อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    [๔๕๔] อริยสมาธิขันธ์ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร ท่านอานนท์”


    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “มาณพ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวมอินทรีย์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมเสวยสุขที่ไม่ระคนกับกิเลสในภายใน มาณพ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
    [๔๕๕] มาณพ ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิบาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว
    การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง มาณพ ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
    [๔๕๖] มาณพ ภิกษุชื่อว่าผู้สันโดษเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันทีเหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ มาณพ ภิกษุชื่อว่าผู้สันโดษ
    เป็นอย่างนี้แล
    [๔๕๗] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
    [๔๕๘] เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
    อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา…
    [๔๖๔] มาณพ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนยังละไม่ได้ เหมือนหนี้ โรค เรือนจำ ความเป็นทาส และทางไกลกันดาร
    [๔๖๕] มาณพ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว เหมือนความไม่มีหนี้ ความไม่มีโรค การพ้นโทษจากเรือนจำ ความเป็นไทแก่ตัวเอง และภูมิสถานอันสงบร่มเย็น
    [๔๖๖] เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว ย่อมเกิดความเบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น
    [๔๖๗] ภิกษุนั้น สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง…
    [๔๖๘] ยังมีอีก มาณพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง…
    [๔๖๙] ยังมีอีก มาณพ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง…
    [๔๗๐] ยังมีอีก มาณพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง…
    [๔๗๑] มาณพ สมาธิขันธ์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างนี้ แต่ในพระธรรมวินัยนี้ยังมีกรณียกิจที่ต้องปฏิบัติยิ่งขึ้นไปกว่าขั้นอริยสมาธินี้อีก”
    ..............
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10
    หมายเหตุข้อความเบื้องต้นสรุปความได้ว่า
    อริยสมาธิขันธ์ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่ คือ
    ๑. เป็นภิกษุผู้ประกอบแล้วด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และอริยสันโดษ
    ๒. พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด เช่น ป่า เป็นต้น
    ๓. กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จ จึงนั่งขัดสมาธิ
    ๔. ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์ ๕
    ๕. พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนยังละไม่ได้ เหมือนหนี้ โรค เรือนจำ ความเป็นทาส และทางไกลกันดาร
    ๖. พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว เหมือนความไม่มีหนี้ ความไม่มีโรค การพ้นโทษจากเรือนจำ ความเป็นไทแก่ตัวเอง และภูมิสถานอันสงบร่มเย็น
    ๗. เมื่อพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว ย่อมเกิดความเบิกบานใจ
    ๘. เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ
    ๙. เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
    ๑๐. เมื่อมีกายสงบ ย่อมได้รับความสุข
    ๑๑. เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น
    ๑๒. เมื่อสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว จึงบรรลุปฐมฌาน
    ๑๓. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
    ๑๔. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ๑๕. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
    #สมาธิขันธ์


