"ภาวนา เพื่อสละทุกสิ่ง" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 10 พฤษภาคม 2016.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    3,033
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,567
    ค่าพลัง:
    +12,678
    [​IMG]
    [​IMG]

    " ภาวนา เพื่อสละทุกสิ่ง"

    " .. ภาวนา ก็ไม่ใช่เรื่องปรารถนา "แต่มันเป็นเรื่องสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ของที่มีอยู่" เวลาภาวนาก็ทำ
    เหมือนกับไม่มี ถ้ายังปรารถนาอยากเห็นนั่นเห็นนี่อยู่แล้วมิใช่ภาวนา เป็นพาวน พาวุ่น พาเวียนต่างหาก ที่
    เห็นนางฟ้าเทวดาก็เป็นผลพลอยได้จากการสละนั้นต่างหากและก็มิใช่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงในการภาวนานั้นด้วย

    จุดมุ่งหมายของการภาวนาแท้ "คือการพิจารณาเห็นอัตภาพขันธ์อันนี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" มี
    สภาวะเกิดดับอยู่อย่างนั้น "จนจิตสลดสังเวชเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในรูปนาม" ปล่อยวาง
    อุปาทานเสียได้ "ด้วยอำนาจวิปัสสนา" นั่นจึงจะ เรียกว่าภาวนา .. "

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


    http://www.dhammajak.net
     
  2. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    <a href="http://picture.in.th/id/a064af7d5e5a7135347c156da00f5c1c" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/v/2013/ix/160510101430.jpg" alt="images by free.in.th" /></a>

    ช่วยดันครับ
     
  3. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    หลับตาลงนะครับ ข้างหน้าที่เปลือกตา มันจะดำๆ มืดๆ ใช่ไหม ไม่มีอะไรอยู่นอกจากความมืด ความดำ

    ใช่ไหม แล้วสิ่งอื่นๆ หรืออารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่าน ร้อน เย็น อ่อน แข็ง กระเพื่อม หรือไหว

    หรือเป็นความรู้สึกของร่างกาย หรือแม้นแต่คำภาวนา หรือลมหายใจ สิ่งนั้นไม่ใช่ของจริงครับ แต่ สิ่งนั้น

    เป็นเครื่องฝึกให้เห็นถึงสภาวะ การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่ง ไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง โดยมีตัวสติคือรู้ รู้อย่างเดียว

    รู้ รู้เพียงชั้นเดียว รู้ รู้โดยไม่เปลี่ยนแปลงใดใด กับสิ่งที่ถูกรู้ หรือรู้ รู้ตามความเป็นจริง จะเข้าสู่หมวด กาย

    เวทนา จิต ธรรม ไปโดยลำดับ ลำดับ จะเข้าไปสู่สภาวะของความละเอียด ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
     
  4. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    แล้วมีความคิดหนึ่งถามมาว่า หากรู้คำภาวนาหรือลมหายใจ แล้วไหลไปกับสิ่งที่ถูกรู้ จนจิตเป็นสมาธิ

    ไหลไปในฝ่ายสมถะจะทำยังไงต่อดี ก็ไม่ต้องทำอะไรต่อครับ ปล่อยให้จิตไหลเข้าสู่สมาธิไปเลยครับ


    พอออกจากสมาธิ มาสู่ความเป็นปรกติอย่างธรรมดา หากไม่ขี้เกียจ ก็อาศัยสิ่งที่เกิดขึ้น ในกาย ในใจ

    จะเป็นอะไรก็ได้ครับ ไม่ต้องไปตั้งชื่อเรียกมัน พอมีความรู้สึกกระทบ แล้วเรารู้เมื่อใด ให้รู้สิ่งนั้น

    ให้รู้สิ่งนั้น ตามความเป็นจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤษภาคม 2016
  5. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    การปฎิบัติในฝ่ายสมถะ และวิปัสนากรรมฐาน ควรปฏิบัติควบคู่กันไปครับ

    แล้วมีสัมมาทิฐฐิ เป็นองค์ประธาน โดยมีจิตตั้งมั่นเพื่อเข้าถึงฝั่งพระนิพพาน

    เป็นพื้นฐานของจิต ส่วนเรื่องศีล และอริยะมรรคอันมีองค์แปดประการนั้น

    เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ มรรคทั้งหมด จะไหลเข้ามาเองครับ
     
