สมาธิในบ้านทุกท่านทำได้จริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บดินทร์จ้า, 17 มิถุนายน 2008.

  1. พรตเรือนญาณเมตไตรย

    พรตเรือนญาณเมตไตรย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +111
    ผมก้อฝึกเองที่บ้านด้วยครับ ยังไม่ก้าวหน้าเลยครับ ฝึกมาได้ประมาณ 2 อาทิตย์เศษๆ แค่เกิด ปิติ ก้อหลุดสมาธิแล้วครับ แหะๆๆ
     
  2. yawamon

    yawamon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +219
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ ถ้ามีโอกาสรบกวนมาเล่าประสบการณ์อีกนะคะ
     
  3. Bhutan

    Bhutan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +167
    จะรักษากระทู้นี้ไว้ครับ
     
  4. promwikorn

    promwikorn สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +24
    เป็นกำลังใจให้อีกแรงครับ ติดตามอ่านอยู่นะครับ
     
  5. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    :z12
    4. จดบันทึกและสังเกตความผิดปกติของตัวเองและของจิต สำหรับผู้เขียนจะบอกเล่าประสบการณ์ แบบรวบรัด เพื่อไม่ให้ยาวเกินไปนะครับ อาจจะเหมือนหรือ ไม่เหมือนใครบ้างก็ถือว่าเป็นประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง ผู้เขียนฝึกนั่งสมาธิในขณะที่ข้างบ้านเปิดทีวีเสียงดังมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ และรถราก็วิ่งกันหนวกหูจนเกิดเป็นอารมณ์ชินชา เพราะอยู่ติดถนน แต่รถราก็ไม่มากมายเหมือนในเมืองหลวงครับ สรุปคือเสียงไม่เป็นอุปสรรค์ในการทำสมาธิครับ
    ซึ่งประสบการณ์ส่วนใหญ่ของผู้เขียนนี้ จะเป็นการเฝ้าสังเกตจิตโดยตรง จึงไม่มีคำศัพท์มากมาย เป็นการเข้าใจและอธิบายแบบที่ตัวเองถนัดครับ<o></o>
    ประสบการณ์ที่ 4ตอนเริ่มนั่งใหม่ๆ ความทรงจำเก่าๆจะกลับมา เคยทำร้ายหรือทำกรรมใดๆไว้ในชาตินี้ ความจำจะผุดขึ้นมา ให้เราทำการแก้ไข หรือ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ในปัจจุบันชาตินี้ให้เรียบร้อย แล้วสมาธิของท่านจะเดินต่อไปอีกขั้นหนึ่ง เปรียบเหมือนการเดินขึ้นบันไดไปทีละขั้นครับ จะเห็นว่าในขั้นนี้นั้น ศีล5 เริ่มจะมาแล้ว ความรู้สึกผิด ชอบ ชั่ว ดี ทำให้ท่านกลัวบาป มากขึ้นท่านจะเริ่มเข้มงวดระมัดระวังเรื่องศีลมากขึ้น และอยากจะทำบุญทำทาน มากๆขึ้น ครับ<o></o>
    ประสบการณ์ที่ 5จิตเริ่มห่างจากใจขึ้นมาอีกนิดหนึ่งเดินทางเข้าสู่ ลมหายใจเป็นฐานที่ตั้งแห่งใหม่ คือเหนือสะดือ <st1:metricconverter 0="" alt=" border="></st1:metricconverter>2 นิ้ว ตอนนี้ท่านจะยังไม่สามารถรู้ได้หรอกครับ แต่เริ่มจะมีสมาธิมากขึ้น ความคิดความอ่านจะช้าลงมากกว่าเดิมอีกนิดหนึ่ง แต่เมื่อได้ยินเสียง หรือ ของหล่น หรือจะเป็นการลั่นของเตียงไม้หรือเหล็ก ซึ่งเสียงที่ได้ยินนี้เกิดจากห้องนอนที่เปิดแอร์ หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปภายในห้อง จิตจะวิ่งเข้าหาใจ ทำให้เกิดการสั่นไหวของใจ ซึ่งก็เป็นธรรมดา ของจิต บางทีก็เกิดขนลุกขนชัน บางทีเหมือนร่างกายสูบฉีดเส้นเลือดกระจายไปทั่วตัว คือว่าเวลาเริ่มเป็นสมาธินั้น จะเริ่มรู้สึกว่าพลังงานต่างๆที่อยู่ภายในร่างกายของเรา พากันไหลมารวมอยู่ที่จุดๆหนึ่งคือใจ ครับ
    ประสบการณ์ที่ 6เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิมากขึ้น อีกระดับหนึ่ง จะรู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ที่หน้าอกซ้าย ใกล้ๆหัวใจ ( จิตเริ่มก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนใกล้ๆใจ ) ในขั้นนี้จะเห็นว่า คำว่าจิตใจ มาอย่างไร มาจาก จิต+ใจ ใช่หรือไม่ อันนี้ผมคิดเอาเอง (เมื่อใดที่จิตและใจอยู่รวมกันความนึกคิดจะรวดเร็วอารมณ์จะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายต่อ สภาพแวดล้อม จากการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และผัสสะ)เมื่อท่านมาถึงตรงนี้แล้ว อารมณ์ก็เริ่มช้าลง เวลาหลับตาทำสมาธิจะไม่มืดเหมือนหลับตาช่วงแรกๆ เริ่มจะสว่างเหมือนใครนำไฟฉายมาส่องหน้า แต่แค่พอมองเห็นแบบลางๆ <o></o>
    ประสบการณ์ที่ 7 เริ่มจะมองเห็นเป็นรูปร่าง วัตถุ คน สัตว์ หรือ สิ่งของ บ้างแล้ว ส่วนภาพที่เห็นจะชัดมากหรือน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่กำลังแห่งสมาธิ ให้ท่านเพิกเฉยเสีย แต่โดยปกติ นักปฏิบัติใหม่จะทำกันไม่ค่อยได้หรอก ดังนั้นผมจึงต้องใช้การนับลมหายใจ มีภาพให้เห็นก็ดูไป เมื่อใดนับผิดก็เริ่มต้นนับใหม่ นับถึง108 จำนวน 3 รอบ แล้วเปลี่ยนอิริยาบถ จาก นั่ง เป็น ยืน เป็น เ ดิน แล้วก็นอน เพราะจะได้ไม่ต้องสนใจกลับภาพต่างๆที่เห็น อันนี้ผมฝึกแบบอาณาปานุสสติ ดูลมหายใจเป็นหลักนะครับ ถ้าผมไม่ใช้วิธีนี้ สายตาผมก็จะตามดูภาพเหล่านั้น แล้วทำให้เกิดความเครียด จะมึนหัว เพราะยิ่งสนใจหรือตามดู ภาพนั้นก็ยิ่งหายไป สุดท้ายท่านก็หลุดจากสมาธิ หลุดจากองค์ภาวนาครับ ภาพที่ผมเห็นบ่อยที่สุดคือ พระนั่งกรรมฐานอยู่ข้างหน้า บางครั้งก็มีอุบาสิกาใส่ชุดขาวนั่งอยู่ข้างๆด้านขวามือ แต่ผมก็ไม่สนใจ นั่งนับลมหายใจไปเรื่อยๆครับบางทีนั่งๆไปความสว่างเกิดขึ้นในจิตพร้อมกับตัวเอง อีกร่างหนึ่งนั่งอยู่ ก็เลยลองขยายตัวเองให้ใหญ่ขึ้น มันก็ใหญ่ซะท่วมห้องเลย ทำให้มันเล็กลง ก็เล็กซะน้อยกว่ามดเสียอีก แต่พอจะแยกออกเป็นชิ้นส่วน เจ้าหมาน้อยที่เลี้ยงไว้ ดันมาถูกตัวเสียนี่......น่าเสียดาย..... จิตแตกกระจายเหมือนฝอยน้ำไปทุกอนุมูลของรูขุมขนเลย ดังนั้นน่าจะเป็น
    คติเตือนใจ ให้นักปฎิบัติธรรมควรอยู่ในห้องที่มิดชิด สัตว์เลี้ยงหรือบุคคลไม่สามารถเข้าไปรบกวนได้นะครับ ถ้าหากไม่ระวัง ระวังสติจะไม่อยู่กลับตัวนะครับ <o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2009
  6. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ประสบการณ์ที่8องค์ภาวนาหาย และหูเริ่มได้ยินเสียงรอบข้างเบาลงตอนแรกๆก็งงๆเหมือนกัน เป็นอยู่หลายวัน แปลกใจ ว่าหายไปได้อย่างงัย ก็กลับมาคว้าองค์ภาวนาอีก แล้วก็หายไปอีก อาการเป็นอย่างนี้ ตลอดทั้งอาทิตย์ ก็เลยรำคาญหยุดทำสมาธิ นานหลายเดือน พร้อมกับทำบุญทำทานให้มากขึ้น เพื่อจะได้ผ่านขั้นนี้ไปให้ได้ แล้วก็หาข้อมูล เพิ่มเติม จนได้ข้อสรุป ว่านั้นเป็นขั้นตอนของสมาธิ สุดท้ายก็เลยไม่สนใจ มันจะหายไปตอนไหนก็ช่างมัน ไม่ต้องสนใจ
    เมื่อองค์ภาวนาหาย ขอทุกท่านปล่อยไปเลย อย่ากับมายึดองค์ภาวนาอีก แต่เปลี่ยนเป็นเฝ้าา้สังเกตลมหายใจแทน แล้วสมาธิจะเดินก้าวหน้าขึ้นครับ
    ผมก็ฝึกสมาธิต่อไปเรื่อยๆครับ โดยไม่สนใจสิ่งใดๆ<o></o>

