เรื่องเด่น อาการของสมาธิที่มีลักษณะจิตรวมเป็นหนึ่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สาสนี, 22 เมษายน 2017.

  1. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    นักภาวนาที่หัดฝึกใหม่ ว่าฝึกสมาธิพุทโธ แล้วผลจริง ๆ ที่มองเห็นเป็นรูปธรรมเป็นอย่างไร? แล้วจะไดัฌาณไหม ลักษณะของฌาณ1ถึงฌาณ4 แต่ลักษณะมีอาการอย่างไร? แล้วให้นั่งทำใจภาวนาพุทโธ ไปเรื่อยๆ แล้วที่สุดมันอยู่ตรงไหน?

    เป็นคำถามที่นักภาวนาฝึกใหม่หลายคนคงต้องการคำตอบกันแน่นอนที่ใช่เลยค่ะ

    หลวงปู่ท่อน FB_IMG_1492834577791.jpg ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย กล่าวไว้เกี่ยวกับการฝึกสมาธิว่า...

    การนั่งสมาธิ ให้ไหว้พระสวดมสนต์ก่อน
    แล้วอธิษฐานว่า ข้าพเจ้านั่งสมาธิเพื่อปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์
    ขอให้ข้าพเจ้าสงบ เยือกเย็นเป็นสมาธิ ณ กาลบัดนึ้ วางมือแล้ว กล่าวพุทโธ ธัมโม สังโฆ 3 จบ
    แล้วรู้ลมหายใจ เข้า...พุท ออก...โธ
    อย่าไปคิดทางอื่นอยู่กับอารมณ์นี้เท่านั้น
    นิ่งได้นานๆ จนลืมร่าง ลืมกาย
    เกิดความรู้อยู่ที่ใจ จนลมหายใจจะอ่อนไปๆ
    จนไม่มีลมหายใจ เป็นความวาบไปเฉยๆ
    วาบเข้า วาบออก อยู่อย่างนั้น มันจะเป็นของมันเอง
    พอหนักเข้าจะรูัสึกกายเป็นเหมือนร่างแห
    ลมพัดผ่านไปเลย. ใจมันว่าง มันเบาอยู่อย่างนี้
    ไม่เผลอ...ดูความสงบ...ไม่คิดอย่างอื่น...
    เรียกว่าภาวนาเป็นแล้ว. รวมแล้ว
    ถ้าปฏิบัติจริงปฏิบัติจัง หลุดพ้นไปหลายรายแล้ว
    พ้นจากอาสวกิเลส ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว

    ที่มา ธรรมขาติตามรอยพระอริยะ>กลุ่มเด็กวัดป่ามดงาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    FB_IMG_1492335754637.jpg
     
  3. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    FB_IMG_1490493056986.jpg
     
  4. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    จิตนิ่ง จิตเฉย จิตวางอุเบกขา
    จิตสงบ กายสงบ
    เป็นจิตที่สร้างบารมี
    จิตนิ่งว่าง จิตเป็นแสงดั่งแสงของอาทิตย์ที่มองเห็นทุกการเคลื่อนไหว
    ที่เราอบรมจิตให้นิ่งเฉยก็เพื่อให้เห็นอารมณ์ที่มาปรุงแต่งจิต.
    มิใช่นั่งเพื่อเอาอะไรต่ออะไรมาใส่จิต
    เราควรฝึกจิตขณะทำสมาธิให้นิ่ง
    ขณะทำสมาธิให้นิ่งอย่างเดียว
    พออกจากสมาธิแล้วความนิ่งที่ได้ก็เพื่อนำไปพิจารณาอารมณ์และตัวกระทำที่มาปรุงแต่งให้จิตที่ขณะเราเคลื่อนไหว
    แต่ถ้าไม่ฝึกนิ่งไวั เราจะไม่เห็นสิ่งที่ปรุงแต่งให้เกิดเป็นอารมณ์และตัวกระทำขึ้น
    แต่กลับไปเอาตัวปรุงแต่งอารมณ์และตัวกระทำเข้ามาใส่จิตแทน
    เมื่อนิ่งไม่ได้ก็เห็นจิต ดูจิตไม่ได้ ก็รู้ตามความเป็นจริงไม่ได้ ก็จะเป็นอารมณ์ วุ่นวายไปกับอารมณ์และตัวกระทำ ก็จะละวางไม่ได้ค่ะ
     
  5. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    การสำรวมจิตให้มันว่าง คือ จิตวางเฉยต่ออารมณ์ที่มาปรุงแต่ง

    จิตนิ่ง จิตเฉย จิตอุเบกขา เป็นจิตที่ไม่ไหลไปร่วมกับวิญญาณ เป็นจิตที่นิ่งเฉยต่ออารมณ์

    เหมือนการสำรวมจิต จิตส่วนจิต อารมณ์ส่วนอารมณ์ จิตไม่ไหลไปตามอารมณ์

    เจตสิกเป็นอารมณ์ตัวปรุงแต่งจิต วิญญาณจะรูัแจ้งอารมณ์ แต่เราจะอบรมจิตให้นิ่งเฉยต่ออารมณ์ ด้วยการขันติต่ออารมณ์

