รวมเรื่องเล่า+ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯตามรอยพระราหุล(ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mature_na, 25 มีนาคม 2012.

  1. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พระ อาจารย์สุก ทรงอ่าน และท่องจำไว้แล้ว ทรงพักปักกลด ณ ที่แห่งนั้นหนึ่งคืน ตกเพลากลางคืนทรงบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคย ก็ได้ทรงทราบมงคลนิมิต ของพระคาถานี้ทั้งหมด และได้ทรงทราบอุปเท่ห์ วิธีการ ย่อๆ โดยสมควร จากบาทฐาน ขององค์ฌาน


    ต่อมาพระองค์ท่าน ก็ได้ทรงทราบจากสมาธินิมิตอีกว่า พรหมชั้นสุทธาวาส มาบอกพระองค์ท่านว่า ให้ไปที่วัดร้าง กลางเมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ท่านจะพบของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี เมื่อพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว พระองค์ท่านก็ทรงทราบได้ทันทีว่า วัดร้างนั้น คือวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐาน พระศรีศากยะมุนี ที่สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี


    เพลา สายของวันต่อมา พระองค์ท่าน ทรงเดินทางมายังเมืองสุโขทัย กรุงเก่า โดยไม่ใช้อิทธวิธญาณ ถึงเมืองสุโขทัย กรุงเก่าแล้ว พระองค์ท่านทรงค้างแรม นั่งเจริญสมาธิอยู่ที่บริเวณ วัดมหาธาตุสถานที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี หนึ่งราตรีเวลานั้น วัดพระมหาธาตุ สุโขทัย กรุงเก่า เป็นวัดร้าง เนื่องจากขณะนั้น ยังมีการรบระหว่างไทย-พม่าอยู่ และพระพุทธรูปใหญ่ พระพุทธศรีศากยะมุนี ก็ยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ ซึ่งปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานแห่งชาติสุโขทัย ครั้งนั้น หลังฉันอาหารเช้าแล้ว พระองค์ท่าน ทรงเดินทางเข้าไปในวัดมหาธาตุ เข้าไปในพระวิหาร ที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธศรีศากยะมุนี พระพุทธรูปสำคัญ ของวัดแห่งนี้


    ต่อมา พระองค์ท่านทรงทราบว่า ของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี อยู่ใน พระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ท่านจึงเดินทางไปที่หอไตรประจำวัดมหาธาตุ และทรงค้นพระคัมภีร์ในตู้แรกดู พอพระองค์ท่านทรงเปิดตู้แรก ทรงเห็นพระคัมภีร์แรก ที่หน้าพระคัมภีร์จารึก รูปนางฟ้านั่ง อยู่บนดอกบัวบาน พระองค์ก็ทรงทราบได้ในทันทีว่า พระคาถาวาณี พร้อมรายละเอียดอุปเท่ห์ อยู่ในลานนี้ทั้งหมด


    ความนัยะพระคาถา


    เมื่อ พบแล้ว พระองค์ท่านทรงเปิดพระคัมภีร์ดูก็ทรงพบ พระคาถาอาราธนานั่งธรรม หรือ พระคาถาวาณีจารึกเป็นอักษรขอมโบราณ เป็นตัวทอง อ่านได้ความ เหมือนอย่างที่พบ จารึก ที่ก้อนหิน ในป่าใกล้ๆป่าดงพญาเย็น พร้อมมีคำอาราธนา และคำอธิบายว่า


    มุนินฺท วท นมฺพุชะ คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ

    [​IMG]


    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  2. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760


    ๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติคือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

    มนํ ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธ์สันดานของข้าพระเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมัตถานุโยค ไม่ให้ลำบากแก่สังขาร ฯ

    ๐ พุทธํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ
    ๐ ธมฺมํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิฯ
    ๐ สงฺฆํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ
    ๐ ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า จงมารับเครื่องสักการะบูชาของข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิดฯ



    พร้อม คำอธิบายว่า พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตนเพื่อจะนั่งทางธรรม จะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์ ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อน อาราธนาองค์พระกรรมฐานประกอบกับพระกรรมฐานห้องต่างๆ เวลานั้นพระองค์ท่านติดอยู่ขั้นสุดท้าย ของอันตราปรินิพพายี อย่างประณีต

    เมื่อ พระองค์ท่าน นำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม


    ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เจตสิกมี ๑๔ ตัว คือ
    ๑. โมโห คือหลง
    ๒. อหิริกํ มิละอายแก่บาป
    ๓. อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป
    ๔. อุทธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
    ๕. โลโภ โลภ
    ๖. ทิฏฐิ ถือมั่น
    ๗. มาโน มีมานะ
    ๘. โทโส โกรธ
    ๙. อิสฺสา ริษยา
    ๑๐. มจฺฉริย ตระหนี่
    ๑๑. กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ
    ๑๒. ถีนํ กระด้าง หดหู่
    ๑๓. มิทธํ หลับง่วง
    ๑๔. วิจิกิจฉา สงสัย


    พระคาถาเพื่อความสำเร็จสมประสงค์

    เมื่อ กำจัดบาปธรรม ออกไปแล้ว อาจสามารถยังปัญญาให้บรรลุธรรมได้ จะเป็นทางนำสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสได้จากนั้นพระองค์ ท่าน ก็ทรงทำการคัดลอกพระคัมภีร์วาณี ที่ไม่มีเจ้า อยู่ในวัดร้าง เมืองสุโขทัยนี้ กลับมาจากรุกข์มูล

    พระองค์ท่านทรงนำบทพระคาถาวาณี นี้ว่านำก่อนนั่งพระกรรมฐานทุกครั้ง แล้วจึงเจริญเมตตาเจโต เมตตาออกบัวบานพรหมวิหาร ต่อไป ผ่านไปไม่นานนัก พระองค์ท่าน ทรงสามารถบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ดังได้มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกา ตอนว่าด้วยอรรถกถา แห่งภิกขุนีขันธกะ ว่า

    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระขีณาสพปฏิสัมภิทาญาณ
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๒,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอรหันต์สุกขวิปัสสก
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอนาคามี
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระสกทาคามี
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๕,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระโสดาบัน

    กาล ที่พระอาจารย์สุก สำเร็จคือกาลแห่ง พระอนาคามี ท่านบรรลุขั้นประณีตครั้งนั้น พร้อมด้วย มรรค ๓ ผล ๓ อภิญญา ๖ เป็นพระอนาคามีบุคคล เต็มขั้น กล่าวว่า เมื่อมรณะภาพ หรือนิพพานแล้ว จะไปบังเกิดในภพ สุทธาวาส คือที่อยู่ของท่านที่บริสุทธิ์ ที่บังเกิดของอนาคามีบุคคล ได้แก่พรหม ๕ ชั้นสูงสุด ของชั้นรูปาวจรคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา จะสำเร็จพระอรหันต์ผลในภพทั้งห้านี้ ไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกถึงแม้ท่าน จะทราบว่าเป็นกาล แห่งอนาคามี พระองค์ท่าน ก็ยังไม่ละความเพียรเพิ่มวิริยะบารมีขึ้นเรื่อยๆไม่ทรงท้อถอย ต้องการที่จะบรรลุขั้นต่อไป

