พระธรรมคุณ : สมเด็จพระญาณสังวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 ธันวาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ผลติดต่อกับเหตุทันที<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และเมื่อพิจารณาตรงเข้าในหลักอริยสัจจ์ เมื่อมีสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ อันเรียกว่าทุกขสมุทัย หรือตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก สืบมาถึงอุปาทานความยึดถือ เมื่อมีความอยากความยึดขึ้นในสิ่งใดในเวลาใด ก็เกิดทุกข์ขึ้นในสิ่งนั้นในเวลานั้นทันที เมื่อดับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อุปาทานความยึดถือในสิ่งใดเวลาใด ก็ดับทุกข์ในสิ่งนั้นในเวลานั้นทันที เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา คือไม่ต้องรอว่าจะปฏิบัติแล้ว จะต้องไปได้รับผลเป็นทุกข์ หรือเป็นความดับทุกข์เมื่อนั่นเมื่อนี่ ได้รับผลที่สืบเนื่องติดต่อไปทันที ตั้งแต่ในขั้นปฏิบัติเบื้องต้นที่สามัญชนทุกคนปฏิบัติกันอยู่ และก็เป็นดั่งนี้เรื่อยไป จนถึงเป็นอริยมรรคอริยผล เมื่อเป็นอริยมรรคก็สืบต่อเป็นอริยผลขึ้นทันที ไม่มีคั่น คือไม่มีระยะเวลาที่ต้องรอ ต้องเว้น ไม่มีคั่น ผลติดต่อกับเหตุทันที ผลติดต่อกับมรรคทันที และผลติดต่อกับเหตุทันทีนี้ ก็มิใช่ว่าจะมีในตอนเป็นมรรค เป็นอริยมรรคอริยผล ย่อมมีอยู่ในตอนที่เป็นปัจจุบันเบื้องต้นที่ปฏิบัติกันอยู่นี่แหละ มีตัณหาอุปาทานขึ้น ก็มีทุกข์ขึ้นทันที ดับตัณหาอุปาทานได้ ก็ดับทุกข์ได้ทันที เป็นเหตุและผลที่ติดต่อกันไปทันที ทั้งฝ่ายเกิดทุกข์ ทั้งฝ่ายดับทุกข์ เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา

    <O:p></O:p>
    บุถุชนย่อมปฏิบัติในด้านก่อทุกข์<O:p></O:p>
    แต่ว่าเพราะผู้ปฏิบัติเองมีกาลเวลาในการปฏิบัติ คือปฏิบัติเมื่อนั่น ปฏิบัติเมื่อนี่ ปฏิบัติบ้าง ไม่ปฏิบัติบ้าง และสำหรับสามัญชนส่วนใหญ่นั้นไปปฏิบัติในด้านตรงกันข้าม ไม่ใช่ว่าไม่ปฏิบัติในด้านดับทุกข์แล้ว จะอยู่เฉยๆ ไม่ใช่เช่นนั้น ที่เป็นบุถุชนอยู่นั้น ย่อมปฏิบัติในด้านก่อทุกข์กันอยู่เสมอ เรียกว่าเป็นอกาลิโกกันอยู่ในด้านก่อทุกข์
    <O:p></O:p>
    เพราะว่ามีตัณหามีอุปาทานประจำกันอยู่ในจิตใจ ทั้งที่เป็นส่วนละเอียดคือเป็นตัณหานุสัย ตัณหาที่นอนเนื่องอยู่ในใจ ทั้งที่เป็นส่วนหยาบขึ้นมา เป็นตัณหาที่บังเกิดขึ้นในใจ อยากได้โน่นอยากได้นี่ ยึดโน่นยึดนี่ และที่เป็นอย่างหยาบขึ้นมาอีก จนถึงให้ละเมิดออกทางกายทางวาจาทางใจ คือเป็นกรรม เป็นกรรมที่เป็นกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมต่างๆ ดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น และเมื่อเป็นฝ่ายชั่วก็เรียกว่ากรรมกิเลส ( เริ่ม ๑๐๕/๑ )คืออกุศลกรรม ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกรรมกิเลสไว้ มีการฆ่าการลักการพูดปด การประพฤติผิดในกาม การพูดปด<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสามัญชนหรือบุถุชนทั้งปวงนั้น เป็นอกาลิโกอยู่กับทุกข์ กับทุกขสมุทัย เป็นพื้นประจำอยู่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน แม้ว่าจะไม่มีกิเลสส่วนที่หยาบมาก ก็ยังมีกิเลสส่วนที่บังเกิดอยู่ในใจ หรือเมื่อว่า แม้ว่าใจจะสงบ ก็ยังมีส่วนที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในใจ
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น จึงอยู่กับกิเลส ไม่ไกลกิเลส อยู่ใกล้กิเลส อยู่กับกิเลส เป็นอกาลิโกอยู่กับกิเลส จึงเป็นอกาลิโกอยู่กับทุกข์ คือมีกิเลสอยู่เรื่อย มีทุกข์อยู่เรื่อยไม่กำหนดว่าเวลาไหน ก็ขอยืมคำว่าอกาลิโกมาพูดในทางนี้ว่าสามัญชนหรือบุถุชนมักจะเป็นกันอยู่ดั่งนี้ ยังมีตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก มีอุปาทานความยึดถือ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีทุกข์
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น ถ้าหากว่ามาปฏิบัติกระทำให้มากในฝ่ายดับทุกข์ คือลดละตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อุปาทานความยึดถือ เมื่อละตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากอุปาทานความยึดถือได้ ก็ละทุกข์ได้ ไม่มีอะไรเข้ามาทำใจที่ละตัณหาอุปาทานให้เป็นทุกข์ขึ้นได้ มนุษย์ก็ทำไม่ได้ เทวดาก็ทำไม่ได้ พรหมก็ทำไม่ได้ ที่จะทำใจที่ละตัณหาอุปาทานนั้นให้เป็นทุกข์ ที่มนุษย์ด้วยกันทำได้ เทวดาทำได้ พรหมทำได้นั้น ก็เพราะว่ายังมีตัณหามีอุปาทานอยู่ ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง ในพรหมบ้าง ในมารบ้าง ในวัตถุต่างๆ บ้าง จึงต้องมีสิ่งเหล่านี้ตั้งอยู่ในใจ ยึดเอาสิ่งใดเข้ามาก็มีสิ่งนั้นตั้งอยู่ในใจ ยึดเอาทรัพย์สินเงินทองเข้ามา ทรัพย์สินเงินทองก็ตั้งอยู่ในใจ ยึดเอามนุษย์คนไหนเข้ามา มนุษย์คนนั้นก็ตั้งอยู่ในใจ ยึดเอาเทวดามารพรหมองค์ไหนเข้ามาตั้งอยู่ในใจ เทวดามารพรหมองค์นั้นก็มาตั้งอยู่ในใจ จึงอยู่ที่ความยึด
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น เมื่อกำหนดดูให้รู้ดั่งนี้แล้ว ก็ตั้งใจปฏิบัติเพื่อละตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อุปาทานความยึดถือ ไม่อยาก ไม่ยึด ปล่อยวาง เมื่อเป็นดั่งนี้ทุกอย่างนั้นก็ตกไปจากใจหมด ไม่ตั้งอยู่ในใจ ทุกข์ก็ตกไปหมดจากใจ คือว่าตกไปทันที สืบต่อกันทันที ดับตัณหาอุปาทานเมื่อใด ทุกข์ก็ดับเมื่อนั้นต่อกันทันทีไม่มีคั่น ไม่มีอะไรในระหว่าง เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลาดั่งนี้ เกี่ยวกับภาวะทางจิตใจ ภูมิชั้นของตนซึ่งเป็นภายในย่อมเป็นอยู่ดั่งนี้ เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติทางจิตใจพร้อมทั้งกายวาจา ตั้งแต่เบื้องต้นขึ้นมา จนถึงมรรคผลนิพานก็ย่อมเป็นดั่งนี้ เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา

    <O:p></O:p>
    สมาธินิมิต สมาธิบริขาร<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้ทำสมาธิ สอนให้รู้จักนิมิตเครื่องกำหนดสมาธิ สอนให้รู้จักบริขารเครื่องบำรุง เครื่องใช้ของสมาธิ ให้รู้จักสมาธิภาวนา อบรมสมาธิ โดยตรัสสอนไว้โดยใจความว่า สมาธิ ก็คือเอกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว หรือความมีอารมณ์อันเดียวของจิต ชื่อว่าสมาธิ สมาธินิมิต เครื่องกำหนดแห่งสมาธิ สติที่กำหนดดูให้รู้ให้เห็นกายเวทนาจิตธรรม เป็นสมาธินิมิต สมาธิบริขาร เครื่องใช้สอยของสมาธิ เครื่องอาศัยของสมาธิก็คือ ปธานะ การตั้งความเพียร สมาธิภาวนา ก็คือการปฏิบัติอบรมกระทำให้มากซึ่งสมาธิ<O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]


    พระธรรมคุณ ๖ เอหิปัสสิโก<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล และ เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดูได้ ควรทำความเข้าใจในบทว่าเอหิปัสสิโกนี้ ให้ต่อเนื่องกับ อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ตามที่ได้อธิบายมาแล้วก็พึงสรุปบทว่า อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา โดยเป็นสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นของจริงของแท้ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ จึงเป็นของจริงของแท้ ที่ตั้งอยู่ดำรงอยู่ ไม่มีกาลเวลา
    <O:p></O:p>
    ธรรมะคือคำสั่งสอนอันเรียกว่าศาสนธรรม หรือพุทธศาสนา ซึ่งตรัสแสดงสัจจะธรรมที่ได้ตรัสรู้สั่งสอน ก็เป็น อมตาวาจา วาจาที่ไม่ตาย ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า สัจจะแลเป็นวาจาที่ไม่ตาย คือคำสัจจ์เป็นวาจาที่ไม่ตาย และตรัสไว้ว่าธรรมะของสัตบุรุษทั้งหลายไม่เข้าถึงชรา คือความแก่เก่าชำรุดทรุดโทรม<O:p></O:p>
    ส่วนธรรมะที่เป็น ปริยัติ ซึ่งหมายถึงว่า การสดับตรับฟัง การอ่าน การท่องบ่นจำทรง การเพ่งด้วยใจพินิจพิจารณาขบเจาะด้วยทิฏฐิลงความเห็น คือทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งทรงอยู่ด้วยสัญญาความจำหมายในใจของตน ย่อมประกอบด้วยกาลเวลา เพราะสัญญาคือความจำนั้นไม่เที่ยง ต้องเกิดต้องดับ จำได้ ลืมได้ หรือว่าจำได้ตลอดชีวิต สิ้นชีวิตแล้วก็ดับไปพร้อมกับนามรูปที่แตกดับ

    <O:p></O:p>
    นิพพานเป็นภูมิที่ดำรงอยู่<O:p></O:p>
    ในส่วนที่เป็นปฏิบัติธรรม ก็เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลบรรลุถึงภูมิเป็นที่บรรลุ การปฏิบัติที่เป็นเหตุ และผลคือการบรรลุ ก็เป็นสิ่งที่เกิดดับ เพราะเมื่อบรรลุถึงภูมิที่บรรลุ การปฏิบัติเพื่อบรรลุ และผลคือการถึงก็เป็นอันว่าสิ้นสุด ก็ประกอบด้วยกาลเวลา แต่ว่าภูมิที่บรรลุอันเป็นภูมิที่สุดที่เรียกว่านิพพาน เป็นภูมิที่ตั้งอยู่ดำรงอยู่ เป็น อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา นี้ในความหมายของคำว่า อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา และ กาลิโก ประกอบด้วยกาลเวลาที่ประกอบกันอยู่