    การหายของ องค์ภาวนา ถ้าท่านมีความคล่องใน ฌาน แล้ว ท่านก็จะรู้ว่าลมหายใจหายไปช่วงไหน ถ้าหากจะกลับมาคว้าองค์ภาวนาอีกครั้ง ท่านต้องสามารถ ต่อลมหายใจได้ถูกจังหวะ ไม่ผิด พลาด หรือ ถ้า........ท่านนอนหลับโดยกำหนด พุธ-โธ อยู่ ตอนเช้าตื่นมา ต้องสามารถต่อลมหายใจได้ไม่ผิดพลาด ถึงจะเรียกว่ามีความคล่องของ ฌาน อย่างสมบูรณ์ ครับ
    (องค์ภาวนา ก็คือ คำบริกรรมภาวนา เช่น พุธ โธ เป็นต้น)
    ประสบการณ์ที่ 9 ร่างกายโยกโคลง โอนเอนไปมา(เป็น 1 ในอาการของปิติ)หรือนั่งแล้วตัวเอียงข้างใดข้างหนึ่ง บางทีก็ไปข้างหน้า บางทีก็ไปข้างหลัง อันนี้ผมใช้วิธีแก้ไขดังนี้ คือ สังเกตจิต โดยผมเห็นว่า เมื่อตัวโอนเอน ขณะเดียวกันจิตก็แก่วงไปด้วย ผมก็เลยบังคับจิตไม่ให้มันดิ้น อาการโอนเอนก็หายไป ซึ่งอาการนี้ผมจะเป็นไม่นานหรอกครับ
    หากมีคำถามที่ว่า สามารถบังคับ จิตได้หรือ
    ข้าพเจ้า ขอตอบว่าได้ครับ เพราะโดยปกติเราทำสมาธิ เราก็บังคับจิตอยู่แล้ว
    แต่มีวิธีทำง่ายๆ คือ บังคับตัวให้อยู่นิ่ง แล้วสังเกตุดูจิตที่มันแกว่ง แล้วเราก็ไปบังคับจิตอีกที ทำบ่อยๆ มันก็นิ่งเอง

    หากมีคำถามที่ว่า แล้วตัวเอียงละ
    วิธีของผมคือเปลี่ยนทิศทางการนั่ง หากอยู่ทิศเหนือ ก็เปลี่ยน ไปทิศตะวันออก
    เพื่อไม่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก เนื่องจากร่างกายเรากำลังปรับความสมดุลครับ

    ประสบการณ์ที่ 10 ตัวชักจะเบา ตัวตนไม่มีหรือ แขนหาย ขาหายหรือ มีน้ำตาไหล(เป็น 1 ในอาการของปิติ) จิตเริ่มเข้าสู่ฐานที่ตั้งคือเหนือสะดือ 2 นิ้ว ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของตัวเราเอง ทำให้เกิดสภาวะสมดุลของสรีระร่างกาย พลังงานทุกส่วนของร่างกาย จะไหลเหมือนสายน้ำมารวมกัน ที่ฐานเหนือสะดือ 2 นิ้ว ทำให้ท่านนั่งได้สบาย ไม่ปวดไม่เมื่อย นั่งได้นานขึ้นครับ อันนี้ถ้าจะพิจารณาดีๆอาการอันเกิดจากปิติ นี้ มีอาการ 5 ข้อด้วยกัน สามารถอ่านได้ในหลายกระทู้ความครับ สำหรับผู้เขียนเมื่อปิติเกิด สามารถนั่ง ได้นานขึ้น จาก 1 ทุ่มยันเที่ยงคืน หรือ ตีสอง จนกระทั้งแฟนน้อยใจทนไม่ไหว บอกให้นั่งไม่เกิน 5 ทุ่มก็พอแล้ว
    ในขั้นนี้นั้นผมเริ่มจะใช้วิปัสสนาเข้ามาพิจารณาแล้ว โดยเริ่มจาก หัว จดเท้า ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งด้านข้าง ด้านหน้า ด้านหลัง ไล่ตั้งแต่ผม ลงมา ถึงเท้า แล้วไล่กลับขึ้นไป จากเท้าถึงผม แล้วก็เริ่ม พิจารณา ตามอริยสัจ 4 ทั้งตัวเอง และบุคคลรอบข้าง และ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ บางครั้งพิจารณาไปจน เบื่อทีวี ไม่อยากดูหนังและละคร เบื่อชีวิต เบื่อโลก บางครั้งก็พิจารณา การเกิด แก่ เจ็บ ตาย พิจารณาคนบ้า ว่าเป็นอย่างไร .....เผื่อว่าวันหนึ่งเกิดบ้าจะได้ รู้ตัวก่อน พิจารณาธาตุขันธ์ ดิน น้ำ ลม ไ ฟ ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเพลินดึ ครับ

