เรื่อง ปลาดุกย่างเป็นเหตุ โดย ปัญญา ฤกษ์อุไร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 8 มกราคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    เมื่อเรารดน้ำมนต์หลวงพ่อแพเสร็จแล้ว คุณอำนวย ก็บอกข้าพเจ้าว่า "ออกจากนี่เราจะไปวัดอัมพวันกัน วัดอัมพวัน อยู่ไม่ไกลจากที่นี่ ออกไปทางถนนพหลโยธิน วัดตั้งอยู่ริมทางเลี้ยวเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตรเท่านั้น ไหน ๆ ก็มาทำบุญ วัดหลวงพ่อแพแล้ว ก็ควรจะเลยไปวัดอัมพวันสักหน่อยก็จะดี" "หลวงพ่อองค์นี้ดีทางไหน " ข้าพเจ้าถามคุณอำนวยผู้แนะนำ "ท่านเก่งทางนั่งทางในและทางวิปัสสนากรรมฐาน" คุณอำนวยชี้แจง "ท่านเก่งทางวิปัสสนาก็เป็นเรื่องของท่านไม่เกี่ยวอะไรกะเราผู้เป็นฆราวาส" ข้าพเจ้ายังไม่หายสงสัย "เกี่ยวซิ ทำไมจะไม่เกี่ยว ยิ่งคนซวย ๆ อย่างผู้ว่ายิ่งเกี่ยวมากขึ้น เพราะอย่างน้อยก็จะได้รู้ว่าเรื่องที่ซวยอยู่เวลานี้มันเป็นมาอย่างไร" คุณอำนวยชักฉุนเพราะความขี้สงสัยของข้าพเจ้า "รู้แล้วจะมีประโยชน์อะไร ไปพบท่านแล้วจะหายซวยกระนั้นหรือ" คุณอำนวยเกาหัวยิกยัก คงจะโมโหที่ข้าพเจ้าสงสัยไม่หยุด "อย่างน้อยเราก็รู้ว่าเรื่องราวมันเป็นมาอย่างไร จึงได้รับเคราะห์กรรมถึงปานนั้น พระที่นั่งทางในได้นั้นย่อมมองเห็นอดีตและอนาคตของสัตว์โลกทุกชนิด เขาเรียกว่า มีทิพยจักษุ หรือญาณจักษุ อะไรทำนองนี้แหละ เข้าใจหรือยัง" เขาอธิบายจบพร้อมกับถอนหายใจเฮือกใหญ่ "ซาบซึ้งแล้วครับ" ข้าพเจ้าตอบยิ้ม ๆ
    คุณอำนวยค้อนประหลับประเหลือก คงนึกในใจว่าไม่ควรพาข้าพเจ้ามา ดูจะมีปัญหามากเหลือเกิน เราออกจากวัดพิกุลทองของหลวงพ่อแพ มุ่งตรงไปออกทางเข้าสิงห์บุรีตรงตัดกับถนนพหลโยธิน แล้ววิ่งมาตามถนนพหลโยธินมุ่งเข้ากรุงเทพฯ จากปากทางเข้าเมืองสิงห์บุรีมาได้ประมาณ ๘ ก.ม. ก็จะถึงวัดอัมพวัน วัดนี้ถ้ารถยนต์มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ จะอยู่ทางด้านขวามือ ที่ปากทางมีป้ายเขียนไว้ว่า ทางเข้าวัดอัมพวัน หน้าวัดมีโรงเรียนหลังใหญ่อยู่หลังหนึ่งชื่อโรงเรียนวัดอัมพวัน เมื่อผ่านโรงเรียนไปแล้วก็จะถึงตัววัด บริเวณวัดกว้างขวางและสะอาดสะอ้าน มีต้นไม่ใหญ่ ๆ หลายต้นร่มรื่นสมกับ เป็นที่อยู่ของบรรพชิต