    อีกอย่างหนึ่งอกาลิโกในความหมายที่ปฏิบัติบรรลุผลได้ไม่มีอะไรคั่น ทุกกาลทุกสมัย เมื่อครั้งพุทธกาล ในเวลาต่อมา ในบัดนี้และต่อไปก็เช่นเดียวกัน เมื่อปฏิบัติในเหตุก็บรรลุผลทันที ผลที่บรรลุนั้นบังเกิดขึ้นสืบจากเหตุ ต่อจากเหตุทันทีไม่มีคั่น อันหมายถึงภูมิชั้นของตน ของจิตใจ หรือภาวะของตนของจิตใจ<O:p></O:p>
    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ทำชั่วเมื่อใด ก็เป็นคนชั่วขึ้นทันที คือภูมิชั้นภาวะของตนของจิตใจ ชั่วขึ้นทันที ทำดีเมื่อใดภูมิชั้นของตนก็ดีขึ้นทันที เป็นคนดีขึ้นทันที และเมื่อก่อทุกขสมุทัยขึ้น คือก่อตัณหาอุปาทานขึ้นในสิ่งใดเมื่อใด ก็เป็นทุกข์ในสิ่งนั้นเมื่อนั้นทันที ดับตัณหาอุปาทานได้เมื่อใดก็ดับทุกข์ได้ทันทีสืบต่อกันไป เหตุผลซึ่งเป็นขั้นปฏิบัติภายในเกี่ยวแก่ภูมิชั้นของตนของจิตใจ ภาวะของตนของจิตใจดังกล่าวมานี้ เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ดั่งนี้ คือการให้ผลบังเกิดขึ้นสืบต่อจากเหตุที่ทำทันทีไม่มีคั่น นี้เป็นอกาลิโกในความหมายเกี่ยวแก่การให้ผล ซึ่งต่างจากการให้ผลของต้นไม้ตามที่เปรียบเทียบไว้ ว่าต้องมีระยะกาลเวลาให้ผล แต่ว่าธรรมะที่ปฏิบัตินั้น เมื่อปฏิบัติเหตุก็ให้ผลทันที เป็นเหตุเป็นผลที่ต่อกันทันที ไม่มีคั่นดังกล่าว เว้นแต่ผลที่เป็นภายนอก เป็นส่วนที่ร่างกายจะพึงได้รับ อันเกี่ยวแก่สิ่งแวดล้อมทั้งหลาย เกี่ยวแก่บุคคลภายนอก เกี่ยวแก่โลกธาตุภายนอก ดังที่ได้ยกเอาธรรมสมาทาน ๔ อย่างขึ้นมาแสดงไว้แล้วนั้น อันนับว่าเป็นผลภายนอก แต่ว่าผลที่เป็นภายในนั้นบังเกิดต่อจากเหตุที่ปฏิบัติทันทีดังกล่าว
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อว่าควรเรียกให้มาดู<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ตรงนี้ จึงจะต่อถึงพระธรรมคุณบทว่า เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู ซึ่งฟังดูก็คล้ายๆ กับว่าเรียกใครๆ ให้มาดูได้ ให้มาพิสูจน์ได้ ว่าเป็นสัจจะธรรม เป็นของจริงเป็นของแท้ แต่ว่าอีกความหมายหนึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมนั้นพึงเข้าใจว่า พึงเรียกตนเองนี่แหละ ให้มาดูก่อน ให้ตนเองเห็นเสียก่อน ให้ตนเองรู้เสียก่อน ส่วนการจะเรียกผู้อื่นให้มาดูด้วยการสั่งสอนบอกกล่าวนั้นเป็นเรื่องภายหลัง<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ความสำคัญของคำว่า เอหิปัสสิโก จึงอยู่ที่ตนเองของทุกๆ คน พึงเรียกตนเองให้มาดู หรือจะพูดว่า จะต้องเรียกตนเองให้มาดู จึงจะเห็นว่าธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นธรรมะอันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง<O:p></O:p>
    เป็นธรรมะไม่ประกอบด้วยกาลเวลา ดังที่แสดงมาแล้วโดยลำดับจนถึงบทสรุปของอกาลิโกที่กล่าวมา ก็หมายถึงสัจจะธรรม และก็หมายถึงการให้ผลของธรรมะที่ปฏิบัติ ปฏิบัติเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น ไม่จำเป็นจะต้องถึงขั้นอริยมรรคอริยผล ที่เป็นมรรคผลสามัญคือที่สามัญชนปฏิบัติกันอยู่ก็เช่นเดียวกัน ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ทำชั่วเมื่อใดก็เป็นคนชั่วขึ้นเมื่อนั้น ทำดีเมื่อใดก็เป็นคนดีขึ้นเมื่อนั้น อันเป็นผลที่เป็นภูมิชั้นของตนของจิตใจ
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าใครจะรู้จะเห็นดั่งนี้ได้ ก็ต้องมาถึงบทว่า เอหิปัสสิโก ต้องเรียกตัวเองให้มาดู คือมาดูที่กายที่วาจาที่ใจที่จิตของตนเอง อาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่อง เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้พิจารณาดูตนเอง ดูกายดูวาจาดูใจดูจิตตนเอง เหมือนอย่างใช้แว่นส่อง ส่องดูหน้าตนเอง ซึ่งคำสั่งสอนของพระองค์ในข้อนี้ก็ต้องมุ่งถึงว่า ใช้ปัญญาของตนนี่แหละพิจารณา เหมือนอย่างใช้แว่นส่องพิจารณาหน้าของตนเอง และในการนี้ก็อาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสั่งสอนให้ปฏิบัติดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้เอง ที่เป็นสวากขาตธรรม ธรรมะที่พระองค์ตรัสดีแล้ว เป็นเหมือนอย่างแว่นส่องพิจารณาตน ของทุกๆ คน เพราะฉะนั้น เมื่อฟังคำสั่งสอนของพระองค์ ได้ปัญญาความรู้ในคำสั่งสอนของพระองค์ หรือว่าได้ศรัทธาความเชื่อในคำสั่งสอนของพระองค์ ก็นำเอาคำสั่งสอนของพระองค์นี้ มาเป็นแว่นส่องพิจารณาดูที่ตนเอง ตามที่ทรงสั่งสอน นี้แหละคือการที่เรียกตนให้มาดู โดยใช้แว่นส่องของพระพุทธเจ้า คำสั่งสอนมาเป็นแว่นสำหรับส่องดูตนเอง เหมือนอย่างใช้แว่นส่อง ส่องดูเงาหน้า หรือกระจกเงาส่องดูหน้าของตนเอง และเมื่อนำมาส่องดั่งนี้ ก็จะได้มองเห็นตนเองว่าเป็นอย่างไร
    <O:p></O:p>
    ( เริ่ม ๑๐๕/๒ ) ในข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระราหุล ซึ่งเป็นพระโอรสพระองค์เดียว ก่อนจะเสด็จออกทรงผนวช ความย่อที่ทรงสั่งสอนก็มีแสดงไว้ว่า<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปสู่ที่พักของพระราหุล เมื่อพระราหุลเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ก็ตั้งอาสนะสำหรับประทับนั่งไว้ถวาย และเตรียมน้ำล้างพระบาทไว้ถวาย เมื่อเสด็จมาถึงพระพุทธเจ้าก็ประทับนั่งบนอาสนะ และทรงยกขันน้ำล้างพระบาท แต่ว่าทรงเหลือน้ำในขันไว้หน่อยหนึ่ง ตรัสถามพระราหุลว่าน้ำในขันที่เหลืออยู่นั้นมากหรือน้อย พระราหุลก็กราบทูลว่าเหลือน้อย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อที่ตรัสสอนพระราหุล<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าความละอายในการพูดเท็จทั้งรู้ของผู้ใดไม่มี ความเป็นสมณะของผู้นั้นก็เหลือน้อย เหมือนอย่างน้ำที่เหลือน้อยในขันล้างพระบาทนั้น ครั้นตรัสแล้วก็ทรงเทน้ำในขันที่เหลือนั้นหมด ก็ตรัสถาม และก็ตรัสสอนพระราหุลต่อไปว่า ความละอายในการพูดเท็จทั้งรู้ไม่มีแก่ผู้ใดผู้นั้น ความเป็นสมณะของผู้นั้นก็ไม่มีเหลือ เหมือนอย่างน้ำที่ไม่มีเหลืออยู่ในขันน้ำนั้น ครั้นแล้วก็ทรงคว่ำขันน้ำลง ตรัสถาม แล้วก็ตรัสสอนพระราหุลต่อไปอีกว่า ความละอายในการพูดเท็จทั้งรู้ไม่มีแก่ผู้ใด ความเป็นสมณะของผู้นั้นก็เหมือนอย่างขันที่คว่ำนั้น แล้วก็ทรงหงายขันนั้นขึ้นอีก เป็นขันที่เปล่า ว่างเปล่าไม่มีน้ำ ก็ตรัสถามพระราหุล แล้วก็ตรัสสอนต่อไปอีกว่า ความละอายในการพูดเท็จทั้งรู้ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็เหมือนอย่างขันน้ำเปล่านั้น ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสสอนให้ศึกษาว่า เราจักไม่พูดเท็จทั้งรู้ เพราะว่าผู้ใดพูดเท็จทั้งรู้ พระองค์ตรัสว่า บาปอะไรๆ ที่ผู้นั้นจะไม่ทำนั้นหามีไม่ ในครั้งนั้นพระอาจารย์ได้แสดงว่าพระราหุลท่านยังมีชนม์พรรษาน้อย เรียกว่ายังอยู่ในภาวะเป็นกุมาร หรือเป็นเด็ก จึงได้ตรัสสอนไว้อย่างเข้มงวด ให้สำรวมระวังวาจา อย่าพูดเท็จ แม้เพื่อที่จะหัวเราะกันเล่น
    <O:p></O:p>
    และก็ได้ตรัสถามอีกว่า แว่นส่องนั้นมีไว้เพื่อประโยชน์อะไร พระราหุลก็กราบทูลว่ามีไว้เพื่อส่องพิจารณา พระองค์จึงได้ตรัสสอนว่าก็พึงพิจารณา
    <O:p></O:p>
    พึงพิจารณากายกรรมวจีกรรมมโนกรรมของตน ทั้งในเวลาก่อนทำ ก่อนพูดก่อนคิด ทั้งในเวลาที่กำลังทำกำลังพูดกำลังคิด ทั้งในเวลาที่หลังจากที่ได้ทำได้พูดได้คิดไปแล้ว คือเมื่อใคร่ปรารถนาจะทำจะพูดจะคิดอะไร ก็พิจารณา พิจารณาก่อนว่าการที่จะทำคำที่จะพูดเรื่องที่คิดนั้น เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนหรือไม่ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นหรือไม่ เป็นอกุศลให้เกิดทุกข์โทษ ให้เกิดทุกข์เป็นวิบาก หรือว่าเป็นกุศลให้เกิดสุขเป็นกำไร ให้เกิดสุขเป็นวิบาก เหมือนอย่างเอาแว่นมาส่องดูหน้าของตน
    <O:p></O:p>
    และเมื่อพิจารณาๆ รู้ว่าการที่คิดจะทำ คำที่คิดจะพูด เรื่องที่คิดว่าจะคิด เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น เป็นอกุศล ให้เกิดโทษทุกข์ มีทุกข์เป็นวิบาก ก็จงเว้นเสียไม่ทำ ไม่พูดไม่คิด แม้ว่าอาจจะพูดจะทำจะคิดได้ ก็ไม่ทำไม่พูดไม่คิด
    <O:p></O:p>
    แต่ถ้าไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นเพื่อเบียดเบียนทั้งสอง คือทั้งตนทั้งผู้อื่น เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็จงทำจงพูดจงคิด แม้ในขณะที่กำลังทำกำลังพูดกำลังคิดอยู่ ก็ให้พิจารณาๆ ไปเช่นเดียวกัน ถ้าเป็นฝ่ายอกุศล ให้เกิดโทษทุกข์ ก็เลิกเสีย ถ้าเป็นกุศล ให้เกิดสุขเป็นกำไร ก็ทำพูดคิดต่อไป
    <O:p></O:p>
    แม้ในการที่ทำแล้ว ในคำที่พูดแล้ว ในเรื่องที่คิดไปแล้ว ก็ให้พิจารณาๆ ว่าเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ให้เกิดโทษทุกข์ หรือให้เกิดสุขเป็นกำไร ถ้าเป็นอกุศลให้เกิดโทษทุกข์ ก็บอกก็เปิดเผยกระทำให้แจ้งในพระศาสดา หรือในสพรหมจารีซึ่งเป็นวิญญูผู้รู้ทั้งหลาย
    <O:p></O:p>
    แต่ถ้าเป็นกุศลให้เกิดสุข เป็นกำไร ก็ให้มีปีติโสมนัสในการที่ทำคำที่พูดเรื่องที่คิดอันเป็นกุศลนั้น และก็ตั้งใจศึกษาปฏิบัติอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
    <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พิจารณาๆ ความประพฤติทางกายทางวาจาทางใจของตนดั่งนี้ในกาลทั้งสาม คือในกาลก่อนที่จะทำ ในขณะที่กำลังทำ และแม้ทำไปแล้ว อันรวมทั้งพูดคิดด้วย เหมือนอย่างใช้กระจกเงา ครั้งก่อนเป็นแว่นส่อง แว่นส่องหน้า มองดูหน้าของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้ว่าหน้าของตนเองเป็นอย่างไร จะตกแต่งอย่างไรให้งดงาม การใช้แว่นส่องคือปัญญาพิจารณาดูความประพฤติของตนเอง ก็เพื่อที่จะได้รู้ความประพฤติของตนเองว่าเป็นอย่างไร จะได้ตบแต่งความประพฤติ ของตนเองให้งดงาม ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ให้เกิดสุข มีสุขเป็นวิบาก
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    แว่นส่องดูตนเอง<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสต่อไปว่าสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติชำระกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมของตนให้บริสุทธิ์ ในอดีตที่ล่วงไปแล้วก็ดี หรือที่จักมีในอนาคตยังไม่มาถึงก็ดี ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ดี ก็ต้องใช้วิธีพิจารณาๆ เหมือนอย่างใช้แว่นส่องดูตนเอง ดูความประพฤติของตนเอง ดังที่ตรัสสอนนั้น
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสสอนสรุปว่า จงศึกษาว่าเราจักพิจารณาๆ ทำพูดคิดทางกายทางวาจาทางใจ ดั่งนี้ การปฏิบัติดังกล่าวนี้แหละ คือเอหิปัสสิโกจงมาดู คือเป็นการที่เรียกร้องตนเองนี่แหละให้มาดู ดูความประพฤติของตนเอง ดูจิตใจของตนเอง ก่อนจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ก็ใช้แว่นส่องพิจารณาๆ กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด ก็ใช้แว่นส่องพิจารณาๆ
    <O:p></O:p>
    ทำแล้ว พูดแล้ว คิดแล้ว ก็ใช้แว่นส่องพิจารณาๆ เพื่อที่จะได้ละส่วนชั่วที่เป็นอกุศล เพื่อที่จะได้ประกอบส่วนดีที่เป็นกุศล เป็นการชำระตน คือชำระกายวาจาใจ ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส

    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติที่เป็นเอหิปัสสิโก<O:p></O:p>
    การปฏิบัติในสติปัฏฐานก็เป็นการปฏิบัติที่เป็นเอหิปัสสิโก ท่านจงมาดู เจ้าจงมาดู คือเป็นการเรียกตนเองให้มาดูกายดูเวทนาดูจิตดูธรรม การที่มาดูกำหนดก็เป็นสติ ใจตั้งกำหนดก็เป็นสมาธิ รู้ก็เป็นปัญญา หรือญาณ กำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นสติ และข้อต่อๆ ไปก็เป็นสติ และก็จะเป็นสมาธิ เป็นปัญญา เนื่องกันไป ต้องมีเอหิปัสสิโกดั่งนี้จึงจะเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐานได้
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระธรรมคุณ ๗ เอหิปัสสิโก<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เป็นธรรมอันพึงเรียกให้มาดูได้ จะอธิบายบทนี้ที่เราทั้งหลายสวดกันว่า เอหิปัสสิโก พึงเรียกให้มาดูได้ต่อไป ได้แสดงแล้วว่าเรียกให้มาดูนั้น เรียกใครให้มาดู สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติธรรม ก็พึงเรียกตนเองนี่แหละให้มาดู ให้มาดูธรรม หรือพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว<O:p></O:p>
    เพราะว่าธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั้น ก็ตรัสแสดงที่ตนเองของบุคคลทุกๆ คน ไม่ได้ทรงแสดงที่อื่น เพราะฉะนั้นผู้ฟังคำสั่งสอนของพระองค์ จึงอาจนำธรรมะที่ทรงสั่งสอน เหมือนอย่างแว่นมาส่องดูเงาหน้าของตนเอง คือมาดูตนเองได้
    <O:p></O:p>
    ดังที่ได้ยกพระพุทธภาษิตที่ตรัสสอนพระราหุลให้ใช้แว่นพิจารณาตนเอง คือปัญญานี้เอง เหมือนอย่างแว่นส่องดูตนเอง พิจารณากายกรรมวจีกรรมมโนกรรมของตนเอง

    <O:p></O:p>
    ข้อที่ตรัสสอนพระราหุลเรื่องธาตุ<O:p></O:p>
    อนึ่ง ยังได้ตรัสสอนพระราหุลในสมัยต่อมาอีก ซึ่งจะได้หยิบยกมาแสดงในบางตอน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระราหุลให้พิจารณากายนี้อันแยกออกเป็นธาตุ คือพิจารณาแยกธาตุกายนี้ออกเป็น ๕ คือปฐวีธาตุ ธาตุดิน อาโปธาตุ ธาตุน้ำ เตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตุ ธาตุลม อากาสธาตุ ธาตุคือช่องว่าง พิจารณาด้วยปัญญาอันชอบว่า ธาตุทั้งปวงนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่ธาตุทั้งปวงนี้ ธาตุทั้งปวงนี้มิใช่อัตตาตัวตนของเรา
    <O:p></O:p>
    คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนนี้ แม้จะตรัสสอนแก่พระราหุล แต่ก็เป็นคำอนที่ชื่อว่าสอนแก่บุคคลทั่วไป จึงพึงใช้เป็นเหมือนอย่างแว่นส่อง ส่องเข้ามาดูธาตุทั้งปวงนี้ที่กายนี้ของทุกๆ คน ให้เป็นเอหิปัสสิโกเรียกตนเองนี้แหละมาดู ดูธาตุที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนที่กายอันนี้ และเมื่อเรียกตนเองให้มาดู ด้วยใช้สติความกำหนด ใช้ญาณหรือปัญญาพิจารณาตามที่ทรงสั่งสอน ก็ย่อมจะเห็นธาตุเหล่านี้ได้ที่ตนเอง ตามที่ทรงสั่งสอน ส่วนที่แข้นแข็งก็เป็นปฐวีธาตุธาตุดิน ส่วนที่เหลวไหลก็เป็นอาโปธาตุธาตุน้ำ ส่วนที่อบอุ่นก็เป็นเตโชธาตุธาตุไฟ ส่วนที่พัดไหวก็เป็นวาโยธาตุธาตุลม ส่วนที่เป็นช่องว่างก็เป็นอากาสธาตุธาตุอากาศ<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น กายนี้จึงเป็นสักแต่ว่าเป็นธาตุที่มาประชุมกันอยู่ มารวมกันอยู่เป็นก้อนกายอันนี้ จึงมิใช่เป็นอัตตาตัวตน ตามที่มีสมมติบัญญัติว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ( เริ่ม ๑๐๖/๑ ) ความเป็นของเรา ความที่เราเป็นธาตุเหล่านี้ หรือธาตุเหล่านี้เป็นอัตตาตัวตนของเรานั้น เป็นอุปาทานคือความยึดถือ<O:p></O:p>
    ด้วยอำนาจของตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก และเป็นสมมติบัญญัติสำหรับเรียกร้องกัน แต่ความจริงนั้นเป็นสักแต่ว่าธาตุมาประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เป็นของเรา เราก็ไม่ใช่เป็นนั้น นั่นก็ไม่ใช่เป็นอัตตาตัวตนของเรา เมื่อเรียกตนเองให้เข้ามาดู โดยใช้แว่นส่องคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนไว้ มาส่องดู ดูด้วยสติ ดูด้วยปัญญา ที่ตนเอง ก็ย่อมจะเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ทุกประการ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อที่ตรัสสอนพระราหุลเรื่องภาวนา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    อนึ่ง ยังได้ตรัสสอนพระราหุลไว้ต่อไปอีกว่า ให้ทำภาวนาคืออบรมใจเสมอกับปฐวีคือดิน เมื่ออบรมใจให้เสมอกับปฐวีคือดินได้ ผัสสะทั้งหลายคืออารมณ์ที่มากระทบใจทั้งหลาย ทั้งที่น่ายินดี ทั้งที่ไม่น่ายินดี ซึ่งบังเกิดขึ้น ก็จักไม่ครอบงำจิตได้ คนทั้งหลายย่อมทิ้งของที่สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งก้อนเขฬะบ้าง ทิ้งน้ำหนองน้ำเหลืองบ้าง น้ำเลือดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินย่อมไม่สะอิดสะเอียน ไม่รังเกียจไม่อึดอัด รับของที่คนทิ้งลงไป ทั้งที่สะอาด ทั้งที่ไม่สะอาด ดังกล่าวได้ทั้งนั้น ฉันใด เมื่อทำภาวนาอบรมใจให้เสมอกับแผ่นดินได้ ก็ฉันนั้น ผัสสะทั้งหลายคืออารมณ์ที่มากระทบใจทั้งหลาย ทั้งที่น่าพอใจ ทั้งที่ไม่น่าพอใจ ย่อมไม่ครอบงำใจได้ ฉันนั้น
    <O:p></O:p>
    อนึ่ง พึงอบรม พึงทำภาวนาอบรมใจ ให้เสมอกับอาโปคือน้ำเช่นเดียวกัน ให้เสมอกับเตโชคือไฟเช่นเดียวกัน ให้เสมอกับวาโยคือลมเช่นเดียวกัน ให้เสมอกับอากาสคือช่องว่างเช่นเดียวกัน ผัสสะทั้งหลายคืออารมณ์ที่มากระทบใจทั้งหลาย ทั้งที่น่ายินดี ทั้งที่ไม่น่ายินดี ที่บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ครอบงำใจได้ คนทั้งหลายทิ้งของที่สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างดังกล่าวลงในน้ำ ลงในไฟ
    <O:p></O:p>
    น้ำก็ไม่อึดอัดไม่รังเกียจรับได้ทั้งนั้น ไฟก็ไม่อึดอัดไม่รังเกียจไหม้ได้ทั้งนั้น แม้ทิ้งของที่สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างดังกล่าวในลม ลมก็พัดไปได้ทั้งนั้น ไม่รังเกียจไม่อึดอัด และแม้เมื่อโยนของที่สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างไปในอากาส ก็ไม่มีที่จะตั้งอยู่ในอากาสได้ อากาสก็คงเป็นช่องว่างอยู่นั่นแหละ ฉันใด เมื่อทำภาวนาอบรมใจให้เสมอกับอาโปคือน้ำ เตโชคือไฟ วาโยคือลม อากาสคือช่องว่าง ก็ฉันนั้นเช่นเดียวกัน ผัสสะทั้งหลายคืออารมณ์ที่มากระทบใจ มาสัมผัสกับใจทั้งหลาย ทั้งที่น่าชอบใจ ทั้งที่ไม่น่าชอบใจ ก็ตั้งครอบงำจิตใจไม่ได้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเรียกตนเองว่าจงมาดู โดยใช้แว่นส่องคือคำสอนของพระพุทธเจ้านี้มาส่องดูที่ตน ใช้สติใช้ปัญญาพิจารณา ที่เรียกว่าทำภาวนาอบรมใจนี้ ให้เสมอด้วยธาตุทั้ง ๕ ดังกล่าว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่าคนทั้งหลายทิ้งของที่สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงไป ธาตุทั้ง ๕ ทั้งปวงเหล่านี้ก็ไม่อึดอัด ไม่เดือดร้อน ไม่ระอา ไม่รำคาญ ดินก็รับได้ น้ำก็รับได้ ลมก็พัดไปได้ ไฟก็ไหม้ได้ ลมก็พัดได้ อากาสเล่าก็ไม่มีที่จะรับติดเอาไว้ในอากาส คงต้องล่วงหล่นลงหมด ก็ไม่อึดอัดไม่รำคาญ คงเป็นอากาสคือช่องว่างอยู่นั่นแหละ
    <O:p></O:p>
    ทำภาวนาคืออบรมใจให้เป็นเสมอด้วยธาตุทั้ง ๕ ดังกล่าวนี้ เมื่อเวลาที่มีอารมณ์เข้ามากระทบมาสัมผัสใจ ก็ย่อมจะสงบใจได้ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะน่ายินดีหรือไม่น่ายินดี คือถ้าเป็นอารมณ์ที่น่ายินดี ก็จะไม่ทำใจให้กำเริบฟุ้งซ่านขึ้นด้วยอำนาจความยินดี เมื่อเป็นอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีก็ไม่ทำใจให้ฟุบแฟบเสียใจหรือโกรธแค้น ไม่ให้เกิดความยินดีความยินร้าย รักษาจิตนี้ให้เป็นอุเบกขาคือเข้าไปเพ่งเฉยสงบอยู่ได้ ว่าสิ่งทั้งปวงที่มากระทบใจมาสัมผัสใจ ไม่ว่าจะน่ายินดี ไม่ว่าจะไม่น่ายินดี ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรยินดีไม่ควรยินร้าย ไม่ควรที่จะยึดถือมาก่อให้เกิดความยินดีความยินร้ายขึ้น
    <O:p></O:p>
    เหมือนอย่างของที่สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างตกลงไปในดิน ก็ไม่ทำให้ดินเดือดร้อนอะไร ก็ย่อยละลายกลายเป็นดินไปในที่สุด ตกลงไปในน้ำ น้ำก็ไม่เดือดร้อนอะไร ก็ไหลละลายไปในน้ำหมด ใส่เข้าไปในไฟ ไฟก็ไม่เดือดร้อนอะไร ไฟก็ไหม้หมด หรือว่าโยนไปที่ลม หรือว่าลมพัดมา ลมก็ไม่เดือดร้อนอะไร ก็พัดไปได้ทั้งหมด หรือจะโยนขึ้นไปในอากาส ก็ไม่มีที่จะติดขัดอยู่ในอากาส ก็ตกลงมาหมด อากาสก็ไม่เดือดร้อนอะไร
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น จิตใจก็เหมือนกัน ให้ทำใจให้ได้เหมือนอย่างดิน อย่างน้ำ อย่างไฟ อย่างลม อย่างอากาส ยกตัวอย่างอากาสขึ้นมาเพิ่มเติมอีกสักหน่อยหนึ่ง ว่าใจนี้เมื่อไม่ยึดก็เหมือนอากาส แต่ถ้ายึดก็ไม่เหมือนอากาส คือเมื่อไม่ยึดอารมณ์ทุกอย่างที่ผ่านมา ก็สักแต่ว่าผ่านมา แล้วก็ผ่านไป คือตกไปหมด ไม่มีที่จะเก็บเข้ามาปรุง ให้เกิดเป็นความยินดีความยินร้าย ความหลงติด นอนจมเป็นอาสวะอนุสัยอยู่ในจิต ก็เพราะเหตุที่มีความยึดถือจึงได้เกิดความยินดีความยินร้าย แต่ถ้าทำจิตให้เหมือนอย่างอากาสแล้ว ก็จะไม่ยึดไม่ติดอะไร อะไรผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านไป หรือเรียกว่าเกิดแล้วก็ดับไป
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ทุกอย่างเกิดดับอยู่ทุกขณะ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ซึ่งความจริงนั้น ทุกอย่างนั้นก็เป็นสิ่งที่เกิดดับไปอยู่ทุกขณะ แต่เพราะไปยึดเอาไว้ คือไปยึดเอาสิ่งที่ดับแล้วนั่นแหละ มาไว้เหมือนอย่างไม่ดับ คล้ายๆ กับไปยึดเงาเอาว่าเป็นตัวตน จึงได้เกิดความยินดีเกิดความยินร้าย พร้อมทั้งหลงงมงายติดอยู่ พร้อมทั้งความทุกข์ต่างๆ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องปฏิบัติให้เป็นเอหิปัสสิโก เรียกตนให้มาดู ใช้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแว่นส่องดูที่ตนเอง
    <O:p></O:p>
    และก็ปฏิบัติทำจิตตภาวนา ให้เสมอกับธาตุทั้ง ๕ ดังที่กล่าวมานั้น ก็จะทำให้รักษาจิตนี้ให้เป็นอุเบกขาอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายได้