    สำหรับ ปิตินั้นผมเป็นหมด ทั้ง 5 ข้อครับ เพราะผมนั่งบ้าง หยุด บ้าง บางทีก็ อาทิตย์ละ 2-3 วันบางช่วงก็เป็นเดือนนั่งซักครั้ง ถ้าหากจะนั่งแบบจริงๆจัง นั้นผมจะ นั่งช่วงเข้าพรรษา ครับ ปีแรกก็ 15 วัน วันละ1 ชั่วโมง ปีสอง 30 วัน วันละ2 ชั่วโมง ปีที่สามนี้ผมเริ่มนั่งตั้งแต่ หลังปีใหม่ มาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ ทำสมาธิ 2-3 ชั่วโมง ต่อวัน บางจังหวะก็ผ่อนบ้าง บางจังหวะก็เร่ง บ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความตรึงเครียด ต่อสมอง ต่อธาตุขันธ์ ต่อคนภายในครอบครัว ครับ
    อาการของปิตินี้ จิตจะทรงปิติอยู่ได้นาน บางทีก็เป็น อาทิตย์ บางทีก็เป็นเดือน หรือมากกว่า ท่านจะ สังเกตความผิดปกติในร่างกายได้ชัดเจน ขึ้น แต่ไม่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันหรอกครับสบายใจได้ เพียงแต่เวลาที่ท่านจะออกจากการทำสมาธิ ขอให้ท่านค่อยๆไล่ลมหายใจจากละเอียดคือเบา แล้วค่อยๆไล่ขึ้นมาจนกระทั่งลมหายใจเป็นปกติ ครับ สาเหตุก็เพราะว่า เจ้าตัว จิตนี้มันเพลินอยู่กลับบ้านใหม่ของมันคือ ที่ฐานเหนือสะดือ 2 นิ้ว ( ถ้าบ้านเก่าของจิต...... ก็อยู่รวมกับใจ) เจ้าจิตนี้มันจึงมีความรู้สึกช้า..... กว่าความคิดของเรา..... ความคิดที่....จะออก....จากสมาธิ อันนี้จะอธิบายให้พอเข้าใจก็คือ.... เวลาเราโดน.... มีดบาท หรือ เกิดอุบัติเหตุ ปากก็ร้องอุทานก่อนแล้ว ว่า โอ้ยเจ็บ !” แต่บาดแผลก็ยังชาๆ..... อยู่ แต่อีกสักพักหนึ่งอาการเริ่มจะเจ็บจริง เริ่มปวดจริง แต่ที่จิตมันไวกว่าแสง ไวเท่าความคิด ก็ต่อเมื่อมันอยู่ในอากาศ(อยู่ในรูปของวิญญาณ)ขอให้เข้าใจดังนี้ด้วยครับ ถ้าหากจิตยังอยู่ในตัวแล้วผมว่ามันช้ากว่าความคิดเมื่ออยู่ในขั้นขององค์ปิติครับ
    ข้อห้ามในขั้นนี้
    1. บางคนคิดว่าเก่งแล้ว สงบแล้ว จึงเที่ยวไปคุยกับคนโน้นคนนี้ ต้องการสอนคนโน้นคนนี้ ผมขอเตือนจะกลายเป็นวิปัสนูกิเลสแทนครับ

