พระสมเด็จ....สุดยอดพระจักรพรรดิ์เเห่งพระเครื่องอันดับหนึ่งของไทย

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 3 กุมภาพันธ์ 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ในใจของใครหลายๆคนคงปฏิเสธได้หรอกว่าสุดยอดความปราถนาของนักสะสมพระเครื่องคือพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    และถ้าจะให้ดีต้องวัดระฆัง บางครั้งก็จะมีการจัดชุดสมเด็จพิมพ์ที่เป็นมงคลว่า ใหญ่ ได้ ดี อันหมายถึง พิมพ์ใหญ่ จะได้เป็นใหญ่เป็นโต
    พิมพ์เส้นด้าย จะได้เงินได้ทอง
    พิมพ์ทรงเจดีย์ จะได้ดีๆสิริมงคล
    [​IMG]



    พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
    .....พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผงวิเศษ ๕ ชนิด คือ ปถมัง , อิธะเจ , มหาราช , พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ การเกิดผงวิเศษทั้ง ๕ นี้ นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริการพระคาถา เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการตั้งจิตบริกรรมพระเวทย์ในขณะที่เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ในแต่ละบทกำหนดไว้ ขั้นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  2. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระสมเด็จบางขุนพรหม(วัดใหม่อมตรส)บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร
    เสมียนตราด้วง ท่านเป็นต้นสกุล ธนโกเศศ เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งย่านบางขุนพรหม และจากหน้าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จวัดระฆัง อันมีค่านิยมสูงจนรั้งตำแหน่งราชาแห่งพระเครื่องมาโดยตลอดนั้น ท่านเสมียนตราด้วง ท่านได้ปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากและรับใช้ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระองค์นั้นอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แต่ครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นสามเณร และได้จำเริญสมณศักดิ์จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ จนกระทั่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านชราภาพ ชนม์มายุได้ ๘๔ ปี จึงได้ลาจากสมณศักดิ์ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านได้จึงมาพักผ่อนและแสวงหาความสงบวิเวกอยู่ ณ ที่วัดบางขุนพรหม กำกับดูแลช่างเขียนภาพประวัติส่วนตัวของท่านและควบคุมช่างก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรยอีกด้วย
    วัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนคร
    ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีกส่วนหนึ่ง
    วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัดบางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านเสมียนตราด้วงพร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวอย่างพระสมเด็จวัดระฆัง มีจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและการสืบพระศาสนาตามคดีโบราณนิยมอีกด้วย
    อนึ่งการสร้างพระสมเด็จบรรจุพระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยให้ใช้แม่พิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านที่เคยใช้ในการสร้างพระสมเเด็จวัดระฆัง คือ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่,พระสมเด็จพิมพ์เจดีย์,พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม,พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม
    นอกจากพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังกล่าวแล้วนั้น ทางคณะท่านผู้สร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมยังได้ให้นายช่างผู้แกะแม่พิมพ์วัดระฆัง เจ้าเดิม แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้ง ๔ พิมพ์ ดังกล่าวแล้วเพิ่มเติมขึ้นมาอีก และยิ่งไปกว่านั้นยังให้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขึ้นมาในรูปทรงใหม่อีก ๗ พิมพ์คือ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย,พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ,
    พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ หูช้าง,พระสมเด็จพิมพ์ฐานคู่,พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์,พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ,พระสมเด็จพิมพ์ไสยาสน์ รวมในกรุวัดบางขุนพรหมมีพระทั้งสิ้น ๑๑ พิมพ์ด้วยกันก็จริงและแต่ละพิมพ์ทรงยังมีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปอีกมาก อย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย มีแม่พิมพ์ที่ต่างพิมพ์กันไปอีกหลายพิมพ์ ตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนหักศอก เป็นต้นเมื่อได้พิจารณาถึงการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมแล้ว ท่านจะเห็นว่า การสร้างพระสมเด็จในครั้งนี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่ในลักษณะที่ค่อยทำค่อยไปไม่รีบเร่ง รวบรวมผงวิเศษวัสดุอาถรรพณ์และวัตถุมงคลได่แค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น มวลสารในพระสมเด็จวัดระฆัง จึงหลากหลายและมีความแตกต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดา เพราะการผสมมวลสารต่างกรรมต่างวาระกัน ผิดกับการสร้างพระสมเด็จที่วัดบางขุนพรหม เข้าใจว่าคงจะระดมชาวบ้านช่องมาช่วยกันสร้างกันเป็นงานใหญ่ครั้งมโหฬารให้สำเร็จกันเลยทีเดียว มวลสารของสมเด็จกรุบางขุนพรหมส่วนมากจึงเป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันคือเนื้อจะแก่ปูนหอย หรือปูนเพชร ผสมผสานด้วยผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากสูตรสนธิ์อันเป็นอักขระเลขยันต์ตามตำราบังคับ เช่น ผงปถมัง อิถเจมหาราช ตรีนิสิงเห และผงนะอักขระวิเศษต่างๆ อันมีนะ ๑๐๘ เป็นต้น เนื้อหาจึงดูกระด้างไม่หนึกนุ่มและอุดมไปด้วยมวลสารอันมีวัสดุมงคลและอาถรรพณ์อย่างกับพระสมเด็จวัดระฆัง หรือจะพูดโดยสรุปก็คือมวลสารจะหนักไปทางผงปูนหอยเมื่อได้สร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม และการปลุกเสกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสร้จเรียบร้อยแล้วจึงได้ทำการบรรจุในเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดบางขุนพรหม
