เรื่องเด่น ทำไมต้อง "นางแก้ว" ไม่เข้าใจ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Nagamanee, 30 พฤศจิกายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
    กามนิต - วาสิฏฐี

    ทุกวันนี้คนระทม เพราะคำว่า "รัก" เพียงคำเดียว...

    เราดู " คลับฟลายเดย์" มาเยอะแล้ว
    มลนี้ ฟังจนหูแฉะ เลยติดงอมแงม ดูเหมือนน้ำเน่าเเต่มันเรื่องจริงทั้งนั้น
    จนมาเจอกับตัว นั้นล่ะ ร้องไม่ออก อยากตายก็ตายไม่ได้

    จนได้รับพุทธโอสถ ใครว่า ธรรมะเยียวยาคนกำลังทุกข์เพราะรักไม่ได้
    ไม่จริง เพียงแต่ คนที่ทุกข์เพราะรัก ต้องการเพื่อน คนรับฟัง และธรรมะ
    แต่เหนือสิ่งอื่นใดมากถึงมากที่สุด คือ สติตัวเองค่ะ

    ธรรมะช่วยได้มาก ถึงมากที่สุด บอกเลย อยากร้องไห้ร้องไปเลย ร้องเยอะๆมากๆเอาเสียงแหบไปเลยเจ้าค่ะ เอาให้สุด ที่สำคัญ ห้ามทำตัวว่าง มีสติตลอดจะดูหนัง กิน เที่ยว นั่งสมาธิสวดมนต์ หรืออะไร ก็ ขอให้มี สติ ตลอดนะเจ้าคะ แล้วเราจะดีขึ้น

    ไปฟังตำนาน กามนิต วาสิฏฐีดีกว่าค่ะ

     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ของยาก อย่า แม้แต่คิดจะเป็นถ้ารับไม่ได้ทำไม่เป็น


    การที่สตรีผู้เป็นภรรยาอยู่ในโอวาทของสามีได้ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์สักเพียงใดก็ตาม ก็ยินดีจะใช้ชีวิตอยู่เคียงข้าง สามีทำการในสิ่งใด ปรารถนาในสิ่งใด ก็จะปรารถนาในสิ่งเดียวกัน จะไม่ขัดขวางสามี เชื่อและเข้าใจในสิ่งที่สามีกระทำ แม้ชีวิตนางก็ยกให้ได้ในทันที นั้นจึงเป็นบารมีที่มาของ นางแก้ว

    ไม่อยากจะทุกข์ ก็อย่ารัก อย่าสร้างรัก อย่าปรารถนารัก จงนิยามความรักให้สูงส่ง แค่กามจะประเสริฐอะไร? อย่าสงสารและเห็นใจ เมื่อความสงสารและความเห็นใจปนเจือด้วยกามคุณ ครานั้นจึงทุกข์


    ทุกข์ของสตรี
    “ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม (สตรี) ๕ ประการนี้ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ คือ
    ๑. สตรีเมื่อเป็นสาวไปสู่สกุลแห่งสามี ย่อมพลัดพรากจากญาติทั้งหลาย นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อแรก ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๒. สตรีย่อมมีระดู (ประจำเดือน) นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะสตรีข้อที่สอง ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๓. สตรีย่อมมีครรภ์ (ตั้งครรภ์) นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่สาม ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๔. สตรีย่อมคลอดบุตร นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่สี่ ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๕. สตรีย่อมทำหน้าที่บำเรอบุรุษ นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่ห้า ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ” (สํ ส. ๑๘/๒๘๒/๓๔-๓๑๕)
    สตรีที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจของบุรุษ
    “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ คือ
    ๑. รูปไม่สวย ๒. ไม่มีโภคสมบัติ
    ๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
    ๕. ให้บุตรแก่เขาไม่ได้
    ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ คือ
    ๑. รูปสวย ๒. มีโภคสมบัติ
    ๓. มีศีล ๔. ไม่เกียจคร้าน
    ๕. ให้บุตรแก่เขาได้ (สํ.ส.๑๘/๒๘๐/๓๑๓)
    กำลัง ๕ ของสตรี
    "ภิกษุทั้หลาย กำลัง ๕ ของมาตุคามเหล่านี้ คือ
    ๑. กำลังคือรูป
    ๒. กำลังคือทรัพย์
    ๓. กำลังคือญาติ
    ๔. กำลังคือบุตร
    ๕. กำลังคือศีล
    ภิกษุทั้งหลาย สตรีประกอบด้วยกำลัง ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้องอาจ ครองเรือน, ย่อมข่มสามี ครองเรือน, ย่อมครอบงำสามี ครองเรือน." (สํ.ส.๑๘/๓๐๔/๓๒๗)
    “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะกำลังรูปเป็นเหตุหรือเพราะกำลังทรัพย์เป็นเหตุ เพราะกำลังญาติเป็นเหตุหรือเพราะกำลังบุตรเป็นเหตุก็หามิได้ แต่มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ได้ ก็เพราะกำลังศีลเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”
    (สํ.ส.๑๘/๓๑๐/๓๓๑)
    ธรรมที่ทำให้สตรีแกล้วกล้า
    “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน คือ
    ๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
    ๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
    ๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
    ๔. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
    ๕. เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
    ความประมาท
    ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
    (สํ.ส. ๑๘/๓๑๒/๓๓๓)





