การฝึกสมาธิแบบนี้เป็นการฝึกขั้นไหนหรอครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย indyxa, 26 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. indyxa

    indyxa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +7
    การฝึกสมาธิของบุคคลนี้ผมอยากรู้เป็นการฝึกขั้นไหน
    เขานั่งขัดสมาธ นั่งตัวตรง เขานั่งกำหนดลมหายใจเข้า - ออก
    โดยหายใจเข้าเขาภาวนาว่า " พุทธ "
    และหายใจเข้าเขาภาวนาว่า " โธ "
    และก็นึกว่าถ้าหายใจเข้า - ออกรอบที่1 ให้นึกเลข 1 แต่ห้ามพูดว่า 1 ให้นึกเอา
    และก็นึกว่าถ้าหายใจเข้า - ออกรอบที่2 ให้นึกเลข 2 แต่ห้ามพูดว่า 2 ให้นึกเอา
    แบบนี้ไปเรื่อยๆ...
    โดยเขาทำทั้งควบคุมกายให้ตรง ควบคุมลมหายใจ ภาวนาตามจังหวะลมหายใจ
    และก็นึกตัวเลขในแต่ละรอบของ ลมหายใจเข้า - ออก แบบนี้พร้อมๆกันทีเดียว
    อยากรู้ว่าคนนี้เขาทำสมาธิระดับไหนหรอครับ
     
  2. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    อยากรู้เหมือนกัน เเต่ว่าควบคุมลมหายใจนี่ทำได้ด้วยหรอครับ

    ถ้าไปควบคุมมันฝึกสมาธิผมว่ายากนะ
     
  3. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    ก็ยังภาวนาธรรมดาไม่ใช่หรือครับ แล้วอาการอื่นล่ะมีมั้ยครับ
     
  4. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    เหยื่อล่อให้จิตมันติด

    สมาธินะ คือการทำเพื่อพบใจ จิตมีสภาพกระจายไปยังช่องวิญญาณทั้ง๖
    ไหลไปหาเหตุต่างๆ ไม่รวมเป็นหนึ่ง
    จึงต้องอาศัยจุด ตำแหน่ง ในอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ให้ซัดส่าย

    คนที่ฝึกจึงต้องรู้วิธีจริตของตน รู้วิธีที่ทำให้เกิดปัสัททธิ และเกิดสุขเพื่ออิงสมาธิให้เกิด

    จึงต้องใช้วิธีหรอกล่อจิตให้มารวม ดังนั้นวิธีที่ใช้จึงแตกต่างกัน แม้กรรมฐานก็มี40อย่าง ส่วนการดูลม ก็แล้วแต่ชอบ แบบไหน ทำอย่างไรก็ได้ ถ้าให้จิตมันรวม

    พระพุทธองค์ทรงสำเหนียกลมหายใจออกสุดก๋อนเพื่อให้สุขนำและสำเหนียกลมหายใจเข้า ยาวสั้นก็รู้ หยาลละเอียดก็รู้ มีสติรู้ ไม่เพียรอยู่ในอารมณ์ ปิติ สุข
    ของเทพ

    ไม่หนีอารมณ์เช่นพรหม

    สมาธิของท่านจึงเป็นสัมมาสมาธิ(ณาน๔) มีกำลังของสัมมาสติ สัมมาทิฎฐิจึงรู้ถูก คิดถูก งานถูก เพียรชอบถูกในปทาน๔ แม้วายามะก็ถูก

    สมาธิไม่มีขั้นตอน ไม่แบ่งระดับ ทำก็เพื่อพบเอกัคคตจิต จิตมากลายเป็นใจ

    เพราะจิตเป็นผู้รู้คิดนึก จึงต้องทำให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง ที่จิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง

    จิตจะกลายมารวมเป็นใจเดิมแท้เรียกวาจิตปภัสสร คือใจ ที่ไม่คิดนึกปรุงแต่ง เฉยๆ เป็นกลาง เที่ยงธรรม โลกธรรม๘จืดชืด ไม่หวั่นไหว ไม่คล้อยตาม
    แม้เวทนาก็จืดชืด

    ท่านสอนไม่ให้ติด ดี ติดสุข ติดนิมิต ติดอภิญญา แต่ให้เอาสิ่งละเอียดเหล่านี้
    พิจารณาลงสู่ขันธ์ตามอำนาจพระไตรลักษณ์ โดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง

