สอบถามเรื่อง ระหว่าง สมถะ กับ วิปัสนา ต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xanxus, 28 เมษายน 2022.

  1. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    สวัสดีครับ ท่านพี่ๆ เพื่อนๆ สมาชิก
    หลังจากที่ห่างหายมานานมาก ผมได้เริ่มกลับมาสนใจใน ธรรมมะอีกครั้ง ด้วยการ เริ่ม นั่งสมาธิ สวดมนต์ และ อ่านบทธรรมมะไปด้วยในกรณีที่มีโอกาศ ผมมีคำถามจะปรึกษา อย่างงี้ครับ

    ว่าระหว่าง สมถะ กับ วิปัสนา คืออะไรและต่างกันอย่างไร ครับ

    • ส่วนตัวผมมักจะนั่งสมาธิ ก่อนนอน โดย จะ หายใจเข้าและออก ยาว และ พยาพยาม โฟกัส ที่ลมหายใจ แบบนี้ คือ สมถะ หรือ วิปัสนา ครับ
    • หรือ เวลาในกรณีสดวก ผมจะพยาพยามมาโฟกัสที่ลมหายใจตัวเองเช่นกันครับ แบบนี้ คือ สมถะ หรือ วิปัสนา ครับ
    ขอขอบคุณในคำตอบ และ อนุโมทนา สำหรับทุกท่านผู้รู้ ครับ
     
  2. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    เอาตัวอย่างที่คุณปฏิบัตินะคะ
    ให้สังเกตุว่า ลมหายใจที่คุณกำหนดอยู่เห็นแค่ว่าเป็นลมหายใจอย่างเดียวหรือไม่ ถ้าใช่ แบบนี้คือ สมถะ

    แต่อีกแบบ คุณเห็นความแตกต่างของลมหายใจเข้าหายใจออกหรือไม่ หรือเห็นความแปรปรวนในลมหายใจนั้นหรือไม่
    ถ้าเห็น แบบนี้คือวิปัสสนา

    สมถะ จะเป็นการกำหนดรู้แค่อารมณ์อย่างใดอย่างนึงนิ่งๆ เป็นไปเพื่อความสงบ

    วิปัสสนา จะเป็นการกำหนดรู้ลักษณะความแตกต่าง แปรปรวน เปลี่ยนแปลงในกายใจ เป็นไปเพื่อการเข้าใจในความจริง เพื่อให้เกิดปัญญา

    ดังนั้นการเจริญสติปัฏฐาน4 จะเป็นไปได้ทั้ง สมถะและวิปัสสนา ขึ้นอยู่กับผู้ภาวนาว่าช่วงไหนต้องการเพื่อข่ม หรือเพื่อเจริญปัญญา

    เพียงให้สังเกตุจุดแตกต่างสองสภาวะนี้ให้ได้ การเจริญวิปัสสนา จะยากกว่าหน่อยตรงที่ต้องทำไปจนกว่าจะเจอจุดสมดุลระหว่างเพ่งกับเผลอให้ได้ แต่ต้องไม่ใช้วิธีการบังคับจิตให้เป็นกลาง เพราะยิ่งใช้การบังคับ ยิ่งห่างไกลความเป็นกลาง

    ต้องหากรรมฐานที่ถูกจริตตัวเอง ที่ทำแล้วจิตมีความพอใจให้การปฏิบัติ ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำ เมื่อจิตมีความพอใจ จิตจะเบา จิตจะมีความพร้อม จะมีความตื่นตัว มีปิติ ในการสังเกตุความแปรปรวนของกายใจได้ชัดขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2022
  3. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    ขออนุโมทนา ในคำตอบครับ ท่านใดอยากเสริม สามารถแนะนำได้เลยครับ เพราะผมเพิ่งเริ่มฝึกปฏิบัติเลยครับ ตอนนี้ได้แค่ focus กับลมหายใจแต่ปัญญา ยังไม่ถึง พิจารณา รายละเอียดลมหายใจครับ
     
  4. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ตรงพิจารณานี้ต้องระวัง ไม่ใช่การใช้ความคิดตรึก แต่เมื่อเราภาวนาจนเกิดอาการจิตเบาๆ เราก้อใช้จิตที่เบาๆนี้ สังเกตุเห็นความแตกต่างของร่างกายที่มันมีลมสูบเข้าออก มันต่างกันยังไงไม่ต้องพากไม่ต้องใส่ชื่อสภาวะ แค่สังเกตุเห็นแค่นั้น เหมือนนั่งดูลูกโป่งที่เดี๋ยวพองเด่วแฟบ หรือสังเกตุความรู้สึกที่ลมผ่านจมูกเข้าออก ว่าการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไปมาแบบไหน เป็นต้น
     