    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อุคคหสูตร ว่า
    "สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ต้องไม่ดูหมิ่นสามีผู้หมั่นเพียร ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนา ทั้งปวง ไม่ทำสามีให้ขัดเคือง ไม่ประพฤติแสดงความหึงหวงสามี และบูชาผู้ที่สามีมีความเคารพ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนทางฝ่ายของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดประพฤติตนเช่นนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทพธิดาในสวรรค์"



    ด้วยเหตุและผลกรรมอันช้านาน ความรักที่แท้จริงของบุรุษและสตรี มีคติ ๒ และ ฐานะ ๔ และความพอใจเป็นเหตุ จึงถือว่าได้พบกับรักแท้

    อรรถกถา สาเกตชาดกว่าด้วย เหตุให้เกิดความรัก

    พระศาสดา เมื่อประทับอาศัยเมืองสาเกต ทรงปรารภสาเกตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ โข ภควา เหตุ ดังนี้.
    ส่วนเรื่องราวในชาดกนี้ ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันกล่าวไว้ในเอกนิบาต ในหนหลังแล้ว.
    ก็ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า ความรักนี้ตั้งอยู่ได้อย่างไร กล่าวคาถาแรกว่า :-
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉยๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้าก็เลื่อมใส.

    เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า
    อะไรหนอแลเป็นเหตุให้บุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าเท่านั้น หัวใจก็สงบนิ่งสนิท คือเยือกเย็นดังเอาน้ำหอมพันหม้อมารด บางคนไม่สงบ บางคนพอเห็นกันเข้าเท่านั้นก็มีจิตผ่องใส อ่อนละมุนละไม เยื่อใยต่อกัน ด้วยอำนาจความรัก บางคนก็ไม่เยื่อใยต่อกัน.

    ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความรักแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
    ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการ คือ
    ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑
    ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑

    เหมือนดอกอุบลเมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุสองประการ
    คือน้ำและเปือกตม ฉะนั้น.

    เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา ความรักนี้ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ คือได้เป็นมารดาบิดา ธิดาบุตร พี่น้องชายพี่น้องหญิง สามีภรรยา หรือสหายมิตรกันในภพก่อน เคยอยู่ร่วมที่เคียงกันมา ความรักนั้นย่อมไม่ละ คงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอย่างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูลกันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้.
    ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการฉะนี้ เปรียบเหมือนอุบลในน้ำฉะนั้น คือเหมือนอุบลและบุปผชาติที่เกิดในน้ำต่างๆ เกิดในน้ำ ก็ได้อาศัยเหตุสองอย่าง คือน้ำและเปือกตมฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการนี้ฉะนั้น.

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
    พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้น ได้เป็น ชนทั้งสองนี้ในครั้งนี้
    ส่วนบุตร คือ เราตถาคต แล.


    " ภรรยาที่จะเป็นคู่ชีวิตของชาย ต้องมีคุณสมบัติคือฐานะ ๔ ประการ คือ

    - มีความรักในสามีเหมือนมารดารักบุตรน้อย
    - มีความเคารพเหมือนน้องสาวเคารพพี่ชาย
    - มีความซื่อตรงเหมือนเพื่อนร่วมตาย
    - และมีความจงรักภักดีเหมือนทาสีรักนาย

    ชายใดได้คู่ครองที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทั้งสี่นี้แล้ว แม้จะอยู่ในกระท่อมหลังเล็ก ก็เหมือนอยู่ในวิมานเมืองสวรรค์ หากไม่ครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ ขอเพียงได้หญิงที่มีคุณสมบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง ก็ยังคงเป็นคู่ครองที่ดีของฝ่ายชายได้"

    นอกจากนี้ มโหสถยังได้กล่าวเสริมไว้ว่า "การที่เอาความรักไปวางไว้ที่ความดี จะทำให้ความรักนั้นยืนนาน ความรัก อย่างนี้จะหมดไปต่อเมื่อคู่ครองหมดความดี คนที่มีอัธยาศัยดี แม้ชีวิตร่างกายจะแตกดับเป็นเถ้าผงธุลีไปแล้ว ความดีก็ยังไม่หมด เมื่อความดียังไม่หมดความรักก็ยังคงอยู่ แต่หากเอาความดีไปไว้ตรงที่ความรัก ความยืนยาวของความรักชนิดนี้มีน้อยนิด เพราะรักกับชังอยู่ใกล้กันมาก คู่ครองที่เอาความดีไปไว้ที่รัก เห็นอะไรก็ดีไปหมดในยามรัก เมื่ออยู่ร่วมกันได้ไม่นาน ก็มักจะ มีเรื่องระหองระแหงกัน สุดทางรักชนิดนี้คือหย่าร้าง ต่างคนต่างไปตามวิถีชีวิตของตน"


    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดี ย่อมก่อทุกข์ให้มากมาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง”


    บุรุษและสตรีพึงเข้าหากันเพราะมีความปรารถนา
    ๑.ปรารถนาในกาม(ลามก)
    ๒.ปรารถนาในมิตร(สหาย)
    ๓.ปรารถนาในทรัพย์(ลาภ,ทรัพย์สินเงินทอง)
    ๔.ปรารถนาในบุตร(ดำรงตระกูล)
    ๕.ปรารถนาในเกียรติ(ยศ,สรรเสริญ,ยินดี)
    ๖.ปรารถนาในความสุข(อื่นๆ)
    ๗.ปรารถนาในอายุ(รักษาชีพ)
    ๘.ปรารถนาในรัก(ครองชีวิตคู่)
    ๙.ปรารถนาความทุกข์(เรียนรู้ทุกข์,เสพทุกข์)
    ๑๐.ปรารถนาในการนินทา(คำว่าร้ายจากผู้อื่น,ประชดชีวิต)
    ๑๑.ปรารถนาชีพ(เอาชีวิต)
    ๑๒.ปรารถนาร้าย(ให้ร้าย,เกลียดชัง,ข่มขู่,รังแก,ข่มเหงน้ำใจ)
    ๑๓.ปรารถนากุศล(ตอบแทน,ร่วมบุญ,สรรสร้าง)
    ๑๔.ปรารถนาการพลัดพราก(เลิกลา,หย่าร้าง,สั่งเสีย)
    ๑๕.ปรารถนาความรู้(วิชาการ)
    ๑๖.ปรารถนาธรรม(ความเจริญในรสพระธรรม)
    ๑๗.ปรารถนาเพื่อปกป้องคุ้มครอง(ดูแล,รักษา)
    ๑๘.ปรารถนารับใช้(ช่วยเหลือ,ส่งเสริม,ให้)
    ๑๙.ปรารถนาทาส(การรับใช้,บำเรอ)
    ๒๐.ปรารถนาอวด(แสดง,โชว์,ล่อให้สนใจ)
    ๒๑.ปรารถนาเล่นสนุก(ไม่จริงจัง,ฆ่าเวลา,หลอกล่อด้วยจริตมารยา)
    และ เพราะถูกบังคับ


    ๘. วิสาขาสูตร
    [๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขา
    มิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดา
    เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียก
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนาง-
    *วิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง
    นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่
    พอใจ ทำกาละเสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ
    ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ
    พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนคร
    สาวัตถีหรือ ฯ
    วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรและหลาน
    เท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ
    พ. ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำกาละอยู่
    ทุกวันๆ ฯ
    วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คน
    บ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง
    ๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ
    พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึงเป็นผู้มี
    ผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ
    วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตร
    และหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน ฯ
    พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่ง
    ที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐
    ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐
    ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐
    ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐
    ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘
    ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มี
    ทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔
    ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่ง
    ที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
    ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
    อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลาย
    อย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
    เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร
    และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มี
    สัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความ
    สุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่
    โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขาร
    ให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ
    จบสูตรที่ ๘

    โลกนี้มันกว้าง เวลาก็มีอยู่น้อย ถ้าได้ตั้งใจแล้วจริงๆ ว่าจะรักให้ได้ ใครก็ขวางไม่ได้ ก็จัดหนักไปเลยคิดอะไรมาก อยากจะรักก็รักแหกด่านกันไปเลย อย่ามัวกั๊ก มันจะเศร้า จะสุข จะทุกข์ จะหวานหอม จะมีอนาคตหรือไร้อนาคต จะสมหวังหรือผิดหวัง รักแล้วได้หรือไม่ได้อะไร? อย่ามัวเสียเวลาพิจารณาไตร่ตรองอะไร?มากจนเสียประสาท เสียเวลามาคร่ำครวญเสียเปล่าๆ เรื่องของความรัก เรื่องของหัวใจของตนเอง จะมัวถามเอาประสบการณ์จากใคร? ต่อให้เขาพูดเขาบอกพรรณนาถึงมันแค่ไหน?ก็ไม่มีทางที่จะทำให้เราได้เข้าใจ เท่ากับที่เราได้รู้สึกด้วยตนเอง

    พอรู้อะไรขึ้นมากแล้ว ก็ตัดสินใจเอง ไม่อยากให้ใครมาบงการชีวิต บงการความรัก บงการหัวใจของตนเอง ถ้าไม่ชอบอย่างนั้น ก็อย่ารักใคร? อย่าสนใจใคร อย่าฟังใคร? ไปแสวงหาสิ่งอื่นที่มันทำให้มีความสุข มากกว่าความรักที่ว่า เลือกเอาเองล่ะกัน อย่ามัวเสียเวลา อย่ากลัวที่จะขายหน้า อับอายใคร? ทุกคนมีสิทธิ์รักกันได้ ถ้าว่าความรักมันดีจริง ก็อย่าหวงแหนมัน เผื่อแผ่แจกจ่ายความรักนั้นไป ให้ทั่วโลกา


    ส่วนตัวนิยมแบบนี้
    รักเธอก็รักนะ แต่อิสระนั้นสูงส่ง นกน้อยในกรอบกรง ใช่รู้ค่าฟ้าเสรี คิดถึงนะคิดถึง และซาบซึ้งในความดี แต่งานยังมากมี มิอาจล้มอุดมการณ์ ขอฝึกให้แข็งแกร่งทั้งเรี่ยวแรงและวิญญาน แปลงรักเป็นแรงงาน เพื่อสร้างหวังกำลังใจ หว่านโปรยเมล็ดพันธ์ให้รักนั้นกระจาย ให้แก่ผู้ยากไร้ ให้ฝูงชนบนโลกา