    ?temp_hash=b4e5f7865f4958ffd60a788c34748f09.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    nrpM3x3y3akL8GGpCCcewHKESpN1O-kZr&_nc_ohc=ReNYbqg9nWIAX_HOoMA&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-4.jpg
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    รูปที่เห็นอาจมองต่างกัน
    ........
    “เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้
    เพราะเวทนาเสวยอารมณ์สิ่งใด สัญญาก็กำหนดหมายสิ่งนั้น
    สัญญากำหนดหมายสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
    เหตุนั้นธรรม ๓ ประการนี้ จึงรวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้”
    ข้อความบางตอนใน มหาเวทัลลสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=43
    คำว่า "จำแนกแยกแยะ" หมายความว่า ไม่มีใครสามารถเพื่อจะแยกเป็นแผนกและพลิกแพลงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันโดยอารมณ์ โดยที่ตั้ง โดยการเกิดขึ้น หรือโดยการดับไปได้.
    ก็ธรรมดาว่าอารมณ์ของสิ่งนั้นๆ มีอยู่.
    จริงอยู่ เมื่อบรรลุสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เมื่อบรรลุสิ่งที่อยู่เหนือโลก [โลกุตตร] ความรู้ชัดย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า.
    จริงอย่างนั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสถามถึงสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ ก็ไม่ตรัสถามอย่างนี้ว่า "ภิกษุ เธอบรรลุความรู้ชัดชนิดไหน เป็นความรู้ชัดในทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดในทางชั้นที่สอง ที่สามและที่สี่" แต่จะตรัสถามด้วยอำนาจจิตว่า "ภิกษุ เธอมีจิตอย่างไร" และไม่ตรัสถามว่า "ภิกษุเธอมีผัสสะอย่างไร? มีเวทนาอย่างไร มีสัญญาอย่างไร มีเจตนาอย่างไร"
    แม้เมื่อจะทรงบัญญัติกุศลและอกุศล ก็ทรงบัญญัติด้วยอำนาจจิตอย่างนี้ว่า "สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ" และว่า "สิ่งที่เป็นกุศลเป็นไฉน ในสมัยใด จิตเป็นกุศลที่ท่องเที่ยวอยู่ในชั้นกาม ย่อมเป็นของเกิดขึ้นแล้ว"
    แต่เมื่อจะทรงถามถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลก จะไม่ทรงถามว่า "ภิกษุ เธอมีสิ่งที่ทำหน้าที่กระทบอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร มีความรู้จำอย่างไร มีความจงใจอย่างไร"
    จะทรงถามด้วยอำนาจความรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ภิกษุ ความรู้ชัดที่เธอบรรลุแล้วเป็นไฉน เป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นที่สอง ชั้นที่สามและชั้นที่สี่"
    ……….
    ข้อความบางตอนในอรรถกถามหาเวทัลลสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493
    ความเห็นเพิ่มเติม : เมื่อเรากระทบโลก (ผัสสะ) ย่อมจะรู้สึกต่อการกระทบ (เวทนา) เมื่อเราเกิดความรู้สึก ก็จะจดจำลักษณะของสิ่งที่กระทบ (สัญญา) การจดจำคือความกำหนดหมายรู้ หรือ รู้ลักษณะของสิ่งที่มากระทบผ่านช่องทางทั้ง ๖ หรือ สัญญา ๖ เช่น กำหนดหมายรู้รูป เรียกว่า “รูปสัญญา” ในทางพระพุทธศาสนามองว่า สัญญาจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับการกระทบ (ผัสสะ) และการรู้สึก (เวทนา) เช่น เมื่อตากระทบรูปจึงเห็นรูป (จักขุผัสสะ) เมื่อเห็นรูปจึงรู้สึกในรูป (จักขุสัมผัสสชาเวทนา) เมื่อรู้สึกในรูปจึงจดจำในรูป (รูปสัญญา) ว่ารูปมีลักษณะสีเขียว สีขาว สีดำ เป็นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตามกระบวนการของเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ

    ?temp_hash=28956eec84df874ad40a118e084c0683.jpg

    https://www.facebook.com/TipitakaStudies/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    #ผู้อบรมดีแล้ว
    ผู้ที่ได้อบรมกาย อบรมจิตดีแล้ว ดูได้ที่ไหน?
    ดูที่ เมื่อสุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) หรือทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
    ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตเกิดขึ้น
    มันสามารถครอบงำจิตได้หรือไม่
    ถ้าครอบงำได้ ทำให้เขาต้องเศร้าโศกเสียใจ
    พิไรรำพันต่างๆ หรือเพลิดเพลินหลงใหล
    แสดงว่าเขายังมิได้อบรมกาย อบรมจิตด้วยดี
    ถ้าสุขทุกข์นั้นครอบงำจิตไม่ได้แสดงว่า
    เขาได้อบรมกาย อบรมจิตดีแล้ว
    (มหาสัจจกสูตร ม.มู. เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๐๘-๙)
    =================
    #คติชีวิต- เพื่อสิ่งที่เติบโตและเข้มแข็ง
    #เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
    #ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    Q2D4O7qUrc4GqqcD2bF1ZAKMGNyDyc90W&_nc_ohc=t-NrglDNLNoAX-ym-6S&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.jpg

    เมื่อพระติสสเถระศึกษาวิธีนั่งสมาธิจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านได้เข้าไปสู่ป่าแล้วเจอถ้ำแห่งหนึ่ง ท่านคิดว่า "เมื่อเราอยู่ในที่นี้จักสามารถทำกิจแห่งบรรพชิตให้สำเร็จได้."