    ดังปรากฏในคัมภีร์ ปัญจปสูทนีอรรถกถา แห่งมหาสูญญะตาสูตรมีใน อุปริปัณณาสก์ว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้วก็ดี กุลบุตรทั้งหลายที่ยินดีแล้วในเอกีภาพ คือความเป็นอยู่ผู้เดียว นึกถึงมหาสูญญตาสูตรอยู่ดังนี้แล้ว หลีกออกจากหมู่คณะ ก็จะทำให้สิ้นวัฏฏะทุกข์ได้ดังนี้

    พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงมีความเป็นอยู่ผู้เดียว แลทรงบำเพ็ญเพียรภาวนาซึ่ง มหาสูญญตาสูตร เสมอๆ กล่าวว่าสมัยอยุธยา พระคาถาวาณีก็มีเหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลาย เพราะถึงตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ก็เริ่มเสื่อมจากอุบายธรรมนี้ พระอาจารย์สุก ท่านปฏิธรรม ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มาถึงกาลล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน พระคัมภีร์อุบายธรรมต่างๆ จึงถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น และพระคาถาวาณีนี้ จึงตกค้าง อยู่ที่เมืองสุโขทัย กรุงเก่ากาลต่อมาพระคาถาวาณี ได้แพร่หลายในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง มีการให้ความหมายพระคาถาวาณีไว้ดังนี้


    นางฟ้าคือ พระไตรปิฏก มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    มีรูปอันงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัวคือ พระโอฐ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าจอมปราชญ์ทั้งหลาย
    ปาณีนํ สรณํ วาณี
    เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ คือลมหายใจทั้งหลาย
    มยฺหํ ปิณยตํ มนํ
    จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี


    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  3. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พระคาถาอาราธนานั่งธรรม 2

    <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> [​IMG]



    สมเด็จ พระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่านทั้งทางคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ(สมเด็จพระวันรัต แดง) ก็ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กล่าวว่าท่านศึกษากับ พระญาณสังวร บุญ วัดพลับ) สอนให้บริกรรมพระคาถาวาณีนี้ ก่อนเริ่มเรียนพระปริยัติธรรม หรือเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ทั้งยังกล่าวอีกว่า พระมหาเถรแต่กาลก่อนมี สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม เป็นต้น ล้วนนับถือพระคาถานี้ โดยทั่วกัน

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ถึง เจ้าพระยาหิธราช เลขาธิการว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) วัดศาลาปูน กรุงเก่าซึ่งเป็นศิษย์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ อธิบายว่า รูปสุนทรีวาณี หมายถึง พระธรรม ดอกบัว หมายถึง พระโอฐของพระพุทธเจ้า ทรงกล่าวอีกว่ายังได้พบพระคาถานี้ในห้องพระ ของหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลาง ติดไว้ข้างขวา ด้านหัวนอน หลวงปู่ทอง ท่านเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ

    สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า ตอนที่ข้าพเจ้าชำระ พระคัมภีร์สัททสารัตถชาลินี หรือ คัมภีร์สัททาวิเสส ได้พบพระคาถาวาณีนี้ อยู่ในพระคัมภีร์นี้ด้วย แสดงว่าพระคาถานี้ มีมาก่อนพระคัมภีร์นี้ หรือก่อนนั้น มีคาถาในทำนองเดียวกับพระคาถาวาณีนี้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินาลังการ เป็นพระคาถานมัสการ ก่อนอ่านพระคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือภาวนาก่อนนั่งเข้าที่ภาวนา เพื่อให้เกิดปัญญา เป็นคาถาของพระพุทธโฆษะ ใช้ภาวนาก่อนที่จะอ่านพระไตรปิฎก หรือเขียนพระคัมภีร์ พระสุทธิมรรค คาถา มีใจความดังนี้


    สตฺถุโน สมฺมาสมฺพุทธ นมตฺถุ โลกเชฏฐสฺส ตาทิโน


    ชิเนนท รมตฺเตภสฺส กุมภจารินี ชิโนรสานํ


    มุขปงฺกชาลินี สรสฺส ตีเมมุขะคพฺภ คพฺ ภินี


    รมฺมํ ตว ฉายา สุสทฺทตฺถุสูทนี

    มีความหมายตามพระคาถานี้ว่า
    ข้า พระพุทธเจ้าขอนมัสการ แด่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ผู้ทรงหักรานเสียแล้วซึ่ง กำกงแห่งสังสารวัฎฎ์ ตรัสรู้พระธรรมด้วยลำพังพระองค์เอง ด้วยอาการมิได้วิปริตและมีกมลมิได้หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์โลกสิ้นทั้งปวง

    อาลินี อันว่านางแมลงภู่ กล่าวคือ พระไตรปิฎก ผู้มีครรถ์ กล่าวคือ พระอรรถรส เป็นอันดี ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ในกระพองแห่งช้าง พระยาฉัททันต์ ซับมันตัวประเสริฐ กล่าวคือ พระโอษฐ์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่
    แมลงภู่ คือพระไตรปิฎกนั้น ก็ได้พำนักอาศัยอยู่ในพระโอษฐ์ แห่งพระพุทธเจ้า ครั้นเสด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพานแล้ว
    นาง แมลงภู่ คือ พระไตรปิฎกนั้น ก็อาศัยอยู่ในกลีบประทุมชาติ กล่าวคือ พระโอษฐ์ แห่งพระพุทธชิโนรถทั้งหลาย บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญนางแมลงภู่ ให้ออกมาอยู่ในห้องที่นอน กล่าวคือ พระโอษฐ์แห่ง ข้าพระพุทธเจ้า อย่าได้ลำบากในกิจที่จะขวนขวาย หาที่ประสูตรบุตรนั้นเลย จงยินดีปรีดาเสด็จมาประสูตร ในพระโอษฐ์ข้าพระพุทธเจ้า คือว่าให้ ข้าพระพุทธเจ้าจำอรรถรส ในพระไตรปิฎก หรือในปัญญาวิปัสสนาญาณ ทั้งปวงได้ ขึ้นใจขึ้นปากสำเร็จ มโนรถความปรารถนาเถิด


    คัดความจาก
    หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    somdechsuk.com - หน้าแรก


    ==============================================================

    เรียนเชิญชวนท่าน ๆ กำหนดจิตตั้งบริกรรมพระคาถาฯ
    และพิจารณาจิต ตนกันนะครับ ว่าจะรับรู้กระทบจิตกันอย่างไรบ้างหรือเปล่า






    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)


    มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
    ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ




    [​IMG]


    พระ ธรรมคำสั่งสอนซึ่งล้วนอุบัติจากพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย อันมีความงามล้ำเลิศประดุจนางฟ้า ซึ่งถือกำเนิดจากดอกบัว การเอ่ยวาจานี้ย่อมยังจิตใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่ม แช่มชื่น เบิกบาน แจ่มใสปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญฯ



    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  4. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ประวัติ..พระสุนทรีวาณี

    เป็น พระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร หัตถ์ขวาแสดง(ท่ามุทรา)อาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์

    พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ

    พระ คาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา

    สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา

    *******************************************************************

    พระคัมภีร์สัททาวิเสส หรือคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณ เป็นวิชาพื้นฐานเพื่อความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ที่มีมาแต่โบราณกาล


    [​IMG]



    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  5. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    [​IMG] เวทาสากุคาถาพระยาไก่เถื่อน ;กรรมฐานตามรอยหลวงปู่ทวด(ตามแบบแผนพระพุทธเจ้าอีกทีหนึ่ง)


    [​IMG]

    พระ คาถาพระยาไก่เถื่อน สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ท่านได้รับประสิทธ์แต่พระเถรวุฒาจารย์ กล่าวว่าเป็นพระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง พระคาถาว่าดังนี้

    เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว
    ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา
    สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา
    กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ


    พระ ธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับไก่ป่า ไก่ป่าเป็นไก่ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ


    พระคาถาไก่เถื่อน ๔ วรรค แต่ละวรรค หากภาวนากลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร
    แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด
    วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ
    วรรค ๒ หมายถึงมียศ เสื่อมยศ
    วรรค ๓ หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา
    วรรค ๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด>>


    ผู้ที่จะได้บรรลุมรรค ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ
    ๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน
    ๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน
    ๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน
    ๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด
    ๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน


    นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ
    ๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล
    ๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน
    ๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น
    ๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น
    ๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน
    [​IMG]
    ภาพไก่ป่า


    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  6. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ไว้ว่า ผู้ใดภาวนาได้ ๓ เดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวด ๓ จบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก ถ้าแม้สวดได้ ๗ เดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น ถ้าสวดครบ ๑ ปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย แม้จะเดินทางไกล ให้สวด ๘ จบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลายให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

    พระคาถานี้แต่ ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว


    ================================================

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312[/QUOTE]
     
  7. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    สืบจาก ตำนานเดิม สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เกื่อน ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่า “พระยันต์มหาปราสาท ไก่เถื่อน” ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)


    เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครู สิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    http://www.somdechsuk.org/node/312
     
  8. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เกร็ดเรื่องการออกรุกขมูลของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

    [​IMG]

    เกร็ด เรื่องการออกรุกขมูลของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เกี่ยวกับไก่ป่านั้นมีผู้เล่าไว้ว่า เมื่อสมเด็จปู่ฯ สุกท่านถอนกลดเดินทางในป่านั้นเดินไปเรื่อยๆจนใกล้ค่ำจึงปักกลดตกกลางคืนก็ เข้าที่ภาวนาพอเช้าฉันบิณฑบาตแล้วตอนสายแก่ๆท่านก็ภาวนาพระคาถาไก่เถื่อนอีก คราวนี้มีไก่ป่ามามากมายหลายสายพันธุ์มารุมล้อมท่านบางตัวก็ขึ้นไปยืนบนเข้า ท่านทั้งสองข้างท่านจึงทราบว่าเป็นคาถาที่ทำให้ไก่ป่าเชื่องได้ปละเป็นคาถา ที่ใช้สร้างสมในทางเมตตาบารมีต่อมาเมื่อท่านไปปักกลดที่ไหนเพียงนึกถึงไก่ ป่าเท่านั้นยังมิได้ภาวนาพระคาถาไก่เถื่อนก็มีไก่ป่ามารุมล้อมตัวท่านแล้ว นับได้ว่าท่านได้สำเร็จเมตตาบารมีไปอีกขั้นหนึ่งแล้วไก่ป่านี้เป็นสัตว์ที่ เชื่องคนยากมากเมื่อเห็นคนหรือได้กลิ่นมนุษย์ก็จะบินหนีหลบซ่อนทันทีโดยที่ คนไม่ทันได้เห็นตัวมันดังจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับไก่ป่าในนิราศธารทองแดงในพระ นิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษกล่าวถึงไก่ป่าไว้ ว่า

    ไก่ป่าเจ้าเสียงเตี้ย
    เห็นคนก่นวิ่งบิน
    ไก่ป่าขันเจี่อยแจ้ว
    ลูกเมียเขี่ยหากิน
    เห็นคนก่นวิ่งบิน
    ซอกซอนซ่อนตัวเร้น
    พาลูกเมียเขี่ยหากิน
    เข็นเร็นรอกซอกซอนหาย
    กลางดิน
    กกเหล้น
    ถาบตื่น
    พุ่มไม้สูญหาย

    ด้วย เหตุที่สมเด็จปู่ฯ สุกพระองค์ท่านอบรมบารมีมาในเมตตาและเมื่อพระองค์ท่านเป็นสมเด็จพระราชาคณะ แล้วพระคาถานี้จึงเรียกว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อนตั้งแต่นั้นมาดังได้กล่าวมา แล้วข้างต้นคาถาไก่เถื่อนนี้เป็นคาถาที่สร้างสมในทางเมตตาบารมีแต่มีที่มา ที่กล่าวไว้ในหนังสือพระประวัติและพระนิพนธ์สมเด็จพระอริยวงศาญาณฯสังฆราช สุกไก่เถื่อนญาณสังวรของนายสุเชาวน์พลอยชุมได้เขียนไว้ดังกล่าวข้างต้นว่า จากที่มาคือ "หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้ คือจารึกที่ฐานพระพุทธรูป "พระเจ้าล้านทอง" ที่เมืองพร้าวจังหวัดเชียงใหม่จารึกโดยพระติกขปัญญาเถระปละพระพลปัญญาเถระ เมื่อพ.ศ. ๒๐๖๙



    ขอได้รับคำอนุโมทนา สาธุการเพื่อ
    สาระความจาก
    หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) ISBN ๙๗๘๘- ๙๗๔– ๘๘๑๗๗– ๗– ๔

    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
  9. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ประวัติและผลงานอาจารย์ผู้สอนพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับในยุคนี้

    <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> [​IMG]
    [​IMG]

    พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ผจล.ซอ. วิ)
    วิทยฐานะ น.ธ.เอก ป.ว.ช.

    หลวงพ่อวีระ หรือหลวงพ่อจิ๋ว ท่านเป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่วัดพลับ คณะ5ในยุคปัจจุบัน ครับ

    บรรพชา – อุปสมบท
    · พระอุปัชฌาย์ พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (พระธรรมรัตนวิสุทธิ์)
    · พระกรรมวาจาจารย์ พระครูไพโรจน์กิจจาทร (วิโรจน์)
    · พระอนุสาสนาจารย์ พระมหาบุญเชิด สุชิโต (พระครูประสิทธิวุธคุณ)

    การศึกษา
    พ.ศ. ๒๕๒๖ สอบนักธรรมตรีได้ และศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
    พ.ศ. ๒๕๒๗ สอบนักธรรมโทได้ และศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
    พ.ศ. ๒๕๒๘ สอบนักธรรมเอกได้ และศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

    หน้าที่การงาน
    พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระวินยาธิการ
    พ.ศ. ๒๕๔๐ รักษาการเจ้าคณะ ๕
    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕
    พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกรรมการดุแล บูรณะหลังคาพระอุโบสถฯ
    พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร



    [​IMG]


    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นพระครูใบฏีกา ฐานานุกรม ใน พระราชพิพัฒวิริยาภรณ์ วัดราชสิทธาราม
    พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรม ใน พระเทพศีลวิสุทธิ์ วัดราชสิทธาราม
    พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ผจล.วอ.วิ.) ในราชทินนาม ที่ พระครูสิทธิสังวร

    ผลงานด้านวิปัสสนากรรมฐาน
    ๑. สร้างพระรูปเหมือน หุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
    ๒. ฟื้นฟูแนวปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
    ๓. จัดทำพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐานฯ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

    ผลงานด้านตำรา งานเขียนรวบรวม
    พระ ประวัติสมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ๓ ยุค , การสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา , ประวัติไม้เท้าเบิกไพร , รูปญาณ อรูปญาณ , พระคัมภีร์ พระสติปัฎฐาน วิธีทำสันโดษ ดีวิเศษนักแล , กรรมฐานแก้กรรมรักษาโรค , สมถะหัวใจสู่วิปัสสนากรรมฐาน , พุทธานุสติกรรมฐาน . ตำนานพระฤาษีโภคทรัพย์ ๕ พระองค์ , สุญญตา และอื่นๆ อีกหลายเล่ม


