เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 28 กุมภาพันธ์ 2023.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,386
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,529
    ค่าพลัง:
    +26,368
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,386
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,529
    ค่าพลัง:
    +26,368
    วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ สิ้นเดือนอีกแล้ว งานใหญ่ที่รอพวกเราอยู่ข้างหน้าก็คืองานสัปดาห์วันมาฆบูชา ท่านทั้งหลายก็เห็นแล้วว่า ทางกระทรวงวัฒนธรรมโฆษณาประชาสัมพันธ์เรื่องงานวันมาฆบูชา โดยเอากิจกรรมงานของวัดท่าขนุนเกือบทั้งหมดไปลงในส่วนโฆษณานั้น ๆ

    หลายท่านถามว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่า ? ผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์หรือเปล่า ? ขอยืนยันว่าทางกระทรวงวัฒนธรรมไม่ได้ทำอะไรที่ผิดพลาดในลักษณะอย่างนั้น เพราะว่าตั้งแต่ทางกระทรวงให้ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน ส่งข้อมูลเข้าชิง ๑๐๐ สุดยอดชุมชนคุณธรรม แล้วก็มาเข้าชิง ๓๐ สุดยอดชุมชนคุณธรรม แล้วท้ายที่สุดเข้าชิง ๑๐ สุดยอดชุมชนคุณธรรม ทุกครั้งในหนังสือที่แจ้งมาจะมีระบุเอาใช้ชัดเจนว่า ข้อมูลที่เราส่งไปให้นั้น ทางกระทรวงวัฒนธรรมขอสิทธิ์ในการที่จะใช้สอยเพื่องานของส่วนรวม ก็แปลว่าทางกระทรวงได้ป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อนแล้ว

    เพียงแต่ว่าถ้าท่านทั้งหลายดูแล้ว ต้องบอกว่าวัดท่าขนุนของเราได้กำไรมากกว่า เพราะว่าเนื้อหา ๘๐ - ๙๐ เปอร์เซ็นต์ในโฆษณาเป็นของวัดท่าขนุน เราไม่ต้องจ้างใครให้เสียเวลา เสียเงินเสียทองไปโฆษณาให้ โดยเฉพาะบุคคลที่คุ้นเคย แค่มองก็รู้แล้วว่านี่คืองานของวัด ดังนั้น..ไม่ว่าเขาจะพูดถึงวัดอะไรในส่วนกลางก็ตาม ภาพที่ปรากฏออกไป คนที่รู้จักเขามองก็จะรู้เลยว่านั่นเป็นวัดท่าขนุน

    คราวนี้ในส่วนที่พวกเราต้องเตรียมการเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นขบวนแห่เทิดเกียรติอดีต ๗ เจ้าเมืองหน้าด่าน หรือว่างานการแสดงการออกร้านต่าง ๆ ซึ่งทางเราได้รับความร่วมมือจากชุมชน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือว่าผู้นำชุมชนก็ตาม แบ่งเบาภาระไปหลายเรื่อง

    อย่างเช่นการติดต่อประสานงานต่าง ๆ การเตรียมอาหารเอาไว้เลี้ยงบุคคลที่มาร่วมงาน ถ้าหากว่าให้ทางวัดจ่ายเอง ก็คงจะหมดอีกมาก เหลือแต่ว่าทางวัดของเราต้องอำนวยความสะดวกทุกด้านเท่าที่เป็นไปได้ ส่วนไหนที่เป็นงบประมาณ จำเป็นต้องจ่ายก็ต้องจ่ายไป ส่วนไหนที่เป็นการงานอะไรที่เขาติดขัด เราสามารถที่จะช่วยเหลือแก้ไขได้ก็ต้องลงมือทำทันที
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,386
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,529
    ค่าพลัง:
    +26,368
    เพียงแต่ว่าในช่วงของวันที่ ๒ ให้พวกเราตั้งเต็นท์สองหลัง เอาไว้ทางด้านอีกฝั่งหนึ่งซึ่งยังเป็นที่ว่างอยู่ เนื่องจากได้เอาตู้ขายสินค้าออกไปแล้ว เป็นการตั้งขนานกับตัวอาคารฐานสมเด็จองค์ปฐม ๒๑ ศอก เพื่อไว้เป็นที่สำหรับบวงสรวงบอกกล่าวอดีต ๗ เจ้าเมืองหน้าด่าน ซึ่งจะมีทั้งเครื่องบวงสรวง ตลอดจนกระทั่งคณะดนตรีประกอบ ซึ่งในส่วนนั้นเราก็ต้องเลี้ยงอาหารเขาด้วย ภายในวันนั้นก็จะมีพิธีสงฆ์ ซึ่งเป็นการสวดพระพุทธมนต์แบบมอญ ที่เราได้ว่างเว้นมา ๓ ปีแล้ว ไม่ได้จัดเพราะว่าเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ระบาด