  6. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    สิ่งที่มากระทบ หรือไหว หรือกระเพื่อม กระทบที่กายไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด

    หรือกระทบที่ใจ ไม่ว่าความโกรธเกลียดชัง ความพอใจไม่พอใจ หรือฯลฯ

    ไม่ต้องไปสังเกตุมันก็ได้ครับ ว่า มันมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้มันเป็น

    ตำราครับ ให้วางสิ่งที่รู้ หรือตำรา ลงก่อนครับ เพราะเวลาที่เราฝึกกันจริงๆ

    มันไม่มีตำราอยู่ในนั้นครับ สิ่งที่ไปกระทบ มันไม่มีชื่อเรียกครับ ลองสังเกตุดู
     
  7. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ในบางท่านมีความเข้าใจว่า การน้อมนึกไปยัง หมู หมา กา ไก่ แล้วนำสิ่งนี้มาเป็นเครื่องฝึกฝน

    มาเป็นเครื่องฝึก คือตัวกระทบ(ผัสสะ) ถามว่า เป็นสิ่งถูกทางหรือไม่ถูกทาง ผมก็ขอตอบว่า

    ไม่ถูกทางครับ การรุ้กระทบของผัสสะ จะต้องรู้ทีหลังครับ จะไปดึงสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่า นี้คือผัสสะ

    คงจะเข้าใจผิดแล้วครับ เพราะสิ่งนั้นมันเป็นความคิด เกิดจากความคิดของตัวท่านเอง และเมื่อคิด

    ที่จะดึงสิ่งต่างๆ เข้ามาในวิถีของจิต ยิ่งดึงเข้ามามาก ก็ยิ่งปวดหัวครับ เพราะนั่นเป็นคิด คิด ๆ ๆ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ธรรมะ. ก้ต้องแสดง ตามเหตุ ตามปัจจัย

    หากไม่มีเหตุ ไม่มีคนถาม ไม่มีใครยกกิ่งต้นหว้าชวนให้หัก

    อันนี้ ก้ไม่ต้องตั้งผัสสะขึ้นมา. ถ้าตั้งขึ้นมา. ก็แปลว่า. ช๊อคโกแลดเคลือบขนมปัง

    การแสดงธรรม ไม่ใช่ของง่าย. ..แสดงผิด. เดียวการภาวนาล้มในรูปยืนขาเดียว อะฮับ

    _/\_ _/\_ _/\_
     
  9. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    [​IMG]


    นิพพานไปอย่างไร ตามคำสอนหลวงพ่อเยื้อน และหลวงพ่อไม คือ วิธีง่ายๆ กินน้ำเย็น

    จิตจับน้ำเย็นลงไปสุดที่น้ำลงไป ประมาณกลางท้อง เหนือสะดือ2นิ้ว นิพพานอยู่ที่นั้นครับ



    มันไม่มีสมมติ สมถะวิปัสสนา ไม่แยก ทำๆไปได้ทั้งคู่ ได้ผลอีกมากมาย เช่น ญาน 8 ฤทธิ์ นั้นคือ

    หลวงพ่อเยื้อนสอน หลวงพ่อไมเพิ่มเติมเรื่อง ผลของมัน คือทำๆไปแล้วเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม

    แล้วก้อตัดกิเลสจนหมด ธรรมะของพระอาจารย์เยื้อน นั้นง่ายๆ ท่านสอนเน้นอยู่ที่จิต ปฏิบัติอยู่ที่จิต

    อย่างเดียวท่านเคยปรารภว่า ถ้าใครหวังจะมาถามการปฏิบัติแบบอื่นๆ ท่านไม่มี ธรรมที่ท่านมีเปรียบ

    เสมือนตีหลุมกอล์ฟตีครั้งเดียวลงหลุม ไม่ได้ผ่านต้นไม้ ไม่ผ่านหลุมทราย.