  5. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    หมายความว่า ผมควรรู้เห็นตามความเป็นจริงมากกว่าการคิดปรุงแต่งเอาเองใช่มั้ยครับ
     
  6. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ถูกต้องเลยคะ ซื่อตรงต่อธรรมที่แสดงให้เห็นตรงหน้า อย่าเอาความคิดมาปรุงแทนความจริงที่ปรากฏ
     
  7. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    ได้ความรู้ มากๆ เลยครับ ผมจะพยาพยามครับ เพราะ บางครั้งผมเอาความคิดมาใส่เอง เช่น พอหายใจเข้าพอสุดแล้วผมจะนึกเอาว่า "เราลมหายใจสั้น/ยาว" หรือหายใจออก " ผมจะนึกว่า เมื่อกี้ เราหายใจออกสั้น/ ยาว"


    สอบถามเพิ่มเติมครับ การภาวนา คืออะไรครับ ผมได้ยินคำนี้บ่อยมาก แต่ผมไม่ทราบจริงๆว่ามันคืออะไร พยาพยามหาใน Google แล้วแต่ก็ยัง งง พอสมควรครับ รบกวนท่านผู้รู้ ช่วยชี้แจงให้ผมเกิดปัญญามากขึ้นทีครับ

    อีกเรื่อง อาการจิตเบาพอจะอธิบายได้หรือไม่ครับว่า มันเป็น เช่นไร ครับ
     
  8. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ไม่เป็นไรค่ะ ถ้ามันจะนึกขึ้นมา หรือโพล่งขึ้นมานั่นก็เพราะความคิดมันเป็นอนัตตา เราไปห้ามมันไม่ได้ ให้เห็นความแปรปรวนเกิดดับตรงนี้ไปด้วยเลย

    หรือถ้าคุณจะใส่บริกรรมไปเองก็ได้เพื่อช่วยการเพ่งไม่ออกนอก แต่ท้ายสุดแล้ว จิตมันจะรุ้สึกเองว่าคำบริกรรมเป็นภาระจิต มันจะค่อยๆคลายคำบริกรรมแล้ว เป็นผู้สังเกตุลมเข้าออกนั้นด้วยตัวมันเอง

    ค่อยๆ สังเกตุการเข้าออกของมันต่อไป เด่วพอคุณสังเกตุทำไปเรื่อยๆซ้ำๆ จิตมันจะระลึกถึงกองลมนั้นได้เอง เกิดเป็นสติตามเห็นความแปรปรวนของกองลม โดยที่คุณไม่ต้องไปตามกำหนดให้มัน มันจะมีความเป็นไปเองโดยธรรมชาติ…แล้วคุณจะจับจุดสมดุลของมันได้เอง


    การภาวนาก็คือการฝึกเจริญสติ การเจริญสมาธิเนี่ยล่ะค่ะ ไม่มีอะไรซับซ้อน

    ส่วนความเบา ให้นึกเปรียบเทียบเวลาคุณใช้การครุ่นคิดอะไรมากๆ คุณจะสังเกตุอาการแน่นๆหนักๆใช่มั้ย ร่างกายมันเครียดเกร็ง จิตมันเพ่งแต่เรื่องเดิมๆไม่ปล่อย แบบนี้คือจิตมีอกุศล มีตัณหา ตึง เครียด

    สลับกัน เวลาคุณระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือคิดถึงกุศลที่คุณได้เคยทำ เช่นทำบุญ ช่วยเหลือคนยากไร้ ช่วยสัตว์ทุกข์ยาก จิตคุณเหมือนจะแผ่ซ่าน จะผ่อนคลายเบาปลอดโปร่ง นี่คือจิตมีปิติ มีกุศลอาบอยู่ ดังนั้นจึงควรหากรรมฐานที่ทำให้จิตคุณเกิดปิติเกิดได้โดยง่าย หรือจะอาศัยการระลึกถึงสิ่งที่ทำให้จิตเป็นกุศลเนืองๆก้อได้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2022
  9. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    @Piccola Fata ขอบคุณมากๆ และ อนุโมทนา สำหรับคำตอบ ครับ ถ้ามีข้อสงสัยตรงไหนผมขออนุญาติสอบเพิ่มเติมอีกนะครับ ผมเพิ่งเริ่มต้นแบบ Newbie เลยครับ
     