    กระผม/อาตมภาพเองได้นิมนต์ท่านอาจารย์พระมหาสุชาติ สิริปญฺโญ ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม เจ้าคณะอำเภอสังขละบุรี ให้นำเอาพระมอญจากที่โน่นมา เพื่อให้ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์ เนื่องจากว่าเจ้าเมืองหน้าด่านทั้ง ๗ หัวเมืองนั้น เป็นเจ้าเมืองมอญถึง ๖ เมือง ก็แปลว่าท่านที่เป็นเจ้าเมืองกะเหรี่ยงก็คือพระสุวรรณคีรี ก็คงต้องฟังภาษามอญไปด้วย..!

    แต่ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่ามอญกับกะเหรี่ยงนั้นมีความใกล้ชิดกันมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ถ้าหากว่าเป็นประวัติศาสตร์ของพม่า ก็ยังมีการผลัดกันเป็นใหญ่ ช่วงไหนที่กะเหรี่ยงกล้าแข็งขึ้นมา ก็สามารถที่จะขึ้นครองประเทศ ถ้าช่วงที่มอญกล้าแข็งขึ้นมา ก็ยึดพื้นที่กลับคืนแล้วครองประเทศแทน เพียงแต่ว่าในส่วนของประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ส่วนใหญ่แล้วเราไม่ค่อยได้ศึกษากัน แต่ว่ากระผม/อาตมภาพก็พอที่จะเรียนรู้ทั้งจากตำรับตำราบ้าง ได้รับการบอกเล่าจากผู้รู้บ้าง ผีมาบอกให้ฟังบ้าง

    ในส่วนของการทำหน้าที่ของเรา ให้เน้นในเรื่องของความสะอาด เพราะว่างานมีต่อเนื่องถึง ๓ วัน ก็แปลว่าในแต่ละวันพวกเราคงต้องจัดคณะ ขนขยะไปวางในจุดที่ทางเทศบาลเขาจะมาจัดเก็บให้

    กระผม/อาตมภาพเพิ่งจะสั่งแคร่ไม้ไผ่เพิ่มเติมมาอีก ๒๐ ชุด เมื่อใช้ในงานนี้แล้ว ให้พวกเราถอดประกอบ แล้วก็แช่น้ำยากันมอด จากนั้นประกอบกลับคืนเข้าไปให้แข็งแรง แล้วก็เก็บเอาไว้ใต้ฐานสมเด็จองค์ปฐม ๒๑ ศอก เอาไว้ใช้ในงานส่วนนั้น เพราะว่าถ้าหากปะปนไปอยู่ด้านนอก มีเท่าไรก็ไม่พอให้ใช้งาน
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,386
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,529
    ค่าพลัง:
    +26,368
    อย่างที่ท่านทั้งหลายจะได้เห็น "หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าไทย นั่งแคร่ไม้ ใส่บาตรพระทุกวันอาทิตย์" บางช่วงเขาก็มีการทิ้งทั้งแคร่ ทิ้งทั้งเก้าอี้นั่งให้ตากแดดตากฝน บางทีกระผม/อาตมภาพก็ต้องไปเก็บเอง เรื่องพวกนี้ต้องบอกว่า เกิดจากการขาดจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ ถ้าหากว่าเป็นหลักธรรมก็คือ ขาดความกตัญญูต่อข้าวของเครื่องใช้ แต่ว่าเรื่องพวกนี้เราไม่กล่าวถึง มากล่าวถึงในเรื่องของงานวัดของเราต่อไป

    ในส่วนของวัดเรา วันที่ ๓ จะเป็นส่วนที่ต้องสนับสนุนเขาก็คือ เรื่องข้าวปลาอาหารถวายพระที่มาสวดพระพุทธมนต์ แล้วก็เลี้ยงคณะบวงสรวงแค่นั้น วันที่ ๔ - ๕ - ๖ นั้นเป็นเรื่องของข้าวปลาอาหารที่ทางชุมชนจะจัดหามา ถ้าดูแล้วไม่พอเราค่อยเสริมเข้าไป