    ฉันทะ พึงพอใจจึงกระทำเพราะมีสุขนำ
    วิริยะเพียรชอบในทาน๔ ปราศจากกิเลส เพียรถูก รู้ถูก คิดถูก ทำถูก งานถูก วาจาถูก สติถูก สมาธิถูก
    จิตตะ มุ่งมั่นอยู่ในจิตหนึ่งในธรรมหนึ่ง ไม่คลาดเคลื่อน
    วิมังสา ไตร่ตรองพิจารณาด้วยความละเอียดและรอบครอบ
    (คุณธรรมส่งเสริมสมาธิชอบ)

    วิธีนับเลขที่กล่าว น่าจะเป็นของหลวงพ่อลีครับ ผมลองทำดูก็ทำให้จิตรวมได้
    ผมเรียกว่าการล่อเหยื่อให้มาติดเบ็ด ในจุด ตำแหน่งที่ผมวางเอาไว้ อย่างกระชับและมั่นคงจนจิตเกิดอาการรวมตัวมีสภาพเหมือน

    วูบเข้า ดิ่งเข้า วาบเข้า เหลื่อมเข้า เหมือนตกวาบเข้า เพราะมิติของจิตจะมีสภาพของช่องว่าง เรียกว่าภวังค์ตัวดูดจิตเข้าสู่สภาพทิ้งคิด เพื่อเข้าสู่ภวังค์
    ที่สะสมภพ

    สมาธิมีอะไรที่ยากจะอธิบายมากมายแต่ ผมทำเพื่อพบใจ จบแต่เพียงนี้
    นอกนั้นไม่เกิดปัญญา ไม่พ้นทุกข์ครับ
     
  5. Masquerader

    Masquerader เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +323
    ผมก็ฝึกด้วยวิธีนี้แหละครับ จะถามว่าฝึกถึงขั้นไหนนั้น ก็ไม่ได้ออกห่างจากตัวหรอกครับ เพราะจิตเรามีสมาธิอยู่กับตัวตลอด แต่ผมบอกได้เลยว่าวิธีนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ซับซ้อนสำหรับการเข้าสมาธิ และผมขอเสริมอีกนิด การนับเป็นรอบนั้นให้หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว หรือ 10 วินาที = พุท โธ 1 รอบ จักได้ผลดีนักแล

    ผมเองก็พึ่งค้นพบวิธีกำหนดลมหายใจแล้วนับแบบนี้หลังจากลองวิธีกำหนดลมหายใจมาหลายอย่างแต่ไม่นิ่งเท่านี้มาก่อนเลย จะมีบ้างก็ฟลุ๊ค แต่วิธีนี้หลังจากฝึกไปได้ถึง 100 รอบ พุทธโธ รับรองว่านิ่งสงัดแน่นอนไม่นึกถึงสิ่งใดเลย ผมฝึกครั้งละ 108 พุทธ โธ

    ตื่นมาก้อสดชื่นแจ่มใส แค่นี้ก็พอแล้วครับไม่ต้องนึกถึงอาการพิเศษอะไร แต่ผมก็รู้สึกเหมือนกันว่าฝึกแบบนี้แหละ ไปเรื่อยๆ นานๆ เข้า เดี๋ยวอาการแปลกๆ ก็มาเอง

    ปล. ผมพึ่งลองฝึกแบบนี้ได้ไม่ถึงเดือนเลยครับ แต่มั่นใจว่านี่แหละใช่เลย หลังจากลองวิธีแบบธรรมดาหลายอย่าง... อืม
    ปล2. น่าจะเป็นการฝึกแบบ สมถะ นะครับ เท่าที่เคยอ่านมา
    ปล3. ต้องให้ผู้ชี้แนะเพิ่มเติมครับ แต่บางทีเราก็ควรมั่นใจในสิ่งที่ตนเองปฏิบัติมากกว่า เพราะเราฝึกฝน และสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเอง "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
    ปล4. ตามความคิดผมนี่แหละเป็นวิธีแบบธรรมดา เรียบง่ายที่ดีที่สุด เท่าที่พบมา
    ปล5. ไม่ต้องเชื่อผมทำดูแล้วจะรู้เองโดยอัตโนมัติ
    ปล6. ผมก็เสนอให้แฟนผมทำตาม ผลปรากฏว่าเธอก็สามารถรู้ได้ด้วยตนเองว่าควรทำเช่นไรระหว่างสมาธิแบบนี้
    ปล7. ไม่ใช่แค่นับนะครับ ต้องรู้ลมหายใจเข้าออกด้วย
    ปล8. ก่อนเข้าสมาธิ ก็สวดมนต์ไหว้พระด้วยนะครับ เพื่อพรอันประเสริฐ และแรงยึดเหนี่ยวของจิตในทางที่ดี
     