    <O:p></O:p>
    ข้อที่ตรัสสอนพรหมวิหารธรรม<O:p></O:p>
    อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระราหุลต่อไปอีกว่า ให้เจริญเมตตา ก็จะดับโทสะพยาบาทได้ จะละโทสะพยาบาทได้ ให้เจริญกรุณา ก็จะละจะดับวิหิงสาความคิดเบียดเบียนได้ ให้เจริญมุทิตา ก็จะละจะดับอรติความไม่ยินดีด้วย คือความริษยาได้ ให้เจริญอุเบกขา ก็จะดับปฏิฆะคือความกระทบกระทั่งได้ ให้เจริญอสุภสัญญา ความกำหนดหมายกายนี้ว่าไม่งาม ก็จะดับราคะคือความติดใจยินดีได้ ให้เจริญอนิจจสัญญา ความสำคัญหมายขันธ์ ๕ ย่อลงเป็นนามรูป หรือรวมว่าสังขารทั้งหมด ว่าเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง ก็จะดับอัสมิมานะความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็นได้ ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม ก็ให้ปฏิบัติธรรมให้เป็นเอหิปัสสิโกอีกเช่นเดียวกัน เรียกตนเองนี้แหละให้มาดู อาศัยแว่นที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้มาส่องดู แล้วก็ปฏิบัติอบรมเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญา อนิจจสัญญา ให้บังเกิดขึ้น ก็จะดับกิเลสทั้งปวงดังที่ตรัสไว้นั้นได้ จะดับโทสะพยาบาทได้ จะดับวิหิงสาความคิดเบียดเบียนได้ จะดับอรติความไม่ยินดีด้วย คือความริษยาได้ จะดับปฏิฆะความกระทบกระทั่งใจได้ จะดับราคะความติดใจยินดีได้ ตลอดถึงจะดับอัสมิมานะความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็นต่างๆ ได้ ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทั้งปวงนั้น ล้วนเป็นแว่นส่องสำหรับทุกๆ คนจะได้ส่องดูตนเองทั้งนั้น
    <O:p></O:p>
    แต่จะต้องเรียกตนให้มาดู โดยใช้แว่นที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้ส่องดู เพราะไม่อาศัยแว่นของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนไว้ ตนเองก็ไม่มีสติปัญญาพอที่จะรู้ ที่จะดูได้ ที่จะเห็นได้ เหมือนอย่างที่ไม่สามารถจะเห็นหน้าของตัวเองได้ ตาของตัวเองนั้นได้แต่ดูไปข้างนอก แต่จะดูหน้าของตัวเองนั้นไม่ได้ จิตใจที่มีกิเลสอยู่โดยมากก็เช่นนั้น มุ่งออกไปข้างนอก ไปเพ่งข้างนอก แต่ว่ายากที่จะเพ่งเข้ามาข้างใน ดูข้างในได้ เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้ว่า คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ส่วนบัณฑิตทั้งหลายมีการเพ่งตนเอง หรือเพ่งโทษตนเองเป็นกำลัง คนพาลเพ่งผู้อื่นเป็นกำลัง บัณฑิตเพ่งตนเองเป็นกำลัง ดั่งนี้<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแว่นส่อง แต่ก็ต้องเรียกตนเองให้จับแว่นส่องของพระพุทธเจ้านี้มาส่องดูตน จึงจะเห็นตน และก็ปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน และเมื่อปฏิบัติได้อย่างไร ก็ย่อมจะรู้ตนเห็นตนว่าปฏิบัติได้อย่างไรตามเป็นจริง นี้ต้องอาศัยข้อนี้แหละ เอหิปัสสิโก จงเรียกให้มาดู คือเรียกตนเองให้มาดู ให้มาปฏิบัติ และเมื่อเรียกตนเองให้มาดูให้ปฏิบัติได้ ก็สามารถที่จะเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ ด้วยการที่แสดงธรรมะสั่งสอนอบรมกันต่อไป
    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติในสติปัฏฐานทุกข้อทุกบทก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นเอหิปัสสิโก เรียกตนให้มาดู ใช้แว่นส่องคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนไว้ มาส่องมาดูตามที่ทรงสั่งสอน อาศัยสติปัญญา หรือญาณของตนนี่แหละพิจารณา ก็จะปฏิบัติตั้งสติ ให้สติตั้งเป็นสติปัฏฐานได้ในข้อนั้นๆ
    <O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๘ เอหิปัสสิโก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นธรรมอันบุคคลผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล เป็นธรรมที่ควรเรียกให้มาดู และบุคคลแรกที่ควรเรียกให้มาดูก็คือตนเอง
    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติในสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าตรัสสอน ว่าสติปัฏฐานที่ตั้งแห่งสติ หรือความที่มีสติตั้งในกายเวทนาจิตธรรม เป็น เอกายโน มคฺโค ทางไปอันเดียว สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อก้าวล่วงโสกะความโศกความแห้งใจ ความรัญจวนคร่ำครวญใจ<O:p></O:p>
    ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่อดับทุกข์โทมนัสความไม่สะบายกายไม่สบายใจ ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุญายธรรมคือธรรมะที่พึงบรรลุ ธรรมะที่ถูกที่ชอบ นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ( เริ่ม ๑๐๖/๒ )ก็คือการปฏิบัติด้วยมี อาตาปี ความเพียร ที่ตามศัพท์แปลว่าความเพียรเผา คือเผากิเลส สมฺปชาโนมีสัมปชานะ หรือสัมปชัญญะความรู้ รู้ตัว สติมา มีสติกำหนด พิจารณากำหนดรู้ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ กำจัดความยินดีความยินร้ายในโลก ดั่งนี้

    <O:p></O:p>
    กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก<O:p></O:p>
    และได้ตรัสสอนเริ่มตั้งแต่ข้อสติที่กำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก โดยที่ตรัสสอนให้เข้าป่า หรืออยู่โคนไม้ หรือเรือนว่าง อันหมายถึงที่ซึ่งเป็น กายวิเวก สงัดกาย แม้อยู่ในวัดอยู่ในบ้าน อยู่ในที่ประชุมปฏิบัติเช่นในที่นี้ ก็ชื่อว่ามีที่อยู่เป็นกายวิเวกสงัดกายได้ เพราะมิได้คลุกคลีพัวพันในกันและกัน ต่างรักษาความสงบกายวาจาใจของตน จึงเหมือนอย่างอยู่ผู้เดียว เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องในกันและกัน ก็นับว่าเป็นที่ๆ เป็นกายวิเวก คือสงัดกายได้ และเมื่อสงัดกายได้ ก็ทำให้เกิด จิตวิเวก สงัดจิตใจได้ เมื่อสงัดจิตใจได้ก็ทำให้เกิด อุปธิวิเวก สงัดกิเลสได้<O:p></O:p>
    ได้ตรัสสอนว่าเมื่อได้ที่อันสงบสงัด ก็นั่งกายตรง ดำรงสติรอบคอบ เหมือนอย่างมีหน้าอยู่รอบด้าน ก็คือรอบคอบ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก หายใจเข้าหายใจออกยาวก็ให้รู้ หายใจเข้าหายใจออกสั้นก็ให้รู้ ศึกษาคือตั้งใจ
    สำเหนียกกำหนดว่าเราจักรู้กายทั้งหมดหายใจเข้าหายใจออก ศึกษาคือสำเหนียกกำหนดว่าเราจักสงบรำงับกายสังขารเครื่องปรุงกาย หายใจเข้าหายใจออก เหมือนอย่างช่างกลึงหรือลูกมือของช่างกลึง เมื่อกลึงยาวก็รู้ กลึงสั้นก็รู้ ดั่งนี้
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สูตรปฏิบัติในอานาปานสติ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ดั่งนี้ เป็นสูตรปฏิบัติที่ได้ตรัสสอนไว้เองโดยตรง เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็ต้องเรียกตนเข้ามาดูให้เป็นเอหิปัสสิโก ในลมหายใจเข้าลมหายใจออกของตนเองดั่งที่ตรัสสอนไว้ และเมื่อได้เรียกตนเองให้มาดูด้วยสติที่กำหนด พร้อมทั้งสัมปชัญญะคือรู้ พร้อมทั้งญาณปัญญา คือความที่หยั่งรู้ ก็ย่อมจะได้เห็นได้รู้ ด้วยสติด้วยญาณ ในลมหายใจเข้าออกของตนตามที่ตรัสสอนไว้ ยาวก็รู้ สั้นก็รู้ และเมื่อจิตรวมอยู่ก็จะรู้กายทั้งหมด ทั้งรูปกายที่หายใจเข้าหายใจออกอยู่ ทั้งนามกายคืออาการของใจที่กำหนดรวมกันอยู่
    <O:p></O:p>
    และเมื่อมีความเพียรอยู่ดั่งนี้ มีความรู้ตัวอยู่ดั่งนี้ มีสติอยู่ดั่งนี้ ไม่ยึดมั่นยินดียินร้ายอะไรๆ ในโลก กำหนดให้รู้สงบอยู่ในภายใน ก็ชื่อว่าเป็นการสงบกายสังขารเครื่องปรุงกาย ทั้งรูปกายทั้งนามกาย รูปกายก็สงบ ลมหายใจก็สงบ นามกายคืออาการทางจิตใจก็สงบ สงบอยู่ในภายในไม่ไปข้างไหน และก็รู้อยู่ตลอดเวลาที่สงบอยู่นี้ว่าลมหายใจมีอยู่ มีอยู่อย่างหยาบ มีอยู่อย่างละเอียด จนมีอยู่อย่างละเอียดอย่างยิ่งเหมือนอย่างไม่หายใจ ดั่งนี้ก็เป็นอานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก จะได้ข้อนี้ก็ต้องเป็นเอหิปัสสิโก เรียกตนให้มาดู ตามที่ตรัสสอน ดูด้วยสติดูด้วยญาณปัญญา ก็จะเห็นจะรู้ลมหายใจเป็นอานาปานสติ<O:p></O:p>


    สติสัมปชัญญะในอิริยาบถ<O:p></O:p>
    อนึ่งก็ได้ตรัสสอนให้มีสติรู้ในอิริยาบถ พร้อมทั้งสัมปชัญญะความรู้ตัวในอิริยาบถ เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน ยืนก็รู้ว่ายืน นั่งก็รู้ว่านั่ง นอนก็รู้ว่านอน<O:p></O:p>
    และให้มีสัมปชัญญะความรู้ตัวพร้อมทั้งสติในอิริยาบถประกอบทั้งหลาย ก้าวไปข้างหน้าก็รู้ ถอยไปข้างหลังก็รู้ แลดูก็ เหลียวดูก็รู้ เหยียดกายออกไปคู้กายเข้ามาก็รู้ นุ่งห่มครองผ้า บาตรสำหรับภิกษุก็รู้ กินดื่มเคี้ยวลิ้มก็รู้ ถ่ายก็รู้ เดินยืนนั่งนอนตื่นพูดนิ่งก็รู้ ก็เป็นอันได้ปฏิบัติทำสติสัมปชัญญะในอิริยาบถทั้งปวง ก็ต้องปฏิบัติให้เป็นเอหิปัสสิโกเรียกตนเองให้มาดู ด้วยสติด้วยญาณปัญญา จึงจะรู้จะเห็นในอิริยาบถดังกล่าว

