลึกเข้าไป แบบว่าไม่มีร่างกายแล้ว มันก็ถอนมาอยู่อุปจารสมาธิ แล้วมันก็อธิฐานเอง โดยที่เราไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้ามาก่อน มันเป็นไปเองโดยอัตโนมัต โดยจิตจะอธิฐาน ให้กายทิพย์แยกจากกายเนื้อ แล้วจิตมันก็ดิ่งลึกเข้าไปอีกครั้ง แล้วจะมีความรู้สึกว่ามีอาการเสียวซู่ไปทัวร่าง แล้วก็มีความรู้สึกว่ากายทิพย์มันแยกจากกายเนื้อแล้ว โดยจิตเราเป็นตัวบอก พอมีความคิดว่าอยากเห็นกายเนื้อเราเราก็เห็นทันที แค่มีความรู้สึกว่าจะไปที่ไหนก็จะไปอยู่ที่นั่นทันที ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ประมาณ 7 ครั้งได้ครับ
    แต่ตอนนี้อาการต่างๆเหล่านี้หายไปหมดแล้วครับ ซึ่งผ่านมาประมาณ 5-6เดือนแล้วครับ
    ผมอยากจะขอคำแนะนำจากผู้รู้ช่วยแนะนำแนวทางการปฏิบัติด้วยครับ
    เวลาทำสมาธิ ผมจะภาวนา พุทโธ แต่บางครั้ง ก็ใช้ นะมะพะทะ ครับ ซึงคำภาวนาทั้งสองอย่างนี้ให้ผลเหมือนกันครับ คือมีอาการเหมือนกันครับ
     
  5. NCK2046

    NCK2046 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    628
    ค่าพลัง:
    +3,793
    ขอบพระคุณสำหรับคำชี้แนะค่ะ

    อาการของจิตมีดังนี้ค่ะ
    อาการจิตทรงตัวดีโดยไม่ต้องประคองอารมณ์ คือนิ่งอยู่อย่างนั้นเองเป็นหนึ่งเดียว ไม่หวั่นไหว ไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง ทางกายรู้สึกหน่วงๆหนักๆช่วงบริเวณหน้าผากลงมาถึงปลายจมูกด้านใน แสงสว่างสีขาวจ้าอยู่

    ตอนที่อยู่ฌาณ 3 รู้ตัวเพราะว่ามีความรู้สึกเป็นสุขอย่างละเอียด เบาสบายและปลาบปลื้มยินดีโดยไม่มีสาเหตุ เทียบเคียงได้กับความสุขตอนที่เรามองเห็นพระอาทิตย์ยามเย็นอัสดงคตลงในท้องทะเล พื้นน้ำมีประกายสีทองระยิบระยับจับหัวใจ ใครเคยนั่งมองทะเลยามเย็นคงเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ค่ะ และเอ๋ก็ชอบความรู้สึกนี้มากเป็นพิเศษด้วย ก็เลยติดอยู่ฌาณ 3 นี้นานหน่อย

    ถ้าเป็นอย่างที่คุณ v.mut บอก เอ๋ก็คงเข้าฌาณ 4 อย่างหยาบๆได้แล้ว เพียงแต่ไปเข้าใจว่าฌาณ 4 สมบูรณ์ต้องดับอายตนะทั้งหมด ตอนนี้จะได้เข้าใจใหม่ค่ะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ
     