    2.จะมีความสงบมากและจะทรงอาการอยู่ทุกเวลา จนทำให้หลงผิดคิดว่า ตัวเองถึงที่สุดแล้ว ง่ายจัง เผลอๆก็คิดว่าเป็นพระอรหันต์บ้างก็มี ขอให้ระวังช่วงนี้ด้วย หากไม่ใช้วิปัสสนาช่วย รับลองหลงทางแน่นอน
    ประสบการณ์ที่ 11 จิตออกจากร่างโดย ไม่ตั้งใจ ก็นอนทำสมาธิอยู่ โดยตั้งเป้าหมายว่าคืนนี้จะไม่หลับ แต่พอจะเปลี่ยนจากนอนเป็นนั่ง เอ้า ทำไมกายหยาบมันยังนอน ขี้เกียจอยู่นั่นล่ะ ทำอย่างไรดีล่ะ คราวนี้ ซวยแล้วทำอย่างไรดีหน่อ เรียกแฟนแฟนก็ไม่ได้ยิน คือว่าผมทำสมาธิอยู่หน้าห้อง แฟนนอนอยู่ในห้อง ครับ จะหยิบสิ่งของปาไปที่ประตู ก็ทำไม่ได้ มีแต่หยิบความว่างเปล่า ตายแน่ๆ คิดแค่นั้นเหละครับ จิตเข้าร่างเอง โดยอัตโนมัติ แล้วผู้เขียนก็หยุดทำสมาธิไปซักพักใหญ่ จนกระทั้งได้อ่านหนังสือ เล่มหนึ่งชื่อว่า อ่านก่อนตาย ก่อนที่จะเสียดายที่ไม่ได้อ่าน เล่ม 1 ของคุณแม่อุบาสิกา จันทาฤกษ์ยามจึงเกิดแรงบันดานใจให้ตัวผู้เขียน ลุกขึ้นมาฝึกทำสมาธิต่อจนถึงทุกวันนี้ พร้อมกับพลังใจที่เต็ม 100 ยอมตายชาตินี้ชาติเดียว ชาติหน้าเราจะไม่มีการเกิดอีก แล้วมาวันหนึ่ง เกิดความฝันหรือนิมิต ไม่รู้นะคิดกันเอาเอง ช่วงเวลา ตีหนึ่งถึงตีสอง เห็นหลวงปู่บุญมี ท่านบอกชื่อท่านนะครับ พร้อมกับบอกตัวผู้เขียน ว่าชาติก่อนเราเกิดเป็นพรหม มีฤทธิ์มาก แต่ทำผิดกฎเลยต้องมาเกิดในเมืองมนุษย์ แต่ไม่ต้องแสวงหาฤทธิ์นะ ให้เดินอยู่สายกลาง พร้อมกลับปฏิบัติตัวให้อยู่ในพระศาสนา ถือศีล 5 ไว้ให้มั่น หลวงพ่อจะให้พระพุทธรูปไว้องค์หนึ่ง องค์เล็กๆสีทอง(อันนี้น่าจะเป็นคติเตือนใจได้นะครับ อย่าหลงตาม เราทำสมาธิเพื่อต้องการความสงบของจิต อดีตชาติจะเป็นเช่นไรช่างมัน ตอนนี้เราเกิดเป็นมนุษย์ มีเลือด มีเนื้อ ยัง มีทุกข์อยู่ ) สำหรับตัวผู้เขียนก็ไม่ค่อยจะสนใจเท่าไร เพราะคิดอยู่เสมอว่าตนเอง คือมนุษย์ ก็ฝึกสมาธิไปเรื่อยๆ แต่จิตก็ยังออกจากร่างอย่างนี้อีก 2 ครั้ง แต่เริ่มชินแล้วครับ พอถึงเวลาจิตกลับร่างเอง ครับ อ้อลืมบอกไป การออกของจิต นั้นก็มีอาการ บอก แต่ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดี อธิบายไม่ถูก ....... เหมือนกลับอะไรที่มันจะแยกออกจากตัวนะครับ
    ข้อคิด การที่จิตหรือวิญญาณออกจากร่างนั้น อย่าไปกลัว ให้เราคิดพิจารณาว่า โอ้หน่ออีกไม่นานเราก็ย่อมเป็นอย่างนี้(ตาย) นี่ร่างกายอันหยาบของเรา นี่คือวิญญาณของเรา เราได้เห็นแล้วว่าเมื่อเราตายไป เราไม่สามารถนำอะไรติดตัวไปได้เลย เจ้าร่างกายหยาบของเราที่เราดูแลรักษามาเป็นเวลานานแสนนาน สุดท้ายก็ไม่ได้เป็นของเรา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2009
  7. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ประสบการณ์ที่ 12 จิตตกภวังค์ เมื่อองค์ภาวนาหายแล้วเริ่มจะเคยชินแล้ว คราวนี้มาแบบใหม่อีกแฮะ งงอีกแล้วสิเรา จิตตกภวังค์ ก็สงสัยและตามดูมาเป็นอาทิตย์นั่งทีไรตกภวังค์ทุกที มันวูบเหมือนนั่งรถขึ้น ลุก ระนาด หรือ ตกหลุม ก็เลยหยุดไปอีก พร้อมกับทำบุญ-ทำทาน ให้มากขึ้น เพื่อจะได้ผ่านขั้นนี้ไปให้ได้ จนกระทั้งได้สอบถามพระอาจารย์แถวบ้าน แต่กว่าจะมีเวลาไปสอบถามท่านก็เป็นเดือนเหมือนกัน ท่านก็บอกว่า อะไรมันจะเกิดก็ให้มันเกิด การดูหนังซักเรื่องหนึ่ง ถ้าดูตอนต้นแล้วไม่ดูตอนปลาย หนังจะรู้เรื่องได้อย่างไร จะจบอย่างไร พระเอก กลับ นางเอง จะเป็นเช่นไร จึงเริ่มทำสมาธิใหม่ อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น อยากดูตอนจบของหนัง ก็ฝึกต่อไปเรื่อยๆครับ จนกว่าจะครบฌานทั้ง4
    หากมีความชำนาญแล้ว อันนี้จะสังเกตจากเสียงที่หายไปพร้อมกลับแก้วหูดัง วิ้งๆ แล้วดับ
    ข้อคิด อาการจิตตกภวังค์นั้นจะทรงอยู่ได้ซักระยะหนึ่ง อุปมาดังบุคคลที่ขับรถไปข้างหน้าแล้วไม่รู้ว่าข้างหน้ามีหลุมอยู่ เบรกไม่ทัน ก็ตกหลุมนั้น แต่พอมารอบ 2 เมื่อเป็นเส้นทางเดิมเราก็เริ่มลดความเร็วลง แต่ยังจำตำแหน่งหลุมไม่ได้ แต่ก็เบากว่าเดิมเพราะเราชะลอแล้ว แต่พอมารอบที่ 3 เราสังเกตรู้แล้วว่าตำแหน่งนี้ มีหลุม เราก็หลบเสีย ก็ไม่ตกภวังค์ เป็นดังนี้แล
    ประสบการณ์ที่ 13เริ่มจะมองเห็นจุดแสงสี หรือ วงแสงสีต่างๆอันนี้จะเป็นอยู่นานกว่า ที่เป็นรูปร่าง วัตถุ คน สัตว์ หรือ สิ่งของ ผมก็ใช้วิธีแยกออกไปเล่นกสิน 10 ครับ ผมเลือกอันแรก เตโชกสิน (กสินไฟ ) ด้วยเพราะความขี้เกียจ....ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ก็คิดเอาเอง อะไรที่เป็นไฟที่พอจะเป็นนิมิตได้ บังเอิญมองเห็นไฟหม้อหุงข้าว ก็นำมาเป็นกสินซะเลย หาง่ายดี แต่ไม่เกิดนิมิตเสียที เพราะมันเล็กไปครับ ในเมื่อไม่เกิดนิมิต ทำอย่างไรดีล่ะ ก็เลยเพ่งไฟหม้อหุงข้าวนานๆขึ้น เพื่อจะได้ติดตา แต่ที่ไหนได้ ผลที่ได้เกินคาด ครับ กลับกลายเป็นใบหน้าของเด็กผู้ชายน่ารักมัดผมจุก ยิ้มหวานให้เห็น ตอนแรกก็งงๆมาได้อย่างไร ขยี้ตาดูอีกทีให้แน่ใจ อ้าวยังอยู่แฮะทำงัยดี ก็เลยนอนดีกว่า ไม่ทำแล้ว อาจจะทำอะไรผิดพลาดแน่ ๆ ( น่าจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดีของความมักง่าย ตำราท่านก็เขียนไว้ให้ใช้ขนาดวงกสินเท่าไร ก็ไม่ยอมทำตาม กลับขี้เกียจมักง่าย ก็เลยเจอของดีไป สนุกดีครับ ) จากนั้นก็เว้นไปซักระยะหนึ่ง ก็ไปเจอหนังสือการฝึกกสินไฟ ของ อาจารย์ บูรพา ผดุงไทย โดยการฝึกเพ่งเทียน เป็นนิมิต ..ฝึกไปซักระยะหนึ่ง เริ่มจะเล่นกลับไฟเทียนได้แล้ว การหายใจเริ่มจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับเปลวเทียน สามารถเบาไฟลงได้ และทำให้ไฟรุกสว่างขึ้นกว่าเดิมได้ แต่ก็ไม่ถึงกลับ ดับไฟด้วยจิต และจุดไฟด้วยจิตได้ แค่เล่นเพลินๆแค่นั้นเอง จากนั้นก็ลองเล่นกสินแสงสว่าง อาโลกกสิน (ดูพระอาทิตย์ ช่วงขึ้นยามเช้า หรือ ช่วงเย็น ๆ ดูในขณะที่ท้องฟ้าสีส้มอ่อนๆ ) ก็ดีครับนิมิตลูกใหญ่ดีจำง่ายดี ลืมตาในที่มืดหรือในที่ไม่มีแสง ยังเห็นติดตาเป็นนิมิต สวยดีครับ ทุกวันนี้ก็ยังเห็นตลอด หมายเหตุ อันนี้ไม่แนะนำให้เล่นนะครับ อาจทำให้ตาบอดได้ และอาจทำให้ธาตุไฟแตกได้ครับ จนกระทั้งต้องมาหยุดลง เมื่อฝันหรือนิมิต ไม่รู้นะคิดเอาเอง ช่วงเวลาตีหนึ่ง ถึง ตีสอง เห็นหลวงปู่เจี๊ยะท่านมาบอกให้เลิกเล่น เพราะมันจะเป็นอันตรายต่อตนเอง และครอบครัว หรือถ้าหาก เองฝึกไปจนกระทั้งเหาะหรือแสดงฤทธิ์ได้ แล้ววัดวาอารามจะมีใครมากราบไหว้นับถือพระพุทธศาสนา คิดดูให้ดี นะ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงรับปากท่านว่าจะเลิกเล่น กสิน แล้วหันไปฝึกต่ออาณาปานุสสติดูลมหายใจ โดยไม่สนใจแสงสี และภาพใดๆอีกเลย จนกระทั้ง.... ลมหายใจละเอียดมากจนแทบไม่รู้ว่าหายใจ อยู่
    เมื่อมีความคล่องในฌาน 4 แล้วสามารถ แยกไปเล่นกสินทั้ง 10 ได้ง่าย และเป็นไวมาก จริงๆครับ เพราะผมลองเล่นมาแล้ว แค่จับวาโยกสิน ก็เกิดภาพวัตถุที่ต้องลม นิมิตใสแจ่วไม่มีตำหนิ แต่ผมจะไม่เล่นอภิญญาครับ เพราะผมมีแค่ศีล 5 ครับ ท่านห้ามไว้
    ข้อคิด
    1. การเพ่งกสินเวลานานๆไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ควรมองแค่แป๊บเดียว แล้วพยายามนึกภาพให้ออก ส่วนสีสัน จะเป็นสีอะไรช่างมัน และให้ทรงอยู่ได้นาน
    ขยายเล็กหรือใหญ่ได้ไปซ้ายหรือขวา ข้างบนข้างล่าง ครับ แล้วให้ภาพอยู่นิ่ง
    แล้วก็จะปรากฏเป็นสีขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นใสดังแก้ว แล้วก็เป็นประกายเพชร
    2.ผลข้างเคียงอันเกิดจากการฝึกกสินไฟ คือ อุณหภูมิ ในร่างกายจะสูงขึ้น คล้ายคนเป็นไข้ และจะร้อนลูกตา ขอให้ท่านที่ฝึกควรถ่ายพลังงานออกไปบ้างโดยการนำขาจุ่มน้ำ แล้วหลับตาไล่ความรู้สึกจากบนลงล่าง หรือดูดพลังงานความเย็นของน้ำขึ้นมาจากขาขึ้นบน หรืออีกวิธีหนึ่ง ยืนบนพื้นดินหรือดันมือไปพิงกับต้นไม้ใหญ่ แล้วกำหนดสมาธิ ดูดหรือถ่ายพลังงานที่เราต้องการหรือไม่ต้องการออกไป ครับ หรืออีกวิธีหนึ่ง อาบน้ำ แล้วทำตามที่เคยบอกก่อนหน้านี้