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="27%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" valign="middle" width="73%"> เมื่อพวกเราไปถึง ท่านอยู่พอดีมีอุบาสกอุบาสิกานั่งอยู่ก่อนแล้ว ๔-๕ คน พอคณะของพวกเราประมาณสิบกว่าคนไปถึง บรรดาท่านเหล่านั้นก็ลาหลวงพ่อไป คุณอำนวยนำพวกเราไปนั่งใกล้ ๆ สำหรับข้าพเจ้านั้นให้ไปนั่งข้างหน้าใกล้ ๆ กับหลวงพ่อ หลวงพ่อมีตำแหน่งเป็น พระครูภาวนาวิสุทธิ์ ชาวบ้านแถบนั้นเรียกท่านว่า พระครูจรัญ เข้าใจว่าคงจะเป็นชื่อเดิมท่าน อายุประมาณ ๕๐ เศษ ดูท่าทางเป็นคนเคร่งศีลและวินัย การพูดจาตรงไปตรงมาไม่เกรงใจใครทั้งนั้น ทำถูกท่านก็ว่าถูก ทำผิด ท่านก็ว่าผิด อาศัยเหตุผลเป็นหลักในการพูด เมื่อคุณอำนวยไปหาท่านโอภาปราศรัยดี แสดงว่าคุณอำนวยเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ คนหนึ่ง
    </td> </tr> </tbody> </table> "มาวันนี้ก็ดีแล้ว อยู่ให้ถึงเย็น อาตมาจะให้เขาหุงอาหารไว้ให้กิน" ว่าแล้วท่านก็สั่งแม่ชีจัดการหุงข้าวทำกับข้าวเลี้ยง คณะคุณอำนวย โดยที่คุณอำนวยไม่ทันจะพูดว่ากะไร "ผมมาวันนี้ นอกจากมากราบนมัสการท่านแล้ว ก็ยังได้แนะนำเพื่อน มาคนหนึ่ง ที่เขาประสบเคราะห์กรรม อยากจะให้หลวงพ่อช่วยนั่งทางในดูสักทีว่าเรื่องราวมันไปยังไงมายังไงกัน ถึงได้มาประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้" คุณอำนวยบอกหลวงพ่อ "ไหนคนไหน" "คนนี้ครับ" ว่าแล้วคุณอำนวยก็ชี้มือมายังข้าพเจ้า "อ้อคนนี้เรอะ ท่าทางดีนี่ไม่เลวเลย แต่หน้าตาดูจะหมองคล้ำไปสักหน่อย คนกำลังมีเคราะห์ก็เป็นแบบนี้แหละ เดี๋ยวอาตมาจะนั่งหลับตาดูซิว่า มันเรื่องอะไรกัน" พูดจบท่านก็นั่งหลับตาอยู่ครู่หนึ่ง พอลืมตาคุณอำนวยก็ถาม "เป็นไงหลวงพ่อ พอไหวไหม"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="86%">"เฮ้อ! รายนี้อาการหนักมาก ความจริงดวงชะตาจะขาดอยู่แล้วตั้งแต่เดือนก่อนโน้น มีคนจะมาดักยิงที่บ้านพักแต่ยิงไม่ได้ เพราะที่นั่นมีพระภูมิเจ้าที่แรง ท่านคอยคุ้มกันทำให้คนที่ไปดักยิงมันมองไม่เห็นตัว มันเลยยิงไม่ได้ ความจริงมันไปเฝ้าอยู่นอกรั้วบ้านหลายวัน ไม่มีโอกาสเห็นตัวโยมคนนี้ มันเลยเลิกล้มความตั้งใจ มิฉะนั้นดวงชะตาขาดไปแล้ว ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์เป็นพระเก่าแก่ซึ่งแขวนอยู่ที่คอคอยคุ้มกันอยู่อีกองค์หนึ่ง ทำให้คนคิดร้ายทำอันตรายได้ยาก แต่ระยะนี้พ้นเคราะห์เหล่านั้นมาแล้ว คงไม่เป็นไร หมั่นทำบุญ สุนทานมาก ๆ หน่อย ปล่อยสัตว์มีชีวิตเช่น นก ปลา มาก ๆ ก็จะดี" หลวงพ่ออธิบาย
