รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 21 หลวงพ่อสอนวิธีใช้คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 13 เมษายน 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]
    "คาถาวิระทะโย คาถาบทนี้มีความสำคัญมาก พวกเราทุกคนควรจะทำให้ได้เป็นพื้นฐานไว้ก่อน คาถาบทนี้ถ้าทำขึ้นน้อยๆ ถ้าเงินมันขาดมือมันจะชดใช้กันทัน ถ้าหากทำขึ้นเต็มอัตราเงินจะเหลือใช้ แต่ต้องทำเป็นสมาธินะ การทำสมาธินี้ไม่ต้องนั่งก็ได้ ถ้าว่างตอนไหนก็ว่ามันเรื่อยไป ขายของอยู่ ทำงานอยู่ พอว่างนิดก็ว่าไป เดินไปนึกขึ้นได้ก็ว่าไป คาถาวิระทะโย นี้ถ้าใครมีความจำเป็นมากๆ ถ้าทำถึงอุปจารสมาธิ ตอนนี้เงินไม่ขาดตัวแน่ ถ้ามีความจำเป็นมากๆ มักจะหาได้ทัน ถ้าเข้าถึงปฐมฌานตอนนี้ละขังตัว ไม่ใช่พอใช้นะ เหลือใช้เลย แต่ต้องทำได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปนะ"

    [​IMG]


    คาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว

    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]ตั้ง "นะโม" ๓ จบ[/FONT]​


    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif][FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]พระคาถาบทนำว่าครั้งเดียว[/FONT][/FONT]​

    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif][FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ[/FONT][/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ว่าดังนี้[/FONT]

    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif][FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]"วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม" (อ่านว่า สะหวา - โหม)[/FONT][/FONT]
    บทสวดคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือคาถาเงินล้าน
    นำสวดโดยหลวงพ่อและวิธีสวด<O:p</O:p

    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]พระคาถาของพระปัจเจกโพธิ์นี้ ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ ( หลวงพ่อปาน) สำนักวัดบางนมโค ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ได้ไปเรียนมาจากครูผึ้ง เวลานั้นครูผึ้งอายุได้ ๙๙ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านเรียนมาแล้วได้ปฏิบัติเห็นผลมามาก ถึงคนอื่นๆ ที่ท่านให้เรียนต่อ นำเอาไปปฏิบัติตาม ก็ได้บังเกิดผลมาแล้วมากหลาย[/FONT]

    ผู้ที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระคาถานี้ ต้องเป็นผู้ที่ใส่บาตรแก่พระภิกษุสงฆ์อยู่เสมอเป็นนิจ แม้แต่ ๑ องค์ขึ้นไปทุกๆ วันมิได้ขาด รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ หมั่นสวดมนต์ และว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ เมื่อจะใส่บาตร ให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยก่อนแล้วจึงจบขันข้าว และให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และพระปัจเจกโพธิ์ ครูผึ้ง อาจารย์เนียร ตลอดจนพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอให้จงมาโปรดข้าพเจ้าด้วย (หมายถึงผู้ที่กำลังปฏิบัติอยู่) แล้วหาน้ำที่สะอาดมากรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญและกุศลไปถึง ปู่-ย่า-ตา-ยาย-บิดา-มารดา และญาติมิตรสหายที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดถึงผู้มีพระคุณทั้งหลาย เวลาค่ำบูชาพระสวดมนต์แล้วว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ
    และถ้าใครปฏิบัติดังนี้ทุกวันเป็นนิจ จะมีลาภและความสุขความเจริญ เพราะท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค จะโปรดบุคคลทั้งหลายที่ยากจนขัดสน เพื่อให้พ้นทุกข์จากความอดอยาก แต่ท่านห้ามประพฤติความชั่ว ต้องรักษาศีล ๒ ข้อ ที่สำคัญที่สุด ให้ได้แน่นอนก่อนปฏิบัติพระคาถานี้คือ
    ๑. อทินนาทาน เว้นจากการลักทรัพย์หรือหยิบฉวยสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่อนุญาตมาเป็นสมบัติของตน
    ๒. เว้นจากการดื่มเสพสุรายาเมาทุกชนิด กับห้ามใช้ในทางมิจฉาชีพทุกชนิด และการพนันต่างๆ ด้วย
    ถ้าผู้ใดรักษาศีล ๕ ได้ทั้งหมดก็ยิ่งดี ผู้ใดประพฤติได้ดังนี้แล้ว จงปฏิบัติตามพระคาถาของพระปัจเจกโพธิ์ จะเห็นคุณในไม่ช้าเพียงเวลา ๖ เดือนก็ทราบได้ ถ้าใครทำนานๆ ได้หลายปีก็จะมีความสุขยิ่งขึ้นไป ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ใครได้ปฏิบัติตามจงกระทำใจให้ผ่องแผ้ว ระลึกถึงพระรัตนตรัย และพระปัจเจกโพธิ์ให้เที่ยงแท้ (อย่าได้ระแวงหรือสงสัย) และให้สังเกตดูให้ละเอียดต่อไปนี้
    คือให้ตวงข้าวสารที่เคยรับประทาน เดือนหนึ่งหมดเปลืองเท่าไร ปฏิบัติพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ถึงเดือนหนึ่ง จะเหลือข้าวสารเท่าไร ปฏิบัติติดต่อทุกๆ เดือนไป ข้าวสารจะหมดหรือลดน้อยลงเท่าไร ข้าวสุกหุงแล้วเหลือไว้มื้อหลัง และมื้อต่อๆ ไปจะไม่บูด และผู้ที่ตกข้าวเปลือก เมื่อจะขนเข้ายุ้งหรือพ้อม ตวงถังแรกให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ตวงถังสุดท้ายก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ เช่นเดียวกัน แล้วให้จดไว้ว่ามีอยู่กี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ครั้นเมื่อจะขนออกจากยุ้งหรือพ้อม เพื่อการค้าหรือใช้เอง ตวงถังแรกให้ว่าพระคาถานี้ก่อน ๓-๕-๗-๙ จบ ตวงถังเมื่อจะเลิกก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ เหมือนกัน แล้วให้จดไว้ว่ามีกี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ให้สังเกตว่าข้าวเปลือกจะตวงได้มากออกไปกี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ก็คงจะรู้สรรพคุณของพระคาถานี้ได้
    ผู้ที่ทำนาเมื่อจะหว่านข้าวเปลือกนาอันไหน พันธุ์ข้าวที่จะหว่านกำแรกก็ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ก่อน เมื่อหว่านข้าวหมดแล้วก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ ข้าวจะงอกงาม แมลงและสัตว์ที่เป็นอันตรายกับต้นข้าวจะไม่รบกวนต้นข้าวเลย
    ผู้ที่ทำการค้าขาย เวลาจะซื้อหรือเวลาจะขายก็ให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ค้าขายจะมีกำไร ทรัพย์สินก็จะงอกงามผิดปกติ
    ผู้ที่ทำราชการหรือทำงานรับจ้าง ทำนา ทำสวน ค้าขาย หรือเป็นแม่ครัวหุงข้าว ต้มแกงเป็นต้น เมื่อจะทำให้ว่าพระคาถานี้ก่อน ๓-๕-๗-๙ จบ
    ผู้ใดทำได้ละเอียดเรียบร้อยดังกล่าวมาแล้วนี้ และปฏิบัติการข้างต้นอย่าให้ขาดได้ จะเห็นคุณและมีลาภมาก จะมีของสิ่งไรอยู่ ใช้ไม่ค่อยหมดเปลืองเหมือนเช่นเคย มีแต่งอกงามเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จะทำนา ทำสวน รดน้ำพรวนดิน เพาะปลูก หรือซื้อขายสิ่งใดๆ ให้บูชาพระคาถานี้ก่อนทุกๆ ๓-๕-๗-๙ จบแรก และทุกๆ ๓-๕-๗-๙ จบหลัง
    หรือถ้าจะถามพระคาถานี้เป็นการเสี่ยงทายก็ได้ การถามควรถามครั้งละ ๑ อย่าง อย่าถามหลายๆ อย่างรวมกัน จะไม่เกิดผล ถ้าถามครั้งละอย่างจะได้ผลดี คือผู้ใดจะคิดทำอะไรดีไม่ดี ก็ให้บูชาพระคาถานี้ด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน แล้วหักไม้วัดให้ยาวเสมอคืบของตนพอดี และว่าพระคาถานี้ แล้วจงอธิษฐานว่า สิ่งที่ตนนึกตนคิดอยู่ในเวลานี้ ตนจะทำเป็นผลสำเร็จดีงามแล้ว ขอให้ไม้วัดยาวออกไปกว่าคืบ ถ้าจะไม่เกิดผล ไม่ดีไม่งาม ขอให้ไม้นี้สั้นเข้ามาไม่ถึงคืบ ได้มีผู้ปฏิบัติเห็นผลจริงแล้วมากราย