    เทวดาตนหนึ่งที่สิงอยู่ในถ้ำนั้นคิดว่า "การที่เราจะอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับพระภิกษุผู้มีศีลไม่ค่อยสะดวก พระภิกษุนี้คงจักอยู่ราตรีหนึ่งเท่านั้นแล้วจักจากไป" จึงพาบุตรออกไปพักนอกถ้ำ

    วันรุ่งขึ้นพระเถระเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านแต่เช้าตรู่ อุบาสิกาคนหนึ่งเห็นท่านแล้วเกิดความรักเหมือนบุตร นิมนต์ให้ท่านนั่งในเรือน ถวายภัตตาหารแล้วนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาที่นี่ตลอด 3 เดือน

    พระเถระคิดว่า "เมื่อเราอาศัยอุบาสิกานี้ จะสามารถสลัดตนออกจากภพได้" จึงรับนิมนต์แล้วกลับไปที่ถ้ำนั้น

    เมื่อเทวดาเห็นท่านกำลังเดินมาคิดว่า "ใครๆคงนิมนต์พระเถระนี้ไว้แน่แท้ ท่านคงจักไปในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้."

    เมื่อเวลาผ่านไป 15 วัน เทวดาคิดว่า "ภิกษุนี้คงจักอยู่ที่นี้ตลอด 3 เดือน เราไม่อาจจะกล่าวว่า ‘ท่านจงออกไปเสีย" แล้วคิดว่า ความพลั้งพลาดในศีลของภิกษุนี้มีอยู่ไหมหนอ ?" ได้ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุก็ไม่เห็นความพลั้งพลาดในศีลของท่านตั้งแต่เวลาอุปสมบทจนปัจจุบัน

    เทวดาคิดว่า "ศีลของท่านบริสุทธิ์ เราจักทำเหตุบางอย่างให้ความเสื่อมเสียเกิดขึ้นกับท่าน" แล้วเข้าไปสิงในร่างบุตรของอุบาสิกาในตระกูลอุปัฏฐาก บิดคอ นัยน์ตาทั้งสองของเด็กนั้นเหลือก น้ำลายไหลออกจากปาก.

    อุบาสิกาเห็นบุตรแล้วร้องว่า "นี้อะไรกัน ?" เทวดาไม่ปรากฏตัวให้เห็นแต่กล่าวกะอุบาสิกานั้นว่า "เราจับลูกของเจ้าไว้แล้ว ท่านจงขอชะเอมเครือกะพระเถระ เอาชะเอมเครือนั้นทอดน้ำมันแล้วจงให้แก่บุตรนี้โดยวิธีนัตถุ์เถิด เมื่อทำอย่างนี้เราจักปล่อยลูกของเจ้า"

    อุบาสิกากล่าวว่า บุตรนั่นจงฉิบหายหรือตายไปก็ตามเถิด ฉันไม่อาจจะขอชะเอมเครือกะพระผู้เป็นเจ้าได้ (เพราะนางไม่ต้องการทำให้พระเถระทำผิดศีล เนื่องจากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ว่า "ภิกษุปรุงเภสัชต้องอาบัติทุกกฏ")

    เทวดากล่าวว่า ถ้าท่านไม่อาจจะขอชะเอมเครือไซร้ ท่านจงบอกให้พระเถระใส่ผงหิงคุลงในจมูกของบุตรนั้น. อุบาสิกากล่าวว่า ฉันก็ไม่อาจทำได้

    เทวดากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเทน้ำล้างเท้าของพระเถระนั้นลงบนศีรษะบุตรเถิด.

    อุบาสิกากล่าวว่า "ฉันอาจทำข้อนี้ได้" ในเวลาภัตตาหารนางได้ถวายข้าว ล้างเท้าของพระเถระ รองน้ำไว้แล้วเรียนให้ทราบว่า "ท่านผู้เจริญ ฉันจะรดน้ำนี้ลงบนศีรษะของเด็ก" เมื่อท่านอนุญาตว่า "จงรดเถิด" เมื่อนางรดน้ำลงบนศรีษะของบุตรแล้วเทวดาก็ปล่อยเด็กในขณะนั้นเองแล้วได้ไปยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ.

    ในเวลาเสร็จภัตกิจพระเถระก็กลับไป เมื่อถึงประตูถ้ำเทวดานั้นกล่าวว่า "พ่อหมอใหญ่ ท่านอย่าเข้ามาในที่นี้." พระเถระถามว่า "ท่านเป็นใคร ?"

    เทวดาตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ในที่นี้. พระเถระพยายามนึกว่า "เราเคยทำผิดศีลด้วยการปรุงยาบ้างไหม ?" ตรวจดูตั้งแต่อุปสมบทก็ยังไม่เห็นความเศร้าหมองหรือด่างพร้อยในศีลของตนจึงกล่าวว่า " ข้าพเจ้าไม่เคยปรุงยาให้ใครเลย ท่านกล่าวอย่างนี้ เพราะเหตุไร ?"