    ประสบการณ์ที่ 14 ลมหายใจหายไป อุเบกขาหยาบ กลาง ละเอียดเกิดขึ้น<o></o> (ฌาน 4)
    (สำหรับตัวอุเบกขานั้น ขอให้เข้าใจว่า เป็นความรู้สึกที่สามารถแสดงอาการได้จริง ไม่ใช่เป็นแค่ตัวหนังสือที่เขียนขึ้นมาเฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น ดีใจมีอาการเช่นไร ทุกข์ใจมีอาการเช่นไร อาการไม่สุขไม่ทุกข์(อุเบกขา)ก็มีอาการไปอีกแบบหนึ่งครับ หากท่านปฏิบัติสมาธิยังไม่ถึงตัวอุเบกขา ไม่รู้ว่าอาการของอุเบกขาเป็นเช่นไร ขอให้ท่านคิดเสียว่าท่านยังอยู่ในอุปจารสมาธิอยู่ ไม่ขั้นใดก็ขั้นหนึ่ง ยังไม่เป็นองค์ฌานทั้ง 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา ของฌานทั้ง 4 นะครับ ) มาอีกแล้วความงง ต้องหาตำราอ่านอีกแล้วทำอย่างไรล่ะคราวนี้ นั่งสมาธิอยู่ ดีๆลมหายใจหายไปไหนแล้ว หนอ เราเสียเวลาหาองค์ภาวนาอยู่ก็นานหลายเดือน เราเสียเวลาหาอาการตกภวังค์อยู่ก็นานหลายเดือน แล้วมาคราวนี้ ลมหายใจหายไปอีก เกิดความสงสัยอีกแล้ว ก็นั่งพิจารณาดูลมหายใจ อยู่เป็นอาทิตย์เหมือนกัน คือเริ่มนั่งทีไรก็หายทุกที ในขั้นนี้แต่ก่อนนั้นผู้เขียนยังไม่เข้าใจเรื่องของฌานทั้ง 4 ก็อาศัยนั่งสังเกตเอาเอง พบว่าลมหาย ใจจะค่อยๆหายไป จากฐานเหนือสะดือ เปรียบอุปมาเหมือนเติมน้ำใส่แก้ว จนกระทั้งเต็ม แล้วล้นออกมา ลมหายใจก็เหมือนกัน เมื่อล้นออกมาจนสุดปลายจมูกแล้ว ก็หายไป พึ่งจะมารู้ช่วงหลังเพราะเริ่มมีคอมพิวเตอร์กลับเขาเสียที พร้อมกับได้หนังสือ ปฏิบัติสมาธิ จึงหายข้อสงสัยเสียที......... ว่านี่คือฌานทั้ง4 อันมี ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน เขียนโดยหลวงปู่ฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ซึ่งท่านเขียนได้ละเอียดมาก นอกจากจะได้รู้แล้ว ท่านยังเมตตาลูกหลานเช่นตัวข้าพเจ้ามาหลายครั้ง สำหรับผู้ถึงฌานที่ 4 แล้ว ถ้าจะเล่น ฌาน 5 ท่านต้องได้นิมิตอย่างหนึ่งก่อน นั้นคือ เห็นอนุภาคเล็กๆของอากาศ รวมตัวกันอยู่ตรงหน้า ขนาดเท่าวงกสิน นิมิต พร้อมกลับจิตตกสู่ภวังค์ ในลักษณะลึกเหมือนตกเหวลึก โดยจะเกิดพร้อมกันในขณะที่ท่านยังกำหนดองค์ภาวนาอยู่ครับ.............. ท่านผู้นั้นถึงจะเล่นฌานที่ 5 ได้ครับ ถ้าหากไม่เกิดขึ้น ภายใน 3 เดือน ท่านไม่ต้องไปเสียเวลาเล่นฌาน 5 นะครับ จะเสียเวลาเปล่าๆให้ท่านแยกไปใช้วิปัสสนากรรมฐานแทนครับ
    อาการหลังจากเข้า ฌาน 4 ครั้งแรก (อาณาปานุสติ)นั้น ความคิดความอ่านจะไม่ปรากฎ ในวันถัดไป จะพิจารณาธรรมหรือ กำเนิดคำบริกรรมไม่ได้เลย ขอท่านอย่าตกใจหรือคิดว่าสำเร็จแล้ว ปล่อยไปซัก 1 อาทิตย์ จึงจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม จึงเิริ่มฝึกอีกครั้ง จนเป็นแบบกลาง และละเอียด
    ข้อคิด