    งานเพื่อสาธารณะฯ
    โครงการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐานสมเด็จสุก ไก่เถื่อน เพื่อรวบรวมเก็บรักษาสิ่งของมีค่าสำคัญเพื่อลูกหลานสืบไปได้อนุรักษา เช่น ไม้เท้าคู่บารมีพระราหุลเถรเจ้า เครื่องอัฐบริขารพ่อแม่ครูบาอาจารย์ยุคก่อนๆ ตำหรับตำราพระคัมภีร์สำคัญโบราณเพื่อการคันธุระ อาทิ พระคัมภีร์มูลกจาย คัมภีร์จินดามณี คัมภัร์ขึ้นพระธรรมลายพระหัตถ์สมเด็จสุกฯ เป็นต้น

    โครงการคืนป่าให้วัดพลับ เพื่อสืบสานสถานปฏิบัติพระกรรมฐานที่สัปปายะเสมือนตำนานวัดป่าแก้ว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    กิจนิมนต์บรรยายและสอนแนวปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ



    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • siththi2.jpg
      siththi2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.8 KB
      เปิดดู:
      398
  10. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ของดีที่วัดพลับ ;วัดราชสิทธาราม คณะ5


    ขอเรียนเชิญท่านญาติธรรมกัลยาณมิตรผู้มีเกียรติทุกท่าน ร่วมชุมนุมธรรมสังสรรค์ พบปะ และเยี่ยมพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐานสมเด็จปู่สุก ไก่เถื่อน (ชมสิ่งของมีค่า เช่น

    ไม้เท้าคู่บารมีพระราหุลเถระเจ้า เครื่องอัฏฐบริขารครูบาอาจารย์ ตำหรับตำราเรียนโบราณที่เก็บอนุรักษ์รักษาไว้สืบลูกหลาน เช่น

    พระคัมภีร์ศึกษาด้านคันธุระ อาทิ คัมภีรมูลกัจจาย คัมภีร์จินดามณี เป็นต้น ณ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    ภาพไม้เท้าคู่บารมีพระราหุลลเถระเจ้า(ตามความเชื่อนะครับ)[​IMG]



    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org



     
  11. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ยอดวิชาแห่งพระกรรมฐานมัชฌิมาสิ่งที่ท่านจะได้เมื่อเข้าสู่ขั้นสูง


    พระ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเป็นวิชชากรรมฐานของศาสนาพุทธโดยตรง เมื่อท่านฝึกถึงขั้นสูงแบบถูกต้องและมีบุญบารมีเพียงพอจะสามารถแสดงฤทธิ์ ต่างๆเช่นการรักษาโรคของตนเองและผู้อื่นรวมทั้ง การรู้เห็นสัมผัสสิ่งที่เป็นทิพย์ดังจะได้พรรณาดังต่อไปนี้ (ข้อมูลด้านล่างเป็นเพียงข้อมูลโดยสังเขปยังมีเนื้อหาอีกมากมายรอให้ท่านไป เรียนรู้ครับ)


    ๑.วิชาบังคับธาตุขันธ์ ให้บังคับจากรูปกายทิพย์ ให้เปลี่ยนอริยาบทต่างๆ เช่น ยืน เป็นนั่ง เป็นนอน เป็นเดิน ทำให้กายทิพย์เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นแก่
    ประโยชน์ของวิชาบังคับธาตุขันธ์ ยกสมาธิจิตให้สูงขึ้น จิตมีอานุภาพมากขึ้น
    ๒.วิชาแยกธาตุขันธ์ แยกธาตุน้ำก่อน แยกธาตุดิน แยกธาตุไฟ แยกธาตุลม ไม่มีกายมีแต่ธาตุเท่านั้น
    มีประโยชน์ ใช้ทางมรรค ผล จิตขาดจากการยึดมั่นถือมั่น ในรูปกาย
    ๓.วิชาคุมจิตคุมธาตุ ใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิต คุมจิตตัวเอง คุมธาตุทั้ง ๔ ของตัวเองประโยชน์ ทำให้มีสติมีสมาธิเข็มแข็ง
    วิชาธาตุปีติ ยุคล สุข

    ๑.ธาตุ ปีติ ยุคล สุข รวมกัน เรียกว่าธาตุธรรมกาย ใช้ทำเป็นพื้นฐานแห่งอภิญญา จิตแก่กล้าใช้ตติยฌาน(สุข)ได้เลย ถ้ายังไม่แก่กล้าใช้ถึงจตุถะอรูปฌาน ถอยมา ตติยฌาน(สุข)
    ๒.ธาตุปีติอย่างเดียว เรียกว่า ธาตุปีติวิมุติธรรม ทำให้กิเลสทั้งปวงหลุด พิจารณาโดยวิธี บริกัมว่า นิพพาน
    ๓.ธาตุธาตุยุคลหก เรียกว่า ธาตุกายอมตะ ประโยชน์ใช้ทำจิตให้สงบจากกิเลส พิจารณาว่า สงบ
    ๔. ธาตุสุขสมาธิเรียกว่าธาตุ สุขนิโรธธัม ประโยชน์ ทางสุขอยู่ในความว่าง เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ธาตุปีติทั้งห้า (ธาตุเทวดา) ใช้ได้ทุกอย่างแล้วแต่จิต ธาตุยุคล(ธาตุพรหม) ใช้ทางเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    ธาตุ สุข(ธาตุพระพุทธเจ้า) ธาตุกายสุข จิตสุข มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ทำจิตเป็นสุข สยบกิเลส ธาตุ อุปจารพุทธานุสติ ใช้สยบมารทั้งภายนอก ภายใน ใช้สยบภายในภายนอก
    วิชาทำฤทธิ์

    อธิฐานตั้งธาตุ ห้าดวง ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณธาตุ ให้ทำลายธาตุ น้ำ ทำลายธาตุ ไฟ ทำลายธาตุดิน ทำลายธาตุลม เหลือวิญญาณธาตุ ก่อนทำให้อธิฐานเอาฤทธิ์ก่อน
    ธาตุภูสิโต


    (ธาตุยิ่งใหญ่)
    ๑.ชุมนุมธาตุว่า เอหิปถวีพรหมา เอหิเตโชอินทรา เอหิวาโยนรายนะ เอหิอาโบอิสสรัง ว่าสามหน ธาตุทั้งสี่มาตั้งที่หทัยประเทศ
    ๒. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ ว่าสามหน จตุรภูตา เอหิสมาคมะ ธาตุทั้งสี่ ปรากฏที่สะดือ
    ๓. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ เตโช วาโย อาโบ ปถวี กสินะ นะโมพุทธายุ ภินทะติ นะพุทธัง นะปัจจักขามิ นะสิริ พันธนัง ธาเรมิ ให้ว่าสามหน เป่าเข้าตัวภูตมิออก ธาตุทั้ง ๔ ที่สะดือ มารวมที่หทัย



    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org

     
  12. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    องค์ธรรมเก้า แห่งของ จุดอานาปาน