    เราเชื่อว่าหากมีผู้ใดที่ได้เสวยรสอันเป็นทิพย์อย่างเรา จะเข้าใจอรรถที่เราแสดงไว้นี้

    ว่ามีความเหนือกว่าโลกียสุขอันมีโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ทั้งมวล (รูป เสียง กลิ่น รส)

    เพราะว่าความสุขอันเหนือโลกียสุขนี้ เหนือรูป เหนือรส เหนือเสียง เหนือกลิ่น ทั้งมวล


    เมื่อได้ท่องเที่ยวไปทั่ว ประเมินการรับรู้ที่สั่งสมมาแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่เหนือจินตนาการของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาถ้วนทั่วไป จะใช้สติสัมปัชชัญญะมารับรู้ได้ ถ้าไม่อาศัยฤทธานุภาพของพระธรรมเป็นที่ตั้ง ขันธ์๕ อินทรียธาตุที่มาประชุมกันเหล่านี้หรือจะสามารถรองรับได้

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขของการกินอยู่พักผ่อนหลับนอนหลับไหลนิมิตฝันจะมีสติก็ดีไม่มีสติก็ดีทั้งปวงใน๓ภพ(สติในที่นี้เป็นสติที่ระลึกอื่นเช่นเจตสิกการรับรู้ร้อนหนาวหรือความคิดง่วงหลับสบายฯ วิตกวิจารณ์ฯแต่ไม่ใช่

    "สติในธรรม"เป็นสติที่ระลึกรู้ตัวในสภาวะที่เสวยทิพย์อันเกิดสุขจากการพิจารณาในหัวข้อธรรมต่างในยามหลับสนิท ที่ข้าพเจ้าเสวยวิมุติรสอยู่เสมอ(๐)

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขที่ได้จากรสสัมผัสที่เพลิดเพลินในกามคุณอันมี สตรีมนุษย์,นางสวรรค์,ธิดามารใน๓ภพเป็นต้น

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขที่ได้จากการครอบครองทรัพย์ภายนอกทั้ง๓ภพเป็นต้นอันได้แก่เงินทองแก้วมณีศาสตราของมีค่าทั้งมวลฯ

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขในการรับรู้รับฟังคลื่นเสียง การขับร้องลำนำใดๆแม้จะเอาส่วนที่ดีที่สุดของเครื่องกำเนิดเสียงที่ไฟเราะที่สุดใน๓ภพเป็นต้นมารวมกันเป็น๑เสียงเดียวก็มิอาจเทียบเท่าได้แม้สักเศษส่วนเดียว

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขจากการดื่มกินลิ้มรสธาตุอาหารที่ว่าเป็นเลิศแล้วทั้งมวลที่มีอยู่ใน๓ภพเป็นต้น

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขของสุราเครื่องดองของเมาอันมีโทษทุกชนิดที่เสพแล้วต้องติดด้วยรสแห่งการครอบงำประสาททั้งมวล จนถึงขนาดไม่ได้เสพต่อในทันทีทันใดต้องหมดสิ้นลมหายใจตายจบภพชาติไป ก็มิอาจเทียบได้แม้สักเพียงเศษเชื้อธุลีเดียวกับการเสวยทิพย์อันเป็นกระแสสุขของโลกุตระ อันเหนือโลกียสุขทั้ง๓โลกนั้นอยู่

    "อันเป็นที่สุดจะพรรณนาออกมาได้ ต้องสัมผัสเอง"

    เราเชื่อว่าหากผู้ใดได้สัมผัสเช่นเรา ในกาลตลอดชีวิตที่มีจะไม่มีการพรรณาเชิดชูถึงความสุขทางโลกียสุข๓ภพนั้นอีกอย่างแน่นอน แม้ยังจะต้องดำรงชีวิตอย่างมนุษย์ปุถุชนอยู่ก็จะมีความเบื่อหน่ายระคายใจในการเสวยทุกข์นั้นอยู่ในทุกลำดับการ เสมือนผู้เดินทางในทะเลทรายหมดน้ำร้อนลนระเหิดระเหย คอแห้งแสบพล่าตาลาย พบแหล่งน้ำน้อยที่ไม่สะอาดต้องทนฝืนดื่มกินอย่างไม่ตั้งใจด้วย อำนาจการบังคับของอินทรียธาตุทั้งปวงฯ ชีวิตจะมีคุณค่าความหมายมากขึ้นจนถึงที่สุดเมื่อเข้าใจแล้วรับรู้เข้าใจถึง



    สังขารุเบกขาญาณ(ญาณที่ ๑๑ เป็นยอดแห่งวิปัสสนาในขั้นโลกีย์)

    ชื่อว่า"สังขารุเบกขาญาณ" เพราะว่า ญาณนี้เป็นญาณที่วางเฉยต่อสังขาร คือ "นามรูป" นั่นเอง