    ฉะนั้นจึงพิมพ์แจกในงานนี้ เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ทั่วไป ถ้าใครทำเห็นผลพิศดารอย่างไรก็ขอให้บอกเล่ากันต่อๆ ไป ด้วยเพื่อบุญกุศล ในครัวเรือนหนึ่ง ควรเล่าบ่นพระคาถานี้ให้ได้ทุกๆ คนในครัวเรือนนั้น แล้วผลัดกันใส่บาตร ถ้าหากว่าใส่บาตรไม่ทัน จบเอาไว้แล้วนำเอาไปถวายพระเช้าหรือเพลก็ได้ หรือจบแล้วฝากคนอื่นใส่แทนก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ขาดหรือเว้นได้จนวันเดียว ลาภที่เกิดแล้วแต่หนหลังจะได้ไม่ถดถอยไป
    ถ้าท่านผู้ใดนำเอาพระคาถา หรือหนังสือนี้ไปเรี่ยไร หรือซื้อขายแรกเปลี่ยน จะทำพระคาถานี้ไม่สำเร็จไม่เกิดผล เพราะท่านเจ้าของไม่พึงปรารถนาในเชิงนี้ ท่านยินดีให้เป็นธรรมทานจริงๆ
    ฉะนั้น ถ้าผู้ใดต้องการอยากได้ ก็ขอให้คัดลอกเอาไปเป็นทาน อย่าได้คิดผลประโยชน์ต่อผู้ที่คัดลอกเป็นอันขาด หรือท่านผู้ใดสนใจต้องการหนังสือพระคาถานี้ ให้ขอไปยังข้าพเจ้า ยินดีให้ท่านเสมอ ไม่ยอมให้เมื่อฝากคนอื่นขอแทน ผู้ใดจะปฏิบัติพระคาถานี้เพื่อความสุขความเจริญต่อไปภายภาคหน้า ตลอดบุตร หลาน เหลน ให้วงศ์ตระกูลของท่านแล้ว โปรดทราบไว้เพื่อความสุขอันยืนยาวนาน เทอญ

    อธิบายเพิ่มเติม
    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]คำว่า "๓-๕-๗-๙ จบ " หมายความว่า ผู้ใดยินดีปฏิบัติพระคาถากี่จบก็ได้ เช่น จะว่า ๓ จบ ๕ จบ ๗ จบ ๙ จบ เป็นต้น แต่การว่าต้องว่าเสมอกันไป จะว่าน้อยๆ มากๆ สลับกันไปไม่ได้ จะไม่เกิดผลเลย แต่พยายามว่าจบที่น้อยไปหามากได้เป็นดี ทำให้เห็นผลเป็นระยะแล้ว จึงค่อยกระเถิบมากขึ้นเป็นลำดับ[/FONT]

    บทสวดคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือคาถาเงินล้าน
    นำสวดโดยหลวงพ่อและวิธีสวด<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lp012.jpg
      lp012.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.8 KB
      เปิดดู:
      409
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2008
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]หลักการปฏิบัติ[/FONT]​
    [FONT=CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif]ในการที่ข้าพเจ้าพิมพ์หนังสือ คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าได้เรียนมาจากหวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัพระนครศรีอยุธยา และได้แจกเป็นธรรมทานไปแล้วหลายครั้ง มีท่านที่รับหนังสือนั้น ส่วนมากสงสัยในการปฏิบัติเพื่อผลเบื้องสูง คือ ถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์อย่างนายห้างประยงค์ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน พระนคร มีหลายสิบท่านที่เขียนหนังสือมาถามบ้าง มาถามด้วยตนเองบ้าง เพื่อเปลื้องความสงสัยของท่านที่สงสัย และเพื่อประโยชน์แก่ท่านที่รับหนังสือรุ่นต่อไป ขอนำเอาปฏิปทาของท่านนายห้างประยงค์มาเล่าให้ฟัง ตามที่ได้สอบสวนมาจากปากคำของนายห้างเอง เพื่อผลแก่ท่านที่ประสงค์ผลอย่างนั้น พร้อมทั้งแนะนำแบบแผนปฏิบัติเพื่อผลอย่างนั้น เพื่อผลในปรโลกด้วย
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ข้าพเจ้าได้พบท่านนายห้างที่วัดบางนมโค ได้เรียนถามถึงแนวปฏิบัติของท่าน ซึ่งท่านเป็นผู้ที่รับผลจากคาถานี้เป็นคนแรก และหาคนที่ได้ผลเสมอเหมือนได้ยาก ถามท่านว่าปฏิบัติอย่างไรจึงได้ผลอย่างนั้น ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า ท่านปฏิบัติเป็นสองแนวคือ
    ๑. ท่านสวดมนต์เป็นประจำตามแบบไม่ขาด ทั้งตอนเช้าและก่อนนอน
    ๒. ท่านเจริญภาวนาเป็นสมาธิทุกวันคืน คือ ท่านยึดหลักตามแบบสมถภาวนาอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เนื่องจากท่านได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อปานไปอย่างนั้น
    ท่านบอกว่า หลวงพ่อแนะนำท่านว่า ถ้าสวดมนต์และใส่บาตรประจำนั้น เป็นการปฏิบัติอย่างเพลา หรือมีผลเพียงไม่ขัดข้องเมื่อมีความจำเป็น จะเอาร่ำรวยนั้นยังไม่ได้สมบูรณ์ เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นเป็นการปฏิบัติที่จิตยังประกอบด้วยนิวรณ์ จิตยังเป็นทาสของอารมณ์อยู่มาก
    ฉะนั้นผลที่พึงจะได้รับในชาตินี้จึงมีผลยังไม่ไพบูลย์ และผลในชาติหน้าก็เป็นผลของทานที่ใส่บาตร และอาศัยการบริกรรมเล็กน้อย ยังเป็นผลที่มีกำลังอ่อนมาก เป็น อนิยตผล คือ เป็นผลที่มีกำลังต่ำเอาแน่นอนนักไม่ได้
    ท่านว่าหลวงพ่อแนะนำท่านว่า หากหวังความไพบูลย์จริงๆ ควรเจริญตามแบบสมถภาวนา จนสามารถระงับนิวรณ์ได้แล้ว จัดเป็นฌานนั่นแหละ ผลจะไพบูลย์มากจนคิดไม่ถึง เพราะจิตที่มีสมาธิถึงฌานได้ ต้องเป็นจิตที่มีความเคารพในศีล คือ ระมัดระวังมิให้บกพร่องอยู่เสมอ ประกอบด้วยการถวายทาน (ใส่บาตรเป็นนิจ) จัดว่าเป็นสังฆทานอยู่ทุกวันมิได้ขาด และจิตก็ผ่องใสปราศจากนิวรณ์ที่จะทำให้เศร้าหมอง
    เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ มีการสร้างทานบารมีเป็นนิจมิได้ขาด มีจิตตั้งมั่นในสมาธิอย่างนี้แล้ว ผลที่จะพึงได้นั้นก็เป็นผลที่กำหนดนับไม่ได้ หากว่าเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วได้มีโอกาสพิจารณาขันธ์ ๕ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ มีอันจะต้องสลายไปในที่สุด จนจิตเป็นอุเบกขา คือไม่หวั่นไหวพรั่นพรึงเมื่อจะถึงกาลมรณะแล้ว ท่านว่าผลที่จะได้เพราะอาศัยความบริสุทธิ์ของจิต จะมีผลอย่างคาดคิดกำหนดไว้ไม่ได้เลย
    ท่านบอกว่า เมื่อหลวงพ่อว่าทำอย่างนั้นดี ท่านก็ทำ เพราะการที่ทำอย่างนั้นไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมจากเดิมเลย ทั้งนี้ท่านบอกว่า ท่านใส่บาตรอยู่แล้วตามปกติ การเจริญสมาธิท่านว่าท่านไม่ได้หาเวลาพิเศษไปถ้ำไปเขา หรือไปเข้าสำนักบ่มวิปัสสนาที่ไหน ท่านยึดห้องพระของท่านเป็นที่สมาทานศีล เจริญสมถะและวิปัสสนา
    ท่านว่าเมื่อท่านเลิกจากการค้าในตอนเย็นแล้ว รับประทานอาหารเสร็จ พักผ่อนเล็กน้อยพอให้อาหารย่อย แล้วท่านก็เข้าห้องพระบูชาตามแบบแล้ว ท่านก็สมาทานศีล เมื่อสมาทานศีลแล้วก็เริ่มภาวนา คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก ไปพร้อมๆ กันด้วยว่าคาถาช้าๆ ตามสบาย ท่านทำเป็นประจำไม่เคยขาด
    เมื่อตื่นนอนถ้าไม่สายเกินไป ก่อนไปร้านค้าท่านก็เจริญภาวนาเสียครูหนึ่ง ท่านทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่นานเลยท่านว่าประมาณเดือนเศษๆ พอนั่งเข้าที่ภาวนาก็เกิดมีความสว่างเกิดขึ้น เมื่อหลับตาภาวนานั้น คล้ายมีใครมาจุดตะเกียงไว้ข้างๆ มีแต่แสงแต่ไม่มีดวงโคม ในระยะแรกก็สว่างน้อยๆ และไม่นาน แต่เมื่อหลายวันเข้าก็ชักมีแสงสว่างมากขึ้นและอยู่นานเข้าทุกวัน อารมณ์ใจก็แนบสนิทมีอารมณ์คงที่ไม่ไหลไปสู่อารมณ์อื่น คงภาวนาเรื่อยไป ลมหายใจดูเหมือนจะน้อยลงไปทุกที แต่ความรู้สึกนั้นเป็นสุขที่สุด บางครั้งก็ปรากฎเป็นรูปพระพุทธบ้าง พระสงฆ์บ้าง ให้เห็นเสมอ
    ท่านว่าระยะนี้แหละที่เป็นระยะที่ลาภเกิดขึ้นแปลกๆ และคาดไม่ถึง การค้าคิดว่าจะมีกำไรน้อยก็ได้มาก ยาที่ทำนับจำนวนไว้แน่นอน เมื่อเจ้าหน้าที่ขายครบจำนวน และเงินก็ได้ครบแล้ว แต่ยากลับไม่หมด การค้าขายรายได้รุดหน้าไปในทางดีอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน
    ท่านเล่าให้ฟังถึงเรื่องเงินที่เบิกจากธนาคารว่า เมื่อเบิกจากธนาคารแล้วท่านยังไม่ยอมนับ ท่านเอาเข้าเซฟก่อน พอรุ่งเช้าจึงเอาออกมานับท่านว่ามีเรื่องมหัศจรรย์อย่างคาดไม่ถึง เงินที่รับจากธนาคารปึกละหนึ่งหมื่นนั้น ทุกปึกเกินหมื่นบาททุกปึก บางปึกเกินถึงสามพันบาท เดิมคิดว่าทางธนาคารนับมาผิด แต่เมื่อสอบทางธนาคารก็ยืนยันว่านับไม่ผิด เป็นอย่างนี้ทุกครั้งจนเห็นเป็นปกติ
    การค้าก็ไม่ได้โฆษณาอย่างเขา แต่การค้าก็หลั่งไหลไม่ขาดสาย จนมีโอกาสทำบุญได้ตามอารมณ์ เมื่อทำบุญหนักเข้าผลที่ได้ก็เพิ่มหนักขึ้น ในที่สุดตามที่ท่านให้สัมภาษณ์กับคณะอนุศาสนาจารย์กองทัพบก ท่านว่าท่านทำบุญเฉพาะเงินที่ทำบุญไปแล้วประมาณ ๔๐ ล้าน (หากจำไม่ผิด) ได้ยินอย่างนั้น คิดแต่เงินที่ทำบุญเท่านั้น พวกเราก็หน้ามืดแล้ว
    ตามที่พูดนี้พูดตามคำบอกเล่าของท่านนายห้างเอง หากท่านที่รับหนังสือนี้แล้ว ท่านคิดว่าท่านประสงค์ผลอย่างนั้นบ้างแล้ว ก็จงทำอย่างท่านนายห้าง ผลในโลกนี้ก็จะบันดาลให้ท่านมีผลมีฐานะ เป็นเศรษฐีอย่างท่านนายห้าง หากท่านคิดว่าเอาแต่พอได้ คือ แก้ขัดพอมีกินไม่ขาดมือแล้ว ไม่หวังความร่ำรวยก็ปฏิบัติเพียงแค่สวดมนต์ใส่บาตร ขอให้ท่านเลือกเอาตามแต่ท่านจะเห็นสมควรแก่ตนท่านเอง มีหลายท่านที่บอกว่าอยากจะปฏิบัติแต่เกรงว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ให้ครบถ้วนไม่ได้ ขอแนะนำว่าหากคิดจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ครบถ้วนตลอดวันไม่ได้แล้ว ขอให้ทำอย่างนี้
    ขั้นแรกขอให้กำหนดเอาเวลานอนเป็นเวลารักษาศีล คือ เมื่อเสร็จกิจอย่างอื่นแล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีลโดยตั้งใจว่า ตั้งแต่เวลานี้ไปจนกว่าจะตื่น เราจะรักษาศีลด้วยชีวิต จะไม่ยอมล่วงศีล ๕ แม้แต่ตัวใดตัวหนึ่งให้ขาดหรือเศร้าหมอง แล้วแผ่เมตตาไปในทิศทั้งปวง คิดในใจ ประกาศความเป็นมิตรแก่คน และสัตว์ทุกประเภท แล้วภาวนาพระคาถาไปตามที่จะภาวนาได้ เก็งเอาดีก่อนหลับ พร้อมด้วยกำหนดลมหายใจเข้าออก เอาสัก ๕ จบแล้วก็เลิก นอนให้หลับไปทำอย่างนี้เรื่อยๆ ไป
    ต่อไปเมื่อตั้งใจรักษาศีลและแผ่เมตตาก่อนนอนพอเป็นที่สบายใจแล้ว ก็เลื่อนมาเป็นเวลาที่ไม่ได้นอน กะเอาเวลาใดเวลาหนึ่งที่เป็นเวลาว่าง ตั้งเวลาไว้วันละหนึ่งชั่วโมงเป็นอย่างมาก รักษาศีลให้บริสุทธิ์ และเจริญสมาธิไปด้วย ค่อยๆ ขยับเลื่อนไปทีละน้อยๆ อาศัยความค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ฝึกชนิดไม่หักโหมอย่างนี้ จิตท่านจะค่อยชินต่อการแผ่เมตตาจนไม่รู้สึกขัดต่ออารมณ์
    การคิดที่จะรักษาศีลก็จะเคยชิน ในที่สุดจะรักษาทั้งวันก็ไม่มีอะไรลำบากใจ เมื่อศีลเกิดความชินต่อไปจนไม่ต้องระวังแล้ว สมาธิก็จะแนบสนิทใจจนเป็นฌาน คืออารมณ์เยือกเย็น ภาวนาจนมีเวลานานๆ ได้ ไม่รำคาญในเสียงที่สอดแทรกเข้ามารบกวน คงภาวนาได้นานๆ ขนาด ๑๐ ถึง ๒๐ นาที โดยจิตไม่ทิ้งอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่า ได้ฌานสมาบัติต้นผลที่ท่านประวงค์ก็จะประสบพบถึงกันตรงนี้
    ผลของการเจริญจนถึงฌาณอย่างนี้ มีผลในปัจจุบันมากมาย คือ
    ๑. ลาภจะเกิดมากมายอย่างท่านนายห้างประยงค์
    ๒. ผลทานเป็นเหตุให้เกิดความรักแก่ผู้ที่ได้รับ และเป็นผลในการตัดโลภกิเลส
    ๓. ผลของศีลทำให้เป็นคนน่ารัก และเป็นที่เคารพนับถือ
    ๔. ฌานทำให้อารมณ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีหน้าและใจแจ่มใสอยู่เสมอ และฌานนี้จะบันดาลให้ได้ทิพจักขุญาณ รู้เห็นภาพที่เป็นทิพย์ เช่น สวรรค์ นรก เป็นต้น