  6. Masquerader

    Masquerader เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +323
    ภาวนา พุทธ โธ ที่ว่าธรรมดา ของคนทั่วไป แต่ตอนนี้ผมรู้สึกว่าสุดยอดกว่าทุกคำแล้วครับ ไม่ต้องหาอะไรอื่นมาแทน

    ถ้าคุณสามารถภาวนาแบบธรรมดา จนเกิดสติสัมปชัญญะ แล้วไซร้ นั่นหละยอดคน

    เพราะคำนี้คือคำ ที่บรรพบุรุษสอนมา และเชื่อถือกันมาแต่โบราณกาล
    เพราะคำนี้คือคำ ในตำนาน ทุกคนต่างกล่าวขาน ถึงพุทธคุณ พร้อมคุณงามความดี
    เพราะคำนี้คือคำ ที่รวมความหมาย และปริศนาธรรม ไว้หลากหลาย แล้วแต่สติจะไปถึง
    เพราะคำนี้คือคำ ที่เป็นอมตะ หาจะสาปสูญ ได้ไม่...

    ก่อนจะเกิดความพิเศษ ก้อย่อมมาจากความเป็นธรรมดาทั้งนั้น

    ผมว่ายังมีอีกเยอะแยะสำหรับคำธรรมดาคำนี้

    มนุษย์ทุกคนล้วนธรรมดา เทวดาสาธุ
     
  7. Masquerader

    Masquerader เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +323
    อยากถามจังเจ้าของกระทู้ไปผมมาจากที่ใดหรอ? เพราะผมพึ่งค้นพบวิธีตรงกับคุณด้วยตัวเองเลย

    จริงๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะพบหรอกนะครับ ปริศนามันมีแค่นิดเดียว นำสิ่งที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้

    ผมก็ทราบแหละว่าถ้าฝึกบ่อยๆ ก็พอจะเดาทางนี้ถูก

    สำหรับผู้ฝึกใหม่ หรือผู้หาทางไปไม่ถูก ถ้าใครสนใจแนวทางนี้ผมขอแนะนำว่าคุณต้องมีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย โดย
    1. คุณต้องไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ของพระพุทธเจ้า

    เท่านี้แหละครับกฏข้อเดียว ^^"

    อย่างอื่นที่เสริมเข้ามาก็ถือศีล 5 ให้บริสุทธิ์ แต่ผมว่าแค่คุณทำกฏข้อ 1 ได้สมบูรณ์แล้วสิ่งอื่นก้อจะตามมาเองครับ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
  9. indyxa

    indyxa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +7
    ขอบคุณครับ

    เข้าใจแล้วครับ
     
  10. อ่อนหัดธรรม

    อ่อนหัดธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +968
    ยังภาวนาพุทธ โธ อยู่ก็แค่เริ่มแรกเท่านั้นครับ พยายามหยุดท่องทำใจให้สบายไม่บังคับลม คอยตามจิตอย่างเดียว จับลมหายใจ ถ้าเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็กลับมาจับลมหายใจใหม่อีกครั้งทำไปเรื่อยๆ เรื่องที่ไม่รู้ก็จะรู้เองครับ
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อยากรู้ว่าขั้นลองทำเลยคับของแบบนี้ขั้นไหนมันจาบอกตัวเอง ขั้นไหนก้ไม่สำคันคับอย่าไปติดมันมากละกัน
    ทำหน้าที่ไห้ดีที่สุดในปัจจุบันขณะ อยากจาเข้าขั้นไหนก้เข้าได้คับ เข้าแล้วก้ออกด้วยจาได้ไม่ติดอยู่ในความสงบจนไม่สามารถนำไปคิด ไปทำสิ่งอื่นให้เต็มที่ได้ รักษาระดับอารมตามความเหมาะสม ไม่มากไปน้อยไปรุ้ตัวอยุ่ทุกขณะก้พอ
    ฝึกรุ้ตัวไว้ตลอด ว่าตอนนี้ทำอะไรก้ทำไห้เต็มที่รู้ว่าตัวเป็นอย่างไรใจเป็นอย่างไร
    แล้วจาเปลี่ยนไปรู้ในลมหายใจท่าเรารู้ตัวอยุ่ตลอดแล้วเปลี่ยนไปรู้ลมหายใจง่ายเลยคับทีนี้ไม่มีสิ่งอื่นมากวนได้แน่ จาถึงระดับไหนก้เลือกเอาเลย
     
