ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ กำหนดลม

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> กำหนดลม </center> ต่อไปนี้เป็นการอธิบายวิธีเจริญสมาธิพอสมควร กล่าวคือ การนั่งสมาธินั้นเป็น “ปุญญกิริยาวัตถุ” ประการหนึ่ง “กิริยา” ได้แก่การนั่งหลับตาขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวตรงไม่คดไม่งอ เวลาที่เราหลับตา ให้หลับแค่เปลือกตา อย่าหลับจริงๆอย่างคนนอนหลับ ต้องให้ประสาทตาทำงานบ้าง มิฉะนั้นจะทำให้ง่วง
    กิริยาอย่างนี้เป็นอาการแห่ง “ความดี” แต่ไม่ใช่ “ตัวดี” เมื่อทำตนได้เช่นนี้แล้ว ต้องประกอบไปด้วยอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งจิตที่เรียกว่า “วัตถุสมบัติ” และ “เจตนาสมบัติ” คือตั้งใจนึกถึงลมหายใจเข้าออกปรับปรุงลมหายใจให้สะดวกสบาย ประคองไว้ด้วยดี ไม่ให้ผิดพลาด เมื่อทำได้ด้วยดีอย่างนี้แล้ว ย่อมเกิดประโยชน์ขึ้นทางร่างกายและจิต ที่เรียกว่า “บุญ” หรือ “คุณสมบัติ” อันเป็นส่วนผล ได้แก่ความเย็น ความสุขและความสะดวกสบาย ความอิ่มความเต็ม
    ในเวลาที่เรานั่ง ให้คอยสังเกตดูว่า ใจของเราอยู่กับลมหายใจที่เข้าออกหรือไม่ ต้องมีสติคอยกำกับจิตเช่น เวลาหายใจเข้า ให้ระลึก “พุท” เวลาหายใจออกให้ระลึก “โธ” ตั้งสติอย่าให้เผลอ อย่าให้ลืม ปล่อยวางภาระทั้งหลายและปลดปล่อยสัญญาอารมณ์ภายนอกต่างๆออกให้หมดสิ้น ทำใจให้อยู่กับลมหายใจอย่างเดียวไม่ต้องเหลียวดูอย่างอื่น
    แต่โดยมากในเวลาที่เรากำลังนั่งอยู่นี้ ก็มักจะมีสัญญาอดึตอนาคตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะมาตัดทอนและทำลายคุณความดีของเราอยู่เสมอ สัญญาทั้งหลายจะเป็นเรื่องเก่าแก่ที่แล้วมา หรือจะเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มาถึงก็ดี เป็นเรื่องโลกก็ดี เป็นเรื่องธรรมชาติก็ดี ไม่ใช่เป็นของดีทั้งสิ้น มีแต่จะเป็นสิ่งที่ก่อทุกข์โทษให้แก่ตัวเรา ทำให้ดวงจิตเกิดความไม่สงบ วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน เดือดร้อน หาความเย็นใจมิได้ เพราะเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วก็ย่อมจะล่วงเลยไปแล้ว จะดีหรือชั่วก็แก้ไขไม่ได้ และเอากลับคืนมาอีกไม่ได้ เรื่องข้างหน้าที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง และไม่สามารถรู้ได้ว่า จะเป็นไปตามความนึกคิดของเราได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังอยู่ไกล และยังเป็นความสงสัยลังเลไม่แน่นอน ฉะนั้นจึงไม่เป็นสิ่งที่จะอำนวยประโยชน์ให้แก่การคิดนึกของเราเลย
    เหตุนี้จึงต้องคอยจับดวงจิตให้เข้าไปอยู่ในปัจจุบัน เช่น ที่ท่านสอนให้ทำภาวนาโดยเอาจิตมากำหนดไว้ที่ลมหายใจแห่งเดียว การที่เรานึกถึงลมหายใจนี้ ท่านเรียกว่า “วิตก” คือที่เราหายใจ “พุท” เข้า“โท” ออก อยู่อย่างนี้แหละ เมื่อเราจะเอาส่วน “วิจาร” เข้ามาแทน ก็ให้ปล่อยวิตก คือคำว่า “พุทโธ” นั้นเสีย แล้วก็จงสังเกตว่า อาการหายใจเข้าออกนี้เกิดความกระทบกระเทือนไปถึงไหน เวลาหายใจเข้าไปรู้สึกสบายหรือไม่สบาย เวลาหายใจออกมาเรารู้สึกสะดวกหรือไม่สะดวก ถ้าไม่สะดวกสบาย ก็ให้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ เมื่อเราประคองจิตอยู่เช่นนี้ ก็ปล่อย “พุทโธ” ไป ไม่ต้องใช้ ลมที่หายใจเข้าไปก็จะกระจายแผ่ซ่านไปทั่วตัว ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ เมื่อเราปล่อยการ “วิตก” บางส่วน เช่น วางคำภาวนา “พุทโธ” เสีย เหลือแต่การกำหนดลมหายใจแล้ว ความตรวจตรองมีมากขึ้น ความไหวตัวของจิตก็ลดลง และจะกลายเป็นสมาธิจิตไปอารมณ์ทั้งหลายก็ดับ ความดับนี้ไม่ใช่หมายความว่าเราหูดับ หรือหูตึง อาการที่ดับนี้คือ เราไม่ได้ยกจิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก ทั้งอดีตอนาคต ตั้งอยู่แต่ในปัจจุบันอย่างเดียว
    การกำหนดลมหายใจนี้ ถ้าเราคอยหมั่นสังเกตดูการเดินของลมอยู่เสมอแล้ว เราจะรู้ว่าลมที่หายใจเข้ามานั้นเป็นอย่างไร สบายหรือไม่สบาย หายใจเข้าอย่างไรเราจึงสบาย หายใจออกอย่างไรเราจึงสบาย หายใจอย่างไรเราจึงอึดอัดไม่สบาย ให้พยายามปรับปรุงทำความสบายให้เกิดขึ้น
    เมื่อเราได้คอยหมั่นสำรวจและพิจารณาอยู่เช่นนี้ ก็จะเป็นสติสัมปชัญญะกำกับอยู่กับตัวเรา สมาธิก็จะเกิดขึ้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้น วิชชาก็จะเกิดขึ้นในตัว

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...