    ส่วนระยะเวลาที่ผ่านมานั้น กระผม/อาตมภาพมีงานปลุกเสกวัตถุมงคล ๒ รอบ ๓ รอบ กระผม/อาตมภาพยังปรารภกับหลวงพ่อเอ (พระมหานันทวัฒน์ เขมธมฺโม ป.ธ.๖) ว่า สิ่งที่ทำไปนั้นก็ตั้งใจที่จะทำออกมาให้ดีที่สุด แต่ว่าบรรดาญาติโยมทั้งหลาย ไม่เคยเอาไปใช้ได้ตามคุณค่าเลย..!

    โดยเฉพาะมีอยู่ส่วนหนึ่งที่แค่เก็บไว้เป็นความภาคภูมิใจส่วนตัวว่ามีทุกรุ่นเท่านั้นเอง เนื่องเพราะว่าในเรื่องของวัตถุมงคลนั้น ถ้าหากว่าเรามีความเคารพเชื่อมั่นจริง ๆ องค์เดียวก็พอแล้ว เพียงแต่ว่าในส่วนที่เราใช้งานในลักษณะของการคุ้มครองป้องกันนั้นเป็นแค่ผลพลอยได้

    การสร้างวัตถุมงคลของโบราณาจารย์มาถึงยุคปัจจุบัน ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือสร้างเพื่อเป็นอนุสติ ให้พวกเราทั้งหลายได้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์ ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีวัตถุเป็นเครื่องยึด พวกเราก็จะนึกได้ลำบาก แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วพวกเรากลับใช้ผิดวัตถุประสงค์ บางคนก็กลายเป็นสะสมแล้วเอาไปอวดกันว่าตนเองมีรุ่นใดบ้าง
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,386
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,529
    ค่าพลัง:
    +26,368
    ดังนั้น..จึงเป็นเรื่องที่พวกเราควรที่จะปรับทัศนคติกันเสียใหม่ว่า สิ่งที่โบราณาจารย์ตั้งความหวังเอาไว้ว่า ให้พวกเราสามารถเข้าถึงธรรม โดยเฉพาะในส่วนของอนุสติสำคัญ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ข้อห้ามข้อยึดถือทั้งหลายนั่นคือสีลานุสติ ถ้าหากว่ามีคาถาภาวนาควบไปด้วยนั่นคืออานาปานุสติ เป็นการที่เราปฏิบัติกรรมฐานใหญ่หลายกองพร้อม ๆ กันได้ โดยที่ไม่ลำบากในการปฏิบัติ เพราะว่ามีเครื่องจูงใจคือวัตถุมงคล

    แต่พอเราไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ถึงขนาดบางคนตั้งใจที่จะบูชาไปเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไรหรือว่าจำหน่ายขายต่อ นั่นก็ยิ่งห่างไกลวัตถุประสงค์เข้าไปใหญ่ จนกลายเป็นว่าสิ่งสำคัญที่ครูบาอาจารย์ท่านตั้งเป้าเอาไว้ เราน่าจะเข้าถึงกันได้น้อย แล้วยังทำให้เป็นที่ดูถูกดูแคลนของคนอื่นว่า ยังมายุ่งอะไรกับเรื่องของการยึดในวัตถุอีกด้วย..!

    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ท่านเคยตอบไปแล้วว่า "ยึดในวัตถุมงคล ดีกว่ายึดในวัตถุอัปมงคล" แต่ก็มีพวก "นักวิชาเกิน" ที่คอยจะยกเรื่องพวกนี้มากระแนะกระแหนอยู่เสมอ โดยที่เข้าไม่ถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคนเก่าคนโบราณ

    จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่น่าสงสาร แต่เขาทั้งหลายเหล่านั้นกลับไม่เห็นว่าตัวเองน่าสงสาร เห็นว่าตัวเองเป็นคนเก่งที่สามารถใช้วาทะข่มคนอื่นได้ กลายเป็นเอากิเลสไปข่มชาวบ้านเขา แต่ก็ยังไม่รู้ตัว

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันอังคาร ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...