  10. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ยินดีเสมอค่ะ ตราบใดที่มีความเพียรไม่ลดละ วันพรุ่งนี้คุณอาจจะกลายเป็นผู้มาสอนธรรมดิฉันก็ได้ค่ะ
     
  11. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    สอบถามเพิ่มเติมครับหลังจากผมได้ฝึกอยู่กับลมหายใจ ผมพบว่า มันมีความคิดจร เกิดขึ้นเข้ามาเยอะมาก ครับ บางครั้ง ผมพยาพยามสวดมนก่อนจะเริ่ม นั่งสมาธิ ทำสมถะ กำหนดลมหายใจ แต่ทว่าในระหว่างสวดมน ก็มีความคิดจร รวมถึง เวลานั่งสมาธิ ก็มีความคิดจร ผมพยายามดึงด้วยการ หายใจแรงๆ แต่บางครั้งก็ยังโผล่มาบ้างครับ จนผมปล่อยดูมันไป จนมันหาย ก็มีอันใหม่โผลมาบ้างอะไรบ้าง
    แบบนี้ถือว่าผมทำถูกหรือไม่ครับ
     
  12. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ดีแล้วค่ะ ที่สังเกตุเห็นการทำงานของมัน

    ความคิดเป็นอนัตตา มันจะแทรกเข้ามาเป็นระยะๆ
    มันเคยชินกับการวิ่งออกตามรู้ตามอายตนะ โดยเฉพาะมโนวิญญาน หรืออารมณ์ทางความคิด

    สังเกตุตรงนี้ได้เนืองๆก็ถือเป็นการเจริญวิปัสสนาค่ะ
    ไม่ต้องไปขุ่นเคืองที่มันหนีไปคิด ถ้ามันคิดก็สังเกตุความคิดนั้นเลยค่ะ คิดอะไรขึ้นมาก็รู้ๆๆ มันจะดับไป เกิดอีก ดับอีก วนๆ การสังเกตุเห็นการจางคลาย เห็นความดับไปของความคิดแบบนี้ ถือเป็นธัมมานุปัสสนา ด้วยค่ะ

    แล้วตอนปล่อยให้ตัวเองดูมันจนหายไป จิตเป็นยังไงบ้างคะ เบามั้ย
     
  13. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    @Piccola Fata
    เอาจริงๆยังไม่ค่อยเบาครับ ถ้าให้สำรวจตัวเองอาจจะเพราะลึกๆในจิตผมมีเรื่องที่เครียดหรือกังวลเลยทำให้ไม่รู้สึกเบา เท่าไหร่ แต่การที่หายใจแรงๆเพื่อทำให้ความคิดจรกระเจิง และ เพื่อตึงสติให้อยู่กับตัวช่วงนั้น จะสังเกตุเห็นตัวเองว่า มันค่อนข้างสงบในระดับนึง แต่ยังไม่ถึงขั้นเบาครับ อาจจะเพราะ ปัญญาผมยังไม่ถึงขั้นครับ :) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเพิ่งเริ่มปฏิบัติ ยังงูๆปลาๆอยู่บ้างแต่จะเพียรต่อไปครับ

    ปล. ถ้าให้ผมเปรียบเทียบกับความรู้สึก เช่น ผมมีความกังวล(ความคิดเชิงลบ)เวลาที่บิดา มารดา บ่นว่า เมื่อยนอนไม่สดวก แต่พอผมดูแลท่าน นวดคลายเมื่อยท่าน จนท่านดีขึ้นนอนสดวก ผมกับรู็สึกว่า เหมือนสลัดความกังวลออกแล้วมันเลยเกิดความรู้สึกในเชิงบวกขึ้นมา อันนี้คืออาการเบาหรือไม่ครับ

    ต้องขออนุโมทนาในคำตอบ ด้วยครับ
     
  14. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ถ้าเบาแบบจิตเป็นกุศล เหตุเพราะได้ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุข มีความยินดี อิ่มเอิบ ในสุขของผู้อื่น ในความเสียสละตนที่ได้ทำเพื่อผู้อื่น แบบนี้อาการคือสุข เบา แผ่ซ่าน แบบมีกุศลอาบค่ะ

    แต่ถ้าเบา เพราะเหมือนได้ปลดเปลื้องภาระออก แบบมีภวตัณหาและวิภวตัณหา แบบนี้ไม่ใช่เบาแบบกุศล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2022
  15. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    @Piccola Fata ขอขอบคุณ และ อนุโมทนา ในความรู้ครับ ผมจะนำความรู้ไปเพียรทำเรื่อยๆ ซักวันคงจะเจอความเบาแบบที่ คุณว่ามาครับ :) ถ้ามีตรงไหนสงสัยเพิ่มเติม ผมขอรบกวนสอบถาม เพิ่มอีกนะครับ
     