    เทวดากล่าวว่า ในวันนี้เองอุปัฏฐากรดน้ำล้างเท้าของท่านให้บุตรซึ่งถูกอมนุษย์สิงแล้วบนศีรษะ

    พระเถระคิดว่า "เราตั้งไว้ชอบแล้ว เราประพฤติสมควรแก่ศาสนาแล้ว แม้เทวดามิได้เห็นความเศร้าหมองหรือด่างพร้อยในศีลของเรา เห็นแต่เพียงน้ำล้างเท้าที่อุปัฏฐากรดแล้วบนศีรษะของทารก." เมื่อคิดอย่างนั้นท่านปีติใจมากที่รักษาศีลได้บริสุทธิ์ เมื่อท่านข่มปีตินั้นไว้แล้วได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่นั้นนั่นเอง


    คำอธิบาย และอ้างอิง

    1. สาเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติศีล ห้ามพระภิกษุปรุงยาเพราะครั้งหนึ่งมีพระภิกษุปรุงยาให้หญิงหมันคนหนึ่ง แต่ใช้ยาแรงทำให้หญิงนั้นเสียชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลว่า "ภิกษุปรุงเภสัชต้องอาบัติทุกกฏ" คำว่า อาบัติ หมายถึง ผิดศีล คำว่า ทุกกฏ เป็นชื่ออาบัติประเภทหนึ่ง

    2. เทวดาที่ไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาก็มีคล้ายๆกับมนุษย์นั่นแหละ เทวดาตนนี้เป็นเทวดาประเภท "ภุมมเทวา" มีวิมานอยู่ในถ้ำเป็นวิมานละเอียดซึ่งโดยปกติแล้วคนจะมองไม่เห็น เมื่อมีพระภิกษุผู้มีศีลเข้าไปในถ้ำ เทวดาและลูกจึงอยู่ไม่สะดวก ต้องออกมาพักข้างนอก แต่ถ้าเป็นเทวดาที่มีศรัทธาจะถือโอกาสเอาบุญให้สถานที่เป็นทานกับพระภิกษุ เมื่อท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วก็จะได้บุญอย่างเต็มที่ แต่กรณีเทวดาตนนี้นอกจากไม่ได้บุญแล้วยังได้บาปอีกด้วยเพราะพยายามใช้อุบายขับไล่ท่าน

    3. แม้แต่เทวดาก็ยังใช้เล่ห์กลกับพระภิกษุได้ ไม่ต้องพูดถึงมนุษย์ พระภิกษุที่ตั้งใจทำงานพระศาสนาแต่เกิดไปขัดผลประโยชน์ของใครเข้าโดยที่ท่านไม่รู้และไม่ตั้งใจ ก็อาจถูกเล่ห์กลของคนเล่นงานเอาได้ ทั้งๆที่ท่านบริสุทธิ์แต่ถูกจัดฉากให้ดูเหมือนว่าท่านทำผิด

    4. อ้างอิง : พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 43 หน้า 474 - 479
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=44f6275949b81b6fa8f6c765ca2257ff.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=74048fde8645feb2f90a35f87e27f5a7.jpg



    #ธรรมที่ควรกำหนดรู้ #ธรรมที่ควรละ #ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง #ธรรมที่ควรเจริญ
    .........
    [๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
    “ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทางอยู่หลังหนึ่ง คนทั้งหลายมาจากทิศ
    ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
    เข้าพักในเรือนนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง แพศย์มาพักบ้าง
    ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
    ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ
    ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
    เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
    ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
    คือ ควรกล่าวได้ว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ประการ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
    ฯลฯ
    ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
    นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
    ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
    คือ อวิชชาและภวตัณหา
    นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
    ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
    คือ วิชชาและวิมุตติ
    นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
    ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ เป็นอย่างไร
    คือ สมถะและวิปัสสนา
    นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
    ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้
    ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
    ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
    ในโวสสัคคะ
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
    กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้
    แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
    อย่างนี้แล”
    .........
    อาคันตุกสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=60
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=a352b83e80adfcc097d482e37d7d1563.jpg