    ๑.ที่สะดือ ตั้งมั่น คือองค์ธรรมพระนาคี ที่ชุมนุมธาตุ
    ๒.จะงอยปาก รู้กำเนิดชีวิต คือองค์ธรรมของ พระธรรมวิมุติ
    ๓. ขื่อจมูก การดำเนินของชีวิต คือองค์ธรรมของพระธรรมกลาง
    ๔.ปลายจมูก ตั้งอยู่ของชีวิต คือองค์ธรรมของ น้ำ
    ๕.ระหว่างตา ความรอบรู้ คือองค์ธรรมของ ไฟ
    ๖. ระหว่างคิ้ว ความเป็นไปเบื้องหน้า คือองค์ธรรมของ สังฆราชา สงฆ์ผู้ใหญ่
    ๗. กลางกระหม่อม รู้แจ้ง คือองค์ธรรมของ ครูบาอาจารย์ และพระพุทธเจ้า
    ๘.ลิ้นไก่ รู้ปัจจุบัน ธรรมชาติ คือองค์ธรรมของ แผ่บารมี
    ๙.กลางหทัย สูญรวมความรู้ต่างๆ คือองค์ธรรมของ พระพุทโธ


    วิชาสลายจิต


    สยบจิต ด้วยเมตตา –อุเบกขา ประโยชน์คือ
    สกดจิต ใช้เอกัคคตาจิต ประโยชน์คือ
    ปลดปล่อยจิต นั่งดูจิต ดูกิเลส ผ่านไปเฉย ประโยชนคือ


    วิชาโลกุดร สยบมาร

    ๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
    ๒.ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ๓.ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
    ๔.ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
    ๕.ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    ๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
    ๗.ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง
    ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร>>
    ๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก ๒.แผ่บารมีให้มาร ๓.ทำจิตให้หลุดพ้น ๔.บูชาคุณครูบาอาจารย์ ๕. เมตตา ๖.ปราบมาร ๗. มีความเพียร ๘. ปราบคนทุศีล ๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น




    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
  13. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    วิชาสำรวมอินทรีย์

    ๑.ที่สะดือตั้ง ศีลวิสุทธิ
    ๒.ที่เหนือนาภีตั้ง จิตวิสุทธิ
    ๓.ที่หทัยตั้ง ทิฏฐิวิสุทธิ
    ๔.ที่คอกลวงตั้ง กังขาวิตรวิสุทธิ
    ๕.ที่โคตรภูท้ายทอยตั้ง มัคคามัคคญาณวิสุทธิ
    ๖.ที่กลางกระหม่อมตั้ง ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ
    ๗.ที่หว่างคิ้วตั้ง ญาณทัสนวิสุทธิ แล้วว่า โลกุตรัง จิตตัง ฌานัง


    ประโยชน์ คล้ายกับ วิชาโลกุตรสยบมาร สำรวมตนเอง ตรวจศีลบริสุทธิ




    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
  14. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    วิชาสำหรับผู้มีจิตทิพย์ สำรวจโลกภายนอก

    ๑.สะดือตั้ง อุทยัพพยญาณ เกิด ดับ
    ๒.เหนือสะดือ ภังคญาณ ดับอย่างเดียว
    ๓.หทัย ภยตูปัฏฐานญาณ คือความกลัวทั้งปวง
    ๔.คอกลวง อาทีนวญาณ เป็นโทษทั้งปวง
    ๕.ท้ายทอย นิพพิทาญาณ เกิดความเบื่อหน่าย
    ๖.กลางกระหม่อม มุญจิตุกามยตาญาณ เหมือนอยู่ในแหในชะลอม
    ๗.ระหว่างคิ้ว ปฏิสังขารุเปกขาญาณ อยากพ้นทุกข์แล
    ๘.ระหว่างตา สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยสละเสียให้สิ้น
    ๙.ปลายจมูก สัจจานุโลมมิกญาณ หาทางไปนิพพาน


    เข้าจักรสุกิตติมา

    ๑. สะดือ ตั้งสุกิตติมา ใช้ประโยชน์ เจริญแล้วเป็นสมาธิสงบ เกิดปัญญา เรียน
    ๒.เหนือสะดือ ตั้งสุภาจาโร อะไรก็ได้ จำแม่นเกิดปัญญา
    ๓.หัวใจ ตั้งสุสีลวา
    ๔.คอกลวง ตั้งสุปากโต
    ๕ท้ายทอย ไม่มี
    ๖.กลางกระหม่อม ตั้งยสัสสิมา
    ๗.ระหว่างคิ้ว ตั้งวสิทธิโร
    ๘.ระหว่าตา ตั้งเกสโรวา
    ๙.ปลายนาสิก ตั้งอสัมภิโต


    เรียนปฏิจสมุปบาท เพื่อสลายความหลง มีชีวิต ก็มีวิญญาณ มีวิญญาณ ก็มีความยึดมั่น
    ทาง ไปนิพพาน พิจารณาสังเวศสาม ๑.ปลงต่อความตาย ๒.หน่ายนามรูปแล้ว เอาชีวิตแลกเอาพระนิพพาน ๓.พิจารณาให้เห็นสังขารธรรม รูปธรรม นามธรรม วิบัติไปต่างๆ ปลงตามปัญญาพระไตรลักษณะ
    นั่งจุกหู ใช้ปิดหู ปิดตา ไม่รับกิเลสภายนอก เหมาะสำหรับคนฟุ้งซ่าน ทำเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ท่านให้ตั้งสมาธิที่หทัย ให้ตึงก่อน แล้วยกสมาธิมาปิดหูขวาก่อน สมาธิตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัยตึงดีแล้ว ยกสมาธิไปปิดหูซ้าย ตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัย ทำปิดตาก็เหมือนกัน
    การเอาชนะกิเลส ให้ตรวจกิเลส ตัวไหนเกิดให้จดจำเอาไว้ แล้วเอาชนะกิเลสตัวนั้น
    กิเลสตัวไหนเกิด ให้แผ่เมตตาให้กิเลส ให้อภัยกิเลส กิเลสจะไม่มาอีก คือมีสตินั้นเอง ให้เจริญความดีงามเหนือกิเลส ให้ยิ่งๆขึ้นๆไป
    ธาตุอัปมัญญา ๔

    เมตตา สีขาวธาตุน้ำ ดับโทสะตัวเอง และดับโทสะผู้อื่นด้วย

    กรุณา ธาตุไฟ สีชมพู ผู้อื่นเดือดร้อน สีแดง ได้รับการช่วยเหลือแล้ว เป็นสีชมพู ดับความมืดในใจ
    มุทิตา ธาตุลม สีฟ้า เหลืองนวล ประกายรุ้ง อากาศธาตุ ยินดีผู้อื่น เรามีความชุ่มชื่น
    อุเบกขา ธาตุดิน สีขาว สีเขียว ประโยชน์ เป็นปัญญาสูงสุด ปัญญาลุ่มลึก มีความเฉยลึกซึ้ง ดินเขียวมีความรู้มากแต่ ไม่ยอมเผยแผ่ เช่น พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ดินขาว เผยแผ่ความรู้ผู้อื่น
    ธาตุรวมอัปมัญญา สีประกายพฤษ สีเงิน ใช้ได้ทุกอย่าง



