อินทรียสังวร หมายความว่าอย่างไร ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xtrem, 13 มิถุนายน 2016.

  1. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    อินทรียสังวร หมายความว่าอย่างไร ?
    แล้วเหตุใดเราจึงต้องสำรวมอินทรีย ?
    และอย่างไร ถึงเรียกว่าไม่ สำรวมอินทรีย ?
    คำถามเหล่านี้ พอจะรู้คำตอบบ้าง แต่ก็อยากฟังคำแนะนำ และแง่มุมต่างๆ จากเพื่อนๆ สมาชิกครับ :cool:
     
  2. zhayun

    zhayun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +425
    หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ท่านแนะนำดังนี้

    อินทรียสังวร แปลว่า การสำรวมระวัง ในความเป็นใหญ่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    รวมๆแล้ว ก็คือการสำรวมใจ นั่นเอง



    ท่านจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ 1. ทางโลก 2. ทางธรรม

    1. ทางโลก

    เมื่อเห็นรูปสวยเราพอใจ เมื่อเห็นรูปไม่สวยเราไม่พอใจ ก็อย่าทำอารมณ์ใจให้เกิดความชั่ว เพราะรูปไม่มีใครสร้างสรรค์ขึ้นมาเองได้ อย่าไปตำหนิว่ารูปเขาไม่สวย จะเป็นรูปคน สัตว์ หรือวัตถุก็ตาม อย่าทำตาให้เป็นตาหาเรื่องในการมองดูรูป จะทำให้เกิดความเร้าร้อน เราจะไม่มีความสุข

    เมื่อฟังเสียงคน หรือสัตว์ร้อง จะเป็นที่พอใจหรือไม่พอใจ ก็อย่าเอาหูไปหาเรื่องกับเสียง เราก็จะไม่มีความสุข

    เมื่อได้กลิ่น เป็นที่พอใจหรือไม่พอใจ ก็อย่าเอาจมูกไปหาเรื่องกับกลิ่น เมื่อเดินใกล้ใครได้กลิ่นเหม็น ก็หลีกเลี่ยงเลี่ยงไป อย่าทำปากให้เป็นปากเสียง ไปนินทากลิ่นของเขา หรือจะแสดงท่าทางออกมาทางกายเป็นที่รังเกียจ ก็ไม่สมควร จะเป็นเหตุสร้างความทุกข์

    เมื่อได้รส เป็นที่ไม่พอใจ ไม่ถูกลิ้น ก็อย่าไปนั่งนินทาเขา จะเป็นภัยมีความเดือดร้อน

    เมื่อได้สัมผัส กับคน สัตว์ หรือวัตถุ เมื่อไม่พอใจ ก็อย่าไปตำหนิติเตียน

    สำหรับใจ เป็นเจ้าของอารมณ์ ใจนี่เป็นนายใหญ่ ถ้าใจดี ตาก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี ทุกอย่างก็ดีหมด แต่ถ้าใจเลว ตาก็เลว มองก็มองอย่างศัตรูกัน ถ้าฟังก็ฟังอย่างศัตรูฟังศัตรู จะสัมผัสก็สัมผัสแบบศัตรูสัมผัส แม้เขามีกลิ่นหอมใจก็รังเกียจ เพราะจิตเป็นศัตรู

    ท่านจึงบอกว่า ถ้าจะสำรวมระวังจริงๆ ก็ควรระวังที่ใจ



    2. ทางธรรม

    ให้สำรวมระวังที่ใจอย่างเดียว ใจจึงรู้ว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้

    รูปที่ไหนจะมีความเที่ยงบ้าง ความสวยของรูปสวยได้กี่นาที มันก็ก้าวไปสู่ความเศร้าหมอง ก้าวไปสู่หาความทำลายตัวเอง ก้าวไปสู่หาความพัง

    รูปผ่านตาแล้ว ก็ให้แล้วกันไป อย่าสนใจในรูป



    สำหรับเสียงที่นิยมว่าเสียงเพราะ แต่เพราะจริงๆไม่มี วันนี้ชอบเสียงนี้ พรุ่งนี้เสียงนี้มาอาจจะไม่ชอบ นั่นเพราะใจมันไม่ดี

    เสียงก็เป็นของไม่เที่ยง เมื่อได้ยินเสียง เสียงนั้นก็หายไป แต่ที่ก้องในใจก็เพราะใจมันเลว ไปเก็บเสียงนั้นไว้ในใจ

    เราจะดีจะชั่วไม่ได้อยู่ที่เสียงของคนอื่น เราจะดีจะชั่วได้เพราะอาศัยการรักษากำลังใจให้ดี ไม่ยินดียินร้าย ในรูป ในเสียง ในกลิ่น รส และสัมผัส



    รวมความว่า อินทรียสังวร จงระมัดระวัง ตาอย่าติดในรูป อย่าเห็นรูปว่าเป็นของเที่ยง อย่าเห็นรูปว่าเป็นของดี เพราะรูปเป็นอนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้