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" valign="top" width="14%"><table style="font-size: 12px;" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="55"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="45">[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>



    </td> </tr> </tbody> </table> "แล้วเหตุที่มีเคราะห์ถึงขนาดนี้ มันเนื่องมาจากอะไรกันล่ะครับหลวงพ่อ" ข้าพเจ้าถามท่านบ้าง เพราะปล่อยให้คุณอำนวยถามมานานแล้ว "มันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ แต่อาตมานั่งหลับตาดู ทบทวนอยู่ถึงสองสามครั้งผลออกมาเหมือนกัน ซึ่งอาตมาก็ยังงง ๆ อยู่เหมือนกัน" "งงเรื่องอะไรล่ะครับหลวงพ่อ" "งงเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้น่ะซิโยม" "เรื่องอะไรล่ะครับที่เป็นไปไม่ได้ ในโลกนี้มีเรื่องที่จะเป็นไปได้เสมอ” ข้าพเจ้าว่า

    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" align="center" valign="top" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" valign="top" width="75%"> <dl>"คือตามเรื่องมีว่า โยมรู้ตัวว่ากำลังมีเคราะห์กรรมก็พยายามซื้อลูกปลาตัวเล็ก ๆ ไปปล่อยลงน้ำ เพื่อช่วยชีวิตของลูกปลาเหล่านั้น เรื่องนี้โยมทำมากตั้งแต่ปีที่แล้วใช่หรือไม่ บอกอาตมาตรง ๆ" หลวงพ่อถามข้าพเจ้าแล้วมองหน้า "ใช่ครับ ผมรู้ว่าตัวเองกำลังมีเคราะห์ ดวงไม่ดีก็พยายามปล่อยนกปล่อยปลามาตั้งแต่ปีที่แล้ว การปล่อยนกปล่อยปลาเป็นการช่วยชีวิตสัตว์ ไม่เห็นจะผิดบาปอะไรนี่ครับหลวงพ่อ" "ถ้าเพียงเอาไปปล่อยนอกจากไม่บาปแล้ว ยังได้บุญอีกด้วยแต่เรื่องนี้มันไม่ยุติเท่านั้น มันยังมี เรื่องยืดเยื้อต่อมาอีกนะซี" พูดจบหลวงพ่อถอนหายใจใหญ่ "ยืดเยื้อยังไงครับ" "คือหลังจากเอาเขาไปปล่อยแล้วโยมก็ไปจับเขามากินอีกนะซี ตอนนี้แหละที่บาปหนัก จวนจะแก้ไม่ตกอยู่แล้วรู้ไหม เท่ากับเราอธิษฐานเมื่อเวลาจะปล่อยเขาลงน้ำว่าจง ไปอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด เราปล่อยชีวิตเจ้าแล้ว เราช่วยชีวิตเจ้าให้ยั่งยืนต่อไปแล้ว
    </dl></td> </tr> <tr style="font-size: 12px;" valign="top"> <td style="font-size: 12px;" colspan="2"> เจ้าจงไปอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด เจ้าเวรนายกรรมขอให้มารับส่วนกุศลในการปล่อยชีวิตในครั้งนี้ด้วย เสร็จแล้วหลังจากนั้นไม่นานโยมก็ไปจับเขามากินอีก เท่ากับกลับคำสัตย์ อธิษฐานที่ให้ไว้แก่เจ้าเวรนายกรรม ทำให้เจ้าเวรนายกรรมเขาโกรธมาก เขาจึงอาฆาตพยาบาท โยมจึงต้องรับเคราะห์กรรมอยู่ขณะนี้ยังไงล่ะนี่แหละที่อาตมาว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ อาตมาดูคนมาแยะ ๆ หลายต่อหลายคนไม่เคยพบเห็นเรื่องอย่างนี้เลย"