  6. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    เป็นอย่างที่ท่านคิดเหละครับ ท่านมัวแต่ยึดติดอยู่กลับอาการว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จนเกิดนิวรณ์ครอบงำ จิตจึงไม่ก้าวหน้าครับ ดังนั้น หากนั่งแล้วสงบ ก็แยกไปฝึกวิปัสสนาต่อนะครับ อนุโมทนาครับ
    หรือจะฝีกสลับไปมาระหว่าง ฌาน และ วิปัสสนา ก็ได้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2009
  7. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ตอบคุณ NCk ว่า โดยแท้จริงแล้ว มันมิได้มีความจำเป็นอะไรเลยต่อการ ไล่ลำดับฌาณ
    สิ่งสำคัญยิ่งกว่า การรู้ว่า เรา อยู่ตรงไหน คือ ความเพียรวิริยะ ขัดเกลา ใจตน อย่างจริงจัง คือ ประมาณว่า ต้องทำเป็นอาชีพ จะทำกันแบบสมัครเล่น ผลย่อมเกิดได้ยาก พอผลมิเกิดกับตน หรือ ไม่ชัด ศรัทธา มัน ก็ง่อนแง้น ไม่ตั่งมั่น ทำ ๆ หยุด พอทุกข์ ก็เข้า หา พอมีสิ่งชะโลมใจที่ ตื่นตาตื่นใจกว่า ก็ละทิ้งไป ตรงนี้ สำคัญกว่า คือ ความมั่นคงต่อการภวานา

    ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความต่อเนื่อง การหลับตาภวานาแค่ วันละ ชั่วโมง สองชั่วโมง เป็นสิ่งจำเป็นก็จริง อยู่ แต่ที่เหลือ อีก ยี่สิบสอง ยี่สิบสามชั่วโมง ยิ่งสำคัญ การระวังรักษา เฝ้าสอดส่อง อารมณ์ในระหว่างวัน เป็นสิ่งที่มีผลมาก ต่อ นักภวานาอาชีพ ธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อ ความ สงบ สันโดษ วิเวก หรือ ถ้าพูดให้ ลึก คือ ความหลุดพ้น คือผลแห่งที่สุด

    ขอให้ตั่งใจภวานาไปเถอะครับ จะเป็นยังไงก็ตาม ทำไปก่อน แต่นั้น ก็ย่อมต้องเป็นที่เข้าใจอยู่แล้ว ว่า หนทางที่เลือกเดินนั้น ต้องถูก ตั่งอยู่บน ทิฐิที่ถูกต้อง ในขณะดำเนินไป ก็มีการตรวจสอบทิฐิสังเกตุ หนทางดำเนิน โดยรวม คือ สัมมาสังกัปปะ


    ตอบข้อสงสัย คุณ Btme ว่า การจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่จะถูกต้องตรง หรือ ภาษาชาวบ้านจะเรียกว่า แม้นยำ นั้น ความเป็นกลาง อุเบกขา นั้น ต้องเป็นหลัก บ่อย ๆ เราอาจจะคิดว่า เราอุเบกขาแล้ว นิ่งแล้ว ก็จริง อยู่ ในระดับที่ เรารู้สึก แต่ พอเทียบเคียงกับสิ่งอื่น สิ่งที่ว่า นิ่ง มัน ก็ยังมีนิ่งกว่า สิ่งที่ว่า ตรง มัน ก็ยังมีตรงยิ่งกว่า จนกว่า ระดับ ความนิ่ง ความตรง นั้น มัน อยู่เกณท์ มัน ก็หมด สิ่งที่ ว่า ยิ่งกว่า คุณ Btme ยังต้องการความละเอียด ให้ "ฝึกทำ ละเอียด" ภาษาพระป่า ก็น่าจะดีขึ้น ลองพิจาณนาดูนะครับ

    อีกประเด็น ที่บอกว่า การใช้องค์ ภวานา พุทธโธ กับ นะมะพะทะ ให้ ผลเหมือนกัน มีอาการเหมือนกัน อันนี้ ต้องให้ ฝึกการทำละเอียด มาก ๆ แล้ว ให้ ลองกลับมาพิจารณาสิ่งนี่อีกครั้งแล้วจะรู้เองครับว่า ต่าง หรือ เหมือนกัน ไหมครับ