    ตัวจิตจริงๆ นั้นมีลักษณะนิ่งเฉยอุเบกขา มีลักษณะรู้อยู่ เห็นอยู่ ในจิตจริงๆ ไม่มีอะไร ไม่มีรูป ไม่มีอารมณ์ จิตจึงเป็นผู้นิ่งเฉยอยู่เท่านั้นค่ะ
     
  6. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    จิตที่เป็นสัมมาสมาธิ นั้นสังเกตุได้จาก
    ตัวเบา ใจเบา สุข สงบ เมื่อออกจากสมาธิแล้วจะทำให้จิตนั้นไม่เฉื่อย มีพลังในการทำงาน และสนุกในการทำงาน

    สัมมาสมาธิ จะต้องมีความสุข มีความเพลิดเพลินในการงาน ไม่แพ้ คนทั่วไปที่ทำงานอย่างเพลิดเพลิน
     
  7. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าพูดถึงเรื่องของสัมมาสมาธิแล้ว เกิดได้ทุกเมื่อนะครับ ไม่เกี่ยวกับว่าจะต้องตั้งท่าทำสมาธิแล้ว สัมมาสมาธิจึงจะเกิด สัมมาสมาธิจะเกิดเมื่อผู้นั้นมีความเห็นที่ถูกตรงเป็นสัมมาทิฏฐิมาก่อนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเกิดได้ทันทีทุกเมื่อ เมื่อมีสติสัมปชัญญะอยู่ มีความสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีศีลสังวร มีการเห็นธรรมเฉพาะหน้าตามความเป็นจริง

    ทีนี้ถ้ากับคนที่ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ จะมีสัมมาสมาธิได้ไหม จริงๆ แล้วโดยความเห็นส่วนตัว จะเห็นว่า สมาธิมันเกิดได้อย่างเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ผู้หนึ่งมีปัญญาเห็นแจ้งเป็นสัมมาในสภาพธรรมที่เป็นทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์แล้ว รู้แนวทางเดินที่ชัดเจน เรียกว่าไม่ต้องปฏิบัติอย่างเดาๆ กันอีกต่อไป ไม่ต้องอาศัยคู่มือตำรา กางแผนที่อะไรอย่างนี้ไม่ต้อง เพราะเหตุที่สิ้นสงสัยในหนทาง มั่นคงไปในหนทางที่เดินแล้วนั่นเอง ส่วนผู้ยังไม่เกิดปัญญาแจ้งในทุกข์ ก็ยังจะขาดความมั่นใจในส่วนนี้อยู่เรื่อยๆ มั่นใจแค่ไหนก็ยังหวั่นไหวไม่แน่ใจได้อยู่เรื่อยๆ ..ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยเช่นนั้นเอง..
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จิตเบา กายเบา ก้นกระดกขึ้น
     
  9. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    หึหึ นั่นหละถูกแล้วครับ ฝึกทำบ่อยๆจะดีเอง
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จิตพรากออกจาก กาย ออกจาก สังขาร จะย้อนกลับไป กระดกก้น ทำไม !?



    กายเบา ในธรรมวินัยนี้ หมายถึง กายปัสสัทธิ

    กายปัสสัทธิ หมายถึง ไม่ทำอะไรเพื่อ อามิส มีผลลงไปที่ กาย
    จึงเรียกว่า กายปัสสัทธิ(กายเบา)

    นี่ กาย มัน จิกหัว นักสมาธิ ลากพาไป กระดกก้น

    กระดกทำไม ?
     
  11. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    จิตมันจะออกจากสังขารร่างกายได้อย่างไรหละครับ มันมีกรรมผูกติดอยู่ แม้แต่พระอรหันต์ก็ยังต้องแบกกายนี้
    ในเมื่อยังต้องแบกกายนี้ ก็ต้องสำรวจกายในกาย ส่วนใดลมเคลื่อน ไม่เคลื่อน ส่วนใดหด ส่วนใดยึด จะได้บรรเทาหรือป้องกันอาการเจ็บไข้ได้ป่วย
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จิตเบา หรือ จิตปัสสัทธิ คืออะไร

    คือ สภาวะที่ไม่ได้ ทำอะไรเพื่อให้เกิด ผล ลงที่ จิต จิตไม่มุ่งเอา อามิส ใดๆ
    แม้น ปิติ สุข อุเบกขา หรือ เอกัคคตา

    หรือ แม้นไม่มุ่งตบแต่งจิต ( การมุ่งไม่ตบแต่งจิต จะเป็น จิตเทวดาชั้น ปรนิมวสวัตตี )

    จิตไม่มุ่งเอาอามิส จิตเบา จิตปัสสัทธิ อย่าว่าแต่กระดกก้น จิตกระเพื่อมเพื่อ
    แส่ส่ายเอาบัญญัติมา อุปทานว่าเห็นนั่น รู้พลังงานนี้ ก็ไม่มี

    กระดกจิต ทำไม ?
     