  12. ชาวพุทธครับ

    ชาวพุทธครับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +59
    ถ้าต้องคอยควบคุม ก็อาจจะถึง อุปจาระ แต่ถ้าเด๋วหลุดจากสมาธิ เด๋วหลุดๆ ก็มาคุมกายตรงอกตั้งกันใหม่ ควบคุมลมหายใจ ก็ ขนิกะ

    ม่ต้องสนใจ นั่งตามสบาย จับ พุท โธ ไปเรื่อย ๆ แค่เป็นสมาธิ จิตไม่วอกแวกคิดถึงนู่นนี่ก็เอาละ พอเริ่มสงบหน่อยก็ เล่น วิปัสนาสักเที่ยวสองเที่ยว แล้วก็นอน ฮะๆ


    หายใจเข้ารู้ว่า พุท หายใจออก รู้ว่า โธ แต่พอเลิกคิดถึง พุท โธ ปล่อยไปตามอารมณ์ของสมาธิ โดยสมาธิทรงอยู่ได้โดยไม่ภาวนา มีอารมณ์คล้ายๆกัน แต่ไม่มีคำภาวนา
    เป็นการละคำภาวนา ก็ตัด วิตก วิจารณ์ ก็เหลือ ปิติ สุข เอกคตา ก็เป็น ฌาน 2 ฮะๆใช่ใหม่หว่า ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  13. อ่อนหัดธรรม

    อ่อนหัดธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +968
    ได้สมาธิแล้ว พอทำงานอย่าเข้าสมาธิละ ลืมหมดเลยผมขอบอก ใจมันสมายมากแล้วทำให้ลืมคิดถึง
    เรื่องที่ทำอยู่ เช่นผมเองเคยขับรถแล้วทำสมาธิด้วยจับลมแบบนี้แหละ เกือบตกข้างทาง นะครับ พอดีใช้สมาธิผิดที่ผิดเวลา เราต้องใช้ชีวิตในโลกนี้ต้อง จัดเวลาดีๆ นะครับ เด๋วลืมงานหมด มันไม่จำจริงๆนะ
     
  14. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    ผมหมายถึงการภาวนาที่เล่ามานั้นแค่การเริ่มต้นอย่างธรรมดาไม่ใช่หรือครับ จะบอกได้อย่างไรว่าเป็นขั้นไหน เพราะไม่ได้บอกถึงอาการอื่นเลย ไม่ได้หมายความว่าธรรมดาคือไม่น่าสนใจ ไม่น่าจะเน้นตัวแดงนะครับ ผมก็ทำครับ กำหนดพุทโธและภาพพระน่ะครับ
     
  15. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์

    ( ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )
    • หน้าที่ของเราในการทำสมาธิมีอยู่ ๔ อย่าง คือ ๑. รู้ลมเข้าออก ๒. รู้จักปรับปรุงลมหายใจ ๓. รู้จักเลือกว่าลมอย่างไหนสบาย ไม่สบาย ๔. ใช้ลมที่สบายสังหารเวทนาที่เกิดขึ้น
    • รู้กายในกาย นี้เป็น กายคตาสติ คือ รู้ลมในร่างกายของเราตั้งแต่เบื้องสูงจดเบื้องต่ำ เบื้องต่ำขึ้นไปหาเบื้องสูง กระจายลมให้เต็มทั่วร่างกายเหมือนกับน้ำที่เต็มอ่าง ก็จะได้รับความเย็นตลอดทั่วร่างกาย
    • สติ เป็นชีวิตของใจ ลม เป็นชีวิตของกาย