    <O:p></O:p>
    กายคตาสติ<O:p></O:p>
    อนึ่งได้ตรัสสอนให้พิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ คือ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง มังสัง เนื้อ นหารู เอ็น อัฏฐิ กระดูก อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ไต หทยัง หัวใจ ยกนัง ตับ กิโลมกัง พังผืด ปิหังกัง ม้าม ปับผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่ อันตะคุณัง สายรัดไส้ หรือใส้เล็ก อุทริยัง อาหารใหม่ กรีสัง อาหารเก่า ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำหนองน้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท มันข้น อัสสุ น้ำตา วสา มันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฆาณิกา น้ำมูก ลสิกา ไขข้อ มุตตัง มูตร รวมเป็น ๓๑ ในบางพระสูตรท่านเติมอีกอาการหนึ่ง คือ มัตถเกมัตถลุงคัง ขมองในขมองศรีษะ ก็เป็นอาการ ๓๒ ที่ซึ่งเราทั้งหลายมักจะพูดกันว่าอาการ ๓๒ ก็โดยมีขมองในขมองศรีษะเพิ่มเข้าอีกหนึ่ง ตรัสสอนให้พิจารณาอาการเหล่านี้ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด เป็นของปฏิกูล
    <O:p></O:p>
    ตรัสสอนให้พิจารณาเป็นอย่างๆ เหมือนอย่างถุงที่บรรจุธัญชาติต่างๆ มีข้าวสาลีข้าวเปลือกเป็นต้น บุรุษผู้มีจักษุก็เปิดถุงที่บรรจุธัญชาติต่างๆ เหล่านี้<O:p></O:p>
    และก็พิจารณาดูว่าเหล่านี้เป็นข้าวสาลี เหล่านี้เป็นข้าวเปลือก เหล่านี้เป็นถั่ว เหล่านี้เป็นงาเป็นต้น
    <O:p></O:p>
    การพิจารณาอาการ ๓๑ หรือ ๓๒ ก็ตรัสสอนให้จับพิจารณาเหมือนอย่างนั้น เมื่อได้ปฏิกูลสัญญา ความสำคัญหมายว่าไม่สะอาด ว่าปฏิกูลน่าเกลียด ก็เป็นอันได้ปฏิบัติใน กายคตาสติ สติที่ไปในกายนี้ ก็ต้องเป็นเอหิปัสสิโกเรียกตนให้มาดูตามที่ตรัสสอนไว้นี้ ที่กายนี้ของตนเอง ด้วยสติด้วยญาณปัญญา ซึ่งจะได้กายคตาสติกรรมฐานข้อนี้
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธาตุกรรมฐาน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    อนึ่งก็ได้ตรัสสอนให้พิจารณาว่ากายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ที่ดำรงอยู่นี้ ประกอบด้วยธาตุทั้งหลาย ๔ คือปฐวีธาตุได้แก่ส่วนที่แข้นแข็ง อาโปธาตุได้แก่ส่วนที่เหลวไหลเอิบอาบ เตโชธาตุได้แก่ส่วนที่อบอุ่นร้อน วาโยธาตุได้แก่ส่วนที่พัดไหว ที่เรียกกันง่ายๆ ว่าธาตุดินน้ำไฟลม พิจารณาว่ากายนี้ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุทั้ง ๔ นี้ประกอบกัน ก็ต้องเป็นเอหิปัสสิโก เรียกตนเองให้มาดูกายนี้ ว่าประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ ตามที่ตรัสสอนไว้ ด้วยสติด้วยญาณปัญญา จึงจะรู้ จึงจะเห็นว่าสักแต่ว่าเป็นธาตุ ก็จะทำให้อัตตสัญญาความสำคัญหมายว่าเป็นตัวเราของเราสงบลง จะเห็นสักแต่ว่าเป็นธาตุ

    <O:p></O:p>
    ป่าช้า ๙<O:p></O:p>
    อนึ่งก็ได้ตรัสสอนให้พิจารณาซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ในครั้งพุทธกาลหรือในครั้งโบราณนั้น เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งตายก็นำศพไปทิ้งไว้ในป่าช้า ให้เป็นหน้าที่ของสัปเหร่อจะเป็นผู้เผาผู้ฝัง ในบัดนี้แม้ไม่มีแล้ว
    <O:p></O:p>
    ก็ให้พิจารณาได้โดยสมมติเอาว่า ได้มีศพที่เขาไปทิ้งไว้ในป่าช้าดังกล่าว และเมื่อไปดูศพที่เข้าทิ้งไว้ในป่าช้าดังกล่าว ก็จะเห็นตั้งแต่ศพที่เขาทิ้งไว้นั้น ซึ่งตายไปแล้วหนึ่งวันบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ขึ้นพองมีสีเขียวน่าเกลียด จะได้เห็นว่ามีสัตว์ทั้งหลายมากัดมาจิกกิน เช่นมีกา แร้ง นก สุนัขต่างๆ ตลอดจนถึงพวกสัตว์เล็กๆ ต่างๆ พวกหนอนต่างๆ มากัดกินมาจิกกินมาดูดกินศพเหล่านี้<O:p></O:p>
    และก็จะได้เห็นศพเหล่านี้ ซึ่งเป็นโครงร่างกระดูกรวมกันอยู่ มีเนื้อโลหิตเอ็นรึงรัด ก็จะได้เห็นศพเหล่านี้ เป็นศพที่เป็นโครงกระดูก ซึ่งเนื้อหมดไปแล้ว แต่ยังเปื้อนเลือดยังมีเส้นเอ็นรึงรัด ก็จะเห็นศพเหล่านี้ยังเป็นโครงร่างกระดูก ไม่มีเนื้อไม่มีเลือดแล้ว แต่ยังมีเส้นเอ็นรึงรัดเป็นโครงกระดูกอยู่ ก็จะเห็นศพเหล่านี้ไม่มีเส้นเอ็นรึงรัดเสียแล้ว กระดูกที่เรียงกันอยู่เป็นโครงร่าง ก็หลุดกระจัดกระจาย กระดูกมือก็ไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าก็ไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งก็ไปทางหนึ่ง เข่าก็ไปทางหนึ่ง ขาก็ไปทางหนึ่ง สะเอวก็ไปทางหนึ่ง กระดูกหลังก็ไปทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงก็ไปทางหนึ่ง กระดูกอกก็ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนก็ไปทางหนึ่ง กระดูกหัวไหล่ก็ไปทางหนึ่ง กระดูกคอก็ไปทางหนึ่ง คางก็ไปทางหนึ่ง ฟันก็ไปทางหนึ่ง ศรีษะก็ไปทางหนึ่ง แตกแยกกระจัดกระจายไปในทิศทางต่างๆ และก็จะเห็นกระดูกเหล่านี้มีสีขาวเพียงดังสังข์ ก็จะเห็นกระดูกเหล่านี้ยังกองกันอยู่บ้าง ล่วงผ่านปีไป และก็จะเห็นกระดูกเหล่านี้ผุป่นละเอียดปนไปกับดินทรายในที่สุด<O:p></O:p>
    ( เริ่ม ๑๐๗/๑ )ก็ต้องเป็นเอหิปัสสิโกเรียกตนเองให้มาดู ด้วยสติด้วยญาณปัญญา จึงจะเห็นจึงจะรู้ว่ากายนี้ ซึ่งก่อนแต่เกิดมา เริ่มต้นแต่เป็นกลละในครรภ์ของมารดา ก็ไม่มีอะไร และเมื่อเริ่มเกิดขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่กลละในครรภ์ของมารดา ค่อยๆ เติบใหญ่ขึ้นเป็นปัญจสาขา มีตามีหูเป็นต้น ครบกำหนดคลอดออกมา อาศัยอาหารบำรุงเลี้ยงเติบใหญ่ขึ้นมา จนถึงบัดนี้
    <O:p></O:p>
    ทุกๆ คนที่นั่งอยู่ในบัดนี้ทั้งหมดก็เริ่มต้นมาอย่างนี้ เป็นร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ในบัดนี้ หายใจเข้าหายใจออกกันอยู่ทุกขณะในบัดนี้ และก็อยู่ในอิริยาบถ ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง ดังในบัดนี้ก็อยู่ในอิริยาบถนั่ง และก็มีอิริยาบถประกอบ เช่นในบัดนี้กำลังนั่งคู้ขาเข้ามาเป็นแบบนั่งพับเพียบ วางมือเข้ามา และผู้ที่แสดงนี้ก็กำลังพูด ท่านทั้งหลายผู้ฟังก็อยู่ในอาการนิ่ง และก็ประกอบด้วยอาการ ๓๒ มีผมขนเล็บฟันหนังเป็นต้น ต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ไปตามหน้าที่ของตน มีอาการคือการกระทำงานของตน ผมก็มีอาการที่ทำงานเป็นหน้าที่ของผม ขนเล็บฟันหนังเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน มีอาการคือการทำงานตามหน้าที่ของตนไป
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กายานุปัสนาสติปัฏฐาน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และเมื่อสรุปเข้ามาแล้ว อาการเหล่านี้ก็เป็นธาตุทั้ง ๔ ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม อาการสามสิบเอ็ดสามสิบสองดังที่กล่าวมาข้างต้นนั่นแหละ ตั้งแต่เกสาผมจนถึงกรีสังอาหารเก่า เติมมัตถเกมัตถลุงคังขมองในขมองศรีษะ รวมเป็น ๒๐ ถ้าไม่เติมก็ ๑๙ รวมเข้าก็เป็นปฐวีธาตุ ธาตุดิน ตั้งแต่ปิตตังน้ำดี จนถึงมุตตังมูตรรวมเข้า ๑๒ ก็เป็นอาโปธาตุ ธาตุน้ำ เตโชธาตุธาตุไฟนั้นมีตรัสแสดงไว้ในที่อื่น ก็ได้แก่ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น หรือว่าร้อน ไฟที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ไฟที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อนมาก และไฟที่ช่วยในการย่อยอาหาร ที่กิน ที่ดื่ม ที่ขบเคี้ยว ที่ลิ้ม รวมเข้าก็เป็นเตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตุธาตุลมนั้นก็ได้แก่ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่พัดไปในอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ลมหายใจเข้าลมหายใจออก รวมเข้าก็เป็นวาโยธาตุ ธาตุลม<O:p></O:p>
    รวมเข้าก็เป็นธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้ เมื่อธาตุ ๔ เหล่านี้ยังดำรงอยู่ ยังรวมกันอยู่ ปฏิบัติหน้าที่ของธาตุทั้ง ๔ นี้อยู่ ชีวิตก็ยังดำรงอยู่
    <O:p></O:p>
    อาการสามสิบเอ็ดสามสิบสองก็ทำหน้าที่ของตนอยู่ ยังผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้อยู่ หายใจเข้าหายใจออกอยู่ แต่เมื่อธาตุทั้ง ๔ นี้แตกสลาย ดับลมหายใจ ธาตุลมดับไปก่อน ธาตุอื่นๆ ก็แตกสลายตาม ร่างกายนี้ก็กลายเป็นศพ ไม่มีการหายใจเข้า ไม่มีการหายใจออก ไม่มีการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ อาการสามสิบเอ็ดสามสิบสองก็หยุดปฏิบัติหน้าที่ หยุดทำงาน และศพนี้ก็ตั้งต้นเป็นศพที่ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน สามวันเป็นต้นไป จนถึงในที่สุดก็เป็นกระดูกผุป่นตามที่ตรัสสอนไว้นั้น
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น ก่อนจะถือกำเนิดมาทีแรกก็ไม่มี ในที่สุดก็กลับไม่มีเหมือนอย่างเดิม นี้เป็นการที่พิจารณา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่กำหนดพิจารณากาย สติที่กำหนดกาย ก็ต้องเป็นเอหิปัสสิโกเรียกตนเองให้มาดู ด้วยสติด้วยญาณปัญญา ให้รู้ให้เห็น จึงจะเป็นสติปัฏฐานตั้งสติ จนถึงสติตั้งเป็นไปในกายตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้
    <O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๙ โอปนยิโก<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะนั้นแสดงในพระธรรมคุณที่เราทั้งหลายสวดกันอยู่ ว่า สวากขาโต ภควตา ธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก เป็นธรรมะอันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก เป็นธรรมะไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก เป็นธรรมะที่พึงเรียกให้มาดู ซึ่งได้แสดงมาโดยลำดับ และโดยเฉพาะเป็นธรรมะที่พึงเรียกให้มาดูนั้น โดยตรงก็คือพึงเรียกตนเองนี่แหละให้มาดู
    <O:p></O:p>
    เมื่อเรียกตนเองให้มาดู ด้วยอาศัยสติความระลึกกำหนด ญาณปัญญา ความหยั่งรู้ ความรู้ทั่วถึง จึงจะรู้จะเห็นธรรมะทั้งที่เป็นส่วนปริยัติธรรม ทั้งที่เป็นส่วนปฏิบัติธรรม และทั้งที่เป็นส่วนปฏิเวธธรรม ความรู้แจ้งแทงตลอด อันหมายถึงผลของการปฏิบัติตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงมรรคผลนิพพาน
    <O:p></O:p>
    เพราะธรรมะเป็นสภาพที่มีอยู่ และเป็นสภาพที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉะนั้น จึงควรเรียกให้มาดู เพราะมีอยู่จึงเห็นได้ และเพราะเป็นสภาพบริสุทธิ์ผุดผ่อง จึงทำให้ผู้ดูได้รับความบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยมีการน้อมเข้ามา ดังบทพระธรรมคุณต่อไปว่า โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา โดยตรงก็คือน้อมจิตนี้เองเข้ามา เข้ามาดู จึงจะรู้จึงจะเห็น

