เรื่องเด่น ทรงสนพระทัยแม้ในหลักธรรมขั้นสูง! พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศตรัสถามหลวงพ่อพุธเรื่องความต่างระหว่าง "การบริกรรม" กับ "การภาวนา"?

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 มกราคม 2017.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ทรงสนพระทัยแม้ในหลักธรรมขั้นสูง! พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศตรัสถามหลวงพ่อพุธเรื่องความต่างระหว่าง "การบริกรรม" กับ "การภาวนา"?

    tnews_1491455801_1422.jpg





    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโลซึ่งถือว่าเป็นพระอาจารย์และสหธรรมิก (สหายธรรม) ของหลวงปู่มั่น อีกทั้งยังได้ปฏิบัติธรรมร่วมกับพระอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นท่านอื่นๆในสมัยนั้นอีกด้วย

    พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโยณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.๙) : คำว่า "ภาวนา" และ "บริกรรม" ต่างกันอย่างไรขอรับ คือ เคยฟังพระเถระผู้ใหญ่ บอกว่า การภาวนานี้ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไรก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลา ใช่ไหมขอรับ ?

    หลวงพ่อพุธ : ใช่แล้ว คำว่า "ภาวนา" กับ "บริกรรม" มีต่างกัน ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใส ในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา แต่บริกรรมนั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ใน คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง


    หลวงพ่อพุธ : เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.๙) : ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่

    หลวงพ่อพุธ : การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลาเช่น อย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธพุทโธพุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธพุทโธ ได้ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธการกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา

    จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมี สติสัมปชัญญะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพ ในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพอยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบก็มีอุบาย ที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิดกำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้




    พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย





    -----------------------
    ที่มา
    http://panyayan.tnews.co.th/contents/208668/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2017
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น


    สาธุ
     
  3. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    อย่างนี้ถ้าไม่บริกรรม แต่ระลึกถึงคุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ เป็นอนุสติ ก้อถือว่าเป็นการภาวนาใช่มั้ยคะ
     
  4. ทองทวี

    ทองทวี “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +1,774
    ใช่ตรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...