    • การที่เรารักษาลมหายใจไว้ด้วยความมีสตินี้ เหมือนกับเราได้รักษาความเป็นอยู่ของเราไว้ทั้ง ๓ วัย คือ เมื่อเป็นเด็กก็รักษาความเจริญของวัยเด็กไว้ เมื่อเติบโตขึ้นก็รักษาความเจริญของความเป็นผู้ใหญ่ไว้ และเมื่อแก่ก็รักษาความเจริญของวัยชราไว้อีก ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ทำอย่างนี้ให้ติดต่อไม่ขาดระยะ ตลอดวันคืนทุกอิริยาบถ
    • ลม เหมือน สายไฟ , สติ เหมือน ดวงไฟฟ้า ถ้าสายไฟดี ดวงไฟก็สว่างแจ่ม
    • ลม ปราบเวทนา สติ ปราบนิวรณ์
    • การทำสมาธิ ต้องตั้งจิตของเราให้เที่ยง ตรงแน่วอยู่กับลมหายใจ เหมือนนายพรานที่เล็งธนู จะต้องเล็งให้แม่น จึงจะยิงได้ตรงถูกจุดหมาย
    • การเชื่อมประสานลม ขยายลมไปตามธาตุต่าง ๆ ตลอดทั้งอวัยวะเส้นเอ็นทุกส่วนในร่างกาย ก็เหมือนกับเราทำการตัดถนนสายต่าง ๆ ให้ติดต่อถึงกัน ประเทศใดเมืองใด ที่มีถนนหนทางมาก ก็ย่อมมีตึกร้านบ้านเรือนแน่นหนาขึ้น เพราะมีการคมนาคมสะดวก บ้านนั้น เมืองนั้นก็ย่อมจะมีความเจริญมากขึ้น ฉันใด ร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขลมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ดีอยู่เสมอแล้วก็เปรียบเหมือนกับเราตัดตอนต้นไม้ส่วนที่เสียให้กลับงอกงามเจริญขึ้นฉันนั้น
    • ลมภายนอกกับภายในนั้นต่างกัน ลมภายนอกนั้นแต่งไม่ได้ ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ลมภายในนั้นแต่งได้ ปรับปรุงแก้ไขได้ เพราะเป็นลมที่อาศัยวิญญาณหรือจะเรียกว่า วิญญาณอาศัยลม ก็ได้
    • รู้ลมเป็น "วิตก" รู้ลักษณะของลมเป็น "วิจาร" ปล่อยให้กระจายซาบซ่านไปทั่วเป็น "ปิติ" สบายกายสบายจิต เป็น "สุข" จิต อยู่กับลมเป็นอันเดียว ขาดจากนิวรณ์ เป็น "เอกัคคตา" (เข้าในสติสัมโพชฌงค์)
    • ลมหนักหายใจแคบก็ได้ ถ้าลมเบาต้องหายใจให้กว้าง ถ้าเบามากจนละเอียด ไม่ต้องหายใจทางจมูกเลย จะรู้ลมเข้าลมออกได้ทุกขุมขนทั่วสรรพางค์กาย
    • ลมในกายตัวเรานี้ มิใช่มีแต่เฉพาะที่พุ่งเข้าพุ่งออกจากทางจมูกอย่างเดียว ลมในร่างกายนี้ ระบายออกได้ทั่วทุกขุมขน เหมือนกับไอน้ำที่ระเหยออกจากก้อนน้ำแข็ง และมีลักษณะละเอียดมากว่าลมภายนอก เมื่อมันกระจายออกมากระทบกันเข้า จะเกิดเป็นผลสะท้อนกลับเข้าสู่ร่างกายอีก เรียกว่า "ลมอุ้มชู" เป็นลมที่ช่วยให้จิตใจและร่างกายสงบเยือกเย็น ฉะนั้นเวลาหายใจเข้าไป จึงควรทำลมให้เต็มกว้างภายใน และเวลาหายใจออกก็ให้มันเต็มกว้างทั่วบริเวณตัวเอง
    • "ควรมีสติ" รู้ลมหายใจเข้าออกนี้อย่างหนึ่งกับ "สัมปชัญญะ" ความสำรวจรู้ในกองลมที่เดินขยับขยายไปทั่วร่างกาย รู้ว่ากว้างหรือแคบ ลึกหรือตื้น หนักหรือเบา เร็วหรือช้า ฯ ล ฯ นี้อย่างหนึ่ง ๒ อย่างนี้เป็น "องค์ภาวนา"