    <O:p></O:p>
    จิต วิญญาณธาตุ ธาตุรู้<O:p></O:p>
    จิตนี้เป็นวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ และเป็นธรรมชาติที่ปภัสสรคือผุดผ่อง แต่ว่าเพราะจิตนี้มีกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองที่จรเข้ามาตั้งอาศัยอยู่ในจิต จึงเรียกกิเลสว่าอุปกิเลส แปลว่ากิเลสที่จรเข้ามา จึงทำจิตนี้ให้เศร้าหมองไป และกิเลสนี้เองก็เป็นเครื่องปิดบังธาตุรู้ ไม่ให้รู้ไม่ให้เห็นตามเป็นจริง แต่ว่าให้รู้ให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง
    <O:p></O:p>
    เพราะว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติรู้ ก็ต้องรู้ ไม่รู้ผิดก็ต้องรู้ถูก หรือไม่รู้ถูกก็ต้องรู้ผิด เมื่อจิตเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรเข้ามา ทำให้ความปภัสสรคือผุดผ่อง ความผุดผ่องของจิตมัวหมอง เหมือนอย่างแว่นส่องหรือกระจกเงา หรือแม้แว่นตาที่มัวหมอง มีฝุ่นละอองจับ มีสิ่งสกปรกจับ ย่อมทำให้ไม่อาจที่จะส่องดูได้ หรือว่าส่อง หรือว่าสวมแว่นดูอะไรให้เห็นได้ จิตก็เป็นเหมือนเช่นนั้น เมื่อมีเครื่องเศร้าหมองตั้งอยู่ในจิต ทำให้ความปภัสสรคือผุดผ่องของจิตนั้นมัวหมองไปไม่ปรากฏ ก็ทำให้รู้ผิดเห็นผิด
    <O:p></O:p>
    ต่อเมื่อได้ชำระล้างเช็ดสิ่งที่เศร้าหมองนั้น ที่แว่นส่องหรือที่กระจก หรือที่แว่นตา ให้แว่นส่องสะอาดบริสุทธิ์ ให้แว่นตาสะอาดบริสุทธิ์ จึงจะส่องดูอะไรได้ หรือส่อง หรือสวมแว่นอ่านหนังสือได้ ดูอะไรได้ จิตก็เช่นเดียวกันเมื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมอง
    <O:p></O:p>
    ความปภัสสรของจิตที่เป็นธรรมชาติปรากฏเต็มที่ จึงจะทำให้รู้ถูกเห็นถูกรู้ชอบเห็นชอบ ตามที่เป็นจริง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมชาติของจิต<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และจิตนี้มีธรรมชาติเป็นธรรมชาติที่น้อมไปได้ เมื่อน้อมไปทางไหนมากก็เอนเอียงๆ ไปทางนั้น เป็นไปทางนั้นมาก ไม่เอนเอียงไปทางอื่น ไม่เป็นไปในทางอื่น ความน้อมไปของจิตดังกล่าวนี้ ก็น้อมไปด้วยวิตกความตรึกนึกคิด วิจารความตรอง เมื่อจิตนี้วิตกวิจารนึกคิดตริตรองไปในทางใดมากก็น้อมไปในทางนั้นมาก ไม่น้อมไปในทางอื่น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ดั่งนี้ในพระสูตรที่เรียกว่า เทวธาวิตักกสูตร พระสูตรที่ตรัสสอนให้ทำวิตกคือความตรึกนึกคิดให้เป็น ๒ ส่วน คือให้เป็นฝ่ายอกุศลวิตกความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศลส่วนหนึ่ง ให้เป็นกุศลวิตกคือความตรึกนึกคิดที่เป็นกุศลอีกส่วนหนึ่ง ด้วยปัญญาคือความรู้นี้เอง<O:p></O:p>
    เมื่อจิตคิดไปด้วยอกุศลวิตก ความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศล คือกามวิตกความตรึกนึกคิดไปในกาม คืออารมณ์ที่รักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย พยาบาทวิตกตรึกนึกคิดไปในทางประทุษร้ายปองร้าย วิหิงสาวิตกตรึกนึกคิดไปในทางเบียดเบียน<O:p></O:p>
    ก็ให้รู้ ว่าบัดนี้เราตรึกนึกคิดไปอย่างนี้ๆ และความตรึกนึกคิดไปอย่างนี้ๆ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เป็นเหตุดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นเพื่อนิพพานคือความดับกิเลส เมื่อทำปัญญาคือความรู้ให้เกิดขึ้นดั่งนี้ ให้จิตนี้รับรู้ในโทษของความตรึกนึกคิด ที่เป็นอกุศลดังกล่าว อกุศลวิตกความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศลดังกล่าวก็จะดับไป
    <O:p></O:p>
    ดั่งนี้ก็เป็นอันว่าได้ปฏิบัติทำอกุศลวิตกความตรึกนึกคิด ที่เป็นอกุศลไว้กองหนึ่ง ไว้ส่วนหนึ่ง ด้วยปัญญาคือความรู้
    <O:p></O:p>
    เมื่อตรึกนึกคิดไปในทางกุศลอันตรงกันข้าม คือในการออกจากกาม ในไม่พยาบาทมุ่งร้ายปองร้าย ในความไม่เบียดเบียน ก็ให้รู้ว่าบัดนี้เราตรึกนึกคิดอย่างนี้ๆ ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นไปเพื่อดับปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพานคือความดับกิเลส เมื่อทำความรู้ให้จิตรับรู้อยู่ดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้ทำกุศลวิตกความตรึกนึกคิดที่เป็นกุศลไว้อีกกองหนึ่งอีกส่วนหนึ่ง
    <O:p></O:p>
    และได้ตรัสเอาไว้ว่า ( เริ่ม ๑๐๗/๒ )เมื่อวิตกคือตรึกนึกคิดวิจารคือตรอง ไปในฝ่ายอกุศลมาก ก็ย่อมละฝ่ายกุศล ย่อมตั้งอยู่ในฝ่ายอกุศลมาก ความน้อมไปของจิตใจก็ย่อมน้อมไปในฝ่ายอกุศลมาก แต่ถ้าตรึกนึกคิดตริตรองไปมากในฝ่ายกุศล ก็จะละฝ่ายอกุศล จะตั้งอยู่ในฝ่ายกุศลมาก ความน้อมไปของจิตก็จะน้อมไปฝ่ายกุศลมาก
    <O:p></O:p>
    จิตย่อมมีธรรมชาติที่น้อมไปทางใดทางหนึ่งมากดั่งนี้ แต่ว่าเมื่อน้อมไปในฝ่ายอกุศล ผู้ปฏิบัติก็พึงห้ามจิต หยุดจิต เตือนจิต ให้หยุดจากความน้อมไปในทางอกุศลนั้น ซึ่งตรัสอุปมาไว้เหมือนอย่างคนเลี้ยงโค ที่ต้อนโคไปเลี้ยงในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน นาเต็มไปด้วยข้าวกล้า ฝูงโคก็จะเแวะเวียนกินข้าวกล้าของชาวนา คนเลี้ยงโคก็ต้องใช้ปฏักตีบ้างแทงบ้าง ต้อนขับไล่ห้ามมิให้ฝูงวัวแวะเวียนกินข้าวของชาวนา ฉันใด
    <O:p></O:p>
    บุคคลก็ต้องคอยห้ามจิต เตือนจิต ดุจิต แนะนำจิตให้หยุดจากความตรึกนึกคิดตริตรองไปในอกุศลทั้งหลายฉันนั้น เพราะว่าจิตนี้เป็นธาตุรู้ เมื่อให้คำแนะนำตักเตือนห้ามปรามดุว่าจิตของตนเอง
    <O:p></O:p>
    จิตก็จะสามารถรับรู้ได้ และก็จะหยุดได้จากความตรึกนึกคิดตริตรองไปในฝ่ายอกุศลนั้นๆ และก็เตือนได้แนะนำได้ให้ตรึกนึกคิดไปแต่ในฝ่ายกุศล เมื่อตรึกนึกคิดไปในฝ่ายกุศลอยู่แล้ว ก็ต้องรักษาไว้ให้ตรึกนึกคิดอยู่แต่ในฝ่ายกุศลแต่ส่วนเดียว และก็ได้ตรัสสอนอีกว่า แม้ว่าจะตรึกนึกคิดตริตรองอยู่แต่ในฝ่ายกุศลอย่างเดียว ถ้ามากเกินไปคือตรึกนึกคิดไปในทางกุศลนั้น ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ไม่ต้องพักกัน ก็จะทำให้กายนี้ลำบาก จะทำให้จิตนี้ฟุ้งขึ้น
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นแม้จะตรึกนึกคิดตริตรองไปในทางกุศล ก็ให้เป็นไปพอสมควร และก็ต้องปฏิบัติหยุดแม้ความตรึกนึกคิดที่เป็นกุศลนั้น ตั้งจิตให้สงบอยู่ในภายใน รู้ธรรมะในภายในจิตว่ามีอยู่ คือรู้ความสงบนี้เองที่เป็นภายใน อยู่กับความสงบในภายใน เมื่อเป็นดั่งนี้กายก็จะไม่ลำบาก จิตก็จะไม่เดือดร้อน จะไม่ฟุ้งขึ้น จะเป็นไปเพื่อสมาธิ จนถึงสมาธิที่แนบแน่น จนถึงฌาน เป็นไปเพื่อวิชชาคือความรู้ หรือญาณคือความหยั่งรู้ที่สูงขึ้นจนถึงที่สุด
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    จิตตั้งอยู่ในกุศลทำสมาธิได้ง่าย<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และเมื่อปฏิบัติหัดจิตให้น้อมมาในทางกุศลมาก คือตรึกนึกคิดตริตรองมาในฝ่ายกุศลมาก จิตก็จะตั้งอยู่ในฝ่ายกุศลมาก และก็จะทำจิตให้สงบเป็นสมาธิได้ง่าย ซึ่งตรัสเปรียบไว้ว่าเหมือนอย่างคนเลี้ยงโคที่ต้อนโคเลี้ยงในปลายฤดูร้อน ท้องนาก็ไม่มีข้าวกล้า ก็ปล่อยโคให้เที่ยวหากินไปตามสบาย ไม่ต้องกลัวว่าโคจะไปแวะเวียนกินข้าวกล้าของชาวนา ผู้เลี้ยงโคเองก็นั่งพักได้ที่ใต้ร่มไม้ เพียงแต่คอยดูว่าโคอยู่ที่นั่นๆ เท่านั้น ไม่ต้องไปคอยไล่คอยต้อน เพราะกลัวว่าโคจะกินข้าวของชาวนา เพราะว่านาในเวลานั้นไม่มีข้าวกล้าอยู่แล้ว มีแต่หญ้าสำหรับที่จะให้โคกิน
    <O:p></O:p>
    จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้ฝึกหัดปฏิบัติให้น้อมมาในทางกุศลมาก ก็จะตั้งอยู่ในกุศลมาก อยู่ตัวอยู่ในทางกุศลมาก เพราะฉะนั้น อาการที่จะต้องคอยกวดขันจิตก็น้อยลงได้ อาการที่จะห้ามปรามจิตที่จะดุว่าจิตก็น้อยลงได้ เพราะว่าจิตน้อมมาในทางกุศลอยู่ตัวขึ้นมากแล้ว ผู้ปฏิบัติก็นั่งสงบอยู่ในภายในได้ คือตั้งอยู่ในสมาธิ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นอันเดียว คนเลี้ยงโคนั้นนั่งสงบอยู่ใต้โคนไม้ ทำความรู้อยู่ว่าโคอยู่ที่นั่น ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมะนั้นก็ตั้งจิตสงบอยู่ในภายใน รู้ว่าจิตมีอยู่ อารมณ์ที่จิตกำหนดมีอยู่ ในภายใน