    </td> </tr> </tbody> </table> หลวงพ่อพูดจบคว้าบุหรี่มาดูดวาบ ๆ (หลวงพ่อไม่สูบบุหรี่ แต่หลวงพ่อนัดยานัตถุ์) ข้าพเจ้าบอกหลวงพ่อเรื่องนี้ไม่จริง ข้าพเจ้าปล่อยนกปล่อยปลาเมื่อปีกลายจริง แต่เมื่อปล่อยลงน้ำลงคลองแล้วก็แล้วกันไม่เคยไปตามจับมากินอีก เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนคือตัวที่ข้าพเจ้าปล่อยไปจะได้จับมากินได้ถูก เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ และเวลาปล่อยก็ปล่อยครั้งละมาก ๆ ลูกปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ครั้งละจำนวนร้อย ๆ ตัว จะไปจำปลาแต่ละตัวได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เรื่องที่หลวงพ่อว่า จึงไม่มีทางจะเป็นไปได้ อย่างแน่นอน สงสัยหลวงพ่อดูผิดเสียแล้ว หลวงพ่อหัวเราะอย่างคนอารมณ์ดี "อาตมาไม่ได้ว่าโยมตั้งใจจะจับปลาที่ปล่อย สะเดาะเคราะห์มากิน แต่อาตมาหมายความว่า โยมกินปลาที่โยมสะเดาะเคราะห์เข้าไป จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาตมาไม่ทราบเหมือนกัน แต่สรุปว่าโยมกินเขาเข้าไปแน่ ๆ โดยปราศจากข้อสงสัย ลองไปนึกทบทวนดูให้ดีเถิด แล้ววันหลังค่อยมาคุยกันใหม่" "แล้วเรื่องที่ผมมีเคราะห์กรรมอยู่เวลานี้ล่ะครับจะเป็นอย่างไรบ้าง" ข้าพเจ้าอยากรู้เหตุการณ์ในอนาคต "ตอนนี้พ้นระยะเคราะห์หนักแล้ว ที่เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และค่อย ๆ หมดไปราว ๆ เดือนเมษายน-พฤษภาคม ปีหน้าก็คงพ้นเคราะห์เด็ดขาด ไม่เป็นไร ขอชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิดให้อาตมาไว้ แล้วอาตมาจะนั่งบริกรรมภาวนาให้เจ้าเวรนายกรรมเขาเห็นใจเลิกจองเวรจองกรรมเสีย"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="90%"> ท่านหันไปคุยกับคุณอำนวยและคนอื่น ๆ ที่มาคณะเดียวกัน วันนั้นข้าพเจ้าไม่ได้อยู่กินข้าวเย็นที่วัดอัมพวัน เพราะเกรงจะกลับกรุงเทพฯ ค่ำ เพราะกำลังมีเคราะห์อยู่ด้วย ต้องระวังตัวเกรงเกิดอุบัติเหตุ ในระหว่างทางขณะขับรถกลับกรุงเทพฯ ข้าพเจ้า ได้ครุ่นคิดไปตลอดทางว่าข้าพเจ้าไปจับปลาที่ปล่อยสะเดาะเคราะห์ไปแล้วเอามากินได้อย่างไร ข้าพเจ้าไม่เคยประพฤติเช่นนั้นเลย ไม่น่าจะเป็นไปได้ การปล่อยปลาแต่ละครั้งก็ปล่อยจำนวนมาก ๆ และปล่อยในลำคลองหนองบึงเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อปล่อยไปแล้วก็แล้วกัน ไม่เคยติดตามเอามากินอีกเลย หลวงพ่อคงจะเลอะเลือนดูทางในผิดไปแน่ ๆ แต่ก็ใจไม่ดี คิดว่าบางทีปลาตัวที่เราปล่อยต่อมา พวกจับปลามันจับได้เอาไปขายที่ตลาด เด็กบ้านเราไปจ่ายกับข้าว ซื้อมาแกงเข้าพอดี ถ้าเป็นอย่างนี้ก็มีทางเป็นไปได้เหมือนกัน แต่โอกาสมีหนึ่งในร้อยหรือหนึ่งในพัน
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" valign="middle">[​IMG]

    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> ต่อมาอีกหลายวันข้าพเจ้าจำได้ว่า ทางอัยการเขาได้นัดส่งฟ้องข้าพเจ้าต่อศาลจังหวัดตราด ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะจำเลย ก็จะต้องเดินทางไปจังหวัดตราด เพื่อไปฟังคำฟ้องในศาล หลังจากที่อัยการฟ้องเสร็จแล้วศาลก็นัดสืบพยาน โดยสืบพยานโจทก์ก่อนในชั้นต้น ศาลได้นัดเดือนละ ๒ ครั้ง ก็เป็นอันตกลงกันทั้งอัยการ โจทก์ และทนายฝ่ายข้าพเจ้า ทางฝ่ายโจทก์ก็ยื่นระบุพยานทั้ง หมด ๓๗ ปาก
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" valign="middle" width="11%">[​IMG]

    [​IMG]
    </td> <td style="font-size: 12px;" valign="top" width="89%">ข้าพเจ้าคิดในใจว่า ถ้าสืบพยานครั้งละ ๑ ปาก ปีหนึ่งก็จะได้ประมาณ ๒๔ ปาก กว่าจะเสร็จคดีก็คงราว ๆ ปีกว่า หรือ ๒ ปี ทางทนายของข้าพเจ้าแนะนะให้เตรียมพยานเอาไว้บ้าง และให้ติดต่อกับเขาเสียแต่เนิ่น ๆ ข้าพเจ้านึกถึงนายโกสุมคนขับรถของข้าพเจ้า ว่าเขาคงจะเป็นพยานให้ข้าพเจ้าได้ดี เพราะเขาอยู่ใกล้ชิดกับข้าพเจ้าตลอดมา ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปไหนเขาก็มักจะไปด้วยเสมอ ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ควรอ้างเขาเป็นพยานสักคนหนึ่ง เมื่อออกจากศาลแล้ว ข้าพเจ้าก็ไปหาเขาที่บ้านพัก บ้านพักของเขาอยู่ในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ข้าพเจ้าเคยพักอยู่นั่นเอง
    </td> </tr> </tbody> </table> เมื่อไปถึงไม่พบเขาอยู่ที่บ้าน ได้สอบถามภรรยาเขาว่า เขาไปไหน ภรรยาเขาบอกว่า “โกสุมไปวิดปลาลอกสระอยู่หลังจวน” ข้าพเจ้าจึงเดินอ้อมไปทางหลังจวนจนถึงสระใหญ่ สระแห่งนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏ สมัยโบราณไม่มีน้ำประปา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยก่อนได้ใช้น้ำในสระนี้อาบกิน แต่เมื่อมีน้ำประปาแล้ว สระนี้ก็ทิ้งไว้เฉย ๆ มีต้นบัวอยู่เต็มสระ พอถึงหน้าแล้งเดือนมีนา-เมษา น้ำก็จะแห้งจนถึงก้นสระ โกสุมจึงถือโอกาสลอกสระแล้วเอาปล่าที่อยู่ในสระจำนวนมากมากินเป็นอาหาร ต้มบ้างแกงบ้าง ย่างบ้างตามแต่จะชอบ เมื่อข้าพเจ้าไปถึงปากสระ โกสุมเห็นเข้าก็รีบตะกายขึ้นมาบนของสระชี้ให้ข้าพเจ้าดูปลาดุกปลาช่อน ตัวขนาดเท่าแขนหลายตัวซึ่งนอนแอ้งแม้งอยู่ในถัง แต่ละตัวล้วนอ้วน ๆ ทั้งนั้น ปลาดุกอุยแต่ละตัวเนื้อเหลืองท้องเหลืองอ๋อยน่ารับประทานเป็นอย่างมาก ถ้าได้ย่างน้ำจิ้มปลาพริกมะนาวซอยหอมใส่นิดหน่อย กินกับข้าวร้อน ๆ ก็คงจะอร่อยดีไม่น้อย คิดแล้วก็น้ำลายไหลด้วยความอยาก “ปลาดุกอุยตัวโต ๆ ทั้งนั้น” ข้าพเจ้ากล่าวขึ้นลอย ๆ “ปีกลายนี้ผมก็วิดบ่อหนหนึ่งแล้ว ตอนนั้นท่านยังเป็นผู้ว่าอยู่ ผมยังเอาปลาไปให้ท่านกิน ตั้งหลายตัว ท่านคงจะจำได้ตอนนั้นมีทั้งปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอ ท่านยังบอกว่าปลาดุกย่างอร่อยดี” โกสุมชี้แจง ข้าพเจ้าพยายามนึกทบทวนเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้วมา จำได้ว่าเมื่อข้าพเจ้าย้ายมาเมืองตราดใหม่ ๆ ข้าพเจ้าได้ไปตลาดและได้ซื้อลูกปลาดุก ปลาหมอ ปลาช่อนเป็นจำนวนมาก มาปล่อยลงในสระแห่งนี้เพื่อสะเดาะเคราะห์ ตามคำทำนายของซินแสหมอดูจากจังหวัดระนอง ที่ทายว่าข้าพเจ้ากำลังมีเคราะห์ ให้รีบสะเดาะเคราะห์เสีย
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" valign="top" width="28%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" valign="middle" width="72%"> หลังจากนั้นต่อมาอีกหลายเดือน ประมาณ ๖-๗ เดือนเห็นจะได้ ผู้บัญชาการเรือนจำได้นำนักโทษหลายคน มาขออนุญาตข้าพเจ้าขุดลอกสระหลังจวน โดยอ้างว่าสระตื้นเขินมากแล้ว ตอนนี้น้ำแห้งขอด ควรจะได้ขุดลอกเสีย พอถึงหน้าฝนก็จะได้น้ำ เต็มสระ และเป็นน้ำที่ใสสะอาดดี กว่าที่จะปล่อยเอาไว้ให้ตื้นเขินอย่างนั้น ข้าพเจ้าผู้บัญชาการเรือนจำมีเหตุผลดี จึงได้อนุญาต ให้ขุดลอกสระแห่งนี้ได้ ซึ่งเขาได้นำนักโทษมาขุดลอกสระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น บังเอิญวันนั้นข้าพเจ้าจำได้ว่า มีราชการไปออกท้องที่ประชุมราษฎรที่กิ่งอำเภอบ่อไร่ กลับมาเย็นมากแล้ว จึงได้ชวนพรรคพวกมานั่งตั้งวงดื่มสุรากันอยู่ที่บนนอกชานที่จวนนั่นเอง
