"ผลไม้ในสวนธรรม" คติธรรมและอุบายภาวนาของครูิอาจารย์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 30 สิงหาคม 2008.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    (๒๔๐๒ - ๒๔๘๔)

    วิปัสสนานี้มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหาร ภาวนา ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือ มนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้า หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว

    อนึ่ง ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์คือ ศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐ จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีิวิตที่เป็นมานี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีิวิตทั้งภายใน ภายนอกมีมากต่างๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก เพราะกาลที่เปล่าว่างอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยีดยาวนานนัก บางคาบบางสมัย จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้น เราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย

     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    หลวงปู่มั่น ภูริทตโต
    วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
    (๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)

    ารบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก... การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจแล้วคือเห็นธรรม รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวลถึงใจตน แล้วคือถึงพระนิพพาน

    ใจนี้ คือ สมบัติอันล้ำค่า จึงไม่ีควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป คนพลาดใจคือคนไม่สนใจปฎิบัติต่อดวงใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ ก็คือผู้เกิดพลาดอยู่นั่นเอง

    (*)


    ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ
    จะแยกกันไม่ได้ หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ต้องอิงอาศัยกันอยู่ฉันใดก็ดี ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ก็อาศัยกันอยู่อย่างนั้น สัทธรรมสามอย่างนี้ จะแยกกันไม่ได้เลย

    (*)


    ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ "ตน" ว่าเสวย เป็นอันผิดทั้งนั้น

    (*)


    ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก

    (*)
     
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    พระราชวุฒาจารย์
    (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    (๒๔๓๑ - ๒๕๒๖)

    คนเราทุกวันนี้ เป็นทุกข์เพราะความคิด

    (*)


    ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา


    (*)


    การเริ่มต้นปฎิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฎิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน สงบแล้วคำบริกรรมนั้นหลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือ มีวิมุติิเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง

    (*)


    การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำ) การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฎิบัติ สิ่งที่เป็นผลของการปฎิบัติคือ ภูมิธรรม

    (*)


    สิ่งอันประเสริฐที่มีอยู่เฉพาะหน้าแล้วไม่สนใจ กลับไปหวังไกลถึงสิ่งที่เป็นแต่เพียงการกล่าวถึง เป็นลักษณะของคนไม่เอาไหนเลย ก็ในเมื่อมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์ กลับเหลวไหลไม่สนใจ เมื่อถึงศาสนาพระศรีอาริย์ก็ยิ่งเหลวไหลมากกว่านี้อีก

    (*)


    การปฎิบัติ ให้มุ่งปฎิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์ วิมาน หรือแม้พระนิพพาน ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฎิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฎิบัติไปจึงจะรู้เอง

    (*)


    ผู้ปฎิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้า ชาติหลัง หรือนรกสวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฎิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญาอย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้น ตามตำรา ผู้ปฎิบัติดีแล้วก็ย่อมได้เลื่อนฐานะของตนได้โดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฎิบัติดีแล้วในขณะนี้ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ

    (*)


    การไปหลายสำนักหลายอาจารย์ การปฎิบัติจะไม่ได้ผล เพราะการเิดินหลายสำนักนี้ คล้ายกับการเริ่มต้นใหม่เรื่อย เราก็ไม่ได้หลักธรรมที่แน่นอน บางทีก็เกิดความลังเล งวยงง จิตก็ไม่มั่นคง การปฎิบัติก็เสื่อม ไม่เจริญคืบหน้าต่อไป

    (*)


    หลักธรรมที่แท้จริงนั่นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม


     
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    พระราชนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศีษฎ์
    (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    (๒๔๔๕ - ๒๕๓๗)

    ตามกระแสพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าทุกข์เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้ ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหากเป็นของควรละ

    ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น

    (*)


    ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของความเพียรแล้ว อาจคิดว่าความขยันหมั่นเพียรในภารกิจต่างๆ มันเป็นทุกข์ลำบากเหนื่อยยากมิใช่หรือ จริงดังนั้นคนตกน้ำไม่ยอมว่ายมีหวังตายโดยถ่ายเดียว จะรอดมาได้แต่เฉพาะคนที่ว่ายน้ำได้หมายพึ่งตนเองเท่านั้น

    (*)


    ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสียแล้ว ใครๆ ในโลกนี้ จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน

    (*)


    สมาธินี้ ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของคนไว้ได้ ย่ิอมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็น "ฌาน" ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็น "สมาธิ" ได้เมื่อนั้น