    <O:p></O:p>
    ข้อที่เรียกว่ามีอารมณ์เดียว<O:p></O:p>
    อันอารมณ์ที่จิตกำหนดที่มีอยู่ในภายในนั้น ก็คือว่ากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติ ดังเช่นสติปัฏฐาน ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติตั้งสติกำหนดกายเวทนาจิตธรรม ก็ทำความกำหนดอยู่ในภายใน ว่ากายมีอยู่ เวทนามีอยู่ จิตมีอยู่ ธรรมะมีอยู่ ตามที่กำหนดตั้งไว้ และเมื่อเป็นดั่งนี้จิตก็จะมีอารมณ์เป็นอันเดียวตั้งอยู่ในภายใน เป็นสติปัฏฐานตั้งสติอยู่ในภายใน
    <O:p></O:p>
    การปฏิบัติดั่งนี้ก็ต้องอาศัยโอปนยิโกน้อมเข้ามา คือน้อมจิตนี้เองเข้ามา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ในกุศลวิตกทั้งหลาย และน้อมเข้ามาในสมาธิ น้อมเข้ามาในปัญญา เมื่อเป็นดั่งนี้จิตจึงจะได้ธรรมะที่ปฏิบัติ จึงจะถึงธรรมที่ปฏิบัติ จึงจะรู้จึงจะเห็นธรรมะ เพราะฉะนั้น พระธรรมคุณบทนี้ จึงเป็นหลักปฏิบัติอันสำคัญอีกข้อหนึ่ง สืบเนื่องมาจากข้อต้นๆ เรียกตนให้มาดู ก็จะต้องน้อมจิตนี้เองเข้ามาดู ถ้าไม่น้อมจิตนี้เข้ามาดูแล้วก็จะเห็นธรรมะไม่ได้
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าการที่จะน้อมจิตเข้ามาดูนั้น ก็ต้องปฏิบัติหัดน้อมเข้ามา
    <O:p></O:p>
    ตั้งต้นแต่หัดทำความรู้จักวิตกวิจารในจิตใจของตนเอง คือรู้จักความนึกคิดตริตรองในจิตใจของตนเอง เป็นอกุศลก็ให้รู้ เป็นกุศลก็ให้รู้ เท่ากับแยกไว้เป็น ๒ กอง และให้รู้ถึงโทษของวิตกวิจารที่เป็นฝ่ายอกุศล ให้รู้ถึงคุณของวิตกวิจารที่เป็นฝ่ายกุศล ปฏิบัติห้ามจิตของตนไม่ให้มีวิตกวิจารไปในฝ่ายอกุศล แต่แนะนำตักเตือนให้วิตกวิจารไปในฝ่ายกุศล และในเบื้องต้นก็จะเป็นการปฏิบัติลำบาก เพราะจิตนี้เคยน้อมไปในฝ่ายอกุศลอยู่เป็นอาจิณ เมื่อกลับมาน้อมไปในฝ่ายกุศลก็เป็นการยาก เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติจึงมักจะบ่นกันว่าทำสมาธิไม่ได้ ปฏิบัติในศีลก็ไม่ได้ คือห้ามจิตไม่ได้ ทำสมาธิไม่ได้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ตนเองก็ต้องเป็นนาย<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME w:st="on" ProductID="โคบาล ที่คอยถือปฏัก">โคบาล ที่คอยถือปฏัก</ST1:pERSoNNAME> ที่จะป้องกันจิตของตัวเอง ที่เปรียบเหมือนโค ที่ชอบแวะกินข้าวกล้าในนาของชาวนา เช่นเดียวกับจิตที่ชอบวิตกวิจาร ไปในกามทั้งหลาย ไปในทางพยาบาท ไปในทางเบียดเบียน ก็ต้องคอยลงปฏักจิตนี้แหละ ห้ามจิต หัดให้น้อมมาในทางกุศล เช่นในการปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ในปัญญา ที่ปฏิบัติกันอยู่ แปลว่าที่แรกก็ต้องลงปฏักกัน ลงปฏักจิตของตัวเอง หัดให้น้อมเข้ามาในทางกุศล และเมื่อหัดบ่อยๆ ดั่งนี้แล้ว ความน้อมของจิตก็จะน้อมมาเองโดยสะดวก การที่จะต้องลงปฏักจิตก็ไม่ต้องกัน เลิกได้
    <O:p></O:p>
    เหมือนอย่างนายโคบาลที่ปล่อยโคให้เที่ยวกินหญ้าอยู่ในปลายฤดดูร้อน นาไม่มีข้าวกล้า คนเลี้ยงโคก็นั่งสบายอยู่ใต้ต้นไม้ คอยดูว่าโคอยู่ที่นั่นที่นี่เท่านั้น เหมือนดั่งจิตตั้งสงบอยู่ในภายใน รู้ว่ากายมีอยู่ เวทนามีอยู่ จิตมีอยู่ ธรรมมีอยู่ การปฏิบัติก็เป็นไปได้ง่ายในเมื่อจิตน้อมเข้ามาในทางกุศลได้มาก และอยู่ตัวขึ้นแล้ว นี่แหละคือโอปนยิโก พึงน้อมเข้ามา ก็คือพึงน้อมจิตนี้เองเข้ามาสู่ธรรมะ จึงจะได้เห็นธรรมะ จึงจะได้บรรลุธรรมะ
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๑๐ โอปนยิโก การปฏิบัติตั้งสติกำหนดเวทนา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เป็นธรรมควรเรียกให้มาดู เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามา ได้ในบทว่าโอปนยิโก ก็คือน้อมจิตนี้เองเข้ามา น้อมเข้ามาทำไม ก็น้อมเข้ามาดู ก็จะรู้จะเห็น และจะได้ความสำนึกว่าธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
    <O:p></O:p>
    เพราะว่าเมื่อได้รู้ได้เห็น ก็ได้รู้ได้เห็นจริงเหมือนดั่งที่ตรัสไว้นั้นทุกประการ โดยที่ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา และเรียกตนเองให้มาดูได้ แนะนำผู้อื่นให้มาดูได้ เพราะเป็นสภาพที่มีอยู่จริง บริสุทธิ์จริง แต่จะต้องน้อมจิตเข้ามา คือน้อมจิตเข้ามาดู
    <O:p></O:p>
    การดูนั้นเรียกว่า อนุปัสสนา ดูตาม อันเป็นลักษณะของสติประการหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนา ดูเห็นแจ้ง อันเป็นลักษณะแห่งวิปัสสนาประการหนึ่ง หรือเป็นลักษณะของปัญญา ดูที่เป็นดูตามเป็นลักษณะของสติ ดูที่เห็นแจ้งเป็นลักษณะของวิปัสสนาหรือปัญญา และโดยปริยายคือทางอันหนึ่ง ก็น้อมจิตเข้ามาดูกายเวทนาจิตธรรม อันรวมเข้าเป็นอัตภาพหรือตัวตน อันเป็นสมมติบัญญัติที่ยึดถือกันอยู่ ว่าเป็นตัวเราของเรานี้เอง

    <O:p></O:p>
    ข้อว่าน้อมจิตดูเวทนา<O:p></O:p>
    จะแสดงในข้อดูเวทนาคือน้อมเข้ามา น้อมจิตเข้ามาดูเวทนา อันได้แก่ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทางกายทางใจที่มีอยู่ ที่เป็นไปอยู่เป็นประจำ และเวทนาดังกล่าวนี้ก็สืบเนื่องมาจากกายนั้นเอง เมื่อกายประชุมกันอยู่ทุกสิ่งที่เป็นกายปฏิบัติหน้าที่อยู่เช่น หายใจเข้าหายใจออกอยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถน้อยอยู่ อาการ ๓๑ หรือ ๓๒ มีผมขนเล็บฟันหนังเป็นต้น ก็ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ธาตุทั้ง ๔ ประชุมกันอยู่ ก็ปรุงให้เกิดเวทนา ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ในเมื่อกายดังกล่าวประชุมกันอยู่ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้วยดีไม่บกพร่อง ก็ปรุงให้เกิด สุขเวทนา เวทนาที่เป็นสุข
    <O:p></O:p>
    ( เริ่ม ๑๐๘/๑ ) หากมีความบกพร่องบังเกิดขึ้น หรือว่ากระทบกับเหตุ เป็นเครื่องเบียดเบียนภายนอกที่เกินไป เช่นหนาวมากร้อนมากก็ให้เกิด ทุกขเวทนา แต่เมื่อประชุมกันอยู่เป็นไปอยู่อย่างปรกติธรรมดา ไม่พอที่จะให้เกิดสุขเวทนา หรือว่าไม่บกพร่องไม่ถูกเบียดเบียนมากไปให้เกิดทุกขเวทนา ก็ให้เกิดเวทนาที่เป็นกลางๆ อันเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา เวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุข เวทนาดังกล่าวนี้ย่อมบังเกิดขึ้น ผลัดเปลี่ยนกันไปอยู่ตลอดเวลา บางคราวก็เป็นสุข บางคราวก็เป็นทุกข์ บางคราวก็เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทั้งทางกายทั้งทางใจ<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูเวทนาทางกายทางใจที่บังเกิดขึ้น เมื่อเสวยสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเราเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนาก็ให้รู้ว่าเราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา<O:p></O:p>
    สำหรับในข้อเวทนานี้ภาษาธรรมะนิยมใช้คำว่าเสวย ที่หมายความว่ารู้สึก หรือรู้เป็น เช่นรู้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือเรียกอย่างคำแปลของเสวยตรงๆ ว่ากินหรือบริโภค ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มาจากคำว่าอัตตา หรืออาตมาอาตมัน ที่มีคำแปลอย่างหนึ่งว่าสภาพผู้กิน ก็หมายถึงว่ากินสุขกินทุกข์ หรือกินกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข คือกินเวทนานี้เอง ดังชีวิตร่างกายของผู้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ ก็ย่อมมีความรู้รับสุขรับทุกข์รับเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะฉะนั้นจึงใช้ลักษณะดังกล่าวนี้มาตั้งชื่อว่าอัตตาหรืออาตมัน ที่แปลกันว่าตน จะเรียกว่ากินสุขกินทุกข์หรือกินกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็อาจจะไม่ไพเราะ จึงใช้คำว่าเสวย และก็ใช้จำเพาะสำหรับคำนี้ที่เป็นคำใช้ทั่วไป เป็นภาษาสำหรับจิตใจ และร่างกายประกอบกัน เมื่อน้อมจิตเข้าดูกายก็ย่อมพบเวทนาด้วย แต่เมื่อกำหนดกาย มุ่งที่กายเป็นที่ตั้ง ครั้นมากำหนดเวทนา มุ่งเวทนาเป็นที่ตั้ง ก็ย่อมพบกายด้วย พร้อมทั้งจิตใจ เพราะอาการที่เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขนี้ มีอยู่แก่ทั้งกายและทั้งใจ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูเวทนาดั่งนี้ ก็เป็นการเลื่อนสติปัฏฐานขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งเป็นขั้นกำหนดเวทนา อันเป็นขั้นที่ละเอียดขึ้น แต่ว่าก็เป็นละเอียดปนหยาบ เพราะเวทนานี้เป็นไปทั้งทางกาย เป็นไปทั้งทางจิตใจ เมื่อตรัสสอนให้กำหนดกายอันนับว่าเป็นอารมณ์ที่หยาบ กำหนดได้ง่ายก่อน ครั้นกำหนดกายได้ดีแล้ว เวทนาก็ย่อมปรากฏแจ่มชัดขึ้น จึงได้ตรัสสอนขั้นต่อไปให้กำหนดเวทนา ซึ่งนับว่ายังอยู่ในระหว่างทั้งหยาบทั้งละเอียด ซึ่งกำหนดได้ง่าย ไม่ใช่เป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ เวทนาทางกายก็เป็นเรื่องของกายด้วย เวทนาทางจิตใจก็เป็นเรื่องของจิตใจ แต่ว่าทั้งกายทั้งจิตใจนี้ก็ต้องประกอบกันอยู่ ที่ว่าเป็นเรื่องของกายก็เรียกว่ากายนำหน้า แต่จิตใจก็ต้องรับ
    <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ที่เรียกว่าเป็นเรื่องของจิตใจนั้นก็คือจิตใจนำหน้า แต่กายก็ต้องรับด้วย ก็เป็นอันว่าทั้งกายทั้งใจ หรือทั้งใจทั้งกาย ก็ต้องเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขร่วมกัน