    ขอให้เจริญในธรรม ครับ
     
  8. btme

    btme เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +319
    ขอขอบคุณ คุณ v.mut ครับสำหรับคำแนะนำ แต่ตอนนี้ผมเวลาที่ผมนั่งสมาธินั้น จิตไม่นิ่งเลยครับ คือมันฟุ้งซ่านมากคิดนู่นนี่ตลอด ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
    โดยปกติผมไม่ได้กำหนดว่าจะนั่งสมาธิวันละกี่นาที หรือเวลาไหน เนื่องจากงานที่ทำอยู่เป็นแบบกะครับ คือต้องทำสลับกันระหว่างกลางวันกับกลางคืน แต่ในระหว่างที่ทำงานอยู่ผมก็นึกคำภาวนาและจับลมหายใจตลอด คือนึกได้เมื่อไรก็ภาวนา แต่ยังไม่มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติเลย ดังนั้นผมจึงขอรบกวนคุณ v.mut หรือท่านผู้รู้ช่วยแนะนำถึงวิธีปฏิบัติให้ด้วยครับ และที่คุณ v.mut แนะนำว่า ให้ "ฝึกทำ ละเอียด" นั้นต้องทำอย่างไรครับ ขอแบบละเอียดหน่อยก็ดี เพราะผมปัญญาน้อยครับ ซึ่งคำแนะนำของทุกท่านนั้นน่าจะมีประโยชน์กับผมมาก และก็น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่ได้อ่าน และมีปัญญหาในลักษณะเดียวกันกับผมนี้ และผมขอขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับผู้ที่ให้คำแนะนำทุกท่านครับ
     
  9. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    เวลาที่ฟุ้งซ่าน คือ จิตเกิดนิวรณ์ เปรียบได้ดังกับทะเลที่มีคลืนลม น้ำบนผิวทะเลจะ โยกเยกซัดส่าย ประคองตัวทรงตัว ได้ยาก ถูกคลื่นลมซัดพัดไปไม่มีทิศทาง แต่หากพยายามหยั่งลงให้ลึกกว่าผิว ก็จะพ้นไปจาก แรงคลื่นลม ย่อมจะสงบกว่าบนผิวน้ำ ความเงียบสงัด วิเวก ก็มีมากกว่า ยิ่งลึกความสงบปราณ๊ ละเอียด ก็ย่อมมีมากยิ่งขึ้น กิเลสนิวรณ์หยาบ ๆ ก็จะถูก พ้น ถูกละ ไปตาม ลำดับแห่งความปราณ๊ต ไปจนถึงชั่น อนุสัย ด้วยเหตุนี่แหละครับ ถึงได้กล่าวว่า คุณ btme ควรจะต้องฝึกทำละเอียด เพื่อพ้นไปจาก นิวรณ์หยาบที่ ค่อยสั่นคลอน

    วิธีการก็มิได้พิศดารมาก แต่ สติสัมปชัญญะใหม่ คงต้องค่อยประคอง ไม่ให้ หลุดไหลออกจากองค์ภวานา เช่น หากกำหนดระลึกรู้ลมหายใจ ก็กำหนดสติประคองรุ้ไปเรื่อย ๆ ลมจะเปลี่ยนจากสภาพหนึ่ง ไปอีกสภาพหนึ่ง กี่สภาพ อย่างไร ก็ตามทันทุกเม็ดเอาไว้ สภาพจิตมัน ก็จะละเอียดปราณีตไปพร้อมกับสิ่งที่ เรากำหนดรุ้ ประคองรุ้ หรือ จดจ่อรุ้อยุ่ ไปอย่างสบาย ๆ หากสติสัมปัชญญะ มีกำลังพอ ยิ่งละเอียด ความรู้ชัดก็ยิ่งแจ่ม ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ถือว่า ใช้ได้ดี แล้ว ก็ดำเนินไปเลื่อย ๆ ไม่ต้องสงสัยคิดอะไรมาก ทำไปเลื่อย เปรียบได้กับ เมื่อเรือเข้าล่องน้ำแล้ว กระแสน้ำ ก็จะพาไหลไป เพียงแต่ว่าแต่ละล่องน้ำ จะมีโขดหินค่อยทดสอบใจ เรา เป็นช่วง ๆ แตหาก สติสัมปชัญญะ และ สมาธิมีกำลังดีพอ ก็เพียงประคองดำเนินไป ก็จะผ่านได้เอง

    ลองฝึกทำละเอียดดูสักพัก น่าจะมีความก้าวหน้าได้ดี เพราะดูภูมิแล้ว ไปได้ หมั่นรักษาจิตใจอย่าให้หล่นออกนอกทางก็แล้วกัน
     