    อนึ่ง การบรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นเป็นงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งนานทีปีหนจึงจักมีสักครั้งหนึ่ง ในครั้งต่อมาการบรรจุพระพิมพ์ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่นับเป็นการใหญ่และค่อนข้างจะเป็นทางการ
    ดังนั้น การบรรจุพระสมเด็จที่กรุวัดบางขุนพรหม ชาวบ้านร้านตลาด ตลอดจนประชาชนทั้งไกลและใกล้ย่อมจักทราบกันเป็นอย่างดีและเป็นข่าวที่เล่าขานสืบต่อๆ กันมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้ส่งทหารหาญไปร่วมรบ ในการนี้ได้ปรากฎมีประชาชนแอบเข้ามาใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วหย่อนลงไปตามช่องลมพระเจดีย์เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา ทีแรกก็ทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ เพียงไม่กี่ตน ครั้นตกได้พระสมเด็จขึ้นมามีการเช่าซื้อปรากฎเป็นสนนราคาขึ้นมาแล้วเท่านั้นแหละ ปรากฎว่าแห่กันมาเป็นการโกลาหล ครั้งแรกทางวัดมิได้ห้ามหวงแต่อย่างใด แต่พอนานๆ เข้าเห็นว่าจะไม่ได้การ จึงทำการโบกปิดช่องลมที่พระเจดีย์เสียการตกเบ็ดพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมได้ยุติลง
    พระสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งได้จากการตกในครั้งนั้น นิยมเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าจะไม่ปรากฎขี้กรุชัดเจน ผิวจะเรียบ จะมีอยู่บ้างก็เป็นชนิดราบนวลขาว ที่เรียกว่าฟองเต้าหูเท่านั้น ผิวพระจึงเรียบงดงามเพราะไม่มีขี้กรุผสมผสานกับดินกรุดินแน่นเป็นก้อนสีน้ำตาลแก่ ชนิดลอกขี้กรุออกนั้นต้องใช้หัวกรอฟันจึงจะเอาออกได้
    วัดบางขุนพรหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่อมตรส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวบูรณะปฏิสังขรณ์กรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๕)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    พระสมเด็จวัดเกศไชโย
    วัดไชโย เป็นวัดราษฎรสามัญสร้าง เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่โบราณกาล ปรากฎชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปก็เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตะเถระ ได้มาสร้างพะรพุทธรูปใหญ่โตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เรียกกันว่าหลวงพ่อโต ต่อมามีชื่อว่า พระมหาพุทธพิมพ์
    พระมหาพุทธพิมพ์ ครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ ก่ออิฐสอดินถือปูนขาว ไม่ได้ปิดทอง ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๘ วา ๖ นิ้ว สูงสุดถึงยอดพระรัศมี ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว มองเห็นได้แต่ไกล
    ปรากฎในจดหมายเหตุครั้งเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา (พ.ศ. ๒๔๑๖) เสด็จขึ้นทอดพระเนตรพระโตนี้
    สืบต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด) ที่สมุหนายก สำเร็จราชการกรมมหาดไทยเป็นแม่กองปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นใหม่ทั่วพระอารามเมื่อปีกุน (พ.ศ.๒๔๓๐)
    ครั้งเมื่อสร้างพระวิหารครอบพระมหาพุทธพิมพ์ได้มีการกระทุ้งราก ฝังเข็มพระมหาพุทธพิมพ์พระพุทธรูปใหญ่ทนการกระเทือนไม่ได้จึงพังทลายลงมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสร้างพระพุทรูปขึ้นใหม่เป็นของหลวงทดแทนพระพุทธรูปที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างเอาไว้
    จากเหตุที่เจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด) ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดไชโยและสร้างวิหารครอบพระมหาพุทธพิมพ์ หรือพระใหญ่ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างขึ้นไว้ เนื่องจากด้วยแต่เดิมที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นั้นองค์ใหญ่โตมาก การสร้างก็ไม่มั่นคงแข็งแรงแต่อย่างใด เพียงแต่อิฐสอดินและถือปูนเท่านั้น ไม่มีโครงสร้างยึดเกาะ
    จากเหตุที่พระมหาพุทธพิมพ์พังทลายลงมานี้เอง จึงได้พบพระพิมพ์เนื้อผงขาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นจำนวนมาก ตามที่เราท่านรู้จักกันดีในนามพระสมเด็จวัดเกศไชโยนั่นเอง
    พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้เป็นที่ยอมรับและเชื่อกันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้สร้างและบรรจุเอาไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นอนุสรณ์ แต่โยมมารดาของท่าน ชื่อเกศ หรืออีกนัยหนึ่งว่ากันว่า ท่านเกิดและเจริญเติบโตมานั่งได้ที่นี่ เป็นต้น
    และยิ่งไปกว่านั้น ยังเดากันว่า เหตุที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเจาะจงให้ช่างแกะแม่พิมพ์สมเด็จตรงช่วงทรวงอกให้เป็นร่องลึกนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า ธรรมดาเมื่อบุตรธิดาเกิดมาลืมตาดูโลกก็ได้อาศัยดื่มกินน้ำนมอันเกิดแต่เลือดเนื้อเชื้อไขของมารดาจนกระทั่งท่านมีอันต้องผ่ายผอมลงจนอกท่านเป็นร่อง เป็นเครื่องยังชีพให้ทารกได้เจริญเติบโตใหญ่มาได้นั้น บุญคุณท่านสุดจะประมาณได้กว้างใหญ่ไพศาลถึงแผ่นฟ้าแผ่นดิน
    พูดถึงพระสมเด็จวัดไชโยก็แปลกอยู่อย่างทั้งๆ ที่วัดนี้เขาเรียกกันว่าวัดไชโยด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ หรือชื่อที่ปรากฎอยู่ในทำเนียบวัดเขาก็ชื่ออย่างนั้น หรือชื่อที่ปรากฎอยู่ในทำเนียบวัดเขาก็ชื่ออย่างนั้น พอเกิดได้พระสมเด็จขึ้นมากลับเติมคำว่าเกศลงไปข้างหน้า เป็นพระสมเด็จวัดเกศไชโยไปเสียและเรียกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    วัดนี้มีชื่อเต็มว่า วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ใน ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง บนฝั่งขวาของแมน้ำเจ้าพระยา วัดนี้นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาพุทธพิมพ์แล้วยังมีรูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อีกด้วย
    รูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหลวงหล่อขึ้นเป็น ๒ องค์ด้วยกัน พระราชทานแก่วัดระฆังโฆสิตารามและวัดไชโย
    ถึงหน้าเทศกาลงานนมัสการพระพุทธรูปประจำปี ประชาชนจะหลั่งไหลมาจากกหัวเมืองต่างๆ เพื่อนมัสการพระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์และปิดทองรูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
    คราวที่ ๒ กำหนดในฤดูน้ำ เดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ำ ถึงแรม ๑๐ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน อีกเช่นกันงานในฤดูน้ำนี้สนุกสนานมาก มีการออกร้านเยี่ยงงานภูเขาทอง ในกรุงเทพฯ เวลานั้นน้ำขึ้นเต็มฝั่ง การสัญจรไปมาสะดวกมาก เรือแพนาวาจอดยาวเหยียดตลอดฝั่งแม่น้ำ โดยเฉพาะหน้าวัดไชโยจะจอดเรียงซ้อนกันไปเกือบกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
    ความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหาพุทธพิมพ์และรูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น ประชาชนเคารพนับถือความศักดิ์สิทธิ์ในเชิงน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และความมีสิริมงคลสืบต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
    พุทธลักษณะพระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นแบบเดียวกันกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผิดกันที่องค์พระมีลักษณะเป็นอกร่อง ผงส่วนมากที่ทำสำเร็จเป็นองค์พระมักมีสีขาวมากกว่าสีอื่นๆ ด้านหลังของพื้นฐานบางองค์เป็นรอยกาบหมากเห็นเป็นเส้นๆ ได้ชัด กล่าวกันว่าสมเด็จฯ ท่านสร้างแล้ว จึงเอาไปบรรจุไว้ ณ วัดสะเกศ ตำบลสะเกศ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เลยเรียกกันว่า พระสมเด็จวัดเกศไชโย (ตัดคำว่าสะออกเสียเพื่อพูดสะดวกปาก) แต่นักพระเครื่องบางท่านว่าสมเด็จบรรจุที่วัดไชโย ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ท่านได้สร้างพระนี้อุทิศให้กับโยมมารดา ซึ่งเคยพาท่านมาอยู่ ณ ที่ตำบลไชโยนี้ ประกอบกับมารดาท่านชื่อ เกศ พระวัดไชโยจึงมีชื่อว่า สมเด็จวัดเกศไชโย
    พระสมเด็จวัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นพระเนื้อปูนขาว สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ใน สมัยรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ พระสมเด็จวัดเกศไชโยฯ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๙ พุทธศิลปะอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์
    พระสมเด็จวัดเกศไชโยฯ ตามความนิยมในวงการพระเครื่องมี ๓ พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ ๗ ชั้นอกตัน,พิมพ์ ๖ ชั้นอกตัน และพิมพ์ ๕ ชั้นอกตลอด
    จากบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอนโลหะนันท์) และนายก สัชฌุกร ซึ่งได้บันทึกจากการบอกเล่าของพระธรรมถาวร จันทโชติ สามเณรที่ช่วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตำผงเพื่อสร้างพระสมเด็จประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ที่วัดระฆังโฆสิตารามฯ พระที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นมีทั้ง ๓ ชั้น และ ๗ ชั้น ซึ่งพิมพ์ ๗ ชั้นได้นำไปบรรจุไว้ที่ วัดเกศไชโยฯ จังหวัดอ่างทอง
    นอกจากนี้พระยาทิพโกษาฯ ได้บันทึกไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดา มีชื่อว่า เกศ และตามีชื่อว่า ไช พระสมเด็จจึงถูกขนานนามตามชื่อวัดว่า สมเด็จวัดเกศไชโย สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ท่านสร้างพระสมเด็จพิมพ์ ๗ ชั้นนี้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม แล้วนำมาแจกและบรรจุไว้ในกรุวัดไชโยวรวิหารนี้ ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระมหาพุทธพิมพ์ที่วัดนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    เจาะลึกมวลสารผสมพระสมเด็จ
    มวลสารในพระ"สมเด็จ" สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"พระสมเด็จ" ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นมาทั้ง 3 วัด คือ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัดเกศไชโยโดยเฉพาะพระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม จัดเป็นพระเครื่องที่ได้รับการยอมรับจากนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" เป็นสุดยอดพระเครื่องเมืองสยามแต่หากสืบค้นประวัติของการสะสมพระเครื่องแล้ว จะพบว่าในความนิยมชมชอบของพระเครื่องแต่เดิมทีแล้วนั้น หาได้วางพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามเป็น "อันดับหนึ่ง" ไม่ หากในห้วงระยะหลังของสงครามโลกครั้งที่ 2 หรอก เมื่อ "ตรียัมปวาย" หรือ พ.อ. (พิเศษ) ประจญ กิตติประวัติ ได้เขียนถึงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ประกายอันเจิดจ้าจึงทอแสงระยิบระยับแก่พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม และทอทาบไปถึงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัดเกศไชโย แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในครั้งนั้น พระเครื่องที่ได้รับความนิยมชมชอบมากเป็นพิเศษแล้ว คือ พระเครื่องที่มีสรรพคุณในด้านคงกระพันชาตรี ยิ่งนักสะสมพระเครื่องอาวุโสบอกกล่าวเล่าขานถึงการสะสมพระเครื่องในครั้งนั้นให้ฟังถึงกลับแทบมิน่าเชื่อว่าพระกิมตึ๋ง พระเครื่องอันประกอบด้วย พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ และพระปรกชุมพล ยังมีมูลค่าในการเช่าหาที่สูงกว่าพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามในครั้งนั้นเสียอีก
    เมื่อกล่าวถึงพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้สร้างขึ้น มีคำถามถึง