    • การที่เรามานั่งตั้งสติ กำหนดอยู่กับลมหายใจด้วยคำภาวนาว่า พุท เ ข้า โธ ออก ไม่ลืม ไม่เผลอ อย่างนี้ก็จัดว่าเป็น พุทธคุณ เมื่อจิตของเราไม่มีสัญญาอารมณ์ใดๆ มาเกาะเกี่ยว เกิดความความสว่างไสว อิ่มเอิบ ขึ้นในดวงใจ นี่ก็จัดว่าเป็น ธรรมคุณ การขยับขยายลมหายใจเข้าออก ให้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทั่วตัว อันนี้จัดว่าเป็น สังฆคุณ รวมความก็คือ เกิดความรู้ความสว่างเป็นตัว พุทธะ จิตเที่ยงเป็นตัว ธรรมมะ รักษาความดีและเพิ่มความดีที่มีอยู่แล้วให้มีมากขึ้นเป็นตัว สังฆะ ฯ
    • ลม เป็นพี่ชายใหญ่ เพราะลมช่วยไฟ ไฟช่วยน้ำ น้ำช่วยดิน มันสงเคราะห์กันเป็นสามัคคีธาตุดังนี้
    • ทำลมให้มันหนัก แน่น เหนียว เหมือนยางรถยนต์ที่เส้นมันแบบบางนิดเดียว แต่สามารถบรรทุกคนได้ตั้ง ๔๐ - ๕๐ คน นั้นก็เพราะอำนาจของลม ฉะนั้น ลมแน่นจึงมีอำนาจที่จะบังคับอะไร ๆ ได้ทุกอย่าง
    • การที่เรามานั่งภาวนากันอยู่นี้ เปรียบเหมือนกับเรามาขัดสีข้าวเปลือกในยุ้งของเราให้เป็นข้าวสาร จิตของเราเปรียบด้วยเมล็ดข้าว นิวรณ์ทั้ง ๕ เปรียบเหมือนกับเปลือกที่หุ้มเมล็ดข้าวอยู่ เราจะต้องกะเทาะเอาเปลือกนอกนี้ออกจากเมล็ดข้าวเสียก่อน แล้วขัดสีเอาคราบที่ไม่สะอาดออกอีกชั้นหนึ่ง ต่อจากนี้เราจะได้ข้าวสารที่ขาวบริสุทธิ์ วิธีขัดสีนั้นก็ได้แก่ วิตก วิจาร
    • วิตก ได้แก่การที่เรากำหนดจิตให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ลักษณะอย่างนี้เหมือนกับเรากอบเมล็ดข้าวใส่ลงในฟันสี เราก็จะต้องคอยดูอีกว่า ฟันสีของเรานั้นดีหรือไม่ดี ถ้ารู้แต่ลมเข้า ไม่รู้ลมออกเพราะเผลอหรือลืมเสีย ก็เท่ากับฟันสีของเรามันกร่อนหรือหักไปต้องจัดการแก้ไขทันที คือเอาสติมาตั้งอยู่ กับลมหายใจปัดสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ ทิ้งให้หมด
    • วิจาร ได้แก่โยนิโสมนสิการ คือการสังเกต ตรวจตราลมที่หายใจเข้าไปนั้นว่า มีลักษณะอย่างไร สะดวกหรือไม่สะดวก โปร่งโล่ง หรือขัดข้องอย่างไรบ้าง กระจายลมให้ทั่วเพื่อขับไล่ลมร้ายออกจากตัว ขจัดส่วนที่เป็นโทษออกให้เกลี้ยง เหลือแต่ส่วนที่ดีไว้ ธาตุต่างๆทุกส่วนในร่างกายของเราก็จะกลายเป็นธาตุบริสุทธิ์ จิตก็จะใส ใจก็จะแจ่ม ร่างกายก็จะเย็นสบาย มีแต่ความสุข
    • ลมที่หายใจเข้าไปในร่างกายนี้ เราจะต้องขยับขยายส่งไปเชื่อมต่อกับธาตุต่างๆ ทุกส่วนในร่างกายให้ทั่ว ธาตุลมก็ให้มันไปเชื่อมกับธาตุไฟ ธาตุไฟเชื่อมกับธาตุน้ำ ธาตุน้ำเชื่อมกับธาตุดิน ธาตุดินเชื่อมกับธาตุอากาศ อากาศเชื่อมกับวิญญาณ ทำธาตุทั้ง ๖ ให้เป็นสามัคคีกลมเกลียวกัน ร่างกายของเราก็จะได้รับความสุขสมบูรณ์เหมือนกับเราบัดกรีขัน (ขันธ์) ของเราไม่ให้แตกร้าว ขันนั้นก็จะบรรจุน้ำได้เต็มทั้งใสและเย็นด้วย ความเต็มนี้ ได้แก่บุญกุศล ความใส เกิดจากจิตที่เที่ยง ไม่เอนเอียง ความเย็น ได้เพราะขันน้ำ ตั้งอยู่ภายใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา คือพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ
    • สติปัฏฐาน ๔ คือ ลมหายใจเป็น กาย สบายไม่สบายเป็น เวทนา ความบริสุทธิ์ผ่องใสเป็น จิต ความตั้งเที่ยงของจิตเป็น ธรรม
    • ลมร้อน สร้างโลหิตดำ ลมอุ่น สร้างโลหิตแดง ลมเย็น สร้างโลหิตขาว