    @ บทความจากลูกศิษย์ท่านหนึ่ง สมาธิที่ผมได้เรียนรู้จากหลวงพ่อ เวลานั่งสมาธินั้น หลวงพ่อไม่พิถีพิถัน

    มากนัก โดยเฉพาะอิริยาบถนั่งสมาธินั้น หลวงพ่อไม่กำหนดตายตัวเลย แต่ให้หลักสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า ให้ดำรง

    สติมั่นตั้งอยู่ ณ จุดเดียวให้ได้ ถ้าใจจดจ่ออยู่ ณ จุดเดียวแล้ว อริยาบถไม่สำคัญ จะอยู่ท่าไหน ขอให้ประคองสติ

    และกำหนดใจให้อยู่จุดเดียวนั้นให้ได้เป็นใช้ได้ สมาธิของหลวงพ่อเป็นสมาธิตื่น จะลืมตาหลับตา หรืออยู่ใน

    อริยาบถไหนก็ได้ทั้งนั้น สำคัญที่จิตนิ่ง สติสามารถรักษาฐานจิต ให้นิ่งอยู่ภายใน ณ จุดที่กำหนดระลึกได้เท่านั้น

    ถ้าสติรักษาจิตให้นิ่งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว แม้จะขยับตัวไปไหน ขยับกายอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะหลัก

    อยู่ที่จิต ไม่ใช่กาย ไม่ใช่ของนอก แต่เป็นภายในที่รักษาไว้ การรักษาฐานจิตก็ไม่ใช่ว่า ตั้งใจกำหนดให้มันเกิด

    มันเป็นขึ้นมา เพียงปฏิบัติไปตามธรรมชาติ ตั้งใจจดจ่ออยู่ตรงฐานแต่เพียงอย่างเดียว ไม่เอาอารมณ์อยากมา

    ปะปน เพราะปะปนแล้วจะให้มันเกิดมันก็ย่อมไม่เกิด เพราะอาการนั้น ไม่ได้เป็นไปโดยธรรมชาติ ส่วนอุบายธรรม

    จะกำหนดสมาธิอย่างไร หลวงพ่อก็ไม่ถือเป็นสาระ เพียงแต่ให้ตั้งฐาน ณ เหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้ว ผู้ที่เคยชิน

    กับอานาปานสติ หลวงพ่อ ท่านก็เพียงแต่อธิบายดักไว้ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งที่รู้สึกไม่มีลมหายใจ มันจะจับยาก แต่ถ้ารู้

    ก็จับอาการที่ไม่มีลมนั้นแหละ ถ้าไม่ไหวก็ถอยออกมาตั้งที่กระดูกสันหลังท่อนที่ตรงกับฐานแทน ให้จิตจดจ่ออยู่แค่

    ฐานจุดเดียว จะได้ไม่ต้องไปพะวงกังวลกับลมหายใจ พอดีไปไหนไม่ได้สักที


    เมื่อนั่งสมาธิถึงจุดหนึ่งแล้ว สมาธิจะรวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว สภาพนั้น ลืมกายภายนอก จดจ่ออยู่เป็นตำแหน่งเดียว

    ไม่หวั่นไหว เมื่อนั้นให้สติตามรู้อาการ อย่าไปคิดกำหนดอะไรอีก (ถ้าคิดกำหนดมันก็จะถอยหลัง) จิตจะทำหน้าที่

    ของมันเอง หรือที่เรียกว่าจิตรู้ จิตรู้นี้ รู้หน้าที่ของตนเอง จะน้อมนำพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ถึงตรงนี้แล้วท่านที่ผ่านมา

    แล้วจะพบกับประสบการณ์อย่างหนึ่ง(ประสบการณ์นี้ไม่สมควรเขียนเป็นปริยัติ เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติหมายจำเป็นสัญญา

    ซึ่งจะกลายเป็นอุปสรรคอยากเห็น รอจะเห็น ยิ่งพะวงไปไม่ถึงไหนเสียป่าวๆ)
     
  10. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ในช่วงรอยต่อนี้ มักมีอุปสรรคใหญ่รออยู่อีกอย่างหนึ่งตามจริตจุดอ่อนของผู้ปฏิบัติ หลวงพ่อมักเน้นย้ำให้บรรดา

    ลูกศิษย์ ตั้งสติเตรียมใจไว้ให้ดี และพร้อมตั้งรับเสมอ เพราะจุดนี้จะติดหลงอยู่ในวิปัสสนูได้ง่ายๆ นับเป็นด่าน