    คำว่า"วางเฉย"นั้นหมายความว่า วางใจเป็นกลาง ไม่มีความยินดียินร้ายในนามรูปทั้งปวง ในการที่ได้รับอารมณ์เช่นนี้ ก็เพราะเหตุว่า ปัญญาที่ได้พิจารณาเห็นความจริงมาแล้วในญาณต้นๆนั้น มีกำลังแก่กล้าขึ้นด้วยอำนาจที่เข้าไปเห็นความไม่มีสาระแก่นสาร และเข้าไปเห็นความว่างเปล่าจากตัวตนในเบญจขันธ์โดนอาการ ๑๒ นัย

    คือ เห็นเบญจขันธ์นี้ มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ชีวะ มิใช่ตน และไม่มีตัวตน มิใช่เรา มิใช่ของเรา มิใช่ของคนอื่น มิใช่หญิง มิใช่ชาย มิใช่สิ่งที่ยั่งยืน มิใช่สิ่งที่ควรจะยินดี.

    สังขารุเบกขาญาณเกิด พระโยคาวจรครั้นกำหนดสังขาร ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ไปอย่างนี้อยู่ ย่อมละทิ้งความกลัวและความยินดีได้เสียแล้ว เป็นผู้เป็นกลางวางเฉยในสังขารทั้งหลาย ไม่ถือว่าเป็นเรา เป็นของเราก็ดี ดังบุรุษผู้มีภรรยาอันหย่าขาดกันแล้ว ฉะนั้น

    พระโยคาวจรก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ใคร่จะพ้นไปจากสังขารทั้งปวง จึงกำหนดสังขารทั้งหลายด้วยปฏิสังขานุปัสสนาไป จนไม่เห็นความที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งที่น่าถือเอาว่าเป็นเรา เป็นของเราแล้ว

    เมื่อรู้อย่างนั้น เห็นอย่างนั้น จิตย่อมถอย ย่อมหดกลับ ไม่ยื่นไปในภพ ๓, กำเนิด ๔, คติ ๕, วิญญาณฐีติ ๗, สัตตาวาส ๙, มีความวางเฉยในสังขารทั้งหลาย เป็นอุเบกขา

    เหมือนหยาดน้ำที่ตกลงไปในใบบัวที่ลาดเอียงหน่อยหนึ่ง ย่อมถอยกลับไม่กลิ้งยึดไปในใบบัวฉันใด ก็ฉันนั้น หรือเหมือนขนไก่ถูกไฟเข้าย่อมหดกลับ ไม่เหยียดไปในไฟฉันใด จิตของพระโยคาวจรนั้น ย่อมถอย ย่อมหด ย่อมกลับ ไม่เหยียดไปในภพ ๓ เป็นต้น ฉันนั้น.

    ปัญญาในสังขารุเบกขาญาณนี้ ท่านถือว่า เป็นยอดของวิปัสสนาในขั้นโลกีย์ เพราะญาณชั้นนี้ เป็นญาณที่สำคัญที่จะเป็นปัจจัยส่งให้ถึงวิถีของมรรคผล หรือเป็นปัจจัยที่จะส่งให้เป็นพระอริยบุคคลก็ได้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกวิปัสสนาญาณนี้ว่า "วุฏฐานคามินี" เป็นเครื่องออก หรือเป็นทางออก หรือเป็นที่ตั้งของทางออก

    คำว่า "ออก" ในที่นี้ หมายถึง "ออกจากทุกข์" หรือออกจาก"กิเลส" หรือออกจาก"สังสารวัฏฏ์" ก็มีเนื้อความนัยเดียวกัน

    ส่วนอริยมรรคนั้น ท่านเรียกว่า"วุฏฐานะ" เพราะเป็นธรรมที่ออกแล้ว โดยเหตุนี้ ท่านจึงถือว่า สังขารุเบกขาญาณนี้ เป็นธรรมเครื่องออก เพราะสังขารุเบกขาญาณนี้ มีปัญญาแก่กล้า ประหารกิเลสให้เบาบางมาก เห็น"พระไตรลักษณ์"เด่นชัดมาก และมีฉันทะอันแรงกล้าที่จะได้ซึ่ง"พระนิพพาน"

    วิสุทธิมัค และพระอภิธัมมัตถสังคหะ



    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า "มาคันทิยะ ในกาลก่อน เราได้เห็นธิดามารทั้งสามเหล่านี้ผู้ประกอบด้วยอัตภาพเช่นกับแท่งทอง ไม่แปดเปื้อนด้วยของโสโครก มีเสมหะเป็นต้น แม้ในกาลนั้น เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุนเลย ก็สรีระแห่งธิดาของท่านเต็มไปด้วยซากศพ คืออาการ ๓๒ เหมือนหม้อที่ใส่ของไม่สะอาด อันตระการตา ณ ภายนอก แม้ถ้าเท้าของเราพึงเป็นเท้าที่แปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไซร้ และธิดาของท่านนี้พึงยืนอยู่ที่ธรณีประตู ถึงอย่างนั้น เราก็ไม่พึงถูกต้องสรีระของนางด้วยเท้า"


    คำว่า " ยอม " ที่จะรักตอบในฐานะ สัตบุรุษ หลายครั้งก็นำความเจ็บปวดมาให้

    เพราะฉนั้น
    สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะอยากได้กาม

    พูดง่ายกล่าวตรงๆ ไม่จีบหญิง อย่างมากก็มองดูเหมือนมองดอกไม้ริมทาง แต่จะไม่ปรารถนาไปเกี่ยวข้อง

    กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องผ่านความเลวร้ายมาให้ได้ก่อนจึงจะคิดได้ ต่อให้ได้เจอสตรีที่ดี แต่ครอบครัวก็ไม่ผ่าน มันเป็นกรรมอย่างนั้น ในทางกลับกัน สตรีก็คิดเช่นนั้นได้ แต่ในเรื่องนี้ พุ่งเน้นไปในการร่วมสั่งสมบารมีในบุรุษผู้เป็นโพธิสัตว์เสียมากกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 429.jpg
      3333 429.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.6 KB
      เปิดดู:
      214
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2017
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นางแก้ว ที่มีความสมบูรณ์ย่อมงามทั้งกายและใจแม้จะมีเพียงข้อหนึ่งข้อใดก็ตามหรือไม่มีเลยก็ตามในลักษณะในอิตถีทั้ง ๖๔ แต่จะไม่มีในส่วนตรงกันข้ามแห่งจิต

    เมื่อไม่มี
    ความงามสมบูรณ์ทั้งกายและยกใจให้เป็นเอก
    แม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดนั่นเรียกว่า นางมาร มารในที่นี้คือเกิดมาเพื่อขัดขวาง ทำลาย " เช่น เมื่อไม่ได้ ก็ปรารถนาจะทำลาย "

    งามสมบูรณ์ในที่นี้ คือ งามสมที่จะ คู่ควรกับธาตุขันธ์ นั้นๆที่อาศัยอยู่

    อันสรีระที่แท้นั้น สามารถตั้งจิตอธิษฐานให้เกิดมาไม่สวยไม่งามได้ เพราะเป็นผู้เห็นภัยของขันธ์ ๕ ไม่ใช่ว่าจะต้องสวยต้องงามไปทุกๆชาติ อย่างนี้เรียกว่า งามตามหลัง หรืองามเพราะอาศัยบุญและงามเพราะปรารถนา หรือ พรรณนาปรารถนาอยากมีอยากได้อยากสวยเอาตามหลัง สวยแบบนี้ก็พิสูจน์ได้ง่ายคือ สวยแล้วอาภัพแถมยังใช้ชีวิตห่างไกลพระพุทธศาสนา เมื่อไม่พอใจ อยากสวยในชาติ ก็ไปสวยปรุงแต่งใช้ชีวิตอันแสนเจ็บปวด หลงเวียนว่ายในวัฎสงสารน้ำตาท่วมทุ่งไปเรื่อยๆอย่างที่เห็น


    ฉนั้นการมองเพียงแต่ภายนอกนั้น จึงไม่ใช่ความคิดและสติปัญญาของผู้ที่เจริญแล้ว

    ภารา หะเว ปัญจักขันธา
    ปัญจขันธ์ทั้งหลายเป็นภาระจริงๆ
    ภาระหาโร จะ ปุคคะโล
    แต่บุคคลก็ยังยึดถือภาระไว้

    ภาราทานัง ทุกขัง โลเก
    แท้จริงการยึดภาระไว้เป็นความทุกข์ในโลก
    โดยแท้

    ปล่อยวาง หาทางสลัดละทิ้งเสียได้จึงดี

    สำหรับบุรุษ
    บ้างก็มีศึกษาธรรม ยอมตนถือบวชเข้ามาหาภาระ มาตามหานางแก้ว สัมมะหาอะไรกัน?


    ถึงเวลาแห่งกรรมเดี๋ยวก็ต้องถูกบีบให้เข้าไปหา หรือฝ่ายนั้นถูกบีบให้มาหาเอง ในชาติ หลังจากนั้นพอชาติที่จักบรรลุธรรม ก็จักถูกบีบให้ถอยห่างออกไป แม้จะอยู่ใกล้ไกลห่างกันสักเพียงใดก็ตาม

    เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี 5 ประการ คือ...


    1. เกสกลฺยาณํ (ผมงาม) คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น


    2. มงฺสกลฺยาณํ (เนื้องาม) คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี


    3. อฏฺฐิกลฺยาณํ (กระดูกงาม) คือ หญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน


    4. ฉวิกลฺยาณํ (ผิวงาม) คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา


    5. วยกลฺยาณํ (วัยงาม) คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง 10 ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว



    ลักษณะอิตถี 64 ประการ

    1. ถึงพร้อมด้วยรูปและวัย คือถึงแม้จะมีอายุมาก แต่ก้มีรูปร่างและผิวพรรณ ไม่หย่อยยาน ดุจสาวแรกรุ่น
    2. เมื่อเวลามีครรณ์ ก็ดูกับราวว่าไม่มี คือ ไม่มีลักษณะปรากฎนูน ดั่งสามัญชนทั่วไป
    3. ยังไม่พ้นวัยชรา ก็จะสามารถมีบุตรและธิดาได้
    4. มีรูปร่างงดงามน่าชม เหมือนรูปวาด ประดับเครื่องตบแต่งทั้งมวล เหมือนเทพธิดา
    5. ปราสจากโทษแห่งสตรี ไม่นอกใจสามี
    6. มีวาจาสัตย์ ไม่พูดกระด้าง ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
    7. ไม่มีวาจาเป็นโทษ
    8. มีเสียงไพเราะ เหมือน นกดุเหว่า
    9. ไม่พูดกลับกรอก
    10. ปราสจากความโกรธ ความมัวเมา ความถือตัว ความกระด้าง ฉุนเฉียวทั้งปวง
    11. พูดจาอ่อนหวาน น่ารัก
    12. ไม่ริษยา พูดเหมาะแก่การ
    13. ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
    14. มีศีล
    15. ยินดีเฉพาะในสามี
    16. อุทิตตนให้แก่สามีคนเดียว ปราสจากการคิดคำนึงถึงชายอื่น
    17. มี ศีรษะ หู จมูก ได้ส่วนรับกัน
    18. มีผมงาม ดำขลับ เหมือนแมลงภู่ตัวประเสริฐ
    19. มีหน้าผากงาม
    20. มีคิ้วงาม เสมือนสร้อยนกยูง
    21. ปราสจากหน้านิ่ว คิ้วขมวด
    22. มีใบหน้ายิ้มแย้ม
    23. ปราใสทักทายก่อน
    24. มีวาจา สุภาพ อ่อนหวาน
    25. ถนัดขวา
    26. ซื่อตรง
    27. ไม่คดค้อม
    28. ไม่จองหอง
    29. ไม่มีมารยา
    30. ถึงพร้อมด้วย หิริ โอตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
    31. ไม่เป็นคนเหลาะแหละ เหลวไหล
    32. เป้นคนหนักแน่น
    33. ไม่เป็นคนปากร้าย
    34. ไม่เป็นคนพูดพร่ำ เพรื่อ
    35. มีความกำหนัด เกียจชัง ความหลงน้อย
    36. ถึงพร้อมด้วย กลินแห่ง ศีล
    37. มีความรู้ ระวัง ไม่ประมาท เลื่อนเล่อ
    38. รักษา มี เท้า ตา เป็นอย่างดี มี มือ เท้าอ่อน นิ่ม
    39. มีสัมผัส อ่อนนุ่ม
    40. มีดวงตา บริสทุธิ์ เหมือน กลีบ ดอกบัวใส และ บัวเขียวสด และ ดุจ ตาเนื้อทราย
    41. มีจมูกโด่งน่ารัก
    42. มีอวัยวะให่ญน้อย ได้สัดส่วนดี
    43. มีอวัยวะประจำ อยู่ตามสภาพ เป็นอันดี
    44. มีอวัยวะ งดงามไม่มีตำหนิ
    45. มีริมฝีปากแดงเหมือนลูกตำลึง สุก
    46. มีฝันงาม ตรงเสมอ ไม่ลักหลั่น เรียบชิดสนิทเป็นอันดี
    47. มีคอเรียวงาม
    48. แต่งตัวขึ้น ในทุกโอกาศ ดูดีเสมอ
    49. มีใจดี ในตาบริสุทธิ์ เหมือนดอกมะลิ
    50. ไหล่ผึ่ง
    51. แขนเรียวงามกลมกลึง
    52. เมื่อมีครรณ์ ถันไม่กลายเป็นสีดำ และเมื่อให้บุตร ดื่มนมทุกวัน ก็ไม่หย่อน คล้อยลง เอวกลม กลึงดุจ คันธนู
    53. สีข้างไม่ผิดปรกติ แม้จะมีครรณ์มาแล้วสิบครั้ง ก็ดูราวกับว่ามีแค่ครั้งเดียว
    54. วงสะดือลึก
    55. มีสะโพกกว้างเรียบ และแน่นหนา
    56. มีร่างกาย ขาวสดใสเหมือนแท่งเพรช
    57. มีแขน ขา อ่อนเหมือนงอนช้างชิดเสมอกัน
    58. มีลำแข็งเหมือนแท่งเนื้อทราย
    59. มีฝ่ามือ ฝ่าเท้า เหมือนอาบด้วยน้ำคร่ำแดง
    60. เป็นที่พึงปรกติละลึก เมื่อได้พบเห็น ก็ชื่น อกชื่นใจ
    61. มีจักษุประสาทว่องไว
    62. เป็นที่น่า อิ่ม เอิบและน่ารักเมื่อได้ พบเห็น
    63. มีผิวพรรณงามละเอียด เป็นนวลพรรณทองคำ
    64. ประเสริฐ ด้วย รูปของสตรี มีรูปเหมือนเนรมิตร


    ในครั้ง พุทธกาลผู้ที่มีลักษณะครบถ้วนตามนี้ คือ พระนางสิริมหามายา (พระมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะ)


    สำหรับเราถ้าจะให้สรุประดับสภาวะของตนเองตั้งแต่หลังจากบอกคืนสิกขามานาลาสึกออกมา ตั้งแต่ปี ๕๔ จนมาถึงปัจจุบันนี้ ก็สามารถทิ้งได้สลัดออก ซึ่งความรัก แม้แต่บุตรและภรรยาถ้าแม้นหากมีก็สามารถยกให้ผู้อื่นและสลัดออกได้ เพราะความมุ่งหมายคือการถือตนเข้าบวชตลอดชีวิตในห้วงเวลาที่เหลืออยู่นี้ เพื่อใช้ชีวิตในกระแสธรรม