    "มวลสาร" ที่นำมาสร้างเป็นองคืพระเครื่องขึ้นมาประกอบด้วยอะไรบ้าง

    มวลสารตัวหลักของพระสมเด็จ คือ ปูน ปูนที่ว่านี้เป็นปูนที่ทำขึ้นจากเปลือกหอยเผาแล้วจึงนำมาผสมผสานด้วยมวลวัสดุต่างๆ ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นผงวิเศษที่ได้จากการนำดินสอพองปั้นเป็นแท่ง เขียนอักขระบนกระดานชนวนแล้วลบ เก็บเศษผงที่ได้จากการลบนั้นไว้เป็นส่วนผสม ผงวิเศษนี้เชื่อกันว่ามีด้วยกัน 5 ชนิด คือ

    - ผงปถมัง

    - ผงอิทธิเจ

    - ผงพุทธคุณ

    - ผงมหาราช

    - ผงตรีนิสิงเห

    นอกเหนือไปจากส่วนผสมต่างๆ เช่น ดอกไม้แห้ง ผงธูป ก้านธูป ผ้าแพรห่มพระพุทธรูป เศษจีวร ผสมผสานลงไปด้วย ในมวลสารเหล่านี้ เมื่อสลายตัวไปจึงปรากฏร่องรอยทิ้งไว้บนพื้นผิวองค์พระเป็นรอยพรุน ที่เรียกขานกันว่า รอยบุ้งไต่

    และยังมีร่องรอยที่เรียกกันว่า รอยปูไต่ รอยรูพรุนของเข็ม และรอยตอกตัด เป็นธรรมชาติให้พิจารณาของพระสมเด็จ โดยเฉพาะในพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม

    แต่ส่วนประกอบโดยสำคัญของเนื้อหาพระสมเด็จ คือ ผงปูน เป็นผงปูนอันได้จากเปลือกหอยเผาไฟป่นละเอียด แล้วจึงนำมาผสมกับมวลสารอื่นๆ โดยมีน้ำมันตั้งอิ้ว และน้ำอ้อยเป็นตัวเชื่อมประสานให้ยึดเหนี่ยวจับเกาะเป็นเนื้อเดียวกัน

