กรรมเก่า กรรมใหม่ และการดับกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 1 พฤศจิกายน 2020.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ?temp_hash=947ad3ff18619a9846238eaa611c37e4.jpg
    ..............
    [๑๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่และกรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลายจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    กรรมเก่า เป็นอย่างไร
    คือ จักขุ (ตา) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
    ชิวหา (ลิ้น) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
    มโน (ใจ) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
    นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า
    กรรมใหม่ เป็นอย่างไร
    คือ กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ
    นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่
    ความดับกรรม เป็นอย่างไร
    คือ นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะดับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมได้
    นี้เราเรียกว่า ความดับกรรม
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม อะไรบ้าง
    คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
    ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
    ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
    ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
    ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
    ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
    ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
    ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
    นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
    กรรมเก่าเราได้แสดงแล้ว กรรมใหม่เราได้แสดงแล้ว ความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
    ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจอย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
    ...........
    กัมมนิโรธสูตร สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18...
    หมายเหตุ กัมมนิโรธสูตร ว่าด้วยกรรมและความดับกรรม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงกรรมใหม่ กรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม



    https://www.facebook.com/TipitakaStudies
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...