  16. xanxus

    xanxus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +175
    สอบถามครับ หลายวันก่อนผมนั่งสมาธิ ช่วง 5 นาทีแรก ฟุ้ง แต่พยาพยามอยู่กับลมหายใจ พอผ่าน ไป 5 นาที สงบขึ้นไม่มีความฟุ้ง แต่รู้สึกได้ว่า จากตอนแรกที่หายใจยาว มันเริ่มสั้นและเบาลง ๆ ไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่สงบมากๆ และ รู้สึกแปลก ถ้าเปรียบเทียบ อารมน่าจะคล้ายๆ ลงบันได ไป 1 ขั้นครับ ( ค่อนข้างอธิบายความรู้สึกยากอยู่ครับ ) ทีนี้พอผมจะถอนจากสมาธิ ผมถอนไวมาก หัวผมปวดแว๊บนึงละหายไปจากที่หายใจเบา กลับมาหายใจแรงได้อีกครั้ง กรณีผมมาผิดทางหรือถูกทางครับ

    ปล. @Piccola Fata เผื่อผ่านมารบกวนด้วยครับ :)
     
  17. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    หมายถึงรู้สึกจิตมันดิ่งวูบลงมั้ยคะ น่าจะเพราะจิตกำลังจะรวม

    ที่นี้พอเวลาจิตมันสงบนิ่งมากๆ อาการทางกายก็จะแสดงออกมาด้วย ทั้งหัวใจที่เต้นช้าลง เลือดสูบฉีด แรงดันที่ลดลงกว่าปกติ แล้วจะรู้สึกกายเบาเหมือนจะหายไปเลย ลมหายใจก็แผ่วมาก จะรู้สึกลมสั้นลงเรื่อยๆ จนหายไป….ด้วยสภาวะร่างกายเป็นเช่นนี่ พอเราออกจากสภาพสงบนิ่งดิ่งลึกแบบทันทีทันใด ร่างกายย่อมมีการตอบสนองตามอาการทางจิตที่มันแปรเปลี่ยนทันที โดยการพยายามดึงการเต้นของหัวใจ ดึงการสูบฉีด ดึงลมหายใจ การทำงานของปอด กลับมาสู่สภาพเดิม ก็เป็นไปได้ที่คุณจะมีอาการแปร๊บๆขึ้น ด้วยความดันที่แปรเปลี่ยน แนนก็เคยเป็นค่ะ แต่เป็นอาการหน้ามืด แรงดันเลือดสูบฉีดตามไม่ทัน

    หลังๆ จะใช้วิธีหายใจเข้าออกลึกๆ สักพัก ค่อยๆรู้สึกตัว แล้วค่อยคืนสู่สภาพปกติค่ะ

    ส่วนอาการที่คุณดิ่งเข้าสู่ความสงบจนรู้สึกตัวหาย ลมหาย จะเป็นจิตที่เพ่งจนจิตจะเข้าไปอยู่ที่ความสงบ หากต้องการพักจิตให้ได้ความสงบ เพื่อพักจิตจะเป็นอารมนี้ค่ะ เอามันมาใช้ประโยชน์เพื่อนำมาเจริญวิปัสสนาต่อได้

    โดยการนำความสงบนั้นมากำหนดรู้ มีวิตก วิจาร เพื่อจะเข้าสู่ฌานพุทธได้ต่อ แม้แต่ความสงบก้อตั้งอยู่ไม่นาน สักพักมันก็จะไม่สงบ สังเกตการเคลื่อน การเปลี่ยนผ่านของสภาวะแต่ละสภาวะให้ดี ว่ามันก็มีความแปรปรวนในนั้น

    หากเข้าฌานพุทธได้ ลมจะไม่หาย กายจะไม่หาย แต่จะรู้สึกถึงจิตที่แยกออกมาเป็นคนดู กาย ลม นั้นต่างหาก เห็นธรรมชาติของร่างกายที่มันดำเนินไปตามธรรมชาติ เห็นจิตแยกมาทำงานต่างหาก คุณก็จะได้เข้าใจถึงสภาวะการแยกรูปนาม นี่เป็นปัญญาขั้นต้นที่จะเกิดขึ้นค่ะ

    ยังไงไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมดที่พูดนะคะ
    อยากให้ลองพิสูจน์ด้วยตัวเองก่อน
     