    และมีความเชื่อกันว่า ยังมีส่วนผสมของกระดาษฟางแช่น้ำให้เปื่อยผสมลงไปให้เป็นตัวยึดเนื้อหามวลสารด้วย อีกส่วนหนึ่งซึ่งกระดาษฟางนี้เป็นส่วนที่ทำให้เนื้อหาของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม มีความหนึกนุ่มนวลตา ไม่กระด้างเช่นการใช้มวลสารแต่เพียงเฉพาะผงปูนเท่านั้น
    หากส่องดูเนื้อหาของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม สิ่งหนึ่งที่ปรากฏชัดบนองค์พระ คือ เม็ดสีขาวที่ฝังอยู่บนเนื้อพระ ที่นักสะสมพระเครื่องเรียกขานกันว่า "เม็ดพระธาตุ" โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงเศษปูนขาวที่จับเกาะเป็นก้อนเท่านั้นเองแต่บางท่านแย้งว่า เป็นเศษปูน ที่ได้จากการลอกปูนปั้นพระพุทธรูป เพื่อปั้นปูนพอกใหม่จึงได้นำเศษปูนเก่ามาเป็นส่วนผสมด้วย
    นอกจากนั้น ยังมีเม็ดแดงสีอิฐผสมอยู่ เศษเม็ดอิฐนี้คือเศษพระกำแพงที่แตกหัก นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมลงไปในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม

    เนื่องเพราะมีส่วนผสมผสานของมวลสารอย่างมากมายในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อกาลเวลาผ่านไปอย่างยาวนาน ได้ก่อเกิดปฏิกิริยาทางธรรมชาติ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการยุบ-แยก-ยับ-ย่น บนเนื้อหาของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม



    จากบทบันทึก มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา

    อนุมานดูราวๆๆ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1229 ปี ทำพระพิมพ์ 3 ชนิด สามชั้นนั้น
    84000 องค์ ทำด้วยผงบ้าง ลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าเขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง
    น้ำมันบ้าง ชันบ้าง ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง เมื่อเข้าไปดูคนตำ คนโขลก
    มีจามมีไอขึ้นบ้าง ท่านก็บอกว่า เอาใส่เข้าลงด้วย เอาใส่เข้าลงด้วย แล้วว่าดีนักจ๊ะ
    ดีนักจะ เสร็จแล้วตำผสมปูนเพชร กลางคืนก้อภาวนาไปกดพิมพ์ไป
    ตั้งแต่ยังเป็น พระเทพกวี จนเป็น พระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้วเสร็จ ยังอีก
    8 หมื่น 4 พัน ที่สามกับที่สี่


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    การสร้างพระเครื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร กล่าวกันว่า ท่านได้สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2409 ภายหลังจากได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์แล้ว จึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นว่า "พระสมเด็จ" และได้สร้างเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2415อันเป็นปีที่ท่านถึงชีพิตักษัยตามบันทึกในจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน เล่มที่ 3 หน้า 45 ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงบันทึกไว้

    "วันเสาร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุลศักราช ๑๒ (พ.ศ.๒๔๑๕) เวลา ๒ ยาม สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงชีพิตักษัย"

    โดยได้สร้างขึ้นเรื่อยๆ แจกจ่ายแก่บรรดาญาติโยมที่มาเยี่ยมเยียน และเมื่อครั้งออกบิณฑบาตในตอนเช้า ครั้งหมดก็สร้างขึ้นใหม่ปลุกเสกด้วยคาถา "ชินบัญชร"

    ผู้ที่แกะพิมพ์ถวายท่านคือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก

    ในการสร้างพระเครื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ท่านนำส่วนผสมมวลสารมาบดตำผสมกันกับน้ำมันตั้งอิ้ว และน้ำอ้อยได้เป็นเนื้อหามวลสารสร้างพระเครื่องนำมาปั้นเป็นก้อนตัดเป็นชิ้น จากนั้นจึงนำมากดลงบนแม่พิมพ์ในขณะที่เนื้อผงมวลสารยังเปียกชื้นอยู่แล้ว จึงนำแผ่นไม้กระดานมากดทับด้านหลังไล่ฟองอากาศออกจากเนื้อพระ

    แล้วจึงตัดขอบพระสมเด็จ โดยใช้ตอกตัดจากด้านหลังไปด้านหน้า ทำให้ด้านหน้ามีขอบเนื้อเกิน อีกทั้งขอบข้างยังปรากฏร่องรอยของการตัดขอบทั้งรอยแตกปริรอยอ้า จนกลายเป็นจุดสำคัญในการดูพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามไปในที่สุด

    ทุกวันนี้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับชื่อเสียงเรียงนามจากบรรดานักสะสมพระเครื่องทั้งหลายว่า เป็น "สุดยอดพระเครื่องเมืองสยาม" เป็นวิญญาณแห่งความปรารถนาของเหล่านักสะสมพระเครื่อง ทั้งในวัยดรุณแรกเริ่มสะสม และที่ผ่านประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ล้วนชมชอบ ล้วนอยากได้เป็นเจ้าของ

    พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม มีความแนบแน่นกระชับกับพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมและพระสมเด็จวัดเกศไชโย ด้วยเหตุที่ว่าล้วนเป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    จึงเป็นพระเครื่องที่ล้วนจัดอยู่ในแถวหน้าของยุทธจักรการสะสมพระเครื่องอย่างมิเสื่อมถอยในคุณค่า และนับวันยิ่งทวีขึ้นเรื่อยๆ



    ผงวิเศษทั้ง 5 ประการ ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของมวลสารในพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นผงวิเศษที่ได้จากการเขียนสูตรอักขระเลขยันต์ต่างๆ ตามตำรา โดยใช้ดินสอที่ปั้นขึ้นจากดินสอพองเขียนลงบนกระดานชนวนหรือกระดานไม้แล้วลบ ได้ผงวิเศษครั้งแรก เรียกกันว่า ผงอิทธิเจ นำผงอิทธิเจที่ได้มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนอักขระยันต์และลบใหม่ ได้ผงปถมัง เขียนแล้วลบเช่นเดิม เป็นครั้งที่ 3 ได้ผงมหาราช ครั้งที่ 4 ได้ผงพุทธคุณ และครั้งที่ 5 ได้ผงตรีนิสิงเห

    แต่จากการค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับผงวิเศษทั้ง 5 ประการ พบว่าในหนังสือสารานุกรม ฉบับอุทัย สินธุสาร มีกล่าวถึงผงวิเศษไว้ 3 ชนิด คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ และผงตรีนิสิงเห ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    ปถมัง ชื่อมนต์ปลุกเสกทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง ผู้บริกรรมใช้ดินสอพอง ซึ่งมีสิ่งอาถรรพณ์ต่างๆ เช่น ดินโป่ง 7 โป่ง ดินตีนท่า 7 ตีนท่า ดินหลักเมือง 7 หลัก ดอกกาหลง ยอดสวาท พลูร่วมใจ น้ำมัน 7 รส ฯลฯ ใช้ดินสอพองที่ผสมตามสูตรเหล่านี้เขียนยันต์ และนะต่างๆ ตามแบบแผนของโบราณาจารย์ลงบนกระดานชนวนแล้วบริกรรมสาธยายไปตามจังหวะลีลาการเขียน เขียนเสร็จแล้วลบเก็บเอาผงที่ลบนั้นไว้ เรียกว่าผงปถมังเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สร้างพระเครื่องหรือของขลังต่างๆ
    ผงปถมังนี้เริ่มต้นด้วยการลงนะปกังพินธุก่อน แล้วเรียกสูตรต่อเป็นนะโมพุทธายะเรื่อยไป ลบอักษรตามกำหนดออกเขียนเข้าสูตรมหาดำองการอุไทย มหาไวย มหาเมฆ ต่อไปเป็นนะโมตัสสะ...ลบอีกทีเป็นหัวใจอิติปิโสเป็นไตรสรณาคมน์ การบริกรรมก็ว่าองการพระปถมัง เช่น โอม องการพระปถมัง ตั้งแต่กำเนิดมีศักดาเดโชชัย ย่อมตกลงที่ไหนบรรลัยนั้น ดุจดวงพระสุริยันและเมฆฝนได้แสนโกฏิอสงไขยย่อมหวั่นไหวไปทั่วโลกา ฯลฯ

    อานุภาพของผงปถมัง คือ การอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจังงัง กำบัง ล่องหน หายตัว รวมทั้งเมตตามหานิยมด้วยคัมภีร์กล่าว ผงปถมังที่ทำเพียงแค่องการมหาราชน้อยใหญ่นั้น พอนำไปโรยใส่ที่ใด เช่น ใต้ถุนบ้าน มินานบ้านเรือนนั้นก็ยุบหายกลายเป็นป่า น้ำในป่าที่เต็มเปี่ยมเมื่อโรยผงนี้ น้ำนั้นก็แห้งเหือด

    การทำผงปถมังนี้มาจากคัมภีร์ปถมัง ที่เรียกกันว่า "ปถมัง 9 วรรค" หรือ "ปถมัง 9 กัณฑ์" ซึ่ง 8 วรรค หรือ 8 กัณฑ์แรก เป็นคาถาธรรมดา แต่วรรคที่ 9 ถือว่ามีความสำคัญ และศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารมาก การทำผงปถมังเป็นการหัดทำสมาธิขั้นแรกที่ต้องกระทำพร้อมกันทั้งสามองค์คือ ทางกาย ใช้มือขีดเขียนอักขระ ทางวาจา ต้องบริกรรมคาถา ทางใจ ต้องสำรวจเพ่งอักขระมิให้พลาดและมีพลังกล้า