    (*)


    เมื่ออยู่ใน "สมาธิ" นั่นเล่า ก็มิใช่ว่าจิตจะโง่เง่าซึมเซอะ แต่มันมีความผ่องใส พิจารณาธรรมอันใด ก็ปรุโปร่งเบิกบาน "ฌาน" ต่างหาก ที่ทำให้จิตสงบแล้วซึมอยู่กับสุขเอกัคคตาของฌาน ขออย่าได้เข้าใจว่า "ฌาน" กับ "สมาธิ" เป็นอันเดียวกัน ลากับม้าเป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน แต่ตระกูลต่างกัน

    แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความโง่อันสงบจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ยังดีกว่าความกล้าหลงเข้าไปจมอยู่ในกามทั้งหลายเป็นไหนๆ

    (*)


    หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์มิได้ตรัสว่า อนัตตาเป็นของไม่มีตนมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า ตนตัวคือ ร่างกายของคนเรา อันได้แก่ ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งที่เป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มีดังนี้ต่างหาก ...

    เมื่อสรุปให้สั้นๆ แล้ว ... ผู้ที่ยังยึดอัตตาอยู่ พระองค์ก็สอนให้ประกอบภารกรรมเพื่อประโยชน์แก่อัตตาโดยทางที่ชอบที่ควรไปก่อน จนกว่าผู้นั้นจะเห็นชัดแจ้งด้วยตนเองว่า สิ่งที่เราถือว่าอัตตาอยู่นั้น แท้จริงแล้วมิใช่อัตตา มันเป็นเพียงมายาหรือของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... แล้วพระองค์จึงสอน "อนัตตา" ที่แท้จริง

    (*)


    การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้น คือ "ปัญญาชั้นต้น"

    (*)


    คนใดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโสหรือฉกาจเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่

    (*)


    พระพุทธศาสนานี้สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุดหมดสิ้นสงสัยหมดเรื่อง ไม่เหมือนวิชาชีพอื่น เขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด... จึงว่าพระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้น ทำไมถึงที่สุด...

    (*)


    แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์

    (*)


    ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

    (*)
     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    (๒๔๓๑ - ๒๕๒๖)

    ให้น้อมเข้ามาค้นคว้ากรรมฐาน ๕ นี้ เกศา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทันตา ฟัน, ตโจ หนัง ตะจะปริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ปูโรนานัปปการัสสะอสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ นี้แหละ ลืมตาขึ้นมา เห็นตั้งใจทำอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ทำวันเดียว เดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่ง ทำเอาตาย เอาชีวิตเป็นแดน

    (*)


    สนิมเกิดจากเหล็กย่อมกัดเหล็กฉันใด
    ความชั่วเมื่อเกิดแล้วย่อมทำลายตัวเอง

    (*)


    จงพยายามให้เรากินกาล อย่าให้กาลกินเรา
    วันคืนล่วงๆ ไป อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบเร่งทำความเีพียร

    (*)


    ธรรมมีอยู่ แต่ขาดอุบายปัญญา
    ก็นั่งโง่นอนโง่อยู่อย่างนั้นเอง

    (*)


    ธรรมแม้จะลึกซึ้งคัมภีร์ภาพเพียงไหน
    ไม่เหลือวิสัยของบัณฑิตผู้มีความเพียร

    (*)

     
  6. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    (๒๔๓๐ - ๒๕๒๘)

    เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ รู้ทันมันเดี๋ยวนี้ มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ

    ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่๋ได้คุมมันหละ ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ รู้ทันก็ดับ รู้ทันก็ดับ คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ พอใจไม่พอใจก็ดับลงทันทีที่ตัวสติ

    (*)


    ให้ภาวนาเอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จงพากันละอุปาทานทั้งห้า อนิจจังทั้งห้า ทุกขังทั้งห้า อนัตตาทั้งห้า ละรูปธรรม นามธรรมนี้ วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ วางไม่ได้มันก็ยิึดเอารูปธรรม นามธรรมเป็นตัวเป็นตน มันก็เป็น ธรรมเมา อยู่นั่นเอง

    (*)


    กามนี้มันหมุนรอบโลก มันเป็นเจ้าโลก กามกิเลสนี้แหละที่ทำให้เกิดสงครามต่อสู้กัน เกิดก็เพราะกาม รักก็เพราะกาม ชังก็เพราะกาม กามกิเลสนี้อุปมาเหมือนธารน้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ไม่มีประมาณไหลลงสู่ทะเลไม่มีเต็มฉันใดก็ดี

    กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด

    (*)
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    (ท่านพ่อลี ธัมมธโร)
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    (๒๔๔๙ - ๒๕๐๔)

    เมื่อมนุษย์เป็นคนไม่ดี แม้วัตถุเหล่านั้นจะเป็นของดีก็ตาม มันจะกลับกลายเป็นโทษแก่ปวงชนได้เหมือนกัน ถ้ามนุษย์มีธรรมประจำใจ สิ่งทั้งหลายที่ให้โทษก็จะกลายเป็นประโยชน์

    (*)


    ถ้าใครไม่จริงกับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็ไม่จริงกับผู้นั้น และผู้นั้นก็จะรู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ได้...

    เหตุนั้น ท่านจึงสอนให้ทำสิ่งใดด้วยการทำจริง ทานก็ทานให้จริง ศีลก็ศีลให้จริง ภาวนาก็ภาวนาให้จริง อย่าทำเล่นๆ แล้วผลแห่งความจริงก็ย่อมจะต้องเกิดจากการกระำทำเหล่านี้ ไม่ต้องสงสัย

    (*)


    ถ้าใจของเราเป็นโทษเสียแล้ว จะไปทำบุญทำทานอะไรก็ไม่ได้ผล เหมือนกับเราขนปุ๋ยไปใส่ต้นไม่ที่ตายแล้ว

    (*)


    พวกเราทั้งหลายไม่มีความสัตย์ความจริงต่อตัวเอง จึงมิได้ประสบสุขอันแท้จริงเหมือนอย่างพระพุทธองค์ เราบอกกับตัวเองว่าอยากได้ความสุขแต่เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อนๆ เรารู้ว่าิสิ่งนั้นๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป นี่แหละเป็นการทรยศต่อตัวเอง

    ร่างกายนั้น เขาวางเราและหนีเราไปทุกๆ วัน แต่เราสิไม่เคยหนีเขา ไม่ยอมวางเขาเลยสักที เราติดเขาทุกๆ อย่าง เหมือนเรากินข้าว เราก็ติดข้าว แต่ข้าวมันไม่เคยติดเรา เราไม่กินข้าว ข้าวก็ไม่ร้องไห้สักที มีแต่เราติดมันฝ่ายเดียว

    (*)


    สุขโลกีย์ มันก็ดีแต่ใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ เท่านั้น เหมือนข้าวสุกที่เราตักใส่จานใหม่ๆ ยังร้อนๆ ควันขึ้น ก็น่ารับประทาน แต่พอตักไว้นานจนเย็นชืดก็จะกินไม่อร่อย ยิ่งทิ้งไว้จนแข็งเป็นข้าวเย็น ก็ยิ่งกลืนไม่ลง พอข้ามวันก็เหม็นบูด ต้องเททิ้ง กินไม่ได้เลย

    (*)


    มนุษย์นั้นโง่ ชอบกลืนกินแต่อารมณ์เลว ใช่แต่เท่านั้น เรื่องที่ไม่มีความจริงก็ยังกลืนเข้าไปอีก ของดีก็ไม่อยากจะสนใจ ส่วนของไม่ดีอุตส่าห์ไปกระแด่วๆ เอาใจไปจดไปจำ เนื้อก็ไม่ได้กิน หนังก็ไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ

    (*)


    คนไม่มีธรรมะ ก็เหมือนกับคนที่ไม่มีบ้านอยู่ ต้องไปนั่งตากแดด ตากฝน และตากลม อยู่ทั้งกลางวันกลางคืน

    (*)


    ทำให้มันรู้ว่า อ้อ...อ้อ... ขึ้นมาในตัว อย่ามัวไปรู้แต่ โอ้...โอ้... ตามเขาพูด

    (*)


    สรุปแล้วความไม่ประมาทคือ ความไม่ตายใจ ไม่นอนใจ ไม่ไว้ใจในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ส่วนใดที่เป็นความดีควรได้ควรถึง ให้มีความพยายามสร้างสรรค์ขึ้นให้มีในตน บุคคลผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

    (*)



     
  8. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  9. t30

    t30 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2008
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +3
    อยากทราบว่าจะหาซื้อหรือขอรับได้ที่ไหนบ้างครับ อยากศึกษาคำสอนดีๆของพ่อแม่ครูอาจารย์มากเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...