    พระอรหันต์ ๑๐ จำพวก

    ๑.ผู้กระทำอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นบาทแล้วบรรลุพระอรหัต
    ๒.ผู้กระทำวิญญาณัญจายตนฌานให้เป็นบาทแล้วบรรลุพระอรหัต
    ๓.ผู้กระทำอากิญจัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วบรรลุพระอรหัต
    ๔.ผู้กระทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วบรรลุพระอรหัต
    ๕.ผู้เป็นสุกขวิปัสสก
    ๖.ผู้กระทำอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
    ๗.ผู้กระทำวิญญาณัญจายตนฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
    ๘.ผู้กระทำอากิญจัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
    ๙.ผู้กระทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
    ๑๐.ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต
    ........
    ดังปรากฏข้อความดังนี้
    ..........
    จริงอยู่ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุตติ ๕ คือท่านผู้กระทำอรูปสมาบัติหนึ่งๆ ในอรูปสมาบัติ ๔ ให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต เป็น ๔ และท่านผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต ๑
    ...ฯลฯ...
    มี ๑๐ พวกโดยวิมุตตินั่นแหละ. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุตติ ๕ คือท่านผู้กระทำอรูปาวจรฌานหนึ่งๆ ในบรรดาอรูปาวจรฌาน ๔ ให้เป็นบาทแล้วบรรลุพระอรหัต เป็น ๔ และท่านผู้เป็นสุกขวิปัสสก ๑ กับท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุตติตามที่กล่าวมาแล้ว ๕ รวมเป็นพระเถระ ๑๐ พวก โดยชนิดแห่งวิมุตตินั่นแล ด้วยประการอย่างนี้.
    .......
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาวังคีสเถรคาถา อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26.0&i=401&p=4
    #อุภโตภาควิมุตติ #ปัญญาวิมุตติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=f9b09ee73e56c4fb4b952e08e29132d9.jpg



    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อุปาทานขันธ์ ๕ เวียน ๔ รอบ ๒๐ ประการ
    **********
    [๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
    อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
    ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
    ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
    ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
    ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
    ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้ง ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
    สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
    แต่เมื่อใด เรารู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้งตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ เทวดาและมนุษย์’
    เวียนรอบ ๔ ครั้ง เป็นอย่างไร คือ
    เรารู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
    เรารู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
    เรารู้ชัดสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
    เรารู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
    เรารู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
    รูป เป็นอย่างไร คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
    เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี
    เพราะความดับแห่งอาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่ามั่นคงในธรรมวินัยนี้
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูป
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
    ...ฯลฯ...


    ข้อความบางตอนใน อุปาทานปริปวัตตนสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=56
    อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=112
    หมายเหตุ นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว อีกนัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เกี่ยวกับเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ คือ (๑) ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างเป็นอย่างไร (๒) เพราะอะไรเกิด ขันธ์แต่ละอย่างจึงเกิด (๓) เพราะอะไรดับ ขันธ์ แต่ละอย่างจึงดับ และ (๔) อะไรเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งขันธ์แต่ละอย่าง

    [​IMG]

    พระไตรปิฎกศึกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=631d343b479b2b627980c4be08000e84.jpg




    ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ********
    [๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา
    นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น อย่างนี้แล
    ................
    เจตนากรณียสูตร ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=2
    #ศีล #อวิปปฏิสาร#ร้อนใจ #สมาธิ #ปัญญา #ความเป็นจริง #รู้ #เห็น #รู้เห็นตามความเป็นจริง #จิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    MGYRjjiAA59tLKCm5pf_uDlHeRwCCm3Wj&_nc_ohc=o3FZArEK-hkAX9ipomW&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    คุณสมบัติของพระธรรมกถึก
    ************
    (พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระเมื่อจะบอกลักษณะของพระธรรมกถึกแก่ภิกษุ
    ทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
    [๒๐๙] (พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ คือ)
    ๑. ไม่พึงยกตน
    ๒. ไม่ข่มผู้อื่น
    ๓. ไม่พึงมองดูด้วยความเหยียดหยาม
    ๔. ไม่พึงกระทบกระทั่งท่านผู้ถึงฝั่งนิพพาน
    ๕. ไม่พึงกล่าวคุณความดีของตนในที่ชุมชน
    ไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอประมาณ มีวัตรดีงาม
    [๒๑๐] พระธรรมกถึกนั้นมักเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียดยิ่งนัก มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ ปฏิบัติตามศีลของพระพุทธเจ้าเป็นอาจิณ
    พึงได้นิพพานไม่ยากเลย
    ................
    วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา ภาษิตของพระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ ขุททกนิกาย เถรคาถา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=302
    3pxliyql8pdr0aujsjmyovq5lz2y4n-_nc_ohc-fed-jf7lxvgax-wlb12-_nc_zt-23-_nc_ht-scontent-fbkk2-3-jpg.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    #อัปปนา ต้องอาศัย ๓ สหาย
    ********************************
    อนึ่ง ในมรรค ๓ มีสัมมาวายามะเป็นต้น สมาธิย่อมไม่อาจแน่วแน่(เป็นอัปปนา)ด้วยความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ตามธรรมดาของตนได้ แต่เมื่อวิริยะยังกิจคือการประคองจิตไว้ให้สำเร็จ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือนให้สำเร็จอยู่ สมาธิก็ย่อมแน่วแน่ได้.
    ในข้อนั้น มีอุปมาดังนี้เปรียบเหมือนสหาย ๓ เข้าไปสู่อุทยานด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักเล่นนักขัตฤกษ์ คนหนึ่งเห็นต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้นสหายคนที่สองจึงก้มหลังให้ สหายคนที่หนึ่งนั้นแม้ยืนบนหลังสหายคนที่สองแล้วสั่น
    อยู่ ไม่อาจเก็บดอกไม้ได้ ทีนั้นสหายคนที่สามนอกนี้จึงเอียงไหล่ไป สหายคนที่หนึ่งนั้นจึงยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง เหนี่ยวไหล่สหายคนหนึ่ง จึงเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลายตามชอบใจ ประดับกายเล่นนักษัตร ฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น.
    จริงอยู่ ธรรม ๓ มีสัมมาวายามะเป็นต้น เกิดพร้อมกันเหมือนสหาย ๓ คน เข้าไปสู่อุทยานพร้อมกัน. อารมณ์เหมือนต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง. สมาธิไม่สามารถแน่วแน่โดยความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ตามธรรมดาของตนเหมือนสหายคนที่หนึ่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้. วายามะ (ความเพียร) เหมือนสหายคนที่ก้มหลังให้. สติเหมือนสหายคนที่ยืนให้ไหล่
    บรรดาสหาย ๓ คนนั้น สหายคนหนึ่งนี้ยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง ยึดไหล่สหายคนหนึ่งย่อมอาจเก็บดอกไม้ได้ตามปรารถนา ฉันใด สมาธิก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อความเพียรยังกิจคือการประคองจิตให้สำเร็จอยู่ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือนให้สำเร็จอยู่ ได้อุปการะแล้วย่อมอาจแน่วแน่โดยมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์
    เพราะฉะนั้น ในมรรค ๓ เหล่านี้ มรรคคือสมาธิเท่านั้น พระองค์ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์โดยกำเนิดของตน ส่วนมรรคมีวายามะและสติ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์โดยกิริยา (คือโดยเป็นธรรมมีอุปการะ).
    ........
    อรรถกถา วิภังค์
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35.0&i=144&p=1
    หมายเหตุ สัมมาสมาธิจะมีอารมณ์แน่วแน่เป็นอัปนาได้ ต้องอาศัยสัมมาวายามะและสัมมาสติ
    สมาธิขันธ์ เปรียบเหมือน สหาย ๓ คน ช่วยกันเอื้อมมือเก็บดอกไม้
    สัมมาวายามะ เปรียบเหมือน คนที่ก้มหลังให้
    สัมมสติ เปรียบเหมือน คนที่ยืนให้ไหล่
    สัมมาสมาธิ เปรียบเหมือน คนที่ยืนบนหลังและจับไหล่ เพื่อเอื้อมหยิบดอกไม้

    41dXD3U22p3KC&_nc_ohc=UHy2kTDjr_8AX8GBUH5&tn=toLzPcx_25HvKG2C&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.jpg

    พระไตรปิฎกศึกษา
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    -7lXiX5L22mMLlTwQggNUz0Xxk3fYTBg6h&_nc_ohc=BrLReuc_dswAX_Dbbky&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
    คำว่า วิเวก ในคำว่า ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ได้แก่ วิเวก
    ๓ อย่าง คือ (๑) กายวิเวก(ความสงัดกาย) (๒) จิตตวิเวก(ความสงัดใจ)
    (๓) อุปธิวิเวก(ความสงัดอุปธิ)
    https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=29&siri=2
    ศึกษาเพิ่มใน คุหัฏฐกสูตร ขุททกนิกาย
    สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=267
    #กายวิเวก #วิเวก



    akKyeyVNr-HfRGUS5LhLhS_1E3sq3Mj73&_nc_ohc=hjbSG19J_2kAX_vLhVW&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk29-2.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...