    • "พุทโธ" เป็น คำภาวนา การมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก เป็นองค์ภาวนา เป็นตัว "พุทธะ" เมื่อจิตอยู่ทิ้งคำภาวนาได้ คำภาวนาเหมือนเหยื่อหรือเครื่องล่อ เช่นเราอยากให้ไก่เข้ามาหาเรา เราก็หว่านเมล็ดข้าวลงไป เมื่อไก่วิ่งเข้ามาหาแล้ว เราก็ไม่ต้องหว่านอีกฉันใดก็ฉันนั้น
    • เจ็บตรงไหน ให้เพ่งลมให้เลยไปจากที่นั่นจึงจะได้ผลเหมือนเราเจ็บตรงหัวเข่า ต้องเพ่งให้เลยไปถึงปลายเท้า เจ็บที่ไหล่ต้องเพ่งให้ลงไปถึงแขน
    • การภาวนา "พุทโธ ฯ" เป็นคำนาม ความรู้สึกตามคำภาวนาเป็น "พุทธะ" สติคือเชือก จิตเหมือนลูกโค ลมเป็นหลัก ต้องเอาสติผูกจิตไว้กับลม จิตจึงจะไม่หนีไปได้ สูบลมหายใจให้เหมือนกับชักว่าว ถ้าลมอ่อนต้องดึงเชือกให้สั้น ลมแรงต้องผ่อนให้ยาว หายใจให้เหมือนกับรินน้ำออกจากถ้วยแก้ว ถ้าเราไม่รินมันมันก็ไม่ออก หรืออีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับรดน้ำต้นไม้หรือรดน้ำถนน
    • พูดถึงการ "ภาวนา" ซึ่งเราจะพากันทำต่อไปนี้ ก็เป็นบุญอย่างยอด เราไม่ต้องลงทุนอะไรมากด้วย เพียงแต่นั่งให้สบาย จะขัดสมาธิหรือพับเพียบก็ได้แล้วแต่จะเหมาะแก่สถานที่และสังคม มือขวาวางทับมือซ้ายแล้วก็ตั้งใจหายใจเข้าออก ด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    • "ภาวนา" ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระธุดงค์ หรือเป็นของพระของเณร เป็นคนโง่คนฉลาดหรือคนมีคนจน แต่เป็นของซึ่งทุกคน ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัยทำได้ คนเจ็บคนไข้นั่งนอนอยู่กับบ้านก็ทำได้ และทำได้ไม่เลือกกาลเลือกเวลา เราเสียสละเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับความดีอันนี้ คือ เสียสละเวลา สละการนอน สละความเจ็บปวดเมื่อย
    • ต้องใช้ความอดทนพยายาม สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า "ปฎิบัติบูชา" ตั้งใจอุทิศตัวของเราให้เป็นกุฎิ แล้วก็นิมนต์พระพุทธเจ้า เสด็จเดินจงกรมเข้าไปในช่องจมูกด้วยลมหายใจเข้า "พุท" ออก "โธ" ทำดังนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องมาอยู่กับตัวเรา ช่วยคุ้มครองรักษาเรา เราก็จะมีแต่ความสุขร่มเย็น และเบิกบานแจ่มใส
    • ลมร้อนเป็นลมสังหาร ทำเวทนาให้เกิดก่อความทรุดโทรมของร่างกาย ลมเย็นเป็นลมสร้าง ลมอุ่นเป็นลมรักษา
    • ลมหยาบ มีลักษณะยาวและช้า ลมละเอียดมีลักษณะสั้น และ เบา สามารถแทรกซึมเข้าไปในตัวได้ทุกต่อมโลหิต เป็นลมที่มีคุณภาพดียิ่ง
    • การทำลมยาวเกินไปก็ไม่ดี มักมีนิวรณ์ สั้นมากเกินไปก็ไม่ดี ควรทำให้พอเหมาะพอดีกับตัว เป็นมัชฌิมาปฏิปทา จึงจะดี
    • เมื่อ "จิต" ของเราไม่เกาะเกี่ยวกับสัญญาอารมณ์ใดๆ เพ่งเฉพาะอยู่แต่ลมเข้าลมออกอย่างเดียว "จิต" นั้น ก็ย่อมจะเกิดแสงสว่างขึ้น คือ "วิชา" เหมือนลูกปืนที่แล่นไปในอากาศ ย่อมจะเกิดเป็นไฟ คือ "แสงสว่าง" ขึ้นเช่นเดียวกัน
    • กายสงบ ก็ได้วิชาจากกาย จิตสงบก็ได้วิชาจากจิต ลมสงบก็ได้วิชาจากลม
    http://palungjit.org/showthread.php?t=176394