    สำคัญที่ผู้ปฏิบัติทุกรายจะต้องผ่านไปให้ได้ ถ้าสติไม่รู้เท่ารู้ทันอาการต่างๆที่เป็น ที่เกิด ที่เห็นที่ได้มาในขณะ

    นั้นแล้ว มักจะพลอยหลงเชื่อ พลอยเข้าใจผิด หรือหยุดอยู่แค่นั้นโดยไม่ไปต่อ โดยไม่ทราบว่าไปได้อีก กลาย

    เป็นหลงประเด็นหลงวนอยู่ ทั้งที่ใกล้จะไปถึงอยู่แล้ว แต่ถ้าตั้งสติดีจิตนิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่เผลอไผลกับสิ่งที่ได้พบ

    เห็นแล้ว สภาวะจิตจะเคลื่อนไปถึงขั้นต่อไป ที่จิตประภัสสร เป็นจิตรู้


    รู้อะไร คือ รู้เห็นเท่าทันโลก เท่าทันอวิชชา เท่าทันกิเลส จิตตื่น และเบิกบานอย่างแท้จริง โดยอาการนั้น ผู้ปฏิบัติ

    เองจะรู้ได้ด้วยตนเอง โดยรู้สติเปรียบเทียบทดสอบปฏิกริยาตนเองจากสิ่งต่างๆที่มากระทบ เห็นอารมณ์ รู้เท่าทัน

    อารมณ์โดยเร็ว เมื่อรู้เท่าทันจิตจึงสงบระงับไปเอง เชื้อกิเลสจึงหมดโอกาสแสดงผล อารมณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ

    เกิดอาการรู้ทันสิ้น ความรู้ทันนี้ ต่างจากการปฏิบัติเดิม เพราะการปฏิบัติเดิมนั้น เป็นเพียงนึกทัน นึกรู้ทัน

    สังเกตทัน เป็นอาการที่สติพิจารณาเอา ใช้ความคิดตรึกพินิจ แต่ความรู้ทันที่ได้นี้ เป็นความรู้ทัน คือกล่าว

    ได้ว่า รู้ทัน เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นโดยธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่ง นอกจากนั้นยังน้อมนำไป

    หาไตรลักษณ์ อาการไตรลักษณ์นั้นอธิบายได้ยาก สิ่งที่แตกต่างจากที่ปฏิบัติเดิมนั้น ผมพิจารณาไตรลักษณ์


    โดยการพินิจ สติพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ไปตามลักษณะเด่นของอาการไตรลักษณ์ที่เกิดก่อน หรือเห็นก่อน

    อันไหนเกิดก่อน พิจารณาอันนั้น แต่อาการไตรลักษณ์ที่ได้จากการปฏิบัตินี้ ถ้าจะเปรียบเสมือนเรา กินน้ำพริก

    แล้วรับรู้รสเปรี้ยว หวานเผ็ด แทบจะพร้อมๆกันนั่นเอง การเห็นไตรลักษณ์นั้นมาทีเดียว เห็นทั้งหมดไปพร้อมๆกัน

    อาการเห็นนี้ เร็วจนไม่สามารถลำดับเรียบเรียงให้เป็นที่เข้าใจได้ง่าย สิ่งที่สังเกตได้อย่างหนึ่ง ในฐานะผู้ศึกษามาก

    รู้มาก ในบรรดาลูกศิษย์จะทราบว่าหลวงพ่อสอนแต่หลักสำคัญสั้นๆ อะไรที่ไม่จำเป็น ให้เพิกทิ้งเสียเอาแต่สาระสำคัญ

    เท่านั้น แม้เรื่องนิมิต หลวงพ่อก็ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ ไม่ว่าจะเห็นอะไร หลวงพ่อให้เพิกทิ้งเสียให้หมด

    ไม่ต้องติด ไม่ต้องจดจ่อกับสิ่งที่เห็นสักอย่าง ปล่อยวางทิ้งหมด สนใจแต่การตั้งฐานจิตให้นิ่งสนิท ณ จุดที่กำหนด