  18. ภราดาทิวาโจ

    ภราดาทิวาโจ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2022
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +3
    ปฏิจจะสมุปบาทก็มีความแปลก จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก
    ผู้อธิบายวงจรปฏิจจะ พยายามอธิบายการทำงานสายเกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็มีดับ ความคิดทั้งอกุศล หรือ กุศล
    ธรรมชาติมันก็วิ่งวนอยู่ในธรรมธาตุพวกนี้ ฟังดูง่าย

    แต่พอถึงบทยาก เวลาปฏิบัติจริง หมดเวลาฟังธรรมบรรยาย ก็ลืมเรื่องปฏิจจะไปแล้วเสียสิ้น ไปกังวลความคิดฟุ้ง กังวลลมหายใจ กังวลว่าทำถูกไหม จะได้บุญไหม จะบรรลุไหม จะได้คุณวิเศษไหม จะมีอภิญญาไหม จะเห็นเลขหวยไหม ๆลๆ

    ธรรมมะถ้าได้สดับ ท่านจึงมีคำสร้อยต่อท้ายว่า ต้องแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฐิ
    ถ้าแทงตลอดอย่างดีแล้ว ก็ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน ดูง่าย เหมือนหงายของที่คว่ำ ตบเข่าฉาดทำไมมันง่ายจัง
    ไม่ต้องบรรยายอะไรยืดยาว หรือ บรรยายอะไรที่ดูสลับซับซ้อน วิจิตรพิศดาร ให้ดูเรียกลาภสักการะ

    ผมจึงกล่าวว่า จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก พอหลายครั้งที่พบเห็นเรื่องง่ายๆแบบนี้กลับมีคนไม่เข้าใจจำนวนมาก
    กลายเป็นงานยากของผู้อธิบาย

    ปล ไม่ได้ @Piccalo แต่เป็นคนผ่านมา ก็ขออนุญาตแสดงความเห็นเล็กๆน้อยๆ หวังว่าคงไม่ขุ่นเคือง เพราะปกติตัวกระผมก็ไม่ค่อยพูดอะไรเป็นสาระสักเท่าไรนัก^^


    **** ลืม ถ้าอยากแทงตลอดอย่างดี ลองอ่านพวกวงจรปฏิจจะ หรือ อานาปานสติสูตร วน ๆ สัก 50 รอบดีไหมครับ เดือนละรอบ จนกว่าจะครบ 50 เดือน(อำเล่นนะ แต่ถ้าใช้เวลากับมันมากๆ มีโอกาสเข้าใจมันเยอะขึ้น ลึกขึ้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2022
  19. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    แนนว่า ยังไม่ต้องเสียเวลาอ่านหรอกค่ะ
    เราเข้าใจผ่านการปฏิบัติ จะดีที่สุด เมื่อปฏิบัติจนเข้าใจในความจริงระดับนึง มั่นใจในทางแล้วค่อยไปอ่านดีกว่า ไม่งั้นเป็นสัญญาเคลื่อน สัญญาเสียแก้ยากอีก พวกวงจรปฏิจจ ญาน16 เก็บไว้อ่านที่หลังจากปฏิบัติเข้าถึงความจริงระดับนึง จะเข้าใจได้ง่ายกว่า อ่านๆไปก่อนนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2022
  20. ภราดาทิวาโจ

    ภราดาทิวาโจ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2022
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +3
    ถ้าถก กระผมไม่อยากถกอะไรแล้วครับ เหมือนแก่ขึ้น^^ (โห 5555)
    คิดได้มากขึ้นว่า เราไม่ใช่ศาสดา กำหนดสมาธิพูดไม่ได้ มันมีโอกาสพลาดสูง เช่น

    แนนว่า ยังไม่ต้องเสียเวลาอ่านหรอกค่ะ

    ผู้ฟังรับสารไปผิด ก็กลายเป็นว่าไม่ต้องสดับ ขาดการสดับ = ไม่ได้พบเจอพระพุทธศาสนา
    ซึ่งนีไม่ได้ตำหนิ แต่คือตัวอย่างตรงหน้าที่ยกมาอธิบายประกอบ


    ผมเลยถ้าจะคุย จะเน้นคุยขำๆ ฮา ๆ ไม่เน้นธรรมะมากกว่าครับ เพราะไม่อยากพลาดในข้างต้นที่กล่าวไป
    (สรุปบทเรียนที่ผ่านมา ยอมรับว่าไปย้อนอ่านอะไรเก่าๆตัวเองในเว็บนี้ เขียนตก เขียนพร่อง เขียนแย่ ไปเยอะมาก)
     

แชร์หน้านี้

Loading...