    หมดบุญไฟคหบดีต่อให้มีใครหรือรักขนาดไหนก็จะไป

    รักน้อยจึงอยู่ รักมาก มากรักจึงไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 288.jpg
      3333 288.jpg
      ขนาดไฟล์:
      170.5 KB
      เปิดดู:
      136
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2017
  4. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
    เป็นกำลังใจให้ สตรี ทุกคนค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2018
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "โคตรลำบากเลยให้ตายสิโรบิ้น"

    เป็นอย่างนั้นแหละ ท่านสหธรรมิก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 445.jpg
      3333 445.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.1 KB
      เปิดดู:
      142
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    มีรุ่นพี่คนนึง แม่สอนตอนแต่งงานก่อนนอนให้กราบเท้าสามีทุกคืนนะ แกก็ทําตาม เขาแปลกใจมาก พออยู่กันไปเขาจะนอกรีดนอกรอยก็คิดได้ว่า"นี่ตรูทําอย่างนี้จะสมกับที่เขากราบตรีนตรูอยู่ทุกคืนเหรอเนี่ย" เขาเลยเลิกทํา กลับบ้านดีกว่า ครอบครัวนี้มีความสุขดีตลอดค่ะ
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  8. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
    :D จะมีมหาราณีปกครองนางแก้วน้อยดุจน้องสาวตัวเองได้ ต้องได้รับความรักและบารมีของ พระโพธิสัตว์
    มากมายจนอธิบายไม่ได้เลยค่ะ นั้นสินะคะ ความรักที่ไม่มีความน้อยใจ ไม่มีจิตคิดริษยา น่าชื่นชม ... มันเทียบไม่ได้เลยกับความรักทางโลกเพื่อกามอย่างเดียว

    สาธุเจ้าค่ะ
     
  9. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581

    เห็นมล ทันสมัย แต่หัวโบราณค่ะ “ลูกผู้หญิงจะดีชั่วเพราะผัวตน” การเกิดเป็นสตรีว่ายากแล้ว การครองตนเป็นโสดยากยิ่ง ยากกว่าผู้ชายเป็นโสดค่ะ
    ด้วยสรีระ ด้วยเพศสภาพ ความแข็งแรง ด้วยสังคม
    ต้องมีครอบครัวและเพื่อนพ้อง พอควร ไม่เช่นนั้น เสียเปรียบค่ะ มลพูดกว้างๆนะ อาจจะมีคนเถียงว่าไม่จริง
    แต่ภิกษุณียังต้องมีเพื่อนภิกษุณีอยู่ด้วยกันเลยค่ะ ไม่ปลอดภัยนั้นเอง....
     
  10. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
    น้ำตาไหลเลย ซาบซึ้ง เจ้าค่ะ 5555 ลำบากจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2018
  11. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
    นางแก้วๆๆทั้งหลายคงตามไปแบบนี้มั้งคะ :D

    PS เดินดีๆละ อย่าเดินไปลงหม้อ ซวยเลย!!

    BB9147DA-559C-4141-AFFA-57285AD782D7.jpeg
     
  12. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
     
  13. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    เจ๋งมากเลยฮะหนูมล
     
  14. คะนึง

    คะนึง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +402
    อนุโมทนากับคุณมล และหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ทุกๆท่านด้วยนะค่ะ ตัวเองเพียงแค่รู้ได้ แต่ไม่สามารถเป็นได้ ยินดีกับพระโพธิสัตว์และนางแก้ว ทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
     
  15. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับสาธุ
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    HappyNYThai.jpg
     
  17. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,581
    ขอให้บุญรักษาทุกท่านค่ะ
    ขอบคุณสำหรับไมตรีจิตอันงดงามให้คนไกลบ้านคนนี้นะคะ คุณคะนึงและกัลญาณมิตรทุกท่าน

    Edited: ถ้าย้อนกลับเวลามาได้ จะไม่เอาหัวใจไปยุ่งเกี่ยวกับผู้ชายคนนี้อีกเลย ... เสียดายน้ำตามาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2018
  18. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    สุดยอดฮะหนูมลหัวใจแกร่งมาก
     
  19. พุทธางกูรน้อย

    พุทธางกูรน้อย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +68
    เท่าที่ถามนางแก้ว ที่รู้จัก

    เธอบอกว่า เพราะหน้าที่ และเป้าหมาย มันสำคัญกว่าความรัก และชีวิต
    มันคือความศรัทธาในเป้าหมาย ศรัทธาในความมุ่งมั่น ก่อนที่จะศรัทธาในตัวตน
    เมื่อศรัทธาแล้ว ก็อยากช่วยให้เขาประสบความสำเร็จ

    กำลังใจพระโพธิสัตว์ ตัดศรีษะตนเองถวายพระพุทธเจ้าได้เป็นหมื่นครั้ง
    นางแก้วก็ย่อมกระโดดเข้ากองไฟ ให้พระโพธิสัตว์ได้นับหมื่นครั้งเช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2018
  20. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    สั้นๆแต่ลึกซึ้งกินใจมากครับอนุโมทนาในธรรมทานครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...