    ให้สม่ำเสมอเท่านั้น การตั้งจิตให้นิ่งสงบนี้ อุปมาเหมือนถือแก้วน้ำที่มีน้ำเต็มปริ่มพอดี ขอบให้นิ่งสนิท

    ไม่โยกไม่โอน ผู้ตั้งต้องตั้งจิตจดจ่ออยู่ ณ จุดเดียวเรื่องเดียวจริงๆ แม้ในรายละเอียดลำดับของสมาธิแล้ว สำหรับ

    ในหมู่ผู้ที่หลวงพ่อเพิ่งสอนปฏิบัติ ก็จะไม่พูดถึงรายละเอียดลำดับ มุ่งให้ใจผู้ปฏิบัติสนใจจดจ่ออยู่แต่เรื่องเดียว

    คือตั้งฐานจิตให้นิ่งสนิทจริงเท่านั้น การทำเช่นนี้ ทำให้ผู้ที่เคยเรียนมามาก อ่านมาก รู้จักสัญญาหมาย จำหมายไว้

    อย่างผม ไม่ต้องมานั่งคิดถึงเรื่องปฐมฌาณ ทุติฌาณ ฯลฯ ให้รกสมองเปลืองสมอง เมื่อจิตไม่แกว่งไกว จิตไม่ตั้ง

    คำถาม จิตไม่กังวลสงสัย สนใจแต่จะตั้งฐานจิตให้นิ่งอยู่เรื่องเดียว จิตมันจดจ่อ มันก็นิ่งลงได้เร็ว เกิดอาการรวมจิต

    นิ่งสนิทเป็นพิเศษ และไม่เกิดอาการแกว่งไกว นึกว่าอาการเหล่านี้คือลำดับไหน ถึงไหน จิตก็พ้นภาระโดยธรรมชาติ

    ไม่ติดไม่เกี่ยวกับความอยากรู้ลำดับจิตที่จะเกิดขึ้น ที่จะเป็นไป การปฏิบัติเดิมที่เคยติดขัดก็เลยปรุโปร่ง ได้มีโอกาส

    สัมผัสสภาวธรรมในลำดับต่อไป อันมีค่ายิ่งต่อชีวิต กระผมขอน้อมระลึกกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ ในโอกาส

    อันยิ่งนี้ครับ นี่แหละที่เขาว่า ผู้ปฏิบัติหากขาดอาจารย์ผู้สั่งสอนแล้ว จะดั้นด้นหาทางด้วยตัวเองนั้นยาก



    เครดิตโพสท์ คุณปาปิปผลิ

    http://palungjit.org/threads/นิพพานไปอย่างไร-พระอาจารย์เยื้อน-ขันติพโล.355034/
     
  11. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    สิ่งที่ปรากฏขึ้นทางกายทางใจ ให้เรารับรู้ได้ สิ่งนั้นคืออาการ ส่วนตัวที่นั่งดูนั่นคือตัวแยกครับ พอฝึกไปถึงระยะ

    ที่มีความพร้อม มันจะแยกระหว่างตัวเรากับอาการ แบบทำนองที่ว่าตัวใครตัวมัน แต่บางครั้ง บางทีเราก็โดดเข้าร่วม

    แสดงกับตัวอาการ กับตัวละคร โดยใส่อารมณ์รัก โลภ โกรธ เกลียด ยินดี ไม่ยินดี คือต้องฝึกเรียนรู้ไปทั้งสองอย่าง

    ครับ (ดูเหมือนในภายหลังตัวเรากับอาการ จะไม่แยกจากกัน จะกลายเป็นความรู้สึกตัว คือรู้สึกอยู่ที่ตัวเอง
     
  12. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    รู้ตามความเป็นจริง」如是觀

    สิ่งใดมีลักษณะอาการ สิ่งนั้นเป็นมายา

    สิ่งใดได้ถูกบัญญัติขึ้น สิ่งนั้นเป็นสมมุติ

    จิตที่แล่นออกไปเสวยอารมณ์ เป็นมายา

    สิ่งที่อิสระจากมายาเกิดดับ นั่นคือพุทธะ

    พุทธะ พุทธะ ไม่อาจสร้างภาพด้วยมโน

    ความน่าอัศจรรย์ใดๆในที่สุดล้วนดับสิ้น

    เมื่อเห็นความเสื่อมลง จิตย่อมคลายตัว

    เมื่อไม่เสพอารมณ์ ทุกข์จึงไร้ที่อิงอาศัย
    .