  13. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เวลาจิตเบาก็ส่วนจิตเบา เวลาจะยืดเส้นยืดสายก็ส่วนหนึ่ง เอามาปนกันทำไม
    จิตเบา ไม่ใช่นักโทษนี่ครับ จะได้ห้ามทำนั่นนี่
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เห็นจริงหรือเปล่า

    สภาพธรรม ส่วนใดหด ส่วนใดยึด ส่วนใดตึง ส่วนใดแข็ง ส่วนใดไหว ส่วนใดเย็น ส่วยใดร้อน

    ถ้าเห็นสภาพธรรม เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว อย่าทะลึ่งไป ทำอะไรเพิ่ม

    กายที่มัน เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว มันเป็น วิบากผล ที่เกิดจาก จิตเวียนว่าย
    มาในสังสารวัฏอย่างยาวนาน จึง ให้ผลเป็น วิบาก กาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
    ตึง ไหว ไปตามอำนาจความ หม่นหมองของจิต ที่ไป กินง้วนดิน ตั้งแต่สมันโน้นนนนนนนน

    ให้ตามรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว สิ้นกระแส วิบาก ไปเรื่อยๆ

    อย่าไป กระดกก้น คว้า ง้วนดินก้อนใหม่เข้าไป แทนที่จะ ตามเห็นการสำรอกออก
    เพื่อความดับสนิท

    ถ้ากระดกก้น ชาติ ชรา มรณะ ภพใหม่ รออยู่ ไม่จบไม่สิ้น

    ถ้าไม่กระดกก้น หากวิบากกุศลเคยประกอบ และ ยังมีวาสนาอย่ ต่อให้
    เอามีดอกข้างซ้ายทะลุหลัง ก็ไม่ตาย มาร พรหม ยม ยักษ์ ก็ทำให้ตายไม่ได้



    ปล. ถ้า นักภาวนามี สภาพรู้ชัด เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว กรุณา
    ไปอ่าน มหาสติปัฏฐาน บรรพ "ธาตุนมสิการ"

    ดิน : หมายถึง จิตไปรู้ชัดสภาพ แข็งขึ้น อ่อนตัวลง [ รู้ชัด หมายถึง มันแข็ง มันอ่อน มันก็ ผ่านมา ผ่านไป เป็นเพียง สภาวะธรรม เกิด ดับ ]
    น้ำ : หมายถึง จิตไปรู้สภาพการ ควบเข้ามาของธาตุ การกระจายของธาตุ
    ลม : หมายถึง สภาพการเคลื่อนตัวของธาตุ
    ไฟ : หมายถึง การแตกสลาย ความแปรปรวนทุกชนิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2017
  15. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    คิดมาก จะเป็นการสุดโต่งไปหละครับ
    การยืดเส้นสาย เป็นธรรมได้ ไม่ใช่กิเลส
    เป็นการสำรวจกายในกาย เป็นสัมมาสติ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กลัวผีเหรอ

    ถ้ากำหนดรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ชัดๆ จะเกิด อนุภาพกสิณ ที่จิต

    จิตจะไปเห็นโน้น เห็นนี้

    ถ้า ปัญญาล้ำหน้า ก็จะ กลัวผี

    กลัวได้ อภิญญา

    กลัว กุศลหยั่งลงที่จิต

    อะไรหละ มันห้ามไม่ให้ กุศลหยั่งลงที่จิต

    อ้างว่า จะเป็นการสุดโต่ง


    ธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เคยสัมผัส ให้กิเลสมันหลอก เดี๋ยว สุดโต่ง แล้วห้ามกุศล
     
  17. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    กลัวผีอย่างไรหละครับ ผมไปนั่งในป่าช้าตอนกลางคืนมา ดับความกลัวได้นานแล้วครับท่าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่กล้า แต่ก็ไม่กลัว

    ผีก็เหมือนงู ไม่กลัวก็อยู่คนละทาง จะไปท้าให้มันฉกทำไม
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ความกลัว บ้าน .....ใคร อยู่ที่ ป่าช้า

    ต้องไป อุปทาน เอา ป่าช้า มาอ้าง

    หา แหลกกับ ป่าช้า หากินกับ ผี เบียดบังศักดิ์ศรีความเป็นผี

    คนแท้ !! กระดกก้น
     
  19. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    พระธุดงค์ท่านจะออกธุดงค์ทำไม
    ก็ต้องแสวงหา สถานที่ เพื่อล่อให้กิเลสออกมา บ้างก็เจอเสือ กิเลสถึงออก บ้างก็เจอผีกิเลสถึงออก
    คุณนิวรณ์ไปตำหนิไปกระทบถึงท่านเหล่านั้น จะไม่กลัวบาปกรรมหรือท่าน
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กิเลส มัน ออกมาจากไหน !?

    ไกลตัว มากปะ

    กระดกก้น มันก็ออกมาที่เดียวกัน

    กระดกกี่ครั้งหละ

    สองครั้ง นี่ต้อง หาอาหารเสริมนะ

    สามครั้งนี้ ผี ลูกภูเขียว ตั้งท่า รับ เลย

    กลัวสุดโต่ง เห็นโน้นเห็นนี่ ไม่มีตาไว้เห็น

    กระดกก้น ฟินทั้งคน ทั้งผี ลูกภูเขียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...