ลักษณะของใจ จิต และวิญญาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 27 กันยายน 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ลักษณะของใจ จิต และวิญญาณ

    [​IMG]




    บรรดาสัตว์และมนุษย์ที่มีชีวิตทั้งหลายหมดทั้งสกลกายนั้น ย่อมประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ส่วนใหญ่ คือ ส่วนที่เป็น ร่างกาย ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่เป็น รูปธรรม กับส่วนที่เป็น ใจ ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น
    นามธรรม

    เฉพาะส่วนที่เป็นร่างกายนั้น ทุกคนย่อมรู้จักกันดีโดยทั่วไป เพราะสามารถเห็น หรือสัมผัส แตะต้องได้ด้วยตาเนื้อหรือกายหยาบ แต่ส่วนที่เป็นใจนั้นไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเนื้อ หรือไม่อาจสัมผัสแตะต้องด้วยกายหยาบ จึงเข้าใจธรรมชาติส่วนที่เรียกว่า ใจ นี้ได้ไม่ง่ายนัก


     
  2. ทรัพย์พระฤาษี

    ทรัพย์พระฤาษี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    โมทนาด้วยครับ



    [​IMG]




    ผมมีบทความดีๆเกี่ยวกับในหลวง อยากให้ลองกันดูครับอ่าน


    http://palungjit.org//showthread.php?t=
     
  3. คนตาบอด

    คนตาบอด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +42
    สาธุ

    สังขารร่างกาย มีอายุ แห่งสังขาร

    แต่จิตนี้ มีอายุ แห่งจิตไหมหนอ.. การเกิดดับ เกิดดับของจิตจะให้เข้าใจว่าอย่างไรดี..

    ในเมื่อกายแตกทำลายตามอายุสังขารคือ ธาตุ 4 แตกทำลายไปตามวาระ แต่จิตที่ทำกุศลและอกุศลธรรมหรือเป็นกรรมนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า...กุศลย่อมนำพาผู้กระทำไปสู่ภพภูมิที่ดีประเสิรฐ์ อกุศลย่อมนำพาผู้กระทำไปสู่ภพที่ต่ำทราม การไปสู่ภพภูมิต่างๆเป็นไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา พาไป ฉุดกระฉาก ลากไป นำไปสู่กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ในเมื่อเป็นอย่างนี้จิตจึงเกิดเพราะตัณหาพาไปเกิด ในเมื่อตัณหาดับไป จิตที่จะเกิดจึงไม่มี..

    แต่ตัณหาก็เกิดมาจากอวิชชา และอวิชชาก็มีเหตุ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรจะกล่าวว่าทุจริต ๓ ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรจะกล่าวว่าการไม่สำรวมอินทรีย์ ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรจะกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรจะกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรจะกล่าวว่าการไม่ฟังธรรม ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังธรรม ควรกล่าวว่าการไม่คบสัตบุรุษ....ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...