    27/3/2015 บารมี ศรีอริยทรัพย์
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    ขอกราบ อนุญาติ ฉีดวัคซีน ฮับ

    ถ้า กำหนดรู้ การไหลเข้าไปรวม " กายสังขาร " ได้

    ต้องพึง " สำเนียก/พึงศึกษาว่า/กำหนดรู้ " สังขารมี 3

    ดังนั้น

    สังขารอีกสองอย่าง หน้ามีมันคือ ย้อมเข้ามารวมตัว
    ลอง แยกดูๆ รวมๆ ดูฮับ ...........มันส์ ขนหัวตั้ง !!!

    โดยเฉพาะ " วจีสังขาร " ที่ ย้อมจิตติดอยาก "พร่ำรำพันการแจ้งการเห็น......"
    โดยไม่มี เหตุ ไม่มีกาละ เทศะ [ ฝากเป็น วัคซีนไว้ในกายเธอ ด้วย จั๊บ ......ฮิววววววส์ ......เข็มที่2nd ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2016
  14. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ่ไม่มีใครไปเอาเวทนา เราอยู่ส่วนเรา เวทนาอยู่ในส่วนเวทนา

    สักแต่เห็นเวทนา สักแต่นิ่ง ดูเฉย


    ในเวลานั้นไม่มีผู้ดู ไม่มีผู้รู้ มืแต่สักแต่ สักแต่

    เห็นว่างๆๆๆ ไม่มีใคร ในความว่าง
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เปรี้ยงงงงงงง !!! ;9k


    ไปขีดแผ่นดิน ดีฟ่า เซ็ง
     
  16. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ขอบคุณท่านผู้เฒ่า ที่ชี้แนะครับ

    แล้วไม่คิดเหรอครับ ว่าผมเที่ยวจำ

    ชาวบ้านเขามาเขียน
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    " อัน ลูกศร ขัดดีแล้ว ยิงออกแล้ว ไม่ต้อง Follow through "

    จึ๊ก !!!

    จึ๊ก !!!

    จึ๊ก !!!

    ฮะ ฮะ แฮโมซู

    **** จูมง ****
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2016
  18. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    <a href="http://www.mx7.com/view2/z7eYYHRbKXWetbFa" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/e14/7yJ7y4.jpg" /></a>


    “ ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต

    มิได้สอนอย่างอื่น ทรงสอนให้ปฏิบัติฝึกหัดจิตใจ ใ้ห้เอาจิตพิจารณากาย

    เรียกว่า กายานุปัสสนา-สติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้าที่เรียกว่า

    ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์

    จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง

    เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า “​
     
  19. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    <a href="http://www.mx7.com/view2/z7fc9ORbmZYTs38L" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/57d/XsOInY.jpg" /></a>​
     
  20. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    <a href="http://www.mx7.com/view2/z7fjg6sdywLi67mt" target="_blank"><img border="0" src="http://www.mx7.com/i/a5a/0N69Hq.jpg" /></a>

    พระเจษฎา คุตฺตจิตฺโต
    18 เมษายน ·
    เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริงย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
    (ยาวหน่อยนะค่อยๆอ่านใช้ใจ
    ที่ได้จากการเจริญสติ ดูจิตดูใจ
    สังเกตุตามคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้)
    *********************************

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็น จริง ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง
    เมื่อรู้ เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
    เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ เป็นจริง
    เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
    เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวย อารมณ์ เป็นสุขก็ตาม
    เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
    เพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง
    ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดใน ธรรมารมณ์
    ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส
    ไม่กำหนัดใน ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
    ตามความเป็นจริง

    เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนัก แล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว
    ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕
    ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหา
    ที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
    อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวาย
    แม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทาง กาย แม้ทางใจได้
    จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวย
    สุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
    มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
    มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น สัมมาสังกัปปะ
    มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
    มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
    มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
    ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว
    ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอัน ประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ​
     

แชร์หน้านี้

Loading...