    <O:p></O:p>
    การกำหนดเวทนา<O:p></O:p>
    การกำหนดเวทนานี้ก็คือทำสติกำหนดที่ความเป็นสุข หรือความเป็นทุกข์ หรือความเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ของกายใจที่บังเกิดขึ้น และก็พึงเข้าใจว่าทั้ง ๓ นี้ มิใช่บังเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อเกิดเป็นสุข ก็ไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เมื่อเกิดเป็นทุกข์ ก็ไม่เป็นสุข ไม่เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เมื่อเกิดเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ไม่เป็นสุข ไม่เป็นทุกข์ เวทนาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นในคราวหนึ่งแก่กายและใจนี้ และเรียกกันว่ากลับไปกลับมากันอยู่ทั้ง ๓ นี้เป็นประจำ<O:p></O:p>
    แต่อันที่จริงนั้นเรียกทางปฏิบัติว่าเกิดดับอยู่เป็นประจำ คือสุขเกิดขึ้น ดับไป จึงเกิดเวทนาอื่นขึ้นมา เช่นเกิดเป็นทุกข์ และเมื่อทุกข์ดับไปจึงเกิดเวทนาอื่นขึ้นมาเช่นเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว เวทนานี้ย่อมเกิดดับอยู่ทุกอารมณ์ที่จิตรับเข้ามา อาจจะเป็นสุขเกิดดับๆ ซ้ำซ้อนกัน หรือเป็นทุกข์เกิดดับๆ ซับซ้อนกัน หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดดับๆ ซ้อนๆ กันไปก็ได้ ในเมื่ออารมณ์ที่จิตรับเข้ามาเป็นที่ตั้งของเวทนาอันใด เวทนาอันนั้นก็ย่อมเกิดขึ้น
    <O:p></O:p>
    แต่พูดกันอย่างธรรมดาเพื่อให้เห็นว่า เดี๋ยวเป็นสุข เดี๋ยวเป็นทุกข์ เดี๋ยวเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็พูดเหมือนอย่างว่าสุขแล้วก็ต้องเป็นทุกข์ ทุกข์แล้วก็ต้องเป็นสุข
    <O:p></O:p>
    หรือว่าเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่เกิดซ้ำกันเช่นว่าสุขๆ ๆ ต่อกันไป แต่อันที่จริงนั้นเกิดซ้ำๆ กันได้ แต่หมายความว่าต้องดับจึงเกิดใหม่ คือเกิดดับๆ ๆ อารมณ์อันเป็นที่ตั้งของสุขเมื่อบังเกิดขึ้นแก่จิตใจติดต่อกัน สุขก็เกิดดับๆ ติดต่อกันไป อารมณ์เป็นที่ตั้งของทุกข์เกิดดับๆ ติดต่อกันไป ทุกข์ก็เกิดดับติดต่อกันไป ดั่งนี้เป็นต้น เมื่อน้อมจิตเข้ากำหนดดูเวทนา เมื่อจิตสงบตั้งมั่นดูอยู่ จึงจะเห็นเวทนาที่เกิดดับๆ ดังกล่าวนี้ละเอียดเข้าๆ จะรู้ว่านี่กำลังเป็นสุขเสวยสุข นี่กำลังเป็นทุกข์เสวยทุกข์ นี่กำลังเป็นอทุกขมสุข หรือเสวยอทุกขมสุข
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อารมณ์อันเป็นที่ตั้งของเวทนา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าครั้นได้ตรัสสอนให้ตั้งสติน้อมจิตเข้ามา ตั้งสติกำหนดดูเวทนาที่เกิดขึ้นดับไป สุขบ้างทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ดั่งนี้แล้วก็ตรัสสอนให้รู้จักจำแนกประเภทเวทนาดังกล่าวนี้ออกเป็น ๒ ส่วน คือที่เป็นสามิสมีอามิสอันเป็นเครื่องล่อใจชักนำใจ ประกอบด้วยกิเลสให้เกิดเวทนาอย่างหนึ่ง เป็นนิรามิสคือไม่มีอามิสเครื่องล่อใจชักนำใจ อันประกอบด้วยกิเลสให้เกิดเวทนาอีกอย่างหนึ่ง
    <O:p></O:p>
    เพราะว่าอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของเวทนานั้นประกอบด้วยอามิสคือเครื่องล่อใจชักนำใจ อันประกอบด้วยกิเลสซึ่งเรียกว่าอามิสเฉยๆ หรือเรียกว่าโลกามิสเครื่องล่อของโลก หรือเรียกว่า เคหะสิตะ ที่แปลว่าอาศัยเรือน อันหมายว่ากามคุณารมณ์ทั้งปวง เพราะว่าบ้านเรือนนั้นย่อมต้องประกอบด้วยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย จึงเรียกว่าเคหะสิตะอาศัยเรือน
    <O:p></O:p>
    เมื่อจิตได้รับอารมณ์ที่เป็นเคหะสิตะอาศัยเรือน หรือเป็นโลกามิสเครื่องล่อของโลก โดยเป็นรูปบ้าง เป็นเสียง เป็นกลิ่นบ้าง เป็นรสบ้าง เป็นโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้องบ้าง ตลอดจนถึงเป็นธรรมะคือเรื่องราวทางใจที่คิดนึกบ้าง อันเป็นที่ตั้งของกิเลสทั้งหลาย กองราคะหรือโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
    <O:p></O:p>
    หรือเป็นที่ตั้งของตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากต่างๆ ก็ให้เกิดเวทนา ที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ที่เรียกว่าสามิส มีอามิสคือเครื่องล่อเครื่องชักจูงใจของโลก ซึ่งเรียกว่าโลกามิส หรือเรียกว่าเคหะสิตะอาศัยเรือน
    <O:p></O:p>
    เป็นต้นว่านึกคิดตรึกตรองไป ถึงรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมะคือเรื่องราว ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ซึ่งเคยได้รับมาแล้วในอดีตก็ตาม กำลังรับอยู่ก็ตาม ก็ให้เกิด สุขเวทนา เวทนาที่เป็นสุข เสวยสุข เมื่อนึกคิดตรึกตรองไปถึงอารมณ์ทั้งหลายดังกล่าวนั้น คือที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจที่ต้องการจะได้แต่ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน หรือนึกถึงในอดีตที่ไม่ได้ ก็เกิด ทุกขเวทนา เสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ หรือเมื่อระลึกนึกคิดไปถึงอารมณ์ทั้งหลายดังกล่าวนั้นที่เป็นกลางๆ ไม่พอจะให้เกิดสุข ไม่พอจะให้เกิดทุกข์ ก็เกิด อุเบกขาเวทนา หรือที่เรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา เวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข คือเวทนาที่เป็นกลางๆ ที่คนทั่วไปมีกันอยู่ ดั่งนี้ก็เรียกว่าเป็นสามิส มีอามิสคือเครื่องล่อของโลก คือเครื่องชักจูงอันประกอบด้วยกิเลส

    <O:p></O:p>
    นิรามิสสุข นิรามิสทุกข์<O:p></O:p>
    แต่เมื่อเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือ เช่นได้ระลึกตรึกตรอง ถึงรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมะคือเรื่องราว ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ หรือไม่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจก็ตาม ที่กำลังรับอยู่ หรือเคยได้รับมาแล้ว แต่พิจารณาเห็นว่าเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ปลงใจลงได้ในคติธรรมดาของสังขารทั้งหลายดังกล่าวนี้ ก็ได้สุขเวทนา เวทนาที่เป็นสุข ดั่งนี้ก็เรียกเป็นสุขที่เป็นนิรามิส ไม่มีอามิสเป็นเครื่องล่อ
    <O:p></O:p>
    และในบางคราวก็พิจารณาดังกล่าวนั้น ว่าอารมณ์ทั้งปวงดังกล่าวนั้น เป็นอนิจจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ก็มานึกถึงว่าไฉนหนอเราจึงจักครอบงำเวทนาเหล่านี้ได้ ไม่ต้องเป็นสุขเป็นทุกข์ไปตามอารมณ์โลกทั้งหลาย ซึ่งเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ทำไมเราจึงไม่สิ้นทุกข์เหมือนอย่างพระอรหันต์ทั้งหลายที่ท่านสิ้นทุกข์แล้ว มานึกถึงตัวเองขึ้นมาว่าทำไม่จึงไม่สิ้นทุกข์กันสักทีนึง ต้องเป็นทุกข์อยู่กับเรื่องของโลกทั้งหลาย ซึ่งต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ดั่งนี้อยู่เรื่อย ก็เกิดเป็นทุกขเวทนาขึ้นมา ดั่งนี้ก็เป็น นิรามิสทุกข์ ทุกข์ที่ไม่มีอามิสเป็นเครื่องล่อ เป็นเครื่องชักจูงใจอันประกอบด้วยกิเลส เป็นทุกข์อันเกิดจากการที่ไม่ได้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์ เหมือนอย่างท่านผู้สิ้นทุกข์ทั้งหลาย
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เนกขัมมะสิตะ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    หรือในบางคราวเมื่อนึกถึงอารมณ์ทั้งหลาย และก็พิจารณาเป็นอนิจจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ก็ได้อุเบกขาคือความวางเฉยในอารมณ์นั้น ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุข ดั่งนี้ก็เป็นอทุกขมสุขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เป็นนิรามิส ไม่มีอามิสเป็นเครื่องล่อ นิรามิสนี้เรียกว่า เนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะก็ได้ คืออาศัยการออก ออกจากกามทางใจ ใจปลงเห็นอนิจจะไม่เที่ยงเป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ใจก็ไม่ใคร่ ใจไม่ติด จึงเรียกว่าเนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะ ตรงกันข้ามกับ เคหะสิตะ อาศัยเรือน เมื่อเป็นเคหะสิตะอาศัยเรือนก็เป็นสามิส ประกอบด้วยอามิส คือเครื่องล่อเครื่องชักจูงอันประกอบด้วยกิเลส เมื่อเป็น เนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะก็เป็นนิรามิส ไม่ประกอบด้วยอามิสเครื่องล่อ เครื่องชักจูงอันประกอบด้วยกิเลส

    <O:p></O:p>
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอน ให้ทำความรู้ด้วยน้อมจิตให้เป็นโอปนยิโก ดูเวทนาให้รู้ว่าเป็นประเภทไหน เมื่อเสวยสุขเวทนาที่มีอามิสก็ให้รู้ ไม่มีอามิสก็ให้รู้ เมื่อเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิสก็ให้รู้ ไม่มีอามิสก็ให้รู้ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่มีอามิสก็ให้รู้ ที่ไม่มีอามิสก็ให้รู้ ตามที่เป็นจริง ดั่งนี้เป็นการปฏิบัติตั้งสติกำหนดเวทนา อันเรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งสติกำหนดคือตามดูเวทนา ต้องอาศัยธรรมะที่เป็นโอปนยิโกคือน้อมจิตเข้ามาดู จึงจะเห็นเวทนาตามที่ตรัสสอนไว้นี้
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๑๑ โอปนยิโก เวทนา ๕<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>​


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมเป็น สวากขาตธรรม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก เป็นธรรมควรเรียกให้มาดู โอปนยิโก เป็นธรรมที่พึงน้อมเข้ามา ก็คือน้อมใจเข้ามาสู่ธรรม หรือน้อมธรรมเข้ามาสู่ใจ เพราะจิตใจนี้เป็นธาตุรู้ และเป็นธรรมชาติปภัสสรคือผุดผ่อง และธรรมะก็เป็นสัจจะธรรมคือธรรมะที่เป็นความจริง เป็นของจริงของแท้ และเป็นธรรมะที่บริสุทธิ์ นำให้ออกจากทุกข์ได้ ดับกิเลสได้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ธรรมะกับจิตใจจึงเป็นธรรมชาติที่คู่ควรกัน พึงน้อมเข้ามาสู่กันได้ ได้แสดงถึงการน้อมจิตใจเข้าสู่สติปัฏฐาน ที่ตั้งสติในข้อกาย ในข้อเวทนา<O:p></O:p>
    และก็จะได้แสดงต่อในข้อเวทนา พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ทำสติคือความระลึกกำหนดเวทนา ให้รู้เวทนา ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยน้อมจิตนี้เองกำหนดเวทนา จึงเป็นสติที่ตั้งในเวทนา และเวทนานั้นก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขเป็นกลางๆ หรือที่เรียกว่าอุเบกขาบ้าง มี ๓ ดังกล่าว

    <O:p></O:p>
    เวทนา ๕<O:p></O:p>
    แต่ในที่อื่นได้มีตรัสแสดงเวทนาไว้เป็น ๕ คือ สุขเวทนา เวทนาเป็นสุขทางกาย ทุกขเวทนา เวทนาเป็นทุกข์ทางกาย โสมนัสเวทนา เวทนาเป็นโสมนัสคือสุขทางใจ โทมนัสเวทนา เวทนาเป็นโทมนัสคือทุกข์ทางใจ และ อุเบกขาเวทนา คือเวทนาที่เป็นอุเบกขาอันหมายถึงเป็นกลาง ไม่ใช่สุขกาย ไม่ใช่ทุกข์กาย ไม่ใช่โสมนัสสุขใจ ไม่ใช่โทมนัสทุกข์ใจ ก็เป็นอันเดียวกันกับ อทุกขมสุขเวทนา เวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขนั้นเอง
    <O:p></O:p>
    และได้ตรัสสอนให้รู้จักเวทนาที่ประสบอยู่ ที่เสวยอยู่ สุขก็ให้รู้ ทุกข์ก็ให้รู้ ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ให้รู้ ทั้งทางกายทั้งทางใจ และที่เป็นสามิสมีเครื่องล่อ คือมีอารมณ์รูปเสียงเป็นต้น ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจเป็นเครื่องล่อ คือประกอบไปด้วย หรือว่านำให้เกิดขึ้น จึงเกิดเวทนาเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขขึ้น อันประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นเครื่องล่อให้บังเกิดขึ้นนั้น เรียกว่าสามิส หรือเป็นนิรามิส ไม่มีสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจดังกล่าวนำให้เกิดขึ้น ก็ให้รู้
    <O:p></O:p>
    และได้ตรัสสอนไว้ใน สฬายตนะวิภังคสูตร ตรัสเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เคหะสิตะ อาศัยเรือน กับ เนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะคือการออกจากเรือน ที่เป็นเคหะสิตะอาศัยเรือนโดยความก็คือเป็นสามิสนั้นเอง
    <O:p></O:p>
    ส่วนที่เป็นเนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะการออกจากเรือน โดยความก็คือเป็นนิรามิสนั้นเอง ซึ่งนำให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ซึ่งเป็นตัวเวทนาได้ ทั้งที่เป็นไปทางกาย ทั้งที่เป็นไปทางใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...