    สามารถเปลื้องความเคลือบแคลงสงสัย ในคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียได้ ตัดความเป็นมิจฉาทิฏฐิได้อย่างเด็ดขาด และเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ เป็นเหตุให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ตามที่นักบุญทั้งหลายต้องการ
    เป็นอันว่า พระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ย่อมให้ผลสองประการ คือ
    ๑. ให้ผลร่ำรวยในโลกนี้ และเป็นที่รักที่เคารพของคนทั่วไป
    [/FONT]๒. ให้ผลในชาติต่อไปด้วยอำนาจทาน ทำให้ร่ำรวย ศีลทำให้รูปสวยและอายุยืน ฌานทำให้ได้เกิดในพรหมโลก และเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน จัดว่าเป็นพระคาถาที่ให้ผลเป็นพิเศษที่หาได้ยาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lp102.jpg
      lp102.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.7 KB
      เปิดดู:
      2,730
  3. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]

    อาการและอานิสงส์ของสมาธิ
    ไหนๆ ก็ได้พูดกันมาถึงเรื่องของสมาธิแล้ว ก็จะขอพูดต่อไปเสียเพื่อความเข้าใจโดยย่อๆ ของสมาธิ เพราะเมื่อเรียนคาถานี้มา ท่านอาจารย์หลวงพ่อปานสอนในระดับสมาธิ ท่านได้บอกให้เข้าใจว่า คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้เป็นความรู้ในคิหิปฏิบัติในระดับฌานสมาบัติได้ดี คำว่า คิหิปฏิบัติ แปลว่า การปฏิบัติดีของชาวบ้าน เพราะคาถานี้นอกจากจะให้ผลเป็นฌานสมาบัติแล้ว ยังให้ผลในความมั่งคั่งสมบูรณ์ได้อีกด้วย เป็นผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า คือ ชาตินี้เป็นคนรวย ชาติหน้าก็เป็นปัจจัยใกล้มรรคผล คือ ให้ผลในสุคติสวรรค์และพรหมโลกเป็นที่ไป หากท่านผู้ใดสนใจเอาสมาบัติที่ได้ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณด้วยแล้ว ท่านอาจจะได้รับผลสูงอย่างคาดไม่ถึง
    นอกจากผลในสมาธิเป็นสมาบัติ อาจผดุงผลทางลาภให้เกิดกลายเป็นคนร่ำรวยแล้ว สมาธิยังให้ผลในทิพจักขุญาณอีกด้วย เป็นการช่วยส่งเสริมศรัทธาในการสร้างความดีให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ทว่าหนังสือนี้ตั้งใจจะเขียนแต่เพียงโดยย่อ หากข้อความที่เขียนไว้นี้ย่อเกินไป ท่านเข้าใจไม่ละเอียดพอแล้ว ท่านประสงค์จะรู้ต่อไปให้ละเอียดก็ขอให้รอหนังสือคู่มือสมณธรรม ซึ่งอาตมาจะพิมพ์ต่อจากเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ได้เขียนข้อความปฏิบัติ มีแบบปฏิบัติตั้งแต่ปฏิสัมภิทาญาณ อภิญญา ๖ วิชชา ๓ ไว้พอที่จะเข้าใจได้พอสมควร
    สมาธิ
    คำว่า "สมาธิ" แปลว่า ตั้งใจมั่น คือมีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ท่านจัดไว้เป็น ๓ อย่าง คือ. ขณิกสมาธิ ๒. อุปจารสมาธิ ๓. อัปณาสมาธิ
    ขณิกสมาธิได้แก่สมาธิเล็กน้อย คือ เมื่อขณะที่กำละงภาวนาคาถาอยู่นั้น อารมณ์สนใจเฉพาะแต่ในคาถาภาวนา ไม่มีอารมณ์โลภหรือรักในเพศ ไม่มีอารมณ์โกรธคั่งแค้น ไม่มีความคิดอย่างอื่นนอกจากบทภาวนา ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เกิดความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติ มีจิตสงัดจากอารมณ์ภายนอกตามที่กล่าวมาแล้ว
    แต่ก็ทรงอารมณ์นั้นอยู่ในฌานไม่นาน ทรงได้สักประเดี๋ยวเดียว อารมณ์ตามที่กล่าวมาแล้วก็เข้ามารบกวน เมื่อรู้ตัวก็ตั้งต้นใหม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" เป็นสมาธิเล็กๆ น้อยๆ ไม่มาก ทรงอยู่ได้ไม่นาน
    อานิสงส์ในปัจจุบัน ทำให้เป็นคนพอมีความยับยั้งความรู้สึกที่เป็นโทษ พออดใจไว้ได้บ้างในบางขณะ ส่วนในพระคาถาให้ผล พอมีทางได้แก้จนเมื่อถึงคราวจำเป็น เรียกว่า พอตะเกียกตะกายเอาตัวรอดได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น ในสัมปรายภพ ท่านสมาธิขนาดนี้ให้เพียงเกิดในชั้นกามาวจรสองชั้น คือ ชั้นจาตุมหาราช กับชั้นดาวดึงส์ ชั้นใดชั้นหนึ่ง