  10. btme

    btme เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +319
    ขอขอบคุณ คุณ v.mut ครับ สำหรับคำชี้แนะ ผมจะพยายามครับ
     
  11. Neo-Freeman

    Neo-Freeman Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +50
    อนุโมทนา สาธุครับ

    ได้ความรู้มากสำหรับคนเริ่มปฏิบัตใหม่ อีกครั้งอย่างผมครับ
     
  12. NCK2046

    NCK2046 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    628
    ค่าพลัง:
    +3,793
    ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำของคุณ v.mut มากค่ะ

    แต่เอ๋ปรารถนาพุทธภูมิ นิสัยการภาวนาก็เลยชอบเก็บแบบละเอียด เพราะต้องจำอารมณ์ไว้สอนคนอื่นด้วย ก็เลยไม่เหมือนท่านที่ฝึกตนเพื่อความหลุดพ้นค่ะ
     
  13. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    คนบางจำพวก เคยเจริญในอรูปพรหม มาก่อน จึงมักมีอุปนิสัยค่อนไปทางละเอียด พอต้องฝืนย้อนกลับมาทำ รูปฌาณ บางครั้งก็จะรุ้สึกติดขัด หรือแม้นกระทั้งอึดอัด ย่อมเป็นได้ เพราะอุปนิสัยเดิม ภูมิเดิมละเอียดอยู่แล้ว วิธีการคือ ไปตรงที่เดิม แล้ว ค่อยๆ ไล่ลง น่าจะง่ายและสบายกว่า การ พยายามไต่ไล่ขึ้นครับ คุณnck

    ก็เอาใจช่วยสำหรับผู้ปรารถนา พุทธภูมิครับ สำหรับผม เห็นคิวแล้ว ต้อง ขอ บาย วาสนาคงมีไม่ถึงและ ก็มิได้ปรารถนาแรงกล้าขนาดนั้นกระมัง
     
  14. พระ_นอก

    พระ_นอก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +10
    พระใหม่สงสัย

    อาตมาเป็นพระบวชใหม่บวชเรียนมาได้ประมาณ 2 เดือนกว่า มีเรื่องสงสัย ใคร่ขอโอกาสปรึกษา พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ว่า ขณะทำสมาธิอยู่ จิตเราแยกออกจากกาย แล้วเราควรทำอย่างไรต่อไป มีบางอาจารย์ท่าน บอกว่าให้เรากำหนดจิตพิจารณากาย (พิจารณาเครื่องใน)ที่เราเห็นอยู่(อาการคล้ายวิญญาณออกจากร่างหรือถอดจิต) แล้ววิธีการพิจารณากายเค้าทำกันอย่างไร เพราะอาตมาได้แค่ยืนดูร่างตนเองเท่านั้นพิจารณากายไม่เป็น แล้ววิธีที่อาตมาทำอยู่นี้ถูกต้องหรือไม่ เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นหรือไม่ อย่างไร? ขอโอกาสพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยไขข้อข้องใจให้พระบวชใหม่อย่างอาตมาด้วย (เร็วได้ยิ่งดีเพราะอาตมาจะต้องกลับวัดในอีก3วันข้างหน้า_ขณะนี้กลับมาโปรดญาติที่บ้าน)

    ปล. อาตมาไม่ได้มีเจตนาจะอวดรู้อวดภูมิ มิได้มีความต้องการให้ใครมากราบไหวนับถือ (ผิดศีลปาราชิก) ขอท่านทั้งหลายโปรดเข้าใจอาตมาด้วย
     
  15. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,930
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    ชอบกระทู้นี้จังครับ อ่านเเล้วได้ประโยชน์เรื่องณานสี่ดี ขอบคุณมากครับ อนุโมทนาครับ
     
  16. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    พระใหม่สงสัย

    ตอบ...ผมเอาเกร็ดความรู้ของผม มาถวายให้หลวงพี่ลองทำความเข้าใจดูนะครับ หลวงพี่คลิกที่ชื่อ "จริงนะ" ด้านข้างคำตอบนี้ แล้วลองคลิกเข้าไปดูเรื่องราวต่างๆ ติดขัดอะไร ค่อยคุยกันอีกทีครับผม...