    รูปเต็มไปด้วยความสกปรก รูปก้าวไปสู่ความทรุดโทรม รูปมีความสลายตัวไปในที่สุด จะไปยึดถือจะไปต้องการอะไรกับรูป จะรูปผู้หญิง รูปผู้ชาย รูปสัตว์ รูปวัตถุ จงอย่าสนใจ

    อย่าติดใจในรูป แม้แต่เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็เหมือนกัน เพราะทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ไม่มีอะไรถาวร



    อินทรียสังวร คือการระวังใจนั่นเอง ถ้าใจดีอย่างเดียวมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มีอะไรเป็นของดี มันเป็นของเลว เพราะเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเสื่อมไป มีการสลายตัวไปในที่สุด

    ไม่ได้เป็นที่พึ่งที่อาศัยได้อย่างจริงจัง ถ้าเราไปติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็แสดงว่าเราเป็นคนโง่ คือไม่รู้ความจริง เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว ก็ต้องกลับไปตกนรกใหม่ เพราะเมื่อติด ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เมื่อสิ่งเหล่านั้นสลายตัวไป ก็เกิดจิตเศร้าหมอง ถ้าตายไปด้วยจิตเศร้าหมอง ก็จะไปสู่ทุคติ



    ทั้งหมดนี้ เป็นคำสอนของ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2016
  3. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    อนุโมทนา สาธุ ครับ ขอขอบคุณสมาชิก คุณ zhayun อย่างยิ่งที่กรุณานำคำสอนของหลวงพ่อ ฤาษี วัดท่าซุง มาให้ได้อ่าน ได้ศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติ ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2016
  4. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    อินทรียสังวร หมายถึง ศีลที่สำเร็จด้วยสติ
    เหตุที่ต้องสำรวมอินทรีย์ ก็เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของอกุศล
    เมื่อไม่มีสติก็ไม่มีการสำรวมอินทรีย์

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2712&Z=2781
     
  5. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    อินทรีย์สังวรณ์ คือการมีสติสำรวมระวัง สิ่งกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ
    เช่นตากระทบรูป เกิดยินดี ยินร้าย เฉยๆ ที่ใจเรา รวมทั้งกระทบอื่นๆ ถ้าเรามีสติสำรวม
    ระวังที่ใจได้ ก็ทำให้เท่าทันอารมณ์ยินดี ยินร้าย เฉยๆ ที่เข้ามาสู่ใจเรา อารมณ์ยินดี
    ทำให้เกิดราคะ อารมณ์ยินร้ายทำให้เกิดปฎิฆะหรือโทสะ อารมณ์เฉยๆถ้าสติไม่เท่าทัน
    ก็เกิดโมหะหรือความหลงลืมตนไป...ถ้าเราขาดการสำรวมอินทรีย์ เราก็ไหลไปตาม
    อารมณ์ทาง ตาหู จมูก ลิ้น กาย และใจเสมอๆ...

    อินทรีย์สังวรณ์ เป็นการฝึกเบื้องต้น เพื่อป้องกันกิเลสใหม่ ไม่ให้เข้ามาทาง ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ โดยให้มีสติสำรวมระวังที่ใจเพื่อให้เกิด ศิลสังวรณ์ขึ้นด้วย...

    อินทรีย์สังวรณ์ ต้องพัฒนาให้เป็นศิลสังวรณ์ หรือ อินทรีย์สังวรณ์ศิลคือให้มีเจตนารักษาศิล
    ถ้ามีอินทรีย์สังวรณ์ ก็มีสติรักษาใจ ไม่ให้ผิดศิล รวมทั้งรักษาใจไม่ให้กิเลสต่างๆเข้ามาสู่ใจ
    เรา ถ้าทำได้แบบนี้ไปเรื่อยๆ เค้าเรียกว่า ศิลใจ คือถ้าทำผิดศิล ใจจะผิดปรกติ ทำให้สติ
    ระลึกทันที แล้วก็ดับไป นี่ก็เป็นการใช้สติทำให้เกิด ศิลใจ หรือ อินทรีย์สังวรณ์ศิล สังเกตุ
    ให้ดีๆว่า การที่เกิดศิลใจนี้ก็คือ การข้ามสังโยนช์ข้อที่ถือศิลพรตแบบงมงายนั่นเอง...

    สังเกตุให้ดีๆว่า อินทรีย์สังวรณ์ ก็คือการเจริญ กายคตาสติ หรือฝึกสติสัมปชัญญะ ตั้งมั่น
    ในฐานกาย เพื่อตามรู้สิ่งกระทบต่างๆแล้วให้กายเราเป็นฐานที่ตั้งของสติ เพื่อตามระลึกรู้
    สิ่งกระทบต่างๆ ไม่ให้เข้ามาสู่ใจ

    อินทรีย์สังวรณ์นี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ สัมมาวายามะ หรือ ความเพียรชอบ คือเพียรไม่ให้
    อกุศลต่างๆเข้ามาสู่ใจเรา...

    นี่แหละที่เค้าเรียกว่า สติสัมปชัญญะ ทำให้เกิด ศิลสังวรณ์ หรือ อินทรีย์สังวรณ์
     
  6. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
     

แชร์หน้านี้

Loading...