    อุปจารสมาธิเป็นสมาธิที่ใกล้จะเข้าระดับฌาน มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ได้นานเกินกว่าสมาธิก่อน มีลมหายใจค่อยละเอียดลง คือ มีอาการหายใจเบามาก มีความชุ่มชื่นในใจอย่างที่จะกล่าวได้ยาก มีความอิ่มเอิบชุ่มชื่นเบิกบาน มีอารมณ์สมาธิตั้งอยู่ได้นานพอสมควร มีการเห็นภาพแปลกๆ มีแสงสว่างปรากฏ มีอารมณ์เยือกเย็น
    ข้อที่ควรสนใจที่ถึงระดับนี้ก็คือ อย่ามัวหลงไหลในภาพที่เห็น เมื่อเห็นแล้วปล่อยเลยไป ตั้งใจรักษาอารมณ?สมาธิไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะรักษาได้ หากไปหลงภาพและแสงสีแล้ว ต่อไปอารมณ์จะซ่าน สมาธิจะเสื่อมจะไม่ถึงดี
    สมาธิระดับนี้มีอานิสงส์ในปัจจุบัน คือ มีจิตอิ่มเอิบเบิกบาน หน้าตาชุ่มชื่นตลอดวัน มีความอดกลั้นต่ออารมณ์ที่เข้ามายั่วเย้าได้ดีมาก มีเมตตาปราณีเกิดขึ้นแก่ใจอย่างคาดไม่ถึง รักศีลมากกว่าการห่วงใยอารมณ์ภายนอก เกิดลาภสักการะขนาดใหญ่เสมอๆ ผลงานจะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติอย่างคาดไม่ถึงมาก่อน เมื่อละอัตภาพแล้ว ท่านว่าอานิสงส์สมาธินี้ส่งผลให้เกิดชั้นยามา
    อัปณาสมาธิ เป็นสมาธิแนบแน่นเป็นอารมณ์ฌาน คือ เมื่อขณะบริกรรม คือ ภาวนาอยู่นั้น มีอารมณ์ ๕ ของฌานครบถ้วน คือ
    ๑. นึกถึงบทภาวนา คือ คาถาอยู่เสมอมิได้ขาด
    ๒. ใคร่ครวญตรวจสอบว่าคาถาที่ว่านี้ขาดตกบกพร่องหรือไม่ ลมหายใจเข้าออกนั้นก็กำหนดรู้ว่าหายใจเข้าหรือออก สั้นหรือยาวเมื่อหายใจเข้าออกนั้น
    ๓. มีความอิ่มเอิบปราโมทย์ ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    ๔. มีความสุขใจสุขกายอย่างปราณีต ซึ่งไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิต
    ๕. รักษาอารมณ์ไว้ได้มีเวลานานๆ และสามารถตัดกังวลรำคาญจากเสียงภายนอกเสียได้ คือ แม้จะมีเสียงรบกวนเพียงใดก็ไม่มีความสนใจต่อเสียง ไม่รำคาญในเสียงรบกวนนั้น อย่างนี้ท่านเรียก ปฐมฌาน คือ ได้ปฐมฌานนั่นเอง
    อารมณ์ฌานขนาดนี้ย่อมมีอานิสงส์ในปัจจุบัน คือ มีผลเกิดจากเจริญภาวนาเป็นลาภใหญ่ และเยือกเย็นไม่มีโทษ ไม่มีความเดือดร้อน ท่านนายห้างประยงค์ตอนที่ท่านเริ่มรวยนั้น ท่านว่าท่านถึงตรงนี้ท่านก็เริ่มรวย นอกจากรวยแล้วยังเป็นบุคคลที่สังคมคนดีปรารถนา เพราะเป็นฝ่ายประชาสงเคราะห์อยู่เสมอ ความสุขสดชื่นเกิดขึ้นอย่างบอกไม่ถูก เป็นที่เคารพบูชาของคนทุกชั้น ในปุเรชาติคือชาติต่อไป ท่านว่าฌานต้นนี้บันดาลให้ไปเกิดในพรหม ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ , ๒ , ๓ ตามระดับฌานที่ได้หยาบละเอียดกว่ากัน
    ฌานที่ ๒ อันนี้ถ้าเรียกเป็นสมาธิ ท่านเรียก อัปณาสมาธิเหมือนกัน แต่มีความละเอียดสุขุมกว่าระดับต้น คือ พอถึงฌานที่ ๒ ท่านว่าความละเอียดของอารมณ์มากกว่าระดับก่อน จนมีอาการหยุดภาวนาไปเอง ไม่นึกไม่คิดอารมณ์ที่ภาวนาหรือลมหายใจอีก มีอาการเฉยต่ออารมณ์ที่เคยคิดนึกนั้น มีแต่ความปีติปราโมทย์อิ่มเอิบเข้ามาแทนที่ มีความสุขสงัดเกิดแต่วิเวก เป็นความสุขทางกาย และใจที่หาอะไรเปรียบเทียบไม่ได้เลย มีอารมณ์แนบแน่นกว่าฌานที่หนึ่งมาก
    อานิสงส์ในฌานนี้ เรื่องลาภเกิดแนบแน่นนับไม่ได้ คือ ไม่ต้องคิดว่าจะหา ลาภชอบมาหาเอง คือ อยู่เฉยๆ ก็มีคนแนะนำบอกให้เป็นลาภใหญ่เสมอ มีขันตอธรรมประเสริฐมาก มีอารมณ์ชุ่มชื่น หน้าตาเบิกบานตลอดวันคืน มีเมตตาปราณีเป็นที่รักของชนทุกชั้น และสมณชีพราหมณ์ทั่วไปตายไปแล้วท่านว่าคนที่ได้ฌานชั้นนี้ไปเกิดพรหม ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๔ , ๕ , ๖ ตามความหยาบละเอียดของฌาน