    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
  15. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ๑.การศึกษามหาสติปัฏฐาน ควรศึกษาตั้งแต่ ๗ ขวบขึ้นไป
    หมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อานาปานปัพพะ ประโยชน์แก้จิตที่วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน และวิตก
    หมวดอริยาบท ประโยชน์ ทำให้เจริญสมาธิมั่นคงขึ้น
    สัมปชัญญะปัพพะ ประโยชน์ทำให้เจริญสมาธิมั่นคงขึ้น
    หมวดปฏิกูลปัพพะ ต้องมีสมาธิ มีฌานแล้ว ประโยชน์ตัดราคะ โทสะ
    หมวดธาตุปัพพะ ต้องมีสมาธิ มีฌานแล้ว ประโยชน์ตัดคลายทางโลกลง
    หันมาเรียนทางธรรมมากขึ้น
    หมวดนวสีวถิกาปัพพะ(ป่าช้าเา) มีทวารทั้งเก้า มีองค์ฌาน ประโยชน์ยกจิตจากปุถุชนขึ้นสู่อริยเป็น
    โสดาบันบุคคล
    ๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องใช้ฌาน ใช้สมาธิ ประโยชน์ แยกเวทนาออกจากกาย
    ๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องใช้สมาธิ และฌาน ประโยชน์ รู้จิตตัวเอง และผู้อื่น
    ๔.ธร รมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้สมาธิ และองค์ฌาน ประโยชน์ ฆ่ากิเลสโดยตรง ธรรมาเช่น นิวรณ์ธรรม ๕ ขันธ์ห้า อายตนหก โพชฌงค์เจ็ด หมวดสัจจะ เป็นต้น
    หลวงปู่ ท่านสอนว่า ทำจิตให้เป็นสุขทุกเวลา นึกถึงความสุขต่างๆ เช่น การทำบุญกุศล การช่วยเหลือผู้อื่น การหลุดพ้น
    สอน เดินน้ำ ข้ามห้อย ท่านให้นั่งริมฝั่งแม่น้ำ ให้มองเห็นดิน และเห็นน้ำ ให้เข้าฌาน ทำให้รอบกายเราสว่าง ทำที่นั่งแข็ง ให้นุ่ม ทำที่นั่งนุ่มให้แข้ง ทำอาโบธาตุ ให้เป็นปถวีธาตุ ทำปถวีธาตุ ให้เป็นอาโบธาตุ ทำธาตุน้ำ เป็นธาตุดิน ทำธาตุดินเป็นธาตุน้ำ
    ก่อนทำให้ นั่งริมฝั่งแม่น้ำ ให้มองเห็น น้ำ และดิน แล้วให้อธิฐานก่อน แล้วจึงเข้าฌานทำให้รอบกายของเราสว่างไสวอย่างมากมาย ทำที่นั่งแข็งให้นุ่ม ทำที่นั่งนุ่มให้แข็ง อธิฐานธาตุดิน ปถวีธาตุ ให้เป็นอาโปธาตุ ธาตุน้ำ อธิฐานอาโปธาตุ ให้เป็นปถวีธาตุ เวลาทำให้นั่งริมฝั่ง มองให้เห็นน้ำ สามารถเดินข้ามน้ำไปได้
    วิชาเหิน ขึ้นเขา ลงเขา ทำที่ไกล ให้เหมือนที่ใกล้ ให้เข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา แล้วอธิฐาน ทำที่ไกล ให้เป็นที่ใกล้
    ทำได้แล้ว ให้ทำใจให้สงบ ไม่หลงติดในการเหิน ระงับความตื่นเต้น ดีใจ ให้ทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    สอน การดำเนินชีวิต อะไรควรทำก่อนทำหลัง สำรวจจิตตัวเอง ลำดับจิตตัวเอง ลำดับการงานที่จะต้องทำ ลำดับวิชาอะไรที่ ควรเรียนก่อน เรียนหลัง ทำประโยชน์ให้แก่สังคมให้มาก
    ให้ยอมรับสภาพความเป็นจริง ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลง ของตัวเอง ที่บรรลุมรรคผล เจอครูบาอาจารย์มากมาย อย่าหลงตัว ประคองจิตตัวเอง ทำความเป็นอยู่ให้ปรกติ ทำให้มาก
    การอยู่ในความว่าง(สูญญตา) ดีพักผ่อน แต่วิปัสสนาจะไม่ก้าวหน้า ให้ถอยกลับมา สุข แล้ว เจริญวิปัสสนาต่อ จึงจะก้าวหน้า



    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
    ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org
     
  16. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    วิชาสลายจิต สลายกาย

    ประโยชน์หยุดความวุ่นวายภายนอก (สลายจากกายทิพย์ หายตัว)

    ท่าน ให้สลายธาตุน้ำก่อน สลายแล้วคอจะแห้ง ต่อมาให้สลายธาตุไฟ ธาตุไฟสลายแล้ว จะรู้สึกหนาว ต่อมาจึงสลายธาตุดิน สลายธาตุดินแล้ว กายจะเบา ต่อมาสลายวิญญาณธาตุ สลายแล้ว จะดับความยึดมั่น ไม่มีร่างกาย ว่างแคว้งคว้าง
    ธาตุลม ท่านห้ามสลาย จิตจะอยู่ที่ถุงลม ถ้าสลายธาตุลมต้องมีจิตกล้าแข็ง และกลับมาได้ เพราะสังขารกายเนื้อยังค้างคาอยู่
    ปู่ สอน จิตกับอารมณ์อย่าแยกกัน จิตไม่ไปพร้อมกับอารมณ์ กิเลสแซก จิตไปพร้อม กับอารมณ์ กิเลสไม่แซก เรียกว่ามีสติ ประโยชน์ ใช้คุมตัวเอง ดูแลตัวเอง



    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc





    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐานhttp://www.somdechsuk.org/node/312
     
  17. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน | Somdechsuk.org

    [​IMG]
    ปฐมบท

    กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐานเหมาะกับทุกจริต



    โดยเริ่มแรกของผู้ปฎิบัติลำดับห้อง ในการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    ในระดับขั้นต้น พระพุทธานุสสติ มี 3 ห้อง
    คือรูปกรรมฐาน ตอน ๑ ได้แก่
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    พระ กรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์


    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้ มาขอขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธารามคณะ5 กับพระครูสิทธิสังวร(หลวงพ่อวีระ) ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชณิมาในยุคนี้ (โทร. 084-651-7023;weera2548@yahoo.co.th )


    ถ้า ผู้ใดยังไม่สะดวกมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับหลวงพ่อว่าก็สามารถภาวนาไป ก่อนได้แล้วค่อยมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับพร้อมแจ้งอารมณ์กรรมฐานภาย หลัง


    จากนี้ไปจะเป็นการเริ่มนั่งกรรมฐานตามรูปแบบนะครับ เริ่มโดยกล่าวบททำวัตรพระก่อน


    บททำวัตรพระ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)
    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุํ วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)
    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ
    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)
    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)


    2. จากนั้นให้กล่าวคำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยซึ่งโทษนั้นๆที่เราเคยทำอาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน
    (สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งก่อนนั่งกรรมฐาน)

    คำกล่าวขอขมาโทษ
    อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ (กราบ)
    ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)
    สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)
    ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)
    ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร


    [​IMG]

    3.จาก นั้นกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานเป็นบาทฐาน(สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัต ิพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งและเริ่มด้วยพระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า จนกว่าจะสอบอารมณ์กับพระอาจารย์วีระผ่านท่านจึงจะให้เปลี่ยนคำอาราธนาครับ ห้ามเปลี่ยนเองโดยพลการ)



    อธิบายคำอาราธนาสมาธินิมิต(เหตุใดต้องกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานทุกครั้ง)
    เมื่อจะนั่งเข้าที่ภาวนานั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ว่า ต้องอธิษฐานสมาธินิมิต หรือ อาราธนาสมาธินิมิต เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป กุศลธรรมในที่นี้หมายถึง สมาธิจิตที่ตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ เตรียมจิต ก่อนที่จะภาวนาสมาธิ ดังปรากฏใน พระสุตตนฺตปิฏก องฺคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปาปณิกสูตรที่ ๑

    คำอาราธนาพระกรรมฐาน
    (อธิษฐานสมาธินิมิต)
    ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

    ข้าฯ ขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึง พระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ
    อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ


    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจะระณะสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวะมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
    สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ
    อรหํ อรหํ อรหํ
    (องค์ภาวนา พุทโธ)



    ปล.

    การเริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอกสืบๆกันมา โดยแรกท่านจะให้ องค์ภาวนาว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ อยู่ใต้สะดือ2 นิ้ว

    คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง



    4. คำอธิบายเวลากำหนดจิต


    หลัง จากอาราธนาองค์พระกรรมฐานแล้ว ครั้งแรกกำหนดจิตให้มารวมไว้ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ(ภาวนา พุท-โธ) กำหนดด้วยความตั้งใจจริง ค่อยดำเนินไปด้วยความเพียรชั้นกลาง แลมีสติค่อยประคับประคองให้ตรงต่อจุดมุ่งหมาย อย่ารีบร้อนให้มี ให้เป็นจนเกินไปกว่าเหตุผลจะอำนวยให้ เพราะคุณสมบัติสมาธินี้เป็นของกลาง เป็นเองด้วย บังคับไม่ได้ เราอยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น เราทำก็ไม่เป็น เราหยุดเสียไม่ทำก็ไม่เป็น แต่จะสำเร็จผลในขณะที่เราทำให้มาก เจริญให้มากโดยสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ขาดสายทำไปโดยอาการเยือกเย็น และจิตกล้าหาญ ในเมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งได้แล้ว กระบวนการแห่งสมาธิก็จะเป็นไปเอง

    วิธีนั่งเข้าที่ภาวนาโดยละเอียด


    นั่งคู้บัลลังก์ เท้าขวาทับ เท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายตรง บริกรรม พุทโธ กำหนดจิตดังนี้


    ๑.สมาธินิมิต คือเครื่องหมายสำหรับตั้งสมาธิ ให้ตั้งที่ใต้นาภี คือ สะดือ สองนิ้วมือ เป็นที่ชุมนุมธาตุ และ สัมปยุตธาตุ บริกรรมในที่นี้จะเกิดกำลังมาก อันห้องพระพุทธคุณ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ
    ๒. ปัคคาหะนิมิต คือการยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต คือที่ใต้นาภี สองนิ้วมือ จิต ได้แก่ การนึก การคิด การรับรู้อารมณ์ หรือ สติ
    ๓. อุเบกขานิมิต คือ การวางเฉยในอารมณ์ จิตไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ ที่เป็น อดีต ที่เป็นอนาคต ให้มีจิตอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน จิตที่แล่นไปใน อดีต อนาคต เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน
    การกำหนด สมาธินิมิต (นาภี) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    การกำหนดปัคคาหะนิมิต (ยกจิต) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
    การกำหนด อุเบกขานิมิต (วางเฉย) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น
    ต้องกำหนดนิมิต สามประการ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต ไปพร้อมกันตลอดกาล ตามกาล จึงทำให้จิตอ่อนควรแก่การงาน จิตที่อ่อนควร แก่การงาน คือ จิต ที่ปราศจากนิวรณธรรม คือ กามฉันท์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พยาบาท ได้แก่การปองร้าย ถีนะมิทธะ ความง่วงหงาวหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ วิจิกิจฉา ความสงสัย
    การกำหนด สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต มาใน พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต สมุคคสูตร ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุประกอบสมาธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหะนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องและ ไม่เสียหาย จิตย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นอาสวะ และ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยธรรมอันยิ่งใดๆเธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุเป็นอยู่ มีอยู่
    ก่อนนั่งสมาธิภาวนาพึงสำเหนียกในใจก่อนว่า
    จิตของเราจักเป็นจิตหยุด ตั้งมั่นอยู่ภายใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องไม่ยึดจิตของเรา ตั้งอยู่
    เป็นการอธิษฐานจิต ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมิให้จิตซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ เป็นการวางอารมณ์ ของจิตให้แน่วแน่ มีสติรู้ทัน ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล เช่น นิวรณธรรมเป็นต้น ไม่ให้มารบกวนจิต ยึดจิตติดอยู่ ทำให้จิตไม่บรรลุสมาธิได้ง่าย


    5.
    หลังเลิกนั่งภาวนา

    เมื่อเจริญภาวนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งลุกออกจากอาสนะ ให้แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ก่อน จึงลุกออกจากที่ เมื่อนั่งแล้วรู้เห็นอะไร ห้ามไปคุยกันเอง ให้ไปแจ้งบอกกล่าว กับพระอาจารย์กรรมฐาน โดยมากพระอาจารย์จะให้กล่าวบทกรวดน้ำยังกิญจิ

    บทกรวดน้ำยังกิญจิ
    ของพระเจ้าโลกวิชัย ผู้เป็นพระบรมโพธิสัตว์

    ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ
    กาเยนะ วาจามะนะสา ติทะเส สุคะตัง กะตัง
    เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ เยจะ สัตตา อะสัญญิโน
    กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
    เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา
    เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ เทวา คันตวา นิเวทะยุง
    สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ชีวันตาระเหตุกา
    มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ ละภันตุ มะมะ เจตะสาติฯ
    กุศล กรรมอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นกิจที่ควรฝักใฝ่ ด้วยกาย วาจา ใจ เราทำแล้วเพื่อไปสวรรค์ สัตว์ใดมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา ผลบุญที่ข้าฯทำนั้นทุกๆสัตว์ จงมีส่วน สัตว์ใดรู้ก็เป็นอันว่าข้าฯให้ แล้วตามควร สัตว์ใดมิรู้ถ้วน ขอเทพเจ้าจงไปบอกปวงสัตว์ ในโลกีย์ มีชีวิตด้วยอาหาร จงได้โภชนะสำราญ ตามเจตนา ของข้าฯเทอญ ฯ





    6.วิธีแจ้งพระกรรมฐาน
    (รูปกรรมฐาน สอบนิมิต อรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์)


    เมื่อจะไป แจ้งพระกรรมฐาน หรือไปสอบอารมณ์นั้น พระภิกษุให้ห่มผ้าเรียบร้อย ไปพร้อมดอกไม้ธูปเทียน กราบพระพุทธรูปก่อนแล้ว จึงกราบพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน ถวายดอกไม้ให้พระอาจารย์ด้วย แล้วจึง แจ้งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์(ถ้าเป็นฆราวาสก็เพียงแต่ติดต่อไปยังพระอาจารย์วีระ หรือ
    หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023;หรือแจ้งทาง e-mail : weera2548@yahoo.co.th
    ;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]

    รายละเอียดของสถานที่ฝึก
    ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023)


    รูปพระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่ท่านควรรู้จักครับ




    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
    ============
     
  18. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    สรุปรวมความสำคัญพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับในไทยช่วงกรุงรัตนโกสินทร์(บางส่วนเพียงโดยย่อ)

    1. พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำคัญมากขนาดที่ว่า ล้นเกล้ารัชกาลที่1 เพียรไปกราบนมัสการนิมนต์ พระสังฆราชสุกไก่เถื่อนหลายครั้งหลายคราด้วยกันเพื่อกราบนิมนต์ หลวงปู่สุกไก่เถื่อน มาช่วยฟื้นฟูพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ให้อยู่คู่ประเทศไทยและอยู่คู่กรุงรัตนโกสินทร์ต่อไป เพราะว่าพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นกรรมฐานหลักที่มีการฝึกฝนมาช้านานใน ไทยตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวงแล้ว