    คัมภีร์ปถมัง ถือว่าเป็นคัมภีร์เริ่มแรกในการเขียนเวทมนตร์กล่าวถึงครั้งปฐมกัปอันว่างเปล่า ท้าวสหบดีพรหมได้เล็งญาณลงมาเห็นโลกขณะนั้นมีแต่น้ำที่กำลังงวดขึ้นมาจะเป็นแผ่นดิน และเกิดดอกบัวผุดขึ้นมา 5 ดอก แต่ละดอกมีอักขระกำกับดอกละอักขระ คือ นะ โม พุท ธา ยะ ท่านจึงกระทำวันทนาการ และพยากรณ์ว่ากัปชื่อภัทรกัป จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 5 พระองค์ จึงทรงคาบเอาหญ้าคาทิ้งลงไปบังเกิดเป็นแผ่นดินขึ้น เริ่มมีมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น ก่อนเรียนทำผงปถมังจะต้องกล่าวคำน้อมระลึกถึงท้าวสหบดีพรหมผู้เป็นต้นกำเนิดก่อน หัวใจของการเรียนปถมัง คือ การทำนะพินธุ อันเป็นแบบฉบับที่จะนำนะทุกชนิดที่วางแบบแผนไว้ในตำราเวทมนตร์ทั้งหลาย เช่น นะหน้าทอง นะนิยม นะมหาอุด จะทำนะใดให้ศักดิ์สิทธิ์ จะต้องเข้าใจนะพินธุ เสียก่อน

    ผงปถมัง เป็นผงพื้นฐานสำหรับการสร้างวัตถุมงคลด้วย "เนื้อผง" ที่บรรดาพระเกจิอาจารย์ทั้งหลายต้องลบสูตรเขียนสูตรขึ้น


    ส่วนผงอิทธิเจ มีรายละเอียด ดังนี้

    อิทธิเจ ผงวิเศษอย่างหนึ่งใน 5 ประการ (คือ ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช พุทธคุณ ตรีนิสิงเห)

    การทำผงนี้ขึ้นจากสูตรมูลกัจจายน์ ซึ่งท่านมหากัจจายนะเกจิอาจารย์เป็นผู้วางแผนสร้างเอาไว้ เป็นสูตรเกี่ยวกับอักขระขอมมีการแปลงพยัญชนะและสระ พอสำเร็จรูปจะกลายเป็นอักขระ "อิ ธะ เจ สะ ตะ โส ทัฬ หัง คัณ หา หิ ถา มะ สา" และลบครั้งสุดท้ายเป็น นะ โม พุท ธา ยะ และเป็นสูญนิพพานต่อไป

    แต่บางอาจารย์ไม่ลบเข้าสูตรนิพพานทิ้งไว้เพียงนั้น
    กล่าวในแง่ด้านพุทธคุณของผงอิทธิเจ มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยม การสร้างพระเครื่องเนื้อผงที่ร่ำลือถึงพุทธคุณของผงอิทธิเจนั้น เป็นที่เล่าขานกันว่า การสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี มีชาวบ้านทั้งชายหญิงมาช่วยกัน ณ ศาลาท่าน้ำ ในตอนที่เลิกจากการตำผงนั้นมีการปัดกวาด ทำความสะอาดศาลาท่าน้ำ ปรากฏว่าเศษผงที่ร่วงหล่นบนพื้นได้ฟุ้งกระจายขึ้นส่งกลิ่นหอมยิ่งนักยิ่งกว่านั้น ที่ท่าน้ำในตอนล้างมือล้างไม้กัน ทั้งชายหญิงทำน้ำกระเด็นใส่กันจนเป็นที่เคลิบเคลิ้มกันทีเดียว ถึงกับต่อมามีการขูดผงวิเศษจากพระปิดตาหลวงพ่อแก้วผสมน้ำทำน้ำมนต์ไปพรมสาวที่หมายตากันทีเดียว

    และผงตรีนิสิงเห มีกล่าวไว้ว่า

    ตรีนิสิงเห 1. ยันต์ชนิดหนึ่งใช้ปิดในที่ต่างๆ หรือใส่หมวกสำหรับป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายทั้งปวง

    2. ผงคุณวิเศษทางมายาศาสตร์ ซึ่งสำเร็จด้วยกฤตยาคม การทำผงวิเศษนี้ใช้ดินสอพองซึ่งมีส่วนผสมต่างๆ ตามสูตร เช่น ดินโป่ง 7 โป่ง ดินตีนท่า 7 ตีนท่า ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง ดอกกาหลง ยอดสวาท พลูร่วมใจ ฯลฯ น้ำมัน 7 รส เป็นต้น ใช้ดินสอพองที่ผสมตามสูตรเหล่านี้เขียนสูตรยันต์และนะต่างๆ ตามสูตรที่โบราณาจารย์วางไว้ ปากก็ท่องบ่นสาธยายโองการหรือตัวสูตรต่างๆ ไปตามจังหวะลีลาการเขียน เขียนเสร็จบทใดก็ลบอักษรนั้นเสีย

    เก็บผงไว้ใช้สร้างพระเครื่องหรืออาคมของขลัง ผงตรีนิสิงเหเป็นสูตรเลขทางมายาศาสตร์ ตั้งแต่ 1 ถึง 9 ทุกตัวมีความแลโฉลกลึกลับซับซ้อน มีการชักเลขยันต์ครบ 12 เลขยันต์