    ฌานที่ ๓ มีอาการแตกต่างจากฌานที่ ๒ คือ ตัดความปีติปราโมทย์เสียได้หมด คงมีแต่ความสุขปราณีตละเอียดอ่อน มีความเยือกเย็นเป็นสุข มีอารมณ์ตั้งมั่นมาก เพราะอารมณ์ไม่ซ่านออกทางกายอย่างฌานที่ ๒ มีแต่ความสุขปราณีต และอารมณ์เป็นหนึ่งแนบแน่นไม่เคลื่อนที่ มีสภาพคล้ายกับเสาเขาปักไว้อย่างมั่นคงนั่นเอง
    อานิสงส์ปัจจุบัน เรื่องลาภไม่ต้องพูดกัน ดูท่านนายห้างประยงค์ก็แล้วกัน เมื่อก่อนเจริญคาถานี้ ท่านบอกว่าเดือนใดท่านมีกำไรถึง ๒๐๐ บาท ท่านว่าสองคนผัวเมียท่านดีใจจนนอนไม่หลับ พอถึงตรงนี้วันนั้นหลวงพ่อปานเรียกไป ให้รับออกเงินสร้างเขื่อนหน้าวัด ท่านว่าเท่าไรผมรับหมดครับ ผมไม่ท้อถอยแล้ว สุดแต่หลวงพ่อจะบัญชามากี่หมื่นกี่แสนผมก็ไม่อั้น
    ท่านว่าท่านยิ่งทำท่านยิ่งมีมาก และมีอารมณ์ผ่องใสเยือกเย็น หมดกังวลต่อเรื่องได้เรื่องเสีย ไม่สนใจรสอาหาร ปฏิบัติการกินแบบจระเข้ คือ ถือกินอิ่มเป็นประมาณ เป็นพระที่น่าบูชาของคนทั่วไป ถึงแม้จะเป็นชาวบ้านก็มีอาการคล้ายพระ เมื่อละอัตภาพแล้ว ท่านว่า ฌานชั้นนี้ส่งผลให้ไปเกิดเป็นพรหม ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๗ ,๘ , ๙ ตามความหยาบและละเอียดของอารมณ์ฌาน
    ฌานที่ ๔ ฌานนี้เป็นอันดับสำคัญที่สุดของรูปฌาน คือ เป็นฌานที่สร้างฤทธิ์กายและทางใจให้เกิดแก่ผู้ที่ได้ฌาน ฌานชั้นนี้ตัดความสุขประณีตเสียได้ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและความวางเฉย แยกกายกับจิตออกจากกันอย่างเด็ดขาด คือ ไม่รับรู้เวทนาทางกายเลย เรื่องปวดเมื่อยไม่ยอมรับรู้ อาการที่ถึงฌานนี้ที่จะกำหนดรู้ง่ายก็คือลมหายใจไม่มี เมื่อปรากฎว่าลมหายใจไม่ปรากฎ และมีอารมณ์เฉยต่อเวทนาใดๆ แล้ว จงรู้เถิดว่าตอนนี้ท่านชักจะเป็นคนเต็มโลก คือ ครบโลกียฌานแล้ว เรื่องนรกสวรรค์ หรือถ้าอยากรู้ไปเสียเดี๋ยวเดียวด้วยอำนาจมโนมยิทธิ และนอกจากนั้นยังมีฌานเป็นเครื่องรู้ เช่น ทิพจักขุญาณ รู้อดีตอนาคต รู้นรกสวรรค์ รู้การเกิดของสัตว์ รู้ผลกรรมของสัตว์ รู้สุขทุกข์ในใจของสัตว์ ระลึกชาติได้ด้วยอำนาจของฌานที่ ๔ นี้
    หากประสงค์มรรคผลนิพพานก็เอาฌานและญาณ เป็นพี่เลี้ยงช่วยวิจัยตามสายของวิปัสสนา ก็จะมีญาณเป็นเครื่องรู้แจ้งเห็นจริงได้ชัดเจนแจ่มใส จัดเป็นอานิสงส์ในปัจจุบันที่แสวงหาได้ยากยิ่ง เรื่องลาภนั้นไม่ต้องคำนึง เพราะจะท่วมล้นความต้องการ เมื่อละสังขารท่านว่าด้วยอำนาจฌานที่ ๔ จะบันดาลให้ไปเกิดในพรหมชั้นที่ ๑๐ และ ๑๑ เป็นยอกของฌานโลกีย์ฝ่ายรูปฌาน
    เป็นอันว่า การปฏิบัติคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า อันเป็นวิสัยที่จะช่วยชาวบ้านให้มั่งคั่งสมบูรณ์ในโภคทรัพย์นี้ หากท่านนักปฏิบัติมีความปรารถนาเพื่อความดีสูงสุดแล้ว และปฏิบัติตามแนวสมถภาวนา ก็จะมีผลตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ขอยุติคำอธิบายในการปฏิบัติพระคาถาพระปัจเจกพระพุทธเจ้าไว้เพียงเท่านี้
    (คัดลอกจาก "หนังสือคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า" ของพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน สุทธาวงษ์) วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พิมพ์แจกในงานทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดย...พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) สมัยหลวงพ่อท่านอยู่ ณ วัดสะพาน อ.เมือง จ.ชัยนาท)
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,380
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049

แชร์หน้านี้

Loading...