    อีกทั้ง พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จ พระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)

    ..........เช่นนี้ ...ท่านว่าพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำคัญไหมครับ


    [​IMG]
    รัชกาลที่ 1

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)

    [​IMG]
    รัชกาลที่ 2

    2. ล้นเกล้ารัชกาลที่สอง ทรงสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(กรรมฐานมัชฌิมา) ในขณะนั้น พระกรรมฐานและเนื้อหาการเรียนรู้ในบวรพระุพุทธศาสนายังไม่้เรียบร้อยและไม่ เป็นหมวดหมู่ดีนักล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนา ที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ทรงเป็นองค์ประธาน ในการชุมนุมพระสงฆ์สังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔

    อนึ่งมูลเหตุของการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเกิดจากการพูด คุยสนทนากัน ในหมู่พระสงฆ์จากหัวเมืองและชานกรุงว่า ...... การปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ถูกการปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ผิด เสียงวิจารณ์เล่าลือขยายไปทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ .......

    ความ นั้นทราบไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักผู้มีหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการคณะสงฆ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่สองท่านนั้น จึงนำความทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงทราบฝ่าพระบาท

    ต่อมาจึงมีการประสานงานระหว่างทางราชการและคณะสงฆ์ให้ชุมนุมสงฆ์ ทำการประชุมสังคายนาพระกรรมฐานขึ้น3วัน ....พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานถวาย ภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระสงฆ์ ๓ เพลาทุกวัน

    ซึ่ง พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นต่อมาก็ได้เผยแพร่สืบต่อกันเรื่อยๆมาอย่างไม่ขาด สายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย

    เมื่อท่านรู้ความเป็นมาเช่นนี้แล้ว ...ท่านว่าพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำคัญไหมครับ?

    3. อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วนะครับว่าพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นเป็นการ ปฏิบัติจิต ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่ชาวสุวรรณภูมิยึดถือปฏิบัติมาตลอด นับแต่ครั้งกรุง สุโขทัย บรรดาพระอริยะเจ้าและพระเถระในอดีตต่างเคยฝึกฝนอบรมภูมิจิตภูมิธรรมในแนวพระ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น

    ไม่ ว่าจะเป็นพระมหาเถระคันฉ่อง (สมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จสวามีรามคุณูปมาจารย์(ปู)ที่รู้จักกันในนามสมเด็จเจ้าพะโคะ(หลวงปู่ ทวดแห่งสทิงพระ) สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ก็ล้วนแล้วแต่ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบ ลำดับฯ

    แม้พระอมตเถระที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ เลื่องลือด้านอิทธิฤทธิ์ที่แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนชาวพุทธ อย่างเจ้าประคุณ
    - สมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
    - พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
    - หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร
    - หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม


    [​IMG]
    สมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม

    [​IMG]
    พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

    [​IMG]
    หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร






    [​IMG]
    หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.

    ซึ่ง ที่กล่าวนามท่านมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเราว่าท่าน เหล่านั้นทรงภูมิจิตภูมิธรรมสูงส่งเพียงใด]ก็ล้วนแล้วแต่ปฎิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับฯทั้งสิ้นท่านทราบหรือไม่ครับ

    เมื่อท่านรู้ความเป็นมาเช่นนี้แล้ว เช่นนี้แล้ว ...ท่านว่าพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำคัญไหมครับ?
     
  19. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    วิชาตัดขันธ์

    ใช้เมื่อมีเวทนา และข่มทุกขเวทนาได้ ต้องมีจิตสมาธิกล้าแข็ง ลืมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ ไม่เอาร่างกายแล้ว ตัดจากกายเนื้อ คล้ายวิธีสลายจิต ให้ตัดธาตุน้ำก่อน ตัดธาตุไฟ ตัดธาตุดิน ตัดวิญญาณธาตุ ดับความยึดมั่น ไม่มีร่างกาย ตัดธาตุลมสุดท้ายก่อนตาย
    วิชาผ่อนคลายจิต เมื่อจิตกำลังสับสน วุ่นวาย ให้ถอยจิต หายใจลึกๆ พุ้งจิตไปที่พระพุทธเจ้า หรือพระพุทธรูป ดูนิ่ง เฉยๆ จะหายวุ่นวายใจเอง
    วิชาสยบทุกขเวทนา ยอมรับทุกขเวทนา ถึงถึงกรรมของตัวเอง เช่น เรามีกรรมเป็นของตัวเอง เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย และระลึกถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า
    วิชาโลกุตร ๒๐ ประโยชน์ เป็นที่เกิดแห่งปัญญา เป็นที่สิ้นสุดแห่งสังสารวัฏ เป็นที่บรรลุธรรม ปลงอาบัติ อธิฐานได้ต่างๆ
    กิเลสจรมา ให้ใช้จิตดูกิเลสเฉยๆ
    ธาตุโลกุดร ดวงแก้วมนินดำ ธาตุดิน สีเขียว แก้วไพฑูรณ์ ธาตุน้ำ เหลือง แก้วมณีโชติ ธาตุไฟ สีขาว แก้วบุญนาก สีขาว ธาตุน้ำ แก้วธัมราช เหลือง อากาศธาตุ แก้วมโนหอรจินดา ชมพู จิตธาตุ1





    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc


     
  20. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    สลายอายตนะหก

    ตา ธาตุน้ำ เห็นรูปดีก็ดี เห็นรูปทรามก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหล
    หู ธาตุลม ฟังเสียงที่ดีก็ตาม เสียงที่ชั่วก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนลม พัดผ่านไป
    จมูก ธาตุดิน ได้กลิ่น หอมก็ตาม ได้กลิ่นเหม็นก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนดินสลายไป
    ลิ้น ธาตุน้ำ ได้ลิ้มรสดีก็ตาม ได้ลิ้มรสไม่ดีก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหลไป
    กาย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ สัมผัสดีก็ตาม สัมผัสชั่วก็ตาม ให้ทำจิตสลายธาตุทั้ง ๔
    มโน(ใจ) อากาศธาตุ รู้ธรรมดีก็ดี ธรรมชั่วก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนอากาศสลายหายไป
    ใช้น้ำสิโณทก

    ให้เอาขันน้ำ ตั้งตรงหน้า เอานวหอระคุณ คือ อิติปิโสฯลฯ ภควาติ ตั้งที่ ๙ (ปลายจมูก)ก่อน แล้วมาที่ ๑(สะดือ) มาที่ ๒ (เหนือสะดือ) มาที่ ๓ (หทัย) แล้วไปที่ ๕ (ท้ายทอย) มาที่ ๖ (กลางกระหม่อม) แล้วมาที่ ๗ (ระหว่างคิ้ว) ถึงที่ ๘ (ระหว่างตา) เอาตรงนั้น แล้วเพ่งลงที่น้ำสิโณทก ให้ทำ ๒-๓ ที่
    ถ้าจะใช้ สิ่งใดก็ได้ทุกอัน ตามแต่อธิฐาน ใช้ทางเมตตามหานิยม ใช้ปัดรังควาน
    วิชาดูแลจิต ดูแลกาย




    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    http://www.somdechsuk.org
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/k...akammathan.doc


     

แชร์หน้านี้

Loading...