     
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระสมเด็จมีมวลสารหลักคือปูนเพชร บ้างก็วาปูนเปลือกหอย และมีพวกตะไคลเจดีย์เเละดินอถรรพ์อื่นๆผสมกับผงวิเศษ5ประการ ส่วนที่ยากที่สุดในการเเสวงหามวลสารยุคปัจจุบันคือ ผงพระพุทธคุณไม่เเน่ใจว่าสมเด็จท่านลบอย่งไรเพราะไม่มีเขียนไว้ในตำราเป็นผงชนิดเดียวที่ไม่ได้ลงไว้ในตำรา
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tablecontent><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=548 border=0><TBODY><TR><TD>การสร้างพระสมเด็จอีกตำราหนึ่ง
    ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง
    พระเครื่องเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360
    สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
    3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า
     
  9. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันแพร่หลายในเมืองไทย กล่าวกันว่า เป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีผู้นำมาพิมพ์เผยแพร่กันอย่างกว้างขวาง แต่ว่ามักจะแตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง จนไม่อาจจะยุติได้ว่าของเดิมนั้นเป็นอย่างไร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ(เจริญ สุวฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงตรวจชำระแล้ว โปรดให้พิมพ์ขึ้นสำหรับแจกเป็นธรรมทานในการบำเพ็ญกุศลคล้ายวันประสูติในปีนั้น และได้ทรงนิพนธ์คำชี้แจงไว้ว่า

    -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กุมภาพันธ์ 2009
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ไว้จะค้นข้อมูลดีๆมาลงไว้อีก
     
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    [​IMG]

    เสาหอพระไตรปิฎกต้นเก่าดังเดิมคู่วัดระฆังรับมอบจากรองเจ้าอาวาสวัดระฆังซึ่งเสานี้เองอาจเรียกได้ว่าเสาแปดสมเด็จอันประกอบด้วย
    1สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช(เสาเรือนที่พระตำหนักเเล้วถวายให้วัดบางหว้าใหญ่หรือวัดระฆัง)
    2สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    สมเด็จพระสังฆราช (สี) พ.ศ. ๒๓๑๒ - ๒๓๓๗
    3สมเด็จพระสังฆราชองค์เเรกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์

    4สมเด็จพระพนรัต (ทองดี)
    5สมเด็จพระพนรัต (ฤกษ์)
    6สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    7สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ. ทัด เสนีวงศ์) พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๔๓๗
    8สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๗๐

    เหตุที่มาได้ครอบครองเสาสมเด็จอันล้ำค่านี้มาจาก

    หลวงพ่อทวดท่านมาในนิมิตแล้วมาบอกผมว่า
    มึงไปเขาของดีสมเด็จที่วัดระฆังโน่นหนะเสาสมเด็จกูให้ เป็นของมงคลเอาไปสร้างบารมี

    เเละเมื่อไปถึงวัดระฆังผมเองตรงไปที่เรือนหอพระไตรปิฏกซึ่งเป็นเรือนโบราณมากๆสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเเผ่นดินซึ่งทางวัดได้รื้อถอนเสาต้นเดิมสุดนี้เเล้วจะนำเสานี้เขาพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีเเต่คนบอกว่าเสานี้เป็นเสาใหม่อย่าเอาไปเลยเเต่รองเจ้าอาวาสท่านบอกว่าถ้าโยมไม่เอาอาตมาจะเอาเข้าพิพิธภัณฑ์โยมจะเอาเท่าไรก็ตัดเอาไป หลังจากตัดเสร็จหน้าไม้ที่ตัดยังใหม่ๆอยู่หลังจากนั้นไม่ถึงอาทิตย์หน้าตัดไม้นั้นกลับเก่าลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อดูอายุเเล้วเสาไม้นี้อายุหลายร้อยปีเเน่นอนเเละหลังจากที่ได้ไม้เสาสมเด็จนี้มาสิ่งดีๆทั้งหลายก็ได้เข้ามาในชีวิตนับว่าเป็นเรื่องมงคลเเละเมื่อทราบความจริงภายหลังว่าคนที่บอกว่าเสาไม้นี้ไม่เก่ากลับกลายเป็นเซียนพระท่านหนึ่งที่คอยจ้องมองหาทางจะเอาไม้สมเด็จอันล้ำค่านี้เช่นกัน จึงนับว่าเสาสมเด็จนี้มีที่มาอย่างอัศจรรย์เป็นของสิ่งเดียวของสมเด็จเเท้ๆที่ผมเองไม่เคยมีเยอะขนาดนี้
     
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
  13. บอมม์

    บอมม์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2008
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +474
  14. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,304
    ค่าพลัง:
    +15,659
    benay_watmon@hotmail.com (เบ็น 083 -6139417)

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ
     
  15. Liverpat

    Liverpat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,825
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ท่าทางหมอฟอร์ต

    จะสร้างพระสมเด็จใช่ไหมครับ
     
  16. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    อดใจรอข่าวดีเเต่คงต้องรอนานหน่อยนะครับกำลังรวบรวมประวัติการสร้างพระสมเด็จรวมทั้งมวลสารเเละผงพระพุทธคุณที่ลบตามพระตำราเดิมกันจริงๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...