วัดและปราสาท ผสานเป็นหนึ่งที่ "วัดนครหลวง"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 24 พฤศจิกายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมืองไทยมีวัดวาอารามอยู่มากมาย โดยหลายๆวัดต่างก็มีความโดดเด่นและความแปลกแตกต่างกันออกไป

    "วัดนครหลวง" ที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นับเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีความโดดเด่นไม่น้อย เพราะวัดนี้ได้นำวัดและปราสาทมาสร้างร่วมกันอย่างลงตัวในบริเวณเดียวกัน โดยปราสาทนครหลวง ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัดนครหลวง ซึ่งเดิมเป็นตำหนักที่ประทับของกษัตริย์ในระหว่างเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี และเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จไปลพบุรีสมัยนั้นทรงเสด็จโดยทางชลมารค

    ปราสาทนครหลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพ.ศ. 2147 พระองค์ได้โปรดให้ช่างจำลองแบบมาจากปราสาทที่กัมพูชาแล้วสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูน โดยนำมาสร้างใกล้กับวัดเทพจันทร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่ว่าปราสาทแห่งนี้สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ในสมัยนั้น

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่นได้มาสร้างวัดนครหลวงขึ้นพร้อมๆกับสร้างพระพุทธบาทสี่รอยไว้บนลานชั้นบนของปราสาท นับแต่นั้นมาปราสาทนครหลวงก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัด

    สำหรับผู้มาเที่ยวปราสาทนครหลวงจึงไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงต่อการไปสักการะพระพุทธบาทสี่รอย ที่ประดิษฐานในมณฑปบนชั้นสูงสุดของปราสาทนครหลวง ซึ่งมีลักษณะเป็นพระพุทธบาทซ้อนกันสี่รอยบุ๋มลึกลงไปในเนื้อหิน โดยรอยใหญ่ที่สุดกว้างประมาณ 2.50 ม. ยาว 5.50 ม.

    และเมื่อออกมานอกโบสถ์ก็ควรแวะไปขอพรพระสังกัจจายน์ เทพเจ้าแห่งโชคลาภและความสำเร็จ ที่ประดิษฐานอยู่ในซุ้มระเบียงชั้นบนทั้งสองด้านของมณฑป ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มาขอพรที่นี่ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า"สมหวัง"

    และเมื่อเดินลงมาจากตัวปราสาทก็จะพบกับ ตำหนักนครหลวง หรือ ศาลพระจันทร์ลอย ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารจัตุรมุข ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระปลัดปลื้ม หรือพระครูวิหาร-กิจจานุการได้นำแผ่นศิลาที่เรียกว่าพระจันทร์ลอยจากวัดเทพจันทร์ลอยมาประดิษฐานไว้ที่นี้

    สำหรับแผ่นหินพระจันทร์ลอย เป็นแผ่นหินแกรนิตทรงกลมดูคล้ายดวงจันทร์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ม. หนา 6 นิ้ว บนแผ่นหินมีรูปแกะสลักที่ค่อนข้างดูยาก ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปพระเจดีย์สององค์และพระพุทธรูปสามองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งสลักเป็นรูปปลาคล้ายสัญลักษณ์ราศีมีน ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นต่างเชื่อกันว่าเป็นแผ่นหินศักดิ์สิทธิ์

    ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศให้ปราสาทนครหลวงเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2478 และทำการอนุรักษ์พระพุทธบาทสี่รอยในปี พ.ศ.2528 หลังจากนั้นได้การทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่14 มกราคม พ.ศ.2548 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นผู้ประกอบพิธีเปิด

    นอกจากความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมแล้วปราสาทแห่งนี้ยังคงเป็นสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าสนใจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งยังเป็นที่เคารพภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่นอีกด้วย

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วัดนครหลวง โทร. 0-3635-9922
    * * * * * * * * * * *

    ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...