    1. เมื่อท่านเข้าสู่อุเบกขาแล้วขอท่านพิจารณา ถึงอริยสัจธรรมทั้ง 4 โดยความเป็นอุเบกขา ไม่กดทุกข์สมุทัยลงเบื้องต่ำ ไม่ยกยอนิโรธ มรรค ไว้เบื้องสูง เพราะเราต้องอาศัยสิ่งเล่านี้ เสมอกันไปตลอดสาย แล้วเจริญพรหมวิหาร 4
    เพื่อไม่ใช้อภิญญาในทางที่ผิด เพราะในขั้นนี้นั้น บางท่านจะเล่นอะไรแปลกๆได้แล้ว เช่น ดับไฟหรือจุดไฟด้วยจิต ได้ หรือ มองทะลุสิ่งที่ปกปิดในที่มิดชิดได้
    2.แยกไปขัดเกลากิเลสออกจากสันดาน(วิปัสสนากรรมฐาน) โดยเดินตามพระอริยมรรค สาเหตุเพราะ อำนาจของฌาน เป็นความสงบแค่ปัจจุบันเท่านั้น สามารถกดนิวรณ์ 5 ไว้เท่านั้น อุปมาดังก้อนหินที่ทับหญ้าไว้ หญ้าก็ไม่ขึ้นในบริเวณนั้น แต่เมื่อใด นำก้อนหินออก ต้นหญ้าก็กลับมาโตใหม่อีกครั้ง นั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ กลับมาอีก
    ประสบการณ์ที่ 15 จับลมหายใจ 3 ฐาน หรือ มีก้อนพลังงานบางอย่างบริเวณท้องเหนือสะดือ 2 นิ้ว
    1. สำหรับผู้เข้าถึงฌาน 4 แล้วท่านย่อม พบว่า ร่างกายของท่านเปลี่ยนแปลงไป การเดินจะมั่นคง หนักแน่นขึ้น ตัวหนังสือที่เขียนก็สวยงามขึ้น การทรงสมาธิสามารถทำได้รวดเร็ว นั่งสมาธิเมื่อไรสงบเมื่อนั้น บางคนถอดจิต(วิญญาณ) ออกไปเที่ยวข้างนอกบ่อยๆ จนบางครั้งบางท่านก็หลงทางถูกอวิชาครอบงำ กลายเป็นวิปัสสนูกิเลส ก็มาก ดังนั้น ขอเตือน เมื่อถึงจุดนี้แล้วควรไปอ่านหนังสือ พระไตรปิฏก หรือ วิมุตติ เพื่อจะได้ไม่หลงทาง ....... อยู่ในเว็บมีมากมาย ครับ หรือในเว็บบอร์ดนี้ก็มีครับ
    2. เกิดการไหลเวียนพลังงานไป ทั่วบริเวณร่างกาย ตรงไหนที่มีอะไรแปลกปลอมในร่างกาย จะรู้สึกร้อนบริเวณนั้น และท่านสามารจับ ลมหายใจได้ 3 ฐานครับ จบรูปฌาน 4 ครับ หากท่านใด ต้องการต่อ อรูปฌาน 5 ก็อ่านต่อไปได้เลยครับ
    ประสบการณ์ที่ 16
    ได้อะไรบ้างจากการท่องเที่ยวในเว็บพลังจิต

    1.มีกำลังใจที่จะปฏิบัติสมาธิมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีผู้ปฏิบัติอยู่มาก แต่ก่อนไปคุยกับคนอื่นเขาก็หาว่าบ้า พอมาเจอเว็บนี้ สบายใจมีเพื่อนแฮะ
    2.ได้วิชาการที่หาอ่านได้ยากมาก พร้อมทั้งท่านผู้รู้มากมาย มีประโยชน์มากครับ<o></o>
    3.รู้จักยอมรับเหตุและผลของผู้อื่นมากขึ้น จนทำให้เราเข้าใจอุเบกขาของฌาน 4ดีขึ้น............. มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าเหตุและผลนั้นจะเป็นสิ่งที่ต้องการของเราหรือไม่ต้องการ เราก็เฉยๆ.......... ไม่ว่าใครจะนินทาเรา หากเราไม่รับรู้เสียอย่างเราก็เฉยๆ.... หากใครหัวเราะเรา เราก็เฉยๆ……. หากใครหาว่าเราบ้าตำรา เราก็เฉยๆ หากใครไม่อ่านเรื่องของเรา เราก็เฉยๆ หากใครไม่อนุโมทนากลับข้อความหรือกระทู้ของเรา เราก็เฉยๆ...... เฉยๆ....แต่...ผมก็ใช้สติพิจารณาด้วยนะครับ........อันไหนดีก็รับ อันไหนไม่ดี ไม่ขอเถียง.....เดี๋ยวคนอื่นที่มาอ่านที่หลังจะเสียความรู้สึก ว่านี่หรือผู้ทรงสมาธิ ไม่มีอุเบกขาเสียเลย... งัดตำราขึ้นมามากมายสุดท้ายก็ครูเดียวกัน ครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2009
  8. พรตเรือนญาณเมตไตรย

    พรตเรือนญาณเมตไตรย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +111
    ไม่ทราบว่าเจ้าของอระทู้ เขียนจบแล้วยังจะเข้ามาอ่านอีกไหม เพราะว่าคนที่ฝึกสมาธิที่บ้านผมคิดว่าน่าจะมีอีกมากมาย ผมก็คนหนึ่งล่ะครับประสบการณืยังไม่ก้าวหน้าเท่าไหร่เลย เพิ่งจะได้ 3 อาทิตย์เองครับ แต่ผมก็รู้สึก(หรือคิดไปเองไม่แน่ใจเหมือนกัน) ว่าจิตเรานิ่งสงบได้ง่ายขึ้น พอเริ่มจะนิ่งจริงๆ มีความรู้สึกเหมือนมันตุ๊บๆที่ปลายจมูกและตรงหว่างคิ้ว ทำให้จิตดิ่งลงลึกๆไม่ได้ แล้วอาการปิติทั้ง5 อย่างผมยังไม่เกิดเลย บางทีตัวหนักแค่ฝ่ามือเอง แต่วงสีๆสว่างๆ ก็เริ่มมีบ้างแล้วล่ะครับ จะว่ามีสมาธิก็ใช่ ไม่เกิดฌาณ ก็น่าจะใช่ ผมเลยสับสน ว่าน่าจะเป็นเพราะอะไร อ้อ เมื่อก่อนนี้ ผมรับแค่ศีล 5 แต่ตั้งใจสมาทานศีล 8 ได้ 2 วันแล้ว ครับ ถ้าคิดว่าทำได้ก็จะทำต่อไปแทนศีล 5 เลยครับ ผู้ใดพอทราบอาการของผมช่วยแนะนำทีนะครับ
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    องค์ภาวนาเริ่มหาย นั่นก็อยู่ในฌาณแล้วละครับ การอยู่ในฌาณ ลมหายใจ