     
  17. หลับจิต

    หลับจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +2
    เมล็ดที่เก็บไว้ไม่มีค่าเลย

    เมื่อเทียบกับเมล็ดที่นำไปปลูกแล้วไห้ผลลัพธ์ออกมา
     
  18. Drroyz

    Drroyz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    481
    ค่าพลัง:
    +331
    อนุโมทนาสาธุ ผมเคยนั่ง แบบยุบพอง
    แล้ว เกิด ปิตืขนลุก หูไม่ได้ยิน
    และไม่รู้สึกทางกาย คือจากที่ปวดก็ไม่ปวด
    แต่ทำได้แค่แปปเดียว
    แล้วก็ทำไม่ได้อีกเลย
    สงสัยว่ามันคือฌาน หรืออะไรครับ
     
  19. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    ตอบตาม แบบของผมนะครับ ถ้าผิดพลาดประการใด ท่านผู้รู้โปรดแนะนำผมด้วยนะครับ ว่าจริง ๆ ใน ฌาน4 นั้น ไม่จำเป็นต้อง หูดำ อย่างที่ผมเป็นคือ หู ยังได้ยินเสียง แต่จิตไม่ตามเสียงนั้น กายยังรู้สึก แต่จิตก็ไม่ตาม ความรู้สึกนั้น จิตนั้นจะดิ่ง เป็น อุเบกขา จากนั้นเราก็ ใช้จิตนั้นแหละตามรู้ อาการของจิตโดยปล่อยไปตามธรรมชาติ ของจิตครับ แต่ถ้า ท่านเจ้าของกระทู้ ปราถนา พุทธภูมิ ผมก็ไม่รู้ว่า ต้องเพิ่มด้วย อรูปฌาณ 4 ด้วยหรือเปล่า เพราะผมเอง หลังจากได้ อรูปฌาณ 4 แล้วจึงต่อด้วย วิปัสสนา นิวร 5 และ อริยสัจ4 จนเกิดความเบื่อหน่าย จนต้องขอลา เข้าสาวกภูมิ ไปเลย ครับ ถ้าผม ผิดพลาดประการใด ท่านผู้รู้ โปรดแนะนำด้วยนะครับ
     
  20. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,432
    การเข้าฌานสี่นั้น สามารถเปลี่ยนเป็น ผู้รู้ได้ครับ ผู้รู้คือ ทิพย์จักขุญาณ สามารถทำได้ตามที่เขียนไว้ในพระธรรม เช่น สามารถพิจารณา สัญญา สัญญาต่างๆในอดีตชาติก็จะผุดขึ้นมา พิจารณา ขันธ์ห้า นิมิตนั้นก็ผุดขึ้นมาเอง โดยเราไม่ต้องไปนึกคิดเอาครับ หลวงปู่มั่นกล่าวไว้ว่า
    ผู้ใดเสวยธรรม ผู้นั้น สำคัญผิด ครับ หมายความว่า ธรรมนั้นต้องปฏิบัติและต้องเทียบกับพระธรรมในตำราว่า จริงๆนั้นเราเดินมาถูกทางหรือไม่ ถ้าถามผม ผมขอตอบตามเข้าใจว่า การเจริญกรรมฐานนั้น ขั้นหนึ่งคือต้องได้ความสงบ ขั้นสองต้องภาวนาอย่างละเอียดนั้นได้ ขั้นสามต้องได้ทิพย์จักขุญาณ ขั้นสี่คือสุดท้ายคือต้องได้โครตภูญาณครับ ส่วนท่านได้ถึงอรูปฌานสี่ ผมคงไม่กล้าแนะนำหรอกครับ แต่ขอติงเล็กๆแล้วกันครับ ว่า โลกุตตระธรรม เข้าไปแล้วถอยไม่ได้ครับ หลวงปู่มั่นกล่าวไว้เช่นนั้นครับ
    ขอให้เจริญในธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...