    </td> </tr> </tbody> </table> การดื่มสุราของพวกราก็ไม่ได้ดื่มจนเมามายไม่ได้สติ แต่เป็นการดื่มเพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนรับประทานอาหารเย็นคนละแก้ว สองแก้วก็เลิกกัน ขณะที่นั่งดื่มเหล้ากันอยู่นั้น โกสุมก็เดินขึ้นมาบนจวนถือจานใบใหญ่มาหนึ่งใบ ในจานมีปลาดุกย่างตัวโต ๆ เนื้อเหลืองอ๋อย ประมาณ ๓-๔ ตัว ข้าพเจ้ายังจำได้ติดตา ว่าเย็นวันนั้นข้าพเจ้ากินข้าวกับปลาดุกย่างจิ้มน้ำปลาอย่างเอร็ดอร่อยเป็นกำลัง เมื่อนึกได้ดังนั้น ก็เกิดเฉลียวใจแว่บขึ้นมาทันทีจึงได้ถามโกสุมว่า"ปลาดุกที่ลื้อเอาไปให้อั๊วกินเมื่อปีกลาย เป็นปลาดุกที่วิดจากสระนี้หรือ""ใช่แล้วครับ วันนั้นพวกผู้คุมเขาเอานักโทษมาขุดลอกสระ ผมเลยถือโอกาสผสมโรงผลัดผ้าขาวม้าลงจับปลากับเขาด้วย ผมได้ปลามาขังโอ่งไว้ตั้งหลายสิบตัว ผมเห็นปลาดุกตัวโต ๆ เนื้อเหลืองดี เลยย่างเอาไปให้ท่านรับประทาน" เขากล่าวจบก็มองหน้าข้าพเจ้า คล้ายจะถามว่าข้าพเจ้ามาถามเขาทำไม "ตายแล้ว ถ้าอย่างงั้นก็คงเป็นปลาดุกที่ผมเอามาปล่อย ตอนที่ย้ายมาเป็นผู้ว่าใหม่ ๆ ละซี ปล่อยเขาแล้วเอาเขามากินอีก ยิ่งบาปกรรมหนักยิ่งขึ้น แล้วนี่ผมจะทำยังไงดี" ข้าพเจ้าบอกโกสุมด้วยความกังวลใจ
    "แฮ่ะ แฮ่ะ ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไง เพราะเห็นว่ามันเนื้อเหลือง ๆ ตัวโต ๆ ก็คิดว่าท่านคงชอบ ผมเองก็ไม่ทราบว่าท่านเอามาปล่อยไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ กินเข้าไปแล้วก็แล้วกันเถอะครับ เมื่อเราไม่เจตนาก็คงจะไม่บาปมากนัก" เขากล่าวปลอบใจข้าพเจ้า "ไม่บาปกะผีอะไร หลวงพ่อท่านว่าแบบนี้บาปหนักมาก ต้องรับเคราะห์กรรมไปอีกนาน" ข้าพเจ้าบอกเขา "หลวงพ่ออะไรครับ" "หลวงพ่ออ้า...เอ อย่าไปรู้เลย ชั่งมันเถอะ" พูดจบข้าพเจ้าก็ลาเขากลับ ส่วนเรื่องที่จะขอให้เขาเป็นพยานก็ลืมไปสนิท เหมือนมีอะไรมาบังหัวใจเอาไว้ ที่คิดว่าจะพูดก็เลยไม่ได้พูด ตอนขากลับจากจังหวัดตราดวิ่งรถเข้ากรุงเทพฯ ข้าพเจ้าครุ่นคิดมาตลอดทาง นึกถึงคำพูดโต้ตอบของข้าพเจ้ากับหลวงพ่อที่วัดอัมพวัน "เป็นไปไม่ได้หรอกครับหลวงพ่อ ที่ผมปล่อยชีวิตเขาไปแล้ว จะไปจัดเขา มากินอีก ผมจะไปรู้ได้อย่างไรว่าปลาตัวไหนเป็นปลาที่ผมปล่อยไป จะได้จับมากินได้ถูก ยิ่งกว่านั้นผมยังปล่อยปลาครั้งละเป็นร้อย ๆ ตัว ยิ่งไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย" "เป็นไปได้แน่นอน และก็เป็นแล้วด้วย อาตมานั่งทางในเห็นชัดเจนและก็ยังสงสัยอยู่ ว่า ทำไมโยมถึงทำเช่นนั้น" ข้าพเจ้าคิดสับสน จนบอกไม่ถูกว่าทำไมเรื่องราวในชีวิตของเราเองจึงได้ยุ่งเหยิงสับสนวุ่นวายถึงขนาดนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...