    แทบจะหายไปเลย จนบางครั้งลืมสังเกตุ นึกว่าปกติ หายใจสั้นธรรมดา

    คนฝึกบางคนนึกว่านี่คืออาการปกติกลับมาหายใจยาวๆ พร้อมภาวนาใหม่

    ก็เป็นการถอยออกจากฌาณโดยไม่รู้ตัวไป
     
  10. phutsa

    phutsa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    261
    ค่าพลัง:
    +852
    สาธุอนุโมทามิครับ

    ประสบการณ์ที่เล่ามามีประโยชน์มาก ๆ ครับ
     
  11. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ
    ผมก็ฝึกเองที่บ้านครับ อาศัยลองผิดลองถูกเอง บางครั้งก็งงไปเหมือนกันครับ
    ระยะหลังเริ่มหาหนังสือและอาศัยถามในเว็บพลังจิตครับ มีหลายๆท่านที่มีประสบการณ์มาชี้ทางสว่างให้ครับ ทำให้ไม่หลงทาง เพราะพอผิดพลาดเข้าเยอะๆเริ่มอันตรายครับ หรือไม่ก็หลงติดอยู่ที่เดิมครับ
    ขอบคุณ คุณบดินทร์นะครับ นำประสบการณ์มาเล่าให้ฟัง ถึงจะเป็นบางส่วนของระยะเวลาสามปีแต่มีค่ามากสำหรับคนฝึกใหม่หลายๆท่านและผมครับ
     
  12. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    เรียนสอบถามเจ้าของกระทู้และผู้รู้ทุกท่านด้วยนะคะ
    ๑. ที่ว่า "บังคับจิตไม่ให้มันดิ้น" นี่ทำอย่างไรค่ะ เราไม่ควรปล่อยให้เรารู้สึกว่าร่างกายแกว่งไปมาหรือค่ะ แล้วคอยสังเกตุและดูอาการที่เกิดขึ้นน่ะคะ แล้วบังคับจิตจะได้หรือค่ะ หรือว่าต้องทำอย่างไรให้จิตอยู่นิ่งดีค่ะ ให้กำหนดภาวนาแน่วแน่กลับมาที่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้นหรือป่าวค่ะ แนะนำด้วยนะคะ
    ๒. ที่ว่า "องค์ภาวนาเริ่มหาย" นี่คือ ภาวนา "พุท โธ" หายไปหรือป่าวค่ะ เหมือนว่าหลงไปที่อื่น เคยเป็นค่ะ คิดว่าตัวเองลืมภาวนา มั่วแต่ฟุ้งซ่าน แต่ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะบางครั้งที่เกิดแบบนี้ก็ไม่ได้คิดอะไรในหัวสมองเลย
    ๓. ที่ว่า "ลมหายใจหาย" ก็เพิ่งเริ่มเป็นค่ะ เป็นอาการอย่างนี้หรือป่าวค่ะ คือ รู้สึกหายใจเบาลง เหมือนอะไรตันๆในจมูก ไม่รู้ว่าหายใจหรือไม่หายใจ พอเริ่มรู้สึกก็ เอ้..แล้วเราจะภาวนาพุทโธได้อย่างไร ก็พยายามจับลมหายใจใหม่ คิดว่าตัวเองฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิอีกแล้ว เลยหาลมหายใจใหม่ ค่อยๆหายใจ ตอนแรกก็ได้เบาๆพอรู้ว่าเข้าหรือออก แล้วก็เริ่มหายใจยาวกำหนดพุทโธใหม่ได้ แล้วก็หายใจปกติ แล้วก็เฝ้าดูลมหายใจพร้อมกับกำหนดพุทโธเช่นเดิม อย่างนี้ได้ไหมค่ะ หรือว่าต้องทำอย่างไร เฝ้าดู หรือว่า เอาจิตไปกำหนดที่ฐานเหนือสะดือแทนค่ะ ไม่เคยกำหนดตรงนี้ค่ะ แล้วต้องภาวนาไหมค่ะ ภาวนาว่าอะไรดีค่ะ
    ๔. เห็นด้วยค่ะว่า เว็บพลังจิต ให้ประโยชน์มากมายเลยค่ะ ขอบคุณเว็บมาสเตอร์และผู้ดูแลเว็บทุกท่าน และผู้ร่วมสนับสนุนเว็บทุกคน ผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย ผู้เผยแผ่ความรู้ ผู้ให้คำตอบ ผู้สอบถามข้อสงสัย ผู้ตั้งกระทู้ทั้งหลาย และทุกผู้ทุกคนค่ะ อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ

    ถ้ามีกระทู้ไหนแนะนำก็บอกด้วยนะคะ เพราะโดยส่วนตัวเพิ่งเริ่มอ่านเนื้อหาในเว็บนี้อย่างเป็นแฟนพันธ์แท้ก็เพิ่งช่วงต้นปีกลางปีนี้น่ะคะ ถึงจะสมัครสมาชิกเว็บไว้นานแล้วก็ตาม บางเนื้อหาในเว็บ (จริงๆน่าจะหลายเรื่องเลยก็ว่าได้ในเว็บนี้) ที่ยังไม่ได้อ่าน แล้วจะพยายามศึกษาต่อไปค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

    ;30
     
  13. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ขออนุญาติตอบคุณ cartoony ครับ

    เวลาที่องค์ภาวนาหาย ปกติแล้ว ผมแก้โดยการไม่ภาวนาครับ ใช้ความรู้สึกรับรู้ลมหายใจ

    และใช้พุทธานุสติ กำกับ ควบคู่ไปกับกสิณ เมื่อลมหายใจเริ่มหายไป เราก็มาใช้ภาพกสิณ

    จับเป็นอารมณ์สมาธิแทน ได้เลยครับ แล้วลมหายใจเราจะเบามากๆ แทบไม่หายใจ ขั้นนี้

    เรียกได้ว่า กำลังเข้าฌาณที่ 4 หยาบ พยายามทรงอารมณ์ให้ได้นานๆ จาก 10 นาที

    เป็น 20 นาที หรือชั่วโมง ได้ยิ่งดีครับ ยิ่งทรงได้นาน แสดงว่า ฌาณ 4 จะเริ่มละเอียด
     