    http://www.yajai.com/cat-7/cat-66/08-1/

    อนุโมทนาครับ
     
  16. indyxa

    indyxa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +7
    พี่ครับ....จับลมหายใจยังไงหรอครับ
    ผมมองภาพไม่ออกครับ
     
  17. อ่อนหัดธรรม

    อ่อนหัดธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +968
    จากคำถามของท่านผมคิดว่าท่านคงเริ่มฝึก
    การจับลมหายใจ คือการที่เราคอยรับรู้ความรู้สึกจากการสัมผัสของลมที่ได้เข้าออก เวลาเราหายใจเข้า เราก็จะจับสัมผัสของลมที่โดนปลายจมูก นี้คือสิ่งที่คุณควรเริ่มปฏิบัติ อันดับแรก ถ้าสมาธิยังไม่นิ่ง มีการวอกแวกของจิตมาก เช่นเมื่อเราจับสัมผัสอยู่แล้วทำให้จิตหรือความนึกคิดของเรา ไปคิดเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากการจับสัมผัสของลมหายใจที่ปลายจมูก ผมขอให้คุณภาวนา คำว่าพุทธ-โธ ควบคู่ไปด้วยเพราะจะทำให้สงบง่ายขึ้น
    การปฏิบัติก็คือ
    1 เมื่อหายใจเข้าคุณจับลมหายใจเข้าร่วมด้วย ภาวนาคำว่า พุทธ
    2 เมื่อหายใจออกคุณจับลมหายใจออก ร่วมด้วย ภาวนาว่า โธ
    ทั่งสองครั้งให้คุณ จับความรู้สึกที่ลมกระทบกับปลายจมูก ทำไปตลอดจนสงบ

    เมื่อคุณผ่านช่วงนี้ไปได้แล้ว ความสงบเกิดคุณจะสามารถ จับลมหายใจทั้งเข้า และออก ได้ตลอดสายโดยจิตไม่วอกแวกเลย
    การจับลมได้โดยตลอดการหายใจนั้นจะเป็นจิตที่สงบมาก เพราะคุณจะไม่คิดเรื่องอื่นเลยนอกจากตามลมหายใจอย่างเดียว การจับลมหายใจโดยตลอดสายนั้น คุณจะต้องหัดจับสัมผัส เป็นจุดๆก่อน เรือ่งนี้ยาวขอพักก่อนครับ
    ผมขอให้คุณทำเพียงเท่านี้ก่อน เมื่อคุณคิดว่าใจคุณสงบกว่าเดิมก็ตั้งกะทู้ต่อเลยครับ
    นี่คือขั้นตอนแรกๆๆ ที่ผมทำ ถ้าผมเข้าใจผิดว่าคุณเพิ่งเริ่ม ผมขอโทษด้วยนะครับ


    ผมแนะนำให้ท่านควร รับการฝึกจากพระอริยโดยตรง จากห้องนี้ อยากได้อะไร โพสเอาครับ คำสอนของหลวงพ่อต่างๆ ที่สมาชิกในเวปแจกครับ
    http://palungjit.org/forumdisplay.php?f=69
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  18. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คำถามของเจ้าของกระทู้ ผมเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติแบบอาณาปานสติ ในสติปัสฐานสี่ แต่เป็นเพียงการเริ่มต้นภาวนา คือการตามรู้ลมหายใจ ซึ่งอยู่ในฐานของ กายานุปัสสนา
    หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า สมถกัมฐานและยังต้องปฏิบัติต่อไปเป็นวิปัสสนากัมฐาน ขอตอบเพียงสั้นๆ และขอแนะนำว่า ควรจะศึกษาแนวทางปฏิบัติให้ดีเสียก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง.
     

แชร์หน้านี้

Loading...