  14. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ท่านมาต่อนิพพานของท่านจากเดิม เราก็คงต้องหาทุน และเพิ่มความพยายามให้มาก อาศัยท่านเป็นครู วันหนึ่งก็คงสำร็จ....ขออนุโมทนาครับ
     
  15. wichit_compong

    wichit_compong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +13
    แ น ว ป ฏิ บั ติ ข อ ง ท่ า น พ ร ะ อ า จ า ร ย์ เ ส า ร์

    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)*
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    ถาม

    ขอท่านได้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
    ดังที่ท่านพระอาจารย์เสาร์สอนมา

    ตอบ

    โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น
    ยึดหลักการบริกรรมพุทโธ และอานาปนสติ เป็นหลักปฏิบัติ


    การบริกรรมภาวนาให้จิตอยู่ ณ จุดเดียว คือ พุทโธ
    ซึ่งพุทโธแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกริยาของจิต
    เมื่อจิตมาจดจ้องอยุ่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาตามองค์ฌาน ๕

    คือการนึกถึงพุทโธ เรียกว่า วิตก
    จิตอยู่กับพุทโธ ไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจาร
    หลังจากนี้ ปิติ และ ความสุข ก็เกิดขึ้น

    เมื่อปิติและความสุขเกิดขึ้นแล้ว
    จิตของผู้ภาวนาย่อดำเนินไปสู่ความสงบ
    เข้าสู่ อุปจารสมาธิและอัปนาสมาธิ
    ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปนาสมาธิ
    ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่งสว่าง ไม่มีกิริยาแสดงความรู้
    ในขั้นนี้ เรียกว่า จิตอยู่ใน สมถะ

    ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปนาจิต
    ถ้าจะเรียกโดยสมาธิก็เรียก อัปนาสมาธิ
    ถ้าจะเรียกโดย ฌานก็เรียกว่าอัปนาฌาน
    บางท่านไปเทียบกับกับ ฌาณขั้นที่ ๔


    จิตในขั้นนี้เรียกว่า
    จิตอยู่ในอัปนาจิต อัปนาสมาธิ อัปนาฌาณ
    จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น
    นอกจากมีสภาวะรู้อย่างเดียวเท่านั้น


    เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต
    เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบนิ่งเช่นนี้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ผู้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในสายนี้
    จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณา กายาคตสติ
    เรียกว่า กายานุปัสสนาปฏิปทา

    โดยการพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
    โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก
    จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา

    เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณาผมขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล
    ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นว่าเป็นของปฏิกูล
    โดยปราศจากเจตนาสัญญาแล้ว
    ก็เกิดนิมิตเห็นสิ่งเหล่านั้นว่า
    เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกจริงๆ
    โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดทั้งสิ้น
    จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิจาณาเห็น อสุภกรรมฐาน

    และเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญ
    จนร้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้ว
    ในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ได้แนะนำให้พิจารณาร่างกาย
    ให้เห็นเป็น ธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
    จนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ

    เมื่อจิตรู้ว่าเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    จิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นว่า
    ตามที่พูดกันว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ไม่มี
    มีแต่ความประชุมพร้อมของ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น

    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมรู้จักอำนาจของความคิดขึ้นมาได้ว่า
    ในตัวของเราไม่มีอะไรเป็น อัตตา ทั้งสิ้น
    มีแต่ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น

    ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ
    จะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้
    เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    รู้แต่เพียงว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้แค่ขั้น สมถกรรมฐาน

    และในขณะเดียวกันนั้น ภูมิจิต ของผู้ปฏิบัติ
    ปฏิวัติความรู้ไปสู่ พระไตรลักษณ์
    คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

    ถ้าหากมี อนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง
    ทุกขสัญญา ความสำคัญม่นหมายว่าเป็นทุกข์
    อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ตัวตนที่แท้จริง
    ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ ภูมิแห่งวิปัสสนา


    เมื่อผู้ปฏิบัติมาฝึกฝนอบรมจิตของตนเอง
    ให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ
    และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในอสุภกรรมฐาน
    โดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง
    เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า
    กายเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    มีความเห็นว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ
    ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่สัตว์ บุคคล เรา เขา

    ด้วยอุบายดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น
    ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มาก พิจารณาให้มากๆ
    พิจารณาย้อนกลับไปกลับมา
    จิตจะค่อยๆ ก้าวขึ้นสู่ภูมิรู้ ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป

    หลักการปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ก็มีเพียงดังนี้

    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" type="#_x0000_t75" alt=""><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\351\LOCALS~1\Temp\msohtml1\03\clip_image001.gif" o:href="http://www.dhammajak.net/board/images/smiles/b8.gif"></v:imagedata></v:shape><v:shape id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" type="#_x0000_t75" alt=""><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\351\LOCALS~1\Temp\msohtml1\03\clip_image001.gif" o:href="http://www.dhammajak.net/board/images/smiles/b8.gif"></v:imagedata></v:shape><v:shape id=_x0000_i1027 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" type="#_x0000_t75" alt=""><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\351\LOCALS~1\Temp\msohtml1\03\clip_image001.gif" o:href="http://www.dhammajak.net/board/images/smiles/b8.gif"></v:imagedata></v:shape>

    (ที่มา : ธรรมวิสัชนา โดย พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย),
    พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์, พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๑-๔)

    หมายเหตุ : บทความนี้เขียนไว้เมื่อครั้งพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    ยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระภาวนาพิศาลเถร
     
  16. hipopo

    hipopo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาค่ะ

    ตอนนี้กำลังฝึกสมาธิทุกๆวัน บางวันก็จิตใจสงบ บางวันก็เหมือนไม่มีสมาธิ แต่ก็ทำให้จิตใจเย็นขึ้นมาก รู้สึกวางเฉยไปได้ในหลายๆอย่าง ไม่ร้อนรน ไม่หงุดหงิด อย่างที่เคยเป็น ..มองอะไรแล้วก็คิดว่าทุกอย่างมันเป็นอย่างที่มันเป็น
     
  17. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    ขอถามได้ไหมคะ อุเบกขา กับ อาการเฉยๆ ต่างกันอย่างไร? และ อาการของจิตที่ตกภวังค์ เหมือนตกเหว (ปิติ) จะต่างกับฌาน ห้า อย่างไร?
     
  18. ซ้อจิตต์

    ซ้อจิตต์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +63
    อนุโมทนาบุญค่ะ
    กระทู้ในเวปพลังจิต ให้ประโยชน์มากเลยค่ะ
     
  19. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,569
    อนุโมทนาครับ ขอให้พระธรรมเป็นบ่อเกิดทางปัญญากับทุกๆท่าน
     
  20. wichit_compong

    wichit_compong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +13
    ลองหาอ่านจากเวบนี้ดูนะครับ ผมว่าจะได้ประโยชน์บางนะครับและแนวทางปฏิบัติ
    http://www.palungdham.com/
    ได้รวมคำสอนของหลวงพ่อพุธไว้อยู่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...